หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 67
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 67
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 67
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2558
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้ชัดเจน หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ วางภาระหน้าที่ทางสมมติเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็น้อมกายของเราเข้ามาอยู่ในวัด เราก็มาเจริญสติเข้าไปรู้กาย รู้ลมหายใจเข้าออก อันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ จนกระทั่งลึกลงไปเห็นลักษณะของใจ
ใจที่คลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ตามดูความเกิดความดับของความคิด ก็เรียกว่า ‘รอบรู้ในกองสังขาร’ ว่าเป็นเรื่องอะไร ใจว่างรับรู้ เห็นการเกิดการดับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรื่องอดีตก็เป็นกองของสัญญา ความคิดอารมณ์ต่างๆ ใจของเราเข้าไปเสวย หรือไปร่วม เขาเรียกว่าไปเสวย เสวยอารมณ์ ก็ทำให้เกิดอัตตาตัวตนในชั้นละเอียดลึกลงไปอีก
การเกิดของใจ นั่นแหละใจเกิด อัตตาก็เกิด เกิดกิเลส ความยินดียินร้าย เกิดปรุงเกิดแต่ง พระพุทธองค์ท่านว่าใจส่งนอก แยกได้คลายได้ ตั้งแต่ก่อนใจของเรา ทั้งหลง หลงขันธ์ห้า ส่งออกไปด้วยกัน ทีนี้เรามาแยกขันธ์ห้าได้ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ มาดับความเกิดที่ใจ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความอยาก การปรุงแต่ง ก็จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ เราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งใจของเราหน่วงเหนี่ยวเอาความว่าง รักษาความว่างไว้เป็นอารมณ์ กระโดดข้ามคนปุถุชนเข้าเขตอริยะ ห่างไกลจากกิเลส ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ
ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ขยันหมั่นเพียร หลวงพ่อพูดง่าย แต่การลงมือ พวกท่านต้องพยายามไล่เก็บตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่ พลั้งเผลอหรือเปล่า นิวรณ์เข้าครอบงำได้อย่างไร ใจก่อตัวอย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร อะไรคือสติปัญญาที่เราเอาไปใช้ ความคิดเกิดจากตัวใจ เกิดจากขันธ์ห้า ถ้าเราแยกแยะได้ เราขาดการตามทำความเข้าใจ เขาก็ซึมเข้าสู่สภาพเดิม งานปรุงแต่งของใจ ถ้าเราไม่ดับ กําลังเขาก็เยอะมากขึ้นๆ เราอย่าไปสร้างสะสมความเกียจคร้าน จงพยายามขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันหมั่นเพียรในการวิเคราะห์ ในการสังเกต ในการทำความเข้าใจ
ตื่นขึ้นมาใจเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะใช้วิธีไหนเข้าไปแก้ไข เข้าไปลดละกิเลสของตัวเรา คําว่าความหลงของพระพุทธองค์ หลงอะไร หลงความคิด หลงอารมณ์ แยกแยะความคิดได้ ก็ละวางอัตตาตัวตนได้ ละกิเลสได้อีกหรือไม่ ใจเดิมนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าใจไม่เกิดเขาก็ไม่หลง
แต่นี่เขาหลงมานาน จนกระทั่งได้มาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ เขามาสร้างเพื่อนเก่าก็คือ ขันธ์ห้า รวมกันไป บางทีก็กําลังสติก็ส่งเสริมกันไปเป็นก้อนๆ ส่งออกไปภายนอก อาจจะถูกผิดอยู่ระดับของสมมติเท่านั้นเอง การทำบุญให้ทาน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ก็ต้องพยายาม พระใหม่ก็พยายามขยันหมั่นเพียร ทั้งใหม่ทั้งเก่า จงเป็นผู้ใหม่ตลอด คือ ผู้ตื่น
ผู้ตื่น ใครเห็นใจ ใจ การเกิดการดับของใจ เราดับทีนั้นทีนี้ เราดับขณะมันก่อตัวปุ๊บก็ถึงตัวใจ มันเกิดขึ้น เราดับนะ ปัญญาเก่า มันหลงมานาน มันสร้างวิมาน มาครอบคลุมตัวเขาเอาไว้หมด เราต้องคลายออกให้หมด ละความอยาก ละความกลัว สร้างความหนักแน่นอ่อนโยนให้ใจของตัวเอง นั่นแหละเขาถึงเรียกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ ตนแรก คือ ตัวสติ ตัวปัญญา ตนตัวที่สองก็คือ ใจ
ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งหลง สติที่เราสร้างขึ้นมาเป็นผู้รู้เข้าไปอบรมใจ นั่นแหละเขาเรียกว่า มีเหตุมีผล เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล มองเห็นความจริงปรากฏขึ้นที่ใจ มีความสุข มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน ใจไม่เกิด ดับ ใจไม่เกิด เราก็วางใจให้เป็นอิสรภาพ ใจเกิดอีก ดับอีก มีความสุข ตื่นขึ้นมา สติความรู้ตัวพลั้งเผลอได้อย่างไร ตากระทบรูป ใจเป็นอย่างไร หูกระทบเสียง ใจเป็นอย่างไร ถ้าใครเห็นตรงนี้จะมีความสุข สนุกในการดู ในการรู้ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน
เวลาเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตากระทบรูป สติดูใจเสียก่อน สติพุ่งออกไปแก้ไข เขาเรียกว่า ‘ปัญญา’ ใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส จะขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ ใจเราละกิเลสได้ก็มีความสุขในการขัดเกลากิเลส น้อมนําองค์พระพุทธองค์มาไว้ที่ใจของตัวเรา เราละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดได้ก็เข้าสู่ จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค อรหัตผล กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด
ต้องพยายามเอานะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี อย่าไปทิ้งบุญ สร้างความขยันหมั่นเพียร แต่ละวันๆ ก็พากันช่วยกันทำ มีอะไรก็ช่วยกันทำ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งภายนอกภายใน ดูแล้วก็มีความสุข
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2558
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้ชัดเจน หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ วางภาระหน้าที่ทางสมมติเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็น้อมกายของเราเข้ามาอยู่ในวัด เราก็มาเจริญสติเข้าไปรู้กาย รู้ลมหายใจเข้าออก อันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ จนกระทั่งลึกลงไปเห็นลักษณะของใจ
ใจที่คลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ตามดูความเกิดความดับของความคิด ก็เรียกว่า ‘รอบรู้ในกองสังขาร’ ว่าเป็นเรื่องอะไร ใจว่างรับรู้ เห็นการเกิดการดับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรื่องอดีตก็เป็นกองของสัญญา ความคิดอารมณ์ต่างๆ ใจของเราเข้าไปเสวย หรือไปร่วม เขาเรียกว่าไปเสวย เสวยอารมณ์ ก็ทำให้เกิดอัตตาตัวตนในชั้นละเอียดลึกลงไปอีก
การเกิดของใจ นั่นแหละใจเกิด อัตตาก็เกิด เกิดกิเลส ความยินดียินร้าย เกิดปรุงเกิดแต่ง พระพุทธองค์ท่านว่าใจส่งนอก แยกได้คลายได้ ตั้งแต่ก่อนใจของเรา ทั้งหลง หลงขันธ์ห้า ส่งออกไปด้วยกัน ทีนี้เรามาแยกขันธ์ห้าได้ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ มาดับความเกิดที่ใจ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความอยาก การปรุงแต่ง ก็จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ เราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งใจของเราหน่วงเหนี่ยวเอาความว่าง รักษาความว่างไว้เป็นอารมณ์ กระโดดข้ามคนปุถุชนเข้าเขตอริยะ ห่างไกลจากกิเลส ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ
ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ขยันหมั่นเพียร หลวงพ่อพูดง่าย แต่การลงมือ พวกท่านต้องพยายามไล่เก็บตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่ พลั้งเผลอหรือเปล่า นิวรณ์เข้าครอบงำได้อย่างไร ใจก่อตัวอย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร อะไรคือสติปัญญาที่เราเอาไปใช้ ความคิดเกิดจากตัวใจ เกิดจากขันธ์ห้า ถ้าเราแยกแยะได้ เราขาดการตามทำความเข้าใจ เขาก็ซึมเข้าสู่สภาพเดิม งานปรุงแต่งของใจ ถ้าเราไม่ดับ กําลังเขาก็เยอะมากขึ้นๆ เราอย่าไปสร้างสะสมความเกียจคร้าน จงพยายามขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันหมั่นเพียรในการวิเคราะห์ ในการสังเกต ในการทำความเข้าใจ
ตื่นขึ้นมาใจเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะใช้วิธีไหนเข้าไปแก้ไข เข้าไปลดละกิเลสของตัวเรา คําว่าความหลงของพระพุทธองค์ หลงอะไร หลงความคิด หลงอารมณ์ แยกแยะความคิดได้ ก็ละวางอัตตาตัวตนได้ ละกิเลสได้อีกหรือไม่ ใจเดิมนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าใจไม่เกิดเขาก็ไม่หลง
แต่นี่เขาหลงมานาน จนกระทั่งได้มาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ เขามาสร้างเพื่อนเก่าก็คือ ขันธ์ห้า รวมกันไป บางทีก็กําลังสติก็ส่งเสริมกันไปเป็นก้อนๆ ส่งออกไปภายนอก อาจจะถูกผิดอยู่ระดับของสมมติเท่านั้นเอง การทำบุญให้ทาน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ก็ต้องพยายาม พระใหม่ก็พยายามขยันหมั่นเพียร ทั้งใหม่ทั้งเก่า จงเป็นผู้ใหม่ตลอด คือ ผู้ตื่น
ผู้ตื่น ใครเห็นใจ ใจ การเกิดการดับของใจ เราดับทีนั้นทีนี้ เราดับขณะมันก่อตัวปุ๊บก็ถึงตัวใจ มันเกิดขึ้น เราดับนะ ปัญญาเก่า มันหลงมานาน มันสร้างวิมาน มาครอบคลุมตัวเขาเอาไว้หมด เราต้องคลายออกให้หมด ละความอยาก ละความกลัว สร้างความหนักแน่นอ่อนโยนให้ใจของตัวเอง นั่นแหละเขาถึงเรียกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ ตนแรก คือ ตัวสติ ตัวปัญญา ตนตัวที่สองก็คือ ใจ
ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งหลง สติที่เราสร้างขึ้นมาเป็นผู้รู้เข้าไปอบรมใจ นั่นแหละเขาเรียกว่า มีเหตุมีผล เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล มองเห็นความจริงปรากฏขึ้นที่ใจ มีความสุข มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน ใจไม่เกิด ดับ ใจไม่เกิด เราก็วางใจให้เป็นอิสรภาพ ใจเกิดอีก ดับอีก มีความสุข ตื่นขึ้นมา สติความรู้ตัวพลั้งเผลอได้อย่างไร ตากระทบรูป ใจเป็นอย่างไร หูกระทบเสียง ใจเป็นอย่างไร ถ้าใครเห็นตรงนี้จะมีความสุข สนุกในการดู ในการรู้ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน
เวลาเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตากระทบรูป สติดูใจเสียก่อน สติพุ่งออกไปแก้ไข เขาเรียกว่า ‘ปัญญา’ ใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส จะขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ ใจเราละกิเลสได้ก็มีความสุขในการขัดเกลากิเลส น้อมนําองค์พระพุทธองค์มาไว้ที่ใจของตัวเรา เราละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดได้ก็เข้าสู่ จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค อรหัตผล กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด
ต้องพยายามเอานะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี อย่าไปทิ้งบุญ สร้างความขยันหมั่นเพียร แต่ละวันๆ ก็พากันช่วยกันทำ มีอะไรก็ช่วยกันทำ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งภายนอกภายใน ดูแล้วก็มีความสุข
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อเอานะ