หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 65
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 65
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 65
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2558
มีความสุขกันทุกคน วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ท้องฟ้าก็แจ่ม สดใส ทุกคนก็มีความสุขได้เข้ามาทำบุญถวายทานกัน พระเราชีเราก็ดูดีๆ นะ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง มีโอกาสมากได้เข้ามาศึกษาดูชีวิตของเรา พระใหม่ก็เหมือนกัน ทั้งใหม่ทั้งเก่า ทั้งผู้เก่าผู้ใหม่ ก็ต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด คือผู้ตื่นตลอด ไม่ใช่ยิ่งใหม่เท่าไร อัตตายิ่งเยอะ เรามาละอัตตาทิฏฐิมานะของตัวเรา มาศึกษา ได้มาอยู่ร่วมรวมกันเยอะมากมาย ก็เพราะเคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ทีนี้เราก็มาพิจารณาแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราแต่ละวันตื่นขึ้นมา ว่าใจของเราเป็นอย่างไร ไปอย่างไร มาอย่างไร ใจของเรามีความสุข อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไขชีวิตของเรา เดินตามแนวทางของพระพุทธองค์ ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องพยายามฝึกพยายามศึกษาให้รู้เรื่อง
ท่านสอนเรื่องชีวิตของตัวเรานั่นแหละ ในกายของเรามีอะไรบ้าง ซึ่งมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง หรือว่ามาสร้างกายเนื้อขึ้นมา อะไรคือส่วนรูปส่วนนาม เรามีแรงบุญแรงศรัทธาอยู่แล้ว เราก็มาศึกษาให้ละเอียด การเจริญสติเป็นอย่างไร คําว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร จิตใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีความแข็งกร้าว เราก็มาแก้ไข เจริญสติไปหมั่นพร่ำสอนใจของเรา อบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน จนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ แม้แต่ในเรื่องการขบการฉัน การรับประทาน เราก็ดูว่ากายของเราหิว หรือว่าใจของเราเกิดความอยาก
เราจะแสวงหาอาหารปัจจัยสี่มาด้วยอย่างไร ด้วยใจที่ไม่เกิด เอาปัญญาไปเกิดแทน แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงด้วย ทั้งรู้ด้วย ทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด แต่การเจริญสติเข้าไปหยุด เข้าไปละ เข้าไปดับ เข้าไปทำความสะอาดตัวใจตรงนี้มีอยู่บ้างแต่ไม่ต่อเนื่อง เราก็ต้องพยายามทำให้ต่อเนื่องกัน พระใหม่ก็เหมือนกัน ทั้งพระใหม่ พระเก่า ทั้งโยมทั้งชี เป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น แนวทางนั้นมีมานาน อย่าพากันเกียจคร้าน จงพากันขยันหมั่นเพียร สอนหมั่นพร่ำสอนใจของเรา อย่าไปโทษคนอื่น โทษคนนั้น โทษคนนี้ ใช้การไม่ได้ เราต้องโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อยู่ด้วยกันแล้วก็มีความสมัครสมานสามัคคี ถ้าบอกตัวเราไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่ได้แล้วก็ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่เกิดประโยชน์
การปฏิบัติ การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของเรานั่นแหละ ไม่ได้ไปฝึกที่ไหนหรอก ทั้งที่ฐานบุญมีมากันตั้งนาน จิตใจเป็นบุญ หาใจของเราให้เจอ เจริญสติเข้าไปรู้เท่าทันใจ เรารู้อยู่ แต่การดับการละมันไม่มีได้ตลอดทุกเรื่อง ใจก็เลยเกิดอยู่อย่างนั้น ก็ถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ บางครั้งก็ใจของเราก็ปกติ แต่ใจของเรายังไม่ได้แยกได้คลายจากความคิด ก็เลยไม่ได้หงายขึ้นมา ก็เพียงแค่ความสงบ
ยิ่งเจริญกําลังสติมีมากเท่าไร ยิ่งรู้ยิ่งเห็นเท่าไรยิ่งมีความสุข พูดคุยกับใจของตัวเอง มีเพื่อนคุย อันโน้นมันถูกอันนี้มันผิด กิเลสตัวไหนจะมาหลอกใจของเรา เราพลั้งเผลอหรือไม่ เราแพ้ให้กิเลสหรือเปล่า มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ถ้าเราไม่เห็นใจของเรา ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ ทั้งเกิด ทั้งวิ่ง ทั้งหลง
มีเพื่อน ใจเขาก็มีเพื่อนเหมือนกัน เขาก็มีกิเลสเป็นเพื่อน มีขันธ์ห้าเป็นเพื่อน ไปด้วยกันมานาน หลงมานาน กรรมการสติปัญญาไปแยกไปคลาย ชี้เหตุชี้ผล ตามดูทุกเรื่องให้เขายอมจำนนจริงๆ เขาถึงจะเบื่อหน่ายในเพื่อนเก่าของเขา ไม่ใช่ว่าจะรู้จะเห็นได้ง่ายๆ เหมือนกัน มันก็เพียงแค่ได้ควบคุม ควบคุมกับหยุดกับดับ อยู่ในคุณงามความดี แต่ตัวใจนั่นแหละเป็นตัวบงการเลยทีเดียว ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติเข้าไปอบรม ไปชี้เหตุชี้ผล ไล่ประหัตประหารกิเลส ทั้งหยาบทั้งละเอียด ให้มันหมดจด หมดงานภายในก็ทำงานภายนอก งานภายใน คือ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ จนใจไม่เกิด งานภายนอกก็สร้างประโยชน์กับโลก กับโลกธรรมให้มีความสุข ก็ต้องพยายามกัน ต้องปฏิบัติเอาฝึกเอา จะไปให้คนอื่นเขาพาเดิน พานั่งพาทำ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นอย่างนี้ สติเป็นอย่างนี้ นี่ใจเกิดปรุงแต่ง เราหยุดได้หรือไม่ ใจเกิดกิเลสเราละได้หรือเปล่า ไม่ใช่ไปเก็บกด เราพยายามคลาย คลายออกแล้วก็ดับ คลาย ถ้าเก็บกดนี่ระเบิด ระเบิดนี่แรง เราต้องพยายาม ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามคลายด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามให้อภัย มองโลกในทางที่ดี คิดดี มีคนมาด่า มาว่าเรา เราก็ดูใจของเรา เราโกรธหรือเปล่า ถ้าเราไม่โกรธเราก็ชนะ ถ้ามันจะเกิดเราก็รู้จักดับ เรารู้จักจุดดับ ใจก็จะเกิดปีติ เกิดสุข มีความเยือกเย็นเข้าไปทดแทน การสร้างประโยชน์ สร้างบุญสร้างกุศล เราก็รู้ใจของเราว่ามีความสุข แต่เราไม่รู้จักส่ง ไม่รู้จักรักษาให้ใจอยู่ในความบริสุทธิ์ได้ตลอดเวลาเท่านั้นเอง
เกิดความอยากเป็นอย่างไร ความกลัวเป็นอย่างไร เราต้องดู พระก็เยอะชีก็เยอะ อีกสักหน่อยก็คงจะได้ช่วยกันทุกอย่าง ให้มีความสุข ใครมีหน้าที่อย่างไรก็ช่วยกัน ออกพรรษานี่ก็จะให้ชีพากันไปตั้งโรงทานบ้าง มหาเจดีย์ เอาอาวุธให้คนละชิ้น คีมมัดลวดคนละอัน สนุกมีความสุข ทั้งพระทั้งชีนี่ไม่พอมือหรอกมั้ง โยมอยากจะมาแจม ก็มาแจม มาเอาบุญด้วยกัน ส่วนมากชีจะแย่งบุญไปก่อนโยม บุญสมมติ ทั้งพระ ทั้งชี ทั้งสามเณร
สมัยก่อนสามเณรตัวเล็กๆ มาอยู่ด้วย มาฝึกหัดปฏิบัติทั้งพระนี่แหละ มาฝึกหัดปฏิบัติพาขยันหมั่นเพียร ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน พอสึกออกไปแล้วมีครอบมีครัวกลับขึ้นมา ย้อนขึ้นมา ถ้าไม่ได้มาฝึกนี่ลําบากเหมือนกัน ได้ความขยัน ได้ความรับผิดชอบ ได้ความเสียสละ เต็มเปี่ยมทุกอย่าง ช่วงที่อยู่ฝึกอยู่ก็บอกว่าพาทำแต่งาน ว่าอย่างนั้น ก็เอาการงานนั่นแหละเป็นการปฏิบัติ จะไปเกียจคร้านทำไม ไม่ปล่อยเวลาทิ้ง งานภายนอกเราก็ไม่ทิ้ง งานภายในเราก็ไม่ทิ้ง
บวช เวลาบวชเข้ามาแล้วก็ เออหนีเข้ามาบวช มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ มันจะได้ประโยชน์อะไร เพราะบวชให้มาฝึกเจริญการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละ การดับ การทำความเข้าใจเป็นอย่างนี้ มันก็จะได้ประโยชน์มากมายมหาศาล ประโยชน์ทั้งภายนอกภายใน ภายในใจก็บริสุทธิ์ ละกิเลส ภายนอกก็ยังโลกธรรมให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังที่พวกท่านได้เข้ามาอยู่นี่แหละ
ป่าไม่มีก็ปลูกป่าให้มี สถานที่ไม่เรียบร้อยก็ทำให้ได้อยู่ดีมีความสุข ตั้งแต่ถนนหนทาง ปากทางเข้ามาแต่ก่อนนี่ หน้าฝนนี่เข้ามาไม่ได้ เราเละตุ้มเป๊ะ กว่าจะเป็นถนนหนทางได้ ก็ช่วยกันทำทั้งกลางค่ำกลางคืน สถานที่พวกท่านนั่งอยู่นี่ก็มีแต่กองกระดูก ขุดดินเข้ามาถมเข้ามาปรับ กว่าท่านจะได้เดิน ได้เหยียบ ได้นั่ง ได้ถ่าย ได้เยี่ยวนี่ อาศัยความเพียร มีความเสียสละ มีพรหมวิหารทำให้ ยังจะพากันเกียจคร้านอยู่ก็ช่วยเหลือไม่ได้
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง ถึงเราทำไม่ต่อเนื่องกันได้ตลอดทั้งวัน ก็ขอให้ทำขณะที่เรากําลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกหมายถึงน้อมเข้าไปดู รู้ สร้างความรู้สึกรับรู้ เวลาลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา นั่งไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว
การสูดลมหายใจยาวๆ ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ หยุดไปทันทีเลย กายของเราก็สบายขึ้น อย่าไปเพ่ง ถ้าเราเอาใจไปจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก หน้าอกก็จะแน่นนะ ถ้าเราเอาสติหรือว่าสมองส่วนบนไปเพ่งปลายจมูก สมองก็จะตึง เพียงแค่มีความรู้สึกว่าหายใจธรรมชาติเป็นลักษณะอย่างนี้ หายใจออก หายใจเข้า ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ หัดสังเกตบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ถ้าเราทำบ่อยๆ เราก็จะรู้ ลมหยาบเป็นอย่างนี้ ลมละเอียดเป็นอย่างนี้ หายใจเข้า หายใจออก อันนี้เขาเรียกว่ารู้กาย มีสติรู้กาย สติเน้นลงที่กายของเราให้ได้ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน
ส่วนการเกิดของใจ หรือว่าการปรุงแต่งของใจนั้นมีกันอยู่ตลอดทุกคน การเกิดของความคิด ขณะเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ใจมันอยากจะปรุงอยากจะคิด เขาจะเริ่มเกิดขึ้นมา ก็จะรู้เท่าทัน ถ้ารู้ไม่ทันก็ดับเอาไว้เสียก่อน เอาใหม่เริ่มใหม่ กําลังสติของเราพลั้งเผลอ ช่วงที่ยังไม่ได้เห็นใจคลายออกจากความคิด หรือว่าแยกรูปแยกนาม สติจะพลั้งเผลอ เพราะความคิดเก่าๆ นี่เขาเคยชิน เขาเคยคิด เคยเที่ยว ขันธ์ห้าก็เอามาปรุงแต่งใจ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้มากเลยทีเดียว
ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณ เพียงแค่การเกิด การปรุงการแต่งนั้น เขาก็ปิดกั้นตัวเขาเอาไว้ ให้เรามาหยุดมาดับ จนกว่าเขาจะคลายให้ได้ เราก็ดับความเกิดให้สั้นลงไป สั้นลงไป เพียงแค่เขาก่อตัวก็จะถึงตัววิญญาณ เราดับบ่อยๆ ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ แล้วก็สร้างตบะบารมีอย่างเต็มเปี่ยม ความเสียสละของเรา มีเต็มเปี่ยมหรือไม่ ความขยันหมั่นเพียร การให้การเอาออก การให้อภัยทาน อโหสิกรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีความจริงใจ มีสัจจะกับตัวเรา
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือต้องรู้ทุกอิริยาบถ สติที่เราฝึกมาแล้วก็รู้จักเอาไปใช้ เอาไปอบรมใจ ไปสังเกต ไปวิเคราะห์ ไปแยกแยะตามดูทุกเรื่อง ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจยอมรับความเป็นจริงได้ นั่นแหละ เขาถึงจะยอมปล่อย ยอมวางได้ ถึงจะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ท่านบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อ ให้ปฏิบัติดังนี้ ให้ทำอย่างนี้ จนรู้ จนเห็น จนแยกแยะ ตามดูได้ ท่านถึงบอกให้เชื่อ ส่วนมากก็ได้ทำบุญศรัทธากันเป็นหย่อมๆ เป็นกองๆ แต่ไม่ทำให้รู้ให้ต่อเนื่องทุกอย่าง
บุญภายนอกเราก็ทำ บุญภายใน การตามดูใจ การตามดูความคิด ต้องให้รู้ทุกกระเบียดนิ้ว ท่านถึงบอกว่ารู้ทุกขณะจิต รู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออกจนเป็นอัตโนมัติ จนเป็นมหาสติ จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาก็จะกลายเป็นปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ปัญญาที่ขัด ขัดเกลากิเลส
ทุกคนก็มีบุญมีอานิสงส์ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส บุญภายนอกเราก็มีโอกาสได้ทำ อย่างหลวงพ่อก็พาทำตลอด นี่แหละบุญทั้งสมมติ บุญทั้งวิมุตติ พาทำบุญใหญ่มาตลอด แล้วก็โอกาสจะได้สร้างบุญใหญ่มหาเจดีย์ใหญ่ แล้วก็ตั้งชื่อว่า ‘พุทธเมตตาหลวง’ ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากพระพุทธองค์ ‘พุทธะ’ คือ ผู้รู้ ผู้รู้ คือ พระพุทธองค์ ‘เมตตา’ ได้รับความเมตตาจากท่านอย่างใหญ่หลวง มหาใหญ่หลวง ถึงได้ตั้งชื่อว่าพุทธเมตตาหลวง
ทีนี้เราจะประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของท่านให้ถึงจุดหมายปลายทาง น้อมนําเอาองค์พระพุทธองค์มาไว้ในใจของเราหรือไม่ นี่พุทธะก็คือผู้รู้ รู้ใจของเรา ใครเห็นธรรม คนนั้นก็เห็นพระพุทธองค์ ใครเห็นใจตัวเองแล้วก็ละกิเลสให้ใจสะอาด ให้ใจบริสุทธิ์ พระพุทธองค์ก็มาอยู่ที่ใจของเรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ที่ใจของเรา
ก็ต้องพยายามนะ ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ อย่าไปละอย่าไปทิ้ง ทุกคนก็มีโอกาส ทุกคนก็มีบุญ ให้ระลึกนึกถึงบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา ถึงเราไม่ได้ทำก็น้อมใจของเราเข้ามาอนุโมทนาสาธุในส่วนแห่งบุญ เราก็จะได้บุญนั้น เราก็จะมีอานิสงส์แห่งบุญนั้น ขณะที่ยังมีกําลังอยู่ก็ให้รีบทำ อย่าไปปล่อยปละละเลย หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง แค่ชี้แนะแค่บอกแค่กล่าว ถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็จะไม่เข้าใจ
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2558
มีความสุขกันทุกคน วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ท้องฟ้าก็แจ่ม สดใส ทุกคนก็มีความสุขได้เข้ามาทำบุญถวายทานกัน พระเราชีเราก็ดูดีๆ นะ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง มีโอกาสมากได้เข้ามาศึกษาดูชีวิตของเรา พระใหม่ก็เหมือนกัน ทั้งใหม่ทั้งเก่า ทั้งผู้เก่าผู้ใหม่ ก็ต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด คือผู้ตื่นตลอด ไม่ใช่ยิ่งใหม่เท่าไร อัตตายิ่งเยอะ เรามาละอัตตาทิฏฐิมานะของตัวเรา มาศึกษา ได้มาอยู่ร่วมรวมกันเยอะมากมาย ก็เพราะเคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ทีนี้เราก็มาพิจารณาแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราแต่ละวันตื่นขึ้นมา ว่าใจของเราเป็นอย่างไร ไปอย่างไร มาอย่างไร ใจของเรามีความสุข อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไขชีวิตของเรา เดินตามแนวทางของพระพุทธองค์ ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องพยายามฝึกพยายามศึกษาให้รู้เรื่อง
ท่านสอนเรื่องชีวิตของตัวเรานั่นแหละ ในกายของเรามีอะไรบ้าง ซึ่งมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง หรือว่ามาสร้างกายเนื้อขึ้นมา อะไรคือส่วนรูปส่วนนาม เรามีแรงบุญแรงศรัทธาอยู่แล้ว เราก็มาศึกษาให้ละเอียด การเจริญสติเป็นอย่างไร คําว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร จิตใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีความแข็งกร้าว เราก็มาแก้ไข เจริญสติไปหมั่นพร่ำสอนใจของเรา อบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน จนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ แม้แต่ในเรื่องการขบการฉัน การรับประทาน เราก็ดูว่ากายของเราหิว หรือว่าใจของเราเกิดความอยาก
เราจะแสวงหาอาหารปัจจัยสี่มาด้วยอย่างไร ด้วยใจที่ไม่เกิด เอาปัญญาไปเกิดแทน แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงด้วย ทั้งรู้ด้วย ทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด แต่การเจริญสติเข้าไปหยุด เข้าไปละ เข้าไปดับ เข้าไปทำความสะอาดตัวใจตรงนี้มีอยู่บ้างแต่ไม่ต่อเนื่อง เราก็ต้องพยายามทำให้ต่อเนื่องกัน พระใหม่ก็เหมือนกัน ทั้งพระใหม่ พระเก่า ทั้งโยมทั้งชี เป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น แนวทางนั้นมีมานาน อย่าพากันเกียจคร้าน จงพากันขยันหมั่นเพียร สอนหมั่นพร่ำสอนใจของเรา อย่าไปโทษคนอื่น โทษคนนั้น โทษคนนี้ ใช้การไม่ได้ เราต้องโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อยู่ด้วยกันแล้วก็มีความสมัครสมานสามัคคี ถ้าบอกตัวเราไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่ได้แล้วก็ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่เกิดประโยชน์
การปฏิบัติ การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของเรานั่นแหละ ไม่ได้ไปฝึกที่ไหนหรอก ทั้งที่ฐานบุญมีมากันตั้งนาน จิตใจเป็นบุญ หาใจของเราให้เจอ เจริญสติเข้าไปรู้เท่าทันใจ เรารู้อยู่ แต่การดับการละมันไม่มีได้ตลอดทุกเรื่อง ใจก็เลยเกิดอยู่อย่างนั้น ก็ถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ บางครั้งก็ใจของเราก็ปกติ แต่ใจของเรายังไม่ได้แยกได้คลายจากความคิด ก็เลยไม่ได้หงายขึ้นมา ก็เพียงแค่ความสงบ
ยิ่งเจริญกําลังสติมีมากเท่าไร ยิ่งรู้ยิ่งเห็นเท่าไรยิ่งมีความสุข พูดคุยกับใจของตัวเอง มีเพื่อนคุย อันโน้นมันถูกอันนี้มันผิด กิเลสตัวไหนจะมาหลอกใจของเรา เราพลั้งเผลอหรือไม่ เราแพ้ให้กิเลสหรือเปล่า มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ถ้าเราไม่เห็นใจของเรา ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ ทั้งเกิด ทั้งวิ่ง ทั้งหลง
มีเพื่อน ใจเขาก็มีเพื่อนเหมือนกัน เขาก็มีกิเลสเป็นเพื่อน มีขันธ์ห้าเป็นเพื่อน ไปด้วยกันมานาน หลงมานาน กรรมการสติปัญญาไปแยกไปคลาย ชี้เหตุชี้ผล ตามดูทุกเรื่องให้เขายอมจำนนจริงๆ เขาถึงจะเบื่อหน่ายในเพื่อนเก่าของเขา ไม่ใช่ว่าจะรู้จะเห็นได้ง่ายๆ เหมือนกัน มันก็เพียงแค่ได้ควบคุม ควบคุมกับหยุดกับดับ อยู่ในคุณงามความดี แต่ตัวใจนั่นแหละเป็นตัวบงการเลยทีเดียว ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติเข้าไปอบรม ไปชี้เหตุชี้ผล ไล่ประหัตประหารกิเลส ทั้งหยาบทั้งละเอียด ให้มันหมดจด หมดงานภายในก็ทำงานภายนอก งานภายใน คือ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ จนใจไม่เกิด งานภายนอกก็สร้างประโยชน์กับโลก กับโลกธรรมให้มีความสุข ก็ต้องพยายามกัน ต้องปฏิบัติเอาฝึกเอา จะไปให้คนอื่นเขาพาเดิน พานั่งพาทำ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นอย่างนี้ สติเป็นอย่างนี้ นี่ใจเกิดปรุงแต่ง เราหยุดได้หรือไม่ ใจเกิดกิเลสเราละได้หรือเปล่า ไม่ใช่ไปเก็บกด เราพยายามคลาย คลายออกแล้วก็ดับ คลาย ถ้าเก็บกดนี่ระเบิด ระเบิดนี่แรง เราต้องพยายาม ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามคลายด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามให้อภัย มองโลกในทางที่ดี คิดดี มีคนมาด่า มาว่าเรา เราก็ดูใจของเรา เราโกรธหรือเปล่า ถ้าเราไม่โกรธเราก็ชนะ ถ้ามันจะเกิดเราก็รู้จักดับ เรารู้จักจุดดับ ใจก็จะเกิดปีติ เกิดสุข มีความเยือกเย็นเข้าไปทดแทน การสร้างประโยชน์ สร้างบุญสร้างกุศล เราก็รู้ใจของเราว่ามีความสุข แต่เราไม่รู้จักส่ง ไม่รู้จักรักษาให้ใจอยู่ในความบริสุทธิ์ได้ตลอดเวลาเท่านั้นเอง
เกิดความอยากเป็นอย่างไร ความกลัวเป็นอย่างไร เราต้องดู พระก็เยอะชีก็เยอะ อีกสักหน่อยก็คงจะได้ช่วยกันทุกอย่าง ให้มีความสุข ใครมีหน้าที่อย่างไรก็ช่วยกัน ออกพรรษานี่ก็จะให้ชีพากันไปตั้งโรงทานบ้าง มหาเจดีย์ เอาอาวุธให้คนละชิ้น คีมมัดลวดคนละอัน สนุกมีความสุข ทั้งพระทั้งชีนี่ไม่พอมือหรอกมั้ง โยมอยากจะมาแจม ก็มาแจม มาเอาบุญด้วยกัน ส่วนมากชีจะแย่งบุญไปก่อนโยม บุญสมมติ ทั้งพระ ทั้งชี ทั้งสามเณร
สมัยก่อนสามเณรตัวเล็กๆ มาอยู่ด้วย มาฝึกหัดปฏิบัติทั้งพระนี่แหละ มาฝึกหัดปฏิบัติพาขยันหมั่นเพียร ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน พอสึกออกไปแล้วมีครอบมีครัวกลับขึ้นมา ย้อนขึ้นมา ถ้าไม่ได้มาฝึกนี่ลําบากเหมือนกัน ได้ความขยัน ได้ความรับผิดชอบ ได้ความเสียสละ เต็มเปี่ยมทุกอย่าง ช่วงที่อยู่ฝึกอยู่ก็บอกว่าพาทำแต่งาน ว่าอย่างนั้น ก็เอาการงานนั่นแหละเป็นการปฏิบัติ จะไปเกียจคร้านทำไม ไม่ปล่อยเวลาทิ้ง งานภายนอกเราก็ไม่ทิ้ง งานภายในเราก็ไม่ทิ้ง
บวช เวลาบวชเข้ามาแล้วก็ เออหนีเข้ามาบวช มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ มันจะได้ประโยชน์อะไร เพราะบวชให้มาฝึกเจริญการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละ การดับ การทำความเข้าใจเป็นอย่างนี้ มันก็จะได้ประโยชน์มากมายมหาศาล ประโยชน์ทั้งภายนอกภายใน ภายในใจก็บริสุทธิ์ ละกิเลส ภายนอกก็ยังโลกธรรมให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังที่พวกท่านได้เข้ามาอยู่นี่แหละ
ป่าไม่มีก็ปลูกป่าให้มี สถานที่ไม่เรียบร้อยก็ทำให้ได้อยู่ดีมีความสุข ตั้งแต่ถนนหนทาง ปากทางเข้ามาแต่ก่อนนี่ หน้าฝนนี่เข้ามาไม่ได้ เราเละตุ้มเป๊ะ กว่าจะเป็นถนนหนทางได้ ก็ช่วยกันทำทั้งกลางค่ำกลางคืน สถานที่พวกท่านนั่งอยู่นี่ก็มีแต่กองกระดูก ขุดดินเข้ามาถมเข้ามาปรับ กว่าท่านจะได้เดิน ได้เหยียบ ได้นั่ง ได้ถ่าย ได้เยี่ยวนี่ อาศัยความเพียร มีความเสียสละ มีพรหมวิหารทำให้ ยังจะพากันเกียจคร้านอยู่ก็ช่วยเหลือไม่ได้
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง ถึงเราทำไม่ต่อเนื่องกันได้ตลอดทั้งวัน ก็ขอให้ทำขณะที่เรากําลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกหมายถึงน้อมเข้าไปดู รู้ สร้างความรู้สึกรับรู้ เวลาลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา นั่งไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว
การสูดลมหายใจยาวๆ ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ หยุดไปทันทีเลย กายของเราก็สบายขึ้น อย่าไปเพ่ง ถ้าเราเอาใจไปจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก หน้าอกก็จะแน่นนะ ถ้าเราเอาสติหรือว่าสมองส่วนบนไปเพ่งปลายจมูก สมองก็จะตึง เพียงแค่มีความรู้สึกว่าหายใจธรรมชาติเป็นลักษณะอย่างนี้ หายใจออก หายใจเข้า ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ หัดสังเกตบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ถ้าเราทำบ่อยๆ เราก็จะรู้ ลมหยาบเป็นอย่างนี้ ลมละเอียดเป็นอย่างนี้ หายใจเข้า หายใจออก อันนี้เขาเรียกว่ารู้กาย มีสติรู้กาย สติเน้นลงที่กายของเราให้ได้ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน
ส่วนการเกิดของใจ หรือว่าการปรุงแต่งของใจนั้นมีกันอยู่ตลอดทุกคน การเกิดของความคิด ขณะเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ใจมันอยากจะปรุงอยากจะคิด เขาจะเริ่มเกิดขึ้นมา ก็จะรู้เท่าทัน ถ้ารู้ไม่ทันก็ดับเอาไว้เสียก่อน เอาใหม่เริ่มใหม่ กําลังสติของเราพลั้งเผลอ ช่วงที่ยังไม่ได้เห็นใจคลายออกจากความคิด หรือว่าแยกรูปแยกนาม สติจะพลั้งเผลอ เพราะความคิดเก่าๆ นี่เขาเคยชิน เขาเคยคิด เคยเที่ยว ขันธ์ห้าก็เอามาปรุงแต่งใจ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้มากเลยทีเดียว
ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณ เพียงแค่การเกิด การปรุงการแต่งนั้น เขาก็ปิดกั้นตัวเขาเอาไว้ ให้เรามาหยุดมาดับ จนกว่าเขาจะคลายให้ได้ เราก็ดับความเกิดให้สั้นลงไป สั้นลงไป เพียงแค่เขาก่อตัวก็จะถึงตัววิญญาณ เราดับบ่อยๆ ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ แล้วก็สร้างตบะบารมีอย่างเต็มเปี่ยม ความเสียสละของเรา มีเต็มเปี่ยมหรือไม่ ความขยันหมั่นเพียร การให้การเอาออก การให้อภัยทาน อโหสิกรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีความจริงใจ มีสัจจะกับตัวเรา
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือต้องรู้ทุกอิริยาบถ สติที่เราฝึกมาแล้วก็รู้จักเอาไปใช้ เอาไปอบรมใจ ไปสังเกต ไปวิเคราะห์ ไปแยกแยะตามดูทุกเรื่อง ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจยอมรับความเป็นจริงได้ นั่นแหละ เขาถึงจะยอมปล่อย ยอมวางได้ ถึงจะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ท่านบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อ ให้ปฏิบัติดังนี้ ให้ทำอย่างนี้ จนรู้ จนเห็น จนแยกแยะ ตามดูได้ ท่านถึงบอกให้เชื่อ ส่วนมากก็ได้ทำบุญศรัทธากันเป็นหย่อมๆ เป็นกองๆ แต่ไม่ทำให้รู้ให้ต่อเนื่องทุกอย่าง
บุญภายนอกเราก็ทำ บุญภายใน การตามดูใจ การตามดูความคิด ต้องให้รู้ทุกกระเบียดนิ้ว ท่านถึงบอกว่ารู้ทุกขณะจิต รู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออกจนเป็นอัตโนมัติ จนเป็นมหาสติ จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาก็จะกลายเป็นปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ปัญญาที่ขัด ขัดเกลากิเลส
ทุกคนก็มีบุญมีอานิสงส์ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส บุญภายนอกเราก็มีโอกาสได้ทำ อย่างหลวงพ่อก็พาทำตลอด นี่แหละบุญทั้งสมมติ บุญทั้งวิมุตติ พาทำบุญใหญ่มาตลอด แล้วก็โอกาสจะได้สร้างบุญใหญ่มหาเจดีย์ใหญ่ แล้วก็ตั้งชื่อว่า ‘พุทธเมตตาหลวง’ ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากพระพุทธองค์ ‘พุทธะ’ คือ ผู้รู้ ผู้รู้ คือ พระพุทธองค์ ‘เมตตา’ ได้รับความเมตตาจากท่านอย่างใหญ่หลวง มหาใหญ่หลวง ถึงได้ตั้งชื่อว่าพุทธเมตตาหลวง
ทีนี้เราจะประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของท่านให้ถึงจุดหมายปลายทาง น้อมนําเอาองค์พระพุทธองค์มาไว้ในใจของเราหรือไม่ นี่พุทธะก็คือผู้รู้ รู้ใจของเรา ใครเห็นธรรม คนนั้นก็เห็นพระพุทธองค์ ใครเห็นใจตัวเองแล้วก็ละกิเลสให้ใจสะอาด ให้ใจบริสุทธิ์ พระพุทธองค์ก็มาอยู่ที่ใจของเรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ที่ใจของเรา
ก็ต้องพยายามนะ ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ อย่าไปละอย่าไปทิ้ง ทุกคนก็มีโอกาส ทุกคนก็มีบุญ ให้ระลึกนึกถึงบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา ถึงเราไม่ได้ทำก็น้อมใจของเราเข้ามาอนุโมทนาสาธุในส่วนแห่งบุญ เราก็จะได้บุญนั้น เราก็จะมีอานิสงส์แห่งบุญนั้น ขณะที่ยังมีกําลังอยู่ก็ให้รีบทำ อย่าไปปล่อยปละละเลย หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง แค่ชี้แนะแค่บอกแค่กล่าว ถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็จะไม่เข้าใจ
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ