หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 32
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 32
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 32
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน มาพร้อมเพรียงกันแล้วนะ สามเณรจัดแถวให้เป็นระเบียบให้ตรง ตั้งบาตรให้เป็นที่เรียบร้อย นั่งแถวตรงเหมือนกับงูลอยน้ำ ไม่สวย จัดแถวใหม่นั่งให้ตรงๆ ตั้งบาตรให้สวยงามเป็นระเบียบ เล็กๆ น้อยๆ เราอย่าไปมองข้าม เราบวชมาฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาทุกอย่างในวันนี้มีความพร้อมเพรียงกัน ก็ไปจัดกลดจัดเต็นท์ที่สวนมะลิวัลย์ จะได้ฝึก มีสาดมีเสื่อผืนหมอนใบ กลด ที่พักที่อาศัยกางเต็นท์กันแดดกันฝนจะได้ฝึกขั้นพื้นฐาน หลบฝนลงก็ค่อยเข้าร่มเข้าเงา โตขึ้นไปจะได้ไม่ได้ลําบาก
เพียงแค่ขั้นพื้นฐานระดับสมมติก็ทำให้รู้จัก มีสาด เสื่อหมอนใบ สบู่ ยาสีฟัน ทำความสะอาดให้เป็นระเบียบ โตขึ้นไปก็จะได้เก่งๆ ไม่ต้องไปกลัวลําบาก ฝึก อาจารย์ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จิตร์ท่านก็จะพาฝึก ได้บรรยากาศ ได้บรรยากาศดี ผีหลอกมาด้านในก็จะได้มองเห็น มาซ้ายมาขวา อยู่ในกลดในเต็นท์ ไม่ใช่ตั้งแต่เอาเล่นสนุกสนาน คอยสร้างสะสมอานิสงส์คุณงามความดีไป
พากันดูดีๆนะสามเณร พระใหม่พระเก่า สามเณรบวชใหม่ กายก็หิว ใจจะเกิดความอยาก อันโน้นก็อยากอันนี้ก็อยาก อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย ตาเห็นอาหาร ตาเห็นขนม ใจมันบอกว่าจะเอาอันโน้นจะเอาอันนี้ เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม เอาเยอะๆ มันสั่ง กิเลสมันสั่ง ดูดีๆ นะ ถ้าอยากแล้วห้ามเอา ถ้าหิวเราก็ค่อยเอา ถ้าอยากแล้วให้ผ่านไป ถ้าผ่านไปแล้วใจยังอาลัยอาวรณ์หรือเปล่าก็ต้องพยายามหยุด พยายามดับ ให้เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ ถ้าเอาเยอะเราฉันไม่หมด เจ้าคุณจะลงโทษหนัก ตรวจดูด้วย กะประมาณ วันนี้เรากะประมาณได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้ให้พอดี ถ้าเอาเยอะแล้วก็ทานไม่หมด แล้วก็เอาไปทิ้ง
มองซ้ายมองขวามองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา จะได้รู้จักพิจารณา อาหารแต่ละส่วน จากข้างบนถึงข้างล่าง ถึงตรงกลาง ถึงคนสุดท้าย นี่ถ้าเราเอาแล้วทานไม่หมดก็เอาไปทิ้ง คนข้างหลังก็เลยไม่ได้ทาน อย่าให้ใจของเราเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว พยายามหยุดพยายามดับ เอาก็เอาด้วยปัญญา เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา ต้องพิจารณาทุกเรื่องทุกอย่าง ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
วันนี้ก็พากันไปทำที่พักที่อาศัย เอากลดเอาเต็นท์ เอาเสื่อยางไปปู เอาสาดไปปู แล้วก็กางเต็นท์ หาผ้ายางกันฝนด้วย จะได้ฝึกฝนตัวเรา เป็นที่พึ่งตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อะไรที่จำเป็นในชีวิตขั้นพื้นฐาน สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ไม่ต้องไปเอาเยอะ เอาน้อยๆ พอได้ใช้สอย จะได้โล่งได้โปร่ง ได้ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักรับผิดชอบ ทำความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หลังจากเคลียร์งานเสร็จ ท่านอาจารย์ท่านก็จะช่วยอบรม แล้วก็พากันช่วยปลูกต้นไม้ เวลาว่างๆปลูกต้นวาสนากัน จะได้มีบุญมีวาสนากับเขา มีแล้วแหละ ถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ตรงไหนที่พอลงได้ก็ลงๆ คนละต้นสองต้น ช่วยกัน
ปีหน้าปีต่อไป เราก็จะได้ให้เห็นดอกวาสนาขึ้นเต็ม มีความสุข เดี๋ยวนี้ก็สวนมะลิวัลย์ต้นกัลปพฤกษ์ออกดอกเต็มสวน ไปปักกลดปักเต็นท์ อยู่ในสวนมะลิวัลย์ อยู่ใต้ต้นดอกไม้ หอมกรุ่นกลางคืน เดี๋ยวเราจะได้มีชีวิตที่มีความสุขโตขึ้นไปเราก็จะได้ต่อสู้กับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ
กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ อดพูดอดคิด สังเกตดูความคิด เอาตั้งแต่เริ่มต้น ถึงเวลาก็ออกดอกออกผล เราจะไปเร่งให้ออกดอกออกผลเลยก็ไม่ได้ เราก็ต้องขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบเป็นคนที่มีความขยัน ขยันแล้วก็อดทน
เหมือนกับสามเณร สามเณรอะไรหนอ ปีนั้นมาบวชด้วย อะไรนะ ไอ้ที่ร้องไห้ที่ร้องไห้คิดถึงแม่ แผ่เมตตาแล้วก็ร้องไห้อยากให้แม่ได้บุญ สามเณรอะไรนะ เดี๋ยวนี้โตเป็นหนุ่มแล้วไปเรียนที่เมืองนอก อะไรนะ เณรอะไรนะ หม่อน หม่อนหรือหม่อน อะไรนะ ม่อน สามเณรม่อนมาจากกรุงเทพ ตัวโตกว่าคุณหมอซะอีก วันนั้นก็ให้ทำวัตรสวดมนต์ บทแผ่เมตตา ร้องไห้ว่าคิดถึงแม่ อยากให้แม่ได้มีความสุขว่าอย่างนั้นนะ ฝนก็ตกหนักเอาการวันนั้นนะ สามเณร ก็เลยบอก ทำไมถึงร้องไห้ คิดถึงแม่ว่างั้น อย่าไปร้องไห้อย่าร้องไห้อีกนะ ถ้าสามเณรวัดป่านี้ถ้าเณรร้องไห้เมื่อไรฝนตกหนักเลยนะ สามเณรวันหลังมาอีกก็ทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตา อ้าววันนี้ไม่เห็นสามเณรร้องเลย ผมอดเอาครับ ทำไมล่ะ ผมกลัวฝนตกผ้าเปียกไม่มีผ้าไปใส่ไปบิณฑบาตครับ สามเณรนะ โตเป็นหนุ่มแล้ว ไปเรียนอยู่ที่ประเทศนอกแล้วเดี๋ยวก็กลับมา
ถุงอิหยังผู้เฒ่า ดีๆๆ เอาถาดมาใส่ๆๆ โอ้ดีจัง มีอะไรก็มาร่วมกัน มาม่ามีเยอะ คนใหม่เอามาให้เป็นถุงปุ๋ยใหญ่ ผัดให้เด็กๆ ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยากกลัวลําบาก อานิสงส์บุญเยอะแยะ แต่ต้องดับความอยากนะ ละดับความอยากให้ได้เสียก่อนค่อยเอา ความอยากหรือว่าความคิด ดับที่โน่นดับที่นี่มันก็เหือดแห้งไป
ดูดีๆ นะ สามเณร วันหลังจัดระเบียบให้สวยงามกว่านี้หน่อย ต้องนั่งให้เป็นแถวตรง บาตรต้องตรงดิ่ง เอาเชือกไปขึงกับเสาหลังร้านต้นไม้ เอาไว้ตากผ้าผ่อนให้เป็นระเบียบ ตากทั้งชายข้างบนข้างล่างก็ต้องให้เป็นระเบียบ ไม่ใช่ว่าทิ้งระเกะระกะ ทุกอย่างต้องเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบนั่นแหละคือข้อวัตร ถ้าเราไม่มีความเป็นระเบียบในตัวของเราเองแล้ว ก็ไม่รู้ว่าใครจะมาจัดระบบให้ เราก็ต้องพยายามสร้างความเป็นระเบียบให้มีในการกายในใจของเรา ข้อวัตรในกายในใจของเรา
อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน นั่นถึงจะมีความสุข ไม่ใช่ว่าอยากจะได้ตั้งแต่ธรรม มีตั้งแต่ความอยากมันก็ปิดกั้นเอาไว้หมด ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น การกระทำ การแสวงหา การดิ้นรนด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล ความขยันหมั่นเพียรต้องเป็นเลิศ ค่อยเป็นค่อยไป ใครบอกยากก็ มันจะไปส่งผลเอาถึงวันข้างหน้า มันจะไปถึงจุดหมายเป็นบุคคลที่บอกง่าย สอนง่าย จนกระทั่งสอนตัวเราได้ ใช้ตัวเองเป็น เราไม่เข้าใจแนวทาง ก็ครูบาอาจารย์ก็มี ที่อบรมให้ ถ้าเราเข้าใจแล้วก็สติปัญญาของเราที่สร้างขึ้นมานี่แหละ เป็นอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา อะไรผิดอะไรถูกก็รีบแก้ไข ก็ต้องพยายามกันนะ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายาม
สมัยก่อนนะเณรก็มาอยู่ด้วยกันตั้งร่วม เจ็ด แปด สิบกว่า ฝึกสามเณร ฝึกหนักอยู่ เราก็ยังว่า เรายังไม่พอใจ เราอยากจะให้ดีไปกว่านี้อีก ได้เห็นเป็นครูก็ไปหลายคนมั้ง เหมือนกันมั้งทางเมืองเลย ไอ้เละ ไอ้เละมาบวชอยู่ด้วยเป็นเณร ส่งไปเรียน กลับมาเป็นหนุ่ม ผมเป็นครูแล้วครับจำผมได้หรือเปล่า ขนาดว่าของเราเละตุ้มเป๊ะ พอออกไปข้างนอกเขาเละกว่าเราเสียอีก ขนาดว่าเราเละแล้วนะ เราว่ายังไม่ได้ดั่งใจของเรา ออกไปข้างนอกก็ยิ่งเละกว่าเราเสียอีก ถ้าไม่ได้ออกไปเปรียบเทียบแล้วมองไม่เห็น
มีเพื่อนคนหนึ่งที่บวชเป็นพระ เดี๋ยวนี้ก็เป็นผู้อํานวยการโรงเรียนก็มาบ่นมา พระตั้งเยอะ เณรตั้งเยอะ ลําบากทุกข์ ทำไมถึงทุกข์ มีตั้งกฎระเบียบเขียนเต็มกระดานไปหมด มันก็ยังทุกข์ มาเห็นวัดหลวงพ่อไม่เห็นมีเขียนกฎระเบียบอะไรเลย ไม่เห็นมีความทุกข์เท่าไร
ถ้าคนไม่มีระเบียบจะไปเขียนมากมายถึงขนาดไหน มันเขียนอะไร เขียนข้อนี้ก็มุดออกข้อนี้ เขียนข้อนี้ก็มุดออกข้อนี้ มันจะไปเกิดประโยชน์อะไร ถ้าคนเรามีระเบียบอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องไปเขียน ไปประกาศให้มันยุ่งยากเลย อยู่หลายคนก็มีความสุข อยู่น้อยคนก็มีความสุข ถ้ามีระเบียบในตัวเอง กฎระเบียบก็มีไว้เพื่อบังคับคนมีกิเลสเท่านั้น คนกิเลสน้อยกิเลสเบาบางไม่จำเป็นต้องไปตั้งกฎอะไรมากมาย เพียงแค่ให้มีกฎอะไรบังคับตัวเราแก้ไขตัวเรา อะไรควรละอะไรควรเจริญ
คนทั่วไปไม่รู้จักแก้ไขตัวเอง ชอบให้ คนอื่นเขามาบังคับ บังคับไม่อยู่กับกฎหมายบ้านเมืองนะ จับเข้าคุกไปเที่ยวเมืองนอกไปเที่ยวฮ่องกง ตั้งหลายเดือนหลายปีก็มี เพราะว่ากิเลสมันหนา ถ้าคนเรากิเลสเบาบางแล้ว เพียงแค่ได้ยินได้ฟังนิดเดียวเท่านั้นแหละ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นนี้ การทำบุญให้ทานเป็นอย่างนี้ มีความสะดุ้งละอายเกรงกลัวต่อบาป อะไรควรละอะไรควรเจริญ อยู่คนเดียวก็แก้ไขตัวเองได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน
เราไม่เข้าใจแนวทาง เราก็แสวงหาแนวทาง แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน ก็ต้องพยายามกันได้เล็กได้น้อยได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายาม กายวิเวกเป็นอย่างไร เรามาเปลี่ยนสภาวะให้จากฆราวาสเป็นพระเป็นเณรเป็นชี เราก็ต้องพยายามกระตือรือร้น คนวัดต้องเป็นคนขยัน ขยันหมั่นเพียร นอนดึก ตื่นดึก แก้ไขตัวเองปรับปรุงตัวเอง
วันนี้แหล่ะท่านเจ้าคุณจะเริ่มตรวจบาตรด้วยแต่เจ้าคุณมีกฎ อยู่อันหนึ่ง ว่าใครมาบวชเณร อยากห้ามเอา ห้ามทาน ห้ามเอา หิวค่อยเอา แต่น้ำหนักต้องเพิ่มอย่างน้อยสักก่อนสึก 2 กิโล ว่าอย่างนั้นนะ เดี๋ยวจะว่าท่านเจ้าคุณเลี้ยงไม่ดี อย่าไปทิ้งระเกะระกะ เห็นคุณค่า พวกพานุ่งผ้าถือต่างๆ ก็ไปวางให้เป็นระเบียบ หัดนุ่งผ้าครองผ้าให้ดี ให้เป็นระเบียบ ถ้าเราไม่จัดระบบระเบียบมันก็จะค่อยสะสม ความเละเทะจากน้อยๆ ไปหามากๆ
ถ้าคนเรามีความเป็นระเบียบ เพียงแค่นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่อยากจะเสียเวลา เป็นคนระเบียบในตัวเราเสียก่อน ในใจของเราเสียก่อน ก็จะล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะสู่เพื่อนสู่ฝูง สู่สังคม สังคมน้อย สังคมใหญ่ก็จะมีความสุข ถ้าคนเรามีความเป็นระเบียบไม่ต้องมีอะไรมาบังคับ รู้ว่าอะไรควรทำอะไรควรเจริญ อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งกัน อย่าไปเสียงดัง ทะเลาะเบาะแว้ง ค่อยพูดค่อยจา
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง อดทนๆ ต่อทุกขเวทนาทางด้านร่างกายสักหน่อยก็ยังดีดีกว่าไม่ได้ทำ วางความคิดวางอารมณ์ ที่จะเกิดจากตัวใจของเราเสียก่อน วางภาระหน้าที่การงานเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เรามาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจของเรา ด้วยการเจริญสติ
อานาปานสติสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมจะหายใจยาว กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา อันนี้แหละ เขาเรียกว่าสติรู้กาย แต่ยังไม่ลึกรู้ถึงฐานของใจนะ อันนี้เพียงแค่รู้กายเฉยๆ
เพียงแค่รู้กายเราก็ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร เพราะว่าหายใจก็หายใจมาตั้งแต่เกิด แต่เราไม่รู้ว่าหายใจเข้าหายใจออก ความรู้สึกที่ต่อเนื่องซึ่งภาษาธรรมะท่านเรียกว่า ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็ลึกลงไปก็รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ลึกลงไปอีก ความคิดอาการของใจกับตัวใจเขาเคลื่อนรวมกันได้อย่างไร นี่แหละเขาเรียกว่าความหลงอันลุ่มลึก เพราะว่าใจมาสร้างกายเนื้อ มาสร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้หมด แล้วเขาเกิดต่ออีก บางทีก็ทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งยึดทั้งยินดียินร้าย กิเลสหยาบกิเลสละเอียดมีเยอะแยะมากมายจริงๆ
ยิ่งเจริญสติเข้าไปค้นคว้า กําลังสติปัญญาของเรามีมากเท่าไร ยิ่งเห็นเยอะ เห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละๆ ค่อยบริหาร ค่อยเจริญ อบรมใจของเรา ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหมดลมหายใจนั่นแหละ จนมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวใหม่
ทั้งสมมติภายนอกทั้งวิมุตติภายในก็ค่อยอบรมกันไป จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเป็นทุกขณะลมหายใจเข้าออกจนหมดลมหายใจนั่นแหละ เราก็จะได้มองเห็นหนทางเดิน แต่เวลานี้เรากําลังเจริญสติรู้จักลักษณะของสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักสติ แสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม ความหมายของพระพุทธองค์ท่านสอนอย่างไร เรื่องอะไร เราต้องพยายามศึกษาอยู่ในใจของเราให้ปรากฏ ให้เห็นแล้วก็หมดความสงสัย หมดความลังเล ก็จะมองเห็นหนทางเท่านั้นเอง
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน มาพร้อมเพรียงกันแล้วนะ สามเณรจัดแถวให้เป็นระเบียบให้ตรง ตั้งบาตรให้เป็นที่เรียบร้อย นั่งแถวตรงเหมือนกับงูลอยน้ำ ไม่สวย จัดแถวใหม่นั่งให้ตรงๆ ตั้งบาตรให้สวยงามเป็นระเบียบ เล็กๆ น้อยๆ เราอย่าไปมองข้าม เราบวชมาฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาทุกอย่างในวันนี้มีความพร้อมเพรียงกัน ก็ไปจัดกลดจัดเต็นท์ที่สวนมะลิวัลย์ จะได้ฝึก มีสาดมีเสื่อผืนหมอนใบ กลด ที่พักที่อาศัยกางเต็นท์กันแดดกันฝนจะได้ฝึกขั้นพื้นฐาน หลบฝนลงก็ค่อยเข้าร่มเข้าเงา โตขึ้นไปจะได้ไม่ได้ลําบาก
เพียงแค่ขั้นพื้นฐานระดับสมมติก็ทำให้รู้จัก มีสาด เสื่อหมอนใบ สบู่ ยาสีฟัน ทำความสะอาดให้เป็นระเบียบ โตขึ้นไปก็จะได้เก่งๆ ไม่ต้องไปกลัวลําบาก ฝึก อาจารย์ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จิตร์ท่านก็จะพาฝึก ได้บรรยากาศ ได้บรรยากาศดี ผีหลอกมาด้านในก็จะได้มองเห็น มาซ้ายมาขวา อยู่ในกลดในเต็นท์ ไม่ใช่ตั้งแต่เอาเล่นสนุกสนาน คอยสร้างสะสมอานิสงส์คุณงามความดีไป
พากันดูดีๆนะสามเณร พระใหม่พระเก่า สามเณรบวชใหม่ กายก็หิว ใจจะเกิดความอยาก อันโน้นก็อยากอันนี้ก็อยาก อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย ตาเห็นอาหาร ตาเห็นขนม ใจมันบอกว่าจะเอาอันโน้นจะเอาอันนี้ เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม เอาเยอะๆ มันสั่ง กิเลสมันสั่ง ดูดีๆ นะ ถ้าอยากแล้วห้ามเอา ถ้าหิวเราก็ค่อยเอา ถ้าอยากแล้วให้ผ่านไป ถ้าผ่านไปแล้วใจยังอาลัยอาวรณ์หรือเปล่าก็ต้องพยายามหยุด พยายามดับ ให้เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ ถ้าเอาเยอะเราฉันไม่หมด เจ้าคุณจะลงโทษหนัก ตรวจดูด้วย กะประมาณ วันนี้เรากะประมาณได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้ให้พอดี ถ้าเอาเยอะแล้วก็ทานไม่หมด แล้วก็เอาไปทิ้ง
มองซ้ายมองขวามองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา จะได้รู้จักพิจารณา อาหารแต่ละส่วน จากข้างบนถึงข้างล่าง ถึงตรงกลาง ถึงคนสุดท้าย นี่ถ้าเราเอาแล้วทานไม่หมดก็เอาไปทิ้ง คนข้างหลังก็เลยไม่ได้ทาน อย่าให้ใจของเราเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว พยายามหยุดพยายามดับ เอาก็เอาด้วยปัญญา เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา ต้องพิจารณาทุกเรื่องทุกอย่าง ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
วันนี้ก็พากันไปทำที่พักที่อาศัย เอากลดเอาเต็นท์ เอาเสื่อยางไปปู เอาสาดไปปู แล้วก็กางเต็นท์ หาผ้ายางกันฝนด้วย จะได้ฝึกฝนตัวเรา เป็นที่พึ่งตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อะไรที่จำเป็นในชีวิตขั้นพื้นฐาน สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ไม่ต้องไปเอาเยอะ เอาน้อยๆ พอได้ใช้สอย จะได้โล่งได้โปร่ง ได้ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักรับผิดชอบ ทำความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หลังจากเคลียร์งานเสร็จ ท่านอาจารย์ท่านก็จะช่วยอบรม แล้วก็พากันช่วยปลูกต้นไม้ เวลาว่างๆปลูกต้นวาสนากัน จะได้มีบุญมีวาสนากับเขา มีแล้วแหละ ถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ตรงไหนที่พอลงได้ก็ลงๆ คนละต้นสองต้น ช่วยกัน
ปีหน้าปีต่อไป เราก็จะได้ให้เห็นดอกวาสนาขึ้นเต็ม มีความสุข เดี๋ยวนี้ก็สวนมะลิวัลย์ต้นกัลปพฤกษ์ออกดอกเต็มสวน ไปปักกลดปักเต็นท์ อยู่ในสวนมะลิวัลย์ อยู่ใต้ต้นดอกไม้ หอมกรุ่นกลางคืน เดี๋ยวเราจะได้มีชีวิตที่มีความสุขโตขึ้นไปเราก็จะได้ต่อสู้กับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ
กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ อดพูดอดคิด สังเกตดูความคิด เอาตั้งแต่เริ่มต้น ถึงเวลาก็ออกดอกออกผล เราจะไปเร่งให้ออกดอกออกผลเลยก็ไม่ได้ เราก็ต้องขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบเป็นคนที่มีความขยัน ขยันแล้วก็อดทน
เหมือนกับสามเณร สามเณรอะไรหนอ ปีนั้นมาบวชด้วย อะไรนะ ไอ้ที่ร้องไห้ที่ร้องไห้คิดถึงแม่ แผ่เมตตาแล้วก็ร้องไห้อยากให้แม่ได้บุญ สามเณรอะไรนะ เดี๋ยวนี้โตเป็นหนุ่มแล้วไปเรียนที่เมืองนอก อะไรนะ เณรอะไรนะ หม่อน หม่อนหรือหม่อน อะไรนะ ม่อน สามเณรม่อนมาจากกรุงเทพ ตัวโตกว่าคุณหมอซะอีก วันนั้นก็ให้ทำวัตรสวดมนต์ บทแผ่เมตตา ร้องไห้ว่าคิดถึงแม่ อยากให้แม่ได้มีความสุขว่าอย่างนั้นนะ ฝนก็ตกหนักเอาการวันนั้นนะ สามเณร ก็เลยบอก ทำไมถึงร้องไห้ คิดถึงแม่ว่างั้น อย่าไปร้องไห้อย่าร้องไห้อีกนะ ถ้าสามเณรวัดป่านี้ถ้าเณรร้องไห้เมื่อไรฝนตกหนักเลยนะ สามเณรวันหลังมาอีกก็ทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตา อ้าววันนี้ไม่เห็นสามเณรร้องเลย ผมอดเอาครับ ทำไมล่ะ ผมกลัวฝนตกผ้าเปียกไม่มีผ้าไปใส่ไปบิณฑบาตครับ สามเณรนะ โตเป็นหนุ่มแล้ว ไปเรียนอยู่ที่ประเทศนอกแล้วเดี๋ยวก็กลับมา
ถุงอิหยังผู้เฒ่า ดีๆๆ เอาถาดมาใส่ๆๆ โอ้ดีจัง มีอะไรก็มาร่วมกัน มาม่ามีเยอะ คนใหม่เอามาให้เป็นถุงปุ๋ยใหญ่ ผัดให้เด็กๆ ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยากกลัวลําบาก อานิสงส์บุญเยอะแยะ แต่ต้องดับความอยากนะ ละดับความอยากให้ได้เสียก่อนค่อยเอา ความอยากหรือว่าความคิด ดับที่โน่นดับที่นี่มันก็เหือดแห้งไป
ดูดีๆ นะ สามเณร วันหลังจัดระเบียบให้สวยงามกว่านี้หน่อย ต้องนั่งให้เป็นแถวตรง บาตรต้องตรงดิ่ง เอาเชือกไปขึงกับเสาหลังร้านต้นไม้ เอาไว้ตากผ้าผ่อนให้เป็นระเบียบ ตากทั้งชายข้างบนข้างล่างก็ต้องให้เป็นระเบียบ ไม่ใช่ว่าทิ้งระเกะระกะ ทุกอย่างต้องเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบนั่นแหละคือข้อวัตร ถ้าเราไม่มีความเป็นระเบียบในตัวของเราเองแล้ว ก็ไม่รู้ว่าใครจะมาจัดระบบให้ เราก็ต้องพยายามสร้างความเป็นระเบียบให้มีในการกายในใจของเรา ข้อวัตรในกายในใจของเรา
อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน นั่นถึงจะมีความสุข ไม่ใช่ว่าอยากจะได้ตั้งแต่ธรรม มีตั้งแต่ความอยากมันก็ปิดกั้นเอาไว้หมด ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น การกระทำ การแสวงหา การดิ้นรนด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล ความขยันหมั่นเพียรต้องเป็นเลิศ ค่อยเป็นค่อยไป ใครบอกยากก็ มันจะไปส่งผลเอาถึงวันข้างหน้า มันจะไปถึงจุดหมายเป็นบุคคลที่บอกง่าย สอนง่าย จนกระทั่งสอนตัวเราได้ ใช้ตัวเองเป็น เราไม่เข้าใจแนวทาง ก็ครูบาอาจารย์ก็มี ที่อบรมให้ ถ้าเราเข้าใจแล้วก็สติปัญญาของเราที่สร้างขึ้นมานี่แหละ เป็นอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา อะไรผิดอะไรถูกก็รีบแก้ไข ก็ต้องพยายามกันนะ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายาม
สมัยก่อนนะเณรก็มาอยู่ด้วยกันตั้งร่วม เจ็ด แปด สิบกว่า ฝึกสามเณร ฝึกหนักอยู่ เราก็ยังว่า เรายังไม่พอใจ เราอยากจะให้ดีไปกว่านี้อีก ได้เห็นเป็นครูก็ไปหลายคนมั้ง เหมือนกันมั้งทางเมืองเลย ไอ้เละ ไอ้เละมาบวชอยู่ด้วยเป็นเณร ส่งไปเรียน กลับมาเป็นหนุ่ม ผมเป็นครูแล้วครับจำผมได้หรือเปล่า ขนาดว่าของเราเละตุ้มเป๊ะ พอออกไปข้างนอกเขาเละกว่าเราเสียอีก ขนาดว่าเราเละแล้วนะ เราว่ายังไม่ได้ดั่งใจของเรา ออกไปข้างนอกก็ยิ่งเละกว่าเราเสียอีก ถ้าไม่ได้ออกไปเปรียบเทียบแล้วมองไม่เห็น
มีเพื่อนคนหนึ่งที่บวชเป็นพระ เดี๋ยวนี้ก็เป็นผู้อํานวยการโรงเรียนก็มาบ่นมา พระตั้งเยอะ เณรตั้งเยอะ ลําบากทุกข์ ทำไมถึงทุกข์ มีตั้งกฎระเบียบเขียนเต็มกระดานไปหมด มันก็ยังทุกข์ มาเห็นวัดหลวงพ่อไม่เห็นมีเขียนกฎระเบียบอะไรเลย ไม่เห็นมีความทุกข์เท่าไร
ถ้าคนไม่มีระเบียบจะไปเขียนมากมายถึงขนาดไหน มันเขียนอะไร เขียนข้อนี้ก็มุดออกข้อนี้ เขียนข้อนี้ก็มุดออกข้อนี้ มันจะไปเกิดประโยชน์อะไร ถ้าคนเรามีระเบียบอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องไปเขียน ไปประกาศให้มันยุ่งยากเลย อยู่หลายคนก็มีความสุข อยู่น้อยคนก็มีความสุข ถ้ามีระเบียบในตัวเอง กฎระเบียบก็มีไว้เพื่อบังคับคนมีกิเลสเท่านั้น คนกิเลสน้อยกิเลสเบาบางไม่จำเป็นต้องไปตั้งกฎอะไรมากมาย เพียงแค่ให้มีกฎอะไรบังคับตัวเราแก้ไขตัวเรา อะไรควรละอะไรควรเจริญ
คนทั่วไปไม่รู้จักแก้ไขตัวเอง ชอบให้ คนอื่นเขามาบังคับ บังคับไม่อยู่กับกฎหมายบ้านเมืองนะ จับเข้าคุกไปเที่ยวเมืองนอกไปเที่ยวฮ่องกง ตั้งหลายเดือนหลายปีก็มี เพราะว่ากิเลสมันหนา ถ้าคนเรากิเลสเบาบางแล้ว เพียงแค่ได้ยินได้ฟังนิดเดียวเท่านั้นแหละ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นนี้ การทำบุญให้ทานเป็นอย่างนี้ มีความสะดุ้งละอายเกรงกลัวต่อบาป อะไรควรละอะไรควรเจริญ อยู่คนเดียวก็แก้ไขตัวเองได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน
เราไม่เข้าใจแนวทาง เราก็แสวงหาแนวทาง แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน ก็ต้องพยายามกันได้เล็กได้น้อยได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายาม กายวิเวกเป็นอย่างไร เรามาเปลี่ยนสภาวะให้จากฆราวาสเป็นพระเป็นเณรเป็นชี เราก็ต้องพยายามกระตือรือร้น คนวัดต้องเป็นคนขยัน ขยันหมั่นเพียร นอนดึก ตื่นดึก แก้ไขตัวเองปรับปรุงตัวเอง
วันนี้แหล่ะท่านเจ้าคุณจะเริ่มตรวจบาตรด้วยแต่เจ้าคุณมีกฎ อยู่อันหนึ่ง ว่าใครมาบวชเณร อยากห้ามเอา ห้ามทาน ห้ามเอา หิวค่อยเอา แต่น้ำหนักต้องเพิ่มอย่างน้อยสักก่อนสึก 2 กิโล ว่าอย่างนั้นนะ เดี๋ยวจะว่าท่านเจ้าคุณเลี้ยงไม่ดี อย่าไปทิ้งระเกะระกะ เห็นคุณค่า พวกพานุ่งผ้าถือต่างๆ ก็ไปวางให้เป็นระเบียบ หัดนุ่งผ้าครองผ้าให้ดี ให้เป็นระเบียบ ถ้าเราไม่จัดระบบระเบียบมันก็จะค่อยสะสม ความเละเทะจากน้อยๆ ไปหามากๆ
ถ้าคนเรามีความเป็นระเบียบ เพียงแค่นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่อยากจะเสียเวลา เป็นคนระเบียบในตัวเราเสียก่อน ในใจของเราเสียก่อน ก็จะล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะสู่เพื่อนสู่ฝูง สู่สังคม สังคมน้อย สังคมใหญ่ก็จะมีความสุข ถ้าคนเรามีความเป็นระเบียบไม่ต้องมีอะไรมาบังคับ รู้ว่าอะไรควรทำอะไรควรเจริญ อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งกัน อย่าไปเสียงดัง ทะเลาะเบาะแว้ง ค่อยพูดค่อยจา
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง อดทนๆ ต่อทุกขเวทนาทางด้านร่างกายสักหน่อยก็ยังดีดีกว่าไม่ได้ทำ วางความคิดวางอารมณ์ ที่จะเกิดจากตัวใจของเราเสียก่อน วางภาระหน้าที่การงานเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เรามาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจของเรา ด้วยการเจริญสติ
อานาปานสติสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมจะหายใจยาว กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา อันนี้แหละ เขาเรียกว่าสติรู้กาย แต่ยังไม่ลึกรู้ถึงฐานของใจนะ อันนี้เพียงแค่รู้กายเฉยๆ
เพียงแค่รู้กายเราก็ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร เพราะว่าหายใจก็หายใจมาตั้งแต่เกิด แต่เราไม่รู้ว่าหายใจเข้าหายใจออก ความรู้สึกที่ต่อเนื่องซึ่งภาษาธรรมะท่านเรียกว่า ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็ลึกลงไปก็รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ลึกลงไปอีก ความคิดอาการของใจกับตัวใจเขาเคลื่อนรวมกันได้อย่างไร นี่แหละเขาเรียกว่าความหลงอันลุ่มลึก เพราะว่าใจมาสร้างกายเนื้อ มาสร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้หมด แล้วเขาเกิดต่ออีก บางทีก็ทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งยึดทั้งยินดียินร้าย กิเลสหยาบกิเลสละเอียดมีเยอะแยะมากมายจริงๆ
ยิ่งเจริญสติเข้าไปค้นคว้า กําลังสติปัญญาของเรามีมากเท่าไร ยิ่งเห็นเยอะ เห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละๆ ค่อยบริหาร ค่อยเจริญ อบรมใจของเรา ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหมดลมหายใจนั่นแหละ จนมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวใหม่
ทั้งสมมติภายนอกทั้งวิมุตติภายในก็ค่อยอบรมกันไป จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเป็นทุกขณะลมหายใจเข้าออกจนหมดลมหายใจนั่นแหละ เราก็จะได้มองเห็นหนทางเดิน แต่เวลานี้เรากําลังเจริญสติรู้จักลักษณะของสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักสติ แสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม ความหมายของพระพุทธองค์ท่านสอนอย่างไร เรื่องอะไร เราต้องพยายามศึกษาอยู่ในใจของเราให้ปรากฏ ให้เห็นแล้วก็หมดความสงสัย หมดความลังเล ก็จะมองเห็นหนทางเท่านั้นเอง
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันให้รู้ทุกอิริยาบถ