หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 6
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 6
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 6
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 มกราคม 2558
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ แค่การสร้างซึ่งเรียกว่าการเจริญ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราวถึงเราละไม่ได้ ดับไม่ได้ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้เป็นอุบายเท่านั้นที่จะทำใจของเราให้สงบ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ เวลาลมหายใจเข้าหายใจออกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’
ถ้าเรามีความรู้ตัวทั่วพร้อมตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ลึกลงไปเราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่เริ่มปรุงแต่งเป็นอย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไรซึ่งเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมมีอยู่สี่ส่วน ส่วนญาณนั้นส่วนหนึ่ง ส่วนอาการของความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งนั่นแหละ ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณเข้าไปรวม เข้าไปหลงเอาความคิดตรงนั้น ทำให้เกิดอัตตาตัวตนทั้งใจ บางทีก็เกิดความอยากความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความอยากทั้งความไม่อยาก ทุกอย่างเราต้องเจริญสติเข้าไปพิจารณาแยกแยะ เห็นเหตุเห็นผล ตามทำความเข้าใจ กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอก็เลยไม่รู้เท่าทันตรงนี้ มีตั้งแต่ตัวใจกับขันธ์ห้าส่งออกไปภายนอกเป็นตัวบงการ เป็นตัวต้นเหตุ
เราต้องมาเจริญสติ มาเจริญผู้รู้ไปอบรมใจทุกเรื่อง อันนี้เรื่องของกายเรื่องของใจเขาอยู่รวมกันได้ยังไง เขารวมกันได้ยังไง ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ใหม่ๆ เราก็อาจจะไม่เข้าใจ ถ้าเราฝึกเราทำความเข้าใจ ถ้าเราจับจุดได้นิดเดียวเท่านั้นแหละ แยกแยะได้คลายได้ นิดเดียวเท่านั้นแหละเราก็จะมองเห็นหนทางเดิน คำว่าอัตตาของพระพุทธองค์เป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร สมมติเป็นอย่างไรวิมุตติเป็นอย่างไร คําว่าปกติศีล สมาธิเป็นลักษณะอย่างไร สมาธิที่ด้วยการข่มเอาไว้หรือว่าสมาธิที่เกิดจากการแยกแยะ ทำความเข้าใจ ละกิเลส ใจไม่เกิดใจจะเป็นสมาธิ ใจที่ไม่มีกิเลสใจที่ไม่ปรุงแต่งเขาก็เป็นสมาธิ ใจที่ปราศจากกิเลสเขาก็สะอาดเขาก็บริสุทธิ์
การฝึกหัดปฏิบัติเราต้องรู้ให้ลึกถึงความหมายนั้นๆ แล้วก็พยายามทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเราตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งจะหมดลมหายใจ พึ่งตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แต่เวลานี้กําลังสติของเราไปอบรมใจไม่ได้ พึ่งตัวเองไม่ได้ พึ่งได้ในสมมติเราก็อาจจะอาศัยกันพึ่งกันได้ช่วยเหลือกันได้ ถ้าหากเราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปที่ไหนก็หนักตัวเองแล้วก็หนักคนอื่น หนักสถานที่
เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร นิวรณธรรมเขาครอบงำใจของเราเป็นอย่างไร ใจเกิดความกังวลเกิดความฟุ้งซ่านต่างๆ เป็นอย่างไร ใจเกิดอคติใจเกิดมลทินเป็นอย่างไรมีอยู่ในกายของเราหมด สนามรบก็อยู่ที่กายของเรานี่แหละไม่ต้องไปวิ่งหาที่ไหน สมมติก็เอื้ออํานวยให้ในทางสมมติ แต่เราต้องพยายามยังสมมติของเราให้สมบูรณ์แบบก็ส่งผลถึงใจ ไม่ใช่ว่าจะไปวิ่งหาตั้งแต่ธรรมชาติภายนอก ไม่รู้จักจัดหาจัดทำจัดสร้างขึ้นมา ธรรมชาติภายในใจที่ปราศจากกิเลส เราต้องแก้ไขตัวเรา อย่างนี้บุคคลเช่นนี้จะเข้าถึงธรรมได้เร็วได้ไว ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก คําว่าปัจจุบันธรรมทำเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร เรารู้จักวิธีแล้วก็ไปทำ ไม่ใช่ว่าไปฟังเฉยๆ ไม่เกิดประโยชน์
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยมแต่การลงมือวิเคราะห์ ไม่ รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ท่านอาจเรียกว่าฝืน เขาเรียกว่าทวนกระแส ถ้าใจแยกรูปแยกนามได้คลายได้ ใจก็สัมมาทิฏฐิความรู้แจ้งเปิดทางให้ มองเห็นหนทางเดิน ที่นี้เราจะละกิเลสตามมาอีก ให้ถึงจุดหมายปลายทางอีก ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจนกัน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 มกราคม 2558
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ แค่การสร้างซึ่งเรียกว่าการเจริญ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราวถึงเราละไม่ได้ ดับไม่ได้ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้เป็นอุบายเท่านั้นที่จะทำใจของเราให้สงบ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ เวลาลมหายใจเข้าหายใจออกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’
ถ้าเรามีความรู้ตัวทั่วพร้อมตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ลึกลงไปเราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่เริ่มปรุงแต่งเป็นอย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไรซึ่งเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมมีอยู่สี่ส่วน ส่วนญาณนั้นส่วนหนึ่ง ส่วนอาการของความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งนั่นแหละ ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณเข้าไปรวม เข้าไปหลงเอาความคิดตรงนั้น ทำให้เกิดอัตตาตัวตนทั้งใจ บางทีก็เกิดความอยากความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความอยากทั้งความไม่อยาก ทุกอย่างเราต้องเจริญสติเข้าไปพิจารณาแยกแยะ เห็นเหตุเห็นผล ตามทำความเข้าใจ กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอก็เลยไม่รู้เท่าทันตรงนี้ มีตั้งแต่ตัวใจกับขันธ์ห้าส่งออกไปภายนอกเป็นตัวบงการ เป็นตัวต้นเหตุ
เราต้องมาเจริญสติ มาเจริญผู้รู้ไปอบรมใจทุกเรื่อง อันนี้เรื่องของกายเรื่องของใจเขาอยู่รวมกันได้ยังไง เขารวมกันได้ยังไง ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ใหม่ๆ เราก็อาจจะไม่เข้าใจ ถ้าเราฝึกเราทำความเข้าใจ ถ้าเราจับจุดได้นิดเดียวเท่านั้นแหละ แยกแยะได้คลายได้ นิดเดียวเท่านั้นแหละเราก็จะมองเห็นหนทางเดิน คำว่าอัตตาของพระพุทธองค์เป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร สมมติเป็นอย่างไรวิมุตติเป็นอย่างไร คําว่าปกติศีล สมาธิเป็นลักษณะอย่างไร สมาธิที่ด้วยการข่มเอาไว้หรือว่าสมาธิที่เกิดจากการแยกแยะ ทำความเข้าใจ ละกิเลส ใจไม่เกิดใจจะเป็นสมาธิ ใจที่ไม่มีกิเลสใจที่ไม่ปรุงแต่งเขาก็เป็นสมาธิ ใจที่ปราศจากกิเลสเขาก็สะอาดเขาก็บริสุทธิ์
การฝึกหัดปฏิบัติเราต้องรู้ให้ลึกถึงความหมายนั้นๆ แล้วก็พยายามทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเราตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งจะหมดลมหายใจ พึ่งตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แต่เวลานี้กําลังสติของเราไปอบรมใจไม่ได้ พึ่งตัวเองไม่ได้ พึ่งได้ในสมมติเราก็อาจจะอาศัยกันพึ่งกันได้ช่วยเหลือกันได้ ถ้าหากเราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปที่ไหนก็หนักตัวเองแล้วก็หนักคนอื่น หนักสถานที่
เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร นิวรณธรรมเขาครอบงำใจของเราเป็นอย่างไร ใจเกิดความกังวลเกิดความฟุ้งซ่านต่างๆ เป็นอย่างไร ใจเกิดอคติใจเกิดมลทินเป็นอย่างไรมีอยู่ในกายของเราหมด สนามรบก็อยู่ที่กายของเรานี่แหละไม่ต้องไปวิ่งหาที่ไหน สมมติก็เอื้ออํานวยให้ในทางสมมติ แต่เราต้องพยายามยังสมมติของเราให้สมบูรณ์แบบก็ส่งผลถึงใจ ไม่ใช่ว่าจะไปวิ่งหาตั้งแต่ธรรมชาติภายนอก ไม่รู้จักจัดหาจัดทำจัดสร้างขึ้นมา ธรรมชาติภายในใจที่ปราศจากกิเลส เราต้องแก้ไขตัวเรา อย่างนี้บุคคลเช่นนี้จะเข้าถึงธรรมได้เร็วได้ไว ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก คําว่าปัจจุบันธรรมทำเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร เรารู้จักวิธีแล้วก็ไปทำ ไม่ใช่ว่าไปฟังเฉยๆ ไม่เกิดประโยชน์
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยมแต่การลงมือวิเคราะห์ ไม่ รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ท่านอาจเรียกว่าฝืน เขาเรียกว่าทวนกระแส ถ้าใจแยกรูปแยกนามได้คลายได้ ใจก็สัมมาทิฏฐิความรู้แจ้งเปิดทางให้ มองเห็นหนทางเดิน ที่นี้เราจะละกิเลสตามมาอีก ให้ถึงจุดหมายปลายทางอีก ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจนกัน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ