หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 49 วันที่ 26 พฤษภาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 49 วันที่ 26 พฤษภาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 49
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ ที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้าเอาไว้ ถึงเราละไม่ได้ ก็ให้รู้จักหยุด ทำใจของเราให้สงบ ทำใจของเราให้โล่งให้โปร่งด้วยการสร้างความรู้ตัว สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ
พยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ตั้งแต่พอรู้ตัวปุ๊บก็รู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกปั๊บ รู้ความปกติ ถ้าความคิดที่จะเกิดจากใจหรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจ เราก็จะรู้เท่ารู้ทันความคิด รู้เท่าทันอารมณ์ว่าการเกิดการดับ การตั้งอยู่ ความคิดเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง เราก็จะได้เห็น เห็นการเกิด การรวม การร่วมเข้าไปด้วยกัน นั่นแหละเขาเรียกว่า ความหลง
ถ้าใจยังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้าหรือว่ายังไม่ได้แยก ยังไม่ได้หงายขึ้นมา ถึงใจจะปกติใจจะสงบก็เป็นแค่เพียงสมถะ ความสงบเป็นหินทับหญ้า เราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เห็นการแยกการคลาย ตามดู รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายในขันธ์ห้าของเรา เห็นความไม่เที่ยง เห็นจุดปล่อยจุดวาง ตามดู ชี้เหตุชี้ผล ใจของเรายอมรับความจริงได้เมื่อไหร่ แยกได้เมื่อไหร่ ตามดูได้เมื่อไร ใจของเราก็จะรู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง
แต่เวลานี้กําลังสติมีน้อย แต่แรงบุญแรงศรัทธามีกันเต็มเปี่ยมกันทุกคน จะเป็นบุญศรัทธาที่อยู่ในระดับของสมมติ ถ้าระดับของวิมุตติ ระดับของหลักธรรมแล้วเราต้องรู้ เห็น ตามความเป็นจริงในธาตุขันธ์ของเราว่ากายของคนเราเกิดมา อันไหนส่วนรูป อันไหนส่วนนาม ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจของเรา ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่มีพรหมวิหารเป็นอย่างนี้ พยายามศึกษาดูอยู่บ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ด้วยการเจริญสติ รู้ตัว รู้กาย
ท่านถึงบอกว่าให้รู้ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ เป็นงานของทุกคน งานสมมติโลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี กายของเรานี่แหละก้อนโลก ก้อนสมมติ ใจของเรามาหลง มาหลงกายก้อนนี้ แล้วก็หลงสมมติภายนอก แบก เอามาทับถมดวงใจของเราอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ไม่รู้ตัวว่าเราหลง
นอกจากบุคคลที่เจริญสติรู้จักลักษณะของสติปัญญาชัดเจน แล้วก็เอาสติปัญญาไปใช้ แล้วก็อบรมใจจนใจคลายออกจากขันธ์ห้า แล้วก็ละกิเลสจากใจ กิเลสก็มีเยอะ กิเลส ความโลภ ความโกรธตัวใหญ่ๆ แล้วก็ความละเอียด กิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็มีอยู่ในใจของเรา ถ้าเราฝึกสติน้อมเข้าไปดู รู้ เห็น ยิ่งฝึกไปเท่าไร กําลังสติปัญญาของเรามากเท่าไรเราก็เห็นกิเลสเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละออกทีละเล็กทีละน้อย ถ้ามีความเพียรมากก็ขัดเกลาออกให้ถึงความบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดิน ว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
ทุกเรื่องในชีวิตเราต้องดู ต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งเรานอนหลับนั่นแหละ พยายามสร้างเจริญสติเป็นที่พึ่งของใจ ที่ท่านบอกตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ให้ใจของเราไปหลง ชี้เหตุชี้ผล ไม่มีเรื่องอะไรมากมายหรอก เกิดมาก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ละเอียด ขัดเกลากิเลสของเราให้มันหมดจด อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ ทำหน้าที่ของเราให้ดี กายของเราทำหน้าที่อย่างไร หู ตา จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง แล้วใจของเราเป็นผู้รับรู้ แต่เขาทั้งรับรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด เราต้องหมั่นขัดหมั่นเกลา หมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นสํารวจ
การฝึกฝนตัวเราต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้ ถ้าเราทำเหยาะๆ แหยะๆ มันก็ได้เหยาะๆ แหยะๆ นั่นแหละ เราก็พยายามทำให้ดี ได้เท่าไรก็เอา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่
บุญสมมติเราก็ช่วยกันทำ ทำหน้าที่ให้ดี ทั้งพระ ทั้งโยม ทั้งชีอยู่ด้วยกัน ก็อยู่ด้วยกันด้วยอำนาจแห่งบุญ สร้างบุญมาร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน อยู่หลายคนหลายท่านก็ให้มีความสมัครสมานสามัคคี อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปเห็นแก่กิเลส อย่าไปเห็นแก่กินแก่นอน จงพยายามค่อยขัดค่อยเกลาค่อยเอาออก อีกสักหน่อยก็ได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากการตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ เราพยายามดู รู้ ให้ใจของเรานี้มองเห็นความเป็นจริง กายเนื้อแตกดับก็เข้าสู่ความบริสุทธิ์ไม่ต้องกลับมาเกิด เหมือนกับผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ใครทำบุญเอาไว้ก็ไปในทางที่ดี ใครที่สร้างอกุศลเอาไว้ก็ไปในทางที่ไม่ดี
ในหลักธรรมทำความเข้าใจให้หมด ละทั้งดำละทั้งขาว ละทั้งดีละทั้งชั่ว แต่ แต่ไม่ยึดติด สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ยึดติด ไม่ยึดติดในสิ่งนั้นๆ เราปล่อยวางตั้งแต่ภายในให้ได้เสียก่อน เดินปัญญาภายในแยกรูปแยกนาม อะไรคือกาย อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม มองเห็นความเป็นจริง ตามแนวทางคําสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร ก็สอนเรื่องชีวิตของเรานี่แหละ ในกายของเรานี่แหละไม่มีอะไรมากมาย นี่ถ้าคนเรารู้จักดู รู้จักวิเคราะห์พิจารณา ก็จะมองเห็นตามความเป็นจริง ทำหน้าที่ของเราให้ดีให้ถูก ก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้
พยายามสร้างความรู้ตัวกันต่อเนื่องกันสักนิดก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ ที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้าเอาไว้ ถึงเราละไม่ได้ ก็ให้รู้จักหยุด ทำใจของเราให้สงบ ทำใจของเราให้โล่งให้โปร่งด้วยการสร้างความรู้ตัว สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ
พยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ตั้งแต่พอรู้ตัวปุ๊บก็รู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกปั๊บ รู้ความปกติ ถ้าความคิดที่จะเกิดจากใจหรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจ เราก็จะรู้เท่ารู้ทันความคิด รู้เท่าทันอารมณ์ว่าการเกิดการดับ การตั้งอยู่ ความคิดเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง เราก็จะได้เห็น เห็นการเกิด การรวม การร่วมเข้าไปด้วยกัน นั่นแหละเขาเรียกว่า ความหลง
ถ้าใจยังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้าหรือว่ายังไม่ได้แยก ยังไม่ได้หงายขึ้นมา ถึงใจจะปกติใจจะสงบก็เป็นแค่เพียงสมถะ ความสงบเป็นหินทับหญ้า เราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เห็นการแยกการคลาย ตามดู รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายในขันธ์ห้าของเรา เห็นความไม่เที่ยง เห็นจุดปล่อยจุดวาง ตามดู ชี้เหตุชี้ผล ใจของเรายอมรับความจริงได้เมื่อไหร่ แยกได้เมื่อไหร่ ตามดูได้เมื่อไร ใจของเราก็จะรู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง
แต่เวลานี้กําลังสติมีน้อย แต่แรงบุญแรงศรัทธามีกันเต็มเปี่ยมกันทุกคน จะเป็นบุญศรัทธาที่อยู่ในระดับของสมมติ ถ้าระดับของวิมุตติ ระดับของหลักธรรมแล้วเราต้องรู้ เห็น ตามความเป็นจริงในธาตุขันธ์ของเราว่ากายของคนเราเกิดมา อันไหนส่วนรูป อันไหนส่วนนาม ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจของเรา ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่มีพรหมวิหารเป็นอย่างนี้ พยายามศึกษาดูอยู่บ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ด้วยการเจริญสติ รู้ตัว รู้กาย
ท่านถึงบอกว่าให้รู้ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ เป็นงานของทุกคน งานสมมติโลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี กายของเรานี่แหละก้อนโลก ก้อนสมมติ ใจของเรามาหลง มาหลงกายก้อนนี้ แล้วก็หลงสมมติภายนอก แบก เอามาทับถมดวงใจของเราอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ไม่รู้ตัวว่าเราหลง
นอกจากบุคคลที่เจริญสติรู้จักลักษณะของสติปัญญาชัดเจน แล้วก็เอาสติปัญญาไปใช้ แล้วก็อบรมใจจนใจคลายออกจากขันธ์ห้า แล้วก็ละกิเลสจากใจ กิเลสก็มีเยอะ กิเลส ความโลภ ความโกรธตัวใหญ่ๆ แล้วก็ความละเอียด กิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็มีอยู่ในใจของเรา ถ้าเราฝึกสติน้อมเข้าไปดู รู้ เห็น ยิ่งฝึกไปเท่าไร กําลังสติปัญญาของเรามากเท่าไรเราก็เห็นกิเลสเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละออกทีละเล็กทีละน้อย ถ้ามีความเพียรมากก็ขัดเกลาออกให้ถึงความบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดิน ว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
ทุกเรื่องในชีวิตเราต้องดู ต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งเรานอนหลับนั่นแหละ พยายามสร้างเจริญสติเป็นที่พึ่งของใจ ที่ท่านบอกตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ให้ใจของเราไปหลง ชี้เหตุชี้ผล ไม่มีเรื่องอะไรมากมายหรอก เกิดมาก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ละเอียด ขัดเกลากิเลสของเราให้มันหมดจด อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ ทำหน้าที่ของเราให้ดี กายของเราทำหน้าที่อย่างไร หู ตา จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง แล้วใจของเราเป็นผู้รับรู้ แต่เขาทั้งรับรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด เราต้องหมั่นขัดหมั่นเกลา หมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นสํารวจ
การฝึกฝนตัวเราต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้ ถ้าเราทำเหยาะๆ แหยะๆ มันก็ได้เหยาะๆ แหยะๆ นั่นแหละ เราก็พยายามทำให้ดี ได้เท่าไรก็เอา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่
บุญสมมติเราก็ช่วยกันทำ ทำหน้าที่ให้ดี ทั้งพระ ทั้งโยม ทั้งชีอยู่ด้วยกัน ก็อยู่ด้วยกันด้วยอำนาจแห่งบุญ สร้างบุญมาร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน อยู่หลายคนหลายท่านก็ให้มีความสมัครสมานสามัคคี อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปเห็นแก่กิเลส อย่าไปเห็นแก่กินแก่นอน จงพยายามค่อยขัดค่อยเกลาค่อยเอาออก อีกสักหน่อยก็ได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากการตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ เราพยายามดู รู้ ให้ใจของเรานี้มองเห็นความเป็นจริง กายเนื้อแตกดับก็เข้าสู่ความบริสุทธิ์ไม่ต้องกลับมาเกิด เหมือนกับผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ใครทำบุญเอาไว้ก็ไปในทางที่ดี ใครที่สร้างอกุศลเอาไว้ก็ไปในทางที่ไม่ดี
ในหลักธรรมทำความเข้าใจให้หมด ละทั้งดำละทั้งขาว ละทั้งดีละทั้งชั่ว แต่ แต่ไม่ยึดติด สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ยึดติด ไม่ยึดติดในสิ่งนั้นๆ เราปล่อยวางตั้งแต่ภายในให้ได้เสียก่อน เดินปัญญาภายในแยกรูปแยกนาม อะไรคือกาย อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม มองเห็นความเป็นจริง ตามแนวทางคําสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร ก็สอนเรื่องชีวิตของเรานี่แหละ ในกายของเรานี่แหละไม่มีอะไรมากมาย นี่ถ้าคนเรารู้จักดู รู้จักวิเคราะห์พิจารณา ก็จะมองเห็นตามความเป็นจริง ทำหน้าที่ของเราให้ดีให้ถูก ก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้
พยายามสร้างความรู้ตัวกันต่อเนื่องกันสักนิดก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ