หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 36 วันที่ 12 เมษายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 36 วันที่ 12 เมษายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 36
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 เมษายน 2560
มีความสุขกันทุกคน วันนี้อากาศก็แจ่ม อากาศจะร้อนแต่เช้า สงสัยฝนฟ้าคงจะตกล่ะวันนี้เนอะ พระเณรเราชีเราพยายามพิจารณานะ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาพิจารณาใจของเรา พิจารณากายของเรา จนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ก็พิจารณาอาหาร พิจารณาอาหารที่เราจะรับประทาน เพื่อป้องกันความหิว เราต้องดูรู้ว่ากายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ความอยากความหิวเขาก็อยู่ด้วยกัน ความอยากตัวใจนี่อาศัยกายอยู่ เราต้องเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จะเอาจะมีจะเป็นก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก
ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ถ้าเราไม่ต้องการที่จะกลับมาเกิดก็ต้องดับความเกิด ก่อนที่จะดับความเกิดได้กิเลสก็มีหลายชั้น ใจของเราหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงเวลาได้มาเกิด หลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นปิดกั้นตัวใจเอาไว้ ส่วนรูปคือก้อนรูป ส่วนนามคือความคิด แล้วก็เกิดต่อขณะมีกายอยู่ เกิดต่อเกิดในทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย เกิดในรูป รส กลิ่น เสียง ความคิดที่เกิดจากใจนั่นแหละคือความเกิด
ความเกิด เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอด ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ความเกิดตรงนี้เฉพาะใจยังไม่พอ ก็ยังอาการของใจอีก มารวมกันไปอีก แล้วก็รวมทั้งปัญญาเข้าไปอีกเป็นก้อนๆ ท่านถึงบอกให้มาเจริญสติลงที่กายของตัวเรา ลึกลงไปก็อบรมใจของเราจนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร นั่นเป็นเพียงแค่เริ่มต้นของสัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่เห็นเท่านั้นยังไม่พอ เราก็ต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น ชี้เหตุชี้ผลอีก จนกว่าใจของเราจะยอมรับ มองเห็นความเป็นจริง ว่าความเกิดก็เป็นทุกข์ ขันธ์ห้าก็ไม่เที่ยง ต้องคลายขันธ์ห้า คลายรูปคลายนามในกายในใจของเราให้ได้เสียก่อน ถ้าแยกรูปแยกนามได้ ละกิเลสได้ ดับความเกิดได้ กายสมมติก็ยังมีอยู่ เราก็ยังอาศัยสมมติอยู่ เราต้องศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
เหมือนเราจะไปลงไปเที่ยวกรุงเทพ เราต้องรู้หนทางว่าจะไปอย่างไรมาอย่างไร จะไปแวะที่ไหน การเจริญสติการเจริญปัญญาก็เหมือนกัน วิธีการแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย เอามาจำแนกแจกแจงให้สรรพสัตว์หรือว่าสัตว์โลก คือพวกเรานี่แหละ ได้ประพฤติปฏิบัติให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ความหลง ความเกิดของใจ ความหลงของใจ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง หลงยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนในขันธ์ห้า ที่พวกเราพากันทำวัตรสวดมนต์ รูปก็ไม่เที่ยง วิญญาณก็ไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง คำว่า ไม่เที่ยง คือความเกิดความดับนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าในกายของเรา เราจงพยายามวิเคราะห์ เจริญสติเข้าไปสังเกต
คำว่า ปัจจุบันธรรม คือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เป็นแค่เพียงสติรู้กาย พยายามสร้างขึ้นมาให้เข้มแข็ง ให้ต่อเนื่องจนรู้เท่าทัน รู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า เห็นลักษณะอาการ เข้า เคลื่อน ใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ถ้ารู้เท่าทันใจก็จะคลายออก เหมือนกับหงายของที่คว่ำ ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ในหลักธรรม สัมมาทิฏฐิ ความเห็นจริง ความเห็นจริงเห็นถูกเปิดทางให้ กำลังสติของเราก็ตามดูอีก เหมือนกับเราขึ้นบันได ขึ้นบันไดจนถึงตัวเรือน เราก้าวเข้าถึงตัวเรือน แต่ในตัวเรือนของเรานั้นยังไม่เป็นระบบระเบียบ ต้องปัดกวาดอีก เราต้องปัดกวาดด้วยสติด้วยปัญญาจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่หลงขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่มีกิเลสหยาบ อย่างความโลภความโกรธเป็นอย่างนี้ ใจที่มีกิเลสละเอียด พวกนิวรณ์ธรรม พวกมลทินต่างๆ เข้ามาครอบงำ ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ อาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา ทุกอย่าง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งถึงเวลารับประทานข้าวปลาอาหาร ท่านก็ให้รู้จักพิจารณาปฏิสังขาโย ตากระทบรูปใจเกิดความอยากหรือไม่ ถ้าเกิดความอยากเราก็รู้จักดับ รู้จักอดทนอดกลั้นนั่นแหละเรียกว่า ตบะ จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญา เอาอาหารมาให้กาย เราไม่เอาด้วยความอยาก ให้เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง เอามากมันก็เหลือ เอาน้อยก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่ามันกายหิวๆ อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย มันสั่งการสั่งงาน เราพยายามดับละให้ได้ สิ่งไหนที่เกิดความอยากเราก็ไม่เอา ลองให้มันผ่านเลยไป ผ่านเลยไปแล้วใจของเรายังอาลัยอาวรณ์อยู่หรือไม่
เราก็ต้องดูอีก มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา ทั้งสมมติทั้งวิมุตติ สมมติก็ปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปัจจัยสี่ของเรามีความพร้อม ไม่ได้ดิ้นรนไม่ได้ลำบาก การปฏิบัติทางด้านจิตใจก็จะไปได้เร็วได้ไว เพียงแค่สมมติเราก็พยายามดำเนินให้ดีให้ถูกต้อง ไม่ให้ถึงกับลำบาก ที่พักของเรามีความสะดวกสบาย ที่พักที่อยู่ที่อาศัยที่หลับที่นอนทุกอย่างเราต้องเตรียมพร้อม ถึงไม่เยอะเราก็เตรียมพร้อม เหมือนกับเราเดินทาง เราก็เตรียมเสบียงอาหารถึงจะไม่ได้ลำบาก ถ้าเราไม่มีเสบียงเราก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนเราก็ลำบาก จะไปพักที่ไหน ไปนั่งที่ไหน ถ้าขาดน้ำขาดเครื่องใช้ไม้สอยที่อนุเคราะห์ให้กับร่างกายของเรามันก็ลำบาก ท่านถึงบอกว่าให้เป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมทุกอย่างในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเราปกติ ใจของเราสงบ ใหม่ๆ นี้จะเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส เพราะว่าจิตใจของคนเราชอบคิดขอบเที่ยว เราจะให้เขาดับเขาวางเขาหยุดได้ทีเดียวก็เป็นไปไม่ได้ เขาก็ดิ้นรนหาเหตุหาผลมาแก้ไขเหมือนกัน ที่เรียกว่า จิตหลอกจิต จิตหลอกจิตหรือว่าอีกอย่างหนึ่งก็ ขันธ์ห้าหลอกตัวเอง คือความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดซึ่งเป็นส่วนนามธรรม เขาก็หาเหตุหาผลมาหลอกตัวเราอยู่ตลอดเวลา นอกจากบุคคลที่มีความเพียร เจริญสติ เจริญพรหมวิหาร เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ให้ ผู้คลาย ผู้เอาออก ผู้เบาบาง จนเห็นเหตุเห็นผล เจริญสติเข้าไปดูตามดูตามรู้ตามเห็น เข้าใจในหลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า
ที่ท่านว่าไม่เที่ยง อะไรคือไม่เที่ยง ที่ว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปคือตัวใจของเรานี่แหละ อาการของขันธ์ห้าของเรานี่แหละ ส่วนมากก็จะรวมลงไป มองเห็นความถูกต้องเพียงแค่ระดับของสมมติ ระดับของวิมุตติยังแยกยังคลายไม่ได้ก็ไม่เข้าใจ จิตใจก็อยู่ในกองบุญกองกุศล หมั่นสร้างสะสมคุณงามความดีติดตัวเอาไว้ จนกว่าเรา กำลังสติปัญญาของเราเข้มแข็ง มองเห็นเหตุเห็นผลว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา ไม่ได้ปล่อยปละละเลยตั้งแต่ตื่นขึ้น
สมมติ บุญอานิสงส์สมมติ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ส่วนตัวประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเราทำความเข้าใจ ส่วนตัวนี่จะไม่มี มีตั้งแต่ส่วนรวม ถึงเราไม่เห็นประโยชน์ส่วนตัวแต่เราก็ได้รับอานิสงส์ในสิ่งที่เราทำ ทั้งสมมติภายนอก ความเป็นอยู่ต่างๆ เราต้องศึกษาค้นคว้าให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เชื่อ พระพุทธเจ้ามีจริง หลักของอริยสัจสี่ก็มีจริง หลักของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิก็มีจริง หลักของการเจริญภาวนา การแยกรูปแยกนาม เห็นการเกิดการดับ ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง นั่นแหละท่านถึงบอกให้เชื่อ ท่านบอกว่าอย่าไปเชื่อแบบหลงงมงาย จงมีศรัทธาความเชื่อ แล้วก็ปฏิบัติฝึกฝนให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ใจที่ไม่เกิดใจก็นิ่ง ใจที่คลายจากขันธ์ห้าใจก็ว่าง กายก็เบา ใจที่ไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ ความไม่เกิด ความนิ่ง นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า นิพพาน หาที่ใจของเรา พุทธะก็คือ ผู้รู้ รู้ใจของตัวเรา พยายามฝึกฝน จิตใจของคนเรานี่ฝึกฝนได้ ถ้าเราไม่ฝึกฝนตัวเราไม่มีใครจะฝึกฝนเราได้เลย นอกจากตัวเรา
ตำราครูบาอาจารย์นั้นมีเกลื่อน แต่เราจะเจริญสติเป็นอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา ทุกเรื่อง จนกว่าใจของเราจะคลายรู้จักจุดปล่อยจุดวาง อยากจะวางถ้าใจยังแยกรูปแยกนามไม่ได้มันคงไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราจนกว่าจะดับความเกิดได้ เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่นั่นแหละต้องมีเวลา ถ้าหยุดหายใจเมื่อไรเราก็หมดกันทันที เพียงแค่ 2 นาที 3 นาที 5 นาที ก็ไปแล้ว คนเราก็อยู่เนื่องด้วยลมหายใจ ขณะที่ยังไม่ถึงเวลาเราก็พยายามให้จิตใจของเราอยู่ในกองกุศลเอาไว้ถึงไม่ตกอับ
ถ้ามีปัญญาที่เข้มแข็งด้วยการเจริญสติ ด้วยการเจริญปัญญา จากน้อยๆ ไปหามาก เห็นมากเข้าทำความเข้าใจได้มากขึ้น จนใจคลายออกละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดได้ ดับความเกิดของใจได้ วางใจให้เป็นอิสรภาพได้ ก็รอตั้งแต่ว่าวันธาตุขันธ์แตกดับ เราก็มองเห็นหนทางเดินไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละเราก็ต้องพยายามศึกษาให้เข้าใจเสีย
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การศึกษาค้นคว้าต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจ อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็มีอานิสงส์มีบุญร่วมกันถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มาอยู่ร่วมกันแล้วก็พยายามรักสมัครสมานสามัคคีด้วยสติด้วยปัญญา ไม่ใช่อคติเพ่งโทษ คนโน้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น ท่านให้มาศึกษาตัวเรา คนอื่นจะเป็นอย่างไร ถ้าจิตใจของเรามันยังเกิดก็เป็นของเราไม่ใช่ของคนอื่น เรามาดับที่เรา มาแก้ไขที่เรา เราจะไปห้ามคนอื่นอย่าไปคิดนะ อย่าไปพูดนะ นั้นเป็นส่วนของคนอื่นเราห้ามไม่ได้ เรามาห้ามใจของตัวเรา พอช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา ก็ต้องพยายามกัน อยู่กันคนละทิศละที่ละทางก็มาอยู่รวมกัน
สมัยก่อนก็ไม่เห็นมีหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างก็เริ่มหลั่งไหลมา ทุกคนก็ปรารถนาหาทางดับทุกข์หาทางหลุดพ้น แทนที่จะมาขัดเกลากิเลสออกจากใจของตัวเรา กลับมาเพิ่มพูนกิเลส เข้ามาในวัดก็คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ สารพัดอย่าง ยิ่งฝึกไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นเยอะ เข้ามาวัดปุ๊บ เจ้าคุณเป็นอย่างนั้นเจ้าคุณเป็นอย่างนี้ ไม่พาเห็นปฏิบัติสักทีว่าอย่างนั้น พาเดินก็ไม่พาเดิน พานั่งก็ไม่พานั่งว่าอย่างนั้น อย่างนั้นเป็นความคิดที่ผิด
เพียงแค่รู้จักวิธีการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อะไรคือคำว่า ปัจจุบันธรรม คำว่า ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเป็นอย่างไร ทุกขณะจิตเป็นอย่างไร ลักษณะของการสร้างสติเป็นอย่างไร ความรู้ตัวพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ๆๆ อยู่จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง รีบเร่งทำความเพียรทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ไม่ต้องให้ใครเขาดูเขารู้หรอกว่าเราทำอะไร เรามีสติคอยสังเกตใจของเราจนถึงจุดหมายปลายทาง ถึงจุดหมายปลายทางแล้วเราก็ยิ่งสนุกสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้น ฝากเอาไว้ในแผ่นดิน ฝากเอาไว้ให้เป็นสมบัติของส่วนรวม ฝากเอาไว้ให้เป็นสมบัติของส่วนกลาง ก็ต้องพยายามกันนะ
ส่วนกิเลสภายในใจของเราก็ต้องละ รีบละ กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรยิ่งทำความเข้าใจ ค่อยขัดเกลาเอาออกทีละเล็กทีละน้อย ก็จะเป็นอยู่ด้วยปัญญา ทำความเข้าใจด้วยปัญญา การเกิดของใจก็เป็นทุกข์ ถ้าเขารู้ความจริงเขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา เพราะว่าเขาอยู่กับความบริสุทธิ์อยู่กับความว่าง ความบริสุทธิ์ของใจ วิหารธรรมคือความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพยายามค่อยเดินกันนะ
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 เมษายน 2560
มีความสุขกันทุกคน วันนี้อากาศก็แจ่ม อากาศจะร้อนแต่เช้า สงสัยฝนฟ้าคงจะตกล่ะวันนี้เนอะ พระเณรเราชีเราพยายามพิจารณานะ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาพิจารณาใจของเรา พิจารณากายของเรา จนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ก็พิจารณาอาหาร พิจารณาอาหารที่เราจะรับประทาน เพื่อป้องกันความหิว เราต้องดูรู้ว่ากายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ความอยากความหิวเขาก็อยู่ด้วยกัน ความอยากตัวใจนี่อาศัยกายอยู่ เราต้องเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จะเอาจะมีจะเป็นก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก
ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ถ้าเราไม่ต้องการที่จะกลับมาเกิดก็ต้องดับความเกิด ก่อนที่จะดับความเกิดได้กิเลสก็มีหลายชั้น ใจของเราหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงเวลาได้มาเกิด หลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นปิดกั้นตัวใจเอาไว้ ส่วนรูปคือก้อนรูป ส่วนนามคือความคิด แล้วก็เกิดต่อขณะมีกายอยู่ เกิดต่อเกิดในทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย เกิดในรูป รส กลิ่น เสียง ความคิดที่เกิดจากใจนั่นแหละคือความเกิด
ความเกิด เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอด ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ความเกิดตรงนี้เฉพาะใจยังไม่พอ ก็ยังอาการของใจอีก มารวมกันไปอีก แล้วก็รวมทั้งปัญญาเข้าไปอีกเป็นก้อนๆ ท่านถึงบอกให้มาเจริญสติลงที่กายของตัวเรา ลึกลงไปก็อบรมใจของเราจนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร นั่นเป็นเพียงแค่เริ่มต้นของสัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่เห็นเท่านั้นยังไม่พอ เราก็ต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น ชี้เหตุชี้ผลอีก จนกว่าใจของเราจะยอมรับ มองเห็นความเป็นจริง ว่าความเกิดก็เป็นทุกข์ ขันธ์ห้าก็ไม่เที่ยง ต้องคลายขันธ์ห้า คลายรูปคลายนามในกายในใจของเราให้ได้เสียก่อน ถ้าแยกรูปแยกนามได้ ละกิเลสได้ ดับความเกิดได้ กายสมมติก็ยังมีอยู่ เราก็ยังอาศัยสมมติอยู่ เราต้องศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
เหมือนเราจะไปลงไปเที่ยวกรุงเทพ เราต้องรู้หนทางว่าจะไปอย่างไรมาอย่างไร จะไปแวะที่ไหน การเจริญสติการเจริญปัญญาก็เหมือนกัน วิธีการแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย เอามาจำแนกแจกแจงให้สรรพสัตว์หรือว่าสัตว์โลก คือพวกเรานี่แหละ ได้ประพฤติปฏิบัติให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ความหลง ความเกิดของใจ ความหลงของใจ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง หลงยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนในขันธ์ห้า ที่พวกเราพากันทำวัตรสวดมนต์ รูปก็ไม่เที่ยง วิญญาณก็ไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง คำว่า ไม่เที่ยง คือความเกิดความดับนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าในกายของเรา เราจงพยายามวิเคราะห์ เจริญสติเข้าไปสังเกต
คำว่า ปัจจุบันธรรม คือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เป็นแค่เพียงสติรู้กาย พยายามสร้างขึ้นมาให้เข้มแข็ง ให้ต่อเนื่องจนรู้เท่าทัน รู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า เห็นลักษณะอาการ เข้า เคลื่อน ใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ถ้ารู้เท่าทันใจก็จะคลายออก เหมือนกับหงายของที่คว่ำ ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ในหลักธรรม สัมมาทิฏฐิ ความเห็นจริง ความเห็นจริงเห็นถูกเปิดทางให้ กำลังสติของเราก็ตามดูอีก เหมือนกับเราขึ้นบันได ขึ้นบันไดจนถึงตัวเรือน เราก้าวเข้าถึงตัวเรือน แต่ในตัวเรือนของเรานั้นยังไม่เป็นระบบระเบียบ ต้องปัดกวาดอีก เราต้องปัดกวาดด้วยสติด้วยปัญญาจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่หลงขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่มีกิเลสหยาบ อย่างความโลภความโกรธเป็นอย่างนี้ ใจที่มีกิเลสละเอียด พวกนิวรณ์ธรรม พวกมลทินต่างๆ เข้ามาครอบงำ ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ อาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา ทุกอย่าง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งถึงเวลารับประทานข้าวปลาอาหาร ท่านก็ให้รู้จักพิจารณาปฏิสังขาโย ตากระทบรูปใจเกิดความอยากหรือไม่ ถ้าเกิดความอยากเราก็รู้จักดับ รู้จักอดทนอดกลั้นนั่นแหละเรียกว่า ตบะ จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญา เอาอาหารมาให้กาย เราไม่เอาด้วยความอยาก ให้เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง เอามากมันก็เหลือ เอาน้อยก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่ามันกายหิวๆ อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย มันสั่งการสั่งงาน เราพยายามดับละให้ได้ สิ่งไหนที่เกิดความอยากเราก็ไม่เอา ลองให้มันผ่านเลยไป ผ่านเลยไปแล้วใจของเรายังอาลัยอาวรณ์อยู่หรือไม่
เราก็ต้องดูอีก มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา ทั้งสมมติทั้งวิมุตติ สมมติก็ปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปัจจัยสี่ของเรามีความพร้อม ไม่ได้ดิ้นรนไม่ได้ลำบาก การปฏิบัติทางด้านจิตใจก็จะไปได้เร็วได้ไว เพียงแค่สมมติเราก็พยายามดำเนินให้ดีให้ถูกต้อง ไม่ให้ถึงกับลำบาก ที่พักของเรามีความสะดวกสบาย ที่พักที่อยู่ที่อาศัยที่หลับที่นอนทุกอย่างเราต้องเตรียมพร้อม ถึงไม่เยอะเราก็เตรียมพร้อม เหมือนกับเราเดินทาง เราก็เตรียมเสบียงอาหารถึงจะไม่ได้ลำบาก ถ้าเราไม่มีเสบียงเราก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนเราก็ลำบาก จะไปพักที่ไหน ไปนั่งที่ไหน ถ้าขาดน้ำขาดเครื่องใช้ไม้สอยที่อนุเคราะห์ให้กับร่างกายของเรามันก็ลำบาก ท่านถึงบอกว่าให้เป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมทุกอย่างในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเราปกติ ใจของเราสงบ ใหม่ๆ นี้จะเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส เพราะว่าจิตใจของคนเราชอบคิดขอบเที่ยว เราจะให้เขาดับเขาวางเขาหยุดได้ทีเดียวก็เป็นไปไม่ได้ เขาก็ดิ้นรนหาเหตุหาผลมาแก้ไขเหมือนกัน ที่เรียกว่า จิตหลอกจิต จิตหลอกจิตหรือว่าอีกอย่างหนึ่งก็ ขันธ์ห้าหลอกตัวเอง คือความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดซึ่งเป็นส่วนนามธรรม เขาก็หาเหตุหาผลมาหลอกตัวเราอยู่ตลอดเวลา นอกจากบุคคลที่มีความเพียร เจริญสติ เจริญพรหมวิหาร เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ให้ ผู้คลาย ผู้เอาออก ผู้เบาบาง จนเห็นเหตุเห็นผล เจริญสติเข้าไปดูตามดูตามรู้ตามเห็น เข้าใจในหลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า
ที่ท่านว่าไม่เที่ยง อะไรคือไม่เที่ยง ที่ว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปคือตัวใจของเรานี่แหละ อาการของขันธ์ห้าของเรานี่แหละ ส่วนมากก็จะรวมลงไป มองเห็นความถูกต้องเพียงแค่ระดับของสมมติ ระดับของวิมุตติยังแยกยังคลายไม่ได้ก็ไม่เข้าใจ จิตใจก็อยู่ในกองบุญกองกุศล หมั่นสร้างสะสมคุณงามความดีติดตัวเอาไว้ จนกว่าเรา กำลังสติปัญญาของเราเข้มแข็ง มองเห็นเหตุเห็นผลว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา ไม่ได้ปล่อยปละละเลยตั้งแต่ตื่นขึ้น
สมมติ บุญอานิสงส์สมมติ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ส่วนตัวประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเราทำความเข้าใจ ส่วนตัวนี่จะไม่มี มีตั้งแต่ส่วนรวม ถึงเราไม่เห็นประโยชน์ส่วนตัวแต่เราก็ได้รับอานิสงส์ในสิ่งที่เราทำ ทั้งสมมติภายนอก ความเป็นอยู่ต่างๆ เราต้องศึกษาค้นคว้าให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เชื่อ พระพุทธเจ้ามีจริง หลักของอริยสัจสี่ก็มีจริง หลักของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิก็มีจริง หลักของการเจริญภาวนา การแยกรูปแยกนาม เห็นการเกิดการดับ ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง นั่นแหละท่านถึงบอกให้เชื่อ ท่านบอกว่าอย่าไปเชื่อแบบหลงงมงาย จงมีศรัทธาความเชื่อ แล้วก็ปฏิบัติฝึกฝนให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ใจที่ไม่เกิดใจก็นิ่ง ใจที่คลายจากขันธ์ห้าใจก็ว่าง กายก็เบา ใจที่ไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ ความไม่เกิด ความนิ่ง นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า นิพพาน หาที่ใจของเรา พุทธะก็คือ ผู้รู้ รู้ใจของตัวเรา พยายามฝึกฝน จิตใจของคนเรานี่ฝึกฝนได้ ถ้าเราไม่ฝึกฝนตัวเราไม่มีใครจะฝึกฝนเราได้เลย นอกจากตัวเรา
ตำราครูบาอาจารย์นั้นมีเกลื่อน แต่เราจะเจริญสติเป็นอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา ทุกเรื่อง จนกว่าใจของเราจะคลายรู้จักจุดปล่อยจุดวาง อยากจะวางถ้าใจยังแยกรูปแยกนามไม่ได้มันคงไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราจนกว่าจะดับความเกิดได้ เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่นั่นแหละต้องมีเวลา ถ้าหยุดหายใจเมื่อไรเราก็หมดกันทันที เพียงแค่ 2 นาที 3 นาที 5 นาที ก็ไปแล้ว คนเราก็อยู่เนื่องด้วยลมหายใจ ขณะที่ยังไม่ถึงเวลาเราก็พยายามให้จิตใจของเราอยู่ในกองกุศลเอาไว้ถึงไม่ตกอับ
ถ้ามีปัญญาที่เข้มแข็งด้วยการเจริญสติ ด้วยการเจริญปัญญา จากน้อยๆ ไปหามาก เห็นมากเข้าทำความเข้าใจได้มากขึ้น จนใจคลายออกละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดได้ ดับความเกิดของใจได้ วางใจให้เป็นอิสรภาพได้ ก็รอตั้งแต่ว่าวันธาตุขันธ์แตกดับ เราก็มองเห็นหนทางเดินไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละเราก็ต้องพยายามศึกษาให้เข้าใจเสีย
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การศึกษาค้นคว้าต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจ อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็มีอานิสงส์มีบุญร่วมกันถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มาอยู่ร่วมกันแล้วก็พยายามรักสมัครสมานสามัคคีด้วยสติด้วยปัญญา ไม่ใช่อคติเพ่งโทษ คนโน้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น ท่านให้มาศึกษาตัวเรา คนอื่นจะเป็นอย่างไร ถ้าจิตใจของเรามันยังเกิดก็เป็นของเราไม่ใช่ของคนอื่น เรามาดับที่เรา มาแก้ไขที่เรา เราจะไปห้ามคนอื่นอย่าไปคิดนะ อย่าไปพูดนะ นั้นเป็นส่วนของคนอื่นเราห้ามไม่ได้ เรามาห้ามใจของตัวเรา พอช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา ก็ต้องพยายามกัน อยู่กันคนละทิศละที่ละทางก็มาอยู่รวมกัน
สมัยก่อนก็ไม่เห็นมีหรอก ทุกสิ่งทุกอย่างก็เริ่มหลั่งไหลมา ทุกคนก็ปรารถนาหาทางดับทุกข์หาทางหลุดพ้น แทนที่จะมาขัดเกลากิเลสออกจากใจของตัวเรา กลับมาเพิ่มพูนกิเลส เข้ามาในวัดก็คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ สารพัดอย่าง ยิ่งฝึกไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นเยอะ เข้ามาวัดปุ๊บ เจ้าคุณเป็นอย่างนั้นเจ้าคุณเป็นอย่างนี้ ไม่พาเห็นปฏิบัติสักทีว่าอย่างนั้น พาเดินก็ไม่พาเดิน พานั่งก็ไม่พานั่งว่าอย่างนั้น อย่างนั้นเป็นความคิดที่ผิด
เพียงแค่รู้จักวิธีการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อะไรคือคำว่า ปัจจุบันธรรม คำว่า ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเป็นอย่างไร ทุกขณะจิตเป็นอย่างไร ลักษณะของการสร้างสติเป็นอย่างไร ความรู้ตัวพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ๆๆ อยู่จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง รีบเร่งทำความเพียรทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ไม่ต้องให้ใครเขาดูเขารู้หรอกว่าเราทำอะไร เรามีสติคอยสังเกตใจของเราจนถึงจุดหมายปลายทาง ถึงจุดหมายปลายทางแล้วเราก็ยิ่งสนุกสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้น ฝากเอาไว้ในแผ่นดิน ฝากเอาไว้ให้เป็นสมบัติของส่วนรวม ฝากเอาไว้ให้เป็นสมบัติของส่วนกลาง ก็ต้องพยายามกันนะ
ส่วนกิเลสภายในใจของเราก็ต้องละ รีบละ กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรยิ่งทำความเข้าใจ ค่อยขัดเกลาเอาออกทีละเล็กทีละน้อย ก็จะเป็นอยู่ด้วยปัญญา ทำความเข้าใจด้วยปัญญา การเกิดของใจก็เป็นทุกข์ ถ้าเขารู้ความจริงเขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา เพราะว่าเขาอยู่กับความบริสุทธิ์อยู่กับความว่าง ความบริสุทธิ์ของใจ วิหารธรรมคือความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพยายามค่อยเดินกันนะ
ตั้งใจรับพรกัน