หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 14 วันที่ 21 มกราคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 14 วันที่ 21 มกราคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 14
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 21 มกราคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบายและก็วางใจก็สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆด้วยการสร้างความรู้ตัว สร้างความรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยน้อมไปด้วย
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้น หายใจเข้าเป็นอย่างนี้ หายใจออกเป็นอย่างนี้ เพียงแค่รู้กาย มีความรู้สึกลงที่กายของเรา ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็หายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ พยายามฝึกให้ติดเป็นนิสัย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็จะรู้ว่าลักษณะของการเจริญสติ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นลักษณะอย่างนี้
ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นเขามีอยู่เดิม เขามีมาตั้งแต่ก่อนเพราะเขาหลงมา หลงมาเกิดตั้งแต่ก่อนยังไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์เนี่ยเขาก็หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนถึงเวลามาก่อร่างสร้างภพมนุษย์ขึ้นมาแล้วก็มายึดติด แล้วก็เกิดต่อ ความเกิดคือเกิดทางด้านจิตวิญญาณ เกิดทางกายเนื้อคือขันธ์ห้าของเรานี่เขาก็เกิดมาแล้ว เขาก็มีพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่ก็เข้าถึงความชราคร่ำคร่า ต่อไปก็เข้าถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความตายทางด้านรูปธรรม ทางด้านจิตวิญญาณเขาเกิดอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังดับความเกิดไม่ได้ก็ต้องเกิดต่อ
พระพุทธองค์ท่านถึงได้ค้นพบวิธีการแนวทางที่จะหาทางดับทุกข์ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ท่านก็ให้เจริญสติลงที่กายให้ได้เสียก่อน มาสร้างผู้รู้ ใจของเรานั้นเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด ทั้งเป็นทาสของกิเลส แล้วก็ต้องมาศึกษามาทำความเข้าใจ เจริญสติเอาสติปัญญาไปใช้ให้รู้เท่ารู้ทันใจ รู้ไม่ทันเราก็รู้จักควบคุม รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักอบรม ตื่นขึ้นมาเป็นเพื่อนคุยกับใจของเรา ใจของเราไปอย่างไรมาอย่างไร ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง ส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง ทำไมใจถึงเกิด กำลังสติที่เราสร้างขึ้นมาต้องเร็วไวแข็งแรง จนรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
ถ้าเราเจริญสติลงที่กายบ่อยๆ เจริญสติลงที่กายก็ให้รู้จักลักษณะของสติ ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักสติ อบรมใจไม่รู้จักใจ มันก็ยากที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ทำความเห็นให้ถูก ความเห็นถูกก็คือการคลายใจออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าแยกรูปแยกนามได้ ตามดูรู้เห็นความเป็นจริงได้ เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องชีวิตของเรา สอนเรื่องรูปเรื่องนาม เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า หรือว่าวิญญาณในกายของเรา หรือเรียกอีกหนึ่งก็คือตัวใจ
เราต้องพยายามศึกษาค้นคว้าขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดกำลังกายแล้วก็เหลือตั้งแต่บุญกับบาปที่จะดำเนินไป บุญกับบาป คือคุณงามความดีกับความไม่ดี ถ้าใจเป็นสุขก็เป็นบุญ ถ้าใจเป็นทุกข์ก็เป็นบาป เรามาแก้ไขเสียขณะที่ยังมีกำลัง ยังมีลมหายใจอย่าปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็รีบสำรวจกายของเรา สำรวจใจของเรา ขณะนี้ใจของเราปกติ ใจของเราสะอาด ใจของเราบริสุทธิ์ เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละละกิเลสออกจากใจของเราได้หรือเปล่า กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร เราก็ต้องพยายามศึกษาลงที่กายของเรา
กายของเรานี่เปรียบเสมือนกับสนามรบอันยิ่งใหญ่ เราหมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุทางด้านรูปธรรมก็มี เหตุทางด้านนามธรรมก็มี เพียงแค่ด้านรูปธรรมเราก็ขยันหมั่นเพียรให้เต็มที่ ยังสมมติของเราให้อยู่ดีมีความสุข เพราะว่าคนเราเกิดมาก็อาศัยปัจจัยสี่ อาศัยโลก อาศัยหมู่คณะ อาศัยเพื่อนฝูง ลึกลงไปก็อาศัยกาย คือสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาอาศัยอยู่ เราต้องมองให้รู้ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าคนเราเกิดมาแล้วจะไปอย่างไรมาอย่างไร จนไปมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
วันเวลาทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าปิดกั้นตัวเราว่าไม่มีโอกาส บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม เราก็ทำให้เต็มที่ เพื่อยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด คือการไม่ต้องกลับมาเกิดกัน
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมาใจของเราเป็นอย่างไร เจริญสติเข้าไปเป็นเพื่อนใจ เจริญสติเข้าไปอบรมใจอยู่ตลอดเวลา จนใจของเราคลายจากความยึดมั่นถือมั่นหรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเรา ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง มีไม่มากถ้าคนเราขยันหมั่นเพียร มีไม่มากหรอกถ้าคนเรามีความขยันหมั่นเพียรในการดูในการรู้ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน แก้ไขใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถึงจะเป็นบุคคลที่ไม่ประมาท มีความสุขในการดูในการรู้ เราก็ต้องพยายาม
หลายคนหลายท่านวันนี้มาที่วัด เห็นว่าทางโรงงานกระดาษหรือฟีนิกซ์ก็พาหมู่คณะเข้ามาถึงวัดตั้งแต่เมื่อวาน มาช่วยการช่วยงาน ช่วยโน้นช่วยนี่ นั่นแหละเป็นการเสียสละ ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกปัจจุบัน มีโอกาสมีอะไรเราก็ช่วยกันทำ เห็นว่าวันนี้จะยังไม่กลับหรือว่ากลับช่วงบ่ายๆ วันนี้ก็พากันช่วยทำลานจอดรถที่ทางด้านหน้าทางโรงเรียน ไปทำความสะอาดก็เพื่อที่จะให้รถราเข้าจอดเป็นระเบียบ ไปช่วยกันขนทราย ขนทรายออกจากลานจอดรถ ก็จะได้ทำให้เป็นระเบียบ มีรถ มีกระบะ มีกระป๋อง ทั้งพระทั้งชีทั้งโยมมีโอกาสก็ไปช่วยกัน
ไม่ว่าอยู่ที่ไหนให้เรามีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กินแก่นอน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบให้มีให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนเป็นอัตโนมัติ จนเป็นปกติในการทำ ในการชำระสะสางกิเลส ในการสร้างคุณงามความดี ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็มาทำบุญให้กับตัวเราเสียก่อน เรามีความขยันหรือว่าเรามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ถ้าเรามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็พยายามแก้ไข เรามีความเห็นแก่ตัวเราก็พยายามแก้ไข ด้วยการสร้างอานิสงส์ สร้างความขยันหมั่นเพียรเข้าให้มีให้เกิดขึ้น ถ้าเราสอนเราไม่ได้ จะไม่มีใครสอนเราได้เลยนะ นอกจากตัวของเรา ตัวของเราสอนเรา
ครูบาอาจารย์ ตำรา ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ พวกเราจะเดินหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรา กิเลสก็ขึ้นอยู่ที่ใจของเรา เราก็พยายามละ กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เรารู้จักละรู้จักดับหรือไม่ กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน พวกเราจงพยายามเอาไปดำเนินให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา
ปฏิบัติตามคำสอนของท่านให้ถึงจุดหมายปลายทาง ให้มองเห็นความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าเชื่อแบบงมงาย ปฏิบัติแบบงมงาย ปฏิบัติต้องมีเหตุมีผล เหตุผลทางสมมติก็มี เหตุผลทางวิมุตติ ทางด้านนามธรรมเขาก็มีอยู่ในกายของเรา แต่เรารู้ไม่ถึง รู้ไม่ทันเท่านั้นเอง เราต้องมาเจริญสติเพื่อเอาสติปัญญาไปใช้ให้ได้ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไร เขามีหน้าที่ของเขาเรียบร้อย แต่เวลานี้เขารวมกันไปทั้งก้อน ทำก็ทำทั้งก้อน
ใจก็มีศรัทธาเป็นบุญอยู่ แต่เป็นบุญที่ใจยังเกิดอยู่ ความเกิดนี่แหละคือความหลงอย่างละเอียด เขาเกิดเพียงแค่ตัววิญญาณเกิด แล้วก็มาสร้างขันธ์ห้าหรือว่ามาสร้างภพของมนุษย์ ก็มาปิดกั้นใจของตัวเราเอาไว้อีกทีหนึ่ง แล้วก็คิดต่อส่งต่อไปอีก ถ้าเราไม่ละไม่ดับ ไม่แยกไม่คลาย ให้รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ตัดต้นเหตุออกไปเสีย ให้อยู่เหนือเหตุเหนือผลนั่นแหละ เราก็จะมีความสุข มองเห็นหนทางเดิน ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัว สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่ที่การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่องโยงกันสักนิดหนึ่ง ถ้าไม่ได้ทำกันจริงๆ ก็พยายามทำให้ได้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำกายให้ว่าง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 21 มกราคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบายและก็วางใจก็สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆด้วยการสร้างความรู้ตัว สร้างความรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยน้อมไปด้วย
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้น หายใจเข้าเป็นอย่างนี้ หายใจออกเป็นอย่างนี้ เพียงแค่รู้กาย มีความรู้สึกลงที่กายของเรา ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็หายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ พยายามฝึกให้ติดเป็นนิสัย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็จะรู้ว่าลักษณะของการเจริญสติ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นลักษณะอย่างนี้
ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นเขามีอยู่เดิม เขามีมาตั้งแต่ก่อนเพราะเขาหลงมา หลงมาเกิดตั้งแต่ก่อนยังไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์เนี่ยเขาก็หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนถึงเวลามาก่อร่างสร้างภพมนุษย์ขึ้นมาแล้วก็มายึดติด แล้วก็เกิดต่อ ความเกิดคือเกิดทางด้านจิตวิญญาณ เกิดทางกายเนื้อคือขันธ์ห้าของเรานี่เขาก็เกิดมาแล้ว เขาก็มีพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่ก็เข้าถึงความชราคร่ำคร่า ต่อไปก็เข้าถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความตายทางด้านรูปธรรม ทางด้านจิตวิญญาณเขาเกิดอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังดับความเกิดไม่ได้ก็ต้องเกิดต่อ
พระพุทธองค์ท่านถึงได้ค้นพบวิธีการแนวทางที่จะหาทางดับทุกข์ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ท่านก็ให้เจริญสติลงที่กายให้ได้เสียก่อน มาสร้างผู้รู้ ใจของเรานั้นเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด ทั้งเป็นทาสของกิเลส แล้วก็ต้องมาศึกษามาทำความเข้าใจ เจริญสติเอาสติปัญญาไปใช้ให้รู้เท่ารู้ทันใจ รู้ไม่ทันเราก็รู้จักควบคุม รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักอบรม ตื่นขึ้นมาเป็นเพื่อนคุยกับใจของเรา ใจของเราไปอย่างไรมาอย่างไร ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง ส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง ทำไมใจถึงเกิด กำลังสติที่เราสร้างขึ้นมาต้องเร็วไวแข็งแรง จนรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
ถ้าเราเจริญสติลงที่กายบ่อยๆ เจริญสติลงที่กายก็ให้รู้จักลักษณะของสติ ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักสติ อบรมใจไม่รู้จักใจ มันก็ยากที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ทำความเห็นให้ถูก ความเห็นถูกก็คือการคลายใจออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าแยกรูปแยกนามได้ ตามดูรู้เห็นความเป็นจริงได้ เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องชีวิตของเรา สอนเรื่องรูปเรื่องนาม เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า หรือว่าวิญญาณในกายของเรา หรือเรียกอีกหนึ่งก็คือตัวใจ
เราต้องพยายามศึกษาค้นคว้าขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดกำลังกายแล้วก็เหลือตั้งแต่บุญกับบาปที่จะดำเนินไป บุญกับบาป คือคุณงามความดีกับความไม่ดี ถ้าใจเป็นสุขก็เป็นบุญ ถ้าใจเป็นทุกข์ก็เป็นบาป เรามาแก้ไขเสียขณะที่ยังมีกำลัง ยังมีลมหายใจอย่าปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็รีบสำรวจกายของเรา สำรวจใจของเรา ขณะนี้ใจของเราปกติ ใจของเราสะอาด ใจของเราบริสุทธิ์ เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละละกิเลสออกจากใจของเราได้หรือเปล่า กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร เราก็ต้องพยายามศึกษาลงที่กายของเรา
กายของเรานี่เปรียบเสมือนกับสนามรบอันยิ่งใหญ่ เราหมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุทางด้านรูปธรรมก็มี เหตุทางด้านนามธรรมก็มี เพียงแค่ด้านรูปธรรมเราก็ขยันหมั่นเพียรให้เต็มที่ ยังสมมติของเราให้อยู่ดีมีความสุข เพราะว่าคนเราเกิดมาก็อาศัยปัจจัยสี่ อาศัยโลก อาศัยหมู่คณะ อาศัยเพื่อนฝูง ลึกลงไปก็อาศัยกาย คือสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาอาศัยอยู่ เราต้องมองให้รู้ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าคนเราเกิดมาแล้วจะไปอย่างไรมาอย่างไร จนไปมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
วันเวลาทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าปิดกั้นตัวเราว่าไม่มีโอกาส บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม เราก็ทำให้เต็มที่ เพื่อยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด คือการไม่ต้องกลับมาเกิดกัน
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมาใจของเราเป็นอย่างไร เจริญสติเข้าไปเป็นเพื่อนใจ เจริญสติเข้าไปอบรมใจอยู่ตลอดเวลา จนใจของเราคลายจากความยึดมั่นถือมั่นหรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเรา ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง มีไม่มากถ้าคนเราขยันหมั่นเพียร มีไม่มากหรอกถ้าคนเรามีความขยันหมั่นเพียรในการดูในการรู้ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน แก้ไขใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถึงจะเป็นบุคคลที่ไม่ประมาท มีความสุขในการดูในการรู้ เราก็ต้องพยายาม
หลายคนหลายท่านวันนี้มาที่วัด เห็นว่าทางโรงงานกระดาษหรือฟีนิกซ์ก็พาหมู่คณะเข้ามาถึงวัดตั้งแต่เมื่อวาน มาช่วยการช่วยงาน ช่วยโน้นช่วยนี่ นั่นแหละเป็นการเสียสละ ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกปัจจุบัน มีโอกาสมีอะไรเราก็ช่วยกันทำ เห็นว่าวันนี้จะยังไม่กลับหรือว่ากลับช่วงบ่ายๆ วันนี้ก็พากันช่วยทำลานจอดรถที่ทางด้านหน้าทางโรงเรียน ไปทำความสะอาดก็เพื่อที่จะให้รถราเข้าจอดเป็นระเบียบ ไปช่วยกันขนทราย ขนทรายออกจากลานจอดรถ ก็จะได้ทำให้เป็นระเบียบ มีรถ มีกระบะ มีกระป๋อง ทั้งพระทั้งชีทั้งโยมมีโอกาสก็ไปช่วยกัน
ไม่ว่าอยู่ที่ไหนให้เรามีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กินแก่นอน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบให้มีให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนเป็นอัตโนมัติ จนเป็นปกติในการทำ ในการชำระสะสางกิเลส ในการสร้างคุณงามความดี ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็มาทำบุญให้กับตัวเราเสียก่อน เรามีความขยันหรือว่าเรามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ถ้าเรามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็พยายามแก้ไข เรามีความเห็นแก่ตัวเราก็พยายามแก้ไข ด้วยการสร้างอานิสงส์ สร้างความขยันหมั่นเพียรเข้าให้มีให้เกิดขึ้น ถ้าเราสอนเราไม่ได้ จะไม่มีใครสอนเราได้เลยนะ นอกจากตัวของเรา ตัวของเราสอนเรา
ครูบาอาจารย์ ตำรา ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ พวกเราจะเดินหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรา กิเลสก็ขึ้นอยู่ที่ใจของเรา เราก็พยายามละ กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เรารู้จักละรู้จักดับหรือไม่ กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน พวกเราจงพยายามเอาไปดำเนินให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา
ปฏิบัติตามคำสอนของท่านให้ถึงจุดหมายปลายทาง ให้มองเห็นความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าเชื่อแบบงมงาย ปฏิบัติแบบงมงาย ปฏิบัติต้องมีเหตุมีผล เหตุผลทางสมมติก็มี เหตุผลทางวิมุตติ ทางด้านนามธรรมเขาก็มีอยู่ในกายของเรา แต่เรารู้ไม่ถึง รู้ไม่ทันเท่านั้นเอง เราต้องมาเจริญสติเพื่อเอาสติปัญญาไปใช้ให้ได้ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไร เขามีหน้าที่ของเขาเรียบร้อย แต่เวลานี้เขารวมกันไปทั้งก้อน ทำก็ทำทั้งก้อน
ใจก็มีศรัทธาเป็นบุญอยู่ แต่เป็นบุญที่ใจยังเกิดอยู่ ความเกิดนี่แหละคือความหลงอย่างละเอียด เขาเกิดเพียงแค่ตัววิญญาณเกิด แล้วก็มาสร้างขันธ์ห้าหรือว่ามาสร้างภพของมนุษย์ ก็มาปิดกั้นใจของตัวเราเอาไว้อีกทีหนึ่ง แล้วก็คิดต่อส่งต่อไปอีก ถ้าเราไม่ละไม่ดับ ไม่แยกไม่คลาย ให้รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ตัดต้นเหตุออกไปเสีย ให้อยู่เหนือเหตุเหนือผลนั่นแหละ เราก็จะมีความสุข มองเห็นหนทางเดิน ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัว สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่ที่การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่องโยงกันสักนิดหนึ่ง ถ้าไม่ได้ทำกันจริงๆ ก็พยายามทำให้ได้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำกายให้ว่าง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ