หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 57 วันที่ 16 มิถุนายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 57 วันที่ 16 มิถุนายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 57
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ถึงเราละไม่ได้ก็พยายามฝืน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ พยายามฝึกหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ชีวิตของเรา คําว่า ชีวิต ทั้งจิตวิญญาณทั้งกาย เราพยายามเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้ตัวตัวใหม่เข้าลงที่กายของเราให้ต่อเนื่อง ความพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่
เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็พากันมองข้ามกัน เราก็หายใจมาตั้งแต่เกิดแต่ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์ก็เลยไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร ส่วนมากก็ใจทะเยอทะยานอยากส่งออกไปภายนอก อยากเป็นโน้นอยากเป็นนี้ ไม่อยากเป็น อยากเกิด ความคิดนั่นแหละ ความเกิดนั่นแหละคือความหลง หลงเกิดมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้มาสร้างกายเนื้อ หลงเข้ามาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์
พระพุทธองค์ได้ค้นพบวิธีการแนวทางที่จะดับทุกข์แล้วก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ท่านก็ให้เจริญสติลงที่กายของเราแล้วก็วิเคราะห์สังเกตการเกิดของใจของขันธ์ห้าให้ทัน รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็ใช้สมถะเข้าไปดับ ให้สติอยู่กับลมหายใจของเราแล้วก็หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาจิตใจของเรามีความอ่อนน้อม มีความถ่อมตน มีความเสียสละ มีสัจจะ มีความเพียร มีการให้การเอาออก การคลาย ใจเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง ใจเกิดกิเลสสักกี่เที่ยว ใจส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง แต่ละวันภายใน 5 นาที 10 นาที จนกระทั่งถึงเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เราพยายามหมั่นพร่ำสอนใจของตัวเองด้วยสติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องทั้งหายใจเข้าหายใจออก เราก็จะรู้เลยว่าที่ผ่านๆ มานั้นสติของเรานี้ไม่มีเลย สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันนี้ไม่มีเลย มีตั้งแต่สติปัญญาอยู่ในระดับของสมมติอยู่ในระดับของโลก
สติปัญญาโลกีย์ ตัวนี้เก่ง เขาเก่งมาก สติปัญญาที่เกิดจากใจส่งออกไปภายนอกรวมกันกับอาการของขันธ์ห้าอีก ซึ่งเป็นส่วนรูปส่วนนาม ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ ให้ใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับหงายของที่คว่ำ นั่นแหละสัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงปรากฏเปิดทางให้ ความเห็นถูก เห็นถูกเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาตามดูให้ใจรับรู้ ตามดูขันธ์ห้าว่าเรื่องอะไร บางทีก็เป็นเรื่องอดีต บางทีก็เรื่องเป็นเรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นกุศลหรือว่าอกุศล
ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาตามดูตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ นั่นแหละที่ท่านบอกว่าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ใจก็ว่างรับรู้อยู่ ตามดูทุกเรื่อง ส่วนมากเรารู้อยู่ทั้งใจทั้งอาการของขันธ์ห้ารวมกันไปแล้ว รู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราคิด รู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราทำ อันนั้นเป็นความรู้ของสมมติ ความรู้ที่ใจยังหลงอยู่ เราต้องพยายาม ช่วงใหม่ๆ นี้ฝืน ท่านถึงบอกว่าฝืน ฝืนความคิด ฝืนอารมณ์ ฝืนกิเลส ท่านถึงบอกว่าทวนกระแส
เราพยายามฝึกฝนตัวเรา ใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเสียสละ มีสัจจะ มีความเพียร มีการให้ การเอาออก รู้จักควบคุมใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ จนกําลังสติของเราตามดูรู้ทุกเรื่องตั้งแต่เกิด การเกิด การดับ การไม่เกิด กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร คําว่า อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐเป็นลักษณะอย่างไร อัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องดู ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องทำความเข้าใจ อย่าไปปล่อยปละละเลย เพราะว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องศึกษาชีวิตของตัวเราเอง ถ้าเราไม่ได้เจริญสติเข้าไปแก้ไข ไม่มีใครจะแก้ไขให้เราได้เลย
ความรู้ สติปัญญา แนวทาง พระพุทธเจ้าท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปี สัจจะความจริงยังมีอยู่เหมือนเดิม ธรรมชาติก็มีอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าคนเราเข้าไม่ถึงธรรมชาติ ธรรมชาติของใจถ้าไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ถ้าเขาไม่เกิดเขาก็นิ่ง ทุกวันนี้ทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึดสารพัดอย่าง เราถึงได้มาให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเราแก้ไขใจของเรา ชนะตัวเราแล้วเราก็ชนะหมด
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณ ให้รอบรู้ในขันธ์ห้าภายในกายของเรา รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำความเข้าใจกับสมมติทำความเข้าใจกับวิมุตติ ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมาปุ๊บ เรารู้สัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก จะลุกจะก้าวจะเดิน ความรู้สึกรับรู้ใจยังว่างรับรู้อยู่ จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำใจก็ยังนิ่งอยู่ สติปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ ให้แก้ไขด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล อบรมกายอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนเข้าถึงความบริสุทธิ์
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไปปฏิบัติอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ทำอย่างนี้ กายวิเวกอย่างนี้ ใจวิเวกอย่างนี้ ใจวิเวกจากการเกิด วิเวกจากกิเลส วิเวกจากสิ่งต่างๆ กายวิเวกจากภาระหน้าที่การงาน เราก็จะได้ทำความเข้าใจ รู้ด้วยเห็นด้วย ทำความเข้าใจให้ถูกด้วย ไม่เข้าข้างตัวเองไม่เข้าข้างคนอื่น เอาความเป็นกลาง ความว่างเป็นที่ตั้ง กว่าจะเข้าถึงความว่าง ใจว่างจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร ใจว่างจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจไม่เกิดเป็นอย่างไร เราต้องมีความเพียร หัดสังเกตหัดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติในการตามดูตามรู้ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
การทำบุญให้ทาน การสร้างอานิสงส์ สร้างบุญบารมี ทุกคนก็พากันมีมาตลอด ตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พาทำบุญกันพาให้ทานกัน รู้จักอดทนอดกลั้น ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว มาจนอายุถึงปูนนี้ เราก็ต้องพยายาม เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกเราพยายามศึกษาให้เกิดความชํานาญ ถ้าหากความรู้สึกไม่ชัดเจน เราก็พยายามลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เหมือนกับนายประตูทวารคอยสังเกตว่ารถคันไหนจะวิ่งเข้าก็รู้อยู่ รถคันไหนจะวิ่งออกก็รู้อยู่ รู้ให้ต่อเนื่อง ถ้าพลั้งเผลอเริ่มใหม่ พลั้งเผลอเริ่มใหม่
ส่วนการเกิดของใจ ส่วนการเกิดของขันธ์ห้านั้นมีกันตลอด บางคนก็เร็วไว บางคนก็นิ่งสงบเป็นบางช่วงบางครั้งบางคราว แต่เราขาดการวิเคราะห์เท่านั้น แต่เราขาดความรู้ความเห็นลักษณะหน้าตาอาการซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลักษณะอย่างไร ศีลสมมติเป็นลักษณะอย่างไร คําว่า วิมุตติ ใจหลุดพ้นจากขันธ์ห้า หลุดพ้นจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างไร ความจริงนี้มีอยู่ในกายของเรา แต่เราค้นคว้าไม่ถึงเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีอย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าไปมองข้าม คนเรานี้มองข้ามจะไปละกิเลสตัวใหญ่ๆ นานๆ ทีมันถึงจะเกิด แต่ความเกิดของจิตวิญญาณนะมันเกิดอยู่ตลอดเวลา เราพยายามดับตั้งแต่มันก่อตัว ก็ไม่มีกําลังที่จะส่งออกไป เราพยายามคลายสังเกตให้ทัน ใจก็จะคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม หงายของที่คว่ำขึ้นมา แยกรูปแยกนามได้ อันนี้ยังไม่เพียงพอ เราต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น จนกําลังสติของเราเป็นมหาสติ จากมหาสติกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญากลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงใจ รอบรู้ในการขัดเกลากิเลส หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข เราอย่าไปมองข้าม
เราพยายามให้ได้ทั้งทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกเราก็พยายามยังประโยชน์ ให้อยู่ดีมีความสุขขณะที่เรายังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจแล้วก็มีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เราพยายามละบาปสร้างบุญ แต่ไม่ยึดติดในบุญ เราก็ต้องพยายามกันนะ มีโอกาสก็อย่าไปทิ้งโอกาส โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด เราพยายามเปิดใจของเราให้กว้าง มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ไม่มีใครจะสอนเราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง
แต่การสอนตัวของเรา เราต้องเจริญสติ รู้จักจําแนกแจกแจง อันนี้สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้ใจ การเกิดการดับของใจ การเกิดการดับของขันธ์ห้า การแยกการคลาย การตามดู ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด จะค่อยๆ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จนกิเลสไม่เหลือในจิตใจของเรา จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ถึงเราละไม่ได้ก็พยายามฝืน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ พยายามฝึกหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ชีวิตของเรา คําว่า ชีวิต ทั้งจิตวิญญาณทั้งกาย เราพยายามเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้ตัวตัวใหม่เข้าลงที่กายของเราให้ต่อเนื่อง ความพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่
เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็พากันมองข้ามกัน เราก็หายใจมาตั้งแต่เกิดแต่ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์ก็เลยไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร ส่วนมากก็ใจทะเยอทะยานอยากส่งออกไปภายนอก อยากเป็นโน้นอยากเป็นนี้ ไม่อยากเป็น อยากเกิด ความคิดนั่นแหละ ความเกิดนั่นแหละคือความหลง หลงเกิดมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้มาสร้างกายเนื้อ หลงเข้ามาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์
พระพุทธองค์ได้ค้นพบวิธีการแนวทางที่จะดับทุกข์แล้วก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ท่านก็ให้เจริญสติลงที่กายของเราแล้วก็วิเคราะห์สังเกตการเกิดของใจของขันธ์ห้าให้ทัน รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็ใช้สมถะเข้าไปดับ ให้สติอยู่กับลมหายใจของเราแล้วก็หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาจิตใจของเรามีความอ่อนน้อม มีความถ่อมตน มีความเสียสละ มีสัจจะ มีความเพียร มีการให้การเอาออก การคลาย ใจเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง ใจเกิดกิเลสสักกี่เที่ยว ใจส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง แต่ละวันภายใน 5 นาที 10 นาที จนกระทั่งถึงเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เราพยายามหมั่นพร่ำสอนใจของตัวเองด้วยสติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องทั้งหายใจเข้าหายใจออก เราก็จะรู้เลยว่าที่ผ่านๆ มานั้นสติของเรานี้ไม่มีเลย สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันนี้ไม่มีเลย มีตั้งแต่สติปัญญาอยู่ในระดับของสมมติอยู่ในระดับของโลก
สติปัญญาโลกีย์ ตัวนี้เก่ง เขาเก่งมาก สติปัญญาที่เกิดจากใจส่งออกไปภายนอกรวมกันกับอาการของขันธ์ห้าอีก ซึ่งเป็นส่วนรูปส่วนนาม ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ ให้ใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับหงายของที่คว่ำ นั่นแหละสัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงปรากฏเปิดทางให้ ความเห็นถูก เห็นถูกเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาตามดูให้ใจรับรู้ ตามดูขันธ์ห้าว่าเรื่องอะไร บางทีก็เป็นเรื่องอดีต บางทีก็เรื่องเป็นเรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นกุศลหรือว่าอกุศล
ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาตามดูตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ นั่นแหละที่ท่านบอกว่าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ใจก็ว่างรับรู้อยู่ ตามดูทุกเรื่อง ส่วนมากเรารู้อยู่ทั้งใจทั้งอาการของขันธ์ห้ารวมกันไปแล้ว รู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราคิด รู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราทำ อันนั้นเป็นความรู้ของสมมติ ความรู้ที่ใจยังหลงอยู่ เราต้องพยายาม ช่วงใหม่ๆ นี้ฝืน ท่านถึงบอกว่าฝืน ฝืนความคิด ฝืนอารมณ์ ฝืนกิเลส ท่านถึงบอกว่าทวนกระแส
เราพยายามฝึกฝนตัวเรา ใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเสียสละ มีสัจจะ มีความเพียร มีการให้ การเอาออก รู้จักควบคุมใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ จนกําลังสติของเราตามดูรู้ทุกเรื่องตั้งแต่เกิด การเกิด การดับ การไม่เกิด กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร คําว่า อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐเป็นลักษณะอย่างไร อัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องดู ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องทำความเข้าใจ อย่าไปปล่อยปละละเลย เพราะว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องศึกษาชีวิตของตัวเราเอง ถ้าเราไม่ได้เจริญสติเข้าไปแก้ไข ไม่มีใครจะแก้ไขให้เราได้เลย
ความรู้ สติปัญญา แนวทาง พระพุทธเจ้าท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปี สัจจะความจริงยังมีอยู่เหมือนเดิม ธรรมชาติก็มีอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าคนเราเข้าไม่ถึงธรรมชาติ ธรรมชาติของใจถ้าไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ถ้าเขาไม่เกิดเขาก็นิ่ง ทุกวันนี้ทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึดสารพัดอย่าง เราถึงได้มาให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเราแก้ไขใจของเรา ชนะตัวเราแล้วเราก็ชนะหมด
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณ ให้รอบรู้ในขันธ์ห้าภายในกายของเรา รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำความเข้าใจกับสมมติทำความเข้าใจกับวิมุตติ ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมาปุ๊บ เรารู้สัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก จะลุกจะก้าวจะเดิน ความรู้สึกรับรู้ใจยังว่างรับรู้อยู่ จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำใจก็ยังนิ่งอยู่ สติปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ ให้แก้ไขด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล อบรมกายอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนเข้าถึงความบริสุทธิ์
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไปปฏิบัติอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ทำอย่างนี้ กายวิเวกอย่างนี้ ใจวิเวกอย่างนี้ ใจวิเวกจากการเกิด วิเวกจากกิเลส วิเวกจากสิ่งต่างๆ กายวิเวกจากภาระหน้าที่การงาน เราก็จะได้ทำความเข้าใจ รู้ด้วยเห็นด้วย ทำความเข้าใจให้ถูกด้วย ไม่เข้าข้างตัวเองไม่เข้าข้างคนอื่น เอาความเป็นกลาง ความว่างเป็นที่ตั้ง กว่าจะเข้าถึงความว่าง ใจว่างจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร ใจว่างจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจไม่เกิดเป็นอย่างไร เราต้องมีความเพียร หัดสังเกตหัดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติในการตามดูตามรู้ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
การทำบุญให้ทาน การสร้างอานิสงส์ สร้างบุญบารมี ทุกคนก็พากันมีมาตลอด ตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พาทำบุญกันพาให้ทานกัน รู้จักอดทนอดกลั้น ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว มาจนอายุถึงปูนนี้ เราก็ต้องพยายาม เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกเราพยายามศึกษาให้เกิดความชํานาญ ถ้าหากความรู้สึกไม่ชัดเจน เราก็พยายามลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เหมือนกับนายประตูทวารคอยสังเกตว่ารถคันไหนจะวิ่งเข้าก็รู้อยู่ รถคันไหนจะวิ่งออกก็รู้อยู่ รู้ให้ต่อเนื่อง ถ้าพลั้งเผลอเริ่มใหม่ พลั้งเผลอเริ่มใหม่
ส่วนการเกิดของใจ ส่วนการเกิดของขันธ์ห้านั้นมีกันตลอด บางคนก็เร็วไว บางคนก็นิ่งสงบเป็นบางช่วงบางครั้งบางคราว แต่เราขาดการวิเคราะห์เท่านั้น แต่เราขาดความรู้ความเห็นลักษณะหน้าตาอาการซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลักษณะอย่างไร ศีลสมมติเป็นลักษณะอย่างไร คําว่า วิมุตติ ใจหลุดพ้นจากขันธ์ห้า หลุดพ้นจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างไร ความจริงนี้มีอยู่ในกายของเรา แต่เราค้นคว้าไม่ถึงเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีอย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าไปมองข้าม คนเรานี้มองข้ามจะไปละกิเลสตัวใหญ่ๆ นานๆ ทีมันถึงจะเกิด แต่ความเกิดของจิตวิญญาณนะมันเกิดอยู่ตลอดเวลา เราพยายามดับตั้งแต่มันก่อตัว ก็ไม่มีกําลังที่จะส่งออกไป เราพยายามคลายสังเกตให้ทัน ใจก็จะคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม หงายของที่คว่ำขึ้นมา แยกรูปแยกนามได้ อันนี้ยังไม่เพียงพอ เราต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น จนกําลังสติของเราเป็นมหาสติ จากมหาสติกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญากลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงใจ รอบรู้ในการขัดเกลากิเลส หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข เราอย่าไปมองข้าม
เราพยายามให้ได้ทั้งทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกเราก็พยายามยังประโยชน์ ให้อยู่ดีมีความสุขขณะที่เรายังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจแล้วก็มีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เราพยายามละบาปสร้างบุญ แต่ไม่ยึดติดในบุญ เราก็ต้องพยายามกันนะ มีโอกาสก็อย่าไปทิ้งโอกาส โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด เราพยายามเปิดใจของเราให้กว้าง มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ไม่มีใครจะสอนเราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง
แต่การสอนตัวของเรา เราต้องเจริญสติ รู้จักจําแนกแจกแจง อันนี้สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้ใจ การเกิดการดับของใจ การเกิดการดับของขันธ์ห้า การแยกการคลาย การตามดู ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด จะค่อยๆ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จนกิเลสไม่เหลือในจิตใจของเรา จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ