หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 78 วันที่ 23 ตุลาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 78 วันที่ 23 ตุลาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 78
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 23 ตุลาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ก็ขอให้หยุดขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี่แหละ ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุด ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรามีความรู้สึกให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะลมหายใจเข้าลมหายใจออก พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเป็นลักษณะอย่างนี้
ในภาษาธรรม ในหลักธรรมท่านเรียกว่า สติ ถ้ารู้ตัวให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า สัมปชัญญะ จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่องจาก 1 นาทีเป็น 2 เป็น 3 เป็น 4 เป็น 5 เป็น 10 เป็นชั่วโมง จนความรู้ตัวของเรารู้กายของเรา จนรู้ลึกลงไปอีก รู้ลักษณะของใจ เวลาใจเกิดหรือว่าวิญญาณในกายของเราเขาปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร มีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราจะรู้ เราก็จะเห็น
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อยหรือบางทีแทบไม่มี เพราะว่าเราไปมั่นหมายเอาตัวใจ เอาความคิดเก่าว่าเป็นสติปัญญาของเรา อันนี้ก็เป็นสติปัญญาของเราอยู่ อยู่ในระดับของสมมติ การจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วความเกิดของใจนั้นแหละคือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง เราหลงแล้วยังไม่พอยังไปยึดเอาทุกสิ่งทุกอย่างอีก
ใจของคนเรานี้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เดิม ความไม่เข้าใจทำให้ใจเกิดใจหลง ใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ความเกิดเขามาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเองเอาไว้ แล้วก็เกิดต่อขณะที่ยังมีร่างกายอยู่
พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง การเจริญสติลงที่กายเป็นอย่างนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การควบคุมใจ การควบคุมใจ การอบรมใจ ใจคลายออกมาหรือว่าแยกรูปแยกนาม ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน มีอยู่ในกายของเราหมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะเจริญสติให้เข้มแข็งให้ต่อเนื่อง เข้าไปวิเคราะห์พิจารณาใจของเราได้ทันหรือไม่เท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกัน
ทุกคนก็มีจิตที่เป็นบุญ ฝักใฝ่ในบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน ทานสมมติ ทานวิมุตติ ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม บารมีส่วนนี้มีกันอยู่เดิม การทำบุญให้ทาน ความขยันหมั่นเพียร การวิเคราะห์ การยังสมมติให้เกิดประโยชน์ตรงนี้มีกันมาอยู่แล้ว แต่ให้ลึกลงไปอีก การเจริญสติที่ต่อเนื่องกัน การดับการแยกการคลาย การตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง เราค่อยเป็นค่อยไป ค่อยทำค่อยวิเคราะห์พิจารณา ระลึกได้เมื่อไหร่เราก็พยายามรีบทำ ค่อยดำเนิน
ไม่ถึงวันนี้ ก็ต้องถึงพรุ่งนี้ ไม่ถึงพรุ่งนี้ ก็เดือนนี้เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำนี้แหละจะไปต่อเอาภพหน้า พยายามสร้างเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป เพียงแค่บุญเล็กๆ น้อยๆ เราก็อย่าไปมองข้าม คิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์
การวิเคราะห์ การเจริญสติ สติที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ เรารู้ไม่ทันต้นเหตุของการเกิดของใจ เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ หยุดเอาไว้ ข่มเอาไว้ เขาเรียกว่า สมถะ ทีนี้เราก็พยายามเจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร เราไม่มีความรับผิดชอบ เราก็พยายามสร้างความรับผิดชอบ ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักแก้ไข รู้จักปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
แต่เวลานี้กำลังสติมีบ้างไม่มีบ้างหรือแทบจะไม่มี เราพยายามทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็สติหรือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้แหละจะเป็นที่พึ่งของใจ แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง พระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบแล้ว ก็ให้ปฏิบัติตามให้รู้ ให้มี ให้เกิดขึ้น ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความรู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนกัน ให้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 23 ตุลาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ก็ขอให้หยุดขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี่แหละ ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุด ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรามีความรู้สึกให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะลมหายใจเข้าลมหายใจออก พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเป็นลักษณะอย่างนี้
ในภาษาธรรม ในหลักธรรมท่านเรียกว่า สติ ถ้ารู้ตัวให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า สัมปชัญญะ จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่องจาก 1 นาทีเป็น 2 เป็น 3 เป็น 4 เป็น 5 เป็น 10 เป็นชั่วโมง จนความรู้ตัวของเรารู้กายของเรา จนรู้ลึกลงไปอีก รู้ลักษณะของใจ เวลาใจเกิดหรือว่าวิญญาณในกายของเราเขาปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร มีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราจะรู้ เราก็จะเห็น
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อยหรือบางทีแทบไม่มี เพราะว่าเราไปมั่นหมายเอาตัวใจ เอาความคิดเก่าว่าเป็นสติปัญญาของเรา อันนี้ก็เป็นสติปัญญาของเราอยู่ อยู่ในระดับของสมมติ การจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วความเกิดของใจนั้นแหละคือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง เราหลงแล้วยังไม่พอยังไปยึดเอาทุกสิ่งทุกอย่างอีก
ใจของคนเรานี้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เดิม ความไม่เข้าใจทำให้ใจเกิดใจหลง ใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ความเกิดเขามาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเองเอาไว้ แล้วก็เกิดต่อขณะที่ยังมีร่างกายอยู่
พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง การเจริญสติลงที่กายเป็นอย่างนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การควบคุมใจ การควบคุมใจ การอบรมใจ ใจคลายออกมาหรือว่าแยกรูปแยกนาม ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน มีอยู่ในกายของเราหมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะเจริญสติให้เข้มแข็งให้ต่อเนื่อง เข้าไปวิเคราะห์พิจารณาใจของเราได้ทันหรือไม่เท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกัน
ทุกคนก็มีจิตที่เป็นบุญ ฝักใฝ่ในบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน ทานสมมติ ทานวิมุตติ ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม บารมีส่วนนี้มีกันอยู่เดิม การทำบุญให้ทาน ความขยันหมั่นเพียร การวิเคราะห์ การยังสมมติให้เกิดประโยชน์ตรงนี้มีกันมาอยู่แล้ว แต่ให้ลึกลงไปอีก การเจริญสติที่ต่อเนื่องกัน การดับการแยกการคลาย การตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง เราค่อยเป็นค่อยไป ค่อยทำค่อยวิเคราะห์พิจารณา ระลึกได้เมื่อไหร่เราก็พยายามรีบทำ ค่อยดำเนิน
ไม่ถึงวันนี้ ก็ต้องถึงพรุ่งนี้ ไม่ถึงพรุ่งนี้ ก็เดือนนี้เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำนี้แหละจะไปต่อเอาภพหน้า พยายามสร้างเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป เพียงแค่บุญเล็กๆ น้อยๆ เราก็อย่าไปมองข้าม คิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์
การวิเคราะห์ การเจริญสติ สติที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ เรารู้ไม่ทันต้นเหตุของการเกิดของใจ เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ หยุดเอาไว้ ข่มเอาไว้ เขาเรียกว่า สมถะ ทีนี้เราก็พยายามเจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร เราไม่มีความรับผิดชอบ เราก็พยายามสร้างความรับผิดชอบ ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักแก้ไข รู้จักปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
แต่เวลานี้กำลังสติมีบ้างไม่มีบ้างหรือแทบจะไม่มี เราพยายามทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็สติหรือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้แหละจะเป็นที่พึ่งของใจ แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง พระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบแล้ว ก็ให้ปฏิบัติตามให้รู้ ให้มี ให้เกิดขึ้น ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความรู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนกัน ให้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ