หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 41 วันที่ 22 มิถุนายน 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 41 วันที่ 22 มิถุนายน 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 41
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็ตรงกับวันศุกร์ วันศุกร์วันที่ 22 เดือน 1 เผลอแผล็บเดียว แต่ละวันๆ ผ่านไปเร็วไว ถ้าใจของเราไม่มีความกังวลกับกาลกับเวลาก็จะเร็วไว ถ้าใจของเรามีความกังวลกับกาลกับเวลา เวลาแต่ละนาที แต่ละชั่วโมงนี่ยาวนาน ญาติโยมที่มาพักวัด ก็วางตัว วางกาย วางใจให้สบายกันนะ อย่าไปกังวลอะไร หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ วิเคราะห์ใจของเรา
ทั้งพระทั้งชี ฆราวาสญาติโยมก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ให้รู้จักวิธีการแนวทางเจริญสติเจริญภาวนา ศึกษาเรื่องวิญญาณในกายของตัวเรา หรือว่าใจนั่นแหละ ความคิด ความคิดเก่า ความคิดที่เกิดจากใจ ความคิดที่เกิดจากอาการของใจ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราพยายามสังเกตวิเคราะห์ ทำใจของเราให้สะอาด ใจเกิดเราก็รู้จักดับ ดับความเกิดของใจ ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักละกิเลส
พระเรา ชีเรา ก็รู้จักพิจารณา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึงเวลานี้ จะรับประทานข้าวปลาอาหารก็รู้จักพิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรา ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย พิจารณากลับไปกลับมา พิจารณาใจของตัวเรา กายของเราหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม ยิ่งฝึกใหม่ๆ นี่ความอยากจะเห็นเยอะ
กายก็หิว ใจจะปรุงแต่งความอยาก หรือว่าใจเกิดเร็วไว อันโน้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกเอาเยอะๆ ยังมาไม่ถึง มันก็บอกว่าจะเอาอันโน้นจะเอาอันนี้ กิเลสมันสั่งงาน ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งอดอาหารสักมื้อสองมื้อ จะได้เห็นความอยากที่เกิดจากใจได้เร็วได้ไว ให้เราดับความเกิด ดับความอยากเสียก่อนค่อยเอา ไม่ให้เอาด้วยความอยากที่เกิดจากกิเลส ให้เอาด้วยปัญญา ให้เอาด้วยสติ ด้วยปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา
ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา เรียกว่า สร้างความรู้ตัวนั่นแหละ ให้มี ให้เกิด ให้ต่อเนื่อง จากหนึ่งครั้งสองครั้งสามครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็นชั่วโมง จนเอาไปใช้การใช้งานได้ จนเป็นมหาสติมหาปัญญา รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา รอบรู้ในกองสังขารของเรา
ตามคำสอนของพระพุทธองค์ว่าท่านสอนเรื่องอะไร คำว่า อัตตาอนัตตา ความหมายภาษาธรรมเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ความคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างไร ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่ หรือว่าความพลั้งเผลอของเรา ความเกียจคร้านมีในสันดานของเรา เราก็พยายามแก้ไข แก้ไขปรับปรุง ให้สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ จิตใจของเราก็จะปล่อยก็จะวางได้เร็วได้ไว
ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจของเราเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม รู้จักจำแนกแจกแจง
ความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมา เราต้องเอาไปใช้การใช้งาน อบรมใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน การได้ศึกษาค้นคว้า มีกันทุกคน ครูบาอาจารย์ตำราก็เป็นแค่เพียงแผนที่ ชี้แนะแนวทางให้ แผนที่ชี้แนะแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปีก็ยังปรากฏอยู่ ความจริงก็ยังปรากฏอยู่ ถ้าเราดำเนินให้ถูกวิธีถูกทาง ก็ต้องพยายามกัน
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่ามีบุญระดับหนึ่ง เพราะว่าจิตวิญญาณของแต่ละคนหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้มาก่อร่างสร้างภพมนุษย์ หลงวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ ซึ่งมีขันธ์ห้า สร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเอง พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติหรือว่าเจริญปัญญาตัวใหม่
ส่วนความรู้ตัวหรือว่าส่วนสมองเข้าไปวิเคราะห์ น้อมเข้าไปดูที่ใจของเรา เราก็จะเห็นหลายสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในใจของเราเยอะ บางทีก็เป็นกุศลบ้าง บางทีก็เป็นอกุศลบ้าง ความเกิดหรือว่าความคิด ความเกิดของใจนี่แหละเป็นกิเลสละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ทีนี้เขาก็หลงมาสร้างขันธ์ห้าคือร่างกายของเรา ส่วนรูปส่วนนามอีก
พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติ น้อมเข้าไปดูที่ใจของเรา แก้ไขใจของเรา ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงยึด ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส กิเลสก็มีหลายอย่างหลายชั้น กิเลส ความโลภ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยากนั่นแหละเป็นกิเลสหมด ทั้งฝ่ายดีฝ่ายไม่ดี ฝ่ายดำฝ่ายขาว ซึ่งมีอยู่ในใจของเรา
ให้เจริญวิเคราะห์ดู จำแนกแจกแจง ความพลั้งเผลอเกิดขึ้นเริ่มใหม่ พลั้งเผลอเกิดขึ้นเริ่มใหม่ ให้รู้จักอันนี้ลักษณะของการเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดของใจที่ส่งไปภายนอกเป็นลักษณะหน้าตาอาการเป็นอย่างนี้ อันนี้ส่วนรูปส่วนนาม ถ้าเราหมั่นสังเกตบ่อยๆ เราก็จะเห็นสักวันหนึ่ง
ส่วนการสร้างบุญสร้างบารมีนั้นทุกคนพากันฝักใฝ่ พากันสนใจ ศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แต่เราต้องทำความเข้าใจกับกรรม ขันธ์ห้านั่นแหละคือตัวกรรมไม่ใช่อะไรหรอก ส่วนรูปส่วนนาม ใจคลายออกจากความคิด ใจก็จะหงายขึ้นมา เขาเรียกว่า หงายของที่คว่ำ หรือว่ามีความเห็นถูก
มีความเห็นถูกตามหลักธรรมแล้วก็เห็นความเกิดความดับ เข้าใจสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับใจของเราว่าเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ก็มีตั้งแต่อาการของขันธ์ห้าของเรานั่นแหละ เราทำความเข้าใจกับขันธ์ห้า จำแนกแจกแจง รู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง ใจก็จะว่าง ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ ดับที่นั่นดับที่นี่ กิเลสต่างๆ ก็จะเหือดแห้งไป ทำความเข้าใจกับขันธ์ห้าของเรา ตามดู รู้เห็น เราก็จะเข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นในกายของเรา รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ
ยิ่งฝึกเจริญสติมากเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ เห็นกิเลสเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสหรือไม่ เราจะแพ้ให้กิเลสหรือไม่ มีแต่เรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ส่วนมากก็จะไปมองแต่ภายนอก คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นแหละกิเลสมันเล่นงานเอา
เราพลั้งเผลอเริ่มต้นใหม่ ผิดพลาดเริ่มต้นใหม่ รู้จักแก้ไขในระดับสมมติ เราก็รู้จักแก้ไข สมมติของเราอะไรขาดตกบกพร่อง เรามีความขยันหมั่นเพียร เพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ การกระทำของเรามีการกระทำหรือไม่ ไม่ใช่มีตั้งแต่ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดกังวลต่างๆ เราก็ต้องพยายามศึกษากาย ศึกษาใจของเรา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้ง ทุกลมหายใจเข้าออกมีค่า มีคุณค่ามากมายมหาศาล คนเรามองข้ามจะไปไขว่คว้าเอาตั้งแต่ทรัพย์ภายนอกอย่างเดียว ทรัพย์ภายในก็เลยลืม ให้เราได้ทั้งทรัพย์ในทรัพย์ภายนอกทรัพย์ภายใน ก็คือความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ความเป็นสุขของใจ เราก็ได้ทรัพย์ภายนอก ความเป็นอยู่ทางโลกธรรมเราก็ไม่ได้เดือดร้อน เราก็รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ต้องให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์ ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง เพราะว่าชีวิตของคนเรา หมดลมหายใจเมื่อไหร่ก็หมดสภาพกัน
ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายามวิเคราะห์ดู เพียงแค่การหายใจเข้า หายใจออก อานาปานสติ ดูรู้ให้ต่อเนื่องให้เป็นธรรมชาติที่สุด ลึกลงไปก็รู้ใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ กิเลสเหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด หรือเกิดจากภายในของตัวเรา เราก็ต้องแก้ไข ไม่มีใครแก้ไขให้เราได้นอกจากตัวของเรา
วิธีการแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานาน การเจริญสติ การสร้างตบะสร้างบารมี การขัดเกลากิเลส มีความสุขถ้าเรารู้จักดู รู้จักรู้ใจของเรา เราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เราจะเอาชนะได้หรือไม่ วิธีการอย่างไรเราถึงจะจัดการกับกิเลสของเราได้ กิเลสตัวไหนมาเล่นงานเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียด
แม้แต่ตัวใจ ความเกิดของใจก็เป็นความหลงอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาพยายามศึกษาวันนี้ได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้ นาทีนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ วางกายให้เป็นธรรมชาติ วางใจให้เป็นธรรมชาติ ในเวลานี้ใจของเราเป็นธาตุรู้ แต่เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง สารพัดอย่าง เราก็ว่าเราไม่หลง ถ้าเราเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลได้ เราถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ ระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธองค์ ตั้งหลายร้อยหลายพันปีที่ท่านได้ค้นพบ เราอย่าเอาความเชื่อ เอาทิฏฐิเก่าๆ ปัญญาโลกีย์มาโต้แย้ง ท่านให้เจริญสติเข้าไปดูรู้เห็นแยกคลายให้ได้ ตามดูให้ได้
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ต้องเชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ แต่ต้องปฏิบัติตามคำสอนของท่านเสียก่อน การทำความเข้าใจ การสำรวจ สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความอ่อนโยน มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี ไม่ต้องไปกังวล ไปเสียเปรียบ ว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้นคนนี้ เราเอาชนะตัวเราแล้วก็จะชนะหมด ก็ต้องพยายามกันนะ
ยิ่งฆราวาสญาติโยมที่มาอยู่ที่วัด ก็น้อมกายเข้ามา แล้วก็วางภาระหน้าที่การงานเก่าๆ ที่เราเคยวาง ๆ ทางบ้านมา อันนี้ก็เป็นการวางระดับหนึ่ง ทีนี้เราก็เจาะให้ลึกให้เห็น การเกิดการดับของใจของความคิด เราก็จะรู้จักจุดปล่อย จุดวาง ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะลำบากเพราะว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส เพราะว่าทุกคนนี่ ใจของทุกคนนี่ชอบคิด ชอบเที่ยว เกิดบางทีก็เป็นทาสกิเลส บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง เรามาจัดการกับใจของเรา อยู่ด้วยสติอยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยเหตุด้วยผล เราก็จะมีความสุข
ทรัพย์ภายในเราก็ได้ ทรัพย์ภายนอกเราก็ยังประโยชน์ ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณของเรา ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ ให้รอบรู้ในโลกธรรม ที่เราจะดำรงอยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุขจนกว่าจะหมดลมหายใจ อยู่กับสมมติ เคารพสมมติไม่ยึดติดสมมติ แต่เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้เสียก่อน ตั้งใจรับพรกัน
--------------------
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามหัดสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้เกิดความเคยชิน
ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดบ้าง ติดขัดบ้าง เดี๋ยวก็คันโน้นบ้าง เดี๋ยวก็หายใจอึดอัดบ้าง เราก็พยายามทำบ่อยๆ พยายามเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้ตัวให้มีให้เกิดให้ต่อเนื่องกัน จากหนึ่งครั้งสองครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 นาที เป็น 10 นาที ถ้าเราทำได้อย่างนี้ เราก็จะมองเห็นตั้งแต่ก่อนเราขาดสติ ขาดความรู้ตัวตรงนี้มากเลยทีเดียว
เราสร้างความรู้ตัวเพื่อที่จะเข้าไปรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะอาการของความคิดเขาผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราขาดตกบกพร่องอะไรเราก็จะได้แก้ไขเรา ปรับสภาพใจของเราให้มีความสุข ใจของเรามีความแข็งกระด้างเราก็พยายามแก้ไข ใจของเรามีทิฏฐิมานะ ใจของเรามีกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักขัดรู้จักเกลา รู้จักเอาออก ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา ให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา สร้างทรัพย์ภายในให้มีให้เกิดจากข้างใน แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง สู่เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเราก็จะได้ทำบุญ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเราก็จะได้เข้าวัด ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ เราก็จะได้ฟังธรรมะอยู่ตลอดเวลา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา เรามีสติคอยตรวจสอบใจของเรา ตาก็มีหน้าที่ดู หูก็มีหน้าที่ฟัง ภาษาธรรมะที่เรียกว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง หู ตา จมูก ลิ้น กาย เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งส่งเข้าไปถึงใจของเรา
เรามีสติรู้ใจของเราว่าใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ ใจของเราเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ ใจของเราเริ่มก่อตัว ลักษณะการก่อตัวอาการเป็นอย่างไร ลักษณะอาการก่อตัวของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้ากำลังสติของเราไม่เข้มแข็งไม่เร็วไวพอ ก็ยากที่จะเข้าใจ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ เป็นบุคคลที่มีความขยันเพียร เป็นบุคคลที่หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลให้มีให้เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกายในใจของเรา เราจงเป็นผู้บริหาร ผู้กำกับชีวิตของเราไม่ให้กิเลสเข้ามาบริหาร ไม่ให้กิเลสเข้ามาบงการ
เราเป็นบุคคลที่เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจยอมรับความเป็นจริง เราก็จะอยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด เรารู้จักวิธีการแล้ว เรารู้จักแนวทางแล้วให้รีบไปทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาการเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ รู้ไม่ทัน เรารู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุมเป็นอย่างนี้ กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาโต้แย้งเหมือนกัน แล้วกำลังฝ่ายไหนมันจะเยอะกว่ากัน กำลังฝ่ายกุศลเยอะ เราก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้เร็ว อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็จะมีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
รู้จักทรัพย์ ทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ความว่าง ใจที่ว่างจากการเกิด ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ สติปัญญาไปใช้กับสมมติ อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ก็จะมีความสุขกัน ก็ต้องพยายามกัน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง
หลวงพ่อก็พาทำบุญอยู่ตลอดเวลา บุญสมมติก็พาทำ บุญวิมุตติการขัดเกลากิเลสก็ชี้แนะให้ ให้พวกท่านไปทำ ใครมีโอกาสอยากจะมาร่วมบุญกับหลวงพ่อก็มาได้ตลอดเวลา มีโอกาส โอกาสเปิดกาลเวลาเปิด เราทำอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอยู่ที่ไหน การทำดีให้รีบทำ ตั้งแต่ความนึกคิด คิดดีทำดี คิดไม่ดีเราก็พยายามละ พยายามแก้ไข พยายามดับ ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเราแก้ไขเราไม่ได้ เราแก้ไขเราอยู่ในระดับสมมติ ก็ให้สร้างคุณงามความดี ในด้านจิตใจก็ให้ขัดเกลากิเลส สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันรู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็ตรงกับวันศุกร์ วันศุกร์วันที่ 22 เดือน 1 เผลอแผล็บเดียว แต่ละวันๆ ผ่านไปเร็วไว ถ้าใจของเราไม่มีความกังวลกับกาลกับเวลาก็จะเร็วไว ถ้าใจของเรามีความกังวลกับกาลกับเวลา เวลาแต่ละนาที แต่ละชั่วโมงนี่ยาวนาน ญาติโยมที่มาพักวัด ก็วางตัว วางกาย วางใจให้สบายกันนะ อย่าไปกังวลอะไร หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ วิเคราะห์ใจของเรา
ทั้งพระทั้งชี ฆราวาสญาติโยมก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ให้รู้จักวิธีการแนวทางเจริญสติเจริญภาวนา ศึกษาเรื่องวิญญาณในกายของตัวเรา หรือว่าใจนั่นแหละ ความคิด ความคิดเก่า ความคิดที่เกิดจากใจ ความคิดที่เกิดจากอาการของใจ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราพยายามสังเกตวิเคราะห์ ทำใจของเราให้สะอาด ใจเกิดเราก็รู้จักดับ ดับความเกิดของใจ ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักละกิเลส
พระเรา ชีเรา ก็รู้จักพิจารณา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึงเวลานี้ จะรับประทานข้าวปลาอาหารก็รู้จักพิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรา ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย พิจารณากลับไปกลับมา พิจารณาใจของตัวเรา กายของเราหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม ยิ่งฝึกใหม่ๆ นี่ความอยากจะเห็นเยอะ
กายก็หิว ใจจะปรุงแต่งความอยาก หรือว่าใจเกิดเร็วไว อันโน้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกเอาเยอะๆ ยังมาไม่ถึง มันก็บอกว่าจะเอาอันโน้นจะเอาอันนี้ กิเลสมันสั่งงาน ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งอดอาหารสักมื้อสองมื้อ จะได้เห็นความอยากที่เกิดจากใจได้เร็วได้ไว ให้เราดับความเกิด ดับความอยากเสียก่อนค่อยเอา ไม่ให้เอาด้วยความอยากที่เกิดจากกิเลส ให้เอาด้วยปัญญา ให้เอาด้วยสติ ด้วยปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา
ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา เรียกว่า สร้างความรู้ตัวนั่นแหละ ให้มี ให้เกิด ให้ต่อเนื่อง จากหนึ่งครั้งสองครั้งสามครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็นชั่วโมง จนเอาไปใช้การใช้งานได้ จนเป็นมหาสติมหาปัญญา รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา รอบรู้ในกองสังขารของเรา
ตามคำสอนของพระพุทธองค์ว่าท่านสอนเรื่องอะไร คำว่า อัตตาอนัตตา ความหมายภาษาธรรมเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ความคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างไร ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่ หรือว่าความพลั้งเผลอของเรา ความเกียจคร้านมีในสันดานของเรา เราก็พยายามแก้ไข แก้ไขปรับปรุง ให้สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ จิตใจของเราก็จะปล่อยก็จะวางได้เร็วได้ไว
ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจของเราเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม รู้จักจำแนกแจกแจง
ความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมา เราต้องเอาไปใช้การใช้งาน อบรมใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน การได้ศึกษาค้นคว้า มีกันทุกคน ครูบาอาจารย์ตำราก็เป็นแค่เพียงแผนที่ ชี้แนะแนวทางให้ แผนที่ชี้แนะแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปีก็ยังปรากฏอยู่ ความจริงก็ยังปรากฏอยู่ ถ้าเราดำเนินให้ถูกวิธีถูกทาง ก็ต้องพยายามกัน
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่ามีบุญระดับหนึ่ง เพราะว่าจิตวิญญาณของแต่ละคนหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้มาก่อร่างสร้างภพมนุษย์ หลงวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ ซึ่งมีขันธ์ห้า สร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเอง พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติหรือว่าเจริญปัญญาตัวใหม่
ส่วนความรู้ตัวหรือว่าส่วนสมองเข้าไปวิเคราะห์ น้อมเข้าไปดูที่ใจของเรา เราก็จะเห็นหลายสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในใจของเราเยอะ บางทีก็เป็นกุศลบ้าง บางทีก็เป็นอกุศลบ้าง ความเกิดหรือว่าความคิด ความเกิดของใจนี่แหละเป็นกิเลสละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ทีนี้เขาก็หลงมาสร้างขันธ์ห้าคือร่างกายของเรา ส่วนรูปส่วนนามอีก
พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติ น้อมเข้าไปดูที่ใจของเรา แก้ไขใจของเรา ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงยึด ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส กิเลสก็มีหลายอย่างหลายชั้น กิเลส ความโลภ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยากนั่นแหละเป็นกิเลสหมด ทั้งฝ่ายดีฝ่ายไม่ดี ฝ่ายดำฝ่ายขาว ซึ่งมีอยู่ในใจของเรา
ให้เจริญวิเคราะห์ดู จำแนกแจกแจง ความพลั้งเผลอเกิดขึ้นเริ่มใหม่ พลั้งเผลอเกิดขึ้นเริ่มใหม่ ให้รู้จักอันนี้ลักษณะของการเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดของใจที่ส่งไปภายนอกเป็นลักษณะหน้าตาอาการเป็นอย่างนี้ อันนี้ส่วนรูปส่วนนาม ถ้าเราหมั่นสังเกตบ่อยๆ เราก็จะเห็นสักวันหนึ่ง
ส่วนการสร้างบุญสร้างบารมีนั้นทุกคนพากันฝักใฝ่ พากันสนใจ ศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แต่เราต้องทำความเข้าใจกับกรรม ขันธ์ห้านั่นแหละคือตัวกรรมไม่ใช่อะไรหรอก ส่วนรูปส่วนนาม ใจคลายออกจากความคิด ใจก็จะหงายขึ้นมา เขาเรียกว่า หงายของที่คว่ำ หรือว่ามีความเห็นถูก
มีความเห็นถูกตามหลักธรรมแล้วก็เห็นความเกิดความดับ เข้าใจสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับใจของเราว่าเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ก็มีตั้งแต่อาการของขันธ์ห้าของเรานั่นแหละ เราทำความเข้าใจกับขันธ์ห้า จำแนกแจกแจง รู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง ใจก็จะว่าง ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ ดับที่นั่นดับที่นี่ กิเลสต่างๆ ก็จะเหือดแห้งไป ทำความเข้าใจกับขันธ์ห้าของเรา ตามดู รู้เห็น เราก็จะเข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นในกายของเรา รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ
ยิ่งฝึกเจริญสติมากเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ เห็นกิเลสเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ยิ่งทำความเข้าใจ ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสหรือไม่ เราจะแพ้ให้กิเลสหรือไม่ มีแต่เรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ส่วนมากก็จะไปมองแต่ภายนอก คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นแหละกิเลสมันเล่นงานเอา
เราพลั้งเผลอเริ่มต้นใหม่ ผิดพลาดเริ่มต้นใหม่ รู้จักแก้ไขในระดับสมมติ เราก็รู้จักแก้ไข สมมติของเราอะไรขาดตกบกพร่อง เรามีความขยันหมั่นเพียร เพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ การกระทำของเรามีการกระทำหรือไม่ ไม่ใช่มีตั้งแต่ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดกังวลต่างๆ เราก็ต้องพยายามศึกษากาย ศึกษาใจของเรา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้ง ทุกลมหายใจเข้าออกมีค่า มีคุณค่ามากมายมหาศาล คนเรามองข้ามจะไปไขว่คว้าเอาตั้งแต่ทรัพย์ภายนอกอย่างเดียว ทรัพย์ภายในก็เลยลืม ให้เราได้ทั้งทรัพย์ในทรัพย์ภายนอกทรัพย์ภายใน ก็คือความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ความเป็นสุขของใจ เราก็ได้ทรัพย์ภายนอก ความเป็นอยู่ทางโลกธรรมเราก็ไม่ได้เดือดร้อน เราก็รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ต้องให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์ ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง เพราะว่าชีวิตของคนเรา หมดลมหายใจเมื่อไหร่ก็หมดสภาพกัน
ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายามวิเคราะห์ดู เพียงแค่การหายใจเข้า หายใจออก อานาปานสติ ดูรู้ให้ต่อเนื่องให้เป็นธรรมชาติที่สุด ลึกลงไปก็รู้ใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ กิเลสเหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด หรือเกิดจากภายในของตัวเรา เราก็ต้องแก้ไข ไม่มีใครแก้ไขให้เราได้นอกจากตัวของเรา
วิธีการแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานาน การเจริญสติ การสร้างตบะสร้างบารมี การขัดเกลากิเลส มีความสุขถ้าเรารู้จักดู รู้จักรู้ใจของเรา เราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เราจะเอาชนะได้หรือไม่ วิธีการอย่างไรเราถึงจะจัดการกับกิเลสของเราได้ กิเลสตัวไหนมาเล่นงานเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียด
แม้แต่ตัวใจ ความเกิดของใจก็เป็นความหลงอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาพยายามศึกษาวันนี้ได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้ นาทีนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ วางกายให้เป็นธรรมชาติ วางใจให้เป็นธรรมชาติ ในเวลานี้ใจของเราเป็นธาตุรู้ แต่เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง สารพัดอย่าง เราก็ว่าเราไม่หลง ถ้าเราเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลได้ เราถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ ระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธองค์ ตั้งหลายร้อยหลายพันปีที่ท่านได้ค้นพบ เราอย่าเอาความเชื่อ เอาทิฏฐิเก่าๆ ปัญญาโลกีย์มาโต้แย้ง ท่านให้เจริญสติเข้าไปดูรู้เห็นแยกคลายให้ได้ ตามดูให้ได้
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ต้องเชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ แต่ต้องปฏิบัติตามคำสอนของท่านเสียก่อน การทำความเข้าใจ การสำรวจ สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความอ่อนโยน มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี ไม่ต้องไปกังวล ไปเสียเปรียบ ว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้นคนนี้ เราเอาชนะตัวเราแล้วก็จะชนะหมด ก็ต้องพยายามกันนะ
ยิ่งฆราวาสญาติโยมที่มาอยู่ที่วัด ก็น้อมกายเข้ามา แล้วก็วางภาระหน้าที่การงานเก่าๆ ที่เราเคยวาง ๆ ทางบ้านมา อันนี้ก็เป็นการวางระดับหนึ่ง ทีนี้เราก็เจาะให้ลึกให้เห็น การเกิดการดับของใจของความคิด เราก็จะรู้จักจุดปล่อย จุดวาง ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะลำบากเพราะว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส เพราะว่าทุกคนนี่ ใจของทุกคนนี่ชอบคิด ชอบเที่ยว เกิดบางทีก็เป็นทาสกิเลส บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง เรามาจัดการกับใจของเรา อยู่ด้วยสติอยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยเหตุด้วยผล เราก็จะมีความสุข
ทรัพย์ภายในเราก็ได้ ทรัพย์ภายนอกเราก็ยังประโยชน์ ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณของเรา ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ ให้รอบรู้ในโลกธรรม ที่เราจะดำรงอยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุขจนกว่าจะหมดลมหายใจ อยู่กับสมมติ เคารพสมมติไม่ยึดติดสมมติ แต่เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้เสียก่อน ตั้งใจรับพรกัน
--------------------
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามหัดสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้เกิดความเคยชิน
ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดบ้าง ติดขัดบ้าง เดี๋ยวก็คันโน้นบ้าง เดี๋ยวก็หายใจอึดอัดบ้าง เราก็พยายามทำบ่อยๆ พยายามเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้ตัวให้มีให้เกิดให้ต่อเนื่องกัน จากหนึ่งครั้งสองครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 นาที เป็น 10 นาที ถ้าเราทำได้อย่างนี้ เราก็จะมองเห็นตั้งแต่ก่อนเราขาดสติ ขาดความรู้ตัวตรงนี้มากเลยทีเดียว
เราสร้างความรู้ตัวเพื่อที่จะเข้าไปรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะอาการของความคิดเขาผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราขาดตกบกพร่องอะไรเราก็จะได้แก้ไขเรา ปรับสภาพใจของเราให้มีความสุข ใจของเรามีความแข็งกระด้างเราก็พยายามแก้ไข ใจของเรามีทิฏฐิมานะ ใจของเรามีกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักขัดรู้จักเกลา รู้จักเอาออก ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา ให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา สร้างทรัพย์ภายในให้มีให้เกิดจากข้างใน แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง สู่เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเราก็จะได้ทำบุญ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเราก็จะได้เข้าวัด ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ เราก็จะได้ฟังธรรมะอยู่ตลอดเวลา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา เรามีสติคอยตรวจสอบใจของเรา ตาก็มีหน้าที่ดู หูก็มีหน้าที่ฟัง ภาษาธรรมะที่เรียกว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง หู ตา จมูก ลิ้น กาย เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งส่งเข้าไปถึงใจของเรา
เรามีสติรู้ใจของเราว่าใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ ใจของเราเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ ใจของเราเริ่มก่อตัว ลักษณะการก่อตัวอาการเป็นอย่างไร ลักษณะอาการก่อตัวของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้ากำลังสติของเราไม่เข้มแข็งไม่เร็วไวพอ ก็ยากที่จะเข้าใจ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ เป็นบุคคลที่มีความขยันเพียร เป็นบุคคลที่หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลให้มีให้เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกายในใจของเรา เราจงเป็นผู้บริหาร ผู้กำกับชีวิตของเราไม่ให้กิเลสเข้ามาบริหาร ไม่ให้กิเลสเข้ามาบงการ
เราเป็นบุคคลที่เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจยอมรับความเป็นจริง เราก็จะอยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด เรารู้จักวิธีการแล้ว เรารู้จักแนวทางแล้วให้รีบไปทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาการเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ รู้ไม่ทัน เรารู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุมเป็นอย่างนี้ กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาโต้แย้งเหมือนกัน แล้วกำลังฝ่ายไหนมันจะเยอะกว่ากัน กำลังฝ่ายกุศลเยอะ เราก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้เร็ว อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราก็จะมีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
รู้จักทรัพย์ ทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ความว่าง ใจที่ว่างจากการเกิด ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ สติปัญญาไปใช้กับสมมติ อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ก็จะมีความสุขกัน ก็ต้องพยายามกัน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง
หลวงพ่อก็พาทำบุญอยู่ตลอดเวลา บุญสมมติก็พาทำ บุญวิมุตติการขัดเกลากิเลสก็ชี้แนะให้ ให้พวกท่านไปทำ ใครมีโอกาสอยากจะมาร่วมบุญกับหลวงพ่อก็มาได้ตลอดเวลา มีโอกาส โอกาสเปิดกาลเวลาเปิด เราทำอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอยู่ที่ไหน การทำดีให้รีบทำ ตั้งแต่ความนึกคิด คิดดีทำดี คิดไม่ดีเราก็พยายามละ พยายามแก้ไข พยายามดับ ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเราแก้ไขเราไม่ได้ เราแก้ไขเราอยู่ในระดับสมมติ ก็ให้สร้างคุณงามความดี ในด้านจิตใจก็ให้ขัดเกลากิเลส สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันรู้ทุกอิริยาบถ