
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 57
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 57
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 57
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบายหยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้เด็ดขาดก็ขอให้หยุดขณะที่เรากำลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกพลั้งเผลอ เราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ความรู้สึกไม่ชัดเจน เราก็พยายามสูดลมหายใจเข้าไปให้ยาวๆ ลมกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ความสืบต่อความต่อเนื่องของการเจริญสติ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ใจคิดไปที่อื่นก็เริ่มสร้างความรู้ตัวใหม่ให้ชัดเจนถ้ามีความขยันหมั่นเพียรตรงนี้ กำลังสติก็จะมากขึ้นๆๆ ใจของเราก็จะสงบลง จนกว่ากำลังสติของเราจะมีกำลังเพียงพอที่จะเข้าไปอบรมใจของเรา ไปแก้ไขใจของเรา ไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออก ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก
ถ้ายังแยกไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้หงายขึ้นมาก็ เราอาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมจริงๆ แล้ว สมมติยังครอบงำใจอยู่ ใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรมเหมือนกัน ส่วนร่างกายนี้เป็นก้อนรูป ทุกสิ่งทุกอย่างก็อิงอาศัยกันอยู่ ก้อนรูป กองรูป กองนาม
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ จนสังเกตเห็นการแยกการคลายตั้งแต่ต้นเหตุเราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ การสร้างบุญสร้างบารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ความขยันหมั่นเพียรขัดเกลาจิตใจของเรา แต่ละวัน ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามละความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง สร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน สร้างความอ่อนโยนหนักแน่น สร้างพรหมวิหารให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา
เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ใจของเรามีความอิจฉาริษยา เราก็พยายามละความละความอิจฉาริษยา อนุโมทนาสาธุในอานิสงส์แห่งบุญของทุกคน แล้วก็หมั่นสร้างคุณงามความดี หมั่นวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา
การเกิดการดับของกายเนื้อ การเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรา การเกิดการดับของขันธ์ห้า เราจะไปดูรู้ด้วยตาเนื้อเรามองไม่เห็น นอกจากตาปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน รู้จักกันรู้จักแก้ รู้จักทำความเข้าใจ เห็นเหตุเห็นผล ตามดูรู้แจ้งต้นเหตุกลางเหตุปลายเหตุ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา
บุคคลที่จะบรรลุถึงเป้าหมายได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรที่ถูกที่ถูกทาง ถ้าขยันไม่ถูกที่ ก็เข้าไม่ถึงจุดหมาย ถ้าขยันหมั่นเพียรถูกที่ถูกเวลา รู้เห็นตามความเป็นจริง สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าไปทิ้งในการสร้างผลงานความดี
ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออกทุกคนมีเหมือนกันหมด เราพยายามแก้ไขจิตใจเราขณะที่ยังมีกำลังอยู่ หมดกำลังหมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป สูงขึ้นไปก็ทำความเข้าใจหมดละทั้งบุญละทั้งบาป ละทั้งกิเลส ดับความเกิด มองเห็นหนทางเดิน ไม่ต้องกลับมาเกิดกันให้เป็นทุกข์อีกต่อไป
ตราบใดที่ใจยังละกิเลสไม่หมดก็ให้อยู่ในอานิสงส์แห่งบุญ สร้างสะสมบุญเป็นเสบียงเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปในวันข้างหน้า จนกระทั่งสู่เข้าเท่าเข้าพระนิพพานโน่นแหละคือไม่ต้องกลับมาเกิด
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง เพียงแค่ทำให้เชื่อมโยงให้ต่อเนื่องตรงนี้ก็ลำบาก เพราะว่าความขยันไม่เพียงพอ เพราะว่าความเคยชินเก่าๆ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแสกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้วจะตกกระแสธรรมไปตามธรรมมองเห็นธรรมชาติภายในธรรมชาติภายนอก ไม่หลงไม่ยึดไม่ติด มองเห็นความเป็นจริง ก็จะมีแต่ความสุข
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบายหยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้เด็ดขาดก็ขอให้หยุดขณะที่เรากำลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกพลั้งเผลอ เราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ความรู้สึกไม่ชัดเจน เราก็พยายามสูดลมหายใจเข้าไปให้ยาวๆ ลมกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ความสืบต่อความต่อเนื่องของการเจริญสติ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ใจคิดไปที่อื่นก็เริ่มสร้างความรู้ตัวใหม่ให้ชัดเจนถ้ามีความขยันหมั่นเพียรตรงนี้ กำลังสติก็จะมากขึ้นๆๆ ใจของเราก็จะสงบลง จนกว่ากำลังสติของเราจะมีกำลังเพียงพอที่จะเข้าไปอบรมใจของเรา ไปแก้ไขใจของเรา ไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออก ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก
ถ้ายังแยกไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้หงายขึ้นมาก็ เราอาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมจริงๆ แล้ว สมมติยังครอบงำใจอยู่ ใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรมเหมือนกัน ส่วนร่างกายนี้เป็นก้อนรูป ทุกสิ่งทุกอย่างก็อิงอาศัยกันอยู่ ก้อนรูป กองรูป กองนาม
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ จนสังเกตเห็นการแยกการคลายตั้งแต่ต้นเหตุเราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ การสร้างบุญสร้างบารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ความขยันหมั่นเพียรขัดเกลาจิตใจของเรา แต่ละวัน ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามละความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง สร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน สร้างความอ่อนโยนหนักแน่น สร้างพรหมวิหารให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา
เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ใจของเรามีความอิจฉาริษยา เราก็พยายามละความละความอิจฉาริษยา อนุโมทนาสาธุในอานิสงส์แห่งบุญของทุกคน แล้วก็หมั่นสร้างคุณงามความดี หมั่นวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา
การเกิดการดับของกายเนื้อ การเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรา การเกิดการดับของขันธ์ห้า เราจะไปดูรู้ด้วยตาเนื้อเรามองไม่เห็น นอกจากตาปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน รู้จักกันรู้จักแก้ รู้จักทำความเข้าใจ เห็นเหตุเห็นผล ตามดูรู้แจ้งต้นเหตุกลางเหตุปลายเหตุ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา
บุคคลที่จะบรรลุถึงเป้าหมายได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรที่ถูกที่ถูกทาง ถ้าขยันไม่ถูกที่ ก็เข้าไม่ถึงจุดหมาย ถ้าขยันหมั่นเพียรถูกที่ถูกเวลา รู้เห็นตามความเป็นจริง สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าไปทิ้งในการสร้างผลงานความดี
ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออกทุกคนมีเหมือนกันหมด เราพยายามแก้ไขจิตใจเราขณะที่ยังมีกำลังอยู่ หมดกำลังหมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป สูงขึ้นไปก็ทำความเข้าใจหมดละทั้งบุญละทั้งบาป ละทั้งกิเลส ดับความเกิด มองเห็นหนทางเดิน ไม่ต้องกลับมาเกิดกันให้เป็นทุกข์อีกต่อไป
ตราบใดที่ใจยังละกิเลสไม่หมดก็ให้อยู่ในอานิสงส์แห่งบุญ สร้างสะสมบุญเป็นเสบียงเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปในวันข้างหน้า จนกระทั่งสู่เข้าเท่าเข้าพระนิพพานโน่นแหละคือไม่ต้องกลับมาเกิด
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง เพียงแค่ทำให้เชื่อมโยงให้ต่อเนื่องตรงนี้ก็ลำบาก เพราะว่าความขยันไม่เพียงพอ เพราะว่าความเคยชินเก่าๆ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแสกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้วจะตกกระแสธรรมไปตามธรรมมองเห็นธรรมชาติภายในธรรมชาติภายนอก ไม่หลงไม่ยึดไม่ติด มองเห็นความเป็นจริง ก็จะมีแต่ความสุข
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ