หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 68 วันที่ 26 กรกฎาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 68 วันที่ 26 กรกฎาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 68
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา ตั้งแต่ตื่นเลยนะ ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่เลย เราได้สร้างความรู้ตัวหรือว่าเจริญสติแล้วหรือยัง เพียงแค่การสร้าง การเจริญ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ ก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องชีวิตของเรา เราก็เข้าใจอยู่ในระดับของสมมติ ของโลกีย์ใจยังไม่ได้คลาย ยังไม่เห็น รู้ลักษณะของใจที่แท้จริง เรารู้ตั้งแต่เมื่อเขาเกิดไปแล้ว เพราะว่าเราไม่ได้สร้างผู้รู้ หรือไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเราให้ได้ตลอดเวลา
แต่ละวันใจของเราเกิดสักกี่ครั้ง ขันธ์ห้ามาปรุงแต่งใจของเราสักกี่เรื่อง เหตุจากภายในของเราโดยตรง หรือว่าเหตุจากภายนอกมาทำให้ใจเกิด เราก็ต้องหาวิธีการแก้ไขตามแนวทางของพระพุทธองค์ ซึ่งท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปี เอามาจำแนกแจกแจง
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าได้ มีกำลังสติตามดูรู้เรื่องอริยสัจ รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาในกายของเรา เราก็จะระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ทันทีเลยว่า อริยสัจมีอยู่ ความจริงมีอยู่ อันนี้ก็ส่วนรูป อันนี้ก็ส่วนนาม
แต่ละวันใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง หรือว่ามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความกังวลฟุ้งซ่าน หรือว่ามีความอิจฉาริษยา สารพัดอย่างที่เขาเกิด เราต้องมาเจริญสติไปทำความเข้าใจ ไปอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนใจของเราไม่เกิดไม่หลงนั่นแหละ อันนี้ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเพียรที่ต่อเนื่องกันจริงๆ ไม่ใช่ว่าได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน จะเข้าถึงเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์
ทำยังไงเราถึงจะละได้ ถ้ากำลังสติของเราเห็นเหตุเห็นผลตั้งแต่แรก ชี้เหตุชี้ผล เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย สติปัญญาตามดูทุกเรื่อง ใจของเราก็จะมองเห็นความเป็นจริง รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ เป็นเรื่องของเราทุกคนเป็นเรื่องของตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ทำยังไงเราถึงจะหาทางดับทุกข์ให้หลุดพ้นจากสิ่งพวกนี้ไปได้ แล้วอีกอย่างหนึ่งนั้น เพียงแค่ระดับสมมติความเป็นอยู่โลกธรรม เราก็ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้เรื่องธรรม เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้มันก็ได้แค่ฝึก อยู่ในระดับของสมมติแค่นั้นเอง แต่อานิสงส์แห่งบุญนั้นก็มีอยู่
เราก็ต้องพยายาม พยายามแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ถ้ากำลังสติไม่เพียงพอถ้าเราสังเกตจนใจคลายออกไม่ได้ มันก็อยู่แค่ระดับของการสร้างบุญสร้างกุศล
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาได้ นั่นแหละ ถึงจะเป็นความเห็นถูกในหลักธรรม เห็นถูกในหลักธรรมการตามดูว่าเรื่องอะไรที่เกิดขึ้น ก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา คือการแยกรูปแยกนาม แล้วก็รู้กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราก็คอยตามดูรู้เห็นความเป็นจริง ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าจะไปเหมารวมกันหมด
อยู่ในกายของเรานี้มีของดีตั้งเยอะแยะ แต่เราต้องจำแนกแจกแจงให้ใจคลายออกรับรู้อยู่ภายใน อะไรผิดอะไรถูก เราก็ค่อยแก้ไข ยกระดับใจของเราให้อยู่เหนือทุกอย่าง อยู่เหนือกรรม กรรมเก่า ก็คือความคิดหรือว่าอาการของขันธ์ห้าทั้งการเกิดของใจ ของขันธ์ห้า เขารวมกันไปด้วยกัน เขาเรียกว่า ไปด้วยกันทั้งก้อน
เราก็รู้ คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ความเกิดนั้นมันปิดกั้นเอาไว้ ขณะนี้ใจของเราก็เกิดอยู่ในภพของมนุษย์ แล้วก็มาสร้างร่างกายของเราขึ้นมา แล้วก็มายึด เราต้องปล่อยวาง รู้ด้วยปัญญาซึ่งเป็นส่วนนามธรรมส่วนรูปธรรมก็ยังมีอยู่ โน่นแหละ...หมดลมหายใจนั่นแหละ เราถึงจะได้วางร่างกายก้อนนี้จริงๆ
ขณะที่ยังอยู่กับสมมติ เราก็พยายามดำเนินสมมติให้สมบูรณ์แบบ ไม่เกียจคร้าน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีความอดทน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เราอยู่กับสังคม เราอยู่กับสมมติเราจะอยู่อย่างไรถึงจะมีความสุข ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา บริหารสมมติให้ดี ไม่บริหารด้วยอำนาจของกิเลส บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต นั่นแหละเขาถึงเรียกว่าเป็นอัตโนมัติ
ศาสนาพุทธนี่เป็นศาสนาที่ทันสมัยที่สุด ถึงจะผ่านมาหลายร้อยหลายพันปี ทำไมถึงว่าทันสมัย เพราะว่าเรารู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าหายใจออก ทุกขณะจิต แล้วก็ละกิเลสให้มันหมดจด ก่อนที่จะเป็นทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตกำลังสติของเราก็ต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น ตามชี้แนะเหตุผล ต้นเหตุตั้งแต่การเกิดของใจ ถ้าใจไม่เกิด ใจไม่หลงก็ไม่เกิด
แต่เวลานี้ใจทั้งเกิด ทั้งความคิดของเรานั่นแหละ เกิดๆ ดับๆ ตั้งแต่ภายใน 5 นาที 10 นาทีไม่รู้ว่าไปสักกี่เรื่อง เพราะว่าเราไม่เคยฝืน ไม่เคยดับ ไม่เคยเข้าไปละ อยากจะได้ธรรมมันก็เกิดแล้ว อยากจะรู้ อยากจะเห็น ความอยากนั้นมีอยู่อยากใน รูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งเกิดจากตัวใจ ความทะเยอทะยานอยาก ความอิจฉาริษยาต่างๆ มันมีหมด
ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่เราก็ทำความเข้าใจ ก็เรื่องของเรานั่นแหละ ส่วนมากก็ไปโทษคนโน้นเป็นอย่างงั้น คนนั้นเป็นอย่างงี้ ไปเพ่งโทษภายนอก อคติภายนอก ไม่เคยเพ่งโทษตัวเองสักที เราต้องมาแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา แล้วเจริญพรหมวิหารให้ใจของเราอยู่ในความเมตตา
การที่จะพูด อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ลึกลงไปตั้งแต่ความคิด ถ้าคิดดีไม่ดี ลึกลงไปอีกก็วางหมด ไม่คิด หนุนกำลังสติปัญญาไปคิด ทำหน้าที่แทนใจ ใจอยู่ในความเป็นกลาง ใจอยู่ในความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากความหลง ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่างจากกิเลสต่างๆ
ถ้าเรารู้ความจริง แยกแยะได้ ตามทำความเข้าใจได้ทุกเรื่อง ใจก็จะมองเห็นความเป็นจริง ความเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด ถึงเกิดเราก็ดับ เราก็ละ เราก็ดับ ดับความเกิดได้ขณะที่ยังมีลมหายใจนั่นแหละ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทน
ถ้ากำลังสติปัญญาของเรายังเกิดในทางอกุศล เราก็ดับอีก ทุกเรื่องเลยในชีวิต จนกระทั่งถึงหมดลมหายใจนั่นแหละเราก็ต้องพยายามยังประโยชน์ ตักตวงกำไรชีวิตในร่างกายก้อนนี้ ก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจ ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย ดูตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ต้องรู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในวิหารธรรมคือเครื่องอยู่ เครื่องอยู่คือความว่าง ว่าง ความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกอย่าง เขาเรียกว่า 'วิหารธรรม' คือเครื่องอยู่ของใจ แต่เราต้องทำความเข้าใจให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่ว่าไปปฏิบัติ ไปฝึกหัดปฏิบัติ แต่ก็ฝึกได้เพียงอยู่ที่กาย ต้นเหตุของใจ ต้นเหตุของความคิด โดยที่เราไม่รู้เรื่อง
บางทีบางครั้งบางคราวใจของเราก็สงบอยู่ บางครั้งบางคราวใจของเราก็ปล่อยวางอยู่ แต่เราไม่รู้ไม่เห็นทุกเรื่อง สติพลั้งเผลอไหม มีนิวรณธรรมไหม มีความเกียจคร้านหรือเปล่า มีความรับผิดชอบ มีความกตัญญูกตเวที มีสัจจะกับตัวเองหรือไม่ ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม ทำความเข้าใจกับคำว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอย่างไร ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปใช้ได้ยังไง ศีลเป็นยังไง ปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ละอายเกรงกลัวต่อบาป เราก็ต้องพยายามดูให้รู้เรื่องทุกอย่าง ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย
ส่วนการทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ การรักษาศีลนั้นก็มีอยู่ แต่เป็นการรักษาศีลไม่ถึงต้นเหตุของศีล เราต้องพยายามทำความเข้าใจให้รู้เรื่องในเรื่องกายของเรา
ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจเรื่องอัตตา อนัตตาทันที ถ้าเราตามดูรู้ความเกิดความดับของความคิดของเราได้ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเราทันที ถ้าเราดับความเกิดได้ ปล่อยวางได้ เราก็จะรู้เรื่องหลักของอริยสัจสี่ทันที เพราะว่าใจเกิดส่งออกไปภายนอกเขาเรียกว่า 'สมุทัย'
การดับ วิธีดับ วิธีแก้ไขใจเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราดับเฉยๆ ใจเรามีความแข็งกร้าว เราก็ละความแข็งกร้าวออกไป ใจไม่มีความเสียสละ ไม่มีการให้ การเอาออก เราก็พยายามระบายออกไป ให้อภัยทานอโหสิกรรม ให้ใจของเราอ่อนโยนอ่อนน้อม หนักแน่น
เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ รู้ลักษณะหน้าตาอาการของเราขณะที่ยังมีลมหายใจนี่แหละ หมดลมหายใจก็ทิ้งกาย ทิ้งวางส่วนรูป แต่เราวางด้วยปัญญาก่อน ให้รู้ด้วยปัญญา เห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของเหลวไหล เป็นเรื่องความจริงในชีวิตของเรา ก็มีเรื่องเดียวนี่แหละที่มนุษย์ที่จะทำหน้าที่ ควรทำหน้าที่ให้มันถึง ไม่ใช่ว่าจะไปรอวันนั้นวันนี้ รอเวลาโน้นรอเวลานี้ เราต้องดู รู้ ทุกขณะลมหายใจ
ก่อนที่จะถึงขณะทุกลมหายใจ ทุกขณะจิต กำลังสติของเราต้องเห็น การเกิดการดับ การตามดู รู้ ให้ได้ทุกเรื่อง แล้วก็ค่อยละ จากสติของเราที่ไม่มี เราก็สร้างขึ้นมาให้มี สร้างขึ้นมาให้มีให้ต่อเนื่อง แล้วก็เข้าไปวิเคราะห์ สังเกตจนใจคลายออก แล้วก็ตามดู ตามดูรู้ความจริงทุกเรื่อง เราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
ขณะที่ยังมีลมหายใจ เราก็ยิ่งสนุกสร้างประโยชน์ให้มากมาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน จนกว่าจะหมดลมหายใจ ก็อย่าพากันทิ้ง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้ยังประโยชน์ทั้งนั้น เราได้สร้างประโยชน์กันทั้งนั้น ถ้าเราขยันหมั่นเพียรเดินไปที่ไหนก็มีตั้งแต่งานทำทั้งนั้น ตามถนนหนทาง เห็นเศษขยะเห็นเศษวัสดุที่จะทำให้เกิดอันตรายเกิดอะไรต่างๆเราก็รู้จักเก็บ เข้าห้องส้วมห้องน้ำเราก็ดูห้องไหนมันสะอาดเราก็ไม่ต้องเข้า เข้ามันห้องสกปรกน่ะได้กำไร เราได้ทำความสะอาดด้วย ได้ประโยชน์ด้วย คนอื่นมาก็ได้สะดวกสบาย
อันนี้คนเรานี้ชอบสะอาดแต่มันรักสกปรก ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทิ้งมันเกลื่อนมันกลาด รักสบายแต่เกียจคร้าน เราต้องพยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบขึ้นมาให้มีให้เกิดขึ้น
ใจของเรามันเป็นยังไง เราก็ละดับตั้งแต่การเกิด ต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร ถ้าแยกแยะได้ถึงจะมองเห็นเป็นความถูกต้อง เราอาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยัง
แต่ละวันใจมันยังเกิด ยังหลงอยู่ เราต้องคลายใจออกรับรู้ สติปัญญาเอาไปใช้ แต่เวลานี้กำลังสติของเราเพียงแค่สร้างความรู้ตัวมันก็ยังยากอยู่ มันก็เลยไม่รู้ความเป็นจริง
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ปรับสภาพใจของเราให้อยู่ในความหนักแน่น อ่อนโยน มีพรหมวิหาร เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ ทุกเรื่อง จนออกจากใจของเราให้มันหมดไม่เหลือ เราคลายออกจากใจของเราหมดได้ ก็เหลือตั้งแต่ความว่าง
ในความว่างนั้นก็มีตัวใจอยู่ ซึ่งเราอาจจะมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาสติตาปัญญาให้มีให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่งนอน กินอยู่ ขับถ่าย ทุกเรื่องเป็นเรื่องของเรา
ใจของเราดี ถึงคนอื่นไม่ดี ใจของเราก็ยังดีอยู่เหมือนเดิม ไม่ใช่ว่าไปเพ่งโทษไปนั่นแต่คนนู้นคนนี้ คนโน้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี ใจของเราไม่ดีนั่นแหละมันถึงไปว่าคนอื่น
เราก็ต้องมาแก้ไข ช่วยตัวเองให้ได้ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น รอบรู้ในโลกธรรม รอบรู้ในจิตวิญญาณ รอบรู้ในโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อยู่ที่ไหนก็มีความสุข กายของเราเข้าไปร่วมสมมติให้ใจรับรู้ อะไรช่วยได้ก็ช่วยอะไรช่วยไม่ได้เราก็อุเบกขาโดยใจที่ไม่ทุกข์ อันนี้ต้องเป็นเรื่องของบุคคลที่มีความพร้อม มีความขยันหมั่นเพียร
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของผู้ที่มีปัญญา คนที่ไม่มีปัญญา มีแต่กิเลสเข้าครอบงำมันก็ได้แค่ฝึก เราก็ต้องพยายาม ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีก็มีจิตมีวิญญาณเหมือนกัน ก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้เหมือนกัน
ทีนี้เราจะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญา กายเข้าร่วมสมมติ บริหารด้วยปัญญา ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ทำหน้าที่ของเขา เราจะไปห้ามเขาก็ไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ถ้าเราจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพวกนี้ เราก็ยุ่งเกี่ยวด้วยสติด้วยปัญญา บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา ไม่บริหารด้วยใจที่เกิดกิเลส
คำว่า 'กิเลส' เราก็รู้ตั้งแต่ชื่อของเขา แต่เราไม่เคยเห็นหน้าตาอาการ เขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร มันก็เลยไม่รู้เรื่องธรรม
'ธรรม' ก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ใจปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิด ธรรมชาติสมมติก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา แล้วก็แก้ไขสมมติให้เป็นธรรมชาติ เข้าถึงธรรมชาติทั้ง 2 อย่าง ธรรมชาติภายนอก ธรรมชาติภายใน
แต่ละวันความเกิดปิดกั้นเอาไว้ ความเกิดนี่ปิดกั้นใจเอาไว้ เพราะว่าความเกิดคือเขาหลงมานาน เราจะไปละ ไปดับ ไปนั่นไปนี่ เราก็ต้องใช้ความเพียร ท่านถึงว่าเป็นการทวนกระแสกิเลส เป็นการสวน เป็นการทวนกระแสกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเราก็ละ เราก็หาทางแก้ไข จากหยาบไปหาละเอียด จนใจไม่เกิด
การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด แต่ถ้ายังแยกแยะ ใจยังไม่คลาย นี่เดินปัญญาขั้นสูงได้ยาก ส่วนมากก็เดินได้ 2-3 ขั้นทำบุญให้ทาน แล้วก็ขยันหมั่นเพียรระดับหนึ่ง บางทีก็ถูกบ้างผิดบ้าง ถ้ายังแยกไม่ได้ นี่คือยังเป็นมิจฉาอยู่ ยังมีความเห็นผิด ยังมีความเห็นผิดอยู่ ถ้าแยกได้ถึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ บางคนก็แยก ก็คือแยกไม่ได้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกระดับของสมมติ
ต้องเห็นอาการ การแยกการคลายถึงจะรู้เรื่องภาษาธรรมภาษาโลก รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจในอริยสัจ เข้าใจในการเดินปัญญาละกิเลส ซึ่งเรียกว่า 'วิปัสสนาญาณ' หรือว่า 'วิปัสสนาภูมิ' ก็จะไต่เต้าสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนไม่มีอะไรจะเข้าไปดับ เข้าไปแก้
การเกิดไม่มี เราจะเอาไปละไปดับอะไร เพราะมันไม่มีการเกิด เราก็บริหารด้วยสติบริหารด้วยปัญญา
อันนี้หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปสังเกต ไปวิเคราะห์ ไปอบรมใจของตัวเอง แล้วก็เจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม มันก็ยากที่จะเดินปัญญาขั้นสูง ถ้าแยกแยะไม่ได้ ถ้าไม่สนใจแก้ไขตัวเรา มันก็ไปแบบโลกๆ หลงแบบโลกๆโดยความโง่เข้าปิดบังอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้ความเป็นจริง
เราขาดตกบกพร่องข้อไหน ตรงไหนแก้ไขอย่างไร ตั้งแต่ตื่นเอาแค่ 5 นาที 10 นาที หรือก่อนนอนก็ตรวจดูตั้งแต่เช้าว่าใจของเราเกิดอะไรบ้าง กิเลสตัวไหนมันเล่นงานเราบ้าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ถ้าเราดูเรารู้เราเห็นจนเป็นอัตโนมัติจนเป็นความเคยชิน
มันก็ยากตั้งแต่ฝึก เพียงแต่ฝึกสติก็ยังไม่รู้จักสติ เอาสติปัญญาไปใช้ก็ยังไม่รู้จักมันก็เลยปฏิบัติด้วยความหลงอยู่ ก็ต้องพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเป็นเรื่องของเราเองไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ไม่มองโลกในแง่ร้าย ให้มองโลกในแง่ดี พวกนี้ซึ่งเป็นมลทินต่างๆ ความอิจฉาริษยา ความแข็งกร้าว แข็งกระด้างความเห็นแก่ตัว ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราต้องกำจัดออกให้มันหมด
หัดเป็นคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ หนักก็เอาเบาก็สู้ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ขอให้ฉันได้สบายกูได้สบายอย่างเดียว ไปที่ไหนก็หนัก หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ เราก็ต้องพยายามแก้ไข หากำไรในชีวิตขณะที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงอยู่ หมดลมหายใจแล้วก็หมดทุกอย่าง ถ้าเราดับความเกิดได้ ก็ดับความเกิดได้ขณะที่ยังมีลมหายใจนี่แหละ กายเนื้อแตกดับใจก็ไม่เกิด ก็เข้าสู่ความบริสุทธิ์อยู่เหมือนเดิม
แต่เวลานี้ ทั้งกิเลสเล่นงาน ความอิจฉาริษยา ทั้งกิเลสหยาบกิเลสละเอียดมันเล่นงานก็ไม่รู้ตัวเอง เราก็ต้องพยายามแก้ไข
อย่าไปเกียจคร้าน จงเป็นบุคคลที่ขยัน มีความรับผิดชอบ เดินไปไหนก็มีแต่งานทั้งนั้นแหละ งานภายในก็ให้จบ งานภายในคืองานชำระสะสางกิเลส ดับความเกิดให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น งานภายนอก สมมติ อะไรขาดตกบกพร่องเราก็ช่วยกันแก้ไข อย่าไปงอมืองอเท้า เราต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้นคนนี้ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำเสียขณะที่ยังมีกำลัง
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา ตั้งแต่ตื่นเลยนะ ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่เลย เราได้สร้างความรู้ตัวหรือว่าเจริญสติแล้วหรือยัง เพียงแค่การสร้าง การเจริญ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ ก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องชีวิตของเรา เราก็เข้าใจอยู่ในระดับของสมมติ ของโลกีย์ใจยังไม่ได้คลาย ยังไม่เห็น รู้ลักษณะของใจที่แท้จริง เรารู้ตั้งแต่เมื่อเขาเกิดไปแล้ว เพราะว่าเราไม่ได้สร้างผู้รู้ หรือไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเราให้ได้ตลอดเวลา
แต่ละวันใจของเราเกิดสักกี่ครั้ง ขันธ์ห้ามาปรุงแต่งใจของเราสักกี่เรื่อง เหตุจากภายในของเราโดยตรง หรือว่าเหตุจากภายนอกมาทำให้ใจเกิด เราก็ต้องหาวิธีการแก้ไขตามแนวทางของพระพุทธองค์ ซึ่งท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปี เอามาจำแนกแจกแจง
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าได้ มีกำลังสติตามดูรู้เรื่องอริยสัจ รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาในกายของเรา เราก็จะระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ทันทีเลยว่า อริยสัจมีอยู่ ความจริงมีอยู่ อันนี้ก็ส่วนรูป อันนี้ก็ส่วนนาม
แต่ละวันใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง หรือว่ามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความกังวลฟุ้งซ่าน หรือว่ามีความอิจฉาริษยา สารพัดอย่างที่เขาเกิด เราต้องมาเจริญสติไปทำความเข้าใจ ไปอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนใจของเราไม่เกิดไม่หลงนั่นแหละ อันนี้ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเพียรที่ต่อเนื่องกันจริงๆ ไม่ใช่ว่าได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน จะเข้าถึงเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์
ทำยังไงเราถึงจะละได้ ถ้ากำลังสติของเราเห็นเหตุเห็นผลตั้งแต่แรก ชี้เหตุชี้ผล เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย สติปัญญาตามดูทุกเรื่อง ใจของเราก็จะมองเห็นความเป็นจริง รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ เป็นเรื่องของเราทุกคนเป็นเรื่องของตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ทำยังไงเราถึงจะหาทางดับทุกข์ให้หลุดพ้นจากสิ่งพวกนี้ไปได้ แล้วอีกอย่างหนึ่งนั้น เพียงแค่ระดับสมมติความเป็นอยู่โลกธรรม เราก็ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้เรื่องธรรม เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้มันก็ได้แค่ฝึก อยู่ในระดับของสมมติแค่นั้นเอง แต่อานิสงส์แห่งบุญนั้นก็มีอยู่
เราก็ต้องพยายาม พยายามแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ถ้ากำลังสติไม่เพียงพอถ้าเราสังเกตจนใจคลายออกไม่ได้ มันก็อยู่แค่ระดับของการสร้างบุญสร้างกุศล
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาได้ นั่นแหละ ถึงจะเป็นความเห็นถูกในหลักธรรม เห็นถูกในหลักธรรมการตามดูว่าเรื่องอะไรที่เกิดขึ้น ก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา คือการแยกรูปแยกนาม แล้วก็รู้กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราก็คอยตามดูรู้เห็นความเป็นจริง ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าจะไปเหมารวมกันหมด
อยู่ในกายของเรานี้มีของดีตั้งเยอะแยะ แต่เราต้องจำแนกแจกแจงให้ใจคลายออกรับรู้อยู่ภายใน อะไรผิดอะไรถูก เราก็ค่อยแก้ไข ยกระดับใจของเราให้อยู่เหนือทุกอย่าง อยู่เหนือกรรม กรรมเก่า ก็คือความคิดหรือว่าอาการของขันธ์ห้าทั้งการเกิดของใจ ของขันธ์ห้า เขารวมกันไปด้วยกัน เขาเรียกว่า ไปด้วยกันทั้งก้อน
เราก็รู้ คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ความเกิดนั้นมันปิดกั้นเอาไว้ ขณะนี้ใจของเราก็เกิดอยู่ในภพของมนุษย์ แล้วก็มาสร้างร่างกายของเราขึ้นมา แล้วก็มายึด เราต้องปล่อยวาง รู้ด้วยปัญญาซึ่งเป็นส่วนนามธรรมส่วนรูปธรรมก็ยังมีอยู่ โน่นแหละ...หมดลมหายใจนั่นแหละ เราถึงจะได้วางร่างกายก้อนนี้จริงๆ
ขณะที่ยังอยู่กับสมมติ เราก็พยายามดำเนินสมมติให้สมบูรณ์แบบ ไม่เกียจคร้าน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีความอดทน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เราอยู่กับสังคม เราอยู่กับสมมติเราจะอยู่อย่างไรถึงจะมีความสุข ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา บริหารสมมติให้ดี ไม่บริหารด้วยอำนาจของกิเลส บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต นั่นแหละเขาถึงเรียกว่าเป็นอัตโนมัติ
ศาสนาพุทธนี่เป็นศาสนาที่ทันสมัยที่สุด ถึงจะผ่านมาหลายร้อยหลายพันปี ทำไมถึงว่าทันสมัย เพราะว่าเรารู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าหายใจออก ทุกขณะจิต แล้วก็ละกิเลสให้มันหมดจด ก่อนที่จะเป็นทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตกำลังสติของเราก็ต้องตามดู ตามรู้ ตามเห็น ตามชี้แนะเหตุผล ต้นเหตุตั้งแต่การเกิดของใจ ถ้าใจไม่เกิด ใจไม่หลงก็ไม่เกิด
แต่เวลานี้ใจทั้งเกิด ทั้งความคิดของเรานั่นแหละ เกิดๆ ดับๆ ตั้งแต่ภายใน 5 นาที 10 นาทีไม่รู้ว่าไปสักกี่เรื่อง เพราะว่าเราไม่เคยฝืน ไม่เคยดับ ไม่เคยเข้าไปละ อยากจะได้ธรรมมันก็เกิดแล้ว อยากจะรู้ อยากจะเห็น ความอยากนั้นมีอยู่อยากใน รูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งเกิดจากตัวใจ ความทะเยอทะยานอยาก ความอิจฉาริษยาต่างๆ มันมีหมด
ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่เราก็ทำความเข้าใจ ก็เรื่องของเรานั่นแหละ ส่วนมากก็ไปโทษคนโน้นเป็นอย่างงั้น คนนั้นเป็นอย่างงี้ ไปเพ่งโทษภายนอก อคติภายนอก ไม่เคยเพ่งโทษตัวเองสักที เราต้องมาแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา แล้วเจริญพรหมวิหารให้ใจของเราอยู่ในความเมตตา
การที่จะพูด อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ลึกลงไปตั้งแต่ความคิด ถ้าคิดดีไม่ดี ลึกลงไปอีกก็วางหมด ไม่คิด หนุนกำลังสติปัญญาไปคิด ทำหน้าที่แทนใจ ใจอยู่ในความเป็นกลาง ใจอยู่ในความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากความหลง ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่างจากกิเลสต่างๆ
ถ้าเรารู้ความจริง แยกแยะได้ ตามทำความเข้าใจได้ทุกเรื่อง ใจก็จะมองเห็นความเป็นจริง ความเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด ถึงเกิดเราก็ดับ เราก็ละ เราก็ดับ ดับความเกิดได้ขณะที่ยังมีลมหายใจนั่นแหละ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทน
ถ้ากำลังสติปัญญาของเรายังเกิดในทางอกุศล เราก็ดับอีก ทุกเรื่องเลยในชีวิต จนกระทั่งถึงหมดลมหายใจนั่นแหละเราก็ต้องพยายามยังประโยชน์ ตักตวงกำไรชีวิตในร่างกายก้อนนี้ ก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจ ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย ดูตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ต้องรู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในวิหารธรรมคือเครื่องอยู่ เครื่องอยู่คือความว่าง ว่าง ความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกอย่าง เขาเรียกว่า 'วิหารธรรม' คือเครื่องอยู่ของใจ แต่เราต้องทำความเข้าใจให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่ว่าไปปฏิบัติ ไปฝึกหัดปฏิบัติ แต่ก็ฝึกได้เพียงอยู่ที่กาย ต้นเหตุของใจ ต้นเหตุของความคิด โดยที่เราไม่รู้เรื่อง
บางทีบางครั้งบางคราวใจของเราก็สงบอยู่ บางครั้งบางคราวใจของเราก็ปล่อยวางอยู่ แต่เราไม่รู้ไม่เห็นทุกเรื่อง สติพลั้งเผลอไหม มีนิวรณธรรมไหม มีความเกียจคร้านหรือเปล่า มีความรับผิดชอบ มีความกตัญญูกตเวที มีสัจจะกับตัวเองหรือไม่ ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม ทำความเข้าใจกับคำว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอย่างไร ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปใช้ได้ยังไง ศีลเป็นยังไง ปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ละอายเกรงกลัวต่อบาป เราก็ต้องพยายามดูให้รู้เรื่องทุกอย่าง ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย
ส่วนการทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ การรักษาศีลนั้นก็มีอยู่ แต่เป็นการรักษาศีลไม่ถึงต้นเหตุของศีล เราต้องพยายามทำความเข้าใจให้รู้เรื่องในเรื่องกายของเรา
ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจเรื่องอัตตา อนัตตาทันที ถ้าเราตามดูรู้ความเกิดความดับของความคิดของเราได้ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเราทันที ถ้าเราดับความเกิดได้ ปล่อยวางได้ เราก็จะรู้เรื่องหลักของอริยสัจสี่ทันที เพราะว่าใจเกิดส่งออกไปภายนอกเขาเรียกว่า 'สมุทัย'
การดับ วิธีดับ วิธีแก้ไขใจเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราดับเฉยๆ ใจเรามีความแข็งกร้าว เราก็ละความแข็งกร้าวออกไป ใจไม่มีความเสียสละ ไม่มีการให้ การเอาออก เราก็พยายามระบายออกไป ให้อภัยทานอโหสิกรรม ให้ใจของเราอ่อนโยนอ่อนน้อม หนักแน่น
เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ รู้ลักษณะหน้าตาอาการของเราขณะที่ยังมีลมหายใจนี่แหละ หมดลมหายใจก็ทิ้งกาย ทิ้งวางส่วนรูป แต่เราวางด้วยปัญญาก่อน ให้รู้ด้วยปัญญา เห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของเหลวไหล เป็นเรื่องความจริงในชีวิตของเรา ก็มีเรื่องเดียวนี่แหละที่มนุษย์ที่จะทำหน้าที่ ควรทำหน้าที่ให้มันถึง ไม่ใช่ว่าจะไปรอวันนั้นวันนี้ รอเวลาโน้นรอเวลานี้ เราต้องดู รู้ ทุกขณะลมหายใจ
ก่อนที่จะถึงขณะทุกลมหายใจ ทุกขณะจิต กำลังสติของเราต้องเห็น การเกิดการดับ การตามดู รู้ ให้ได้ทุกเรื่อง แล้วก็ค่อยละ จากสติของเราที่ไม่มี เราก็สร้างขึ้นมาให้มี สร้างขึ้นมาให้มีให้ต่อเนื่อง แล้วก็เข้าไปวิเคราะห์ สังเกตจนใจคลายออก แล้วก็ตามดู ตามดูรู้ความจริงทุกเรื่อง เราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
ขณะที่ยังมีลมหายใจ เราก็ยิ่งสนุกสร้างประโยชน์ให้มากมาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน จนกว่าจะหมดลมหายใจ ก็อย่าพากันทิ้ง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้ยังประโยชน์ทั้งนั้น เราได้สร้างประโยชน์กันทั้งนั้น ถ้าเราขยันหมั่นเพียรเดินไปที่ไหนก็มีตั้งแต่งานทำทั้งนั้น ตามถนนหนทาง เห็นเศษขยะเห็นเศษวัสดุที่จะทำให้เกิดอันตรายเกิดอะไรต่างๆเราก็รู้จักเก็บ เข้าห้องส้วมห้องน้ำเราก็ดูห้องไหนมันสะอาดเราก็ไม่ต้องเข้า เข้ามันห้องสกปรกน่ะได้กำไร เราได้ทำความสะอาดด้วย ได้ประโยชน์ด้วย คนอื่นมาก็ได้สะดวกสบาย
อันนี้คนเรานี้ชอบสะอาดแต่มันรักสกปรก ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทิ้งมันเกลื่อนมันกลาด รักสบายแต่เกียจคร้าน เราต้องพยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบขึ้นมาให้มีให้เกิดขึ้น
ใจของเรามันเป็นยังไง เราก็ละดับตั้งแต่การเกิด ต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร ถ้าแยกแยะได้ถึงจะมองเห็นเป็นความถูกต้อง เราอาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยัง
แต่ละวันใจมันยังเกิด ยังหลงอยู่ เราต้องคลายใจออกรับรู้ สติปัญญาเอาไปใช้ แต่เวลานี้กำลังสติของเราเพียงแค่สร้างความรู้ตัวมันก็ยังยากอยู่ มันก็เลยไม่รู้ความเป็นจริง
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ปรับสภาพใจของเราให้อยู่ในความหนักแน่น อ่อนโยน มีพรหมวิหาร เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ ทุกเรื่อง จนออกจากใจของเราให้มันหมดไม่เหลือ เราคลายออกจากใจของเราหมดได้ ก็เหลือตั้งแต่ความว่าง
ในความว่างนั้นก็มีตัวใจอยู่ ซึ่งเราอาจจะมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาสติตาปัญญาให้มีให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่งนอน กินอยู่ ขับถ่าย ทุกเรื่องเป็นเรื่องของเรา
ใจของเราดี ถึงคนอื่นไม่ดี ใจของเราก็ยังดีอยู่เหมือนเดิม ไม่ใช่ว่าไปเพ่งโทษไปนั่นแต่คนนู้นคนนี้ คนโน้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี ใจของเราไม่ดีนั่นแหละมันถึงไปว่าคนอื่น
เราก็ต้องมาแก้ไข ช่วยตัวเองให้ได้ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น รอบรู้ในโลกธรรม รอบรู้ในจิตวิญญาณ รอบรู้ในโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อยู่ที่ไหนก็มีความสุข กายของเราเข้าไปร่วมสมมติให้ใจรับรู้ อะไรช่วยได้ก็ช่วยอะไรช่วยไม่ได้เราก็อุเบกขาโดยใจที่ไม่ทุกข์ อันนี้ต้องเป็นเรื่องของบุคคลที่มีความพร้อม มีความขยันหมั่นเพียร
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของผู้ที่มีปัญญา คนที่ไม่มีปัญญา มีแต่กิเลสเข้าครอบงำมันก็ได้แค่ฝึก เราก็ต้องพยายาม ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีก็มีจิตมีวิญญาณเหมือนกัน ก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้เหมือนกัน
ทีนี้เราจะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญา กายเข้าร่วมสมมติ บริหารด้วยปัญญา ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ทำหน้าที่ของเขา เราจะไปห้ามเขาก็ไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ถ้าเราจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพวกนี้ เราก็ยุ่งเกี่ยวด้วยสติด้วยปัญญา บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา ไม่บริหารด้วยใจที่เกิดกิเลส
คำว่า 'กิเลส' เราก็รู้ตั้งแต่ชื่อของเขา แต่เราไม่เคยเห็นหน้าตาอาการ เขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร มันก็เลยไม่รู้เรื่องธรรม
'ธรรม' ก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ใจปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิด ธรรมชาติสมมติก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา แล้วก็แก้ไขสมมติให้เป็นธรรมชาติ เข้าถึงธรรมชาติทั้ง 2 อย่าง ธรรมชาติภายนอก ธรรมชาติภายใน
แต่ละวันความเกิดปิดกั้นเอาไว้ ความเกิดนี่ปิดกั้นใจเอาไว้ เพราะว่าความเกิดคือเขาหลงมานาน เราจะไปละ ไปดับ ไปนั่นไปนี่ เราก็ต้องใช้ความเพียร ท่านถึงว่าเป็นการทวนกระแสกิเลส เป็นการสวน เป็นการทวนกระแสกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเราก็ละ เราก็หาทางแก้ไข จากหยาบไปหาละเอียด จนใจไม่เกิด
การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด แต่ถ้ายังแยกแยะ ใจยังไม่คลาย นี่เดินปัญญาขั้นสูงได้ยาก ส่วนมากก็เดินได้ 2-3 ขั้นทำบุญให้ทาน แล้วก็ขยันหมั่นเพียรระดับหนึ่ง บางทีก็ถูกบ้างผิดบ้าง ถ้ายังแยกไม่ได้ นี่คือยังเป็นมิจฉาอยู่ ยังมีความเห็นผิด ยังมีความเห็นผิดอยู่ ถ้าแยกได้ถึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ บางคนก็แยก ก็คือแยกไม่ได้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกระดับของสมมติ
ต้องเห็นอาการ การแยกการคลายถึงจะรู้เรื่องภาษาธรรมภาษาโลก รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจในอริยสัจ เข้าใจในการเดินปัญญาละกิเลส ซึ่งเรียกว่า 'วิปัสสนาญาณ' หรือว่า 'วิปัสสนาภูมิ' ก็จะไต่เต้าสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนไม่มีอะไรจะเข้าไปดับ เข้าไปแก้
การเกิดไม่มี เราจะเอาไปละไปดับอะไร เพราะมันไม่มีการเกิด เราก็บริหารด้วยสติบริหารด้วยปัญญา
อันนี้หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปสังเกต ไปวิเคราะห์ ไปอบรมใจของตัวเอง แล้วก็เจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม มันก็ยากที่จะเดินปัญญาขั้นสูง ถ้าแยกแยะไม่ได้ ถ้าไม่สนใจแก้ไขตัวเรา มันก็ไปแบบโลกๆ หลงแบบโลกๆโดยความโง่เข้าปิดบังอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้ความเป็นจริง
เราขาดตกบกพร่องข้อไหน ตรงไหนแก้ไขอย่างไร ตั้งแต่ตื่นเอาแค่ 5 นาที 10 นาที หรือก่อนนอนก็ตรวจดูตั้งแต่เช้าว่าใจของเราเกิดอะไรบ้าง กิเลสตัวไหนมันเล่นงานเราบ้าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ถ้าเราดูเรารู้เราเห็นจนเป็นอัตโนมัติจนเป็นความเคยชิน
มันก็ยากตั้งแต่ฝึก เพียงแต่ฝึกสติก็ยังไม่รู้จักสติ เอาสติปัญญาไปใช้ก็ยังไม่รู้จักมันก็เลยปฏิบัติด้วยความหลงอยู่ ก็ต้องพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเป็นเรื่องของเราเองไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ไม่มองโลกในแง่ร้าย ให้มองโลกในแง่ดี พวกนี้ซึ่งเป็นมลทินต่างๆ ความอิจฉาริษยา ความแข็งกร้าว แข็งกระด้างความเห็นแก่ตัว ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราต้องกำจัดออกให้มันหมด
หัดเป็นคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ หนักก็เอาเบาก็สู้ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ขอให้ฉันได้สบายกูได้สบายอย่างเดียว ไปที่ไหนก็หนัก หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ เราก็ต้องพยายามแก้ไข หากำไรในชีวิตขณะที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงอยู่ หมดลมหายใจแล้วก็หมดทุกอย่าง ถ้าเราดับความเกิดได้ ก็ดับความเกิดได้ขณะที่ยังมีลมหายใจนี่แหละ กายเนื้อแตกดับใจก็ไม่เกิด ก็เข้าสู่ความบริสุทธิ์อยู่เหมือนเดิม
แต่เวลานี้ ทั้งกิเลสเล่นงาน ความอิจฉาริษยา ทั้งกิเลสหยาบกิเลสละเอียดมันเล่นงานก็ไม่รู้ตัวเอง เราก็ต้องพยายามแก้ไข
อย่าไปเกียจคร้าน จงเป็นบุคคลที่ขยัน มีความรับผิดชอบ เดินไปไหนก็มีแต่งานทั้งนั้นแหละ งานภายในก็ให้จบ งานภายในคืองานชำระสะสางกิเลส ดับความเกิดให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น งานภายนอก สมมติ อะไรขาดตกบกพร่องเราก็ช่วยกันแก้ไข อย่าไปงอมืองอเท้า เราต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้นคนนี้ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำเสียขณะที่ยังมีกำลัง
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ