หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 77
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 77
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 77
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มิถุนายน 2556
พากันดูดีๆนะ พระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย ก่อนที่จะขบจะฉันก่อนที่จะกะประมาณ พิจารณาในการขบฉันของตัวเราเอง ยิ่งพระบวชใหม่ ไม่ใหม่ไม่เก่านั่นแหละ พิจารณาทุกคนทุกองค์ทุกท่านนั่นแหละ ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ให้รู้กายรู้ใจ ให้รู้จักการเจริญสติ การทำความเข้าใจ การแก้ไขตัวเรา การแก้ไขใจของเรา ใจของเราเกิดอย่างไร วิญญาณของเรานั่นแหละ มันเกิดอย่างไร มันหลงอะไร แต่ละวัน ให้เรารีบแก้ไขเสีย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เจริญสติไปเป็นเพื่อนของใจ หมั่นอบรมใจอยู่ตลอดเวลา อย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อะไรควรละ อะไรควรเจริญ
วันนี้อากาศก็เย็นสบายดี ฝนฟ้าก็ 2 – 3 วันก่อนโปรยลงมาให้อากาศชุ่มฉ่ำเย็นสบาย ย้อนกลับไปสมัยเก่าๆ เข้ามาก็ให้เป็นป่า เป็นธรรมชาติ เข้ามาในป่าก็มีตั้งแต่ไม้หอม ไม้ประดับ ก็พี่น้องเรานั่นแหละมาช่วยกัน มาช่วยกันทำ มาช่วยกันสร้าง จัดระบบระเบียบของธรรมชาติให้น่าอยู่น่าอาศัย น่ารื่นรมย์ พระเราก็เหมือนกัน ชีเราก็เหมือนกัน ขยันหมั่นเพียร พากันช่วยกัน งานหนักงานเบาอย่าไปเกียจคร้าน ความเสียสละ ความอดทน การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม
หลวงพ่อก็พยายามทำให้ทุกคนได้มีความสุข วาง พื้นฐาน ทั้งสมมติภายนอกก็วางพื้นฐานเอาไว้ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน ทั้งการชี้แนะแนวทาง การเจริญสติ การเดินปัญญา แยกรูปแยกนาม การละกิเลส ความอยากเล็กๆ น้อยๆ เราก็ต้องพยายามละ พยายามกำจัด ดูต้นตอต้นเหตุ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่จะนำอันตราย นำความวุ่นวายมาให้ เราก็พยายามอย่าไปเข้ายุ่งเกี่ยว
การดูเลข ดูหวย ดูหมอดูดวง อย่าให้มี การสะเดาะเคราะห์ มันไม่ใช่แนวทาง ไม่ใช่หนทาง อย่างไรที่จะละกิเลสตัวของเราออกไปให้ได้หมดจด เราก็พยายาม การเจริญสติ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วยความขยันหมั่นเพียร ละนิวรณ์ไปด้วย ละความเกียจคร้านไปด้วยมีความเสียสละ ยังประโยชน์กับสมมติให้เกิดประโยชน์ ทำความเข้าใจกับสมมติ ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรมมีแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า เราต้องขยันหมั่นเพียร ขยันหมั่นเพียรในการขัดเกลากิเลส ขยันหมั่นเพียรในการยังประโยชน์ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำความเข้าใจให้หมดจด
หลายสิ่งหลายอย่างที่ต่อสู้ แก้ไขกันมา กว่าจะได้เป็นสถานที่น่าอยู่ น่าอาศัย ก็ลำบากมามากต่อมาก ต่อสู้กับกิเลสภายในก็หนักหนาสาหัส ต่อสู้กับกิเลสภายนอกก็เอาการ กว่าจะได้มาเป็นสถานที่น่าอยู่ น่าอาศัย น่ารื่นรมย์ ก็ขอให้ทุกคนจงพิจารณากัน ไม่ใช่จะเอาตั้งแต่ความสนุกสนาน เอาตั้งแต่ความเห็นแก่ตัว มีโอกาสก็ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยังจะพากันมัวเมาประมาท พากันเล่นอยู่
พยายามอุตส่าห์ยังสมมติให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ต่อสู้กับกิเลสภายนอกภายใน กว่าจะได้มา บางทีก็โดนเหยียบโดนย่ำสารพัดอย่าง โดนด่าโดนว่า ก็ไม่ได้ไปโต้ไปตอบอะไร เพราะว่าเราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปดุไปด่า ไปอคติคนอื่นได้เลย เพราะว่ามันเป็นกรรม วิบากของกรรม ถ้าพูดออกไป ว่าออกไปแล้วโทษมันแรง เพราะว่าใจของเราไม่มีอะไร แต่ได้แต่บอกอย่างเดียว อย่าไปคิด อย่าไปด่า อย่าไปว่ากัน จิตใจของเราสะอาดบริสุทธิ์มากมายเท่าไร ใจของเราไม่เกิดเท่าไร มีใครมาว่าเราด่าเรา โทษมันก็ยิ่งสะท้อนกลับไปแรง เราก็ได้ตั้งแต่พิจารณา รักษาเรา รักษาเขา ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ กายก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น วาจาก็ไม่ได้อคติ ไม่ได้เพ่งโทษ
ถ้าจะบอกกล่าวก็บอกกล่าวด้วยปัญญา ไม่ได้บอกกล่าวด้วยอำนาจของใจที่มันเกิดมันวิ่ง เพราะว่าเราจัดการกับใจของเรามาตั้ง 20 – 30 ปีแล้ว ไม่ให้ใจของเราเกิด รอตั้งแต่ธาตุขันธ์แตกดับก็ไปเท่านั้นแหละ ขณะที่ยังมีลมหายใจก็จะยังประโยชน์ให้กับทุกคน ใครมาทันก็ทัน ไม่ทันก็เสร็จก่อน เทวดาคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา เทวดาที่มีกายเนื้อ และก็ไม่มีกายเนื้อ
ปีหน้าก็คุณหมอสถาพรกับหมอดวงดือน ท่านก็ได้ปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน ท่านทุ่มเทให้ทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างวัด การซื้อที่ดินสร้างวัด การสร้างพระพุทธรูปหยกใหญ่ หยกขาวหยกใหญ่ โพธิสัตว์กวนอิมหยก ทั้งกายก็มาช่วยทำการทำงาน ขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ อะไรที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ ขยันหมั่นเพียร ทั้งภาระหน้าที่การงาน เป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ ศรัทธาเต็มเปี่ยม ความเสียสละเต็มเปี่ยม บุญภายนอกภายในท่านไม่ทิ้ง นี่แหละเป็นบุคคลตัวอย่าง มีพร้อม สมมติก็พร้อม ความขยันมั่นเพียรก็พร้อม ความเสียสละก็พร้อม เสียสละในสิ่งที่เป็นประโยชน์อันใหญ่หลวง ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักดำเนินชีวิตให้ถูกที่ถูกทาง ไปที่ไหนก็ไม่ลำบาก ไม่สู้รุ่ยสู้ร่าย มองเห็นคุณค่าของสมมติ คุณค่าของวิมุตติ เป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญ ควรเอาตัวอย่าง
ถ้าคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่ต้องกลัวอดตาย ไม่ต้องกลัวลำบาก ไปที่ไหนก็ไม่ตกอับ ถึงดับความเกิดไม่ได้หมดจด ถึงหมดลมหายใจไปก็ไม่ได้ลำบาก มีตั้งแต่ความสุขล้นเหลือ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้ลำบาก เพราะความขยันมันเพียร ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ส่วนตัวส่วนรวม
พวกเราบวชเข้ามาแล้วก็พยายาม การที่จะทำใจให้เป็นพระ ในธรรมนี่มันก็ยากอยู่ ก็ต้องคอยแก้ไขตัวเรา ในหลักการหลักธรรมแล้วความอยากแม้แต่นิดเดียวนั้นท่านก็ยังไม่ให้เกิดเลย อยากไป อยากมา ไม่อยากไป ไม่อยากมา ยังกลับกันอีก ต้องคลายความหลงในกายเนื้อของเรา เดินปัญญา ถึงเราคลายไม่ได้ ก็ใจของเราก็เป็นบุญ ยังประโยชน์ยังบุญให้เกิดขึ้น บุญระดับสมมติ บุญวิมุตติ สมมติ ความจริงของสมมติ ความจริงของวิมุตติ มีหมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง เราเข้าถึงแล้วก็ยังประโยชน์ให้เต็มที่ เท่าที่โอกาสอำนวยให้
ถ้าเรามีอานิสงส์เพียงพอ มีบุญเพียงพอ ยังบุญภายในให้เต็มเปี่ยม บุญข้างนอกก็จะหลั่งไหลมาเอง ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหา เพราะว่าทุกคนก็ปรารถนาที่จะมาขอความอนุเคราะห์อานิสงส์จากบุญของเรา ไม่จำเป็นต้องไปดิ้นรน เพราะเราสร้างเราทำ บุญภายในเราก็ยังให้เต็ม บุญข้างนอกก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง จากกองน้อยๆ ก็เป็นกองใหญ่มหึมา จนเป็นเอง แม้แต่เทวดาก็ต้องร้อน ต้องมาคอยช่วยเหลือถ้าอานิสงส์ของเราพอ
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ลองดูสิ การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูกก็จะชัดเจน
ความรู้สึกรับรู้ขณะลมสัมผัสปลายจมูกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้เวลาลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกก็รู้ ออกกระทบปลายจมูกก็รู้ รู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่ามี ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวอยู่ปัจจุบันธรรม คือทุกขณะลมหายใจเข้าออก เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เราก็พยายามศึกษา อย่าไปบังคับ หายใจยาวเป็นลักษณะอย่างนี้นะ หายใจสั้นเป็นลักษณะอย่างนี้นะ หายใจธรรมชาติเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลาเราจะสร้างความรู้ตัวทีทั้งกายก็อึดอัด หน้าท้องก็แน่น สมองก็ตึง เพราะว่าความไม่เคยชิน เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชินของร่องการหายใจธรรมชาติ ทุกอิริยาบถนั่นแหละ
เราตื่นตัวเมื่อไร สติเราตั้งมั่นเมื่อไร เรารู้ว่าลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นลักษณะอย่างนี้ ลึกลงไปก็รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ขณะก่อตัวใจเกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดเขาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตัวใจเคลื่อนเข้าไปรวมความคิดได้อย่างไร ลองอดพูด อดคิด สังเกตดูความคิด เราสร้างความรู้ตัวอยู่ ถ้าความคิดจะก่อตัวปุ๊บเราก็ไปดูฐานของเขา เขาก่อตัวอย่างไร มันจะค่อยไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ค่อยแจงลงไปเรื่อยๆ เห็นลักษณะของใจที่ไม่เกิด ใจที่ปราศจากกิเลส เห็นลักษณะของความคิด อาการของความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด หรือว่าขันธ์ห้าของเรา
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในขันธ์ห้า ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณของเราว่าเขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร ทำไมเขาถึงเกิดกิเลส ทำไมเขาถึงหลง ทำไมเขาถึงมีความทะเยอทะยานอยาก เราก็ต้องพยายามจัดการแก้ไขเสียขณะที่ยังมีกำลัง มีลมหายใจอยู่ ใจที่เกิดกิเลส ใจที่เกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการเอาออก ด้วยการให้ ใจที่มีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน เพิ่มความขยันหมั่นเพียร ใจที่มีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามปรับปรุงใจของเราให้มีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อม มองโลกในทางที่ดี แล้วก็คิดดี การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม
เราก็ต้องพยายามแก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่แก้ไขเรา ไม่มีใครเขาจะแก้ไขให้เราได้เลย อย่าไปแบกตั้งแต่ทิฏฐิมานะ ละ เห็นแก่ตัว มีตั้งแต่กิเลสเล่นงานอยู่อย่างนั้น เราต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่หลวงพ่อก็ได้เพียงแค่พูดให้ฟัง บุคคลที่มีสติมีปัญญา ไม่จำเป็นต้องไปฟังมากเลย จะเจริญสติเข้าไปอบรมใจตัวเราเอง รู้ไม่เท่าทันก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักระงับ รู้จักหาเหตุหาผลเริ่มใหม่ จนกว่ามองเห็นค้นคว้าหาความเป็นจริง แล้วก็ยังประโยชน์ของตนให้เต็มที่ จนล้นออกไปสู่สมมติภายนอก ไปที่ไหนก็ไม่ตกอับ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แก้ไขตัวเราเองตลอดเวลา มองบน มองล่าง มองกลางใจของเราตลอดเวลา ก็ต้องพยายามกัน
อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการปล่อยวางได้เป็นอย่างดีที่สุดเลยทีเดียว ท่านถึงวางทานเอาไว้ตั้งแต่แรก ทานภายใน ทานภายนอก ทานสมมติ ทานวัตถุ แล้วก็ทานความยึดมั่นถือมั่น ทานกิเลส ทานอารมณ์ออกจากจิตจากใจจนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ คือใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ในความบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละคือเครื่องอยู่ของใจ เรียกว่าความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ห้า ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือต้องพยายาม ต้องพยายาม จากน้อยๆ ไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ไม่ใช่ว่าไปเลือกกาลเลือกเวลา เราจัดการกิเลสของเรา กิเลสของเรามันไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลาหรอก มันเล่นงานเราเมื่อไร เราก็จัดการมันเมื่อนั้นแหละ ใจของเราเกิดเมื่อไร เราก็จัดการมันเมื่อนั้นแหละ เราก็พยายามเอา มันไม่เหลือวิสัยหรอก
สร้างความรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกันนะ อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มิถุนายน 2556
พากันดูดีๆนะ พระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย ก่อนที่จะขบจะฉันก่อนที่จะกะประมาณ พิจารณาในการขบฉันของตัวเราเอง ยิ่งพระบวชใหม่ ไม่ใหม่ไม่เก่านั่นแหละ พิจารณาทุกคนทุกองค์ทุกท่านนั่นแหละ ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ให้รู้กายรู้ใจ ให้รู้จักการเจริญสติ การทำความเข้าใจ การแก้ไขตัวเรา การแก้ไขใจของเรา ใจของเราเกิดอย่างไร วิญญาณของเรานั่นแหละ มันเกิดอย่างไร มันหลงอะไร แต่ละวัน ให้เรารีบแก้ไขเสีย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เจริญสติไปเป็นเพื่อนของใจ หมั่นอบรมใจอยู่ตลอดเวลา อย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อะไรควรละ อะไรควรเจริญ
วันนี้อากาศก็เย็นสบายดี ฝนฟ้าก็ 2 – 3 วันก่อนโปรยลงมาให้อากาศชุ่มฉ่ำเย็นสบาย ย้อนกลับไปสมัยเก่าๆ เข้ามาก็ให้เป็นป่า เป็นธรรมชาติ เข้ามาในป่าก็มีตั้งแต่ไม้หอม ไม้ประดับ ก็พี่น้องเรานั่นแหละมาช่วยกัน มาช่วยกันทำ มาช่วยกันสร้าง จัดระบบระเบียบของธรรมชาติให้น่าอยู่น่าอาศัย น่ารื่นรมย์ พระเราก็เหมือนกัน ชีเราก็เหมือนกัน ขยันหมั่นเพียร พากันช่วยกัน งานหนักงานเบาอย่าไปเกียจคร้าน ความเสียสละ ความอดทน การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม
หลวงพ่อก็พยายามทำให้ทุกคนได้มีความสุข วาง พื้นฐาน ทั้งสมมติภายนอกก็วางพื้นฐานเอาไว้ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน ทั้งการชี้แนะแนวทาง การเจริญสติ การเดินปัญญา แยกรูปแยกนาม การละกิเลส ความอยากเล็กๆ น้อยๆ เราก็ต้องพยายามละ พยายามกำจัด ดูต้นตอต้นเหตุ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่จะนำอันตราย นำความวุ่นวายมาให้ เราก็พยายามอย่าไปเข้ายุ่งเกี่ยว
การดูเลข ดูหวย ดูหมอดูดวง อย่าให้มี การสะเดาะเคราะห์ มันไม่ใช่แนวทาง ไม่ใช่หนทาง อย่างไรที่จะละกิเลสตัวของเราออกไปให้ได้หมดจด เราก็พยายาม การเจริญสติ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วยความขยันหมั่นเพียร ละนิวรณ์ไปด้วย ละความเกียจคร้านไปด้วยมีความเสียสละ ยังประโยชน์กับสมมติให้เกิดประโยชน์ ทำความเข้าใจกับสมมติ ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรมมีแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า เราต้องขยันหมั่นเพียร ขยันหมั่นเพียรในการขัดเกลากิเลส ขยันหมั่นเพียรในการยังประโยชน์ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำความเข้าใจให้หมดจด
หลายสิ่งหลายอย่างที่ต่อสู้ แก้ไขกันมา กว่าจะได้เป็นสถานที่น่าอยู่ น่าอาศัย ก็ลำบากมามากต่อมาก ต่อสู้กับกิเลสภายในก็หนักหนาสาหัส ต่อสู้กับกิเลสภายนอกก็เอาการ กว่าจะได้มาเป็นสถานที่น่าอยู่ น่าอาศัย น่ารื่นรมย์ ก็ขอให้ทุกคนจงพิจารณากัน ไม่ใช่จะเอาตั้งแต่ความสนุกสนาน เอาตั้งแต่ความเห็นแก่ตัว มีโอกาสก็ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยังจะพากันมัวเมาประมาท พากันเล่นอยู่
พยายามอุตส่าห์ยังสมมติให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ต่อสู้กับกิเลสภายนอกภายใน กว่าจะได้มา บางทีก็โดนเหยียบโดนย่ำสารพัดอย่าง โดนด่าโดนว่า ก็ไม่ได้ไปโต้ไปตอบอะไร เพราะว่าเราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปดุไปด่า ไปอคติคนอื่นได้เลย เพราะว่ามันเป็นกรรม วิบากของกรรม ถ้าพูดออกไป ว่าออกไปแล้วโทษมันแรง เพราะว่าใจของเราไม่มีอะไร แต่ได้แต่บอกอย่างเดียว อย่าไปคิด อย่าไปด่า อย่าไปว่ากัน จิตใจของเราสะอาดบริสุทธิ์มากมายเท่าไร ใจของเราไม่เกิดเท่าไร มีใครมาว่าเราด่าเรา โทษมันก็ยิ่งสะท้อนกลับไปแรง เราก็ได้ตั้งแต่พิจารณา รักษาเรา รักษาเขา ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ กายก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น วาจาก็ไม่ได้อคติ ไม่ได้เพ่งโทษ
ถ้าจะบอกกล่าวก็บอกกล่าวด้วยปัญญา ไม่ได้บอกกล่าวด้วยอำนาจของใจที่มันเกิดมันวิ่ง เพราะว่าเราจัดการกับใจของเรามาตั้ง 20 – 30 ปีแล้ว ไม่ให้ใจของเราเกิด รอตั้งแต่ธาตุขันธ์แตกดับก็ไปเท่านั้นแหละ ขณะที่ยังมีลมหายใจก็จะยังประโยชน์ให้กับทุกคน ใครมาทันก็ทัน ไม่ทันก็เสร็จก่อน เทวดาคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา เทวดาที่มีกายเนื้อ และก็ไม่มีกายเนื้อ
ปีหน้าก็คุณหมอสถาพรกับหมอดวงดือน ท่านก็ได้ปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน ท่านทุ่มเทให้ทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างวัด การซื้อที่ดินสร้างวัด การสร้างพระพุทธรูปหยกใหญ่ หยกขาวหยกใหญ่ โพธิสัตว์กวนอิมหยก ทั้งกายก็มาช่วยทำการทำงาน ขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ อะไรที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ ขยันหมั่นเพียร ทั้งภาระหน้าที่การงาน เป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ ศรัทธาเต็มเปี่ยม ความเสียสละเต็มเปี่ยม บุญภายนอกภายในท่านไม่ทิ้ง นี่แหละเป็นบุคคลตัวอย่าง มีพร้อม สมมติก็พร้อม ความขยันมั่นเพียรก็พร้อม ความเสียสละก็พร้อม เสียสละในสิ่งที่เป็นประโยชน์อันใหญ่หลวง ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักดำเนินชีวิตให้ถูกที่ถูกทาง ไปที่ไหนก็ไม่ลำบาก ไม่สู้รุ่ยสู้ร่าย มองเห็นคุณค่าของสมมติ คุณค่าของวิมุตติ เป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญ ควรเอาตัวอย่าง
ถ้าคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่ต้องกลัวอดตาย ไม่ต้องกลัวลำบาก ไปที่ไหนก็ไม่ตกอับ ถึงดับความเกิดไม่ได้หมดจด ถึงหมดลมหายใจไปก็ไม่ได้ลำบาก มีตั้งแต่ความสุขล้นเหลือ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้ลำบาก เพราะความขยันมันเพียร ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ส่วนตัวส่วนรวม
พวกเราบวชเข้ามาแล้วก็พยายาม การที่จะทำใจให้เป็นพระ ในธรรมนี่มันก็ยากอยู่ ก็ต้องคอยแก้ไขตัวเรา ในหลักการหลักธรรมแล้วความอยากแม้แต่นิดเดียวนั้นท่านก็ยังไม่ให้เกิดเลย อยากไป อยากมา ไม่อยากไป ไม่อยากมา ยังกลับกันอีก ต้องคลายความหลงในกายเนื้อของเรา เดินปัญญา ถึงเราคลายไม่ได้ ก็ใจของเราก็เป็นบุญ ยังประโยชน์ยังบุญให้เกิดขึ้น บุญระดับสมมติ บุญวิมุตติ สมมติ ความจริงของสมมติ ความจริงของวิมุตติ มีหมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง เราเข้าถึงแล้วก็ยังประโยชน์ให้เต็มที่ เท่าที่โอกาสอำนวยให้
ถ้าเรามีอานิสงส์เพียงพอ มีบุญเพียงพอ ยังบุญภายในให้เต็มเปี่ยม บุญข้างนอกก็จะหลั่งไหลมาเอง ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหา เพราะว่าทุกคนก็ปรารถนาที่จะมาขอความอนุเคราะห์อานิสงส์จากบุญของเรา ไม่จำเป็นต้องไปดิ้นรน เพราะเราสร้างเราทำ บุญภายในเราก็ยังให้เต็ม บุญข้างนอกก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง จากกองน้อยๆ ก็เป็นกองใหญ่มหึมา จนเป็นเอง แม้แต่เทวดาก็ต้องร้อน ต้องมาคอยช่วยเหลือถ้าอานิสงส์ของเราพอ
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ลองดูสิ การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูกก็จะชัดเจน
ความรู้สึกรับรู้ขณะลมสัมผัสปลายจมูกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้เวลาลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกก็รู้ ออกกระทบปลายจมูกก็รู้ รู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่ามี ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวอยู่ปัจจุบันธรรม คือทุกขณะลมหายใจเข้าออก เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เราก็พยายามศึกษา อย่าไปบังคับ หายใจยาวเป็นลักษณะอย่างนี้นะ หายใจสั้นเป็นลักษณะอย่างนี้นะ หายใจธรรมชาติเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลาเราจะสร้างความรู้ตัวทีทั้งกายก็อึดอัด หน้าท้องก็แน่น สมองก็ตึง เพราะว่าความไม่เคยชิน เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชินของร่องการหายใจธรรมชาติ ทุกอิริยาบถนั่นแหละ
เราตื่นตัวเมื่อไร สติเราตั้งมั่นเมื่อไร เรารู้ว่าลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นลักษณะอย่างนี้ ลึกลงไปก็รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ขณะก่อตัวใจเกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดเขาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตัวใจเคลื่อนเข้าไปรวมความคิดได้อย่างไร ลองอดพูด อดคิด สังเกตดูความคิด เราสร้างความรู้ตัวอยู่ ถ้าความคิดจะก่อตัวปุ๊บเราก็ไปดูฐานของเขา เขาก่อตัวอย่างไร มันจะค่อยไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ค่อยแจงลงไปเรื่อยๆ เห็นลักษณะของใจที่ไม่เกิด ใจที่ปราศจากกิเลส เห็นลักษณะของความคิด อาการของความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด หรือว่าขันธ์ห้าของเรา
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในขันธ์ห้า ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณของเราว่าเขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร ทำไมเขาถึงเกิดกิเลส ทำไมเขาถึงหลง ทำไมเขาถึงมีความทะเยอทะยานอยาก เราก็ต้องพยายามจัดการแก้ไขเสียขณะที่ยังมีกำลัง มีลมหายใจอยู่ ใจที่เกิดกิเลส ใจที่เกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการเอาออก ด้วยการให้ ใจที่มีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน เพิ่มความขยันหมั่นเพียร ใจที่มีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็พยายามปรับปรุงใจของเราให้มีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อม มองโลกในทางที่ดี แล้วก็คิดดี การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม
เราก็ต้องพยายามแก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่แก้ไขเรา ไม่มีใครเขาจะแก้ไขให้เราได้เลย อย่าไปแบกตั้งแต่ทิฏฐิมานะ ละ เห็นแก่ตัว มีตั้งแต่กิเลสเล่นงานอยู่อย่างนั้น เราต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่หลวงพ่อก็ได้เพียงแค่พูดให้ฟัง บุคคลที่มีสติมีปัญญา ไม่จำเป็นต้องไปฟังมากเลย จะเจริญสติเข้าไปอบรมใจตัวเราเอง รู้ไม่เท่าทันก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักระงับ รู้จักหาเหตุหาผลเริ่มใหม่ จนกว่ามองเห็นค้นคว้าหาความเป็นจริง แล้วก็ยังประโยชน์ของตนให้เต็มที่ จนล้นออกไปสู่สมมติภายนอก ไปที่ไหนก็ไม่ตกอับ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แก้ไขตัวเราเองตลอดเวลา มองบน มองล่าง มองกลางใจของเราตลอดเวลา ก็ต้องพยายามกัน
อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการปล่อยวางได้เป็นอย่างดีที่สุดเลยทีเดียว ท่านถึงวางทานเอาไว้ตั้งแต่แรก ทานภายใน ทานภายนอก ทานสมมติ ทานวัตถุ แล้วก็ทานความยึดมั่นถือมั่น ทานกิเลส ทานอารมณ์ออกจากจิตจากใจจนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ คือใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ในความบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละคือเครื่องอยู่ของใจ เรียกว่าความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ห้า ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือต้องพยายาม ต้องพยายาม จากน้อยๆ ไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ไม่ใช่ว่าไปเลือกกาลเลือกเวลา เราจัดการกิเลสของเรา กิเลสของเรามันไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลาหรอก มันเล่นงานเราเมื่อไร เราก็จัดการมันเมื่อนั้นแหละ ใจของเราเกิดเมื่อไร เราก็จัดการมันเมื่อนั้นแหละ เราก็พยายามเอา มันไม่เหลือวิสัยหรอก
สร้างความรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกันนะ อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อเอานะ