หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 22
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 22
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 22
พระธรรมเทศนาโดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 มีนาคม 2556
พากันดูดีๆ นะ พระเรา พิจารณาปฏิสังขาโย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา พยายามรู้กายแล้วก็รู้ใจ พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ได้ แล้วก็หมั่นพิจารณา หมั่นแก้ไขใจของเรา แก้ไขกายของเรา ดูจากลักษณะของใจ ใจที่ไม่เกิด ใจที่มีกิเลส ใจที่สงบ ใจที่มีความกังวลมีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักควบคุม รู้จักพิจารณาหาเหตุหาผล แก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย
เวลาขบเวลาฉันก็เหมือนกัน กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง ใจเกิดความอยาก ไม่ว่าอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร เราก็รู้จักควบคุม รู้จักระงับ รู้จักยับยั้ง จะเอาจะมีจะเป็นก็พิจารณา อาหารสักแต่ว่าอาหาร เราต้องการสิ่งใดก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก ให้เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา พิจารณามองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา ไม่ใช่ว่าจะไปปล่อยปละละเลย
ทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวันตาย เราต้องรักษาใจ รักษากายของเรา จนกว่าจะถึงเวลาเขาจะแตกจะดับ เราก็จะได้อยู่กับบุญ ตัวใจนั่นแหละคือบุญ ใจสงบ ใจสะอาด ใจสว่าง ใจไม่ทุกข์ นั่นแหละคือบุญ ส่วนสมมติภาระหน้าที่การงานของเรา เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพื่อยังสมมติไม่ให้ลำบาก ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ชีวิตของเราก็จะมีตั้งแต่กำไร กำไรชีวิต
ก็อยากจะให้ทุกคนได้มีความสุข เข้ามาแล้วก็ได้ประพฤติปฏิบัติ ไม่ได้ลำบาก พวกเราเข้ามาแล้ว เราก็ต้องพยายามดูว่าเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เราก็ต้องพยายามพิจารณา ไม่ใช่ว่าฉันอยู่ดีมีความสุขแล้ว อย่างอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันไม่ใช่ เราต้องเป็นคนขยัน ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเป็นระเบียบ จะได้ฝึกหัดติดเป็นนิสัยของตัวเรา เป็นคนที่มีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่เป็นคนจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว
เราต้องฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาตัวเราเอง กระตือรือร้น รู้จักขวนขวาย รู้จักสนใจ รู้จักแสวงหา รู้จักสร้าง รู้จักทำให้มีให้เกิดขึ้น ทรัพย์ภายในใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักคลาย ลึกๆ ลงไป อะไรคือรูป อะไรคือนาม อะไรคือความคิด อะไรคืออารมณ์ ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขารของตัวเราเอง กองสังขารก็คือกายขันธ์ห้าของเรานี่แหละ ตัวจิตวิญญาณซึ่งมาครอบครอง แก้ไขทั้งภายใน ทำทั้งยังสมมติภายนอกให้เกิดประโยชน์ ถ้าคนเรามีความเสียสละ มีความขยันหมั่นเพียร ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่อดตาย บุญภายในเราก็เต็มเปี่ยมจนล้นออกไปสู่ภายนอก ถ้าคนเรามีความเห็นแก่ตัว ไปอยู่ที่ไหนก็ลำบาก อยู่คนเดียวก็ลำบาก อยู่หลายคนก็ลำบาก ไม่รู้จักสร้าง รู้จักทำ รู้จักละ เพียงแค่กายวาจาก็ไม่รู้จักรักษา วาจาก็ไม่รู้จักรักษา ลึกลงไปใจก็ไม่รู้จักควบคุม ไม่รู้จักจำแนกแจกแจง จะรู้ธรรมได้อย่างไรล่ะ
ในเมื่อเราสร้างกิเลสปกปิดตัวเราเอาไว้หมด ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำเสีย ความตระหนี่เหนียวแน่นก็เข้าครอบงำเสีย ขนาดกิเลสหยาบๆ ก็ยังไม่รู้จักละ รู้จักขัดเกลา ให้กิเลสละเอียด ความทะเยอทะยานอยาก ความอคติ มลทินต่างๆ ความเกียจคร้าน นิวรณ์เข้าครอบงำ จะรู้ธรรมได้อย่างไรล่ะ ถ้าเราไม่รู้จักขัดเกลาตัวเราเอง ไปที่ไหนก็เหมือนเดิม ถ้าไม่รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา ได้ไปอยู่ที่ดีๆ อยู่ที่มีความสุข แต่ไม่รู้จักแก้ไข ไม่รู้จัก ยังไม่รู้จักสร้างขึ้นมา มันจะเกิดประโยชน์ได้อย่างไร ท่านถึงบอกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’เพียงแค่สมมติก็ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ไอ้เรื่องวิมุตติมันก็ยากเข้าไปอีก เราต้องพึ่งตัวเราให้ได้ในระดับหนึ่ง แล้วก็ไม่เข้าใจ เราก็อาศัยพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ชี้แนะแนวทางให้ รู้จักแนวทางแล้วเราก็ดำเนินต่อให้ถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วให้ไว
อันนี้หลวงพ่อก็พาทำ ยังสมมติให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ยังจะพากันเกียจคร้านก็ช่วยเหลือไม่ได้ ต้องเป็นคนขยัน บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา ไปที่ไหนก็มีความสุข ยิ่งมาอยู่หลายคนหลายท่าน ยิ่งเป็นพระก็พยายามเพิ่มความเพียรให้เป็นทวีคูณ ให้อยู่ในความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบนั่นแหละคือวินัย จะลุก จะก้าว จะเดิน จะพูดจะจา จะคิด เราก็ต้องพิจารณา
เวลามีคุณค่ามากมายมหาศาล ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมา ความรู้ตัวเป็นอย่างไร จะลุกจะก้าว เข้าห้องส้วมห้องน้ำ ใจเป็นอย่างไร จะไปบิณฑบาตใจเป็นอย่างไร เวลาไปบิณฑบาตก็ให้อยู่ในความเป็นระเบียบ คนอยู่ข้างหน้าก็มองคนข้างหลัง คนข้างหลังก็พยายามมองคนข้างหน้า คนข้างหน้าก็จ้ำอ้าวๆ ไม่รอคนข้างหลัง ดูก็ไม่สวยไม่งาม เราก็ต้องดู รอคนข้างหลัง คนข้างหลังช้าก็เพิ่มความเร็วขึ้น คนข้างหน้าเร็วก็ลดความเร็วลงให้ได้สมดุลกัน บิณฑบาตก็ดูสวยดูงาม คนโน้นจ้ำไปๆ คนข้างหลังก็ไม่ทัน ต่างคนต่างมีทิฏฐิมีมานะ เข้าหากันแล้วมันก็อยู่ด้วยกันก็ลำบาก ก็พยายาม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน บางทีคนภายหน้า ข้างหน้าก็ไปบิณฑบาตได้ พวกญาติโยมเขาก็ใส่ข้าวปลาอาหาร ใส่ขนมนมเนย คนข้างหลังก็ได้แต่ข้าว เวลากลับมาวัดก็ว่าตัวเองบิณฑบาตได้แล้วก็ไม่เอาออกแบ่ง ไม่เอาให้ส่วนรวม ก็เก็บเอาไว้ว่าของตัวเอง ตัวเองบิณฯ ได้ อย่างนั้นก็เจอกันมาเยอะ คนข้างหลังจะได้อยู่ได้ทานอะไร เราก็ต้องหัดพิจารณา อยู่ตลอดเวลาทุกเรื่อง
เหมือนกับอยู่วัดนี่เป็นบ้านใหญ่เลยทีเดียว เหมือนกับพ่อแม่เลี้ยงลูก ลูกทุกคนเป็นอย่างไร ก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ เหมือนกันหมด กลัวลูกจะลำบาก กลัวอดกลัวอยาก พ่อแม่ก็ทำให้ ทำให้ทุกอย่าง ลูกบางคนก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง บางคนก็เกเร บางคนก็ไม่เกเร บางคนก็มีความรับผิดชอบ บางคนก็มีความเสียสละ บางคนก็เกียจคร้าน ก็มาแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราเสีย เพียงแค่ระดับของสมมติก็ขยันหมั่นเพียรให้มันได้เสียก่อนเถอะ มีความรับผิดชอบให้ได้เสียก่อนเถอะ ก็จะเข้าถึงทรัพย์ตัวใน ความสะอาดความบริสุทธิ์
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกัน หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราละไม่ได้เด็ดขาด เราแยกรูปแยกนามไม่ได้ เราก็ให้รู้จักวิธีการเจริญสติ หรือว่าการสร้างความรู้ตัว ลองนั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ อย่าไปเกร็งร่างกาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เวลาเราสูดลมหายใจเข้าหายใจออก สัมผัสของลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา ความรู้สึกตัวตรงนั้นแหละ เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องเวลาลมวิ่งเข้า เวลาลมวิ่งออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เราอย่าพากันมองข้ามในสิ่งพวกนี้ เราพยายามฝึกบ่อยๆ ให้เกิดความเคยชิน
ถ้าเรามีความรู้ตัวต่อเนื่อง เราก็จะรู้ลักษณะของใจที่ปกติ รู้ลักษณะของใจเวลาที่เขาก่อตัว รู้อาการของใจเวลาเขาเกิด เขาปรุงเขาแต่ง เขาส่งออกไปภายนอก เราจะเห็นเป็น 2 ส่วน ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ เขาเรียกว่า ‘สติ’ ต่อไปข้างหน้าถ้ามีความต่อเนื่อง ถ้าเราเห็นใจ เขาเรียกว่า ‘ปัญญา’ ถ้าใจคลายออกจากอาการของใจอีก หรือว่าใจแยกออกจากความคิดอีก เขาเรียกว่าเห็น รู้ แยกรูปแยกนาม นั่นแหละถึงจะเรียกว่า ‘วิปัสสนา’
ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ ใจเกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักควบคุม รู้จักพิจารณาหาเหตุหาผล รู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากจะปล่อยปละละเลย เพียงแค่การเจริญสติก็ไม่ค่อยจะสนใจทำกันให้ต่อเนื่อง มีแต่เก็บไปนึกเอาไปคิดเอา ปัญญาที่เกิดจากจิต เกิดจากขันธ์ห้า ปัญญากรรม ซึ่งเขาหลงมาตั้งนาน เพียงแค่การเกิดของใจ ถ้าไม่เกิดก็ถ้าไม่หลงเขาไม่เกิดเราพยายามหัดเจริญสติเข้าไปเกิดแทน เข้าไปทำหน้าที่แทน เข้าไปหาเหตุหาผล หมั่นพร่ำสอนใจของเราให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด โลกธรรม รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในความคิด ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
ถ้าใจของเรารู้ความเป็นจริงแล้ว การเกิดเป็นทุกข์เขาไม่เกิดหรอก การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา จะเอา จะมี จะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา การพูดง่าย แต่การลงมือ การทำความเข้าใจ การหมั่นอบรมใจ ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีทิฐิ หรือว่ามีมานะ เราก็พยายามแก้ไขจากจุดน้อยๆ นั่นแหละ ก็จะมากขึ้นๆ จนกำลังสติปัญญาของเราเป็นเลิศ ในการดูแลใจ สติปัญญาสมาธิเขาก็จะรักษาเราเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็จะอยู่กับบุญ ใจก็เป็นบุญ กายก็เป็นบุญ ได้มากได้น้อยก็ต้องพยายามทำ
ยิ่งพระเราต้องพยายามขยันหมั่นเพียรทั้งพระ ทั้งชี ทั้งฆราวาสญาติโยม ก็มีกายเนื้อ มีรูปมีนาม มีจิตมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง ไม่ได้เสียเปรียบอะไรกันมากมาย อาจจะเสียเปรียบกันบ้าง ตั้งแต่กาลเวลา วิบากของกรรมสร้างมาไม่เหมือนกัน บางคนก็สร้างมาดี บางคนก็อาจจะสร้างมาน้อย สมมติอาจจะลำบาก บางคนสมมติก็ไม่ได้ลำบาก บางคนก็เกิดมาในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีการงานชอบ ไม่ได้ลำบาก เพราะว่าสร้างบุญมาดี บางคนก็ลำบาก แต่ก็ขนาดได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่ามีบุญ พยายามหมั่นสร้าง หมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นทำความเข้าใจ ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น
สมมติเราอาศัยกันได้ เราช่วยเหลือกันได้ แต่การเจริญสติ การละกิเลส การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ เราเข้าใจแล้ว ดำเนินได้แล้ว เราก็ดำเนินชีวิตของเราอย่างมีความสุขจนกว่าธาตุขันธ์ของเราจะแตกจะดับนั่นแหละ เพราะว่าทุกคนเกิดมาก็อยู่ใต้กฎอันเดียวกัน คือ กฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะว่าความตายรอเราอยู่ทุกคน
ถ้าพูดถึงเรื่องความตายแล้วอย่าไปกลัว เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ ธรรมชาติของทุกคน ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย ไม่ถึงเวลาก็ไม่ได้ไป ถ้าถึงเวลาแล้วจะฉุดรั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่ ยังไม่ถึงเวลา เราก็พยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศล สร้างคุณงามความดี คอยสร้างสะสมบุญ บุคคลที่มีบุญ บุคคลที่ใจเป็นบุญ จะไม่ทิ้งบุญ จะสร้างบุญ สร้างมากสร้างน้อยก็พยายามสร้างไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดหมาย
บุญนั้นแหละเป็นพื้นฐานของการเดินปัญญา ของการละกิเลสได้เป็นอย่างดี จิตใจของเราไม่มีความทะเยอทะยานอยาก มีแต่ความอิ่มความเต็ม ถ้าบุญของเราเต็มเมื่อไหร่แล้ว เราก็จะรู้ ถ้ายังไม่เต็มก็ยังต้องสร้าง ต้องฝักใฝ่ ต้องสนใจ บุญภายนอกบุญภายใน ไปอยู่ที่ไหนก็มีความสุข อย่าไปทิ้งบุญ อย่าไปทิ้งวัด อย่าไปทิ้งพระ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ
พระธรรมเทศนาโดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 มีนาคม 2556
พากันดูดีๆ นะ พระเรา พิจารณาปฏิสังขาโย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา พยายามรู้กายแล้วก็รู้ใจ พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ได้ แล้วก็หมั่นพิจารณา หมั่นแก้ไขใจของเรา แก้ไขกายของเรา ดูจากลักษณะของใจ ใจที่ไม่เกิด ใจที่มีกิเลส ใจที่สงบ ใจที่มีความกังวลมีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักควบคุม รู้จักพิจารณาหาเหตุหาผล แก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย
เวลาขบเวลาฉันก็เหมือนกัน กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง ใจเกิดความอยาก ไม่ว่าอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร เราก็รู้จักควบคุม รู้จักระงับ รู้จักยับยั้ง จะเอาจะมีจะเป็นก็พิจารณา อาหารสักแต่ว่าอาหาร เราต้องการสิ่งใดก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก ให้เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา พิจารณามองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา ไม่ใช่ว่าจะไปปล่อยปละละเลย
ทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวันตาย เราต้องรักษาใจ รักษากายของเรา จนกว่าจะถึงเวลาเขาจะแตกจะดับ เราก็จะได้อยู่กับบุญ ตัวใจนั่นแหละคือบุญ ใจสงบ ใจสะอาด ใจสว่าง ใจไม่ทุกข์ นั่นแหละคือบุญ ส่วนสมมติภาระหน้าที่การงานของเรา เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพื่อยังสมมติไม่ให้ลำบาก ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ชีวิตของเราก็จะมีตั้งแต่กำไร กำไรชีวิต
ก็อยากจะให้ทุกคนได้มีความสุข เข้ามาแล้วก็ได้ประพฤติปฏิบัติ ไม่ได้ลำบาก พวกเราเข้ามาแล้ว เราก็ต้องพยายามดูว่าเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เราก็ต้องพยายามพิจารณา ไม่ใช่ว่าฉันอยู่ดีมีความสุขแล้ว อย่างอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันไม่ใช่ เราต้องเป็นคนขยัน ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเป็นระเบียบ จะได้ฝึกหัดติดเป็นนิสัยของตัวเรา เป็นคนที่มีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่เป็นคนจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว
เราต้องฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาตัวเราเอง กระตือรือร้น รู้จักขวนขวาย รู้จักสนใจ รู้จักแสวงหา รู้จักสร้าง รู้จักทำให้มีให้เกิดขึ้น ทรัพย์ภายในใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักคลาย ลึกๆ ลงไป อะไรคือรูป อะไรคือนาม อะไรคือความคิด อะไรคืออารมณ์ ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขารของตัวเราเอง กองสังขารก็คือกายขันธ์ห้าของเรานี่แหละ ตัวจิตวิญญาณซึ่งมาครอบครอง แก้ไขทั้งภายใน ทำทั้งยังสมมติภายนอกให้เกิดประโยชน์ ถ้าคนเรามีความเสียสละ มีความขยันหมั่นเพียร ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่อดตาย บุญภายในเราก็เต็มเปี่ยมจนล้นออกไปสู่ภายนอก ถ้าคนเรามีความเห็นแก่ตัว ไปอยู่ที่ไหนก็ลำบาก อยู่คนเดียวก็ลำบาก อยู่หลายคนก็ลำบาก ไม่รู้จักสร้าง รู้จักทำ รู้จักละ เพียงแค่กายวาจาก็ไม่รู้จักรักษา วาจาก็ไม่รู้จักรักษา ลึกลงไปใจก็ไม่รู้จักควบคุม ไม่รู้จักจำแนกแจกแจง จะรู้ธรรมได้อย่างไรล่ะ
ในเมื่อเราสร้างกิเลสปกปิดตัวเราเอาไว้หมด ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำเสีย ความตระหนี่เหนียวแน่นก็เข้าครอบงำเสีย ขนาดกิเลสหยาบๆ ก็ยังไม่รู้จักละ รู้จักขัดเกลา ให้กิเลสละเอียด ความทะเยอทะยานอยาก ความอคติ มลทินต่างๆ ความเกียจคร้าน นิวรณ์เข้าครอบงำ จะรู้ธรรมได้อย่างไรล่ะ ถ้าเราไม่รู้จักขัดเกลาตัวเราเอง ไปที่ไหนก็เหมือนเดิม ถ้าไม่รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา ได้ไปอยู่ที่ดีๆ อยู่ที่มีความสุข แต่ไม่รู้จักแก้ไข ไม่รู้จัก ยังไม่รู้จักสร้างขึ้นมา มันจะเกิดประโยชน์ได้อย่างไร ท่านถึงบอกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’เพียงแค่สมมติก็ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ไอ้เรื่องวิมุตติมันก็ยากเข้าไปอีก เราต้องพึ่งตัวเราให้ได้ในระดับหนึ่ง แล้วก็ไม่เข้าใจ เราก็อาศัยพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ชี้แนะแนวทางให้ รู้จักแนวทางแล้วเราก็ดำเนินต่อให้ถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วให้ไว
อันนี้หลวงพ่อก็พาทำ ยังสมมติให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ยังจะพากันเกียจคร้านก็ช่วยเหลือไม่ได้ ต้องเป็นคนขยัน บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา ไปที่ไหนก็มีความสุข ยิ่งมาอยู่หลายคนหลายท่าน ยิ่งเป็นพระก็พยายามเพิ่มความเพียรให้เป็นทวีคูณ ให้อยู่ในความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบนั่นแหละคือวินัย จะลุก จะก้าว จะเดิน จะพูดจะจา จะคิด เราก็ต้องพิจารณา
เวลามีคุณค่ามากมายมหาศาล ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมา ความรู้ตัวเป็นอย่างไร จะลุกจะก้าว เข้าห้องส้วมห้องน้ำ ใจเป็นอย่างไร จะไปบิณฑบาตใจเป็นอย่างไร เวลาไปบิณฑบาตก็ให้อยู่ในความเป็นระเบียบ คนอยู่ข้างหน้าก็มองคนข้างหลัง คนข้างหลังก็พยายามมองคนข้างหน้า คนข้างหน้าก็จ้ำอ้าวๆ ไม่รอคนข้างหลัง ดูก็ไม่สวยไม่งาม เราก็ต้องดู รอคนข้างหลัง คนข้างหลังช้าก็เพิ่มความเร็วขึ้น คนข้างหน้าเร็วก็ลดความเร็วลงให้ได้สมดุลกัน บิณฑบาตก็ดูสวยดูงาม คนโน้นจ้ำไปๆ คนข้างหลังก็ไม่ทัน ต่างคนต่างมีทิฏฐิมีมานะ เข้าหากันแล้วมันก็อยู่ด้วยกันก็ลำบาก ก็พยายาม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน บางทีคนภายหน้า ข้างหน้าก็ไปบิณฑบาตได้ พวกญาติโยมเขาก็ใส่ข้าวปลาอาหาร ใส่ขนมนมเนย คนข้างหลังก็ได้แต่ข้าว เวลากลับมาวัดก็ว่าตัวเองบิณฑบาตได้แล้วก็ไม่เอาออกแบ่ง ไม่เอาให้ส่วนรวม ก็เก็บเอาไว้ว่าของตัวเอง ตัวเองบิณฯ ได้ อย่างนั้นก็เจอกันมาเยอะ คนข้างหลังจะได้อยู่ได้ทานอะไร เราก็ต้องหัดพิจารณา อยู่ตลอดเวลาทุกเรื่อง
เหมือนกับอยู่วัดนี่เป็นบ้านใหญ่เลยทีเดียว เหมือนกับพ่อแม่เลี้ยงลูก ลูกทุกคนเป็นอย่างไร ก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ เหมือนกันหมด กลัวลูกจะลำบาก กลัวอดกลัวอยาก พ่อแม่ก็ทำให้ ทำให้ทุกอย่าง ลูกบางคนก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง บางคนก็เกเร บางคนก็ไม่เกเร บางคนก็มีความรับผิดชอบ บางคนก็มีความเสียสละ บางคนก็เกียจคร้าน ก็มาแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราเสีย เพียงแค่ระดับของสมมติก็ขยันหมั่นเพียรให้มันได้เสียก่อนเถอะ มีความรับผิดชอบให้ได้เสียก่อนเถอะ ก็จะเข้าถึงทรัพย์ตัวใน ความสะอาดความบริสุทธิ์
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกัน หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราละไม่ได้เด็ดขาด เราแยกรูปแยกนามไม่ได้ เราก็ให้รู้จักวิธีการเจริญสติ หรือว่าการสร้างความรู้ตัว ลองนั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ อย่าไปเกร็งร่างกาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เวลาเราสูดลมหายใจเข้าหายใจออก สัมผัสของลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา ความรู้สึกตัวตรงนั้นแหละ เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องเวลาลมวิ่งเข้า เวลาลมวิ่งออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เราอย่าพากันมองข้ามในสิ่งพวกนี้ เราพยายามฝึกบ่อยๆ ให้เกิดความเคยชิน
ถ้าเรามีความรู้ตัวต่อเนื่อง เราก็จะรู้ลักษณะของใจที่ปกติ รู้ลักษณะของใจเวลาที่เขาก่อตัว รู้อาการของใจเวลาเขาเกิด เขาปรุงเขาแต่ง เขาส่งออกไปภายนอก เราจะเห็นเป็น 2 ส่วน ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ เขาเรียกว่า ‘สติ’ ต่อไปข้างหน้าถ้ามีความต่อเนื่อง ถ้าเราเห็นใจ เขาเรียกว่า ‘ปัญญา’ ถ้าใจคลายออกจากอาการของใจอีก หรือว่าใจแยกออกจากความคิดอีก เขาเรียกว่าเห็น รู้ แยกรูปแยกนาม นั่นแหละถึงจะเรียกว่า ‘วิปัสสนา’
ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ ใจเกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักควบคุม รู้จักพิจารณาหาเหตุหาผล รู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากจะปล่อยปละละเลย เพียงแค่การเจริญสติก็ไม่ค่อยจะสนใจทำกันให้ต่อเนื่อง มีแต่เก็บไปนึกเอาไปคิดเอา ปัญญาที่เกิดจากจิต เกิดจากขันธ์ห้า ปัญญากรรม ซึ่งเขาหลงมาตั้งนาน เพียงแค่การเกิดของใจ ถ้าไม่เกิดก็ถ้าไม่หลงเขาไม่เกิดเราพยายามหัดเจริญสติเข้าไปเกิดแทน เข้าไปทำหน้าที่แทน เข้าไปหาเหตุหาผล หมั่นพร่ำสอนใจของเราให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด โลกธรรม รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในความคิด ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
ถ้าใจของเรารู้ความเป็นจริงแล้ว การเกิดเป็นทุกข์เขาไม่เกิดหรอก การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา จะเอา จะมี จะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา การพูดง่าย แต่การลงมือ การทำความเข้าใจ การหมั่นอบรมใจ ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีทิฐิ หรือว่ามีมานะ เราก็พยายามแก้ไขจากจุดน้อยๆ นั่นแหละ ก็จะมากขึ้นๆ จนกำลังสติปัญญาของเราเป็นเลิศ ในการดูแลใจ สติปัญญาสมาธิเขาก็จะรักษาเราเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็จะอยู่กับบุญ ใจก็เป็นบุญ กายก็เป็นบุญ ได้มากได้น้อยก็ต้องพยายามทำ
ยิ่งพระเราต้องพยายามขยันหมั่นเพียรทั้งพระ ทั้งชี ทั้งฆราวาสญาติโยม ก็มีกายเนื้อ มีรูปมีนาม มีจิตมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง ไม่ได้เสียเปรียบอะไรกันมากมาย อาจจะเสียเปรียบกันบ้าง ตั้งแต่กาลเวลา วิบากของกรรมสร้างมาไม่เหมือนกัน บางคนก็สร้างมาดี บางคนก็อาจจะสร้างมาน้อย สมมติอาจจะลำบาก บางคนสมมติก็ไม่ได้ลำบาก บางคนก็เกิดมาในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีการงานชอบ ไม่ได้ลำบาก เพราะว่าสร้างบุญมาดี บางคนก็ลำบาก แต่ก็ขนาดได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่ามีบุญ พยายามหมั่นสร้าง หมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นทำความเข้าใจ ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น
สมมติเราอาศัยกันได้ เราช่วยเหลือกันได้ แต่การเจริญสติ การละกิเลส การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ เราเข้าใจแล้ว ดำเนินได้แล้ว เราก็ดำเนินชีวิตของเราอย่างมีความสุขจนกว่าธาตุขันธ์ของเราจะแตกจะดับนั่นแหละ เพราะว่าทุกคนเกิดมาก็อยู่ใต้กฎอันเดียวกัน คือ กฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะว่าความตายรอเราอยู่ทุกคน
ถ้าพูดถึงเรื่องความตายแล้วอย่าไปกลัว เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ ธรรมชาติของทุกคน ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย ไม่ถึงเวลาก็ไม่ได้ไป ถ้าถึงเวลาแล้วจะฉุดรั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่ ยังไม่ถึงเวลา เราก็พยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศล สร้างคุณงามความดี คอยสร้างสะสมบุญ บุคคลที่มีบุญ บุคคลที่ใจเป็นบุญ จะไม่ทิ้งบุญ จะสร้างบุญ สร้างมากสร้างน้อยก็พยายามสร้างไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดหมาย
บุญนั้นแหละเป็นพื้นฐานของการเดินปัญญา ของการละกิเลสได้เป็นอย่างดี จิตใจของเราไม่มีความทะเยอทะยานอยาก มีแต่ความอิ่มความเต็ม ถ้าบุญของเราเต็มเมื่อไหร่แล้ว เราก็จะรู้ ถ้ายังไม่เต็มก็ยังต้องสร้าง ต้องฝักใฝ่ ต้องสนใจ บุญภายนอกบุญภายใน ไปอยู่ที่ไหนก็มีความสุข อย่าไปทิ้งบุญ อย่าไปทิ้งวัด อย่าไปทิ้งพระ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ