หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 12 วันที่ 5 ตุลาคม 2559
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 12 วันที่ 5 ตุลาคม 2559
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 12
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 5 ตุลาคม 2560
มีความสุขกันทุกคน แต่ละวันๆ ก็ให้รู้จักสำรวมตัวเอง สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะพิจารณา อะไรสมควรหรือไม่สมควร เราเข้ามาอยู่ในเพศในภาวะนี้เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเราให้ดี ถ้าไม่แก้ไขปรับปรุงตัวเรา ไม่มีใครจะแก้ไขปรับปรุงตัวเราได้นอกจากตัวของเรา
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็ยิ่งเพิ่มความสมัครสมานสามัคคี มีความเสียสละ มีความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน อยู่กันคนละทิศละที่ละทางมาอยู่รวมกันก็ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่ามาทะเลาะเบาะแว้งกัน กูดีมึงดี ทุกคนก็ปรารถนาหาหนทางดับทุกข์ หาหนทางดับทุกข์หาหนทางหลุดพ้น ก็มาแก้ไขตัวเรา ผิดพลาดแก้ไขใหม่ มีอยู่ที่ไหนมีอยู่ที่ใครก็ให้รีบแก้ไขตัวเอง ถ้าแก้ไขตัวเราไม่ได้ก็อยู่กับหมู่อยู่กับคณะไม่ได้ จะทำให้หมู่คณะลําบาก ทำให้หมู่คณะวุ่นวาย ไม่มีความสงบ ไม่มีความสุข เราต้องรีบแก้ไขเสีย
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านมาอยู่ร่วมกันก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย รู้จักรักความเป็นระเบียบ ความสะอาดเรียบร้อย คนทั่วไปนี่ชอบความสะอาดแต่รักความสกปรกทิ้งมันเกลื่อนไม่เป็นระเบียบ เราต้องมาแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา ลึกลงไปก็ขยันหมั่นเพียรหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ ใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความปกติ ใจของเรามีความสงบ กายทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไร
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานานเอามาเปิดเผย ทุกคนก็มีบุญถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้สร้างบารมีกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากจะดับทุกข์หลุดพ้นเราก็ปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธองค์ ท่านสอนเรื่องอะไร ท่านสอนเรื่องชีวิต คําว่าชีวิตนี่หมายความว่าอย่างไร ประกอบขึ้นมาด้วยอะไร ก่อนที่จะถึงการดำเนินทางด้านจิตใจ
เรามีศรัทธามีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แล้วก็สร้างอานิสงส์สร้างตบะบารมีให้มีให้เกิดขึ้น เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เรามีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามละความเห็นแก่ตัว เรามีความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามละความทะยานอยาก เรามีความอิจฉาริษยา เราพยายามละความอิจฉาริษยา ละกิเลสที่มีในใจของเราออกให้หมด ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ใจของเราทำไมถึงเกิด ใจของเราทำไมถึงหลง
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดควรทำความเข้าใจอย่างไรเราถึงจะละได้ วิเคราะห์อย่างไรพิจารณาอย่างไร คําสอนของท่านปรากฏอยู่ในใจของเราให้ได้ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทาง คือความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ที่ทำการทำงาน ที่ไร่ที่นา ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ก็ต้องพยายาม
พระเราชีเราก็เหมือนกัน พยายามแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ถ้าแก้ไขปรับปรุงตัวเราไม่ได้เราก็จะแบกทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ สิ่งไหนที่รักมากก็ทำให้เราทุกข์มาก สิ่งไหนที่เกลียดมากก็ทำให้เราทุกข์มาก ไม่รักไม่เกลียด มีแต่พรหมวิหาร มีแต่ความเมตตา อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันก็มีความสุข อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็ช่วยกันทำ ทำทุกอย่างในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือนะ อย่าไปเกร็งร่างกาย นั่งให้สบายๆ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่กระทบปลายจมูกนั่นแหละท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องทั้งลมหายใจเข้าหายใจออกเขาเรียกว่า ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เราพยายามสร้างความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่จนต่อเนื่องกันจาก 1 นาที 2 นาที 3 นาที ไปเป็น 5 นาที 10 นาที จนต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่
ความรู้สึกที่ต่อเนื่องที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อใจเกิดเราก็จะรู้ลักษณะของใจเกิด เมื่ออาการของความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเราก็จะเห็น เห็นการเคลื่อนเข้าไปรวม เห็นการแยกของใจออกจากความคิดซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจก็จะพลิกเหมือนกับพลิกของที่คว่ำ อะไรคือส่วนรูปอะไรคือส่วนนามเราก็จะเห็น เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ใจก็จะว่าง โปร่งโล่ง รับรู้
แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ มีตั้งแต่ปัญญาสมมติปัญญาโลกีย์ที่เกิดจากใจ เกิดจากอาการของใจ บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง บางทีก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะเห็นธรรม อยากจะสร้างคุณงามความดี แต่ใจยังเกิดอยู่
ความเกิดนั่นแหละความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด แล้วก็มา ใจของเรามาหลงสร้างขันธ์ห้าซึ่งมีกายเนื้อคือตัวตนของเรานี่แหละส่วนหนึ่ง ส่วนนามธรรมมีตัวใจตัวหนึ่ง ตัวอาการของใจอีกที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ ถ้าเราแยกแยะได้ตามดูได้ เราถึงจะเห็น ตราบใดที่กําลังสติของเราไม่ต่อเนื่อง ก็ยากที่จะเข้าใจ
ก็ต้องพยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลสร้างบารมีทุกอย่าง ความเสียสละ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเรา มีความซื่อสัตย์ต่อคนอื่น มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี รู้จักสำรวมกาย วาจาใจของตัวเรา รู้จักทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก รู้จักทำความเข้าใจกับศีล ศีลสมมติเป็นอย่างไร ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร ศีลสังคม ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาฏิโมกข์หมายความว่าอย่างไร
เราต้องพยายามน้อมใจของเราเข้ามาในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาป แล้วก็เจริญสติ หัดวิเคราะห์หัดสังเกตตามแนวทางของพระพุทธองค์จนปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ใจเกิดความโลภ เราพยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร เราต้องเป็นคนหัดวิเคราะห์หัดสังเกต หัดสร้างความรู้ตัว เอาเจริญสติไปใช้ เจริญสติ สร้างสติ แต่ไม่รู้จักลักษณะของสติ ไม่รู้จักลักษณะของสติที่จะเอาไปใช้ มันก็เข้าไม่ถึงความหมายนั้นๆ เราก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ให้อภัยตัวเองอยู่ตลอดเวลา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเกิดขึ้นที่ใจของเรามีกันหมดทุกคนนั่นแหละไม่ใช่ว่าไม่มี เพราะว่าใจมันหลงมานาน เรามาคลายมาแยกแยะ มาขัดเกลา มาเอาออกจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ ปัญญาทางโลกมีทั้งร้อยเราต้องคลายออกทั้งร้อยให้เหลืออยู่ที่ความบริสุทธิ์ หนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนให้เต็มเปี่ยมเหมือนเดิม ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ใกล้อยู่ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ภายในประโยชน์ภายนอก ประโยชน์ภายในคือความบริสุทธิ์ของใจเราต้องทำให้มีให้เกิดขึ้น จะได้ทั้งทรัพย์ภายในก็ได้ ทรัพย์ภายนอกก็ได้ เรามีโอกาส เราได้ทำมากก็เป็นของเราทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุเราก็มีส่วนร่วม อย่าไปอคติ อย่าไปเพ่งโทษ อย่าไปมองโลกในแง่ร้าย อกุศลจะเกิดขึ้นกับใจของเรา ให้มองโลกในทางที่ดี คิดดี แล้วการกระทำของเราให้ถึงพร้อม สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าถึงฐานความบริสุทธิ์ของใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามพากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 5 ตุลาคม 2560
มีความสุขกันทุกคน แต่ละวันๆ ก็ให้รู้จักสำรวมตัวเอง สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะพิจารณา อะไรสมควรหรือไม่สมควร เราเข้ามาอยู่ในเพศในภาวะนี้เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเราให้ดี ถ้าไม่แก้ไขปรับปรุงตัวเรา ไม่มีใครจะแก้ไขปรับปรุงตัวเราได้นอกจากตัวของเรา
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็ยิ่งเพิ่มความสมัครสมานสามัคคี มีความเสียสละ มีความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน อยู่กันคนละทิศละที่ละทางมาอยู่รวมกันก็ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่ามาทะเลาะเบาะแว้งกัน กูดีมึงดี ทุกคนก็ปรารถนาหาหนทางดับทุกข์ หาหนทางดับทุกข์หาหนทางหลุดพ้น ก็มาแก้ไขตัวเรา ผิดพลาดแก้ไขใหม่ มีอยู่ที่ไหนมีอยู่ที่ใครก็ให้รีบแก้ไขตัวเอง ถ้าแก้ไขตัวเราไม่ได้ก็อยู่กับหมู่อยู่กับคณะไม่ได้ จะทำให้หมู่คณะลําบาก ทำให้หมู่คณะวุ่นวาย ไม่มีความสงบ ไม่มีความสุข เราต้องรีบแก้ไขเสีย
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านมาอยู่ร่วมกันก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย รู้จักรักความเป็นระเบียบ ความสะอาดเรียบร้อย คนทั่วไปนี่ชอบความสะอาดแต่รักความสกปรกทิ้งมันเกลื่อนไม่เป็นระเบียบ เราต้องมาแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา ลึกลงไปก็ขยันหมั่นเพียรหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ ใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความปกติ ใจของเรามีความสงบ กายทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไร
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานานเอามาเปิดเผย ทุกคนก็มีบุญถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้สร้างบารมีกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากจะดับทุกข์หลุดพ้นเราก็ปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธองค์ ท่านสอนเรื่องอะไร ท่านสอนเรื่องชีวิต คําว่าชีวิตนี่หมายความว่าอย่างไร ประกอบขึ้นมาด้วยอะไร ก่อนที่จะถึงการดำเนินทางด้านจิตใจ
เรามีศรัทธามีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แล้วก็สร้างอานิสงส์สร้างตบะบารมีให้มีให้เกิดขึ้น เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เรามีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามละความเห็นแก่ตัว เรามีความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามละความทะยานอยาก เรามีความอิจฉาริษยา เราพยายามละความอิจฉาริษยา ละกิเลสที่มีในใจของเราออกให้หมด ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ใจของเราทำไมถึงเกิด ใจของเราทำไมถึงหลง
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดควรทำความเข้าใจอย่างไรเราถึงจะละได้ วิเคราะห์อย่างไรพิจารณาอย่างไร คําสอนของท่านปรากฏอยู่ในใจของเราให้ได้ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทาง คือความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ที่ทำการทำงาน ที่ไร่ที่นา ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออกมีคุณค่ามากมายมหาศาล อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ก็ต้องพยายาม
พระเราชีเราก็เหมือนกัน พยายามแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ถ้าแก้ไขปรับปรุงตัวเราไม่ได้เราก็จะแบกทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ สิ่งไหนที่รักมากก็ทำให้เราทุกข์มาก สิ่งไหนที่เกลียดมากก็ทำให้เราทุกข์มาก ไม่รักไม่เกลียด มีแต่พรหมวิหาร มีแต่ความเมตตา อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันก็มีความสุข อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็ช่วยกันทำ ทำทุกอย่างในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือนะ อย่าไปเกร็งร่างกาย นั่งให้สบายๆ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่กระทบปลายจมูกนั่นแหละท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องทั้งลมหายใจเข้าหายใจออกเขาเรียกว่า ‘สติสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เราพยายามสร้างความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่จนต่อเนื่องกันจาก 1 นาที 2 นาที 3 นาที ไปเป็น 5 นาที 10 นาที จนต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่
ความรู้สึกที่ต่อเนื่องที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อใจเกิดเราก็จะรู้ลักษณะของใจเกิด เมื่ออาการของความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเราก็จะเห็น เห็นการเคลื่อนเข้าไปรวม เห็นการแยกของใจออกจากความคิดซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจก็จะพลิกเหมือนกับพลิกของที่คว่ำ อะไรคือส่วนรูปอะไรคือส่วนนามเราก็จะเห็น เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ใจก็จะว่าง โปร่งโล่ง รับรู้
แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ มีตั้งแต่ปัญญาสมมติปัญญาโลกีย์ที่เกิดจากใจ เกิดจากอาการของใจ บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง บางทีก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะเห็นธรรม อยากจะสร้างคุณงามความดี แต่ใจยังเกิดอยู่
ความเกิดนั่นแหละความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด แล้วก็มา ใจของเรามาหลงสร้างขันธ์ห้าซึ่งมีกายเนื้อคือตัวตนของเรานี่แหละส่วนหนึ่ง ส่วนนามธรรมมีตัวใจตัวหนึ่ง ตัวอาการของใจอีกที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ ถ้าเราแยกแยะได้ตามดูได้ เราถึงจะเห็น ตราบใดที่กําลังสติของเราไม่ต่อเนื่อง ก็ยากที่จะเข้าใจ
ก็ต้องพยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลสร้างบารมีทุกอย่าง ความเสียสละ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเรา มีความซื่อสัตย์ต่อคนอื่น มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี รู้จักสำรวมกาย วาจาใจของตัวเรา รู้จักทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก รู้จักทำความเข้าใจกับศีล ศีลสมมติเป็นอย่างไร ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร ศีลสังคม ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาฏิโมกข์หมายความว่าอย่างไร
เราต้องพยายามน้อมใจของเราเข้ามาในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาป แล้วก็เจริญสติ หัดวิเคราะห์หัดสังเกตตามแนวทางของพระพุทธองค์จนปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ใจเกิดความโลภ เราพยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร เราต้องเป็นคนหัดวิเคราะห์หัดสังเกต หัดสร้างความรู้ตัว เอาเจริญสติไปใช้ เจริญสติ สร้างสติ แต่ไม่รู้จักลักษณะของสติ ไม่รู้จักลักษณะของสติที่จะเอาไปใช้ มันก็เข้าไม่ถึงความหมายนั้นๆ เราก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ให้อภัยตัวเองอยู่ตลอดเวลา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเกิดขึ้นที่ใจของเรามีกันหมดทุกคนนั่นแหละไม่ใช่ว่าไม่มี เพราะว่าใจมันหลงมานาน เรามาคลายมาแยกแยะ มาขัดเกลา มาเอาออกจนเข้าถึงความบริสุทธิ์ ปัญญาทางโลกมีทั้งร้อยเราต้องคลายออกทั้งร้อยให้เหลืออยู่ที่ความบริสุทธิ์ หนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนให้เต็มเปี่ยมเหมือนเดิม ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ใกล้อยู่ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ภายในประโยชน์ภายนอก ประโยชน์ภายในคือความบริสุทธิ์ของใจเราต้องทำให้มีให้เกิดขึ้น จะได้ทั้งทรัพย์ภายในก็ได้ ทรัพย์ภายนอกก็ได้ เรามีโอกาส เราได้ทำมากก็เป็นของเราทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุเราก็มีส่วนร่วม อย่าไปอคติ อย่าไปเพ่งโทษ อย่าไปมองโลกในแง่ร้าย อกุศลจะเกิดขึ้นกับใจของเรา ให้มองโลกในทางที่ดี คิดดี แล้วการกระทำของเราให้ถึงพร้อม สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าถึงฐานความบริสุทธิ์ของใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามพากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ