
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 78 วันที่ 20 กันยายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 78 วันที่ 20 กันยายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 78
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 กันยายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุด ความสงบความตั้งมั่นของใจก็จะเกิดขึ้น ความรู้สึกรับรู้ของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าเวลาลมหายใจออกเขาเรียกว่า ปัจจุบันธรรม พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนเกิดความเคยชินจนรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าหรือว่าความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ส่วนกองรูปก็คือร่างกายของเรา ส่วนกองนามคือตัวใจ อาการของใจมีอยู่ 4 ส่วน รวมกับกองรูปเป็น 5 ส่วนที่ท่านเรียกว่า ขันธ์ห้า เราพยายามสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้าส่วนนามธรรมซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับการหงายของที่คว่ำ กายของเราก็จะเบา ใจของเราก็จะว่าง เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าชัดเจน เขาเรียกว่า รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความเกิดขึ้น ความไม่เที่ยง ความดับไป ความสลาย อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
พยายามหัดสร้างความรู้ตัว ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอตื่นขึ้นเราก็สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา แล้วก็รู้ให้ต่อเนื่องจนรู้จนเห็นลักษณะของใจ รู้การเกิดการดับ รู้การแยกรู้การคลาย ตามดูรู้หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็น ไม่ใช่ไปนึกเอาไปคิดเอาว่าจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับรู้จักหยุด รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงฐานการเกิดของใจ
ดับความเกิดของใจ คลายความหลงเสียก่อน ความหลงคือคลาย แยกรูปแยกนาม เพียงแค่เริ่มต้น เริ่มต้นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกด้วยปัญญา ทีนี้เราก็ตามเห็นการเกิดการดับ เข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ เข้าใจในเรื่องหลักของอริยสัจ เข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเรา ตามดูรู้แจ้งเห็นจริงว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง
การทำบุญให้ทานนั้นก็อยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในระดับของสัมมาทิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิยังเดินปัญญาไม่ได้ ถ้าจะเดินปัญญาได้ก็กําลังสติต้องต่อเนื่อง ใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนามหงายขึ้นมาได้เมื่อไร อันนี้เพียงแค่เริ่มเห็นถูกเริ่มต้น ทีนี้ถ้าเราขาดการตามทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่อง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม อย่าปิดกั้นตัวเอง อย่าปิดกั้นตัวเรา ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีอัตตาเหมือนกันหมด ก็จงพยายามหัดวิเคราะห์หัดพิจารณาตามแนวทางของพระพุทธองค์ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าถึง เข้าถึงทำความเข้าใจได้ มองเห็นหนทางเดินได้ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามทำ
เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็ขาดการสนใจกัน ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร เวลาจะหายใจทีก็อึดอัด กายก็อึดอัด ใจก็อึดอัด เพราะว่าความไม่เคยชิน ความเคยชินเก่าๆ ที่ใจของเราเกิดขันธ์ห้ากับใจ กับสติปัญญารวมกันเป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อน พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เจริญสติ สร้างความรู้ตัว แล้วก็รู้กาย แล้วก็รู้ใจ จนรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักละจนมองเห็นหนทางเดิน ท่านถึงบอกให้เชื่อรู้ด้วยเห็นด้วย ไม่ใช่ว่าไปนึก ว่าจะเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ ดูเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเราให้ได้ ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ไม่มีใครจะสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
แนวทางนั้นคําสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน พวกเราจงพยายามน้อมเข้ามาใส่กายใส่ใจของเรา การละกิเลสเป็นอย่างนี้ การละความโลภความโกรธเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ สติปัญญาเอาไปใช้เป็นอย่างนี้ มันจะมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง กายเนื้อเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เราก็ต้องพยายามศึกษาค้นคว้า
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้าในร่างกายของเรา แล้วก็รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ กายของเรานี้แหละก้อนสมมติ ทุกคนเกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรามาหลงมายึด ถ้าเรารู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง มองเห็นความเป็นจริง เราก็จะปล่อยก็จะวางได้ แล้วก็จะดูแลรักษาธาตุขันธ์ของเราไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ
หมดลมหายใจก็มีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ถ้าใครปล่อยวางไม่ได้ ก็ขอให้ใจของเราอยู่ในกองบุญเอาไว้ หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์ ใจของเราก็จะได้เบาบางจากกิเลสลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะละกิเลสได้หมด ดับความเกิดได้หมดจด มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
ทั้งพระทั้งโยมทั้งชีก็ต้องพยายามกัน เพราะว่าทุกคนก็เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด ถึงวาระเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากการตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ให้เราทำความเข้าใจให้ได้ ขณะที่เรายังมีกําลังกาย กําลังใจอยู่ ถ้าหมดกําลังกายไปก็เป็นเรื่องของบุญกับบาปเท่านั้น
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 กันยายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุด ความสงบความตั้งมั่นของใจก็จะเกิดขึ้น ความรู้สึกรับรู้ของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าเวลาลมหายใจออกเขาเรียกว่า ปัจจุบันธรรม พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนเกิดความเคยชินจนรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าหรือว่าความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ส่วนกองรูปก็คือร่างกายของเรา ส่วนกองนามคือตัวใจ อาการของใจมีอยู่ 4 ส่วน รวมกับกองรูปเป็น 5 ส่วนที่ท่านเรียกว่า ขันธ์ห้า เราพยายามสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้าส่วนนามธรรมซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับการหงายของที่คว่ำ กายของเราก็จะเบา ใจของเราก็จะว่าง เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าชัดเจน เขาเรียกว่า รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความเกิดขึ้น ความไม่เที่ยง ความดับไป ความสลาย อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
พยายามหัดสร้างความรู้ตัว ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอตื่นขึ้นเราก็สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา แล้วก็รู้ให้ต่อเนื่องจนรู้จนเห็นลักษณะของใจ รู้การเกิดการดับ รู้การแยกรู้การคลาย ตามดูรู้หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็น ไม่ใช่ไปนึกเอาไปคิดเอาว่าจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับรู้จักหยุด รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงฐานการเกิดของใจ
ดับความเกิดของใจ คลายความหลงเสียก่อน ความหลงคือคลาย แยกรูปแยกนาม เพียงแค่เริ่มต้น เริ่มต้นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกด้วยปัญญา ทีนี้เราก็ตามเห็นการเกิดการดับ เข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ เข้าใจในเรื่องหลักของอริยสัจ เข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าของเรา ตามดูรู้แจ้งเห็นจริงว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง
การทำบุญให้ทานนั้นก็อยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในระดับของสัมมาทิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิยังเดินปัญญาไม่ได้ ถ้าจะเดินปัญญาได้ก็กําลังสติต้องต่อเนื่อง ใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนามหงายขึ้นมาได้เมื่อไร อันนี้เพียงแค่เริ่มเห็นถูกเริ่มต้น ทีนี้ถ้าเราขาดการตามทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่อง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม อย่าปิดกั้นตัวเอง อย่าปิดกั้นตัวเรา ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีอัตตาเหมือนกันหมด ก็จงพยายามหัดวิเคราะห์หัดพิจารณาตามแนวทางของพระพุทธองค์ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าถึง เข้าถึงทำความเข้าใจได้ มองเห็นหนทางเดินได้ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามทำ
เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็ขาดการสนใจกัน ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร เวลาจะหายใจทีก็อึดอัด กายก็อึดอัด ใจก็อึดอัด เพราะว่าความไม่เคยชิน ความเคยชินเก่าๆ ที่ใจของเราเกิดขันธ์ห้ากับใจ กับสติปัญญารวมกันเป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อน พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เจริญสติ สร้างความรู้ตัว แล้วก็รู้กาย แล้วก็รู้ใจ จนรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักละจนมองเห็นหนทางเดิน ท่านถึงบอกให้เชื่อรู้ด้วยเห็นด้วย ไม่ใช่ว่าไปนึก ว่าจะเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ ดูเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเราให้ได้ ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ไม่มีใครจะสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
แนวทางนั้นคําสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน พวกเราจงพยายามน้อมเข้ามาใส่กายใส่ใจของเรา การละกิเลสเป็นอย่างนี้ การละความโลภความโกรธเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ สติปัญญาเอาไปใช้เป็นอย่างนี้ มันจะมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง กายเนื้อเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เราก็ต้องพยายามศึกษาค้นคว้า
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้าในร่างกายของเรา แล้วก็รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ กายของเรานี้แหละก้อนสมมติ ทุกคนเกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรามาหลงมายึด ถ้าเรารู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง มองเห็นความเป็นจริง เราก็จะปล่อยก็จะวางได้ แล้วก็จะดูแลรักษาธาตุขันธ์ของเราไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ
หมดลมหายใจก็มีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ถ้าใครปล่อยวางไม่ได้ ก็ขอให้ใจของเราอยู่ในกองบุญเอาไว้ หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์ ใจของเราก็จะได้เบาบางจากกิเลสลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะละกิเลสได้หมด ดับความเกิดได้หมดจด มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
ทั้งพระทั้งโยมทั้งชีก็ต้องพยายามกัน เพราะว่าทุกคนก็เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด ถึงวาระเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากการตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ให้เราทำความเข้าใจให้ได้ ขณะที่เรายังมีกําลังกาย กําลังใจอยู่ ถ้าหมดกําลังกายไปก็เป็นเรื่องของบุญกับบาปเท่านั้น
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ