
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 58 วันที่ 19 มิถุนายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 58 วันที่ 19 มิถุนายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 58
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะคลายลงไป หยุดเหลือตั้งแต่ความปกติความสงบของใจ ถ้าใจคิดไปเรื่องอื่นเราก็พยายามกระตุ้นความรู้สึกแรงๆ
ความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่องนั่นแหละท่านเรียกว่า สติสัมปชัญญะ เราพยายามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ตื่น พอรู้ตัวปุ๊บเราก็รู้ความปกติ รู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออก เวลาจะลุกจะก้าวจะเดินเข้าห้องส้วมห้องน้ำ เราก็รู้ตัว สติที่เราสร้างขึ้นมา หรือว่าส่วนปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ ทำนู่นทำนี่ แต่ส่วนมากตัวใจจะบงการรวมร่วมกับอาการของขันธ์ห้า ร่วมกับคลื่นของสมอง ถ้าเรามาเจริญสติส่วนสมองของเรา ระลึกรู้ไปบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ อบรมใจของเราบ่อยๆ ทำไมใจถึงเกิด ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาหลงมาสร้างภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกันเขาเอาไว้ ซึ่งตัวใจก็อาศัยอยู่ในขันธ์ห้า อาศัยอยู่ในกายของเราเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
ส่วนรูปก็คือส่วนร่างกาย ส่วนนามธรรมคือตัวใจ หัวใจกับอาการของใจ ใจกับอาการของใจนี่รวมกัน ก็เลยเกิดอัตตารวมร่วมไปหมด ถ้าเรามาเจริญสติหมั่นสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ปรับสภาพใจของเราบ่อยๆ ใจของเราเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความที่โกรธ เราก็พยายามดับความโกรธให้อภัยอโหสิกรรม ใจเกิดไม่มีความเป็นระเบียบ ใจเกิดความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความพยายามหมั่นเพียร ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุผลทางด้านนามธรรมก็คือส่วนความคิดของเรา เหตุผลทางด้านรูปธรรมก็คือร่างกายของเรา เหตุผลทางโลกก็คือโลกธรรมแปด ปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว
เราต้องหัดวิเคราะห์ หัดสังเกตบ่อยๆ จนเห็นอาการเกิดของใจ เห็นอาการเข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ถ้าเรารู้ทันขณะที่เขาเคลื่อนเข้าไปรวม ใจก็จะแยกออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เห็นอาการแยกคลาย แล้วก็ใจก็ว่างรับรู้อยู่ สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาก็ตามดูเห็นความเกิดความดับตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ นั่นแหละคือความเห็นถูกของพระพุทธเจ้า เห็นถูกแล้วก็ทำความเข้าใจ เข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ตามดูได้ด้วย แล้วก็หมั่นขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา ใจของเราเบาบางจากกิเลสก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง กิเลสตัวไหนที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา ความยินดียินร้าย ความโลภความโกรธ ถ้าเราคลายความหลง แยกรูปแยกนามได้เราก็จะเห็น เห็นตามคําสอนของพระพุทธองค์ ใจส่งไปภายนอกก็เข้าสู่หลักของอริยสัจความจริง ความจริงส่วนนามธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ ความจริงของสมมติเป็นลักษณะอย่างนี้
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา พยายามศึกษาบ่อยๆ หัดสังเกตบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ส่วนการศึกษาเล่าเรียนระดับสมมตินั้นก็เป็นปัญญาของสมมติเพื่อที่จะยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ เราพลิกปัญญาโลกให้เป็นปัญญาธรรม ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้ ท่านเรียกว่า ตกกระแสธรรม
ถ้ากําลังสติของเราไม่ตามดูรู้เหตุรู้ผลทุกเรื่องเขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม เราต้องพยายาม พยายามสร้างตบะสร้างบารมี เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละขัดเกลากิเลสได้หมดจดหรือเปล่า ทำความเข้าใจกับภาษาโลก ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม
ภาษาธรรมคือใจที่เราคลายจากขันธ์ห้า ใจที่ละกิเลส ใจที่สะอาดบริสุทธิ์เป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจรับรู้ ใจเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามหลักของความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าเชื่อแบบงมงาย บางคนบางท่านก็พยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะว่าบางทีจิตใจก็เป็นบุญอยู่ จิตใจก็สงบอยู่
เพียงแค่เราสังเกตดูรู้ให้ทัน จนกว่าใจของเราจะแยกออกจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ไปศึกษาธรรมะศึกษานอกกายไม่เจอเด็ดขาด ต้องศึกษาในกายของเรา กายของเรานี่เปรียบเสมือนกับสนามรบ แต่ละวันๆ ใจเกิดสักกี่เที่ยว เหตุจากภายนอกมาทำให้ใจเกิด หรือเกิดจากภายใน เหตุจากอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เราก็อาจจะควบคุมใจของเราได้เป็นบางเรื่อง บางครั้งบางคราว เราอาจจะขัดเกลากิเลสของเราได้
แต่กิเลสมันก็มีหลายชั้น ชั้นละเอียดสุดพวกมลทินพวกนิวรณ์ธรรมต่างๆ และก็ความเกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เราจงพยายามเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ปรับสภาพความสมดุลภายในของเราใจของเราที่ปกติวางว่างจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ว่างจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นสมาธิเป็นอย่างนี้ ใจที่สงบสุข สงบสุขได้ยาวนานหรือไม่ เราก็พยายามแก้ไขหนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง จนอยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ ส่วนใจนั้นก็อยู่ในวิหารธรรม คือความว่างความบริสุทธิ์
การพูดง่ายด้วยการลงมือต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเพียรให้ถึงจุดหมายปลายทาง มีความเพียรที่มีความเห็นถูกคือใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าให้ได้เสียก่อน แล้วก็ตามดูตามรู้ตามเห็น เพียงแค่แยกแยะได้นั้นยังไม่เพียงพอ เราต้องตามค้นคว้าหมดทุกอย่าง คลายกิเลส ดับความเกิดออกจากใจของเรา ต้องอาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยความเพียรที่ถูกต้องก็จะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ประกาศด้วยตนเอง ไม่ต้องให้คนอื่นเขาประกาศ ใจของเราขณะนี้เป็นอย่างไร ใจของเราสะอาด ใจของเราบริสุทธิ์ ใจของเราดับความเกิดได้ ก็จะเข้าสู่ความปกติ ความสุข มองเห็นหนทางทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราพยายามทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องง่ายให้ง่ายลงไปอีก ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม คําว่า ว่าง ความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากขันธ์ห้า ว่างจากกิเลส อยู่ในวิหารธรรมอยู่ในเครื่องอยู่ คือนิพพานนั่นแหละ เราต้องทำให้ปรากฏที่ใจของเรา
ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ แก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่ อะไรที่จะเป็นบุญเป็นบารมีเราก็พยายามสร้างพยายามทำ น้อมระลึกนึกถึงคุณงามความดี ระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ระลึกนึกถึงบุญกุศลที่เราได้สร้างมาทำมา แล้วก็ดำเนินให้มันถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงจุดหมายวันนี้ก็ต้องพรุ่งนี้ ไม่พรุ่งนี้ก็มะรืนนี้ เดือนหน้าปีหน้า ไม่ถึงจริงๆ จะไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ เพราะวันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนหน้ามี ปีหน้ามีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี พระพุทธเจ้ามี
ถ้าเราฝึกหัดปฏิบัติตามทางของท่าน ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา เราก็จะระลึกนึกถึงคุณของท่านว่า ท่านยังเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็มาค้นพบสัจธรรมตรงนี้ ถึงท่านไม่เกิดธรรมะก็มีอยู่แล้ว แต่เราขาดการค้นคว้าขาดการทำความเข้าใจที่ถูกทางก็เลยห่างไกล เราก็ต้องพยายามกันนะ พยายามทำกัน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับนอนโน่นแหละ จนกระทั่งวันหมดลมหายใจ อย่าไปทิ้งบุญ พยายามทำบุญ พยายามให้ทาน ทานทั้งภายนอก ทานทั้งภายใน ทานภายนอกก็ส่งผลถึงภายในให้จิตใจของเราเบาบางลงไป เราพยายามมองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อยู่กลางโรงหนัง กลางตลาด ใจของเราต้องอยู่ในความบริสุทธิ์ สติปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ กายของเรานี่ทำหน้าที่อย่างไร เราต้องพยายามศึกษา
ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นอย่างไร รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสต่างๆ ที่ผ่านมาทางทวารทั้งหก จิตใจของเราเกิดความยินดียินร้ายไหม ถ้าใจจะเกิดเราก็พยายามดับการก่อตัวนั่นแหละ การก่อตัวของใจมันก็ส่งออกไปเป็นเรื่องเป็นราวยาวออกไปเหมือนกับสายว่าว เราพยายามดับหรือพยายามฉุดดึงรั้งลงมาเรื่อยๆ ใจก็จะสั้นลงๆๆๆ แล้วก็ดับตรงใจที่ก่อตัวก็จะเข้าถึงตัวใจ แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงขันธ์ห้าด้วย ทั้งเป็นทาสของกิเลสด้วย รวมผสมผสานกันไป กว่าจะขัดเกลาได้ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร ดำเนินให้ถูกที่ถูกทาง มันไม่เหลือวิสัยหรอกก็ต้องพยายาม ตนเป็นที่พึ่งของตน หมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง บุญสมมติเราก็พยายามทำ โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าที่ไหนเรามีโอกาสทำ เรามีความพร้อมเราก็ได้ทำ การเริ่มต้นมีความสำเร็จย่อมจะมี
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะคลายลงไป หยุดเหลือตั้งแต่ความปกติความสงบของใจ ถ้าใจคิดไปเรื่องอื่นเราก็พยายามกระตุ้นความรู้สึกแรงๆ
ความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่องนั่นแหละท่านเรียกว่า สติสัมปชัญญะ เราพยายามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ตื่น พอรู้ตัวปุ๊บเราก็รู้ความปกติ รู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออก เวลาจะลุกจะก้าวจะเดินเข้าห้องส้วมห้องน้ำ เราก็รู้ตัว สติที่เราสร้างขึ้นมา หรือว่าส่วนปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ ทำนู่นทำนี่ แต่ส่วนมากตัวใจจะบงการรวมร่วมกับอาการของขันธ์ห้า ร่วมกับคลื่นของสมอง ถ้าเรามาเจริญสติส่วนสมองของเรา ระลึกรู้ไปบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ อบรมใจของเราบ่อยๆ ทำไมใจถึงเกิด ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันลุ่มลึก ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาหลงมาสร้างภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกันเขาเอาไว้ ซึ่งตัวใจก็อาศัยอยู่ในขันธ์ห้า อาศัยอยู่ในกายของเราเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
ส่วนรูปก็คือส่วนร่างกาย ส่วนนามธรรมคือตัวใจ หัวใจกับอาการของใจ ใจกับอาการของใจนี่รวมกัน ก็เลยเกิดอัตตารวมร่วมไปหมด ถ้าเรามาเจริญสติหมั่นสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ปรับสภาพใจของเราบ่อยๆ ใจของเราเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความที่โกรธ เราก็พยายามดับความโกรธให้อภัยอโหสิกรรม ใจเกิดไม่มีความเป็นระเบียบ ใจเกิดความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความพยายามหมั่นเพียร ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุผลทางด้านนามธรรมก็คือส่วนความคิดของเรา เหตุผลทางด้านรูปธรรมก็คือร่างกายของเรา เหตุผลทางโลกก็คือโลกธรรมแปด ปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว
เราต้องหัดวิเคราะห์ หัดสังเกตบ่อยๆ จนเห็นอาการเกิดของใจ เห็นอาการเข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ถ้าเรารู้ทันขณะที่เขาเคลื่อนเข้าไปรวม ใจก็จะแยกออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เห็นอาการแยกคลาย แล้วก็ใจก็ว่างรับรู้อยู่ สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาก็ตามดูเห็นความเกิดความดับตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ นั่นแหละคือความเห็นถูกของพระพุทธเจ้า เห็นถูกแล้วก็ทำความเข้าใจ เข้าใจในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ตามดูได้ด้วย แล้วก็หมั่นขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา ใจของเราเบาบางจากกิเลสก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง กิเลสตัวไหนที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา ความยินดียินร้าย ความโลภความโกรธ ถ้าเราคลายความหลง แยกรูปแยกนามได้เราก็จะเห็น เห็นตามคําสอนของพระพุทธองค์ ใจส่งไปภายนอกก็เข้าสู่หลักของอริยสัจความจริง ความจริงส่วนนามธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ ความจริงของสมมติเป็นลักษณะอย่างนี้
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา พยายามศึกษาบ่อยๆ หัดสังเกตบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ส่วนการศึกษาเล่าเรียนระดับสมมตินั้นก็เป็นปัญญาของสมมติเพื่อที่จะยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ เราพลิกปัญญาโลกให้เป็นปัญญาธรรม ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้ ท่านเรียกว่า ตกกระแสธรรม
ถ้ากําลังสติของเราไม่ตามดูรู้เหตุรู้ผลทุกเรื่องเขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม เราต้องพยายาม พยายามสร้างตบะสร้างบารมี เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความเสียสละขัดเกลากิเลสได้หมดจดหรือเปล่า ทำความเข้าใจกับภาษาโลก ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม
ภาษาธรรมคือใจที่เราคลายจากขันธ์ห้า ใจที่ละกิเลส ใจที่สะอาดบริสุทธิ์เป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจรับรู้ ใจเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามหลักของความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าเชื่อแบบงมงาย บางคนบางท่านก็พยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะว่าบางทีจิตใจก็เป็นบุญอยู่ จิตใจก็สงบอยู่
เพียงแค่เราสังเกตดูรู้ให้ทัน จนกว่าใจของเราจะแยกออกจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ไปศึกษาธรรมะศึกษานอกกายไม่เจอเด็ดขาด ต้องศึกษาในกายของเรา กายของเรานี่เปรียบเสมือนกับสนามรบ แต่ละวันๆ ใจเกิดสักกี่เที่ยว เหตุจากภายนอกมาทำให้ใจเกิด หรือเกิดจากภายใน เหตุจากอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เราก็อาจจะควบคุมใจของเราได้เป็นบางเรื่อง บางครั้งบางคราว เราอาจจะขัดเกลากิเลสของเราได้
แต่กิเลสมันก็มีหลายชั้น ชั้นละเอียดสุดพวกมลทินพวกนิวรณ์ธรรมต่างๆ และก็ความเกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เราจงพยายามเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ปรับสภาพความสมดุลภายในของเราใจของเราที่ปกติวางว่างจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ว่างจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นสมาธิเป็นอย่างนี้ ใจที่สงบสุข สงบสุขได้ยาวนานหรือไม่ เราก็พยายามแก้ไขหนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง จนอยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ ส่วนใจนั้นก็อยู่ในวิหารธรรม คือความว่างความบริสุทธิ์
การพูดง่ายด้วยการลงมือต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเพียรให้ถึงจุดหมายปลายทาง มีความเพียรที่มีความเห็นถูกคือใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าให้ได้เสียก่อน แล้วก็ตามดูตามรู้ตามเห็น เพียงแค่แยกแยะได้นั้นยังไม่เพียงพอ เราต้องตามค้นคว้าหมดทุกอย่าง คลายกิเลส ดับความเกิดออกจากใจของเรา ต้องอาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยความเพียรที่ถูกต้องก็จะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ประกาศด้วยตนเอง ไม่ต้องให้คนอื่นเขาประกาศ ใจของเราขณะนี้เป็นอย่างไร ใจของเราสะอาด ใจของเราบริสุทธิ์ ใจของเราดับความเกิดได้ ก็จะเข้าสู่ความปกติ ความสุข มองเห็นหนทางทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราพยายามทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องง่ายให้ง่ายลงไปอีก ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม คําว่า ว่าง ความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากขันธ์ห้า ว่างจากกิเลส อยู่ในวิหารธรรมอยู่ในเครื่องอยู่ คือนิพพานนั่นแหละ เราต้องทำให้ปรากฏที่ใจของเรา
ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ แก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่ อะไรที่จะเป็นบุญเป็นบารมีเราก็พยายามสร้างพยายามทำ น้อมระลึกนึกถึงคุณงามความดี ระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ระลึกนึกถึงบุญกุศลที่เราได้สร้างมาทำมา แล้วก็ดำเนินให้มันถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงจุดหมายวันนี้ก็ต้องพรุ่งนี้ ไม่พรุ่งนี้ก็มะรืนนี้ เดือนหน้าปีหน้า ไม่ถึงจริงๆ จะไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ เพราะวันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนหน้ามี ปีหน้ามีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี พระพุทธเจ้ามี
ถ้าเราฝึกหัดปฏิบัติตามทางของท่าน ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา เราก็จะระลึกนึกถึงคุณของท่านว่า ท่านยังเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็มาค้นพบสัจธรรมตรงนี้ ถึงท่านไม่เกิดธรรมะก็มีอยู่แล้ว แต่เราขาดการค้นคว้าขาดการทำความเข้าใจที่ถูกทางก็เลยห่างไกล เราก็ต้องพยายามกันนะ พยายามทำกัน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับนอนโน่นแหละ จนกระทั่งวันหมดลมหายใจ อย่าไปทิ้งบุญ พยายามทำบุญ พยายามให้ทาน ทานทั้งภายนอก ทานทั้งภายใน ทานภายนอกก็ส่งผลถึงภายในให้จิตใจของเราเบาบางลงไป เราพยายามมองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อยู่กลางโรงหนัง กลางตลาด ใจของเราต้องอยู่ในความบริสุทธิ์ สติปัญญาพากายไปให้ใจรับรู้ กายของเรานี่ทำหน้าที่อย่างไร เราต้องพยายามศึกษา
ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นอย่างไร รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสต่างๆ ที่ผ่านมาทางทวารทั้งหก จิตใจของเราเกิดความยินดียินร้ายไหม ถ้าใจจะเกิดเราก็พยายามดับการก่อตัวนั่นแหละ การก่อตัวของใจมันก็ส่งออกไปเป็นเรื่องเป็นราวยาวออกไปเหมือนกับสายว่าว เราพยายามดับหรือพยายามฉุดดึงรั้งลงมาเรื่อยๆ ใจก็จะสั้นลงๆๆๆ แล้วก็ดับตรงใจที่ก่อตัวก็จะเข้าถึงตัวใจ แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงขันธ์ห้าด้วย ทั้งเป็นทาสของกิเลสด้วย รวมผสมผสานกันไป กว่าจะขัดเกลาได้ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร ดำเนินให้ถูกที่ถูกทาง มันไม่เหลือวิสัยหรอกก็ต้องพยายาม ตนเป็นที่พึ่งของตน หมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง บุญสมมติเราก็พยายามทำ โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าที่ไหนเรามีโอกาสทำ เรามีความพร้อมเราก็ได้ทำ การเริ่มต้นมีความสำเร็จย่อมจะมี
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ