หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 16 วันที่ 28 มกราคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 16 วันที่ 28 มกราคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 16
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มกราคม 2560
มีความสุขกันทุกคน เช้านี้อากาศเย็น ลมหนาวเริ่มมาอีกแล้ว ตื่นขึ้นมารีบรู้กายรู้ใจของเราให้ทัน ตั้งแต่ตื่นตั้งแต่เช้าเราได้เจริญสติแล้วหรือยัง รู้จักเอาสติปัญญาไปพิจารณาใจพิจารณากายของตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เป็นประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สูงสุด จนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ เวลาจะขบจะฉันก็พิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรา ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย กายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก เราก็ต้องดูกะประมาณในการขบฉันของเรา
ใจเกิดความอยาก อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา เอาน้อยๆ กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ อาหารยังมาไม่ถึง ตามันมองเห็นอาหาร อันโน้นอันนี้ กูจะเอาอันโน้นเอาอันนี้ ใจมันเป็นตัวสั่ง เราก็พยายามหยุด พยายามดับ ดับความอยากของใจ แล้วก็เอาด้วยปัญญา กะประมาณในการขบฉันของตัวเรา กะประมาณว่าอิ่ม อิ่มพอดี ถ้ามันเกิน ถ้าใจเกิดความอยากเราก็พยายามดับความอยาก ถ้าดับไม่ได้ก็ไม่ต้องเอามัน ให้มันผ่านเลยไป พอผ่านเลยไปแล้ว ใจยังเกิดความอาลัยอาวรณ์อีกหรือไม่ เราก็ต้องดู ไม่ใช่ว่าฉันจะเอาอันโน้นเอาอันนี้ ฉันก็ไม่ทุกข์ มันไม่ใช่
การเกิดของใจนั่นแหละคือความทุกข์ ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอย่างละเอียด ถ้าไม่มีความเกิดใจก็ไม่หลง อันนี้เขาหลงมาเกิด มาเกิดสร้างภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้า ปิดกั้นตัวใจเอาไว้แล้วก็ขณะอยู่ในร่างกายนี้ใจยังเกิดต่อ ตั้งแต่เช้ามาไม่รู้เกิดสักกี่เรื่อง คือความคิดของเรานั่นแหละ ความคิดมันเกิดอย่างไร อาการของขันธ์ห้า มาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไร ใจของเราไปรวมไปร่วมได้อย่างไร
ต้องเป็นคนที่ขยัน ขยันหมั่นเพียร มีทั้งการทำความเข้าใจให้ถูกต้อง รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนามเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราที่จะต้องทำความเข้าใจกับชีวิตของตัวเราเอง ตำหนิตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง โทษตัวเราเอง อย่าไปโทษคนโน้นไปโทษคนนี้
มาวัดก็พยายามเข้าให้ถึงวัด วัดภายใน วัดภายนอก มีความสุข หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ถ้าคนรู้จักเอา จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ใจเป็นบุญนั่นแหละคือตัวบุญ กายก็เป็นบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำ
หลวงพ่อก็ขอขอบใจทุกคน ที่ได้มาช่วยกันมาร่วมกัน อยู่หลายคนหลายท่านมาจากคนละทิศละที่ละทางมาอยู่รวมกัน เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ขณะมาอยู่ร่วมกันเราก็พยายามหัดเป็นคนมีความเสียสละอดทนอดกลั้น รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน มีอะไรก็ช่วยกัน งานหนักก็จะเป็นงานเบา งานเบาก็จะเป็นความสุข สนุกในการทำการทำงาน เอาการเอางานเป็นการฝึกฝนตนเอง เป็นการฝึกหัดปฏิบัติ ทำงานไปด้วยใจรับรู้ไปด้วย สติพิจารณาใจไปด้วย เราก็จะได้เกิดประโยชน์
ประโยชน์ภายนอกคือสมมติต่างๆ เราก็ช่วยกันทำ กายของเราก็จะได้มีความสุข ใจของเราก็จะได้มีความสุข ถ้าสมมติไม่เรียบร้อย ความเป็นอยู่ปัจจัยสี่ไม่บริบูรณ์ กายก็ลำบาก ใจก็ดิ้นรน เราก็ต้องมาพยายามาทำให้สมบูรณ์แบบทั้งสมมติทั้งวิมุตติ
วิมุตติ ส่วนทางด้านจิตใจ เราก็พยายามหมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของตัวเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของตัวเรา ไม่ใช่ว่าฉันบวชมาแล้วจะเข้าถึงธรรมเลย อันนี้ยังไม่ใช่ เราก็ต้องพยายามมาพิเคราะห์มาเจริญสติปัญญาเข้าไปดูรู้เท่าทัน จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้ถ้าคลายออกเมื่อไร แยกออกเมื่อไร ความเห็นถูกหรือว่าสัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทางให้ ถ้าไม่ถึงวาระถึงเวลาก็ยากที่จะแยกคลาย ถ้าแยกคลายได้ ถ้าไม่ตามทำความเข้าใจรู้ทุกอิริยาบถอีก เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม
เราจงพยายามมีความเพียร สร้างความเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมั่นแก้ไข หมั่นปรับปรุง พิจารณาตัวเราอยู่ตลอดเวลา อันนี้ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าฟังไปผ่านหูไปเฉยๆ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ความรู้ตัว รู้กาย รู้ลมหายใจ เป็นลักษณะอย่างนี้ แต่การหายใจเราก็หายใจตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสนใจดูรู้ เวลาจะทีทำไมมันถึงอึดอัด ทำไมถึงไม่เป็นธรรมชาติเพราะว่าเราขาดความเพียรในการวิเคราะห์ ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไร เราก็ยิ่งสร้างความเพียรเป็นทวีคูณ ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา
ความเสียสละของเรามีหรือเปล่าเราก็ต้องดู ส่วนการชำระสะสางกิเลสภายใน กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็พยายามละ พยายามขัดเกลา พยายามเอาออก น้อมใจของเราให้อยู่ในกองบุญ อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งขณะที่กำลังกายยังแข็งแรง ถ้าหมดกำลังแล้วก็หมดสภาพ ก็เหลือตั้งแต่เรื่องบุญกับบาป ทำความเข้าใจกับบุญกับบาป อะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป บาปก็คือความทุกข์ใจ บุญก็คือความสุขใจ อะไรที่จะนำความสุขมาให้เราก็รีบทำ อย่าไปปล่อยปละละเลย
อย่าไปโทษคนโน้น อย่าไปโทษคนนี้ จงโทษตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ก็พยายามสร้างความเสียสละให้มีให้เกิดขึ้น อย่าเห็นแก่ตัว อย่าเห็นแก่เกียจคร้าน จงสร้างความขยันหมั่นเพียรสร้างความรับผิดชอบ จนใจของเราปล่อยวางได้หมดนั่นแหละ จนดับความเกิดได้นั่นแหละ
แม้แต่ความเกิด แม้แต่ความอยากนิดเดียวก็อย่าให้เกิดมีที่ใจของเรา อันนี้พูดง่าย แต่การกระทำการลงมือ ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรทั้งภายนอกภายใน มีความสุขอยู่ตลอดเวลา สุขในภาวะในเพศในภาวะของตัวเราเอง
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มกราคม 2560
มีความสุขกันทุกคน เช้านี้อากาศเย็น ลมหนาวเริ่มมาอีกแล้ว ตื่นขึ้นมารีบรู้กายรู้ใจของเราให้ทัน ตั้งแต่ตื่นตั้งแต่เช้าเราได้เจริญสติแล้วหรือยัง รู้จักเอาสติปัญญาไปพิจารณาใจพิจารณากายของตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เป็นประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สูงสุด จนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ เวลาจะขบจะฉันก็พิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรา ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย กายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก เราก็ต้องดูกะประมาณในการขบฉันของเรา
ใจเกิดความอยาก อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา เอาน้อยๆ กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ อาหารยังมาไม่ถึง ตามันมองเห็นอาหาร อันโน้นอันนี้ กูจะเอาอันโน้นเอาอันนี้ ใจมันเป็นตัวสั่ง เราก็พยายามหยุด พยายามดับ ดับความอยากของใจ แล้วก็เอาด้วยปัญญา กะประมาณในการขบฉันของตัวเรา กะประมาณว่าอิ่ม อิ่มพอดี ถ้ามันเกิน ถ้าใจเกิดความอยากเราก็พยายามดับความอยาก ถ้าดับไม่ได้ก็ไม่ต้องเอามัน ให้มันผ่านเลยไป พอผ่านเลยไปแล้ว ใจยังเกิดความอาลัยอาวรณ์อีกหรือไม่ เราก็ต้องดู ไม่ใช่ว่าฉันจะเอาอันโน้นเอาอันนี้ ฉันก็ไม่ทุกข์ มันไม่ใช่
การเกิดของใจนั่นแหละคือความทุกข์ ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอย่างละเอียด ถ้าไม่มีความเกิดใจก็ไม่หลง อันนี้เขาหลงมาเกิด มาเกิดสร้างภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้า ปิดกั้นตัวใจเอาไว้แล้วก็ขณะอยู่ในร่างกายนี้ใจยังเกิดต่อ ตั้งแต่เช้ามาไม่รู้เกิดสักกี่เรื่อง คือความคิดของเรานั่นแหละ ความคิดมันเกิดอย่างไร อาการของขันธ์ห้า มาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไร ใจของเราไปรวมไปร่วมได้อย่างไร
ต้องเป็นคนที่ขยัน ขยันหมั่นเพียร มีทั้งการทำความเข้าใจให้ถูกต้อง รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนามเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราที่จะต้องทำความเข้าใจกับชีวิตของตัวเราเอง ตำหนิตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง โทษตัวเราเอง อย่าไปโทษคนโน้นไปโทษคนนี้
มาวัดก็พยายามเข้าให้ถึงวัด วัดภายใน วัดภายนอก มีความสุข หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ถ้าคนรู้จักเอา จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ใจเป็นบุญนั่นแหละคือตัวบุญ กายก็เป็นบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำ
หลวงพ่อก็ขอขอบใจทุกคน ที่ได้มาช่วยกันมาร่วมกัน อยู่หลายคนหลายท่านมาจากคนละทิศละที่ละทางมาอยู่รวมกัน เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ขณะมาอยู่ร่วมกันเราก็พยายามหัดเป็นคนมีความเสียสละอดทนอดกลั้น รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน มีอะไรก็ช่วยกัน งานหนักก็จะเป็นงานเบา งานเบาก็จะเป็นความสุข สนุกในการทำการทำงาน เอาการเอางานเป็นการฝึกฝนตนเอง เป็นการฝึกหัดปฏิบัติ ทำงานไปด้วยใจรับรู้ไปด้วย สติพิจารณาใจไปด้วย เราก็จะได้เกิดประโยชน์
ประโยชน์ภายนอกคือสมมติต่างๆ เราก็ช่วยกันทำ กายของเราก็จะได้มีความสุข ใจของเราก็จะได้มีความสุข ถ้าสมมติไม่เรียบร้อย ความเป็นอยู่ปัจจัยสี่ไม่บริบูรณ์ กายก็ลำบาก ใจก็ดิ้นรน เราก็ต้องมาพยายามาทำให้สมบูรณ์แบบทั้งสมมติทั้งวิมุตติ
วิมุตติ ส่วนทางด้านจิตใจ เราก็พยายามหมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของตัวเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของตัวเรา ไม่ใช่ว่าฉันบวชมาแล้วจะเข้าถึงธรรมเลย อันนี้ยังไม่ใช่ เราก็ต้องพยายามมาพิเคราะห์มาเจริญสติปัญญาเข้าไปดูรู้เท่าทัน จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้ถ้าคลายออกเมื่อไร แยกออกเมื่อไร ความเห็นถูกหรือว่าสัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทางให้ ถ้าไม่ถึงวาระถึงเวลาก็ยากที่จะแยกคลาย ถ้าแยกคลายได้ ถ้าไม่ตามทำความเข้าใจรู้ทุกอิริยาบถอีก เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม
เราจงพยายามมีความเพียร สร้างความเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมั่นแก้ไข หมั่นปรับปรุง พิจารณาตัวเราอยู่ตลอดเวลา อันนี้ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าฟังไปผ่านหูไปเฉยๆ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ความรู้ตัว รู้กาย รู้ลมหายใจ เป็นลักษณะอย่างนี้ แต่การหายใจเราก็หายใจตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสนใจดูรู้ เวลาจะทีทำไมมันถึงอึดอัด ทำไมถึงไม่เป็นธรรมชาติเพราะว่าเราขาดความเพียรในการวิเคราะห์ ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไร เราก็ยิ่งสร้างความเพียรเป็นทวีคูณ ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา
ความเสียสละของเรามีหรือเปล่าเราก็ต้องดู ส่วนการชำระสะสางกิเลสภายใน กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็พยายามละ พยายามขัดเกลา พยายามเอาออก น้อมใจของเราให้อยู่ในกองบุญ อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งขณะที่กำลังกายยังแข็งแรง ถ้าหมดกำลังแล้วก็หมดสภาพ ก็เหลือตั้งแต่เรื่องบุญกับบาป ทำความเข้าใจกับบุญกับบาป อะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป บาปก็คือความทุกข์ใจ บุญก็คือความสุขใจ อะไรที่จะนำความสุขมาให้เราก็รีบทำ อย่าไปปล่อยปละละเลย
อย่าไปโทษคนโน้น อย่าไปโทษคนนี้ จงโทษตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ก็พยายามสร้างความเสียสละให้มีให้เกิดขึ้น อย่าเห็นแก่ตัว อย่าเห็นแก่เกียจคร้าน จงสร้างความขยันหมั่นเพียรสร้างความรับผิดชอบ จนใจของเราปล่อยวางได้หมดนั่นแหละ จนดับความเกิดได้นั่นแหละ
แม้แต่ความเกิด แม้แต่ความอยากนิดเดียวก็อย่าให้เกิดมีที่ใจของเรา อันนี้พูดง่าย แต่การกระทำการลงมือ ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรทั้งภายนอกภายใน มีความสุขอยู่ตลอดเวลา สุขในภาวะในเพศในภาวะของตัวเราเอง
ตั้งใจรับพรกัน