หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 26 วันที่ 19 มีนาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 26 วันที่ 19 มีนาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 26
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าแค่ชี้แค่แนะ พวกท่านจะไปทำหรือไม่ ก็เป็นส่วนตัวของพวกท่านเอง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละ ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บรู้สัมผัสของลมหายใจปั๊บ รู้ความปกติของใจ ส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานี้ ถ้ามีกำลังเพียงพอก็จะรู้เท่าทันการเกิดของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจหงายจากของที่คว่ำ ตามดูรู้เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าที่เกิดๆ ดับๆ ใจของเราไปหลงไปรวมไปยึดจนเกิดอัตตาตัวตน กายก็เลยหนัก ใจก็เลยหนัก
ความเป็นจริงนั้น ใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวใจนั่นแหละ ตัววิญญาณในกายของเรานั่นแหละ แล้วก็มาหลงมายึด ขณะอยู่ในกายก็ยังเป็นทาสของกิเลส แล้วก็ยังส่งไปภายนอกต่อ นอกจากปัญญาของพระพุทธองค์ที่ได้ค้นพบแล้วเอามาเปิดเผยให้สัตว์โลก คือพวกเรานี่แหละ ได้ประพฤติได้ปฏิบัติตาม
การเจริญสติตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ลงที่กายของเราความรู้สึกตัวทั่วพร้อม แล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง รู้ไม่ทันการเกิดของใจก็ใช้สมถะเข้าไปดับ รู้ไม่ทันการเกิดของขันธ์ห้ากับใจเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ใช้สมถะเข้าไปดับ สร้างกำลังสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็ง ปรับสภาพใจของตัวเรา ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน ใจของเรามีความเชื่อมั่นศรัทธาในพระพุทธองค์เเล้วก็ปฏิบัติตามคำสอนของท่าน ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา ใจของเรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ ใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่นเราก็พยายามขัดเกลาละกิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ใจของเราไปรวมกับขันธ์ห้าเราก็หัดสังเกตหัดวิเคราะห์
ถ้ากำลังสติของเรามีกำลังเพียงพอก็จะเห็น เห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม อันนี้ส่วนรูปคือร่างกายของเรา อันนี้ส่วนนามคือทางด้านจิตใจ ความคิดอารมณ์ขันธ์ห้าต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ หมั่นสร้างอานิสงส์ สร้างบุญสร้างบารมี ขัดเกลากิเลสของเราออกจากจิตใจของเราวันละเล็กละน้อย ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม ทำความเข้าใจกับภาษาโลก ศีลสมมติ ศีลวิมุตติ อธิจิต อธิศีล อธิวินัย เป็นอย่างไร เราต้องพยายามดูรู้เห็น ตามทำความเข้าใจ ถ้าใจของเราคลายออกจากความคิดได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
การคลายออกจากขันธ์ห้าอันนี้เพียงแค่แยก เพียงแค่เริ่มต้นในความเห็นถูก ถ้าเราเห็นถูกแล้วแยกแยะได้แล้ว ถ้าเราขาดตามดูรู้เห็นทุกอย่าง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม ส่วนบุญบารมีการสร้างสะสมคุณงามความดี การฝักใฝ่การสนใจ อันนี้มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยก็ขึ้นอยู่กับอานิสงส์บุญบารมีของเราที่เคยสร้างที่เคยทำมาไว้ก่อน ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ เราพยายามดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ไม่ถึงวันหนึ่งก็ต้องถึงวันหนึ่ง ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ ตราบใดที่เรายังสร้างบารมีสร้างอานิสงส์ สร้างขันติวิริยะความเพียรอยู่
ให้เราจงบอกเรา ชี้แนะให้เรา ตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ตนตัวที่สองก็คือใจ ใจของคนเรานี่อบรมได้ไม่ใช่ว่าอบรมไม่ได้ หมั่นอบรมบ่อยๆ หมั่นทำความเข้าใจบ่อยๆ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนรู้แจ้งเห็นจริงมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
แนวทางหนทางนั้นมีมานาน พวกเราพยายามเดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่ายอันนี้ก็เป็นเพียงแค่อิริยาบถ ก็ต้องพยายามกันนะ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีอะไรที่จะสงสัย จนมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือว่าไม่กลับมาเกิดกัน ก็พยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน คอยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าแค่ชี้แค่แนะ พวกท่านจะไปทำหรือไม่ ก็เป็นส่วนตัวของพวกท่านเอง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละ ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บรู้สัมผัสของลมหายใจปั๊บ รู้ความปกติของใจ ส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานี้ ถ้ามีกำลังเพียงพอก็จะรู้เท่าทันการเกิดของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจหงายจากของที่คว่ำ ตามดูรู้เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าที่เกิดๆ ดับๆ ใจของเราไปหลงไปรวมไปยึดจนเกิดอัตตาตัวตน กายก็เลยหนัก ใจก็เลยหนัก
ความเป็นจริงนั้น ใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวใจนั่นแหละ ตัววิญญาณในกายของเรานั่นแหละ แล้วก็มาหลงมายึด ขณะอยู่ในกายก็ยังเป็นทาสของกิเลส แล้วก็ยังส่งไปภายนอกต่อ นอกจากปัญญาของพระพุทธองค์ที่ได้ค้นพบแล้วเอามาเปิดเผยให้สัตว์โลก คือพวกเรานี่แหละ ได้ประพฤติได้ปฏิบัติตาม
การเจริญสติตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ลงที่กายของเราความรู้สึกตัวทั่วพร้อม แล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง รู้ไม่ทันการเกิดของใจก็ใช้สมถะเข้าไปดับ รู้ไม่ทันการเกิดของขันธ์ห้ากับใจเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ใช้สมถะเข้าไปดับ สร้างกำลังสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็ง ปรับสภาพใจของตัวเรา ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน ใจของเรามีความเชื่อมั่นศรัทธาในพระพุทธองค์เเล้วก็ปฏิบัติตามคำสอนของท่าน ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา ใจของเรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ ใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่นเราก็พยายามขัดเกลาละกิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ใจของเราไปรวมกับขันธ์ห้าเราก็หัดสังเกตหัดวิเคราะห์
ถ้ากำลังสติของเรามีกำลังเพียงพอก็จะเห็น เห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม อันนี้ส่วนรูปคือร่างกายของเรา อันนี้ส่วนนามคือทางด้านจิตใจ ความคิดอารมณ์ขันธ์ห้าต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ หมั่นสร้างอานิสงส์ สร้างบุญสร้างบารมี ขัดเกลากิเลสของเราออกจากจิตใจของเราวันละเล็กละน้อย ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม ทำความเข้าใจกับภาษาโลก ศีลสมมติ ศีลวิมุตติ อธิจิต อธิศีล อธิวินัย เป็นอย่างไร เราต้องพยายามดูรู้เห็น ตามทำความเข้าใจ ถ้าใจของเราคลายออกจากความคิดได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
การคลายออกจากขันธ์ห้าอันนี้เพียงแค่แยก เพียงแค่เริ่มต้นในความเห็นถูก ถ้าเราเห็นถูกแล้วแยกแยะได้แล้ว ถ้าเราขาดตามดูรู้เห็นทุกอย่าง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม ส่วนบุญบารมีการสร้างสะสมคุณงามความดี การฝักใฝ่การสนใจ อันนี้มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยก็ขึ้นอยู่กับอานิสงส์บุญบารมีของเราที่เคยสร้างที่เคยทำมาไว้ก่อน ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ เราพยายามดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ไม่ถึงวันหนึ่งก็ต้องถึงวันหนึ่ง ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ ตราบใดที่เรายังสร้างบารมีสร้างอานิสงส์ สร้างขันติวิริยะความเพียรอยู่
ให้เราจงบอกเรา ชี้แนะให้เรา ตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ตนตัวที่สองก็คือใจ ใจของคนเรานี่อบรมได้ไม่ใช่ว่าอบรมไม่ได้ หมั่นอบรมบ่อยๆ หมั่นทำความเข้าใจบ่อยๆ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนรู้แจ้งเห็นจริงมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
แนวทางหนทางนั้นมีมานาน พวกเราพยายามเดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่ายอันนี้ก็เป็นเพียงแค่อิริยาบถ ก็ต้องพยายามกันนะ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีอะไรที่จะสงสัย จนมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือว่าไม่กลับมาเกิดกัน ก็พยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน คอยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อ