
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 74 วันที่ 3 กันยายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 74 วันที่ 3 กันยายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 74
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 กันยายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่ชี้เท่านั้นแหละ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอ เราก็เริ่มขึ้นใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นใหม่ พยายามฝึกสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จนเป็นอัตโนมัติในการรู้กาย มีความรู้กาย ลึกลงไป เราก็จะรู้ว่าใจของเราปกติ ใจก่อตัวใจเกิดส่งไปภายนอกเราก็จะเห็นอาการของใจ บางทีเราก็อาจจะเห็นอาการของขันธ์ห้าหรือว่าความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ซึ่งมีอยู่เดิมกันทุกคน บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย
เราหัดสร้างความรู้ตัว แล้วก็เอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ให้รู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ ถ้ารู้ไม่ทันเราก็รู้จักหยุดจักดับ จักควบคุมใจของเราเอาไว้จนกว่าจะรู้ทัน ใจคลายออกจากความคิดหรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจหงายขึ้นมา ใจว่าง กายเบา ความรู้ตัวตามเห็นการเกิดการดับของความคิดในขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพียงแค่แยกได้ เพียงแค่เริ่มต้นของความเห็นถูก
การตามดูตามรู้ตามเห็นต้องมีทุกเรื่อง การเกิดของใจเป็นอย่างไร การเกิดของขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เมื่อเวลาเกิดขึ้นตั้งอยู่ เวลาจบแล้วก็ดับไปไหน เรื่องใหม่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาตัวตนของตัวเราเองให้ชัดเจน ว่าชีวิตของเราเกิดมา ความเกิดวิญญาณเกิด วิญญาณหรือว่าตัวใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง ความหลงนี่มีตั้งแต่ยังไม่ได้สร้าง ยังไม่ได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็ลงมาเกิด แล้วก็ขณะมีอัตภาพร่างกาย วิญญาณก็เกิดต่อ บางทีก็รวมกับขันธ์ห้าเกิดไปด้วยกัน บางทีก็รวมกับปัญญา รวมกันไปทั้งก้อน
ในหลักธรรมแล้ว พระพุทธองค์ให้มาเจริญสติลงที่กายหรือว่ามาสร้างผู้รู้เข้าไปอบรมใจ เข้าไปแก้ไขใจของเรา จนรู้ทันการเกิดของใจ การเกิดของความคิด เขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร ถ้าเรารู้ทันตรงนั้น ใจก็จะคลายออก ใจก็จะดีดออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจก็หงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความรู้ตัวเราก็จะเห็น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ทุกเรื่องที่เกิด อันนี้คือส่วนรูป อันนี้คือส่วนนาม ใจจะเกิดกิเลส ก็รู้จักดับ รู้จักหยุด
การดับ การหยุด การควบคุม ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นการฝืน ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นการทวนกระแส เราฝึกบ่อยๆ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง เพียงแค่คลาย เพียงแค่แยก อันนี้เพียงแค่เริ่ม เริ่มต้นความเห็นถูกหรือว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ตามดูรู้ทุกเรื่อง เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ ใจวิเวก กายวิเวกเป็นอย่างนี้ การอยู่ร่วมกับสมมติ การอยู่ร่วมกับสังคมเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะปล่อยปละละเลยไม่ได้เด็ดขาด เราจงพยายามทำความเข้าใจ อย่าไปทำตามอำนาจของกิเลส อย่าไปยินดียินร้ายในอารมณ์ต่าง ๆ เราพยายามทำใจของเราให้เป็นกลาง
ก่อนที่จะเห็นใจได้ชัดเจน กําลังสติของเราต้องมีมาก แยกได้ทำความเข้าใจได้ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน กายทำหน้าที่อย่างไร รูป รส กลิ่น เสียงเป็นลักษณะอย่างไร ที่ในหู ตา จมูก ลิ้น กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด แต่ส่วนมากเราอาจจะรู้อยู่แค่เพียงผิวเผิน อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วเราต้องรู้ต้องเห็นทำความเข้าใจ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล อะไรเป็นประโยชน์มากประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน มองดูรู้ให้ชัดเจนขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่
คนเราอาศัยอยู่เนื่องด้วยลมหายใจ ถ้าลมหายใจไม่มีสัก 5 นาที 10 นาที นี่ก็เอาไม่อยู่แล้ว แต่คนเราขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา ขาดการทำความเข้าใจ การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ ความเสียสละนั้นมีอยู่ แต่เรายังเดินไม่ถึงจุดหมายปลายทางกัน ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี เราก็ต้องพิจารณา ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีความเกิดความดับ อันนี้ความเกิดความดับของวิญญาณในกายของเรา ความเกิดความดับของอาการของขันธ์ห้าในกายของเรา ส่วนรูปส่วนนาม กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มีหมด คําสอนของพระพุทธองค์นั้นท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผยตั้งนาน พวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของพวกเราเอง
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เรามาสร้างผู้รู้ ส่วนใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด เราต้องมาคลายออก ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจยอมรับความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย จนอยากจะหลบ อยากจะหลีก อยากจะลี้ อยากจะหนีมันก็หนีไม่พ้น เพราะว่ายังอยู่กับสมมติ ยังอยู่กับกายอยู่ กายของเรานี่แหละก้อนสมมติ เราต้องมาศึกษาให้ละเอียด แล้วก็ทำความเข้าใจอยู่ก็สมมติเคารพสมมติไม่ยึดติดสมมติ จนสมมติก้อนนี้จะกลับคืนสู่สภาพเดิมคือหมดลมหายใจ แล้วก็กลับคืนสู่สภาพเดิมคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่หลายคนก็เหมือนอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน แล้วค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 กันยายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่ชี้เท่านั้นแหละ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอ เราก็เริ่มขึ้นใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นใหม่ พยายามฝึกสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จนเป็นอัตโนมัติในการรู้กาย มีความรู้กาย ลึกลงไป เราก็จะรู้ว่าใจของเราปกติ ใจก่อตัวใจเกิดส่งไปภายนอกเราก็จะเห็นอาการของใจ บางทีเราก็อาจจะเห็นอาการของขันธ์ห้าหรือว่าความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ซึ่งมีอยู่เดิมกันทุกคน บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย
เราหัดสร้างความรู้ตัว แล้วก็เอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ให้รู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ ถ้ารู้ไม่ทันเราก็รู้จักหยุดจักดับ จักควบคุมใจของเราเอาไว้จนกว่าจะรู้ทัน ใจคลายออกจากความคิดหรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจหงายขึ้นมา ใจว่าง กายเบา ความรู้ตัวตามเห็นการเกิดการดับของความคิดในขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพียงแค่แยกได้ เพียงแค่เริ่มต้นของความเห็นถูก
การตามดูตามรู้ตามเห็นต้องมีทุกเรื่อง การเกิดของใจเป็นอย่างไร การเกิดของขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เมื่อเวลาเกิดขึ้นตั้งอยู่ เวลาจบแล้วก็ดับไปไหน เรื่องใหม่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาตัวตนของตัวเราเองให้ชัดเจน ว่าชีวิตของเราเกิดมา ความเกิดวิญญาณเกิด วิญญาณหรือว่าตัวใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง ความหลงนี่มีตั้งแต่ยังไม่ได้สร้าง ยังไม่ได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็ลงมาเกิด แล้วก็ขณะมีอัตภาพร่างกาย วิญญาณก็เกิดต่อ บางทีก็รวมกับขันธ์ห้าเกิดไปด้วยกัน บางทีก็รวมกับปัญญา รวมกันไปทั้งก้อน
ในหลักธรรมแล้ว พระพุทธองค์ให้มาเจริญสติลงที่กายหรือว่ามาสร้างผู้รู้เข้าไปอบรมใจ เข้าไปแก้ไขใจของเรา จนรู้ทันการเกิดของใจ การเกิดของความคิด เขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร ถ้าเรารู้ทันตรงนั้น ใจก็จะคลายออก ใจก็จะดีดออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม ใจก็หงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความรู้ตัวเราก็จะเห็น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ทุกเรื่องที่เกิด อันนี้คือส่วนรูป อันนี้คือส่วนนาม ใจจะเกิดกิเลส ก็รู้จักดับ รู้จักหยุด
การดับ การหยุด การควบคุม ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นการฝืน ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นการทวนกระแส เราฝึกบ่อยๆ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ตามดูรู้เห็นความเป็นจริง เพียงแค่คลาย เพียงแค่แยก อันนี้เพียงแค่เริ่ม เริ่มต้นความเห็นถูกหรือว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ตามดูรู้ทุกเรื่อง เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ ใจวิเวก กายวิเวกเป็นอย่างนี้ การอยู่ร่วมกับสมมติ การอยู่ร่วมกับสังคมเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะปล่อยปละละเลยไม่ได้เด็ดขาด เราจงพยายามทำความเข้าใจ อย่าไปทำตามอำนาจของกิเลส อย่าไปยินดียินร้ายในอารมณ์ต่าง ๆ เราพยายามทำใจของเราให้เป็นกลาง
ก่อนที่จะเห็นใจได้ชัดเจน กําลังสติของเราต้องมีมาก แยกได้ทำความเข้าใจได้ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน กายทำหน้าที่อย่างไร รูป รส กลิ่น เสียงเป็นลักษณะอย่างไร ที่ในหู ตา จมูก ลิ้น กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด แต่ส่วนมากเราอาจจะรู้อยู่แค่เพียงผิวเผิน อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วเราต้องรู้ต้องเห็นทำความเข้าใจ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล อะไรเป็นประโยชน์มากประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน มองดูรู้ให้ชัดเจนขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่
คนเราอาศัยอยู่เนื่องด้วยลมหายใจ ถ้าลมหายใจไม่มีสัก 5 นาที 10 นาที นี่ก็เอาไม่อยู่แล้ว แต่คนเราขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา ขาดการทำความเข้าใจ การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ ความเสียสละนั้นมีอยู่ แต่เรายังเดินไม่ถึงจุดหมายปลายทางกัน ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี เราก็ต้องพิจารณา ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีความเกิดความดับ อันนี้ความเกิดความดับของวิญญาณในกายของเรา ความเกิดความดับของอาการของขันธ์ห้าในกายของเรา ส่วนรูปส่วนนาม กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มีหมด คําสอนของพระพุทธองค์นั้นท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผยตั้งนาน พวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของพวกเราเอง
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เรามาสร้างผู้รู้ ส่วนใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด เราต้องมาคลายออก ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจยอมรับความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย จนอยากจะหลบ อยากจะหลีก อยากจะลี้ อยากจะหนีมันก็หนีไม่พ้น เพราะว่ายังอยู่กับสมมติ ยังอยู่กับกายอยู่ กายของเรานี่แหละก้อนสมมติ เราต้องมาศึกษาให้ละเอียด แล้วก็ทำความเข้าใจอยู่ก็สมมติเคารพสมมติไม่ยึดติดสมมติ จนสมมติก้อนนี้จะกลับคืนสู่สภาพเดิมคือหมดลมหายใจ แล้วก็กลับคืนสู่สภาพเดิมคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่หลายคนก็เหมือนอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน แล้วค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ