หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 10 วันที่ 13 มกราคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 10 วันที่ 13 มกราคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 10
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 13 มกราคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ ให้หายใจแบบธรรมชาติที่สุด
การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้น ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกก็จะเด่นชัด เราพยายามสร้างความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ แล้วก็สร้างให้ต่อเนื่อง ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะรู้ลึกลงไปอีก รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดของใจ หรือรู้ความคิดที่เกิดจากใจ รู้ความคิดที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้า ว่าความคิดพวกนั้นเขาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร
ถ้าความรู้ตัวของเราเร็วไวขึ้น เราก็จะสังเกตเห็น ถ้าเราสังเกตเห็น ใจก็จะคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าเห็นเขาจะแยกของเขาเอง ใจก็จะหงายขึ้นมา หรือว่าใจของเราก็จะว่าง กายของเราก็จะเบา เราก็จะเห็นใจของเราชัดเจน ตามดูตามรู้ความคิดของอาการของขันธ์ห้าที่มาปรุงแต่งใจ ใจว่างรับรู้อยู่ เห็นความไม่เที่ยงของความคิด เรื่องอะไรเข้ามาเราก็ดูให้รู้ทุกเรื่อง ใจจะเข้าไปร่วมหรือว่าเข้าไปเสวย เราก็รู้จักดับ พยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดอบรมใจของเรา เรารู้ไม่ทันตั้งแต่ต้นเหตุเราก็ดับเอาไว้ด้วยสมถะ ด้วยการกำหนดลมหายใจบ้าง หรือสร้างความรู้ตัวอยู่ที่การเดินบ้าง
ใจของทุกคนนั้นปรารถนาหาทางดับทุกข์ ปรารถนาหาทางหลุดพ้น ฝักใฝ่ในบุญ แต่ขาดการเจริญภาวนาที่เข้าไปถึงตัวใจจริงๆ ใจก็เลยเกิดอยู่ตลอดเวลา เป็นทาสของกิเลส เป็นทาสของความเกิด เป็นทาสของขันธ์ห้า นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติ อันนี้สติที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเราก็ละที่ใจ สร้างอานิสงส์ สร้างตบะบารมีให้แก่กล้า พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่นออกจากใจของเรา พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน สร้างความเมตตา สร้างความเสียสละ ให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม
ศีลความปกติ ปกติระดับกายวาจา แล้วก็ปกติระดับใจ ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่ไม่เกิด ใจที่คลายจากขันธ์ห้า เขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์ ใจนิ่ง ใจเที่ยง นิพพานก็เที่ยง เราพยายามแสวงหาใจของเราให้เจอ รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับเอาไว้ ส่วนบารมีส่วนอื่นนั้นเราได้ทำกันมาดี ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกข์ผ่านสุขมา เราก็พยายามทำความเข้าใจ เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราปลูกสิ่งไหนเราย่อมจะได้สิ่งนั้นถ้าถึงเวลา เราหมั่นดูแลให้น้ำให้ฝุ่นให้ปุ๋ย โตขึ้นไปเขาก็ออกดอกออกผลให้เรา
การปฏิบัติใจก็เหมือนกัน เรารู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับเอาไว้ สร้างพรหมวิหาร สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจ แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบตัวเอง หรือทำบุญให้กับตัวเราจนล้นไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง
คำว่า วิญญาณในขันธ์ห้า เป็นอย่างไร การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร การเดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา คำว่า วิปัสสนา คือรู้แจ้งเห็นจริง ใจคลายออกจากความคิด ใจหงายขึ้นมา ตามดูเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ถ้าเราแยกแยะได้ทำความเข้าใจได้ เราจะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าทันที คำว่าอัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ หลักของความจริงอันประเสริฐคือหลักของอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ การละทุกข์ เราจะเห็นหมดทุกอย่างเลย
ตามดูรู้เห็น ละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธองค์ มองเห็นว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจริง ถ้าเราปรากฏขึ้นที่ใจของเราอย่าไปทิ้ง พยายามทำ ดำเนินได้บ้างไม่ได้บ้าง หลุดแล้วก็พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่
ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นการฝืน ฝืนหรือว่าทวนกระแสของกิเลส เพราะใจของคนเราชอบคิดชอบเที่ยวเป็นทาสของกิเลส เราก็มาสะสางกิเลสออกจากใจของเรา เมื่อใจของเราเกิดกิเลส เกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ด้วยการเอาให้ ด้วยการออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธก็พยายามดับความโกรธ ให้อภัยทานอโหสิกรรม มองในสิ่งตรงกันข้าม
ไม่ต้องไปกังวลว่าเราจะไม่รู้ไม่เห็น ยิ่งคิด ความคิดนั่นแหละปิดกั้นตัวใจเอาไว้ เรามาเจริญสติตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ตัวใหม่ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง จนเอาไปใช้การใช้งานได้ทุกอิริยาบถ จนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจของเรายอมรับความเป็นจริงได้นั่นแหละ ท่านถึงบอกให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ พยายามพากันทำ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา งานสมมติภายนอกเราก็ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ส่วนตัวประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล อะไรควรทำก่อนอะไรควรทำหลัง เราก็ควรพิจารณา พิจารณาใจของเรานั่นแหละ
แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลง กำลังสติของเรามีน้อย อาจจะหลงอยู่ในคุณงามความดี หลงอยู่ในสมมติ อยู่ในกองบุญกองกุศล ถ้าเราเจริญสติจนแยกแยะได้ เห็นเหตุเห็นผลได้ นั่นแหละใจของเราถึงจะวางได้ รู้จักจุดปล่อยจุดวาง ก็พยายามพากันทำ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี บอกตัวเองให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ถ้าเราสอนตัวเราไม่ได้ คนอื่นไม่มีหน้าที่ที่จะมาสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
แนวทางคำสอนของพระพุทธองค์นั้นวางเอาไว้หมดแล้ว วางเอาไว้ตั้งหลายร้อยหลายพันปียังมีอยู่เหมือนเดิม ยังมีอยู่เหมือนเดิม ถ้าเราหมั่นขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา สักวันหนึ่งพระพุทธองค์หรือพระพุทธเจ้าก็จะมาอยู่ที่ใจของเรา ใครเห็นธรรมคนนั้นเห็นเรา ใครเห็นเราคนนั้นเห็นธรรม คือรู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรา พยายามเอานะ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 13 มกราคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ ให้หายใจแบบธรรมชาติที่สุด
การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้น ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกก็จะเด่นชัด เราพยายามสร้างความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ แล้วก็สร้างให้ต่อเนื่อง ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะรู้ลึกลงไปอีก รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดของใจ หรือรู้ความคิดที่เกิดจากใจ รู้ความคิดที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้า ว่าความคิดพวกนั้นเขาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร
ถ้าความรู้ตัวของเราเร็วไวขึ้น เราก็จะสังเกตเห็น ถ้าเราสังเกตเห็น ใจก็จะคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าเห็นเขาจะแยกของเขาเอง ใจก็จะหงายขึ้นมา หรือว่าใจของเราก็จะว่าง กายของเราก็จะเบา เราก็จะเห็นใจของเราชัดเจน ตามดูตามรู้ความคิดของอาการของขันธ์ห้าที่มาปรุงแต่งใจ ใจว่างรับรู้อยู่ เห็นความไม่เที่ยงของความคิด เรื่องอะไรเข้ามาเราก็ดูให้รู้ทุกเรื่อง ใจจะเข้าไปร่วมหรือว่าเข้าไปเสวย เราก็รู้จักดับ พยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดอบรมใจของเรา เรารู้ไม่ทันตั้งแต่ต้นเหตุเราก็ดับเอาไว้ด้วยสมถะ ด้วยการกำหนดลมหายใจบ้าง หรือสร้างความรู้ตัวอยู่ที่การเดินบ้าง
ใจของทุกคนนั้นปรารถนาหาทางดับทุกข์ ปรารถนาหาทางหลุดพ้น ฝักใฝ่ในบุญ แต่ขาดการเจริญภาวนาที่เข้าไปถึงตัวใจจริงๆ ใจก็เลยเกิดอยู่ตลอดเวลา เป็นทาสของกิเลส เป็นทาสของความเกิด เป็นทาสของขันธ์ห้า นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติ อันนี้สติที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเราก็ละที่ใจ สร้างอานิสงส์ สร้างตบะบารมีให้แก่กล้า พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่นออกจากใจของเรา พยายามสร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน สร้างความเมตตา สร้างความเสียสละ ให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำความเข้าใจกับภาษาโลกภาษาธรรม
ศีลความปกติ ปกติระดับกายวาจา แล้วก็ปกติระดับใจ ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่ไม่เกิด ใจที่คลายจากขันธ์ห้า เขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์ ใจนิ่ง ใจเที่ยง นิพพานก็เที่ยง เราพยายามแสวงหาใจของเราให้เจอ รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับเอาไว้ ส่วนบารมีส่วนอื่นนั้นเราได้ทำกันมาดี ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกข์ผ่านสุขมา เราก็พยายามทำความเข้าใจ เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราปลูกสิ่งไหนเราย่อมจะได้สิ่งนั้นถ้าถึงเวลา เราหมั่นดูแลให้น้ำให้ฝุ่นให้ปุ๋ย โตขึ้นไปเขาก็ออกดอกออกผลให้เรา
การปฏิบัติใจก็เหมือนกัน เรารู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับเอาไว้ สร้างพรหมวิหาร สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจ แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบตัวเอง หรือทำบุญให้กับตัวเราจนล้นไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง
คำว่า วิญญาณในขันธ์ห้า เป็นอย่างไร การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร การเดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา คำว่า วิปัสสนา คือรู้แจ้งเห็นจริง ใจคลายออกจากความคิด ใจหงายขึ้นมา ตามดูเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ถ้าเราแยกแยะได้ทำความเข้าใจได้ เราจะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าทันที คำว่าอัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ หลักของความจริงอันประเสริฐคือหลักของอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ การละทุกข์ เราจะเห็นหมดทุกอย่างเลย
ตามดูรู้เห็น ละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธองค์ มองเห็นว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจริง ถ้าเราปรากฏขึ้นที่ใจของเราอย่าไปทิ้ง พยายามทำ ดำเนินได้บ้างไม่ได้บ้าง หลุดแล้วก็พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่
ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นการฝืน ฝืนหรือว่าทวนกระแสของกิเลส เพราะใจของคนเราชอบคิดชอบเที่ยวเป็นทาสของกิเลส เราก็มาสะสางกิเลสออกจากใจของเรา เมื่อใจของเราเกิดกิเลส เกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ด้วยการเอาให้ ด้วยการออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธก็พยายามดับความโกรธ ให้อภัยทานอโหสิกรรม มองในสิ่งตรงกันข้าม
ไม่ต้องไปกังวลว่าเราจะไม่รู้ไม่เห็น ยิ่งคิด ความคิดนั่นแหละปิดกั้นตัวใจเอาไว้ เรามาเจริญสติตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ตัวใหม่ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง จนเอาไปใช้การใช้งานได้ทุกอิริยาบถ จนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนใจของเรายอมรับความเป็นจริงได้นั่นแหละ ท่านถึงบอกให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ พยายามพากันทำ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา งานสมมติภายนอกเราก็ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ส่วนตัวประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล อะไรควรทำก่อนอะไรควรทำหลัง เราก็ควรพิจารณา พิจารณาใจของเรานั่นแหละ
แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลง กำลังสติของเรามีน้อย อาจจะหลงอยู่ในคุณงามความดี หลงอยู่ในสมมติ อยู่ในกองบุญกองกุศล ถ้าเราเจริญสติจนแยกแยะได้ เห็นเหตุเห็นผลได้ นั่นแหละใจของเราถึงจะวางได้ รู้จักจุดปล่อยจุดวาง ก็พยายามพากันทำ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี บอกตัวเองให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ถ้าเราสอนตัวเราไม่ได้ คนอื่นไม่มีหน้าที่ที่จะมาสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
แนวทางคำสอนของพระพุทธองค์นั้นวางเอาไว้หมดแล้ว วางเอาไว้ตั้งหลายร้อยหลายพันปียังมีอยู่เหมือนเดิม ยังมีอยู่เหมือนเดิม ถ้าเราหมั่นขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา สักวันหนึ่งพระพุทธองค์หรือพระพุทธเจ้าก็จะมาอยู่ที่ใจของเรา ใครเห็นธรรมคนนั้นเห็นเรา ใครเห็นเราคนนั้นเห็นธรรม คือรู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรา พยายามเอานะ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ