หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 21 วันที่ 6 มีนาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 21 วันที่ 6 มีนาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 21
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 6 มีนาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย และก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่อง อันนี้เป็นการเจริญสติลงที่กายของเรา
อย่าไปมองข้ามในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่ใจของเราก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม ใจของเราก็ปรารถนาอยากจะได้บุญ ตัวใจนั่นแหละคือตัวบุญ ตัวใจนั่นแหละคือตัวธรรม เวลานี้เขาทั้งเกิด ทั้งเกิดหรือว่าคิดปรุงแต่งส่งไปภายนอกเป็นทาสของกิเลส แล้วก็มีอาการของขันธ์ห้าที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันไปด้วยกัน แยบคายมากทีเดียว ถ้ากำลังสติความรู้ตัวของเราไม่เร็วไม่ไว อานิสงส์ความเพียรของเราไม่เพียงพอ ก็ยากที่จะเห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ยากที่จะเห็นการแยกการคลายของวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา พยายามไปเรื่อยๆ พยายามทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก
ถ้าเราเจริญสติให้ต่อเนื่อง จาก 1 นาที 2 นาที เป็น 5 เป็น 10 เป็น 20 เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี แต่เวลานี้กำลังสติของเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร อาจจะทำได้บ้างกระท่อนกระแท่น แต่อานิสงส์บุญบารมีส่วนอื่นนั้นก็มีอยู่ เราต้องศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี
แต่ละวันๆ ความขยันหมั่นเพียรในการสังเกต ในการวิเคราะห์ ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปกติ ใจที่ไม่เกิด ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้เสียก่อน เราถึงจะรู้ชัดเจน ตามเห็นการเกิดการดับของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้านั่นแหละ
เวลาเขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความว่างเปล่าก็เข้ามาปรากฎ เราพยายามหัดสังเกตรู้ลักษณะหน้าตา อาการของเขาให้ได้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นเพียงแค่อิริยาบถ ว่าพระพุทธองค์ได้สอนเรื่องอะไร ทำอย่างไรเราถึงจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนั้น ทรัพย์ส่วนรูปธรรม ส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี่เรียกว่า ก้อนรูป ส่วนนามธรรมตัววิญญาณนั่นแหละกับอาการของขันธ์ห้า เขาหลงเขารวมกัน ก็เลยยึดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่คนเราทั่วไปจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนี้ ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ แล้วก็ดำเนิน ประพฤติปฏิบัติให้มีให้เกิดขึ้น อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ แต่เขาก็รวมกันอยู่ ให้รู้ด้วยปัญญา แยกแยะด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร เราสำรวจตรวจตราดู ให้รู้แจ้งเห็นจริง จนหมดความสงสัยหมดความลังเล การทรงความว่าง ความบริสุทธิ์ของใจเป็นอย่างไร
คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลสมาธิปัญญาในระดับของสมมติ ในระดับของวิมุตติ เราแยกเราคลายได้เราก็จะเข้าใจในเรื่องอัตตาตัวตน อนัตตาความว่างเปล่า เข้าใจในหลักธรรมในหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ อย่าปิดกั้นตัวเราเองจงพยายาม พยายามขวนขวาย พยายามทำให้มีให้เกิดขึ้น
ช่วงใหม่ๆ นี่ก็อาจจะลำบากเพราะว่าถ้าเราฝึกหัดใหม่ๆ นี้จะเป็นการทวน หรือว่าเป็นการทวนกระแสกิเลส ใจชอบคิดชอบปรุงชอบแต่ง ขันธ์ห้าก็มาปรุงแต่งใจ ใจก็เป็นทาสของกิเลสอีก กิเลสหยาบกิเลสละเอียดอีก ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งฝึกกำลังสติมากเท่าไร ควบคุมใจไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จะเห็นกิเลสหยาบกิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา จนกระทั่งพบนิวรณ์ธรรมมลทิน ใจมีความกังวลมีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักละรู้จักดับ ใจเกิดมลทิน มองโลกในแง่ร้าย คนโน่นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนั้นไม่ดีอย่างนี้ คนนี้ไม่ดีอย่างนั้น ตัวมลทินสารพัดอย่างก็เกิดที่ใจของเรา
เราพยายามดับพยายามละ พยายามเอาออกคลายให้มันหมด แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความตระหนี่ เราก็ละความตระหนี่เหนียวแน่ ใจเกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี คิดดี อาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยการกระทำให้ถึงพร้อม สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงช้าก็อาจจะถึงเร็ว เพราะว่าตราบใดที่เรายังฝึกฝนตัวเราอยู่ ถ้าเราไม่ฝึกฝนตัวเรา ไม่มีใครจะฝึกฝนให้เราได้เลย นอกจากตัวของเรา
การเข้าอยู่รวม อยู่ร่วมกัน เราอาจจะยังประโยชน์สมมติได้ อนุเคราะห์กันได้ แต่ประโยชน์ของวิมุตติ การขัดเกลากิเลสเราก็ต้องพยายามละ พยายามขัดเกลาเอาออก สร้างความมีระเบียบวินัยในกายในใจของเรา ไม่เป็นคนที่เกียจคร้าน เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรทุกอิริยาบถ จนเป็นเองในการดูในการรู้ การเจริญสติถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ กำลังสติส่วนมากจะพลั้งเผลอ ถ้าเราแยกรูปแยกนามได้ รู้เท่าทันได้ กำลังสติก็จะพุ่งแรง ตามดูตามรู้ตามเห็นว่าอะไรเป็นอะไร จนหมดความสงสัยทุกเรื่องทุกอย่าง เขาถึงจะยอมหยุด
แต่เวลานี้กำลังสตินี้เผลอมากทีเดียว ส่วนมากก็ลืม กว่าจะระลึกได้ที นานๆ ทีระลึกได้ที เราก็ต้องพยายามล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่างานอะไร ไม่ว่าที่บ้าน ที่ไร่ที่นา ที่ทำการทำงาน อะไรเราพอทำได้เราก็ทำ เพื่อความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวนี่ก็พยายามขัดเกลาเอาออก ให้มองเห็นประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ระดับของสมมติ ประโยชน์ระดับวิมุตติ มันไม่เหลือวิสัยหรอก ก็ต้องพยายาม
พระเราก็พยายามอย่าพากันเกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียรยังประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้น รู้จักการสร้างความรู้ตัว รู้จักลักษณะของสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ความว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ในความว่างนั้นมีดวงวิญญาณอยู่ ถ้าเราศึกษาดูรู้ให้ละเอียดเราถึงจะเห็น ก็พยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 6 มีนาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย และก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่อง อันนี้เป็นการเจริญสติลงที่กายของเรา
อย่าไปมองข้ามในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่ใจของเราก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม ใจของเราก็ปรารถนาอยากจะได้บุญ ตัวใจนั่นแหละคือตัวบุญ ตัวใจนั่นแหละคือตัวธรรม เวลานี้เขาทั้งเกิด ทั้งเกิดหรือว่าคิดปรุงแต่งส่งไปภายนอกเป็นทาสของกิเลส แล้วก็มีอาการของขันธ์ห้าที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันไปด้วยกัน แยบคายมากทีเดียว ถ้ากำลังสติความรู้ตัวของเราไม่เร็วไม่ไว อานิสงส์ความเพียรของเราไม่เพียงพอ ก็ยากที่จะเห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ยากที่จะเห็นการแยกการคลายของวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา พยายามไปเรื่อยๆ พยายามทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก
ถ้าเราเจริญสติให้ต่อเนื่อง จาก 1 นาที 2 นาที เป็น 5 เป็น 10 เป็น 20 เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี แต่เวลานี้กำลังสติของเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร อาจจะทำได้บ้างกระท่อนกระแท่น แต่อานิสงส์บุญบารมีส่วนอื่นนั้นก็มีอยู่ เราต้องศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี
แต่ละวันๆ ความขยันหมั่นเพียรในการสังเกต ในการวิเคราะห์ ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปกติ ใจที่ไม่เกิด ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้เสียก่อน เราถึงจะรู้ชัดเจน ตามเห็นการเกิดการดับของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้านั่นแหละ
เวลาเขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความว่างเปล่าก็เข้ามาปรากฎ เราพยายามหัดสังเกตรู้ลักษณะหน้าตา อาการของเขาให้ได้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นเพียงแค่อิริยาบถ ว่าพระพุทธองค์ได้สอนเรื่องอะไร ทำอย่างไรเราถึงจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนั้น ทรัพย์ส่วนรูปธรรม ส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี่เรียกว่า ก้อนรูป ส่วนนามธรรมตัววิญญาณนั่นแหละกับอาการของขันธ์ห้า เขาหลงเขารวมกัน ก็เลยยึดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่คนเราทั่วไปจะเข้าถึงทรัพย์ตรงนี้ ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ แล้วก็ดำเนิน ประพฤติปฏิบัติให้มีให้เกิดขึ้น อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ แต่เขาก็รวมกันอยู่ ให้รู้ด้วยปัญญา แยกแยะด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร เราสำรวจตรวจตราดู ให้รู้แจ้งเห็นจริง จนหมดความสงสัยหมดความลังเล การทรงความว่าง ความบริสุทธิ์ของใจเป็นอย่างไร
คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลสมาธิปัญญาในระดับของสมมติ ในระดับของวิมุตติ เราแยกเราคลายได้เราก็จะเข้าใจในเรื่องอัตตาตัวตน อนัตตาความว่างเปล่า เข้าใจในหลักธรรมในหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ อย่าปิดกั้นตัวเราเองจงพยายาม พยายามขวนขวาย พยายามทำให้มีให้เกิดขึ้น
ช่วงใหม่ๆ นี่ก็อาจจะลำบากเพราะว่าถ้าเราฝึกหัดใหม่ๆ นี้จะเป็นการทวน หรือว่าเป็นการทวนกระแสกิเลส ใจชอบคิดชอบปรุงชอบแต่ง ขันธ์ห้าก็มาปรุงแต่งใจ ใจก็เป็นทาสของกิเลสอีก กิเลสหยาบกิเลสละเอียดอีก ยิ่งฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งฝึกกำลังสติมากเท่าไร ควบคุมใจไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จะเห็นกิเลสหยาบกิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา จนกระทั่งพบนิวรณ์ธรรมมลทิน ใจมีความกังวลมีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักละรู้จักดับ ใจเกิดมลทิน มองโลกในแง่ร้าย คนโน่นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนั้นไม่ดีอย่างนี้ คนนี้ไม่ดีอย่างนั้น ตัวมลทินสารพัดอย่างก็เกิดที่ใจของเรา
เราพยายามดับพยายามละ พยายามเอาออกคลายให้มันหมด แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความตระหนี่ เราก็ละความตระหนี่เหนียวแน่ ใจเกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี คิดดี อาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยการกระทำให้ถึงพร้อม สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงช้าก็อาจจะถึงเร็ว เพราะว่าตราบใดที่เรายังฝึกฝนตัวเราอยู่ ถ้าเราไม่ฝึกฝนตัวเรา ไม่มีใครจะฝึกฝนให้เราได้เลย นอกจากตัวของเรา
การเข้าอยู่รวม อยู่ร่วมกัน เราอาจจะยังประโยชน์สมมติได้ อนุเคราะห์กันได้ แต่ประโยชน์ของวิมุตติ การขัดเกลากิเลสเราก็ต้องพยายามละ พยายามขัดเกลาเอาออก สร้างความมีระเบียบวินัยในกายในใจของเรา ไม่เป็นคนที่เกียจคร้าน เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรทุกอิริยาบถ จนเป็นเองในการดูในการรู้ การเจริญสติถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ กำลังสติส่วนมากจะพลั้งเผลอ ถ้าเราแยกรูปแยกนามได้ รู้เท่าทันได้ กำลังสติก็จะพุ่งแรง ตามดูตามรู้ตามเห็นว่าอะไรเป็นอะไร จนหมดความสงสัยทุกเรื่องทุกอย่าง เขาถึงจะยอมหยุด
แต่เวลานี้กำลังสตินี้เผลอมากทีเดียว ส่วนมากก็ลืม กว่าจะระลึกได้ที นานๆ ทีระลึกได้ที เราก็ต้องพยายามล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่างานอะไร ไม่ว่าที่บ้าน ที่ไร่ที่นา ที่ทำการทำงาน อะไรเราพอทำได้เราก็ทำ เพื่อความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวนี่ก็พยายามขัดเกลาเอาออก ให้มองเห็นประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ระดับของสมมติ ประโยชน์ระดับวิมุตติ มันไม่เหลือวิสัยหรอก ก็ต้องพยายาม
พระเราก็พยายามอย่าพากันเกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียรยังประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้น รู้จักการสร้างความรู้ตัว รู้จักลักษณะของสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ความว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ในความว่างนั้นมีดวงวิญญาณอยู่ ถ้าเราศึกษาดูรู้ให้ละเอียดเราถึงจะเห็น ก็พยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา