หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 42 วันที่ 1 กรกฏาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 42 วันที่ 1 กรกฏาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 42
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เช้าวันอาทิตย์ท้องฟ้าก็แจ่ม เมื่อวานนี้ฝนก็ตกหนักอยู่เอาการ ญาติโยมของเราก็พากันฝักใฝ่ในการทำบุญในการให้ทาน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เห็นแล้วก็ชื่นใจ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ดูแลสุขภาพของตัวเรา แล้วก็ดูแลใจของเรา ให้ไม่ให้เกิดเป็นทาสของกิเลส ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด ทำความเข้าใจ เจริญสติ เข้าไปวิเคราะห์อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เห็นการเกิดการดับ เห็นลักษณะอาการ การแยกการเข้าไปร่วมความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เกิดจากตัวใจบ้าง เกิดจากอาการของขันธ์ห้าบ้าง หลายสิ่งหลายอย่างๆ พวกเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมา ตนตัวที่สองก็คือตัวใจ ใจของคนเรานี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาเกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด มาเกิดในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้า ปิดกั้นตัวเอง แล้วก็มายึดติดอีก แล้วก็เกิดต่อเป็นทาสกิเลสอีก
กิเลสก็มีหลายอย่าง ทั้งกิเลสหยาบ ทั้งกิเลสละเอียด ทั้งดำทั้งขาว ทั้งดีทั้งไม่ดี พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติมาอบรมใจ วิเคราะห์การทำงานของกายของใจ ของตัวเรา ให้รู้แจ้งเห็นจริง ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด เราก็ต้องมาสร้างผู้รู้ มาสร้างสติจนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา อบรมใจของเราให้ได้ ใช้ใจของเรา มองเห็นหนทางเดิน ไม่ต้องกลับมาเกิด ฝักใฝ่ในบุญในกุศล ละอกุศล เจริญกุศล ให้มีให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ให้ถึงพร้อม ถึงจะเกิดประโยชน์ ไม่ว่าทางโลกทางธรรม
สมมติ วิมุตติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องศึกษาให้ละเอียด ไม่ใช่ผัดวันประกันพรุ่ง ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา การดำเนินชีวิต อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ การวิเคราะห์ใจ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ปัญญาต้องรู้ เรามาสร้างสติ มาสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้า ในกายของตัวเราเอง เราก็จะได้ดำเนินชีวิตไม่ได้ลำบาก อะไรขาดตกบกพร่องเราก็รีบแก้ไข อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง
แต่ละวันความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบ ความเสียสละ สัจจะกับตัวเอง การทำความเข้าใจ เราขาดตกบกพร่องอะไร สมมติอะไรของเราที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ เราก็ต้องพยายามแก้ไข จากน้อยๆ ไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บจะได้ปั๊บ
พระเราก็เหมือนกัน ชีเราก็เหมือนกัน เวลาจะขบจะฉันก็รู้จักพิจารณาแก้ไข กายเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ใจเกิดความอยาก ถ้ายิ่งกายเกิดความหิวนี่ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่าอย่างนั้น มันเล่นงานเอาไม่ใช่เฉพาะเรื่องอาหารอย่างเดียว
เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตาทำหน้าที่ดู ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟัง ห้ามไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง เรามีสติ คอยวิเคราะห์ คอยสังเกตใจของเรา ว่าใจเกิดความยินดีหรือไม่ ยินร้ายหรือไม่ ผลักไสหรือดึงเข้ามาหรือไม่ หรือว่าใจเป็นกลาง เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้ว่าอันนี้คือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ
ละเอียดลึกลงไปอีก อาการของใจอีก อาการของความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด เขาผุดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ส่วนมากเรารู้อยู่ว่าเราคิดเราทำ เรารู้อยู่เมื่อมันเกิดแล้ว เพราะว่าใจเป็นธาตุรู้ เราต้องมาเจริญสติหรือว่าผู้รู้ เข้าไปอบรมใจ เข้าไปวิเคราะห์ใจ จนใจคลายออกจากความคิดให้ได้ ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักณะอย่างนี้ อนิจจังความไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่าเป็นทุกข์ เพราะว่ามันไม่เที่ยง ไม่ได้ตั้งอยู่นาน มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความคิดของเรานั่นแหละเกิดๆ ดับๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมที่ท่านเปรียบเสมือนกับมายา
มายา หมายถึง ไม่มีตัวไม่มีตน แต่ใจของเราไปยึด ก็เลยเกิดเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตา ตาเนื้อเราก็มองเห็นว่าเป็นรูปร่าง เป็นโน่นเป็นนี่ แต่ตาธรรม ตาปัญญาของพระพุทธองค์ท่านมองให้ลึกลงไปในโลกนี้ไม่มีอะไรเลย มีแต่ความว่างเปล่า แม้แต่ใจของตัวเราเองก็ไม่ให้ยึดให้ปล่อยให้วาง ใจไม่มีกิเลสใจก็บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิดใจก็นิ่ง จิตหรือว่าจิตนิ่งจิตเที่ยง จิตเที่ยง นิพพานก็เที่ยง นิพพานก็คือตัวใจของตัวเรานั่นแหละ ใจไม่มีกิเลส ใจบริสุทธิ์ ใจไม่เกิด เขาเรียกว่า นิพพาน
เราก็ต้องพยายามศึกษาชีวิตของเราให้ได้ มองให้ออก บอกตัวเองให้ถูก ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ในอิริยาบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงให้ชัดเจน ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเสียเปรียบกิเลส ของคนโน้นคนนี้ ไม่ต้องไปกลัวว่าคนโน้นจะคิดอย่างนั้น คนนั้นจะคิดอย่างนี้ เราห้ามคนอื่นคิดไม่ได้ เรามาห้ามตัวเรา แก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา เป็นเรื่องของเรา ทำหน้าที่ให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราเข้าใจในชีวิตของเรา เราก็รู้จักแก้ไขจนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง มองเห็นหนทางเดินทะลุปรุโปร่ง อยู่ที่ไหนเราก็จะอยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ ไปทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุทางด้านนามธรรม เหตุทางด้านรูปธรรม ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้า ในกายของตัวเรา รอบรู้ในปัจจัยที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รอบรู้ในโลกธรรม ไม่ให้มาครอบงำใจของเรา
นี่แหละฝากทรัพย์ภายในไว้ให้ลูกให้หลาน ไว้ให้เด็กตั้งแต่ตัวเล็กๆ โตขึ้นมาก็จิตใจก็ปล่อยวางได้เร็วได้ไว สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็ให้ไปวัด ไปทำบุญให้ทาน ไปตักบาตร เวลาวันศีลวันพระก็เอารถเข็นไปเข็นสาด เข็นเสื่อ เข็นหมอน ให้กับคุณตาคุณยายไปนอนวัด ตื่นเช้าขึ้นมาก็ไปรับกลับมาบ้าน จิตใจก็ฝักใฝ่ในบุญในกุศล อยากได้บุญทำบุญ มีตั้งแต่อยาก อยากๆ ได้บุญ อยากทำบุญ จนบุญมันเต็มมันอิ่ม จนไม่ยึดไม่ติด จนปล่อยจนวางได้นั่นแหละ เขาเรียกว่า บุญเต็ม ใจไม่มีความอยากไม่มีความหิวโหย ใจก็เลยมีตั้งแต่ความอิ่ม อิ่มในบุญ ตัวใจก็อยู่กับบุญตลอดเวลา
คนเราเกิดมา เกิดมาแล้วจะไปไหนต้องพยายามดู กายเนื้อแตกดับก็เหลือตั้งแต่จิตวิญญาณ เราเอาจิตวิญญาณของเราสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างกรรมอย่างไร ถ้าไม่อยู่เหนือกรรมก็ไปตามกรรม เราต้องศึกษาเรื่องกรรม กรรมภายในก็คืออาการของความคิด ก็ตัวใจ กรรมภายนอกก็คือสิ่งเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรที่เป็นอกุศลเราก็ละ อะไรที่เป็นกุศลเราก็เจริญให้มีให้เกิดขึ้น สูงขึ้นไปก็ละหมดนั่นแหละ ละทั้งบุญละทั้งบาป แต่เราก็อยู่กับบุญสร้างบุญ
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เช้าวันอาทิตย์ท้องฟ้าก็แจ่ม เมื่อวานนี้ฝนก็ตกหนักอยู่เอาการ ญาติโยมของเราก็พากันฝักใฝ่ในการทำบุญในการให้ทาน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เห็นแล้วก็ชื่นใจ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ดูแลสุขภาพของตัวเรา แล้วก็ดูแลใจของเรา ให้ไม่ให้เกิดเป็นทาสของกิเลส ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด ทำความเข้าใจ เจริญสติ เข้าไปวิเคราะห์อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เห็นการเกิดการดับ เห็นลักษณะอาการ การแยกการเข้าไปร่วมความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เกิดจากตัวใจบ้าง เกิดจากอาการของขันธ์ห้าบ้าง หลายสิ่งหลายอย่างๆ พวกเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมา ตนตัวที่สองก็คือตัวใจ ใจของคนเรานี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาเกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด มาเกิดในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้า ปิดกั้นตัวเอง แล้วก็มายึดติดอีก แล้วก็เกิดต่อเป็นทาสกิเลสอีก
กิเลสก็มีหลายอย่าง ทั้งกิเลสหยาบ ทั้งกิเลสละเอียด ทั้งดำทั้งขาว ทั้งดีทั้งไม่ดี พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติมาอบรมใจ วิเคราะห์การทำงานของกายของใจ ของตัวเรา ให้รู้แจ้งเห็นจริง ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด เราก็ต้องมาสร้างผู้รู้ มาสร้างสติจนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา อบรมใจของเราให้ได้ ใช้ใจของเรา มองเห็นหนทางเดิน ไม่ต้องกลับมาเกิด ฝักใฝ่ในบุญในกุศล ละอกุศล เจริญกุศล ให้มีให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มองโลกในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ให้ถึงพร้อม ถึงจะเกิดประโยชน์ ไม่ว่าทางโลกทางธรรม
สมมติ วิมุตติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องศึกษาให้ละเอียด ไม่ใช่ผัดวันประกันพรุ่ง ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา การดำเนินชีวิต อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ การวิเคราะห์ใจ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ปัญญาต้องรู้ เรามาสร้างสติ มาสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้า ในกายของตัวเราเอง เราก็จะได้ดำเนินชีวิตไม่ได้ลำบาก อะไรขาดตกบกพร่องเราก็รีบแก้ไข อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง
แต่ละวันความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบ ความเสียสละ สัจจะกับตัวเอง การทำความเข้าใจ เราขาดตกบกพร่องอะไร สมมติอะไรของเราที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ เราก็ต้องพยายามแก้ไข จากน้อยๆ ไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บจะได้ปั๊บ
พระเราก็เหมือนกัน ชีเราก็เหมือนกัน เวลาจะขบจะฉันก็รู้จักพิจารณาแก้ไข กายเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ใจเกิดความอยาก ถ้ายิ่งกายเกิดความหิวนี่ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่าอย่างนั้น มันเล่นงานเอาไม่ใช่เฉพาะเรื่องอาหารอย่างเดียว
เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตาทำหน้าที่ดู ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟัง ห้ามไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง เรามีสติ คอยวิเคราะห์ คอยสังเกตใจของเรา ว่าใจเกิดความยินดีหรือไม่ ยินร้ายหรือไม่ ผลักไสหรือดึงเข้ามาหรือไม่ หรือว่าใจเป็นกลาง เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้ว่าอันนี้คือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ
ละเอียดลึกลงไปอีก อาการของใจอีก อาการของความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด เขาผุดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ส่วนมากเรารู้อยู่ว่าเราคิดเราทำ เรารู้อยู่เมื่อมันเกิดแล้ว เพราะว่าใจเป็นธาตุรู้ เราต้องมาเจริญสติหรือว่าผู้รู้ เข้าไปอบรมใจ เข้าไปวิเคราะห์ใจ จนใจคลายออกจากความคิดให้ได้ ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักณะอย่างนี้ อนิจจังความไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่าเป็นทุกข์ เพราะว่ามันไม่เที่ยง ไม่ได้ตั้งอยู่นาน มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความคิดของเรานั่นแหละเกิดๆ ดับๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมที่ท่านเปรียบเสมือนกับมายา
มายา หมายถึง ไม่มีตัวไม่มีตน แต่ใจของเราไปยึด ก็เลยเกิดเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตา ตาเนื้อเราก็มองเห็นว่าเป็นรูปร่าง เป็นโน่นเป็นนี่ แต่ตาธรรม ตาปัญญาของพระพุทธองค์ท่านมองให้ลึกลงไปในโลกนี้ไม่มีอะไรเลย มีแต่ความว่างเปล่า แม้แต่ใจของตัวเราเองก็ไม่ให้ยึดให้ปล่อยให้วาง ใจไม่มีกิเลสใจก็บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิดใจก็นิ่ง จิตหรือว่าจิตนิ่งจิตเที่ยง จิตเที่ยง นิพพานก็เที่ยง นิพพานก็คือตัวใจของตัวเรานั่นแหละ ใจไม่มีกิเลส ใจบริสุทธิ์ ใจไม่เกิด เขาเรียกว่า นิพพาน
เราก็ต้องพยายามศึกษาชีวิตของเราให้ได้ มองให้ออก บอกตัวเองให้ถูก ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ในอิริยาบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงให้ชัดเจน ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเสียเปรียบกิเลส ของคนโน้นคนนี้ ไม่ต้องไปกลัวว่าคนโน้นจะคิดอย่างนั้น คนนั้นจะคิดอย่างนี้ เราห้ามคนอื่นคิดไม่ได้ เรามาห้ามตัวเรา แก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา เป็นเรื่องของเรา ทำหน้าที่ให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราเข้าใจในชีวิตของเรา เราก็รู้จักแก้ไขจนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง มองเห็นหนทางเดินทะลุปรุโปร่ง อยู่ที่ไหนเราก็จะอยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ ไปทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุทางด้านนามธรรม เหตุทางด้านรูปธรรม ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณ ในขันธ์ห้า ในกายของตัวเรา รอบรู้ในปัจจัยที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รอบรู้ในโลกธรรม ไม่ให้มาครอบงำใจของเรา
นี่แหละฝากทรัพย์ภายในไว้ให้ลูกให้หลาน ไว้ให้เด็กตั้งแต่ตัวเล็กๆ โตขึ้นมาก็จิตใจก็ปล่อยวางได้เร็วได้ไว สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็ให้ไปวัด ไปทำบุญให้ทาน ไปตักบาตร เวลาวันศีลวันพระก็เอารถเข็นไปเข็นสาด เข็นเสื่อ เข็นหมอน ให้กับคุณตาคุณยายไปนอนวัด ตื่นเช้าขึ้นมาก็ไปรับกลับมาบ้าน จิตใจก็ฝักใฝ่ในบุญในกุศล อยากได้บุญทำบุญ มีตั้งแต่อยาก อยากๆ ได้บุญ อยากทำบุญ จนบุญมันเต็มมันอิ่ม จนไม่ยึดไม่ติด จนปล่อยจนวางได้นั่นแหละ เขาเรียกว่า บุญเต็ม ใจไม่มีความอยากไม่มีความหิวโหย ใจก็เลยมีตั้งแต่ความอิ่ม อิ่มในบุญ ตัวใจก็อยู่กับบุญตลอดเวลา
คนเราเกิดมา เกิดมาแล้วจะไปไหนต้องพยายามดู กายเนื้อแตกดับก็เหลือตั้งแต่จิตวิญญาณ เราเอาจิตวิญญาณของเราสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างกรรมอย่างไร ถ้าไม่อยู่เหนือกรรมก็ไปตามกรรม เราต้องศึกษาเรื่องกรรม กรรมภายในก็คืออาการของความคิด ก็ตัวใจ กรรมภายนอกก็คือสิ่งเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรที่เป็นอกุศลเราก็ละ อะไรที่เป็นกุศลเราก็เจริญให้มีให้เกิดขึ้น สูงขึ้นไปก็ละหมดนั่นแหละ ละทั้งบุญละทั้งบาป แต่เราก็อยู่กับบุญสร้างบุญ
ตั้งใจรับพรกัน