หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 32 วันที่ 20 พฤษภาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 32 วันที่ 20 พฤษภาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 32
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ไว้ชั่วครั้งชั่วคราว นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าววิธีการแนวทางให้พวกท่านไปทำไปฝึก ให้มีให้เกิดขึ้นในกายของเรา ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ ให้หายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด
ความไม่เข้าใจ เราก็พยายามฝึกบ่อยๆ หายใจเข้ายาวหายใจออกยาว หายใจเป็นธรรมชาติ มีความรู้สึกอยู่ที่ปลายจมูกของเรา ความรู้สึกอยู่ที่ปลายจมูกของเรานั่นแหละ ที่ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า สติรู้กาย มีความรู้ตัว เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เวลาหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกตัวเปรียบเสมือนกับนายทวาร รถคันไหนวิ่งเข้าก็รู้ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้ ไม่ต้องตามลมหายใจก็ได้ รู้อยู่ที่ปลายจมูก รู้อยู่ที่ตรงประตู พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ขณะที่เรามีความรู้ตัวอยู่ที่กายของเรา บางครั้งบางคราวใจของเราก็เกิดปรุงแต่งส่งไปภายนอก เราก็คิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ จึงจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือความรู้ตัวตัวหนึ่งที่เราสร้างมาใหม่ ส่วนใจนั้นก็อีกตัวหนึ่ง เห็นเป็นสองแล้วนะ ทีนี้เราสร้างความรู้ตัวไปเรื่อยๆ บางครั้งบางคราวความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา นี่ตัวที่สามโผล่ขึ้นมา มันจะเป็นเรื่องอะไรอีก เรื่องอดีต เรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เมื่อความคิดตรงนี้ผุดขึ้นมา ใจจะเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิดตรงนี้ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ถ้าเรามีความรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออกเราจะรู้ทันตรงนั้น เวลาเรารู้ทันปุ๊บใจจะเคลื่อนเข้าไปรวม ใจจะดีดออกจากความคิดตรงนั้น แล้วก็หงายขึ้นมา เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
เมื่อใจว่างรับรู้ ความรู้ที่เราสร้างขึ้นมาก็จะตามดูความคิดตรงนั้น เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวลาเขาจบ อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามาอีก ถ้าใจของเราเข้าไปรวมจะเหมือนกับเป็นสิ่งเดียวกันเลยทีเดียว เป็นความหลง ความหลงแล้วก็ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า กายก็เลยหนัก ใจก็เลยหนัก เราพยายามหัดวิเคราะห์ดูดีๆ เราเห็นของดีอยู่ในกายของเราเยอะแยะมากมาย วางทิฏฐิ ความเห็นต่างๆ เอาไว้ อย่าเพิ่งเอาอันโน้นมาคิด อย่าเพิ่งเอาอันนี้มาคิด เราสร้างความรู้ตัวเข้าไปรู้ความคิดเก่าที่มีอยู่เดิม ว่าการเกิดการดับของเขาเป็นอย่างไร เขารวมเขาร่วมกันได้อย่างไร ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักละกิเลสขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่หรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดขึ้นจากใจโดยตรง เราต้องพยายามค้นคว้าหาวิธีการหาแนวทาง
ส่วนใจของทุกคนนั้นอยู่ในกองบุญอยู่ในกองกุศล มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป แล้วก็มีการสร้างบุญสร้างกุศล มีการทำบุญให้ทานอยู่ตลอด ตั้งแต่มาตั้งนานแล้ว ทีนี้เราก็มาฝึก มาสังเกต มาวิเคราะห์ เหตุการเกิดการดับ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน พยายามฝึกศึกษาดูรู้ให้เท่ารู้ให้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักวิธีการแนวทางเราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่าใจของเราขณะนี้สะอาดบริสุทธิ์ ความปกติเป็นลักษณะอย่างไร
คำว่า ศีล ความปกติ ศีลอยู่ในระดับการข่มเอาไว้ หรือว่าอยู่ในระดับของการรู้เห็นความเป็นจริงแล้วปล่อยวาง ตัวศีลก็คือตัวใจนั่นแหละ คือศีล ความปกติ ความปกติเขาเรียกว่า สมาธิ สมาธิด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสมาธิที่เกิดจากการละกิเลส สมาธิที่ใจปราศจากกิเลส ใจไม่เกิด ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง เราพยายามหมั่นอบรมใจของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาใจส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง เราต้องดูต้องศึกษา เราเจริญสติปัญญาไปเกิดแทน ทำหน้าที่แทน เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้มีศรัทธาความเชื่อ แล้วต้องเชื่อด้วยเกิดจากการเจริญภาวนา รู้แจ้งเห็นจริง เราละกิเลสหยาบได้อย่างไร เราละกิเลสละเอียดได้อย่างไร กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ มีกันทุกคนนั่นแหละ เพราะว่าใจมันสร้างสะสมมันหลงตรงนี้มานาน เราพยายามอบรมใจของเราบ่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เพียงแค่การเจริญสติการเจริญปัญญาก็ยังไม่ต่อเนื่องกัน ก็เลยรู้ไม่เท่าทันการเกิดใจ ก็ต้องพยายามกันนะ ทั้งภายนอก สมมติ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณ ให้รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรคือสมมติอะไรคือวิมุตติ คำว่า อัตตา อนัตตา เป็นอย่างไร ใจส่งไปภายนอก จะเข้าหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐได้อย่างไร
เราต้องเข้าถึงด้วย เมื่อเรารู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย จะระลึกนึกถึงคุณพระพุทธเจ้าทันที ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ถ้าไม่มีจริง ท่านไม่ได้ค้นพบแล้วมาประกาศให้สัตว์โลกได้รู้ได้เดินตาม ท่านก็บอกว่าอย่าเพิ่งเอาความคิดเก่ามาตัดความกังวล ดับความกังวล ความลังเล ความสงสัยต่างๆ ออกไปให้หมด เจริญสติให้ต่อเนื่อง ควบคุมใจของเราให้ได้
ใจของคนเรานี้ เปรียบเสมือนกับลิงนั่นแหละ ซุกซน วิ่งหน้าวิ่งหลัง สารพัดอย่าง ขณะนั่งฟังอยู่นี่มันยังไป ขณะท่องบทสวดมนต์อยู่มันก็ยังไป เราต้องควบคุมบ่อยๆ อบรมบ่อยๆ ชี้เหตุชี้ผลบ่อยๆ จนใจแยกได้ คลายได้ ตามดูได้ ละได้ จนความเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด เข้าไปหลงขันธ์ห้าเขาก็ไม่หลง เป็นทาสกิเลสเขาก็ไม่เอา ถ้าเขารู้ความเป็นจริงแล้ว แต่เวลานี้ บุญกุศลก็พยายามสร้างสะสมกัน สร้างบารมีกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำกายให้ว่าง สมองให้โล่ง ทำใจให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
ไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามพากันไปศึกษาให้รู้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งหมดลมหายใจ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่ง หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ไว้ชั่วครั้งชั่วคราว นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าววิธีการแนวทางให้พวกท่านไปทำไปฝึก ให้มีให้เกิดขึ้นในกายของเรา ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ ให้หายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด
ความไม่เข้าใจ เราก็พยายามฝึกบ่อยๆ หายใจเข้ายาวหายใจออกยาว หายใจเป็นธรรมชาติ มีความรู้สึกอยู่ที่ปลายจมูกของเรา ความรู้สึกอยู่ที่ปลายจมูกของเรานั่นแหละ ที่ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า สติรู้กาย มีความรู้ตัว เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เวลาหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกตัวเปรียบเสมือนกับนายทวาร รถคันไหนวิ่งเข้าก็รู้ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้ ไม่ต้องตามลมหายใจก็ได้ รู้อยู่ที่ปลายจมูก รู้อยู่ที่ตรงประตู พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ขณะที่เรามีความรู้ตัวอยู่ที่กายของเรา บางครั้งบางคราวใจของเราก็เกิดปรุงแต่งส่งไปภายนอก เราก็คิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ จึงจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือความรู้ตัวตัวหนึ่งที่เราสร้างมาใหม่ ส่วนใจนั้นก็อีกตัวหนึ่ง เห็นเป็นสองแล้วนะ ทีนี้เราสร้างความรู้ตัวไปเรื่อยๆ บางครั้งบางคราวความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา นี่ตัวที่สามโผล่ขึ้นมา มันจะเป็นเรื่องอะไรอีก เรื่องอดีต เรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เมื่อความคิดตรงนี้ผุดขึ้นมา ใจจะเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิดตรงนี้ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ถ้าเรามีความรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออกเราจะรู้ทันตรงนั้น เวลาเรารู้ทันปุ๊บใจจะเคลื่อนเข้าไปรวม ใจจะดีดออกจากความคิดตรงนั้น แล้วก็หงายขึ้นมา เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
เมื่อใจว่างรับรู้ ความรู้ที่เราสร้างขึ้นมาก็จะตามดูความคิดตรงนั้น เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวลาเขาจบ อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามาอีก ถ้าใจของเราเข้าไปรวมจะเหมือนกับเป็นสิ่งเดียวกันเลยทีเดียว เป็นความหลง ความหลงแล้วก็ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า กายก็เลยหนัก ใจก็เลยหนัก เราพยายามหัดวิเคราะห์ดูดีๆ เราเห็นของดีอยู่ในกายของเราเยอะแยะมากมาย วางทิฏฐิ ความเห็นต่างๆ เอาไว้ อย่าเพิ่งเอาอันโน้นมาคิด อย่าเพิ่งเอาอันนี้มาคิด เราสร้างความรู้ตัวเข้าไปรู้ความคิดเก่าที่มีอยู่เดิม ว่าการเกิดการดับของเขาเป็นอย่างไร เขารวมเขาร่วมกันได้อย่างไร ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักละกิเลสขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่หรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดขึ้นจากใจโดยตรง เราต้องพยายามค้นคว้าหาวิธีการหาแนวทาง
ส่วนใจของทุกคนนั้นอยู่ในกองบุญอยู่ในกองกุศล มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป แล้วก็มีการสร้างบุญสร้างกุศล มีการทำบุญให้ทานอยู่ตลอด ตั้งแต่มาตั้งนานแล้ว ทีนี้เราก็มาฝึก มาสังเกต มาวิเคราะห์ เหตุการเกิดการดับ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน พยายามฝึกศึกษาดูรู้ให้เท่ารู้ให้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักวิธีการแนวทางเราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่าใจของเราขณะนี้สะอาดบริสุทธิ์ ความปกติเป็นลักษณะอย่างไร
คำว่า ศีล ความปกติ ศีลอยู่ในระดับการข่มเอาไว้ หรือว่าอยู่ในระดับของการรู้เห็นความเป็นจริงแล้วปล่อยวาง ตัวศีลก็คือตัวใจนั่นแหละ คือศีล ความปกติ ความปกติเขาเรียกว่า สมาธิ สมาธิด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสมาธิที่เกิดจากการละกิเลส สมาธิที่ใจปราศจากกิเลส ใจไม่เกิด ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง เราพยายามหมั่นอบรมใจของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาใจส่งไปภายนอกสักกี่เรื่อง เราต้องดูต้องศึกษา เราเจริญสติปัญญาไปเกิดแทน ทำหน้าที่แทน เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
พระพุทธองค์ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้มีศรัทธาความเชื่อ แล้วต้องเชื่อด้วยเกิดจากการเจริญภาวนา รู้แจ้งเห็นจริง เราละกิเลสหยาบได้อย่างไร เราละกิเลสละเอียดได้อย่างไร กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ มีกันทุกคนนั่นแหละ เพราะว่าใจมันสร้างสะสมมันหลงตรงนี้มานาน เราพยายามอบรมใจของเราบ่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เพียงแค่การเจริญสติการเจริญปัญญาก็ยังไม่ต่อเนื่องกัน ก็เลยรู้ไม่เท่าทันการเกิดใจ ก็ต้องพยายามกันนะ ทั้งภายนอก สมมติ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในดวงวิญญาณ ให้รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรคือสมมติอะไรคือวิมุตติ คำว่า อัตตา อนัตตา เป็นอย่างไร ใจส่งไปภายนอก จะเข้าหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐได้อย่างไร
เราต้องเข้าถึงด้วย เมื่อเรารู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย จะระลึกนึกถึงคุณพระพุทธเจ้าทันที ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ถ้าไม่มีจริง ท่านไม่ได้ค้นพบแล้วมาประกาศให้สัตว์โลกได้รู้ได้เดินตาม ท่านก็บอกว่าอย่าเพิ่งเอาความคิดเก่ามาตัดความกังวล ดับความกังวล ความลังเล ความสงสัยต่างๆ ออกไปให้หมด เจริญสติให้ต่อเนื่อง ควบคุมใจของเราให้ได้
ใจของคนเรานี้ เปรียบเสมือนกับลิงนั่นแหละ ซุกซน วิ่งหน้าวิ่งหลัง สารพัดอย่าง ขณะนั่งฟังอยู่นี่มันยังไป ขณะท่องบทสวดมนต์อยู่มันก็ยังไป เราต้องควบคุมบ่อยๆ อบรมบ่อยๆ ชี้เหตุชี้ผลบ่อยๆ จนใจแยกได้ คลายได้ ตามดูได้ ละได้ จนความเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด เข้าไปหลงขันธ์ห้าเขาก็ไม่หลง เป็นทาสกิเลสเขาก็ไม่เอา ถ้าเขารู้ความเป็นจริงแล้ว แต่เวลานี้ บุญกุศลก็พยายามสร้างสะสมกัน สร้างบารมีกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำกายให้ว่าง สมองให้โล่ง ทำใจให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
ไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามพากันไปศึกษาให้รู้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งหมดลมหายใจ