หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 35 วันที่ 4 มิถุนายน 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 35 วันที่ 4 มิถุนายน 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 35
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็อากาศเย็นสบาย เมื่อวานนี้ก็ได้บวชนาคบวชพระกันหลายองค์หลายรูป 4-5 รูป กว่าจะบวชเสร็จ กว่าจะได้รับประทานข้าวปลาอาหารก็เลยเที่ยง ก็เลยเกิดอาการของความหิว ยิ่งพระบวชใหม่ ทั้งใหม่ทั้งเก่านั่นแหละ ก็พยาพยามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ กายเกิดความหิวใจจะเกิดความอยาก ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว นั่นแหละให้เราพยายามรู้จักควบคุม รู้จักดับ ความเกิด ดับความอยาก อันโน้นก็จะอร่อยอันนี้ก็จะอร่อยกิเลสมันสั่ง เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา ทั้งที่ยังมาไม่ถึง กิเลสมันเล่นงานเอาเพราะว่าความหิว เราก็ต้องพยายามดู ทั้งพระใหม่พระเก่า ทั้งชี รวมทั้งฆราวาสทุกคน ต้องพยายามรู้ให้ทัน รู้ให้ทันกลไกของกิเลส รู้ให้ทันกลไกของความอยาก
ใจเกิดความอยากกายก็เกิดความหิว การเกิดของใจก็จะเกิดได้เร็วได้ไวเพราะว่าความเคยชิน ทุกคนไปมั่นหมายเอาการเกิดของใจว่าเป็นปัญญา อันนั้นยังไม่ใช่ เป็นปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลก ปัญญากิเลส ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเรา เราก็หัดวิเคราะห์หัดสังเกต อบรมใจบ่อยๆ หยุดความเกิดของใจด้วยการสร้างความรู้ตัว อยู่กับสมถะภาวนา อยู่กับลมหายใจ ฝึกบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ เราก็จะเห็น ความรู้ตัวของเราก็จะเข็มแข็งขึ้น ซึ่งเรียกว่า สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เอาไปใช้การใช้งาน
ช่วงใหม่ๆ ความคิดเก่าๆ เขาอาจจะเกิดเร็วไวขึ้น เราก็พยายามดับ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส ความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ภาษาธรรมท่านเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ขันธ์ห้ามีอะไรบ้าง เราต้องเจริญสติเข้าไปดู เข้าไปรู้ให้ทัน ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณนั่นแหละคือหนึ่งในขันธ์ห้า ตัวกายของเราก็เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า เห็นเป็นสอง ตัววิญญาณกับกาย กายเป็นส่วนรูป วิญญาณเป็นส่วนนาม แล้วก็ความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิดอีก บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เขาเรียกว่า กอง กองของสัญญา ความจำได้หมายรู้ ถ้าเราหัดสังเกตใจคลายออกจากความคิด เราถึงจะมองเห็นชัดเจน
แต่เวลานี้กำลังสติรู้ตัวของเราที่จะไปควบคุมใจมีไม่เพียงพอ ท่านถึงบอกให้ฝึก และก็พยายามทำให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ หมั่นอบรมใจของเรา ละความอยาก ดับความอยาก ดับความเกิด ดับความอยากความโลภ ความโกรธ ตัดความกังวล หรือภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปลิโพธกังวล ให้พยายามอย่าเอาเก็บมาคิด คิดว่าจะเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ คนโน้นจะว่าเราอย่างโน้น คนนี้จะว่าเราอย่างนี้ ทำลงไปแล้วมันได้อะไรบ้าง มันจะเกิดผละไรบ้าง ไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ เราพยายามหยุด พยายามดับ พยายามฝึกในสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบและประกาศจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
การเจริญสติความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ การดับการควบคุมการอบรมใจเป็นอย่างนี้ สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปใช้การใช้งานเป็นอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นเรื่องอะไร ความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร มันสลับซับซ้อนมากเลยทีเดียวในกายของเรา ความเกิดของใจ ความเกิดของความคิด ซึ่งเรียกว่า อาการ ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม จะมองด้วยตาเนื้อก็มองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาปัญญา คือการเจริญสติ สร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทันแล้วก็รู้จักตามทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เราก็จะเห็น ยิ่งใจคลายออกจากความคิดก็จะเห็นชัดเจน ใจก็ว่าง กายก็เบา
ความเกิดความดับของขันธ์ห้าเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา เวลาเขาดับไป ความว่างเปล่าก็มาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจก็ส่งออกไปภายนอก รวมกันไปทั้งก้อน ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กาย แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่องให้ได้
แต่เวลานี้กำลังสติเราก็ยังไม่เข้าใจ บางคนบางท่านก็อาจจะฝึก ก็อาจจะทำอยู่ได้เป็นบางครั้ง ต่อเนื่องกันได้ทีละนาที 2 นาที ตามหลักของความเป็นจริงต้องเอาไปใช้ ตามดูรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างจนใจยอมรับความเป็นจริง ใจถึงยอมปล่อยยอมวาง ถ้าไม่เห็นจุดเกิดจุดดับ จุดแยกจุดคลาย ตามทำความเข้าใจ ก็ยากที่เขาจะปล่อยจะวางได้ เพราะว่าเขาเกิดมานาน แต่ก็ให้อยู่ในคุณงามความดีเอาไว้ หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ หมั่นอบรมกายอบรมใจของเรา ตาทำหน้าที่อย่างนี้ หูทำหน้าที่อย่างนี้ ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างนี้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างนี้ เป็นเรื่องของเราทุกคนไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ภาษาธรรมภาษาโลก ถ้าใจแยกรูปแยกนามได้เราก็จะเข้าใจภาษาธรรมภาษาโลก เข้าใจคำว่า อัตตา อนัตตา เข้าใจเห็นการเกิดการดับ รู้เรื่องหลักของอริยสัจ เราจะระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ทันทีว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ท่านไม่ได้พูดเล่นๆ สัจจะมีจริง ท่านถึงบอกสัจจะ ปรมัตถสัจจะ สมมติสัจจะ มีหมดอยู่ในกายของเรา
เราพยายามศึกษา คำว่า ศีล เป็นอย่างไร ศีล สมาธิ ปัญญา ความปกติ ปกติระดับไหน ระดับกาย ปกติระดับใจ ปกติด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักละกิเลส ใจเกิดความโลภความโกรธ ความมานะถือตัวเราก็พยายามดับ อย่าเอาความคิดเก่าๆ มาโต้แย้ง พยายามฝึกฝนเอาสติปัญญาเป็นปัญญาตัวใหม่เข้าไปอบรมใจของเรา กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะว่าเขาอยู่ด้วยกันมานาน เขาเกิดมานานเขาหลงมานาน ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เราก็รู้อยู่เพียงแค่ว่าเราคิดเราทำ สร้างคุณงามความดีอยู่ในระดับของสมมติ อันนี้ก็ถูกอยู่ในระดับของสมมติ
พระพุทธพระองค์ให้มองทะลุปรุโปร่งไปถึงหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง หลักของความไม่มี มีในความไม่มี ความว่างใจที่ว่างจากการเกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจเกิดกิเลสเป็นอย่างนี้ เราจะเอาอะไรไปแก้ไขก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรา ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภด้วยการคลาย ด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัย มองโลกในทางที่ดีคิดดี หมั่นพร่ำสอนตัวเรา หมั่นเจริญสติเข้าไปอบรมกายอบรมใจของเรา
เพียงแค่การเจริญสติก็ยังยากลำบาก ก็ต้องพยายามกัน จะยากถึงขนาดไหนก็ต้องพยายาม ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส การได้ยินได้ฟังได้อ่านนั้นเป็นแค่เพียงแผนที่ การได้ยินก็เป็นแค่เพียงการพูดจา ชี้แนะวิธีการแนวทางสื่อความหมายของภาษาสมมติเท่านั้น เราจงพยายามหัดวิเคราะห์ใจของเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน หมั่นพร่ำสอนตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุกจากก้าวจะเดิน เข้าห้องส้วมเข้าห้องน้ำ สติพากายไปใจรับรู้ แต่ส่วนมากก็ใจไปก่อน ความเคยชินใจเกิดก่อน บางทีก็ขันธ์ห้ากับใจรวมกันไปก่อน บางทีทั้งขันธ์ห้าทั้งใจทั้งปัญญารวมกันไปทั้งก้อน ท่านถึงบอกว่าให้เจริญสติ ส่วนสมองส่วนปัญญาส่วนบนลงที่กายของเรา อยู่ที่ลมหายใจบ้าง อยู่ที่การเดินบ้าง ให้ต่อเนื่อง แล้วก็หัดวิเคราะห์ตั้งแต่ใจเริ่มก่อตัวอย่างไร อาการของขันธ์ห้า ความคิดเริ่มก่อตัวอย่างไร ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ถ้าสังเกตทันเขาจะแยกของเขาเอง ถ้าสังเกตไม่ทันเขาก็รวมกันไป เราก็พยายามหยุดไว้ก่อน ดับไว้ก่อน ดับอยู่กับลมหายใจ หรือว่าจะเอาคำบริกรรมเข้าไปกำกับแล้วแต่อุบายของแต่ละคน
พยายามช่วยเหลือตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ตัดความกังวล ความฟุ้งซ่านต่างๆ เรื่องที่พักเราก็พยายามตัดออกไป เรื่องอาหารการอยู่ การขบการฉัน เราก็พยายามดับออกไป ตัดออกไปทีละเล็กละน้อย จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา พยายาม ตัวใจก็เข้าข้างตัวเอง ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งเข้าข้างตัวเอง เพราะว่ากายก็ต้องการอาหารมาหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่กิเลสมันก็เล่นงานเอา อันโน้นก็ กายชอบอย่างโน้นกายชอบอย่างนี้ สารพัดเรื่อง ความเกิดของใจ ทั้งความเกิดความไม่เกิดนั่นแหละ ก็ต้องพยายามดู รู้ให้ชัดเจน ได้เท่าไรก็เอา
พระบวชใหม่ ทั้งใหม่ทั้งเก่า เราต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เขาเรียกว่า ผู้ใหม่ ใหม่ในการละกิเลส ไม่ใช่ว่ายิ่งเก่าเท่าไรกิเลสยิ่งเยอะ ยิ่งเก่าเท่าไรยิ่งพยายามขัดเกลากิเลสออกให้เยอะ อย่าให้มีความโลภเข้าครอบงำ เห็นไหมได้ยินข่าวเห็นว่าไล่จับกันไปถึงประเทศไหนแล้ว จับพระผู้ใหญ่สึกก็เพราะว่าความโลภ ความโลภความอยาก ทั้งพระทั้งสำนักพุทธ อะไรที่ว่าเอาเงินอะไรเอาเงินทอนวัดหรือว่าเงินอะไรนั่นแหละ ใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น มีแต่ความโลภเข้าครอบงำ ก็ทั้งหลง ทั้งยึด ทั้งติด เขาทำเงิน มองเห็นเงินเป็นเศษกระดาษ แต่ให้รู้จักคุณค่า ให้รู้จักใช้ประโยชน์ อันนั้นใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น มีด้วยความโลภ ความอยาก ความยึด ก็เลยทุกข์ ไล่จับกันเข้าคุกเข้าตาราง ไม่มีใครผิดใครถูกหรอก เพราะว่ามันผิดหมดนั่นแหละ ผิดทั้งสมมติ
ถ้ามีกิเลสมันก็เล่นงานเอา กิเลสสมมติมันก็เล่นงานเอา ใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น แทนที่จะเขาให้เงินมา แทนที่จะเอาเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดอานิสงส์ทางสมมติ แต่มาหลง มายึด มาติด ก็ไปฉ้อโกงกัน ทุกสิ่งทุกวิธีการแนวทางก็เลยวุ่นวายกันไปทั่ว ท่านถึงบอกว่าให้มาจัดการกับตัวเรา แก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนมันไม่มีอะไรที่จะเหลืออยู่ในจิตใจ จนความโลภ ความโกรธ ความอยาก แม้แต่การเกิดของใจเราก็พยายามอย่าให้มี ส่วนมากก็อยู่ในกองบุญกองกุศล อยู่ในบุญในกุศล อยู่ในระดับหนึ่ง
แต่การเจริญสติปัญญาเนี่ยต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขทั้งภายนอกทั้งภายใน เหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด แล้วก็พยายามแก้ข้างนอกด้วยดับข้างในด้วย ทำความเข้าใจบ่อยๆ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ยิ่งพระบวชใหม่ก็ต้องพยายาม ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ใจที่สงบเป็นอย่างนี้ ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปอบรมใจของเราได้เท่าไร รู้เท่าทันใจของเราเท่าไร ใหม่ๆ ก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายมันฝึกยาก ถ้าใจตกกระแสธรรม แยกรูปแยกนาม มองเห็นความเป็นจริง มันถึงจะเริ่มง่าย
ใหม่ๆ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลสทุกอย่างเลยทีเดียว จนใจของเราเดินปัญญาแยกรูปแยกนาม ตกกระแสธรรม กิเลสตัวไหนเราละได้เราก็รู้ ตัวไหนมันยังเกิดอยู่เราก็พยายามละ ละไปเรื่อยๆ เหมือนกับน้ำไหลลงสู่มหาสมุทร ถึงเวลามันก็ถึง การขัดเกลากิเลสก็เหมือนกัน อย่าไปโทษคนอื่น โทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนรู้เห็นความเป็นจริงท่านถึงบอกให้เชื่อ
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็อากาศเย็นสบาย เมื่อวานนี้ก็ได้บวชนาคบวชพระกันหลายองค์หลายรูป 4-5 รูป กว่าจะบวชเสร็จ กว่าจะได้รับประทานข้าวปลาอาหารก็เลยเที่ยง ก็เลยเกิดอาการของความหิว ยิ่งพระบวชใหม่ ทั้งใหม่ทั้งเก่านั่นแหละ ก็พยาพยามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ กายเกิดความหิวใจจะเกิดความอยาก ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว นั่นแหละให้เราพยายามรู้จักควบคุม รู้จักดับ ความเกิด ดับความอยาก อันโน้นก็จะอร่อยอันนี้ก็จะอร่อยกิเลสมันสั่ง เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา ทั้งที่ยังมาไม่ถึง กิเลสมันเล่นงานเอาเพราะว่าความหิว เราก็ต้องพยายามดู ทั้งพระใหม่พระเก่า ทั้งชี รวมทั้งฆราวาสทุกคน ต้องพยายามรู้ให้ทัน รู้ให้ทันกลไกของกิเลส รู้ให้ทันกลไกของความอยาก
ใจเกิดความอยากกายก็เกิดความหิว การเกิดของใจก็จะเกิดได้เร็วได้ไวเพราะว่าความเคยชิน ทุกคนไปมั่นหมายเอาการเกิดของใจว่าเป็นปัญญา อันนั้นยังไม่ใช่ เป็นปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลก ปัญญากิเลส ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเรา เราก็หัดวิเคราะห์หัดสังเกต อบรมใจบ่อยๆ หยุดความเกิดของใจด้วยการสร้างความรู้ตัว อยู่กับสมถะภาวนา อยู่กับลมหายใจ ฝึกบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ เราก็จะเห็น ความรู้ตัวของเราก็จะเข็มแข็งขึ้น ซึ่งเรียกว่า สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เอาไปใช้การใช้งาน
ช่วงใหม่ๆ ความคิดเก่าๆ เขาอาจจะเกิดเร็วไวขึ้น เราก็พยายามดับ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส ความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ภาษาธรรมท่านเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ขันธ์ห้ามีอะไรบ้าง เราต้องเจริญสติเข้าไปดู เข้าไปรู้ให้ทัน ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณนั่นแหละคือหนึ่งในขันธ์ห้า ตัวกายของเราก็เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า เห็นเป็นสอง ตัววิญญาณกับกาย กายเป็นส่วนรูป วิญญาณเป็นส่วนนาม แล้วก็ความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิดอีก บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เขาเรียกว่า กอง กองของสัญญา ความจำได้หมายรู้ ถ้าเราหัดสังเกตใจคลายออกจากความคิด เราถึงจะมองเห็นชัดเจน
แต่เวลานี้กำลังสติรู้ตัวของเราที่จะไปควบคุมใจมีไม่เพียงพอ ท่านถึงบอกให้ฝึก และก็พยายามทำให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ หมั่นอบรมใจของเรา ละความอยาก ดับความอยาก ดับความเกิด ดับความอยากความโลภ ความโกรธ ตัดความกังวล หรือภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปลิโพธกังวล ให้พยายามอย่าเอาเก็บมาคิด คิดว่าจะเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ คนโน้นจะว่าเราอย่างโน้น คนนี้จะว่าเราอย่างนี้ ทำลงไปแล้วมันได้อะไรบ้าง มันจะเกิดผละไรบ้าง ไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ เราพยายามหยุด พยายามดับ พยายามฝึกในสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบและประกาศจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
การเจริญสติความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ การดับการควบคุมการอบรมใจเป็นอย่างนี้ สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปใช้การใช้งานเป็นอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นเรื่องอะไร ความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร มันสลับซับซ้อนมากเลยทีเดียวในกายของเรา ความเกิดของใจ ความเกิดของความคิด ซึ่งเรียกว่า อาการ ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม จะมองด้วยตาเนื้อก็มองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาปัญญา คือการเจริญสติ สร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทันแล้วก็รู้จักตามทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เราก็จะเห็น ยิ่งใจคลายออกจากความคิดก็จะเห็นชัดเจน ใจก็ว่าง กายก็เบา
ความเกิดความดับของขันธ์ห้าเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา เวลาเขาดับไป ความว่างเปล่าก็มาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจก็ส่งออกไปภายนอก รวมกันไปทั้งก้อน ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กาย แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่องให้ได้
แต่เวลานี้กำลังสติเราก็ยังไม่เข้าใจ บางคนบางท่านก็อาจจะฝึก ก็อาจจะทำอยู่ได้เป็นบางครั้ง ต่อเนื่องกันได้ทีละนาที 2 นาที ตามหลักของความเป็นจริงต้องเอาไปใช้ ตามดูรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างจนใจยอมรับความเป็นจริง ใจถึงยอมปล่อยยอมวาง ถ้าไม่เห็นจุดเกิดจุดดับ จุดแยกจุดคลาย ตามทำความเข้าใจ ก็ยากที่เขาจะปล่อยจะวางได้ เพราะว่าเขาเกิดมานาน แต่ก็ให้อยู่ในคุณงามความดีเอาไว้ หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ หมั่นอบรมกายอบรมใจของเรา ตาทำหน้าที่อย่างนี้ หูทำหน้าที่อย่างนี้ ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างนี้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างนี้ เป็นเรื่องของเราทุกคนไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ภาษาธรรมภาษาโลก ถ้าใจแยกรูปแยกนามได้เราก็จะเข้าใจภาษาธรรมภาษาโลก เข้าใจคำว่า อัตตา อนัตตา เข้าใจเห็นการเกิดการดับ รู้เรื่องหลักของอริยสัจ เราจะระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ทันทีว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ท่านไม่ได้พูดเล่นๆ สัจจะมีจริง ท่านถึงบอกสัจจะ ปรมัตถสัจจะ สมมติสัจจะ มีหมดอยู่ในกายของเรา
เราพยายามศึกษา คำว่า ศีล เป็นอย่างไร ศีล สมาธิ ปัญญา ความปกติ ปกติระดับไหน ระดับกาย ปกติระดับใจ ปกติด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักละกิเลส ใจเกิดความโลภความโกรธ ความมานะถือตัวเราก็พยายามดับ อย่าเอาความคิดเก่าๆ มาโต้แย้ง พยายามฝึกฝนเอาสติปัญญาเป็นปัญญาตัวใหม่เข้าไปอบรมใจของเรา กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะว่าเขาอยู่ด้วยกันมานาน เขาเกิดมานานเขาหลงมานาน ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เราก็รู้อยู่เพียงแค่ว่าเราคิดเราทำ สร้างคุณงามความดีอยู่ในระดับของสมมติ อันนี้ก็ถูกอยู่ในระดับของสมมติ
พระพุทธพระองค์ให้มองทะลุปรุโปร่งไปถึงหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง หลักของความไม่มี มีในความไม่มี ความว่างใจที่ว่างจากการเกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจเกิดกิเลสเป็นอย่างนี้ เราจะเอาอะไรไปแก้ไขก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรา ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภด้วยการคลาย ด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัย มองโลกในทางที่ดีคิดดี หมั่นพร่ำสอนตัวเรา หมั่นเจริญสติเข้าไปอบรมกายอบรมใจของเรา
เพียงแค่การเจริญสติก็ยังยากลำบาก ก็ต้องพยายามกัน จะยากถึงขนาดไหนก็ต้องพยายาม ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส การได้ยินได้ฟังได้อ่านนั้นเป็นแค่เพียงแผนที่ การได้ยินก็เป็นแค่เพียงการพูดจา ชี้แนะวิธีการแนวทางสื่อความหมายของภาษาสมมติเท่านั้น เราจงพยายามหัดวิเคราะห์ใจของเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน หมั่นพร่ำสอนตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุกจากก้าวจะเดิน เข้าห้องส้วมเข้าห้องน้ำ สติพากายไปใจรับรู้ แต่ส่วนมากก็ใจไปก่อน ความเคยชินใจเกิดก่อน บางทีก็ขันธ์ห้ากับใจรวมกันไปก่อน บางทีทั้งขันธ์ห้าทั้งใจทั้งปัญญารวมกันไปทั้งก้อน ท่านถึงบอกว่าให้เจริญสติ ส่วนสมองส่วนปัญญาส่วนบนลงที่กายของเรา อยู่ที่ลมหายใจบ้าง อยู่ที่การเดินบ้าง ให้ต่อเนื่อง แล้วก็หัดวิเคราะห์ตั้งแต่ใจเริ่มก่อตัวอย่างไร อาการของขันธ์ห้า ความคิดเริ่มก่อตัวอย่างไร ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ถ้าสังเกตทันเขาจะแยกของเขาเอง ถ้าสังเกตไม่ทันเขาก็รวมกันไป เราก็พยายามหยุดไว้ก่อน ดับไว้ก่อน ดับอยู่กับลมหายใจ หรือว่าจะเอาคำบริกรรมเข้าไปกำกับแล้วแต่อุบายของแต่ละคน
พยายามช่วยเหลือตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ตัดความกังวล ความฟุ้งซ่านต่างๆ เรื่องที่พักเราก็พยายามตัดออกไป เรื่องอาหารการอยู่ การขบการฉัน เราก็พยายามดับออกไป ตัดออกไปทีละเล็กละน้อย จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา พยายาม ตัวใจก็เข้าข้างตัวเอง ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งเข้าข้างตัวเอง เพราะว่ากายก็ต้องการอาหารมาหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่กิเลสมันก็เล่นงานเอา อันโน้นก็ กายชอบอย่างโน้นกายชอบอย่างนี้ สารพัดเรื่อง ความเกิดของใจ ทั้งความเกิดความไม่เกิดนั่นแหละ ก็ต้องพยายามดู รู้ให้ชัดเจน ได้เท่าไรก็เอา
พระบวชใหม่ ทั้งใหม่ทั้งเก่า เราต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เขาเรียกว่า ผู้ใหม่ ใหม่ในการละกิเลส ไม่ใช่ว่ายิ่งเก่าเท่าไรกิเลสยิ่งเยอะ ยิ่งเก่าเท่าไรยิ่งพยายามขัดเกลากิเลสออกให้เยอะ อย่าให้มีความโลภเข้าครอบงำ เห็นไหมได้ยินข่าวเห็นว่าไล่จับกันไปถึงประเทศไหนแล้ว จับพระผู้ใหญ่สึกก็เพราะว่าความโลภ ความโลภความอยาก ทั้งพระทั้งสำนักพุทธ อะไรที่ว่าเอาเงินอะไรเอาเงินทอนวัดหรือว่าเงินอะไรนั่นแหละ ใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น มีแต่ความโลภเข้าครอบงำ ก็ทั้งหลง ทั้งยึด ทั้งติด เขาทำเงิน มองเห็นเงินเป็นเศษกระดาษ แต่ให้รู้จักคุณค่า ให้รู้จักใช้ประโยชน์ อันนั้นใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น มีด้วยความโลภ ความอยาก ความยึด ก็เลยทุกข์ ไล่จับกันเข้าคุกเข้าตาราง ไม่มีใครผิดใครถูกหรอก เพราะว่ามันผิดหมดนั่นแหละ ผิดทั้งสมมติ
ถ้ามีกิเลสมันก็เล่นงานเอา กิเลสสมมติมันก็เล่นงานเอา ใช้ไม่เป็นมีไม่เป็น แทนที่จะเขาให้เงินมา แทนที่จะเอาเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดอานิสงส์ทางสมมติ แต่มาหลง มายึด มาติด ก็ไปฉ้อโกงกัน ทุกสิ่งทุกวิธีการแนวทางก็เลยวุ่นวายกันไปทั่ว ท่านถึงบอกว่าให้มาจัดการกับตัวเรา แก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนมันไม่มีอะไรที่จะเหลืออยู่ในจิตใจ จนความโลภ ความโกรธ ความอยาก แม้แต่การเกิดของใจเราก็พยายามอย่าให้มี ส่วนมากก็อยู่ในกองบุญกองกุศล อยู่ในบุญในกุศล อยู่ในระดับหนึ่ง
แต่การเจริญสติปัญญาเนี่ยต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขทั้งภายนอกทั้งภายใน เหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด แล้วก็พยายามแก้ข้างนอกด้วยดับข้างในด้วย ทำความเข้าใจบ่อยๆ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ยิ่งพระบวชใหม่ก็ต้องพยายาม ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ใจที่สงบเป็นอย่างนี้ ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเอาไปอบรมใจของเราได้เท่าไร รู้เท่าทันใจของเราเท่าไร ใหม่ๆ ก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายมันฝึกยาก ถ้าใจตกกระแสธรรม แยกรูปแยกนาม มองเห็นความเป็นจริง มันถึงจะเริ่มง่าย
ใหม่ๆ ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลสทุกอย่างเลยทีเดียว จนใจของเราเดินปัญญาแยกรูปแยกนาม ตกกระแสธรรม กิเลสตัวไหนเราละได้เราก็รู้ ตัวไหนมันยังเกิดอยู่เราก็พยายามละ ละไปเรื่อยๆ เหมือนกับน้ำไหลลงสู่มหาสมุทร ถึงเวลามันก็ถึง การขัดเกลากิเลสก็เหมือนกัน อย่าไปโทษคนอื่น โทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนรู้เห็นความเป็นจริงท่านถึงบอกให้เชื่อ
ตั้งใจรับพรกัน