หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 5 วันที่ 25 มกราคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 5 วันที่ 25 มกราคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 5
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 มกราคม 2561
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะพระเราชีเราพิจารณาปฏิสังขาโย ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พิจารณากายของตัวเรา พิจารณาใจของเรา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลาเราขาดตกบกพร่องอะไร เราก็พยายามวิเคราะห์พิจารณา การฝึกหัดปฏิบัติใจก็จะได้ราบรื่นสมมติของเรามีเพียงพออำนวยความสะดวกให้กับทางกายของเราหรือไม่ เราก็ต้องหัดพิจารณาพิจารณาสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว พิจารณาใจของตัวเรา
เรามีศรัทธาน้อมกายเข้ามาบวช แล้วก็ความมุ่งหมายของการบวชอยู่ที่ตรงไหน ไม่ใช่ว่าจะให้คนอื่นบังคับ เราต้องบังคับพิจารณาแก้ไขตัวเรา สภาพใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง ความเป็นอยู่ของเราเป็นอย่างไรบ้าง เราต้องวิเคราะห์เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกื้อหนุนกันหมด เหมือนกับเราขึ้นบ้านก็อาศัยบันได บันไดก็อาศัยราวบันได การที่จะขึ้นสู่ที่สูงได้เราก็มีความเพียร มีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย แล้วก็ประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา
ใจของเราเกิดปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไร ความเป็นอยู่สมมติของเราเป็นอย่างไรบ้าง เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละมากน้อยแค่ไหน เราก็จะได้วิเคราะห์ตัวเรา เพราะว่าทุกอย่างอาศัยกันหมด เราจะเอาตั้งแต่ธรรม ปฏิบัติจะเอาตั้งแต่ธรรม กิเลสเราไม่ได้ละมันก็ยากที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ เราจะเอาธรรมมีแต่ความเกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียรไม่มี ความรับผิดชอบไม่มีมันก็ยากที่จะเข้าถึง เราก็ต้องพยายามมีความเพียรทุกอย่าง
ไม่ว่าฆราวาส ไม่ว่าพระว่าชี เพราะทุกอย่างเขาเกื้อหนุนกันหมด ความเป็นอยู่สมมติ ถ้าสมมติไม่สมบูรณ์ สมมติไม่เพียงพอทางกายสมมติก็ลำบาก ความเป็นอยู่ของเรานั่นแหละ ที่พักไม่สะดวกสบาย ที่อยู่ที่กินที่ถ่ายที่เยี่ยวเขาเรียกว่าสมมติ ถ้าสิ่งพวกนี้มีความพร้อมการฝึกหัดปฏิบัติใจก็จะไปได้เร็วได้ไว
มีความละอาย ให้กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ ให้ละอายในสิ่งที่ควรละอาย เราพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้ว เราจะเข้าถึงธรรมได้เลย อันนี้ยังไม่ใช่นะยังห่างไกล
การบวช บวชเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายการบวชอยู่ที่ไหน การเจริญสติเป็นอย่างไร ความเพียรของเรามีในระดับไหน เรามีความเสียสละ มีความรับผิดชอบ เพียงแค่สมมติก็ดำเนินให้ได้ ส่วนการปล่อยการวางเราต้องเจริญสติเข้าไปดูรู้เห็น การแยกการคลาย การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นลักษณะอย่างไรเราต้องดูรู้ให้ละเอียด ไม่ใช่ว่าฉันจะไปปฏิบัติธรรมที่โน่นไปปฏิบัติธรรมที่นี่ สติยังไม่ได้สร้างเลย มีแต่ความทะเยอทะยานอยากที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า มันก็ยิ่งปิดกั้นตัวเองเอาไว้
ถ้าเรารู้จักการเจริญสติ การดับ การหยุด การลด การละ การสังเกต การวิเคราะห์ ทุกอย่างก็เกื้อหนุนกันหมด ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ การเจริญสติที่ถูกทางถูกวิธี การรู้ การเห็นการทำความเข้าใจ ลักษณะของคำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร ปัจจุบันธรรมที่ต่อเนื่อง ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องนั่นแหละที่หลวงพ่อย้ำทุกเช้าๆ
เพียงแค่ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาไปใช้รู้เท่าทันใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าจนรู้เท่ารู้ทัน ทำความเข้าใจ มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ รู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง เขาถึงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางได้ ไม่ใช่ว่าแต่ละวันๆ ปล่อยปละละเลย ถ้าคนเรามีกิเลสหนามันก็โดนถูกเขาโดนบังคับ เราจงเป็นบุคคลที่มีกิเลสบาง บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ดำเนินชีวิตให้ถูกทางถูกที่ ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ก็มีเอาไว้เพื่อขัดเกลากิเลสหยาบกิเลสละเอียด
บุคคลที่มีบุญบุคคลที่มีปัญญาฟังนิดเดียว เข้าถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่หลงเป็นอย่างนี้ ความหลงมันมีหลายระดับความหลงในส่วนลึกๆ คือส่วนรูปส่วนนาม ส่วนขันธ์ห้าความลุ่มหลงในโลกในปัจจัยในโลกธรรม เราต้องพยายามหัดวิเคราะห์หัดทำความเข้าใจให้ได้ กายของเราต่อเนื่องด้วยปัจจัยสี่ ความเป็นอยู่ของเรา อาหารการอยู่การกิน การขบการฉันเราก็ต้องดู จะมีมากมีน้อยก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก ให้เอาด้วยเหตุด้วยผลด้วยสติปัญญา คนทั่วไปทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งทะเยอทะยานอยาก เราก็ต้องดูการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้า ขัดเกลาเอาออก ละกิเลสออกให้มันหมดจากใจของตัวเรา อะไรคือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา
คนเราทั่วไปนี้เกิดมาด้วยความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ความหลงอันลุ่มลึกคือความเกิด การเกิดของใจ ท่านถึงว่าความไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เป็นทุกข์อนิจจังที่ท่านว่าไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เราก็มายึดมาติดเอาไว้ก็เลยมาเป็นขันธ์ เวลามันจบ ปล่อยวางลงไปก็เป็นอนัตตา ความว่างเปล่า
ใจของเรามาหลงมายึดเอาทุกอย่าง ปัญญาสมมติเราก็ว่าเราไม่หลง ในหลักธรรมก็ยังหลงอยู่หลงตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เกิดทางด้านจิตวิญญาณ ความเกิดของจิตวิญญาณนั่นแหละหลงชั้นแรกเลยทีเดียว แล้วก็มาสร้างภพมนุษย์มาสร้างขันธ์ห้า แล้วก็มายึดติดขันธ์ห้าอีก แล้วก็มาเป็นทาสของกิเลสอีก กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความโลภความโกรธ ความหลงนี้เป็นตัวละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด
เรามาหัดวิเคราะห์พิจารณา หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอด อยู่บ่อยๆ อยู่ทุกเวลา การเกิดเขาเป็นอย่างไร เขามีกิเลสหรือไม่ เราดับความเกิดได้ระดับไหน เราขัดเกลากิเลสของเราได้ระดับไหน เราก็ต้องดูความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก อยากก็มีหลายอย่าง อยากในรูป ในรสในกลิ่น ในเสียง อยากในโลกธรรม ความไม่อยากอีก ทั้งผลักไส ทั้งดึงเข้ามา เป็นกิเลสหมดกิเลสทั้งกิเลสฝ่ายดำฝ่ายขาว บุญนี้ยังเป็นกิเลสแต่ก็เป็นกิเลสฝ่ายดีฝ่ายกุศล
ถ้าเรามาศึกษาค้นคว้าคลายใจออกจากความยึดมั่นถือมั่น สร้างคุณงามความดีให้เกิดประโยชน์แต่ไม่ยึด ไม่หลงไม่ยึด แล้วยังประโยชน์ ประโยชน์ระดับสมมติ เพียงแค่ระดับสมมติพวกเราก็ยังทำกันไม่เต็มที่ เราก็ต้องพยายาม เราจะไขว่คว้าหาธรรมหาที่โน้นที่นี่ไม่เจอก็ต้องพยายามสร้างขึ้นมา พยายามเจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเรา สมมติไม่มีเราก็พยายามสร้างขึ้นมา เพื่อความอนุเคราะห์ ความสะดวกสบายระดับสมมติ อย่างเราไม่มีบ้าน เราจะปฏิบัติธรรมมันก็ไปไม่ได้ เพราะว่าเพียงแค่เครื่องอยู่ปัจจัยสี่ ทางด้านรูปธรรมก็ลำบาก การปฏิบัติทางด้านจิตใจก็เลยยิ่งลำบากขึ้นไปอีก ไม่มีบ้าน ไม่มีที่พัก ไม่มีที่อาศัย ไม่มีอาหาร ดิ้นรน ใจก็มีตั้งแต่เกิดความอยาก มันก็เลยผูกมัดอีรุงตุงนังไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่ากี่ภพกี่ชาติ
เราต้องเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อม เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบเป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบ เป็นคนที่มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ใช่ว่าไปปฏิบัติธรรมที่โน้นที่นี่ เพียงแค่เรื่องการเจริญสติก็ยังไม่เข้าใจ
การให้ การเอาออก การทำบุญ การให้ทานบารมีตรงนี้มีกันทุกคน จะทำมากทำน้อยก็มีกันทุกคน แต่คนที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้ ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ แล้วก็ดำเนินให้ถูกที่ ถูกทาง ถูกวิธี ถูกแนวทาง ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้
ก็ต้องพยายาม ได้บ้างไม่ได้บ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง ก็เป็นสะพาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปตราบใดที่ใจยังไม่ถึงจุดหมาย อานิสงส์ในสิ่งที่พวกเราทำนี้แหละก็จะเป็นสะพาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปในภพหน้า วันนี้มีพรุ่งนี้มี เดือนนีมี เดือนหน้ามี ภพนี้มีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี เราอย่าพากันประมาท พยายามหมั่นสร้างบุญเอาไว้ ตราบใดที่ใจยังปล่อยวางไม่ได้ ถึงจิตใจปล่อยวางได้เราก็ยิ่งสร้างบุญสร้างประโยชน์ให้มากมาย ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา
เราต้องแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา คนพาล คนกิเลสหนาเท่านั่นแหละที่ชอบให้มีข้อวัตรปฏิบัติบังคับตัวเอง เราจงเป็นบุคคลที่แก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเอง การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อาการของความคิดที่เกิดจากจิตวิญญาณในกายในขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ อาการของขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม การเกิดการดับอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ นิวรณธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ สติเราพลั้งเผลอเป็นลักษณะอย่างนี้ จิตใจของเรามีความกังวลมีความฟุ้งซ่านเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องจำแนกแจงแจก
อยู่คนเดียวเราต้องแก้ไขใจเรา อยู่หลายคนเราก็ต้องแก้ไขใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์สอบอารมณ์ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ภาษาธรรมะสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นลักษณะอย่างไร ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟังแค่นั่นแหละ
การพูดมากก็ไม่ดี การคิดมากก็ไม่ดี พูดเฉพาะสิ่งที่ควรพูด คิดเฉพาะสิ่งที่ควรคิด กายวิเวก กายได้พักผ่อนเป็นอย่างไร ใจได้พักผ่อนเป็นอย่างไร ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติประโยชน์วิมุตติ เราต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนที่จะหมดลมหายใจ
ก็ต้องพยายามกันนะ ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 มกราคม 2561
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะพระเราชีเราพิจารณาปฏิสังขาโย ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พิจารณากายของตัวเรา พิจารณาใจของเรา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลาเราขาดตกบกพร่องอะไร เราก็พยายามวิเคราะห์พิจารณา การฝึกหัดปฏิบัติใจก็จะได้ราบรื่นสมมติของเรามีเพียงพออำนวยความสะดวกให้กับทางกายของเราหรือไม่ เราก็ต้องหัดพิจารณาพิจารณาสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว พิจารณาใจของตัวเรา
เรามีศรัทธาน้อมกายเข้ามาบวช แล้วก็ความมุ่งหมายของการบวชอยู่ที่ตรงไหน ไม่ใช่ว่าจะให้คนอื่นบังคับ เราต้องบังคับพิจารณาแก้ไขตัวเรา สภาพใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง ความเป็นอยู่ของเราเป็นอย่างไรบ้าง เราต้องวิเคราะห์เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกื้อหนุนกันหมด เหมือนกับเราขึ้นบ้านก็อาศัยบันได บันไดก็อาศัยราวบันได การที่จะขึ้นสู่ที่สูงได้เราก็มีความเพียร มีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย แล้วก็ประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา
ใจของเราเกิดปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราได้อย่างไร ความเป็นอยู่สมมติของเราเป็นอย่างไรบ้าง เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละมากน้อยแค่ไหน เราก็จะได้วิเคราะห์ตัวเรา เพราะว่าทุกอย่างอาศัยกันหมด เราจะเอาตั้งแต่ธรรม ปฏิบัติจะเอาตั้งแต่ธรรม กิเลสเราไม่ได้ละมันก็ยากที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ เราจะเอาธรรมมีแต่ความเกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียรไม่มี ความรับผิดชอบไม่มีมันก็ยากที่จะเข้าถึง เราก็ต้องพยายามมีความเพียรทุกอย่าง
ไม่ว่าฆราวาส ไม่ว่าพระว่าชี เพราะทุกอย่างเขาเกื้อหนุนกันหมด ความเป็นอยู่สมมติ ถ้าสมมติไม่สมบูรณ์ สมมติไม่เพียงพอทางกายสมมติก็ลำบาก ความเป็นอยู่ของเรานั่นแหละ ที่พักไม่สะดวกสบาย ที่อยู่ที่กินที่ถ่ายที่เยี่ยวเขาเรียกว่าสมมติ ถ้าสิ่งพวกนี้มีความพร้อมการฝึกหัดปฏิบัติใจก็จะไปได้เร็วได้ไว
มีความละอาย ให้กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ ให้ละอายในสิ่งที่ควรละอาย เราพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้ว เราจะเข้าถึงธรรมได้เลย อันนี้ยังไม่ใช่นะยังห่างไกล
การบวช บวชเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายการบวชอยู่ที่ไหน การเจริญสติเป็นอย่างไร ความเพียรของเรามีในระดับไหน เรามีความเสียสละ มีความรับผิดชอบ เพียงแค่สมมติก็ดำเนินให้ได้ ส่วนการปล่อยการวางเราต้องเจริญสติเข้าไปดูรู้เห็น การแยกการคลาย การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นลักษณะอย่างไรเราต้องดูรู้ให้ละเอียด ไม่ใช่ว่าฉันจะไปปฏิบัติธรรมที่โน่นไปปฏิบัติธรรมที่นี่ สติยังไม่ได้สร้างเลย มีแต่ความทะเยอทะยานอยากที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า มันก็ยิ่งปิดกั้นตัวเองเอาไว้
ถ้าเรารู้จักการเจริญสติ การดับ การหยุด การลด การละ การสังเกต การวิเคราะห์ ทุกอย่างก็เกื้อหนุนกันหมด ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ การเจริญสติที่ถูกทางถูกวิธี การรู้ การเห็นการทำความเข้าใจ ลักษณะของคำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร ปัจจุบันธรรมที่ต่อเนื่อง ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องนั่นแหละที่หลวงพ่อย้ำทุกเช้าๆ
เพียงแค่ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาไปใช้รู้เท่าทันใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าจนรู้เท่ารู้ทัน ทำความเข้าใจ มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ รู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง เขาถึงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางได้ ไม่ใช่ว่าแต่ละวันๆ ปล่อยปละละเลย ถ้าคนเรามีกิเลสหนามันก็โดนถูกเขาโดนบังคับ เราจงเป็นบุคคลที่มีกิเลสบาง บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ดำเนินชีวิตให้ถูกทางถูกที่ ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ก็มีเอาไว้เพื่อขัดเกลากิเลสหยาบกิเลสละเอียด
บุคคลที่มีบุญบุคคลที่มีปัญญาฟังนิดเดียว เข้าถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่หลงเป็นอย่างนี้ ความหลงมันมีหลายระดับความหลงในส่วนลึกๆ คือส่วนรูปส่วนนาม ส่วนขันธ์ห้าความลุ่มหลงในโลกในปัจจัยในโลกธรรม เราต้องพยายามหัดวิเคราะห์หัดทำความเข้าใจให้ได้ กายของเราต่อเนื่องด้วยปัจจัยสี่ ความเป็นอยู่ของเรา อาหารการอยู่การกิน การขบการฉันเราก็ต้องดู จะมีมากมีน้อยก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก ให้เอาด้วยเหตุด้วยผลด้วยสติปัญญา คนทั่วไปทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งทะเยอทะยานอยาก เราก็ต้องดูการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้า ขัดเกลาเอาออก ละกิเลสออกให้มันหมดจากใจของตัวเรา อะไรคือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา
คนเราทั่วไปนี้เกิดมาด้วยความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ความหลงอันลุ่มลึกคือความเกิด การเกิดของใจ ท่านถึงว่าความไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เป็นทุกข์อนิจจังที่ท่านว่าไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เราก็มายึดมาติดเอาไว้ก็เลยมาเป็นขันธ์ เวลามันจบ ปล่อยวางลงไปก็เป็นอนัตตา ความว่างเปล่า
ใจของเรามาหลงมายึดเอาทุกอย่าง ปัญญาสมมติเราก็ว่าเราไม่หลง ในหลักธรรมก็ยังหลงอยู่หลงตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เกิดทางด้านจิตวิญญาณ ความเกิดของจิตวิญญาณนั่นแหละหลงชั้นแรกเลยทีเดียว แล้วก็มาสร้างภพมนุษย์มาสร้างขันธ์ห้า แล้วก็มายึดติดขันธ์ห้าอีก แล้วก็มาเป็นทาสของกิเลสอีก กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความโลภความโกรธ ความหลงนี้เป็นตัวละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด
เรามาหัดวิเคราะห์พิจารณา หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอด อยู่บ่อยๆ อยู่ทุกเวลา การเกิดเขาเป็นอย่างไร เขามีกิเลสหรือไม่ เราดับความเกิดได้ระดับไหน เราขัดเกลากิเลสของเราได้ระดับไหน เราก็ต้องดูความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก อยากก็มีหลายอย่าง อยากในรูป ในรสในกลิ่น ในเสียง อยากในโลกธรรม ความไม่อยากอีก ทั้งผลักไส ทั้งดึงเข้ามา เป็นกิเลสหมดกิเลสทั้งกิเลสฝ่ายดำฝ่ายขาว บุญนี้ยังเป็นกิเลสแต่ก็เป็นกิเลสฝ่ายดีฝ่ายกุศล
ถ้าเรามาศึกษาค้นคว้าคลายใจออกจากความยึดมั่นถือมั่น สร้างคุณงามความดีให้เกิดประโยชน์แต่ไม่ยึด ไม่หลงไม่ยึด แล้วยังประโยชน์ ประโยชน์ระดับสมมติ เพียงแค่ระดับสมมติพวกเราก็ยังทำกันไม่เต็มที่ เราก็ต้องพยายาม เราจะไขว่คว้าหาธรรมหาที่โน้นที่นี่ไม่เจอก็ต้องพยายามสร้างขึ้นมา พยายามเจริญสติเข้าไปอบรมใจของตัวเรา สมมติไม่มีเราก็พยายามสร้างขึ้นมา เพื่อความอนุเคราะห์ ความสะดวกสบายระดับสมมติ อย่างเราไม่มีบ้าน เราจะปฏิบัติธรรมมันก็ไปไม่ได้ เพราะว่าเพียงแค่เครื่องอยู่ปัจจัยสี่ ทางด้านรูปธรรมก็ลำบาก การปฏิบัติทางด้านจิตใจก็เลยยิ่งลำบากขึ้นไปอีก ไม่มีบ้าน ไม่มีที่พัก ไม่มีที่อาศัย ไม่มีอาหาร ดิ้นรน ใจก็มีตั้งแต่เกิดความอยาก มันก็เลยผูกมัดอีรุงตุงนังไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่ากี่ภพกี่ชาติ
เราต้องเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อม เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบเป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบ เป็นคนที่มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ใช่ว่าไปปฏิบัติธรรมที่โน้นที่นี่ เพียงแค่เรื่องการเจริญสติก็ยังไม่เข้าใจ
การให้ การเอาออก การทำบุญ การให้ทานบารมีตรงนี้มีกันทุกคน จะทำมากทำน้อยก็มีกันทุกคน แต่คนที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้ ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ แล้วก็ดำเนินให้ถูกที่ ถูกทาง ถูกวิธี ถูกแนวทาง ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้
ก็ต้องพยายาม ได้บ้างไม่ได้บ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง ก็เป็นสะพาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปตราบใดที่ใจยังไม่ถึงจุดหมาย อานิสงส์ในสิ่งที่พวกเราทำนี้แหละก็จะเป็นสะพาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปในภพหน้า วันนี้มีพรุ่งนี้มี เดือนนีมี เดือนหน้ามี ภพนี้มีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี เราอย่าพากันประมาท พยายามหมั่นสร้างบุญเอาไว้ ตราบใดที่ใจยังปล่อยวางไม่ได้ ถึงจิตใจปล่อยวางได้เราก็ยิ่งสร้างบุญสร้างประโยชน์ให้มากมาย ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา
เราต้องแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา คนพาล คนกิเลสหนาเท่านั่นแหละที่ชอบให้มีข้อวัตรปฏิบัติบังคับตัวเอง เราจงเป็นบุคคลที่แก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเอง การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อาการของความคิดที่เกิดจากจิตวิญญาณในกายในขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ อาการของขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม การเกิดการดับอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ นิวรณธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ สติเราพลั้งเผลอเป็นลักษณะอย่างนี้ จิตใจของเรามีความกังวลมีความฟุ้งซ่านเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องจำแนกแจงแจก
อยู่คนเดียวเราต้องแก้ไขใจเรา อยู่หลายคนเราก็ต้องแก้ไขใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์สอบอารมณ์ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ภาษาธรรมะสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นลักษณะอย่างไร ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟังแค่นั่นแหละ
การพูดมากก็ไม่ดี การคิดมากก็ไม่ดี พูดเฉพาะสิ่งที่ควรพูด คิดเฉพาะสิ่งที่ควรคิด กายวิเวก กายได้พักผ่อนเป็นอย่างไร ใจได้พักผ่อนเป็นอย่างไร ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติประโยชน์วิมุตติ เราต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนที่จะหมดลมหายใจ
ก็ต้องพยายามกันนะ ตั้งใจรับพรกัน