
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 88
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 88
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 88
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 สิงหาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ อดทนนั่งต่ออีกสักนิดหนึ่ง อดทนนั่งต่อกับทุกขเวทนาทางด้านร่างกาย เรานั่งนานๆ ความเจ็บความปวดก็เกิดขึ้น แล้วก็ฝืนไปอีกสักตั้งหนึ่ง กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ และผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจนะอย่าไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ถ้าเราเอาใจไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจนี่หน้าอกจะแน่นอึดอัดขึ้นมาทันที ถ้าเราเพ่งหรือว่าเอาสติส่วนบนส่วนสมองเพ่งลงไปที่ปลายจมูกที่ลมหายใจ สมองของเราก็จะตรึงขึ้นมาทันที ก็เลยไม่เป็นธรรมชาติ
เพียงแค่เราสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ความรู้สึกเวลาลมกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจนเวลาหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าหายใจออก พยามฝึกให้เกิดความเคยชิน ซึ่งท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราสร้างความรู้ เจริญสติลงที่กายให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา ไปนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ คิดก็รู้ทำก็รู้ อันนั้นเป็นปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าความคิดเกิดจากตัววิญญาณในกายของเรา หรือว่าความคิดเกิดจากอาการของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
ส่วนกายนี่ก็เรียกว่า ‘ก้อนรูป’ ท่านจึงให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้ ให้มีให้เกิดแล้วก็ทำให้ต่อเนื่องจากหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าหายใจออก จาก 1 ครั้ง 2 ครั้งเป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 นาที 10 นาที เป็นชั่วโมง แต่เราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ จะเอาตั้งแต่บุญจะเอาตั้งแต่การทำบุญ จะเอาตั้งแต่การปฏิบัติธรรมที่เกิดจากตัวใจเป็นผู้บริหาร เป็นผู้บริการ เป็นผู้เข้าไปปฏิบัติ มันก็เลยปิดกั้นตัวเองตลอดเพราะการเกิดของใจเขาก็ปิดกั้นตัวเอง
การเกิดของใจ เขาเกิดมา เขาเกิดเขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาหลงวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ อันนั้นเราอย่าเพิ่งไปพูดถึงเขา พระพุทธองค์ให้ดูตัววิญญาณอยู่ในกายของเราเนี่ยซึ่งมาสร้างภพมนุษย์ขึ้นมาแล้ว มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาแล้ว แล้วก็มาหลงมายึดหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็มาหลงมาสร้างภพมนุษย์อีก นี่ 2 ชั้นแล้วนะ 2 ชั้นแล้ว ทีนี้ก็หลงเกิดอีก
ความเกิดตัวใจนั้นคิดปรุงแต่งต่อออกส่งไปภายนอกอีกสารพัดเรื่อง ส่วนมากก็เรื่องคนอื่น เรื่องของเรา..เอาเรื่องของคนอื่นมีแต่เรื่องของคนโน้นคนนี้เป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ หิวแล้วก็ไปหากินข้าวถึงจะเป็นเรื่องของเราแล้วทีนี้ กินข้าวอิ่มแล้วก็ไปหาเรื่องของคนอื่น ไม่เคยดูว่าการก่อตัวของใจเป็นอย่างไร การเกิดของใจเป็นอย่างไร เราจะหาวิธีที่จะเข้าไปแก้ไขเข้าไปดับเข้าไปละ ท่านถึงให้เจริญสติสร้างความรู้ตัวมาสร้างผู้รู้
ใจนั้นเป็นธาตุรู้ เขาทั้งรู้ทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึด ทั้งเป็นทาสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด นอกจากบุคคลที่มีสติมีปัญญาลักษณะของการเจริญสติปัจจุบันที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ไปรู้ทันการเกิดของใจ รู้ทันการเกิดของขันธ์ห้าจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามด้วยกัน เห็นความเปลี่ยนแปลง ใจก็ว่าง ใจก็ว่าง สติตามดูขันธ์ห้า เห็นความเกิดความดับนั่นแหละเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ‘สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก’ ในลักษณะปัญญาของพระพุทธองค์ เห็นถูกเราก็ตามทำความเข้าใจ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอัตตาอนัตตา เข้าใจในอนิจจังทุกขังอนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
ตราบใดที่กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ยังแยกแยะไม่ได้ถึงแม้สติปัญญาจะดูใจ รู้ใจ ใจจะว่างใจจะปกติ มันก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง เราก็ละกิเลสได้ระดับหนึ่ง แต่กำลังสติยังไม่เห็นขันธ์ห้าที่มาปรุงแต่งใจ ปัญญารอบรู้สังขารตรงนี้เลยไม่มี ปัญญารอบรู้ในกองสังขารว่าเรื่องอะไร ก็เลยไม่เห็น ก็เลยรู้ตั้งแต่ว่าใจปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ แต่ก็ดับทุกข์ได้อยู่ในระดับหนึ่ง แล้วก็พยายามขัดพยายามเกลาพยายามตามทำความเข้าใจให้รู้ทุกเรื่อง หมดความสงสัยหมดความลังเล
อย่าเอาความสงสัย อย่าเอาความลังเล ปัญญาเก่ามีเท่าไหร่เราอย่าเพิ่งเอามาใช้ คลายออกให้หมด ปัญญาเก่ามีร้อยเราก็ต้องคลายออกทั้งร้อย คลายออกทั้งร้อย เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจชี้เหตุชี้ผล
การเกิดเป็นทุกข์ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์มีอะไรบ้าง กองวิญญาณนั่นก็กองหนึ่ง กองรูปก็กองหนึ่ง อีกสามส่วนที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เรื่องอดีตเรื่องอนาคต หรือว่าเป็นกลางๆ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงตรงนี้ให้มันชัดเจน กำลังสติของเราต่อเนื่อง ถ้าวิเคราะห์สังเกตทันใจคลายออกแยกออก ใจหงายขึ้นมากำลังสติก็จะตามทำความเข้าใจ กำลังสติของเราก็จะมากขึ้นๆ แล้วก็จะเริ่มกลายเป็นมหาสติ
ถ้าเราขาดการทำความเข้าใจกำลังสติของเราก็จะหายไป ใจของเราก็จะเข้าสู่สภาวะเดิม ไม่ใช่ว่าแยกแยะได้แล้วมันถึงปุ๊บ..มันไม่ใช่ ถึงอยู่เพียงแค่ต้นเหตุนิดๆ หน่อยๆ เราก็ต้องพยายามตามทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง ชี้เหตุชี้ผลเห็นจุดปล่อยจุดวางของใจ นี่ตามดูรู้จนใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจเกิดความเบื่อหน่ายนั่นแหละเขาถึงจะหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ใจเขาก็จะอยู่อุเบกขา
ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตรงนี้เราก็จะละขันธ์ห้าได้ กรรมเก่าก็ตามไม่ทัน กรรมใหม่ กรรมเก่าตามไม่ทัน ก็เลยเรียกว่า ‘อโหสิกรรม’ กรรมใหม่ที่เกิดจากตัวใจที่มาสร้างขันธ์ห้านี่ก็ปล่อยวางขันธ์ห้า เขาก็ไม่ยึดติดในขันธ์ห้า แล้วก็มาละกิเลสที่ใจมาดับความเกิดที่ใจ ใจก็อยู่เหนือกิเลสอยู่เหนือบุญเหนือบาปเขาเรียกว่า ‘เหนือบุญเหนือบาปเหนือกรรม’ กรรมใหม่ที่เกิดจากสติปัญญาเราก็ทำหน้าที่แทนเขาเรียกว่า ‘กิริยาของสติปัญญา’ ซึ่งการประพฤติวัตรปฏิบัติข้อวัตรปฏิบัติสิ่งต่างๆ จะคร่ำเคร่งมากมายถึงขนาดไหน ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส ก็เพื่อที่จะคลายความหลง
ถ้าเราแยกแยะคลายความหลงไม่ได้ ละกิเลสไม่ได้ ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง อยากจะวางก็วางไม่ได้หรอก นอกจากบุคคลที่รู้เห็นตัวใจจริงๆ รู้เห็นอาการของขันธ์ห้าจริงๆ และก็ตามทำความเข้าใจให้ได้ ตนเป็นที่พึ่งของตนให้ได้ ตนคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละเรียกว่าตนตัวแรก ตนตัวที่สองคือตัวใจ แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึด เราต้องมาคลายใจจากขันธ์ห้า ชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผล ละกิเลสออกจากใจให้เบาบางลงไป
ใจเกิดความเกียจคร้าน เราก็ละความเกียจคร้าน เรามีความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ใจของเราไม่มีพรหมวิหาร เราก็พยายามสร้างพรหมวิหารขึ้นมามองโลกในทางที่ดี คิดดี ให้อภัยอโหสิกรรม ไม่มองโลกในแง่ร้าย นี่ถ้าใจของเราจะเกิดมลทินเราก็รู้จักดับรู้จักแก้ไข ข้อวัตรปฏิบัติแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบออกมาเปิดเผยเอามาจำแนกแจกแจงให้พวกสัตว์โลกก็คือพวกเรานี่แหละได้ประพฤติได้ปฏิบัติตาม
พวกเราจะปฏิบัติให้ถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือปฏิบัติอยู่เพียงแค่การให้ทานกับรักษาศีล รักษาศีล รักษาความปกติของกายของวาจาตรงนี้เราก็ยังรักษายากอยู่ เพราะว่ากำลังสติของเราไม่ได้สร้างเลย ศีลลงไป อธิจิต อธิศีล อธิวินัย ตัวใจตัวสิ่งที่แท้จริงเป็นอย่างไร นั่นแหละเราต้องมุ่งเข้าให้ถึงต้นเหตุ ดับที่เหตุแก้ไขที่เหตุ ทั้งภายนอกทั้งภายใน ภายนอก..เหตุจากภายนอกเราก็ละภายนอกแก้ไขภายนอก แล้วก็ดับทั้งภายใน เพราะว่าทุกคนยังอยู่กับสมมติเพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ
เรามาหลงมายึดกายก้อนนี้ เรามาคลายภายใน มาปล่อยวางภายใน แล้วก็รับผิดชอบในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รับผิดชอบในปัจจัยสี่เครื่องอยู่เครื่องอาศัย หรือว่าโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รู้จักทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ลึกลงไปใจของเราละกิเลสได้สักกี่ชั้น กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เข้าไปสู่นู่นไม่ต้องกลับมาเกิด เข้าสู่นิพพาน ไม่ใช่ของเหลือวิสัย
นิพพานในหลักธรรม คือความว่างความบริสุทธ์ ความไม่เกิด การปล่อยวาง หลักของอนัตตาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย บุคคลที่มีสติปัญญาสำเหนียกฟังนิดเดียวๆ เอาไปฝึกเอาไปทำ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การดับการหยุด รู้ไม่ทันการก่อตัวอาการของใจเราก็ดับเอาไว้ รู้ไม่ทันอาการของความคิดขันธ์ห้าเราก็ดับเอาไว้ ท่านถึงบอกเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส ถ้าใจของเราคลายหรือว่าใจของเราปล่อยวางขันธ์ห้าเขาก็จะค่อยเผยตัวออกมาให้เราเห็นความว่างความเย็น ปีติ สุข
ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเราก็รีบดับนั่นแหละ ดับตั้งแต่ต้นเหตุนั่นแหละ กลางเหตุปลายเหตุมันก็จะไม่เกิด แม้แต่ความอยาก ความยินดียินร้าย ความอยากทั้งไม่อยาก ความเกิดดับความเกิดตั้งแต่การก่อตัว ตัวใหญ่ๆ มันก็เกิดไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปคอยที่จะไปละกิเลสตัวใหญ่ๆ ตัวความทะเยอะทะยานอยาก กลัวความหลงผิดความโลภ ความโกรธ ความโมโหโกรธาสารพัดอย่าง ถ้าเราจัดการถอนรากถอนโคนต้นเหตุได้แล้วตัวใหญ่มันก็ไม่เกิด เหลือตั้งแต่ตัวเล็กๆ น้อยๆ ที่มาก่อกวน พวกนิวรณธรรม มลทินต่างๆ เราก็พยายามรีบแก้ไข
บุคคลที่มีปัญญาฟังนิดเดียวเดินถึงฝั่งเลย ไปถึงฝั่งคือนิพพาน คือความว่าง ใจที่ว่างจากขันธ์ห้าใจที่ว่างจากกิเลสคือใจไม่มีกิเลส ใจที่ไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่ละวันแต่ละนาทีเขาเกิดสักกี่เที่ยว เราพยายามดับความเกิดคลายความหลงออก ละกิเลสให้มันหมด วางใจให้เป็นอิสรภาพ ยืนเดินนั่งนอนก็ให้เป็นเพียงแค่อิริยาบถ
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การที่จะลงมือรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้ด้วยถึงด้วยทำความเข้าใจได้ด้วย ชี้เหตุชี้ผลได้ด้วย หมดความสงสัย หมดความลังเล กำลังสติก็จะพุ่งแรงเป็นมหาสติ จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาก็จะกลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงจิตดวงวิญญาณของตัวเรา
ใจเป็นธาตุรู้ สติเป็นผู้รู้ มีผู้รู้อยู่ 2 คน 2 ตัว คือใจธาตุรู้ สติผู้รู้ สติก็อบรมใจก็เลยกลายเป็นปัญญาอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล สติเป็นเพื่อนใจ นี่ใจจะเกิดอกุศลเราก็ละ ใจจะส่งออกไปภายนอกเราก็ดับ ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก อริยสัจเป็นอย่างไร ความเกิดความดับ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร กายรวมกับขันธ์ห้าส่งออกไปเป็นอย่างไร เราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง ละจากได้หมดจดหรือว่ามันยังเหลืออยู่ เราก็ต้องพยายามตามดู
แต่เวลานี้เพียงแค่การเจริญสติให้เกิดขึ้นที่กายก็ยังยากลำบากอยู่ ก็ต้องพยายาม ส่วนการทำบุญให้ทานนั้นทุกคนมีฝักใฝ่กัน บางคนก็มีมากบ้าง บางคนก็มีน้อยบ้าง อันนั้นมันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ขอให้น้อมใจน้อมกายของเราเข้ามาและก็หัดวิเคราะห์หัดสังเกตให้ถึงจุดหมาย ทีนี้เราจะละกิเลสได้หรือไม่ เราจะดับความเกิดได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศทั้งกลางวันทั้งกลางคืน เพียรจนไม่ได้เพียร
ทำงาน ทำภาระหน้าที่ การงานภายในจบ งานภายนอกเราก็ทำยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลา ทำงานไปด้วยมีความสุขไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย สติปัญญาวิเคราะห์ไปด้วย อบรมไปด้วย ภาษาธรรมะท่านเรียกว่าอะไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร การแยกรูป แยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจเป็นอย่างไร ใจเข้าไปเสวยเข้าไปรวมกับสิ่งอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ เป็นอย่างไร ท่านถึงบอกอย่าไปอาลัยอาวรณ์กับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
ให้พยายามละขัดเกลากิเลส พยายามส่งความบริสุทธิ์ความว่างเป็นเครื่องอยู่ของใจ เป็นอริยทรัพย์อันยิ่งใหญ่ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ไปอยู่ที่ไหนเราก็มองเห็น มองเห็นใจของเราเกิด ได้เกิดหรือไม่ได้เกิด เพียงแค่การเกิด
แต่เวลานี้ใจมีทั้งกิเลส ทั้งวิ่งทั้งหลงสารพัดอย่าง ทั้งผลักไสทั้งดึงเข้ามา เราก็ต้องหมั่นขัดหมั่นเกลา หมั่นวิเคราะห์หมั่นอบรมอยู่บ่อยๆ อยู่ที่ไหนเราก็อบรมเราแก้ไขเราปรับปรุงตัวเราทุกอิริยาบถ ใจต้องสงบด้วยปัญญา ละกิเลสด้วยปัญญา ยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย ร้องตะโกนอยู่ อยู่กลางโรงหนังกลางตลาด แม้แต่กายเนื้อจะแตกดับใจก็ต้องสงบ เตรียมที่จะอยู่เตรียมที่จะไป เรามาแก้ไขตัวเราไม่ใช่แก้ไขคนอื่น เรื่องของเรา
แนวทางคำสอนนั้นมีมานาน สัจธรรมก็ยังมีอยู่เหมือนเดิมแต่เราเดินไม่ถึงเท่านั้นเอง ถ้าเราเดินถึงแล้ว รู้แล้ว เห็นแล้ว ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนอย่างนี้ ชี้อย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ปรากฎขึ้นมาอย่างนี้ ให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ เราก็จะระลึกนึกถึงองค์พระพุทธเจ้าว่าท่านมีคุณมหาศาลมากมาย ที่ท่านได้ค้นพบวิธีทางแนวทางการเดิน แล้วก็มาเปิดเผยจำแนกแจกแจงหลายร้อยหลายพันปีก็ยังอยู่เหมือนเดิม หลักอริยสัจก็ยังอยู่เหมือนเดิม การเจริญสติที่จะเข้าไปละกิเลสหยาบละกิเลสละเอียด ซึ่งวิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิท่านก็บัญญัติเอาไว้เหมือนเดิม ซึ่งมีอยู่ในกายในใจของเราหมด..ค้นคว้าเถอะ ค้นคว้าที่กายของเรานี่แหละ
กายของเรานี่แหละคือตำราใบใหญ่ผืนใหญ่ ค้นคว้ารู้จักใจเดินปัญญาแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ ไปอ่านพระไตรปิฎกเล่มไหนก็จะเข้าใจ ใจมีดวงเดียวไม่มีหลายดวง นอกจากนั้นมีแต่อาการของใจ อาการของขันธ์ห้า อาการของกิเลสทั้งนั้น ใจมีดวงเดียว เราก็ต้องพยายามๆ ดำเนิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่เรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ ไม่ถึงวันนี้พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ ไปต่อเอาภพหน้า เราไม่เข้าใจวันนี้ วันพรุ่งนี้เราก็ต้องเข้าใจ ตราบใดที่เรายังแสวงหาอยู่ไม่หยุด ก็ต้องพยายามนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 สิงหาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ อดทนนั่งต่ออีกสักนิดหนึ่ง อดทนนั่งต่อกับทุกขเวทนาทางด้านร่างกาย เรานั่งนานๆ ความเจ็บความปวดก็เกิดขึ้น แล้วก็ฝืนไปอีกสักตั้งหนึ่ง กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ และผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจนะอย่าไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ถ้าเราเอาใจไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจนี่หน้าอกจะแน่นอึดอัดขึ้นมาทันที ถ้าเราเพ่งหรือว่าเอาสติส่วนบนส่วนสมองเพ่งลงไปที่ปลายจมูกที่ลมหายใจ สมองของเราก็จะตรึงขึ้นมาทันที ก็เลยไม่เป็นธรรมชาติ
เพียงแค่เราสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ความรู้สึกเวลาลมกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจนเวลาหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าหายใจออก พยามฝึกให้เกิดความเคยชิน ซึ่งท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราสร้างความรู้ เจริญสติลงที่กายให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา ไปนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ คิดก็รู้ทำก็รู้ อันนั้นเป็นปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าความคิดเกิดจากตัววิญญาณในกายของเรา หรือว่าความคิดเกิดจากอาการของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
ส่วนกายนี่ก็เรียกว่า ‘ก้อนรูป’ ท่านจึงให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้ ให้มีให้เกิดแล้วก็ทำให้ต่อเนื่องจากหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าหายใจออก จาก 1 ครั้ง 2 ครั้งเป็นนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 นาที 10 นาที เป็นชั่วโมง แต่เราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ จะเอาตั้งแต่บุญจะเอาตั้งแต่การทำบุญ จะเอาตั้งแต่การปฏิบัติธรรมที่เกิดจากตัวใจเป็นผู้บริหาร เป็นผู้บริการ เป็นผู้เข้าไปปฏิบัติ มันก็เลยปิดกั้นตัวเองตลอดเพราะการเกิดของใจเขาก็ปิดกั้นตัวเอง
การเกิดของใจ เขาเกิดมา เขาเกิดเขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาหลงวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ อันนั้นเราอย่าเพิ่งไปพูดถึงเขา พระพุทธองค์ให้ดูตัววิญญาณอยู่ในกายของเราเนี่ยซึ่งมาสร้างภพมนุษย์ขึ้นมาแล้ว มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาแล้ว แล้วก็มาหลงมายึดหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็มาหลงมาสร้างภพมนุษย์อีก นี่ 2 ชั้นแล้วนะ 2 ชั้นแล้ว ทีนี้ก็หลงเกิดอีก
ความเกิดตัวใจนั้นคิดปรุงแต่งต่อออกส่งไปภายนอกอีกสารพัดเรื่อง ส่วนมากก็เรื่องคนอื่น เรื่องของเรา..เอาเรื่องของคนอื่นมีแต่เรื่องของคนโน้นคนนี้เป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ หิวแล้วก็ไปหากินข้าวถึงจะเป็นเรื่องของเราแล้วทีนี้ กินข้าวอิ่มแล้วก็ไปหาเรื่องของคนอื่น ไม่เคยดูว่าการก่อตัวของใจเป็นอย่างไร การเกิดของใจเป็นอย่างไร เราจะหาวิธีที่จะเข้าไปแก้ไขเข้าไปดับเข้าไปละ ท่านถึงให้เจริญสติสร้างความรู้ตัวมาสร้างผู้รู้
ใจนั้นเป็นธาตุรู้ เขาทั้งรู้ทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึด ทั้งเป็นทาสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด นอกจากบุคคลที่มีสติมีปัญญาลักษณะของการเจริญสติปัจจุบันที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ไปรู้ทันการเกิดของใจ รู้ทันการเกิดของขันธ์ห้าจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามด้วยกัน เห็นความเปลี่ยนแปลง ใจก็ว่าง ใจก็ว่าง สติตามดูขันธ์ห้า เห็นความเกิดความดับนั่นแหละเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ‘สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก’ ในลักษณะปัญญาของพระพุทธองค์ เห็นถูกเราก็ตามทำความเข้าใจ เราก็จะเข้าใจในเรื่องอัตตาอนัตตา เข้าใจในอนิจจังทุกขังอนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
ตราบใดที่กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ยังแยกแยะไม่ได้ถึงแม้สติปัญญาจะดูใจ รู้ใจ ใจจะว่างใจจะปกติ มันก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง เราก็ละกิเลสได้ระดับหนึ่ง แต่กำลังสติยังไม่เห็นขันธ์ห้าที่มาปรุงแต่งใจ ปัญญารอบรู้สังขารตรงนี้เลยไม่มี ปัญญารอบรู้ในกองสังขารว่าเรื่องอะไร ก็เลยไม่เห็น ก็เลยรู้ตั้งแต่ว่าใจปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ แต่ก็ดับทุกข์ได้อยู่ในระดับหนึ่ง แล้วก็พยายามขัดพยายามเกลาพยายามตามทำความเข้าใจให้รู้ทุกเรื่อง หมดความสงสัยหมดความลังเล
อย่าเอาความสงสัย อย่าเอาความลังเล ปัญญาเก่ามีเท่าไหร่เราอย่าเพิ่งเอามาใช้ คลายออกให้หมด ปัญญาเก่ามีร้อยเราก็ต้องคลายออกทั้งร้อย คลายออกทั้งร้อย เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจชี้เหตุชี้ผล
การเกิดเป็นทุกข์ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์มีอะไรบ้าง กองวิญญาณนั่นก็กองหนึ่ง กองรูปก็กองหนึ่ง อีกสามส่วนที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เรื่องอดีตเรื่องอนาคต หรือว่าเป็นกลางๆ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงตรงนี้ให้มันชัดเจน กำลังสติของเราต่อเนื่อง ถ้าวิเคราะห์สังเกตทันใจคลายออกแยกออก ใจหงายขึ้นมากำลังสติก็จะตามทำความเข้าใจ กำลังสติของเราก็จะมากขึ้นๆ แล้วก็จะเริ่มกลายเป็นมหาสติ
ถ้าเราขาดการทำความเข้าใจกำลังสติของเราก็จะหายไป ใจของเราก็จะเข้าสู่สภาวะเดิม ไม่ใช่ว่าแยกแยะได้แล้วมันถึงปุ๊บ..มันไม่ใช่ ถึงอยู่เพียงแค่ต้นเหตุนิดๆ หน่อยๆ เราก็ต้องพยายามตามทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง ชี้เหตุชี้ผลเห็นจุดปล่อยจุดวางของใจ นี่ตามดูรู้จนใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจเกิดความเบื่อหน่ายนั่นแหละเขาถึงจะหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ใจเขาก็จะอยู่อุเบกขา
ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตรงนี้เราก็จะละขันธ์ห้าได้ กรรมเก่าก็ตามไม่ทัน กรรมใหม่ กรรมเก่าตามไม่ทัน ก็เลยเรียกว่า ‘อโหสิกรรม’ กรรมใหม่ที่เกิดจากตัวใจที่มาสร้างขันธ์ห้านี่ก็ปล่อยวางขันธ์ห้า เขาก็ไม่ยึดติดในขันธ์ห้า แล้วก็มาละกิเลสที่ใจมาดับความเกิดที่ใจ ใจก็อยู่เหนือกิเลสอยู่เหนือบุญเหนือบาปเขาเรียกว่า ‘เหนือบุญเหนือบาปเหนือกรรม’ กรรมใหม่ที่เกิดจากสติปัญญาเราก็ทำหน้าที่แทนเขาเรียกว่า ‘กิริยาของสติปัญญา’ ซึ่งการประพฤติวัตรปฏิบัติข้อวัตรปฏิบัติสิ่งต่างๆ จะคร่ำเคร่งมากมายถึงขนาดไหน ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส ก็เพื่อที่จะคลายความหลง
ถ้าเราแยกแยะคลายความหลงไม่ได้ ละกิเลสไม่ได้ ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง อยากจะวางก็วางไม่ได้หรอก นอกจากบุคคลที่รู้เห็นตัวใจจริงๆ รู้เห็นอาการของขันธ์ห้าจริงๆ และก็ตามทำความเข้าใจให้ได้ ตนเป็นที่พึ่งของตนให้ได้ ตนคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละเรียกว่าตนตัวแรก ตนตัวที่สองคือตัวใจ แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึด เราต้องมาคลายใจจากขันธ์ห้า ชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผล ละกิเลสออกจากใจให้เบาบางลงไป
ใจเกิดความเกียจคร้าน เราก็ละความเกียจคร้าน เรามีความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ใจของเราไม่มีพรหมวิหาร เราก็พยายามสร้างพรหมวิหารขึ้นมามองโลกในทางที่ดี คิดดี ให้อภัยอโหสิกรรม ไม่มองโลกในแง่ร้าย นี่ถ้าใจของเราจะเกิดมลทินเราก็รู้จักดับรู้จักแก้ไข ข้อวัตรปฏิบัติแนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบออกมาเปิดเผยเอามาจำแนกแจกแจงให้พวกสัตว์โลกก็คือพวกเรานี่แหละได้ประพฤติได้ปฏิบัติตาม
พวกเราจะปฏิบัติให้ถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือปฏิบัติอยู่เพียงแค่การให้ทานกับรักษาศีล รักษาศีล รักษาความปกติของกายของวาจาตรงนี้เราก็ยังรักษายากอยู่ เพราะว่ากำลังสติของเราไม่ได้สร้างเลย ศีลลงไป อธิจิต อธิศีล อธิวินัย ตัวใจตัวสิ่งที่แท้จริงเป็นอย่างไร นั่นแหละเราต้องมุ่งเข้าให้ถึงต้นเหตุ ดับที่เหตุแก้ไขที่เหตุ ทั้งภายนอกทั้งภายใน ภายนอก..เหตุจากภายนอกเราก็ละภายนอกแก้ไขภายนอก แล้วก็ดับทั้งภายใน เพราะว่าทุกคนยังอยู่กับสมมติเพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ
เรามาหลงมายึดกายก้อนนี้ เรามาคลายภายใน มาปล่อยวางภายใน แล้วก็รับผิดชอบในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รับผิดชอบในปัจจัยสี่เครื่องอยู่เครื่องอาศัย หรือว่าโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รู้จักทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ลึกลงไปใจของเราละกิเลสได้สักกี่ชั้น กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เข้าไปสู่นู่นไม่ต้องกลับมาเกิด เข้าสู่นิพพาน ไม่ใช่ของเหลือวิสัย
นิพพานในหลักธรรม คือความว่างความบริสุทธ์ ความไม่เกิด การปล่อยวาง หลักของอนัตตาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย บุคคลที่มีสติปัญญาสำเหนียกฟังนิดเดียวๆ เอาไปฝึกเอาไปทำ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การดับการหยุด รู้ไม่ทันการก่อตัวอาการของใจเราก็ดับเอาไว้ รู้ไม่ทันอาการของความคิดขันธ์ห้าเราก็ดับเอาไว้ ท่านถึงบอกเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส ถ้าใจของเราคลายหรือว่าใจของเราปล่อยวางขันธ์ห้าเขาก็จะค่อยเผยตัวออกมาให้เราเห็นความว่างความเย็น ปีติ สุข
ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเราก็รีบดับนั่นแหละ ดับตั้งแต่ต้นเหตุนั่นแหละ กลางเหตุปลายเหตุมันก็จะไม่เกิด แม้แต่ความอยาก ความยินดียินร้าย ความอยากทั้งไม่อยาก ความเกิดดับความเกิดตั้งแต่การก่อตัว ตัวใหญ่ๆ มันก็เกิดไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปคอยที่จะไปละกิเลสตัวใหญ่ๆ ตัวความทะเยอะทะยานอยาก กลัวความหลงผิดความโลภ ความโกรธ ความโมโหโกรธาสารพัดอย่าง ถ้าเราจัดการถอนรากถอนโคนต้นเหตุได้แล้วตัวใหญ่มันก็ไม่เกิด เหลือตั้งแต่ตัวเล็กๆ น้อยๆ ที่มาก่อกวน พวกนิวรณธรรม มลทินต่างๆ เราก็พยายามรีบแก้ไข
บุคคลที่มีปัญญาฟังนิดเดียวเดินถึงฝั่งเลย ไปถึงฝั่งคือนิพพาน คือความว่าง ใจที่ว่างจากขันธ์ห้าใจที่ว่างจากกิเลสคือใจไม่มีกิเลส ใจที่ไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่ละวันแต่ละนาทีเขาเกิดสักกี่เที่ยว เราพยายามดับความเกิดคลายความหลงออก ละกิเลสให้มันหมด วางใจให้เป็นอิสรภาพ ยืนเดินนั่งนอนก็ให้เป็นเพียงแค่อิริยาบถ
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การที่จะลงมือรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้ด้วยถึงด้วยทำความเข้าใจได้ด้วย ชี้เหตุชี้ผลได้ด้วย หมดความสงสัย หมดความลังเล กำลังสติก็จะพุ่งแรงเป็นมหาสติ จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาก็จะกลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงจิตดวงวิญญาณของตัวเรา
ใจเป็นธาตุรู้ สติเป็นผู้รู้ มีผู้รู้อยู่ 2 คน 2 ตัว คือใจธาตุรู้ สติผู้รู้ สติก็อบรมใจก็เลยกลายเป็นปัญญาอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล สติเป็นเพื่อนใจ นี่ใจจะเกิดอกุศลเราก็ละ ใจจะส่งออกไปภายนอกเราก็ดับ ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก อริยสัจเป็นอย่างไร ความเกิดความดับ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร กายรวมกับขันธ์ห้าส่งออกไปเป็นอย่างไร เราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง ละจากได้หมดจดหรือว่ามันยังเหลืออยู่ เราก็ต้องพยายามตามดู
แต่เวลานี้เพียงแค่การเจริญสติให้เกิดขึ้นที่กายก็ยังยากลำบากอยู่ ก็ต้องพยายาม ส่วนการทำบุญให้ทานนั้นทุกคนมีฝักใฝ่กัน บางคนก็มีมากบ้าง บางคนก็มีน้อยบ้าง อันนั้นมันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ขอให้น้อมใจน้อมกายของเราเข้ามาและก็หัดวิเคราะห์หัดสังเกตให้ถึงจุดหมาย ทีนี้เราจะละกิเลสได้หรือไม่ เราจะดับความเกิดได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศทั้งกลางวันทั้งกลางคืน เพียรจนไม่ได้เพียร
ทำงาน ทำภาระหน้าที่ การงานภายในจบ งานภายนอกเราก็ทำยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลา ทำงานไปด้วยมีความสุขไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย สติปัญญาวิเคราะห์ไปด้วย อบรมไปด้วย ภาษาธรรมะท่านเรียกว่าอะไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร การแยกรูป แยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจเป็นอย่างไร ใจเข้าไปเสวยเข้าไปรวมกับสิ่งอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ เป็นอย่างไร ท่านถึงบอกอย่าไปอาลัยอาวรณ์กับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
ให้พยายามละขัดเกลากิเลส พยายามส่งความบริสุทธิ์ความว่างเป็นเครื่องอยู่ของใจ เป็นอริยทรัพย์อันยิ่งใหญ่ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ไปอยู่ที่ไหนเราก็มองเห็น มองเห็นใจของเราเกิด ได้เกิดหรือไม่ได้เกิด เพียงแค่การเกิด
แต่เวลานี้ใจมีทั้งกิเลส ทั้งวิ่งทั้งหลงสารพัดอย่าง ทั้งผลักไสทั้งดึงเข้ามา เราก็ต้องหมั่นขัดหมั่นเกลา หมั่นวิเคราะห์หมั่นอบรมอยู่บ่อยๆ อยู่ที่ไหนเราก็อบรมเราแก้ไขเราปรับปรุงตัวเราทุกอิริยาบถ ใจต้องสงบด้วยปัญญา ละกิเลสด้วยปัญญา ยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย ร้องตะโกนอยู่ อยู่กลางโรงหนังกลางตลาด แม้แต่กายเนื้อจะแตกดับใจก็ต้องสงบ เตรียมที่จะอยู่เตรียมที่จะไป เรามาแก้ไขตัวเราไม่ใช่แก้ไขคนอื่น เรื่องของเรา
แนวทางคำสอนนั้นมีมานาน สัจธรรมก็ยังมีอยู่เหมือนเดิมแต่เราเดินไม่ถึงเท่านั้นเอง ถ้าเราเดินถึงแล้ว รู้แล้ว เห็นแล้ว ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนอย่างนี้ ชี้อย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ปรากฎขึ้นมาอย่างนี้ ให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ เราก็จะระลึกนึกถึงองค์พระพุทธเจ้าว่าท่านมีคุณมหาศาลมากมาย ที่ท่านได้ค้นพบวิธีทางแนวทางการเดิน แล้วก็มาเปิดเผยจำแนกแจกแจงหลายร้อยหลายพันปีก็ยังอยู่เหมือนเดิม หลักอริยสัจก็ยังอยู่เหมือนเดิม การเจริญสติที่จะเข้าไปละกิเลสหยาบละกิเลสละเอียด ซึ่งวิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิท่านก็บัญญัติเอาไว้เหมือนเดิม ซึ่งมีอยู่ในกายในใจของเราหมด..ค้นคว้าเถอะ ค้นคว้าที่กายของเรานี่แหละ
กายของเรานี่แหละคือตำราใบใหญ่ผืนใหญ่ ค้นคว้ารู้จักใจเดินปัญญาแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ ไปอ่านพระไตรปิฎกเล่มไหนก็จะเข้าใจ ใจมีดวงเดียวไม่มีหลายดวง นอกจากนั้นมีแต่อาการของใจ อาการของขันธ์ห้า อาการของกิเลสทั้งนั้น ใจมีดวงเดียว เราก็ต้องพยายามๆ ดำเนิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่เรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ ไม่ถึงวันนี้พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ ไปต่อเอาภพหน้า เราไม่เข้าใจวันนี้ วันพรุ่งนี้เราก็ต้องเข้าใจ ตราบใดที่เรายังแสวงหาอยู่ไม่หยุด ก็ต้องพยายามนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ