
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 84
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 84
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 84
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 สิงหาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกประทบปลายจมูกของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ตั้งแต่ตื่นขึ้นพากันได้เจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ลมหายใจของตัวเองแล้วหรือยัง ถ้ายังก็พยายามทำ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกมองกลับเข้าไปข้างใน มองกลับไปที่กายของเรา มองกลับไปที่ปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวให้เป็นธรรมชาติ สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เวลาหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ พยายามสร้างความรู้สึกลงที่กายให้ได้ ให้ต่อเนื่อง ความรู้สึกพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่
เพียงแค่การเจริญสติ แค่สร้างความรู้สึกตัวตรงนี้ก็ยังทำยากลำบากอยู่ ส่วนศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาปเชื่อกรรมตรงนี้มีอยู่ การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ บางครั้งบางคราวการละกิเลสก็มีอยู่ แต่ยังดำเนินไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ยังขาดเป็นช่วงเป็นตอน ส่วนมากก็ขาด ส่วนมากก็ขาดไม่ค่อยเจริญสติให้ต่อเนื่อง แต่การทำบุญให้ทาน ความเสียสละบารมีส่วนอื่นนั้นก็พอมีบ้าง บางคนก็เยอะ บางคนก็น้อย ก็ต้องพยายามมาทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา เรื่องของเรามีแต่เรื่องของเรา ทำหน้าที่แก้ไขเราให้มันถึงจุดหมายปลายทาง
อะไรคือสติ อะไรคือปัญญา อะไรคือใจ การควบคุมใจ การอบรมใจ จนกำลังสติของเรารู้เท่ารู้ทัน รู้การแยกการคลาย ใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ดูรู้ลักษณะอาการอาการของใจ ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้เรียกว่าอย่างนี้ เราจะหาอุบายอย่างไรเข้าไปหยุดเข้าไปดับเข้าไปยับยั้ง เราก็ต้องพยายามใช้ความเพียร
ใจมีกิเลส ใจเกิดกิเลส เราก็พยายามขัดเกลาพยายามละกิเลส อย่าไปคิดว่าไม่มี ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่เราก็ยิ่งทำความเข้าใจจนมองเห็นเหตุเห็นผล รู้เหตุรู้ผล รู้การเกิดการดับของความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม วิญญาณในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร วิญญาณหรือว่าตัวใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเข้าไปอบรมใจของเราได้หรือไม่เพียงแค่สร้างให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ตรงนี้ก็ยังลำบากอยู่ และก็เลยกำลังสติยังเลยมีไม่เพียงพอที่จะเอาไปอบรมใจ เป็นเพื่อนใจ เป็นที่พึ่งของใจได้
ส่วนมากก็มีตั้งแต่ตามอำเภอใจ ตามอำนาจของกิเลส ใจความเคยชิน ใจปรุงแต่งส่งออกไปภายนอก รวมทั้งขันธ์ห้า รวมทั้งกิเลสสะสมกันไปเป็นก้อนทั้งปัญญา มันก็เลยหลงไปอยู่ เราก็ว่าเรายัง ว่าเราไม่หลง ตราบใดที่เจริญสติให้ต่อเนื่อง เราก็จะมองออกว่าส่วนที่ผ่านมานั้นสติของเราไม่มีเลย ถ้าเรายังแยกแยะไม่ได้ ถ้าแยกแยะได้เราถึงจะรู้ว่าเราหลง ถ้าเราแยกแยะได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่าอัตตาอนัตตาเป็นอย่างไร สมมติวิมุตติเป็นอย่างไรกิเลสหยาบกิเลสละเอียดหน้าตาอาการเป็นอย่างไร ส่วนมากเราก็จะรู้อยู่ในภาพรวม หลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ เราพยายามหัดวิเคราะห์เป็นเพื่อนใจ แก้ไขตัวเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เราละกิเลสได้หรือไม่ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือว่าเกิดจากภายใน ใจของเรามีความแข็งกระด้างเราก็พยายามละความแข็งกระด้าง สร้างความอ่อนน้อม เราไม่มีความขยันเราก็สร้างความขยันขึ้นมา สร้างความรับผิดชอบขึ้นมาจากน้อยๆ ให้ไปหามากๆ ไล่เรียงลงไป ถึงต้นเหตุของการเกิดคือตัวใจ การเกิดของใจ การก่อตัวของใจ การก่อตัวของขันธ์ห้า มีไม่มากหรอก ถ้าเรารู้จักน้อมเข้าไปวิเคราะห์พิจารณา ส่วนมากก็มีตั้งแต่มองตั้งแต่ภายนอก ใจมันพุ่งออกไป มีแต่เรื่องภายนอกเข้ามาทับถมดวงใจตัวเอง เราก็ต้องพยายามทำหน้าที่ของเราให้มันจบ คือทำใจของเราให้สะอาด
ทำอย่างไรใจถึงจะสะอาด เราก็ต้องพยายามละกิเลส ใจไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ตามความเป็นจริงนั้นใจตัวเดิมนั้นบริสุทธิ์ เพราะความไม่รู้เขาถึงเป็นทาสของกิเลส แล้วก็เป็นทาสของความเกิด ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียด เขาเกิดมาสร้างภพมนุษย์ มาสร้างร่างกายขันธ์ห้า ที่ท่านเรียกว่า ‘เป็นกองเป็นขันธ์’ มีวิญญาณเข้ามายึดครอง แต่เราก็มายึดว่าเป็นตัวเป็นตนของเราจริงๆ
ในทางสมมติก็เป็นของเราอยู่ แต่ในหลักธรรมถ้าเจริญสติเข้าไปแยกเข้าไปคลาย เราก็จะมองเห็นตั้งแต่การประชุมกันของธาตุสี่ขันธ์ห้า ถึงวาระเวลาก็หมดลมหายใจ กายเนื้อแตกดับวิญญาณก็ต้องไปต่อตราบใดที่เข้ายังเกิดอยู่ ถ้าเรายังเกิดก็พยายามดับความเกิด คลายแยกขันธ์ห้าแล้วก็ดับความเกิด ละกิเลสให้มันได้ อย่าคิดว่าไม่มี ยิ่งเจริญสติเข้าไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งจะผุดออกมาให้เราเห็น แม้แต่ตัวใจของเราก็ยังเป็นกิเลส การเกิดเข้าข้างตัวเองสลับซับซ้อนมากเลยทีเดียว
ในการปฏิบัติใจ ถ้าไม่รู้เห็นเข้าไม่ถึง ไม่รู้จุดปล่อย จุดวาง ไม่รู้จุดละ มันก็จะละไม่ได้ ก็วางไม่ได้จะต้องพยายามเพิ่ม เพิ่มความเพียร ใจเกิดความโลภละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธ ละเฉยๆ..ไม่ใช่..ต้องให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกทางที่ดี เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งหมดลมหายใจเป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่ว่าจะไปวิ่งให้คนโน้นเขาละกิเลสให้ คนนี้เขาละกิเลสให้ เราต้องละเอา..เราต้องละเอาสิถึงจะถูกต้อง
กิเลสของเราเราก็ต้องละเอา เราจะชนะกิเลสได้สักกี่ครั้ง แต่ละวันตื่นขึ้นมา ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ สนุกในการดู ในการรู้ว่ากิเลสตัวไหนมันจะมาหลอกเรา เราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เริ่มใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ทางสมมติโลกธรรมเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพียงแค่สมมติเราก็พยายามจัดระบบระเบียบของสมมติ ทำหน้าที่แสวงหาด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา อยู่กับสมมติเคารพสมมติ กายของเรานี่แหละก้อนสมมติ ใจของเรานั่นแหละถ้าคลายได้ก็เป็นใจที่วิมุตติ ถ้าละกิเลสได้หมดจดใจจะก็บริสุทธิ์
ท่านถึงบอกว่า ‘ละอกุศล เจริญกุศล ทำใจให้บริสุทธิ์’ ธรรม 3 ข้อนี้ให้ถึงจุดหมายปลายทางทุกสิ่งทุกอย่างก็รวมลงที่ใจ ศีล สมาธิ ปัญญาก็รวมลงที่ใจ เหตุเกิดขึ้นที่ใจ แล้วก็ส่งผลออกมาทางสมมติ เราต้องรอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในดวงวิญญาณ รอบรู้ในชีวิตของเราขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ส่วนการสร้างตบะสร้างบารมีทุกคนก็แสวงหา ทุกคนก็ปฏิบัติอยู่ในระดับหนึ่ง ต้องอาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา ประจวบเหมาะเมื่อไหร่ เราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
ไม่ถึงวันนี้ก็ต้องถึงวันพรุ่งนี้ ไม่ถึงวันนี้ พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่ถึงในภพนี้ก็ไปต่อเอาภพหน้าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ก็ต้องพยายามทำกัน เอาสร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราอยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวก็ให้รู้ว่าขณะนี้ ลมวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องกันสักนิดนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 สิงหาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกประทบปลายจมูกของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ตั้งแต่ตื่นขึ้นพากันได้เจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ลมหายใจของตัวเองแล้วหรือยัง ถ้ายังก็พยายามทำ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกมองกลับเข้าไปข้างใน มองกลับไปที่กายของเรา มองกลับไปที่ปลายจมูกของเรา ฟังไปด้วยสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวให้เป็นธรรมชาติ สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เวลาหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ พยายามสร้างความรู้สึกลงที่กายให้ได้ ให้ต่อเนื่อง ความรู้สึกพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่
เพียงแค่การเจริญสติ แค่สร้างความรู้สึกตัวตรงนี้ก็ยังทำยากลำบากอยู่ ส่วนศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาปเชื่อกรรมตรงนี้มีอยู่ การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ บางครั้งบางคราวการละกิเลสก็มีอยู่ แต่ยังดำเนินไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ยังขาดเป็นช่วงเป็นตอน ส่วนมากก็ขาด ส่วนมากก็ขาดไม่ค่อยเจริญสติให้ต่อเนื่อง แต่การทำบุญให้ทาน ความเสียสละบารมีส่วนอื่นนั้นก็พอมีบ้าง บางคนก็เยอะ บางคนก็น้อย ก็ต้องพยายามมาทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา เรื่องของเรามีแต่เรื่องของเรา ทำหน้าที่แก้ไขเราให้มันถึงจุดหมายปลายทาง
อะไรคือสติ อะไรคือปัญญา อะไรคือใจ การควบคุมใจ การอบรมใจ จนกำลังสติของเรารู้เท่ารู้ทัน รู้การแยกการคลาย ใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม ดูรู้ลักษณะอาการอาการของใจ ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้เรียกว่าอย่างนี้ เราจะหาอุบายอย่างไรเข้าไปหยุดเข้าไปดับเข้าไปยับยั้ง เราก็ต้องพยายามใช้ความเพียร
ใจมีกิเลส ใจเกิดกิเลส เราก็พยายามขัดเกลาพยายามละกิเลส อย่าไปคิดว่าไม่มี ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่เราก็ยิ่งทำความเข้าใจจนมองเห็นเหตุเห็นผล รู้เหตุรู้ผล รู้การเกิดการดับของความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม วิญญาณในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร วิญญาณหรือว่าตัวใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเข้าไปอบรมใจของเราได้หรือไม่เพียงแค่สร้างให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ตรงนี้ก็ยังลำบากอยู่ และก็เลยกำลังสติยังเลยมีไม่เพียงพอที่จะเอาไปอบรมใจ เป็นเพื่อนใจ เป็นที่พึ่งของใจได้
ส่วนมากก็มีตั้งแต่ตามอำเภอใจ ตามอำนาจของกิเลส ใจความเคยชิน ใจปรุงแต่งส่งออกไปภายนอก รวมทั้งขันธ์ห้า รวมทั้งกิเลสสะสมกันไปเป็นก้อนทั้งปัญญา มันก็เลยหลงไปอยู่ เราก็ว่าเรายัง ว่าเราไม่หลง ตราบใดที่เจริญสติให้ต่อเนื่อง เราก็จะมองออกว่าส่วนที่ผ่านมานั้นสติของเราไม่มีเลย ถ้าเรายังแยกแยะไม่ได้ ถ้าแยกแยะได้เราถึงจะรู้ว่าเราหลง ถ้าเราแยกแยะได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่าอัตตาอนัตตาเป็นอย่างไร สมมติวิมุตติเป็นอย่างไรกิเลสหยาบกิเลสละเอียดหน้าตาอาการเป็นอย่างไร ส่วนมากเราก็จะรู้อยู่ในภาพรวม หลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ เราพยายามหัดวิเคราะห์เป็นเพื่อนใจ แก้ไขตัวเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เราละกิเลสได้หรือไม่ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือว่าเกิดจากภายใน ใจของเรามีความแข็งกระด้างเราก็พยายามละความแข็งกระด้าง สร้างความอ่อนน้อม เราไม่มีความขยันเราก็สร้างความขยันขึ้นมา สร้างความรับผิดชอบขึ้นมาจากน้อยๆ ให้ไปหามากๆ ไล่เรียงลงไป ถึงต้นเหตุของการเกิดคือตัวใจ การเกิดของใจ การก่อตัวของใจ การก่อตัวของขันธ์ห้า มีไม่มากหรอก ถ้าเรารู้จักน้อมเข้าไปวิเคราะห์พิจารณา ส่วนมากก็มีตั้งแต่มองตั้งแต่ภายนอก ใจมันพุ่งออกไป มีแต่เรื่องภายนอกเข้ามาทับถมดวงใจตัวเอง เราก็ต้องพยายามทำหน้าที่ของเราให้มันจบ คือทำใจของเราให้สะอาด
ทำอย่างไรใจถึงจะสะอาด เราก็ต้องพยายามละกิเลส ใจไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ตามความเป็นจริงนั้นใจตัวเดิมนั้นบริสุทธิ์ เพราะความไม่รู้เขาถึงเป็นทาสของกิเลส แล้วก็เป็นทาสของความเกิด ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียด เขาเกิดมาสร้างภพมนุษย์ มาสร้างร่างกายขันธ์ห้า ที่ท่านเรียกว่า ‘เป็นกองเป็นขันธ์’ มีวิญญาณเข้ามายึดครอง แต่เราก็มายึดว่าเป็นตัวเป็นตนของเราจริงๆ
ในทางสมมติก็เป็นของเราอยู่ แต่ในหลักธรรมถ้าเจริญสติเข้าไปแยกเข้าไปคลาย เราก็จะมองเห็นตั้งแต่การประชุมกันของธาตุสี่ขันธ์ห้า ถึงวาระเวลาก็หมดลมหายใจ กายเนื้อแตกดับวิญญาณก็ต้องไปต่อตราบใดที่เข้ายังเกิดอยู่ ถ้าเรายังเกิดก็พยายามดับความเกิด คลายแยกขันธ์ห้าแล้วก็ดับความเกิด ละกิเลสให้มันได้ อย่าคิดว่าไม่มี ยิ่งเจริญสติเข้าไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งจะผุดออกมาให้เราเห็น แม้แต่ตัวใจของเราก็ยังเป็นกิเลส การเกิดเข้าข้างตัวเองสลับซับซ้อนมากเลยทีเดียว
ในการปฏิบัติใจ ถ้าไม่รู้เห็นเข้าไม่ถึง ไม่รู้จุดปล่อย จุดวาง ไม่รู้จุดละ มันก็จะละไม่ได้ ก็วางไม่ได้จะต้องพยายามเพิ่ม เพิ่มความเพียร ใจเกิดความโลภละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธ ละเฉยๆ..ไม่ใช่..ต้องให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกทางที่ดี เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งหมดลมหายใจเป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่ว่าจะไปวิ่งให้คนโน้นเขาละกิเลสให้ คนนี้เขาละกิเลสให้ เราต้องละเอา..เราต้องละเอาสิถึงจะถูกต้อง
กิเลสของเราเราก็ต้องละเอา เราจะชนะกิเลสได้สักกี่ครั้ง แต่ละวันตื่นขึ้นมา ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ สนุกในการดู ในการรู้ว่ากิเลสตัวไหนมันจะมาหลอกเรา เราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เริ่มใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ทางสมมติโลกธรรมเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพียงแค่สมมติเราก็พยายามจัดระบบระเบียบของสมมติ ทำหน้าที่แสวงหาด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา อยู่กับสมมติเคารพสมมติ กายของเรานี่แหละก้อนสมมติ ใจของเรานั่นแหละถ้าคลายได้ก็เป็นใจที่วิมุตติ ถ้าละกิเลสได้หมดจดใจจะก็บริสุทธิ์
ท่านถึงบอกว่า ‘ละอกุศล เจริญกุศล ทำใจให้บริสุทธิ์’ ธรรม 3 ข้อนี้ให้ถึงจุดหมายปลายทางทุกสิ่งทุกอย่างก็รวมลงที่ใจ ศีล สมาธิ ปัญญาก็รวมลงที่ใจ เหตุเกิดขึ้นที่ใจ แล้วก็ส่งผลออกมาทางสมมติ เราต้องรอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในดวงวิญญาณ รอบรู้ในชีวิตของเราขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ส่วนการสร้างตบะสร้างบารมีทุกคนก็แสวงหา ทุกคนก็ปฏิบัติอยู่ในระดับหนึ่ง ต้องอาศัยความเพียร อาศัยกาลอาศัยเวลา ประจวบเหมาะเมื่อไหร่ เราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
ไม่ถึงวันนี้ก็ต้องถึงวันพรุ่งนี้ ไม่ถึงวันนี้ พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่ถึงในภพนี้ก็ไปต่อเอาภพหน้าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ก็ต้องพยายามทำกัน เอาสร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราอยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวก็ให้รู้ว่าขณะนี้ ลมวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องกันสักนิดนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พยายามไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ