
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 69
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 69
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 69
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัว เราได้วิเคราะห์กายของเรา เราได้วิเคราะห์ใจของเราแล้วหรือยัง ซึ่งเป็นงานของเราทุกคน เป็นงานชิ้นเอก เป็นงานชิ้นโบว์แดง ที่จะต้องทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึดสารพัดอย่าง ทั้งเป็นทาสของกิเลส ทั้งมีทิฏฐิมีมานะ ทั้งเป็นทาสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราอาจจะว่าเราไม่หลง ในสภาพความเป็นจริง ตราบใดที่เราไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม นั่นแหละความหลงยังครอบงำ ครอบงำอยู่ และก็แม้ตั้งแต่การเกิดของใจ ก็คือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด นี่เขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาสร้างขันธ์ห้า มาสร้างร่างกายซึ่งเรียกว่า ‘ภพมนุษย์’
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติมาสร้างความรู้ตัวเข้าไปแก้ไขเข้าไปอบรมใจเข้าไปเป็นเพื่อนใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการแยกการคลาย เห็นการเกิดการดับ เห็นกิเลสที่เกิดจากใจเราต้องรู้จักละรู้จักแก้ไข หาอุบายหาวิธีการหาแนวทาง คนเราเกิดมาก็มีอานิสงส์มีบุญกันทุกคนนั่นแหละ จะมีมากมีน้อยก็มาสร้างเอาทีหลัง บางคนก็ดำเนินไปถูกที่ถูกทาง บางคนก็ไม่ถูกที่ถูกทาง แถมน้อมนำกิเลสมาทับถมดวงใจของตัวเองอีก ก็ค่อยแก้ไขกันไปตั้งแต่ตื่นขึ้น ภาระหน้าที่สมมติอะไรของเราที่ยังขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามแก้ไขให้ดี
แต่ละวันความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การขัดเกลากิเลสของเรามีหรือเปล่าความรับผิดชอบในสิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บสติของเราตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ หรืออยู่กับของปกติของใจหรือไม่ จะลุกจะก้าวจะเดินจะเข้าห้องส้วมห้องน้ำใจปกติหรือเปล่า
สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเป็นตัวชักนำเป็นตัวบริหารกายบริหารใจ พากายดำเนินใจรับรู้ ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับ ใจเกิดการปรุงแต่ง เราก็รู้จักดับ การเกิดของใจนั่นแหละ คือกิเลสอันละเอียดที่สุด
ความเกิดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ให้เกิดขึ้นที่ใจ กิเลสตัวใหญ่ๆ มันก็เกิดไม่ได้ ส่วนมากตัวใหญ่ก็เอาไม่อยู่ตัวน้อยก็เอาไม่อยู่ ไม่ค่อยจะสนใจ ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ความไม่สนใจไม่ฝักใฝ่ไม่ขยันหมั่นเพียร มันก็เลยห่างทรัพย์ภายใน คือตัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกี่ยวเนื่องกันหมด ไม่ใช่ว่าจะไปปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างเดียวถึงเป็นการปฏิบัติ อันนั้นเป็นแค่เพียงเสี้ยว เป็นแค่เพียงเพียงนิดเดียว
รู้จักวิธีการเจริญสติ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร เอาสติปัญญาไปใช้ รู้ไม่ทันต้นเหตุก็รู้จักหยุดรู้จักดับรู้จักควบคุม พยายามเจริญสติไปหมั่นพร่ำสอนใจของตัวเราเอง จนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนมองเห็นความเป็นจริง แล้วก็รู้จักขัดเกลากิเลสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด ซึ่งมีอยู่ในใจของตัวเราหมดทุกคน
ถ้าเราไม่แก้ไขตัวเรา ไม่รู้จักวิเคราะห์ตัวเราแล้ว จะไปเที่ยวให้คนโน้นคนนี้เขาสอนไม่เกิดประโยชน์ เพียงแค่รู้จักวิธีการแนวทาง ศรัทธาน้อมเข้ามา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องการดำเนินชีวิต ชีวิตของคนเรามีอะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า ‘ธาตุสี่ขันธ์ห้า’ มีวิญญาณคือตัวใจเข้ามาครอบครอง อะไรส่วนรูปอะไรส่วนนาม
ตั้งแต่เกิดจนพัฒนามาเรื่อยๆ ได้รับการศึกษาได้รับการเล่าเรียน ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกข์ผ่านสุขมาอยู่ตลอด บางคนก็พลั้งเผลอไปในกองกุศล บางทีก็พลั้งเผลอไปในกองอกุศล ก็รู้จักแก้ไขว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน บุคคลที่มีบุญ มีกุศล มีสติ มีปัญญา ฟังนิดเดียวรีบแก้ไขตัวเรา
ใจของเรามีความเสียสละ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป มีความกล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ รู้จักรับผิดชอบมีความเสียสละ รู้จักหน้าที่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รู้จักแก้ไขรู้จักพึ่งตัวเองสร้างความเข้มแข็งให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอยู่ตลอดเวลา อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขเสีย ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ค่อยพัฒนาใหม่ จากได้น้อยไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าสร้างสะสมตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เห็นแก่ตัวไม่มีความเสียสละ ไม่มีความเป็นระเบียบ ระเบียบภายในระเบียบภายนอก ระเบียบสมมติ
ท่านถึงได้บัญญัติคำว่า ‘ศีล’ ความปกติ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีลพระปาติโมกข์ ศีลพระ ศีลชี ก็เพื่อที่จะควบคุมความเป็นระเบียบ ให้อยู่ในความสวยงาม อยู่ระดับของสมมติในหลักธรรมของพระพุทธองค์ การละบาป การสร้างบุญ การทำใจให้บริสุทธิ์ นั่นแหละคือหัวใจของศาสนา เราพยายามทำใจของเราให้เข้าถึงศาสนา ทำใจของเราให้เข้าถึงความสะอาดความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราก็พยายามหมั่นขัดเกลา
ยิ่งนักบวช เราบวชมาเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายของการบวชอยู่ที่ไหน ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย เราพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา เราปรารถนาที่จะเข้ามาบวชเพื่อที่จะมาแสวงหาวิธีการแนวทาง ในเมื่อที่เรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว เราก็ไปเริ่มไปทำความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน กายวิเวกเป็นวิเวกจากพันธะภาระหน้าที่จากสมมติ ใจวิเวกจากขันธ์ห้า ใจวิเวกจากกิเลส ใจไม่มีกิเลส ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่เวลานี้ทั้งสติทั้งใจทั้งขันธ์ห้า เขารวมกันเป็นก้อน เราก็เลยมองเห็นทั้งก้อน
ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้เข้าไปอบรมใจ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด เราก็ต้องมาหมั่นวิเคราะห์จนใจคลายออกแยกรูปแยกนาม เห็นเหตุเห็นผลตามทำความเข้าใจชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ใจถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้
หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าวแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปประพฤติไปปฏิบัติไปขัดเกลามันก็ยากที่จะเข้าใจ เพียงแค่งานสมมติที่พวกเราอาศัยอยู่ก็ทำหน้าที่ของตัวเราให้ดี ดูแลความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ว่าที่พักที่อาศัยที่หลับที่นอน กว่าจะได้กว่าจะมีขึ้นได้ทีละชิ้นทีละอันนี้ก็ลำบาก ทั้งความเสียสละของญาติโยมของเหล่ามนุษย์มาหล่อหลอมรวมกัน ก็เพื่อที่จะให้พวกเราได้อยู่ดีมีความสุข
พวกเราก็มาอยู่อาศัยก็พยายามทำหน้าที่ของเรา หมั่นดูแลทำความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เห็นแก่ตัวไม่เห็นกินไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน ถ้าบวชเข้ามาแล้วมีความเกียจคร้านเข้าครอบงำนี่ก็หมดสภาพทันทีเลยพระเราชีเรา ต้องเป็นคนขยัน ขยันทั้งขัดเกลากิเลส ขยันสร้างความเพียร ขยันในความเสียสละ ขยันทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์
มีโอกาสหาโอกาสหาเวลามาบวชน้อยๆ วัน ก็ให้ได้ประโยชน์ให้ได้มากมาย ไม่ใช่บวชเข้ามาแล้วมามีตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำทำอะไรก็ไม่เป็น แบกตั้งแต่ความทุกข์จมอยู่กับกองทุกข์อยู่อย่างนั้น เรามาแก้ไขตัวเรา อะไรที่ขาดตกบกพร่อง สมมติอะไรของเรายังไม่พร้อม เราก็พยายามทำให้มีทำให้เกิดขึ้น แล้วก็รู้จักรับผิดชอบ เจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม มองโลกในทางที่ดีคิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อม รู้จักแบ่งปัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา
หลวงพ่อก็พยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดให้กับทุกคนเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าสภาพร่างกายของหลวงพ่อก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงมาหลายปี มาหลายปี บางทีบางครั้งลุกขึ้นก้าวเดินนี่แค่นาที 2 นาทีนี่ก็จะแทบจะไปไม่ไหวแต่ก็พยายามอดทน อดทนอดกลั้น แก้ไขตัวเอง แก้ไขทุกอย่าง ทั้งสมมติทั้งสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทั้งแก้ไขให้หมู่ให้คณะให้บริวารให้อยู่ดีมีความสุขจากความไม่มีก็ทำให้มี จากมีก็พยายามทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด
หลวงพ่อก็มีพันธะภาระบีบรัดมากมาย สมมติภายนอกก็แบกรับภาระยังประโยชน์ให้กับบุญของสมมติไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน รับผิดชอบต่อหมู่คณะต่อส่วนรวม ที่พักที่อาศัยที่อยู่ที่นอน กับข้าวกับปลาอาหาร การอยู่การกินก็ต้องคอยแก้ไข อะไรขาดตกบกพร่องก็คอยแก้ไขให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ให้กับทุกคนได้สะดวกสบาย พวกเรามีโอกาสแล้ว ก็อย่ามาสร้างความเกียจคร้านให้กับตัวเอง จงสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ มีความกล้าหาญ มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หนักเอาเบาสู้ ไม่ใช่หนักก็ไม่เอาเบาก็ไม่สู้ มีตั้งแต่จะหลบจะหลีก
เพียงแค่สมมติก็ยังจะไม่รู้จักแก้ไขไม่รู้จักรับผิดชอบ ส่วนวิมุตติทางด้านจิตใจล่ะจะเข้าถึงได้ยังไง เราก็ต้องพยายามขัดเกลาตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำ จะลุกจะก้าวจะเดิน ใจปกติหรือไม่ สติปัญญาพากายไป เป็นผู้บริหารให้ใจรับรู้จนกระทั่งถึงวาระเวลาที่จะขบจะฉัน เราก็รู้จักกะปริมาณในการขบฉัน เราก็ต้องดูว่ากายของเราหิว หรือว่าใจของเราเกิดความอยาก ถ้าใจเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว เราก็รู้จักดับรู้จักควบคุมรู้จักฝืน
ท่านถึงว่าเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น ทั้งอยากเกิดอยากในรูปรสกลิ่นเสียงสารพัดอยาก ความเกิดของใจนั่นแหละ เราพยายามดับพยายามควบคุม สร้างความรู้ตัวอยู่กับคำบริกรรมบ้าง อยู่กับลมหายใจบ้าง รู้จักสร้างตบะ
ใจเกิดความโลภ ละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธด้วยการให้อภัย สร้างความเมตตามองโลกในทางที่ดี มีความเกียจคร้านสร้างความขยัน มีนิวรณธรรมมีมลทินต่างๆ พยายามขัดเกลา ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำความเข้าใจและก็ค่อยละ ไม่ใช่ว่ามาสร้างมาสะสมเฉพาะตั้งแต่กิเลสเพียงแค่ความอยาก ถึงจะมีมากมายถึงขนาดไหนก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก จะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญาบริหารด้วยปัญญา
ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร ตากายทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ต้องรู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุง ยิ่งพวกเรามีโอกาสได้มาอยู่ร่วมกันหลายๆ คน หลายๆ ท่าน ก็ยิ่งพยายามเพิ่มความเพียร เพิ่มความระมัดระวัง รู้จักแก้ไข รู้จักยังประโยชน์ถ้าต่างคนต่างไม่มีความรับผิดชอบ ต่างคนต่างก็ไม่รู้จักหน้าที่ สถานที่ก็วุ่นวาย สถานที่ก็ไม่สงบไปอยู่ที่ไหนก็ไม่สงบ ถ้าใจเราไม่สงบ ถ้าใจเราสงบอยู่กลางโรงหนังอยู่กลางตลาด อยู่กลางป่ากลางเขา อยู่กลางชุมชน ใจของเราก็สงบ เราจะไปวิ่งหาความสงบที่นู่นที่นี่ ถ้าไม่แก้ลงที่ใจมันก็ยาก ต้องให้ใจของเราสงบด้วยปัญญา
ปัญญาของเราอบรมใจชี้เหตุชี้ผลให้มองเห็นความเป็นจริง รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจตัวเราหมั่นพร่ำสอนใจตัวเรา เจริญสติอบรมใจเป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ยิ่งความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็เพิ่มเอาความขยันความเพียรเข้าแทนที่ ขยันทั้งสมมติขยันทั้งวิมุตติ เรายังประโยชน์อยู่ปัจจุบันให้ดีก็จะส่งผลถึงอนาคตได้ดี
ในสิ่งที่หลวงพ่อบอกหลวงพ่อกล่าว ถ้าบุคคลมีบุญแล้วเอาไปปฏิบัติ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะการดับการละ การช่วยเหลือการอนุเคราะห์ เอาการเอางานเป็นหลักของการปฏิบัติ ทำไปด้วยใจรับรู้ไปด้วย รู้ไม่ทันต้นเหตุก็รู้จักดับรู้จักหยุด เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะขึ้นสู่ขั้นสูง การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียด การแยกรูปแยกนาม การตามดู ก็จะเข้าสู่ในหนทางอริยมรรคในองค์แปด ถ้ากำลังสติของเรามีมาก เราก็สังเกตวิเคราะห์จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจหงายขึ้นมานั่นแหละ ความเห็นถูกในหลักธรรม
เพียงแค่เห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น ทำอย่างไรเราถึงจะตามทำความเข้าใจรู้เรื่องอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ซึ่งเกิดๆ ดับๆ อยู่ในกาย ถ้ากำลังสติไม่ตามดูรู้เห็นเขาก็จะมองไม่เห็นความจริง เขาก็จะรู้ยอมรับความจริงอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะความเกิดเข้าครอบงำอยู่ กิเลสเข้าครอบงำอยู่ มีเรื่องเดียวนี่แหละที่ทุกคนจะต้องศึกษาต้องทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ค่อยสนุกสนานค่อยเล่น เราอย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งรีบตักตวง ตักตวง รีบยังประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้นกับกายก้อนนี้ให้ได้ขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือแล้วก็ต้องพยายามอันนี้เป็นของแต่ละบุคคล จะไปบังคับกันไม่ได้ เพียงแค่บอกแค่กล่าว บุคคลใดที่รู้แล้วเห็นแล้วก็ยิ่งเพิ่มทำความเพียรเป็นทวีคูณทั้งกลางวันทั้งกลางคืน หมั่นแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเราอะไรขาดตกบกพร่องสมมติอะไรที่มันไม่พร้อม เราก็ทำอย่าไปมองข้าม ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นธรรมหมด ทั้งดำทั้งขาวทั้งดีทั้งชั่ว อะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน มองเห็นหนทางเดินว่าจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ใช้ตัวเองเป็นแล้วอย่าไปเที่ยวให้คนโน้นคนนี้เขาสอน ไม่เกิดประโยชน์เพียงแค่เรารู้จักวิธีการแล้วแนวทางแล้วไปทำความเพียร รู้ไม่ทันต้นเหตุ ดับละวาง จิตใจของคนเรานี่แก้ไขได้ ไม่ใช่ว่าแก้ไขไม่ได้ ถ้าแก้ไขไม่ได้บอกตัวเองไม่ได้ ไปสร้างปัญหา ไปอยู่ที่ไหนก็ไปสร้างปัญหาที่นู่น ไปอยู่ที่ไหนก็ไปสร้างปัญหาที่นี่ สร้างปัญหาให้ตัวเอง สร้างปัญหาให้คนอื่น บุคคลเช่นนี้ก็ไปอยู่ที่ไหนก็ลำบาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปอยู่ที่ไหนก็ระราน ระรานสถานที่ ระรานเพื่อนรอบข้าง ระรานทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ให้รู้จักแก้ไข ถ้าบอกไม่เชื่อฟังก็ให้รู้จักพิจารณาตัวเองทันที ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัว เราได้วิเคราะห์กายของเรา เราได้วิเคราะห์ใจของเราแล้วหรือยัง ซึ่งเป็นงานของเราทุกคน เป็นงานชิ้นเอก เป็นงานชิ้นโบว์แดง ที่จะต้องทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
เวลานี้ใจของเราทั้งเกิดทั้งหลงทั้งยึดสารพัดอย่าง ทั้งเป็นทาสของกิเลส ทั้งมีทิฏฐิมีมานะ ทั้งเป็นทาสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราอาจจะว่าเราไม่หลง ในสภาพความเป็นจริง ตราบใดที่เราไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม นั่นแหละความหลงยังครอบงำ ครอบงำอยู่ และก็แม้ตั้งแต่การเกิดของใจ ก็คือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด นี่เขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาสร้างขันธ์ห้า มาสร้างร่างกายซึ่งเรียกว่า ‘ภพมนุษย์’
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติมาสร้างความรู้ตัวเข้าไปแก้ไขเข้าไปอบรมใจเข้าไปเป็นเพื่อนใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการแยกการคลาย เห็นการเกิดการดับ เห็นกิเลสที่เกิดจากใจเราต้องรู้จักละรู้จักแก้ไข หาอุบายหาวิธีการหาแนวทาง คนเราเกิดมาก็มีอานิสงส์มีบุญกันทุกคนนั่นแหละ จะมีมากมีน้อยก็มาสร้างเอาทีหลัง บางคนก็ดำเนินไปถูกที่ถูกทาง บางคนก็ไม่ถูกที่ถูกทาง แถมน้อมนำกิเลสมาทับถมดวงใจของตัวเองอีก ก็ค่อยแก้ไขกันไปตั้งแต่ตื่นขึ้น ภาระหน้าที่สมมติอะไรของเราที่ยังขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามแก้ไขให้ดี
แต่ละวันความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การขัดเกลากิเลสของเรามีหรือเปล่าความรับผิดชอบในสิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บสติของเราตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ หรืออยู่กับของปกติของใจหรือไม่ จะลุกจะก้าวจะเดินจะเข้าห้องส้วมห้องน้ำใจปกติหรือเปล่า
สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเป็นตัวชักนำเป็นตัวบริหารกายบริหารใจ พากายดำเนินใจรับรู้ ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับ ใจเกิดการปรุงแต่ง เราก็รู้จักดับ การเกิดของใจนั่นแหละ คือกิเลสอันละเอียดที่สุด
ความเกิดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ให้เกิดขึ้นที่ใจ กิเลสตัวใหญ่ๆ มันก็เกิดไม่ได้ ส่วนมากตัวใหญ่ก็เอาไม่อยู่ตัวน้อยก็เอาไม่อยู่ ไม่ค่อยจะสนใจ ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ความไม่สนใจไม่ฝักใฝ่ไม่ขยันหมั่นเพียร มันก็เลยห่างทรัพย์ภายใน คือตัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกี่ยวเนื่องกันหมด ไม่ใช่ว่าจะไปปฏิบัติเดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างเดียวถึงเป็นการปฏิบัติ อันนั้นเป็นแค่เพียงเสี้ยว เป็นแค่เพียงเพียงนิดเดียว
รู้จักวิธีการเจริญสติ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร เอาสติปัญญาไปใช้ รู้ไม่ทันต้นเหตุก็รู้จักหยุดรู้จักดับรู้จักควบคุม พยายามเจริญสติไปหมั่นพร่ำสอนใจของตัวเราเอง จนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนมองเห็นความเป็นจริง แล้วก็รู้จักขัดเกลากิเลสกิเลสหยาบกิเลสละเอียด ซึ่งมีอยู่ในใจของตัวเราหมดทุกคน
ถ้าเราไม่แก้ไขตัวเรา ไม่รู้จักวิเคราะห์ตัวเราแล้ว จะไปเที่ยวให้คนโน้นคนนี้เขาสอนไม่เกิดประโยชน์ เพียงแค่รู้จักวิธีการแนวทาง ศรัทธาน้อมเข้ามา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องการดำเนินชีวิต ชีวิตของคนเรามีอะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า ‘ธาตุสี่ขันธ์ห้า’ มีวิญญาณคือตัวใจเข้ามาครอบครอง อะไรส่วนรูปอะไรส่วนนาม
ตั้งแต่เกิดจนพัฒนามาเรื่อยๆ ได้รับการศึกษาได้รับการเล่าเรียน ผ่านกาลผ่านเวลา ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกข์ผ่านสุขมาอยู่ตลอด บางคนก็พลั้งเผลอไปในกองกุศล บางทีก็พลั้งเผลอไปในกองอกุศล ก็รู้จักแก้ไขว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน บุคคลที่มีบุญ มีกุศล มีสติ มีปัญญา ฟังนิดเดียวรีบแก้ไขตัวเรา
ใจของเรามีความเสียสละ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป มีความกล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ รู้จักรับผิดชอบมีความเสียสละ รู้จักหน้าที่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว รู้จักแก้ไขรู้จักพึ่งตัวเองสร้างความเข้มแข็งให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอยู่ตลอดเวลา อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขเสีย ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ค่อยพัฒนาใหม่ จากได้น้อยไปหามากๆ ไม่ใช่ว่าสร้างสะสมตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เห็นแก่ตัวไม่มีความเสียสละ ไม่มีความเป็นระเบียบ ระเบียบภายในระเบียบภายนอก ระเบียบสมมติ
ท่านถึงได้บัญญัติคำว่า ‘ศีล’ ความปกติ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีลพระปาติโมกข์ ศีลพระ ศีลชี ก็เพื่อที่จะควบคุมความเป็นระเบียบ ให้อยู่ในความสวยงาม อยู่ระดับของสมมติในหลักธรรมของพระพุทธองค์ การละบาป การสร้างบุญ การทำใจให้บริสุทธิ์ นั่นแหละคือหัวใจของศาสนา เราพยายามทำใจของเราให้เข้าถึงศาสนา ทำใจของเราให้เข้าถึงความสะอาดความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราก็พยายามหมั่นขัดเกลา
ยิ่งนักบวช เราบวชมาเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายของการบวชอยู่ที่ไหน ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย เราพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา เราปรารถนาที่จะเข้ามาบวชเพื่อที่จะมาแสวงหาวิธีการแนวทาง ในเมื่อที่เรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว เราก็ไปเริ่มไปทำความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน กายวิเวกเป็นวิเวกจากพันธะภาระหน้าที่จากสมมติ ใจวิเวกจากขันธ์ห้า ใจวิเวกจากกิเลส ใจไม่มีกิเลส ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่เวลานี้ทั้งสติทั้งใจทั้งขันธ์ห้า เขารวมกันเป็นก้อน เราก็เลยมองเห็นทั้งก้อน
ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้เข้าไปอบรมใจ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด เราก็ต้องมาหมั่นวิเคราะห์จนใจคลายออกแยกรูปแยกนาม เห็นเหตุเห็นผลตามทำความเข้าใจชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ใจถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้
หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าวแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปประพฤติไปปฏิบัติไปขัดเกลามันก็ยากที่จะเข้าใจ เพียงแค่งานสมมติที่พวกเราอาศัยอยู่ก็ทำหน้าที่ของตัวเราให้ดี ดูแลความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ว่าที่พักที่อาศัยที่หลับที่นอน กว่าจะได้กว่าจะมีขึ้นได้ทีละชิ้นทีละอันนี้ก็ลำบาก ทั้งความเสียสละของญาติโยมของเหล่ามนุษย์มาหล่อหลอมรวมกัน ก็เพื่อที่จะให้พวกเราได้อยู่ดีมีความสุข
พวกเราก็มาอยู่อาศัยก็พยายามทำหน้าที่ของเรา หมั่นดูแลทำความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เห็นแก่ตัวไม่เห็นกินไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน ถ้าบวชเข้ามาแล้วมีความเกียจคร้านเข้าครอบงำนี่ก็หมดสภาพทันทีเลยพระเราชีเรา ต้องเป็นคนขยัน ขยันทั้งขัดเกลากิเลส ขยันสร้างความเพียร ขยันในความเสียสละ ขยันทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์
มีโอกาสหาโอกาสหาเวลามาบวชน้อยๆ วัน ก็ให้ได้ประโยชน์ให้ได้มากมาย ไม่ใช่บวชเข้ามาแล้วมามีตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำทำอะไรก็ไม่เป็น แบกตั้งแต่ความทุกข์จมอยู่กับกองทุกข์อยู่อย่างนั้น เรามาแก้ไขตัวเรา อะไรที่ขาดตกบกพร่อง สมมติอะไรของเรายังไม่พร้อม เราก็พยายามทำให้มีทำให้เกิดขึ้น แล้วก็รู้จักรับผิดชอบ เจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม มองโลกในทางที่ดีคิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อม รู้จักแบ่งปัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา
หลวงพ่อก็พยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดให้กับทุกคนเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าสภาพร่างกายของหลวงพ่อก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงมาหลายปี มาหลายปี บางทีบางครั้งลุกขึ้นก้าวเดินนี่แค่นาที 2 นาทีนี่ก็จะแทบจะไปไม่ไหวแต่ก็พยายามอดทน อดทนอดกลั้น แก้ไขตัวเอง แก้ไขทุกอย่าง ทั้งสมมติทั้งสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทั้งแก้ไขให้หมู่ให้คณะให้บริวารให้อยู่ดีมีความสุขจากความไม่มีก็ทำให้มี จากมีก็พยายามทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด
หลวงพ่อก็มีพันธะภาระบีบรัดมากมาย สมมติภายนอกก็แบกรับภาระยังประโยชน์ให้กับบุญของสมมติไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน รับผิดชอบต่อหมู่คณะต่อส่วนรวม ที่พักที่อาศัยที่อยู่ที่นอน กับข้าวกับปลาอาหาร การอยู่การกินก็ต้องคอยแก้ไข อะไรขาดตกบกพร่องก็คอยแก้ไขให้กับทุกคนได้อยู่ดีมีความสุข ให้กับทุกคนได้สะดวกสบาย พวกเรามีโอกาสแล้ว ก็อย่ามาสร้างความเกียจคร้านให้กับตัวเอง จงสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ มีความกล้าหาญ มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หนักเอาเบาสู้ ไม่ใช่หนักก็ไม่เอาเบาก็ไม่สู้ มีตั้งแต่จะหลบจะหลีก
เพียงแค่สมมติก็ยังจะไม่รู้จักแก้ไขไม่รู้จักรับผิดชอบ ส่วนวิมุตติทางด้านจิตใจล่ะจะเข้าถึงได้ยังไง เราก็ต้องพยายามขัดเกลาตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำ จะลุกจะก้าวจะเดิน ใจปกติหรือไม่ สติปัญญาพากายไป เป็นผู้บริหารให้ใจรับรู้จนกระทั่งถึงวาระเวลาที่จะขบจะฉัน เราก็รู้จักกะปริมาณในการขบฉัน เราก็ต้องดูว่ากายของเราหิว หรือว่าใจของเราเกิดความอยาก ถ้าใจเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว เราก็รู้จักดับรู้จักควบคุมรู้จักฝืน
ท่านถึงว่าเป็นการฝืนเป็นการทวนกระแส อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น ทั้งอยากเกิดอยากในรูปรสกลิ่นเสียงสารพัดอยาก ความเกิดของใจนั่นแหละ เราพยายามดับพยายามควบคุม สร้างความรู้ตัวอยู่กับคำบริกรรมบ้าง อยู่กับลมหายใจบ้าง รู้จักสร้างตบะ
ใจเกิดความโลภ ละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธด้วยการให้อภัย สร้างความเมตตามองโลกในทางที่ดี มีความเกียจคร้านสร้างความขยัน มีนิวรณธรรมมีมลทินต่างๆ พยายามขัดเกลา ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำความเข้าใจและก็ค่อยละ ไม่ใช่ว่ามาสร้างมาสะสมเฉพาะตั้งแต่กิเลสเพียงแค่ความอยาก ถึงจะมีมากมายถึงขนาดไหนก็อย่าให้ใจเกิดความอยาก จะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญาบริหารด้วยปัญญา
ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร ตากายทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ต้องรู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุง ยิ่งพวกเรามีโอกาสได้มาอยู่ร่วมกันหลายๆ คน หลายๆ ท่าน ก็ยิ่งพยายามเพิ่มความเพียร เพิ่มความระมัดระวัง รู้จักแก้ไข รู้จักยังประโยชน์ถ้าต่างคนต่างไม่มีความรับผิดชอบ ต่างคนต่างก็ไม่รู้จักหน้าที่ สถานที่ก็วุ่นวาย สถานที่ก็ไม่สงบไปอยู่ที่ไหนก็ไม่สงบ ถ้าใจเราไม่สงบ ถ้าใจเราสงบอยู่กลางโรงหนังอยู่กลางตลาด อยู่กลางป่ากลางเขา อยู่กลางชุมชน ใจของเราก็สงบ เราจะไปวิ่งหาความสงบที่นู่นที่นี่ ถ้าไม่แก้ลงที่ใจมันก็ยาก ต้องให้ใจของเราสงบด้วยปัญญา
ปัญญาของเราอบรมใจชี้เหตุชี้ผลให้มองเห็นความเป็นจริง รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากใจตัวเราหมั่นพร่ำสอนใจตัวเรา เจริญสติอบรมใจเป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ยิ่งความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็เพิ่มเอาความขยันความเพียรเข้าแทนที่ ขยันทั้งสมมติขยันทั้งวิมุตติ เรายังประโยชน์อยู่ปัจจุบันให้ดีก็จะส่งผลถึงอนาคตได้ดี
ในสิ่งที่หลวงพ่อบอกหลวงพ่อกล่าว ถ้าบุคคลมีบุญแล้วเอาไปปฏิบัติ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะการดับการละ การช่วยเหลือการอนุเคราะห์ เอาการเอางานเป็นหลักของการปฏิบัติ ทำไปด้วยใจรับรู้ไปด้วย รู้ไม่ทันต้นเหตุก็รู้จักดับรู้จักหยุด เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะขึ้นสู่ขั้นสูง การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียด การแยกรูปแยกนาม การตามดู ก็จะเข้าสู่ในหนทางอริยมรรคในองค์แปด ถ้ากำลังสติของเรามีมาก เราก็สังเกตวิเคราะห์จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจหงายขึ้นมานั่นแหละ ความเห็นถูกในหลักธรรม
เพียงแค่เห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น ทำอย่างไรเราถึงจะตามทำความเข้าใจรู้เรื่องอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ซึ่งเกิดๆ ดับๆ อยู่ในกาย ถ้ากำลังสติไม่ตามดูรู้เห็นเขาก็จะมองไม่เห็นความจริง เขาก็จะรู้ยอมรับความจริงอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะความเกิดเข้าครอบงำอยู่ กิเลสเข้าครอบงำอยู่ มีเรื่องเดียวนี่แหละที่ทุกคนจะต้องศึกษาต้องทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ค่อยสนุกสนานค่อยเล่น เราอย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งรีบตักตวง ตักตวง รีบยังประโยชน์ให้มีให้เกิดขึ้นกับกายก้อนนี้ให้ได้ขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่
การได้ยินได้ฟังได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือแล้วก็ต้องพยายามอันนี้เป็นของแต่ละบุคคล จะไปบังคับกันไม่ได้ เพียงแค่บอกแค่กล่าว บุคคลใดที่รู้แล้วเห็นแล้วก็ยิ่งเพิ่มทำความเพียรเป็นทวีคูณทั้งกลางวันทั้งกลางคืน หมั่นแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเราอะไรขาดตกบกพร่องสมมติอะไรที่มันไม่พร้อม เราก็ทำอย่าไปมองข้าม ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นธรรมหมด ทั้งดำทั้งขาวทั้งดีทั้งชั่ว อะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน มองเห็นหนทางเดินว่าจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ใช้ตัวเองเป็นแล้วอย่าไปเที่ยวให้คนโน้นคนนี้เขาสอน ไม่เกิดประโยชน์เพียงแค่เรารู้จักวิธีการแล้วแนวทางแล้วไปทำความเพียร รู้ไม่ทันต้นเหตุ ดับละวาง จิตใจของคนเรานี่แก้ไขได้ ไม่ใช่ว่าแก้ไขไม่ได้ ถ้าแก้ไขไม่ได้บอกตัวเองไม่ได้ ไปสร้างปัญหา ไปอยู่ที่ไหนก็ไปสร้างปัญหาที่นู่น ไปอยู่ที่ไหนก็ไปสร้างปัญหาที่นี่ สร้างปัญหาให้ตัวเอง สร้างปัญหาให้คนอื่น บุคคลเช่นนี้ก็ไปอยู่ที่ไหนก็ลำบาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปอยู่ที่ไหนก็ระราน ระรานสถานที่ ระรานเพื่อนรอบข้าง ระรานทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ให้รู้จักแก้ไข ถ้าบอกไม่เชื่อฟังก็ให้รู้จักพิจารณาตัวเองทันที ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ