หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 34 วันที่ 9 พฤษภาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 34 วันที่ 9 พฤษภาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 34
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าวแค่เตือน ให้พวกท่านรู้จักวิธีการเจริญสติ แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้ มีความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราหรือว่ารู้กาย ถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เรารู้ส่วนไหนของกายได้หมด แล้วก็รู้ทันการก่อตัวของใจ การเกิดของใจซึ่งเป็นส่วนนามธรรม การเกิดอาการของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
แต่เวลานี้กำลังสติของเราต้องเน้นลงที่กายของเราให้ได้เสียก่อน แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง มีความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่จนกว่ากำลังสติของเราจะเอาไปใช้การใช้งาน รู้เท่ารู้ทัน รู้ใจรู้ลักษณะของใจ รู้จักวิธีการอบรมใจ รู้จักพฤติกรรมของใจ แล้วก็รู้จักแก้ไขใจของเรา
ใจของเราขณะนี้ปกติ หรือว่าเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละรู้จักดับ ทุกอย่างทุกเรื่องเป็นเรื่องของเราทั้งหมด เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น เราพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีขณะที่เรายังมีกำลังยังมีลมหายใจอยู่
หมั่นเจริญสติอบรมใจพร่ำสอนใจ กายของเราทำอย่างงี้ วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างนี้ ทวารทั้งหมดเขาทำหน้าที่อย่างนี้ เรารู้จักจำแนกแจกแจง อันนี้คือสมมติ อันนี้คือวิมุตติ อันนี้คืออัตตา คืออนัตตา ถ้าใจยังไม่คลายจากขันธ์ห้าเราก็จะไม่เข้าใจคำว่าอัตตา อนัตตา เราก็จะไม่เข้าใจคำว่าสมมติ วิมุตติ เราอาจจะรู้เรื่องอยู่เฉพาะปัญญาของโลกีย์เข้าถึงความหมายเพียงแค่ปัญญาของโลกีย์ เข้าไม่ถึงตัวใจ ตัววิมุตติตัวหลุดพ้น
ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ การพูดการได้ยินได้ฟัง ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ปัญญาทางโลกทุกคนก็มีกันเต็มเปี่ยม เราพยายามน้อมใช้ปัญญาโลกเข้าไปพิจารณา ชี้เหตุชี้ผลจนเห็นเหตุเห็นผลจนกลายเป็นปัญญาธรรม ว่าอะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
ให้รีบตักตวงหากำไรในชีวิตในร่างกายก้อนนี้เสีย ขณะที่เขายังมีกำลังอยู่ ยังมีลมหายใจอยู่ เดินตามแนวทางของพระพุทธองค์ คำว่า 'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูกเป็นอย่างไร 'มิจฉาทิฐิ' ความเห็นผิดเป็นอย่างไร ความเห็นถูกในหลักธรรมนั้น ใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งว่าเห็นถูก หรือว่าแยกรูปแยกนาม เดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา
'วิปัสสนา' หมายถึงความรู้แจ้งเห็นจริง รู้จัก เห็น ลักษณะหน้าตาอาการของใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ หลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐเป็นลักษณะอย่างนี้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องตามค้นคว้าจนหมดความสงสัย หมดความลังเล ในสิ่งต่างๆ จนความบริสุทธิ์หลุดพ้นปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย เชื่อต้องมีเหตุมีผล ท่านถึงว่ามีเหตุมีผล ธรรมก็มีเหตุมีผล โลกก็มีเหตุมีผล ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกิดแต่เหตุ หลักธรรมท่านให้ชี้ลงที่เหตุ ตั้งแต่ความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ตั้งแต่การเกิดของจิตวิญญาณ ดับความเกิดได้เราก็ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน
ทุกคนทั่วไปก็ไปตามเอาตั้งแต่ปลายเหตุ กลางเหตุปลายเหตุ สร้างแต่เหตุทับถมดวงใจตัวเองตลอดเวลา ไม่ขัดเกลากิเลส เอากิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ดับความเกิดตั้งแต่ต้นเหตุ ชี้เหตุชี้ผล หมดความสงสัยหมดความลังเล มีแต่มุ่งพุ่งเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ทำความเข้าใจกับโลก ทำความเข้าใจกับสมมติ เราอยู่กับสมมติ เราอยู่กับโลกเราอยู่กับสังคม กายของเรานี่แหละคือก้อนสมมติ เราก็ทำความเข้าใจกับเขาเสียแล้วก็อยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุข ทำหน้าที่ของเราให้ดีจนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
ทุกคนก็มีบุญมีอานิสงส์กันหมดนั่นแหละ จะเดินช้าเดินเร็วก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของแต่ละบุคคล ก็ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของแต่ละบุคคล อย่าไปโทษคนโน้นโทษคนนี้ จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ใจของเราดี เราก็มองเห็นโลกนี้ไปในทางที่ดี ใจของเราเป็นธรรม เราก็มองเห็นโลกนี้เป็นธรรม ใจของเราเป็นโลก เราก็มองเห็นโลกนี้เป็นโลก ใจของเราไม่ดี เราก็มองเห็นสิ่งภายนอกไม่ดี สิ่งภายนอกถึงจะดีถึงขนาดไหน ถ้าใจเราไม่ดีมันก็ใจของเราก็ไม่ดี เราต้องมาแก้ไขที่ใจของเรา
ใจของเราดี เราก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเป็นธรรมหมด ในโลกนี้ก็ล้วนเป็นธรรม ธรรมดำธรรมขาว กุศลอกุศลก็เป็นธรรมหมดนั่นแหละ ท่านก็ให้ละอกุศล เจริญกุศล สูงขึ้นไปก็ให้ละหมดแต่ไม่ยึดติด ให้สร้างกุศลสร้างบุญแต่ไม่ยึดติดในบุญ แล้วก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยมขณะที่ยังมีกำลัง เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง ตรงนี้ก็ยากแสนยาก ที่จะเอาสติไปชี้เหตุชี้ผลจนกลายเป็นปัญญาก็ยากเข้าไปอีกถ้าเราไม่มีความเพียรเป็นเลิศต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางนั้นได้ ถ้าไม่มีความเสียสละขัดเกลาเอากิเลสออกจากจิตจากใจ ใจของเราก็ไม่เข้าถึงความสะอาดความบริสุทธิ์ ทั้งที่ใจของเรานั้นก็บริสุทธิ์อยู่เดิมความไม่รู้ทำให้เราเอากิเลสมาปกปิดเสียมิดเสียจนขัดเกลาเอาออกยาก นอกจากบุคคลที่เบาบางมา ก็ค่อยขัดค่อยเกลาค่อยเอาออก แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ไม่เหลือวิสัย ค่อยเป็นค่อยไป
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ขอให้ใจอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ สักวันหนึ่งก็คงถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่งสมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่กล่าวแค่เตือน ให้พวกท่านรู้จักวิธีการเจริญสติ แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้ มีความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราหรือว่ารู้กาย ถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เรารู้ส่วนไหนของกายได้หมด แล้วก็รู้ทันการก่อตัวของใจ การเกิดของใจซึ่งเป็นส่วนนามธรรม การเกิดอาการของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
แต่เวลานี้กำลังสติของเราต้องเน้นลงที่กายของเราให้ได้เสียก่อน แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง มีความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่จนกว่ากำลังสติของเราจะเอาไปใช้การใช้งาน รู้เท่ารู้ทัน รู้ใจรู้ลักษณะของใจ รู้จักวิธีการอบรมใจ รู้จักพฤติกรรมของใจ แล้วก็รู้จักแก้ไขใจของเรา
ใจของเราขณะนี้ปกติ หรือว่าเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละรู้จักดับ ทุกอย่างทุกเรื่องเป็นเรื่องของเราทั้งหมด เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น เราพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีขณะที่เรายังมีกำลังยังมีลมหายใจอยู่
หมั่นเจริญสติอบรมใจพร่ำสอนใจ กายของเราทำอย่างงี้ วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างนี้ ทวารทั้งหมดเขาทำหน้าที่อย่างนี้ เรารู้จักจำแนกแจกแจง อันนี้คือสมมติ อันนี้คือวิมุตติ อันนี้คืออัตตา คืออนัตตา ถ้าใจยังไม่คลายจากขันธ์ห้าเราก็จะไม่เข้าใจคำว่าอัตตา อนัตตา เราก็จะไม่เข้าใจคำว่าสมมติ วิมุตติ เราอาจจะรู้เรื่องอยู่เฉพาะปัญญาของโลกีย์เข้าถึงความหมายเพียงแค่ปัญญาของโลกีย์ เข้าไม่ถึงตัวใจ ตัววิมุตติตัวหลุดพ้น
ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ การพูดการได้ยินได้ฟัง ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ปัญญาทางโลกทุกคนก็มีกันเต็มเปี่ยม เราพยายามน้อมใช้ปัญญาโลกเข้าไปพิจารณา ชี้เหตุชี้ผลจนเห็นเหตุเห็นผลจนกลายเป็นปัญญาธรรม ว่าอะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
ให้รีบตักตวงหากำไรในชีวิตในร่างกายก้อนนี้เสีย ขณะที่เขายังมีกำลังอยู่ ยังมีลมหายใจอยู่ เดินตามแนวทางของพระพุทธองค์ คำว่า 'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูกเป็นอย่างไร 'มิจฉาทิฐิ' ความเห็นผิดเป็นอย่างไร ความเห็นถูกในหลักธรรมนั้น ใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งว่าเห็นถูก หรือว่าแยกรูปแยกนาม เดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา
'วิปัสสนา' หมายถึงความรู้แจ้งเห็นจริง รู้จัก เห็น ลักษณะหน้าตาอาการของใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ หลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐเป็นลักษณะอย่างนี้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ เราต้องตามค้นคว้าจนหมดความสงสัย หมดความลังเล ในสิ่งต่างๆ จนความบริสุทธิ์หลุดพ้นปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย เชื่อต้องมีเหตุมีผล ท่านถึงว่ามีเหตุมีผล ธรรมก็มีเหตุมีผล โลกก็มีเหตุมีผล ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกิดแต่เหตุ หลักธรรมท่านให้ชี้ลงที่เหตุ ตั้งแต่ความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ตั้งแต่การเกิดของจิตวิญญาณ ดับความเกิดได้เราก็ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน
ทุกคนทั่วไปก็ไปตามเอาตั้งแต่ปลายเหตุ กลางเหตุปลายเหตุ สร้างแต่เหตุทับถมดวงใจตัวเองตลอดเวลา ไม่ขัดเกลากิเลส เอากิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ดับความเกิดตั้งแต่ต้นเหตุ ชี้เหตุชี้ผล หมดความสงสัยหมดความลังเล มีแต่มุ่งพุ่งเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ทำความเข้าใจกับโลก ทำความเข้าใจกับสมมติ เราอยู่กับสมมติ เราอยู่กับโลกเราอยู่กับสังคม กายของเรานี่แหละคือก้อนสมมติ เราก็ทำความเข้าใจกับเขาเสียแล้วก็อยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุข ทำหน้าที่ของเราให้ดีจนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
ทุกคนก็มีบุญมีอานิสงส์กันหมดนั่นแหละ จะเดินช้าเดินเร็วก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของแต่ละบุคคล ก็ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของแต่ละบุคคล อย่าไปโทษคนโน้นโทษคนนี้ จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ใจของเราดี เราก็มองเห็นโลกนี้ไปในทางที่ดี ใจของเราเป็นธรรม เราก็มองเห็นโลกนี้เป็นธรรม ใจของเราเป็นโลก เราก็มองเห็นโลกนี้เป็นโลก ใจของเราไม่ดี เราก็มองเห็นสิ่งภายนอกไม่ดี สิ่งภายนอกถึงจะดีถึงขนาดไหน ถ้าใจเราไม่ดีมันก็ใจของเราก็ไม่ดี เราต้องมาแก้ไขที่ใจของเรา
ใจของเราดี เราก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเป็นธรรมหมด ในโลกนี้ก็ล้วนเป็นธรรม ธรรมดำธรรมขาว กุศลอกุศลก็เป็นธรรมหมดนั่นแหละ ท่านก็ให้ละอกุศล เจริญกุศล สูงขึ้นไปก็ให้ละหมดแต่ไม่ยึดติด ให้สร้างกุศลสร้างบุญแต่ไม่ยึดติดในบุญ แล้วก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยมขณะที่ยังมีกำลัง เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง ตรงนี้ก็ยากแสนยาก ที่จะเอาสติไปชี้เหตุชี้ผลจนกลายเป็นปัญญาก็ยากเข้าไปอีกถ้าเราไม่มีความเพียรเป็นเลิศต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ ถึงจะถึงจุดหมายปลายทางนั้นได้ ถ้าไม่มีความเสียสละขัดเกลาเอากิเลสออกจากจิตจากใจ ใจของเราก็ไม่เข้าถึงความสะอาดความบริสุทธิ์ ทั้งที่ใจของเรานั้นก็บริสุทธิ์อยู่เดิมความไม่รู้ทำให้เราเอากิเลสมาปกปิดเสียมิดเสียจนขัดเกลาเอาออกยาก นอกจากบุคคลที่เบาบางมา ก็ค่อยขัดค่อยเกลาค่อยเอาออก แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ไม่เหลือวิสัย ค่อยเป็นค่อยไป
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ขอให้ใจอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ สักวันหนึ่งก็คงถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่งสมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ