หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 53 วันที่ 18 มิถุนายน 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 53 วันที่ 18 มิถุนายน 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ปี 2563 ลำดับที่ 53
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 18 มิถุนายน 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะละไม่ได้ ดับไม่ได้เด็ดขาด ด้วยการกระตุ้นความรู้สึกรับรู้ของการหายใจเข้าออก
ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจเข้าออก ฝึกจนเกิดความเคยชิน ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจาที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกปุ๊บ
จะลุกจะก้าวจะเดินก็รู้ว่าความปกติของใจของเรา ใจของเราปกติ จะลุกจะก้าวจะเดิน จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำก็รู้ว่าใจปกติ แต่เวลานี้ความรู้ตัวของเรามันมีอยู่บ้างนิดๆหน่อยๆ ไม่ได้ต่อเนื่อง เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ใจของเราเกิดอยู่ตลอดเวลา เราก็เลยไปมั่นหมายเอาความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้า ความคิดเก่า ความคิดที่มีอยู่เดิม เขาเรียกว่า 'ความคิดของปัญญาโลกีย์' ซึ่งมีกันทุกคน แล้วก็คล่องแคล่วด้วยตัวนี้
ท่านถึงให้มาเจริญสติ เอาสติของเราไปใช้อบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม อะไรผิดอะไรถูก สติปัญญาของเราก็ค่อยๆ แก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา
พฤติกรรมของใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน ใจของเรามีความแข็งกร้าว เราก็พยายามละความแข็งกร้าว ใจมีกิเลส เราก็พยายามละกิเลส ใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราก็พยายามขัดเกลา แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไม่รู้เรื่อง การเจริญสติไม่รู้จักเรื่องของสติปัญญา การเจริญสติก็เพื่อจะเอาสติปัญญาไปใช้อบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผลจนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา ว่าอะไรผิดอะไรถูกอะไรควรหรือไม่ควร
ทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา กายของเรานี่แหละคือสนามรบอย่างดี กายของเรานี้แหละคือก้อนกรรม ก้อนบุญ ก้อนสมมติซึ่งเป็นส่วนรูปธรรม ทำไมใจถึงเข้ามาหลงมายึด เราก็ต้องมาศึกษาตามแนวทางของพระพุทธองค์ว่า ท่านได้ค้นพบเอามาจำแนกแจกแจง เอามาเปิดเผย อันนี้กองรูป อันนี้กองนามนะ อันนี้กองสังขาร อันนี้กองวิญญาณ
ที่ท่านเรียกว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' ในกายของเรา ความไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่าไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่ามีตั้งแต่อัตตา อนัตตา ความว่างเปล่า แต่เราก็มองเห็นเป็นก้อนเป็นขันธ์ เป็นก้อนเป็นกอง รวมกันอยู่ แต่พระพุทธองค์ให้มองเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ มาประชุมกันเข้า มีวิญญาณ แล้วมีตัวใจเข้ามาอาศัยอยู่ แล้วก็มาหลงมายึด หลายชั้นหลายขั้นหลายตอน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ทุกอย่างสารพัดอย่างซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปค้นคว้า ชี้เหตุผล ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง มองเห็นความเป็นจริงแล้วก็ค่อยละ สักวันหนึ่งเราก็คงจะมองเห็นหนทางเดินของชีวิตของเรา
ศรัทธาความเชื่อมั่น เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธองค์ตรงนี้ก็มีอยู่ การทำบุญให้ทานสร้างพระบารมีตรงนี้ก็มีอยู่ อาจจะมีมากบ้างน้อยบ้าง บางคนเกิดมาก็มีความพร้อม พร้อมทั้งสมมติ พร้อมทั้งวิมุตติ บางคนก็พร้อมสิ่งหนึ่ง ขาดสิ่งหนึ่ง จะให้เต็มเปี่ยมไปเลยทีเดียว เราก็ต้องมาทำความเข้าใจ มาสร้างมาทำให้มีให้เกิดขึ้น มาอบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น ท่านถึงบอกว่า 'ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน'
'ตน' ตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ แล้วเป็นที่พึ่งแห่งใจหรือตัว 'ตน' ตัวที่สอง แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด ไปพึ่งสารพัดอย่างนั่นแหละ พึ่งภายนอก ยังพึ่งภายในไม่ได้เลย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 18 มิถุนายน 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบายวางกายให้สบายแล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะละไม่ได้ ดับไม่ได้เด็ดขาด ด้วยการกระตุ้นความรู้สึกรับรู้ของการหายใจเข้าออก
ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจเข้าออก ฝึกจนเกิดความเคยชิน ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจาที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกปุ๊บ
จะลุกจะก้าวจะเดินก็รู้ว่าความปกติของใจของเรา ใจของเราปกติ จะลุกจะก้าวจะเดิน จะเข้าห้องส้วมห้องน้ำก็รู้ว่าใจปกติ แต่เวลานี้ความรู้ตัวของเรามันมีอยู่บ้างนิดๆหน่อยๆ ไม่ได้ต่อเนื่อง เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ใจของเราเกิดอยู่ตลอดเวลา เราก็เลยไปมั่นหมายเอาความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้า ความคิดเก่า ความคิดที่มีอยู่เดิม เขาเรียกว่า 'ความคิดของปัญญาโลกีย์' ซึ่งมีกันทุกคน แล้วก็คล่องแคล่วด้วยตัวนี้
ท่านถึงให้มาเจริญสติ เอาสติของเราไปใช้อบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม อะไรผิดอะไรถูก สติปัญญาของเราก็ค่อยๆ แก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา
พฤติกรรมของใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน ใจของเรามีความแข็งกร้าว เราก็พยายามละความแข็งกร้าว ใจมีกิเลส เราก็พยายามละกิเลส ใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราก็พยายามขัดเกลา แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไม่รู้เรื่อง การเจริญสติไม่รู้จักเรื่องของสติปัญญา การเจริญสติก็เพื่อจะเอาสติปัญญาไปใช้อบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผลจนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา ว่าอะไรผิดอะไรถูกอะไรควรหรือไม่ควร
ทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา กายของเรานี่แหละคือสนามรบอย่างดี กายของเรานี้แหละคือก้อนกรรม ก้อนบุญ ก้อนสมมติซึ่งเป็นส่วนรูปธรรม ทำไมใจถึงเข้ามาหลงมายึด เราก็ต้องมาศึกษาตามแนวทางของพระพุทธองค์ว่า ท่านได้ค้นพบเอามาจำแนกแจกแจง เอามาเปิดเผย อันนี้กองรูป อันนี้กองนามนะ อันนี้กองสังขาร อันนี้กองวิญญาณ
ที่ท่านเรียกว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' ในกายของเรา ความไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่าไม่เที่ยง ทำไมท่านถึงว่ามีตั้งแต่อัตตา อนัตตา ความว่างเปล่า แต่เราก็มองเห็นเป็นก้อนเป็นขันธ์ เป็นก้อนเป็นกอง รวมกันอยู่ แต่พระพุทธองค์ให้มองเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ มาประชุมกันเข้า มีวิญญาณ แล้วมีตัวใจเข้ามาอาศัยอยู่ แล้วก็มาหลงมายึด หลายชั้นหลายขั้นหลายตอน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ทุกอย่างสารพัดอย่างซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปค้นคว้า ชี้เหตุผล ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง มองเห็นความเป็นจริงแล้วก็ค่อยละ สักวันหนึ่งเราก็คงจะมองเห็นหนทางเดินของชีวิตของเรา
ศรัทธาความเชื่อมั่น เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธองค์ตรงนี้ก็มีอยู่ การทำบุญให้ทานสร้างพระบารมีตรงนี้ก็มีอยู่ อาจจะมีมากบ้างน้อยบ้าง บางคนเกิดมาก็มีความพร้อม พร้อมทั้งสมมติ พร้อมทั้งวิมุตติ บางคนก็พร้อมสิ่งหนึ่ง ขาดสิ่งหนึ่ง จะให้เต็มเปี่ยมไปเลยทีเดียว เราก็ต้องมาทำความเข้าใจ มาสร้างมาทำให้มีให้เกิดขึ้น มาอบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น ท่านถึงบอกว่า 'ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน'
'ตน' ตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ แล้วเป็นที่พึ่งแห่งใจหรือตัว 'ตน' ตัวที่สอง แต่เวลานี้ใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด ไปพึ่งสารพัดอย่างนั่นแหละ พึ่งภายนอก ยังพึ่งภายในไม่ได้เลย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ