หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 82 วันที่ 14 สิงหาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 82 วันที่ 14 สิงหาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 82
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 14 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา เราได้เจริญสติให้ต่อเนื่องกันสักนิดแล้วหรือยัง นั่งตามสบายวางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกลงที่กายของเรา
เพียงแค่รู้การหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'เจริญสติลงที่กาย' ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า'สัมปชัญญะ' เพียงแค่นี้ พวกเราก็ยังทำกันไม่ได้ ก็มีแต่ไปนึกเอา ไปคิดเอา
ความนึก ความคิด หรือว่าปัญญาเก่า ซึ่งท่านเรียกว่า 'ปัญญาโลกีย์' มีกันทุกคน ความเกิดของใจ ความเกิดของขันธ์ห้า อันนี้มีกันทุกคน มีอยู่เดิม ท่านถึงให้มาเจริญสติ มีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย แล้วก็เจริญสติลงที่กายค้นหาลงที่กายของเรา หาใจของตัวเรานั่นแหละ หาธรรมนั่นแหละ ตัวธรรมหรือว่าธรรม ก็คือตัวใจนั่นแหล่ะ อันนี้ส่วนรูป ซึ่งเป็นส่วนกายของเรา ส่วนนามธรรมก็มีอยู่ในกายของเรานี่แหละ ก็ตัววิญญาณนั่นแหละ ตัวใจของเรานั่นแหละ
ความเกิดความดับ เขาเกิดๆ ดับๆ ความเกิดนั้นเป็นความหลงอันละเอียด ถ้าเราไม่มีกำลังสติเพียงพอ ยากที่จะรู้ ยากที่จะเห็น ยากที่จะเข้าใจ การฝึกการเจริญสติก็ยังทำไม่ต่อเนื่อง มันก็เลยไม่รู้ทรัพย์อันใหญ่ ก็มีแต่ความหลงเข้าครอบงำอยู่ แต่เราก็ว่าเราไม่หลงนะ อาจจะไม่หลงอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมความเกิดนั่นแหละ คือความหลงอันละเอียดที่สุด
ความเกิดของใจ ใจก็มาสร้างขันธ์ห้ามาปิดตัวเองเอาไว้อีก แล้วก็กิเลสต่างๆ ก็มาปกปิดเอาไว้อีก กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด แต่ส่วนมากปฏิบัติไม่รู้ เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ มีก็แต่ความคิดเก่าๆ เป็นตัวบงการ คลื่นสมองกับอาการของขันธ์ห้ารวมกันไปหมดนอกจากบุคคลที่สังเกตวิเคราะห์ จนใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าได้ เราถึงจะรู้เรื่องชีวิตของเรา
ตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรก ตนมี 2 ตน คือตัวใจนั่นตนนึง ตัวสติปัญญาคือตนตัวที่ 2 ที่เราสร้างขึ้นมา ตัวที่ 2 นี่เราต้องสร้างขึ้นมา เอาไปใช้ให้รู้เรื่อง จนชี้เหตุชี้ผลได้ ใจคลายได้ รอบรู้ในดวงใจหรือว่ารอบรู้ในตัววิญญาณในกายของตัวเองได้ รอบรู้ในโลก รอบรู้ในธรรม ถ้าแยกได้ เราก็จะเข้าใจเรื่องธรรม ถ้าแยกไม่ได้ เราก็เข้าใจระดับของสมมติสร้างตบะ สร้างบารมีของเราให้เต็มเปี่ยม ถึงเวลาเราก็จะเข้าใจ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือจริงๆ อาจจะลงมือบ้าง กระท่อนกระแท่น ไม่มีความเพียรพอ กำลังสติมีไม่เพียงพอ แต่ฐานบุญบารมีนั้น บางคนก็เต็มมาแล้ว บางคนก็มีความพร้อมทางสมมติ ก็ได้แต่ดิ้นรนแสวงหา
การดิ้นรนแสวงหา แสวงหาธรรม อันนั้นก็เป็นฝ่ายกุศล ถ้าเราเข้ามาถึงจริงๆ ท่านให้ดับความเกิด ละความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยาก ทั้งไม่หวัง เจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ตามดู รู้ความเป็นจริง รู้เรื่องชีวิตของเรา ท่านถึงบอกว่า รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา รอบรู้ในโลก อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็จะเข้าใจ ภาษาธรรมภาษาโลก
ถ้าเรามีสติคอยดู รู้ใจของเรา รู้กายของเรา หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่กิเลสเล็กๆ น้อยๆ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราก็ให้เกิดไม่ได้ แต่ส่วนมากจะไปรู้เท่าทันตั้งแต่กิเลสตัวใหญ่ๆ ความเกิดตัวเล็กๆ รู้ไม่ทัน
ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียด ที่ปิดบังดวงใจเอาไว้ ขันธ์ห้าก็มาปิดบังดวงใจเอาไว้ สมมติต่างๆ ก็มาปิดบังดวงใจเอาไว้ มันก็เลยกลายเป็นดินพอกหางหมู
ตามหลักของความเป็นจริง เราต้องคลายออกให้มันหมด เข้าสู่สภาพเดิม คือความบริสุทธิ์ของใจ แล้วก็ดับความเกิดของใจ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทน อันนี้ถ้าเราไม่ไปเริ่มต้น ทุกคนจะเอาตั้งแต่ผล อยากได้ตั้งแต่ผล อยากได้ตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้จักธรรม ปฏิบัติธรรมไม่รู้เรื่องธรรม
อะไรคือสติปัญญา อะไรคือใจ อะไรคืออาการของใจ เราก็รู้จักละกิเลส เราต้องลงมือจริงๆ ขยันหมั่นเพียรจริงๆ เราถึงได้ ถึงเราไม่รู้เรื่องใจของเรา ก็ขอให้อยู่ในบุญกุศลระดับของสมมติ ตรงนี้รู้กันอยู่ คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่รู้แบบโลกๆ นั่นแหละ ถ้าเราไม่เจริญสติให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง
ถ้าเราเจริญสติของเราให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง เราก็จะรู้ว่า แต่ก่อนที่ผ่านมานั้น สติในทางธรรมไม่มีเลย มีแต่ปัญญาแบบโลกๆ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ
มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สำหรับการศึกษาเรื่องใจ พระพุทธองค์มองเห็นเป็นของลงที่ความว่าง ลงที่ไตรลักษณ์ แต่พวกเรามองเห็นเป็นตัวเป็นตน เป็นก้อน ก็เป็นก้อนอยู่นั่นแหละ แต่ต้องแยกแยะด้วย เห็นด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญาจริงๆ ถึงจะปล่อยวางได้ ถึงปล่อยวางไม่ได้ก็ขอให้อยู่ในบุญกุศลเอาไว้ หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล หมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญเรื่องบาป
เราต้องรู้เรื่องกรรมในกายก้อนนี้ กรรมก็คือความคิด ความเกิด กรรมเก่า กรรมใหม่ กรรมเก่าก็คือขันธ์ทั้งห้านั่นแหละมาปรุงแต่งใจอยู่ตลอดเวลา กรรมใหม่ก็เกิดจากตัวใจที่ปรุงแต่ง เข้าไปหลงเข้าไปยึดอีก ถ้าเราไม่ศึกษาจริงๆ ไม่รู้เรื่องนี้ นอกจากบุคคลที่เดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วจำแนกแจกแจง แยกแยะได้ ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
หลวงพ่อจะเน้น ตั้งแต่ให้เห็นต้นเหตุเสียก่อน การเจริญสติให้มีให้ต่อเนื่อง แล้วก็ไปสังเกตวิเคราะห์ จนใจคลายออกตามดู รู้เห็นความเป็นจริง เราจะละได้หรือละไม่ได้ ขอให้เรารู้ฐานของความจริง ขอให้เรารู้เรื่องความลับภายในใจของเราให้ได้ ให้คลายออกให้ได้เสียก่อน แต่คนส่วนมากกระโดดเอาตั้งแต่ผล มันก็เลยไม่รู้เรื่อง
ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก อยากรู้อยากเห็น อยากได้ธรรม อยากเป็นนู่นเป็นนี่ มันก็ปิดกั้นตัวเองไว้หมดนั่นแหละ ถ้าเราคลายออกให้มันหมด เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์เราก็ได้ ถ้าเราดับความเกิดของใจให้มันได้ เราดับได้ เราไม่ได้อยากได้ความสงบ เราก็ได้ การขัดเกลาการเอาออก ยิ่งคิด ยิ่งแสวงหา ยิ่งห่างไกล
เรามากระตุ้นสติปัญญาเอาไปใช้ ฝึกสติรู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ จนเต็มรอบ จนเต็มรอบ แต่ละวันตื่นขึ้นมา ความขยันหมั่นเพียรของเรามีหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีหรือเปล่า หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัว หรือว่ามีตั้งแต่จิตใจที่ฟุ้งซ่าน เราก็ต้องแก้ไข
ปัญญาโลกเต็มเปี่ยม เรามาคลายปัญญา คือคลายใจออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนาม อันนี้ท่านถึงว่า ‘ปัญญาธรรม’ แล้วก็รู้จักหนุนกำลังสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล จนกลายเป็นมหาสติ จากมหาสติจนกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาจนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขารของตัวเรา ไม่ใช่ว่าอยากได้แต่ธรรม ไปแสวงหาที่โน่น ไปแสวงหาที่นี่ ไม่แสวงหาไม่เจริญสติลงไปที่กายของเราให้ต่อเนื่อง จนลึกลงไป ลงที่อาการของใจ
การเกิดของใจ หรือว่าความคิดนั่นแหละ ความคิดที่เกิดจากใจ เขารวมกันได้ยังไง เขาหลงกันไปได้ยังไง เราต้องรู้เหตุรู้ผล เห็นเหตุเห็นผล เพียงแค่ถ้ารู้ใจ ตามดู รู้เห็นความเป็นจริง จะสนุกมากทีเดียว กิเลสตัวไหนจะมาเล่นงานเรา เราพลั้งเผลอให้กิเลสหรือไม่ พลั้งเผลอ เริ่มใหม่เอาใหม่ แก้ไขใหม่ ล้มลุกคลุกคลาน เอาใหม่ อันนี้เป็นส่วนรูป อันนี้เป็นส่วนนาม ถ้าเรายังแยกแยะไม่ได้ มันก็เหมือนกับงมเข็มในทะเลเลยทีเดียว
ท่านถึงว่า การฝึกหัดปฏิบัติใจ ใจของคนเรานี้ฝึกได้ ไม่ใช่ว่าฝึกไม่ได้ เรารู้จักควบคุม ควบคุมใจ ควบคุมกาย ควบคุมวาจา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจของเราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ หรือว่าเราละกิเลสได้หมดจด สมมติของเราก็ยังมีอยู่ คือกาย คือก้อนสมมติ ใจก็มาอาศัยกายนี้อยู่ เรามาสร้างธาตุดินน้ำลมไฟ เข้ามาห่อหุ้ม หนังมาห่อหุ้ม แล้วก็มายึด มาติด แล้วก็เกิดต่อ แต่ก็กายของเรานั่นแหละ
เราก็บริหารกาย บริหารใจของเราให้ถูกต้อง ถึงวาระเวลาเขาก็ต้องแตกดับ ถ้าไม่ถึงกาลถึงเวลา เขาก็ไม่แตกดับ แต่เราต้องละด้วยปัญญา รู้เห็นด้วยปัญญาเสียก่อน แล้วก็ดูแลเขาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เขาจะแตกดับ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ถึงไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ก็ให้ใจอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ คิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อม
การฝึกหัดปฏิบัติก็เพื่อที่จะคลายความหลง ใจมันหลงอะไร หลงขันธ์ห้า คำว่าขันธ์ห้า ที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ อันนั้นเขาเป็นกองเป็นขันธ์ได้ยังไง เราต้องรู้ว่ากองไหนเป็นกองไหน กองรูป กองนาม ส่วนนามเขาแยกแยะออกไปอีก กองอดีตกองอนาคต สารพัดอย่าง กองสัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ ถ้าเราไม่ฝึกฝน เราจะไม่เข้าใจเรื่องนี้เลยถึงจะไปอ่านหนังสือเล่มไหนก็เพียงแค่เข้าใจระดับของสมมติ ระดับโลกีย์ แต่ยังไม่เข้าลึกถึงตัวใจ ต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเราจริงๆ รู้ตัวใจของเราจริงๆ
อันนี้สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ คิดก็รู้ ทำก็รู้ เขาหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ เขาหลงเกิดนั่นแหละ อาจจะเกิดอยู่ในบุญในกุศล สูงขึ้นไปทำความเข้าใจ ก็จะลงสู่หลักของอนัตตา คือความไม่เที่ยง
การเดินปัญญา การแยกรูปแยกนาม กิเลสเราเบาบางได้ยังไง กิเลสหยาบเกิดขึ้นได้ยังไง กิเลสละเอียดเกิดขึ้นได้ยังไงก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา คือความรู้แจ้ง รู้แจ้งเห็นจริง ว่าใจของเราเกิดกิเลสระดับไหน เราขัดเกลาเอาออก เบาบางได้เท่าไหร่ ก็ขยับเขยื้อนขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทรงความว่าง ละจากกิเลสต่างๆ ไว้เป็นอารมณ์ จนกว่าจะอุเบกขา รู้เห็นด้วยสติด้วยปัญญาจริงๆ
เป็นเรื่องทุกเรื่องเลยนะ เรื่องเล็กๆ น้อยๆจนกระทั่งถึงเรื่องใหญ่ เราจัดการตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่การเกิดของความคิด ตัวใหญ่มันจะเกิดขึ้นมาได้ยังไง เราก็แก้ไขเรา ปรับปรุงเรา เราจะอยู่กับโลก จะอยู่กับสมมติได้ยังไง ไม่ให้กายให้ใจเป็นทุกข์ แต่กายนี่มันก็ทุกข์อยู่แล้วแหละ เดี๋ยวก็เป็นโน่นเดี๋ยวก็เป็นนี่ เดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับ ถ้าไม่ถึงเวลาเราจะเอาอะไรมาฉุดเขาก็ไม่ไป ถ้าถึงเวลาแล้วจะรั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่
เราก็ต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร เพียรทั้งภายนอก เห็นทั้งภายใน ภายนอกก็เกื้อหนุนถึงภายใน ถ้าความเป็นอยู่ของเราลำบาก การฝึกปฏิบัติใจก็ลำบาก ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ทุกเรื่องนั่นแหละ ในชีวิตเราก็ต้องดู เราก็ทำด้วยสติทำด้วยปัญญา บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา จนกว่าจะได้จากกัน แต่เราต้องจากด้วยสติด้วยปัญญา รู้เห็นภายในของเราให้จบ รู้เรื่องภายในของเราให้เรียบร้อย ว่าเราจะดำเนินยังไง
ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่กับถ่าย เราก็ต้องรู้กายรู้ใจของเรา แต่เวลานี้เรารู้อยู่แบบโลกๆ รู้อยู่ด้วยปัญญาของโลกีย์ แสวงหาด้วยปัญญาของโลกีย์ ก็เลยห่างไกล ห่างไกลตัวใจ ยิ่งคิดยิ่งห่าง ยิ่งค้นหาเท่าไหร่ก็ยิ่งห่าง ในปัญญาทางโลก
ถ้าปัญญาทางธรรม ท่านให้เจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล แล้วก็ค่อยละ มันก็จะหดสั้นเข้าๆ แม้แต่การเกิดของใจ เราก็ดับความเกิดของใจ ดับบ่อยๆ มันก็ไม่เกิด แต่เราต้องแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผลให้ได้เสียก่อน มันถึงจะรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าฝึกก็ได้แค่ฝึก เจริญสติก็ได้แค่เจริญสติ
แต่ละวันเราปรับสภาพใจของเรา ใจของเรามีความอ่อนโยน มีความกตัญญูกตเวที มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบหรือไม่ มีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า เราต้องหัดวิเคราะห์ กายของเราเข้าไปร่วมสมมติ ใจของเราเป็นอย่างไร ผลักไสไหม หรือว่าดึงเข้ามาไหม สติความรู้ตัวของเราทำได้ต่อเนื่องแล้วหรือยัง เอาไปใช้การใช้งานได้แล้วหรือยัง สติของเราพลั้งเผลอสักกี่เที่ยว เราก็พยายามทำความเข้าใจ แม้แต่สติจะขาดจะอ่อน เราจะกระตุ้นความรู้สึกขึ้นมาได้ยังไง จนเอาไปใช้การใช้งานได้อัตโนมัติ
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง แค่พูดให้ฟังเพียงแค่ต้นเหตุยังเข้าไม่ถึงกัน จะไปเอาปลายเหตุได้ยังไง ทำต้นให้เห็น คือดูต้นเหตุการเกิดการดับ การแยกการคลายให้เห็น การทำความเข้าใจให้เต็มที่อีก
การฝึกหัดปฏิบัติ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ถึงจะรู้เรื่องนี้ ถ้าเราไม่เข้าใจจริงๆ เราก็พยายามทำความเพียร ไม่ใช่ว่าทิ้งไปเลย
การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้นะ เราจะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นความขยันหมั่นเพียรของเหตุของผล ของสติปัญญา เอาไปใช้กับชีวิต ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรม อันนู้นก็ผิด อันนี้ก็ผิด อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติ ทุกเรื่อง ทั้งดำทั้งขาวทั้งผิดหรือไม่ผิด ก็เป็นธรรมหมดนั่นแหละ แต่เป็นธรรมฝ่ายไหนเท่านั้นเอง ฝ่ายกุศลฝ่ายอกุศล กำลังฝ่ายไหนมันจะแรงกว่ากัน กำลังสติปัญญาของเรามีกำลังเพียงพอหรือไม่
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา รู้กายของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจรู้กายของเรา ส่วนมากก็มีตั้งแต่เป็นเรื่องของคนอื่น ไม่เอาเรื่องของตัวเองให้มันจบ ถ้าเราจัดการกับตัวกับใจ กับกายของเราให้มันจบ สติปัญญาของเราก็จะล้นออกไปสู่ภายนอก ช่วยเหลือเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ยิ่งสนุกทำกว่าเก่า ยิ่งสร้างอานิสงส์มากมาย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ตามความเป็นจริงนั้นให้เหลือตั้งแต่ประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ส่วนตัวนี่การกระทำของเรามี เราก็ได้เองนั่นแหละ เราก็ได้ใช้อานิสงส์ของเราทำนั่นแหละ
ท่านถึงว่าให้ละความเห็นแก่ตัว ให้ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบให้เต็มเปี่ยม ถึงเวลาเราก็จะเข้าใจ รู้จักการดำเนินชีวิตของเรา ให้อยู่ดีมีความสุข ไม่ต้องไปถามใครหรอก เจริญสตินั่นแหละเข้าไปถามตัวเรา
รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็ดับเราก็วาง เอาใหม่ จนเห็นผลได้ จนแยกแยะได้ ว่าอะไรผิดอะไรถูก ยิ่งอยู่ร่วมกันหลายคนหลายท่าน ก็ยิ่งปัญหามันก็เยอะ เราก็มาแก้ปัญหาภายใน ทั้งแก้ปัญหาภายนอก ให้มันอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาละวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมพร้อมกัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 14 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา เราได้เจริญสติให้ต่อเนื่องกันสักนิดแล้วหรือยัง นั่งตามสบายวางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกลงที่กายของเรา
เพียงแค่รู้การหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'เจริญสติลงที่กาย' ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า'สัมปชัญญะ' เพียงแค่นี้ พวกเราก็ยังทำกันไม่ได้ ก็มีแต่ไปนึกเอา ไปคิดเอา
ความนึก ความคิด หรือว่าปัญญาเก่า ซึ่งท่านเรียกว่า 'ปัญญาโลกีย์' มีกันทุกคน ความเกิดของใจ ความเกิดของขันธ์ห้า อันนี้มีกันทุกคน มีอยู่เดิม ท่านถึงให้มาเจริญสติ มีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย แล้วก็เจริญสติลงที่กายค้นหาลงที่กายของเรา หาใจของตัวเรานั่นแหละ หาธรรมนั่นแหละ ตัวธรรมหรือว่าธรรม ก็คือตัวใจนั่นแหล่ะ อันนี้ส่วนรูป ซึ่งเป็นส่วนกายของเรา ส่วนนามธรรมก็มีอยู่ในกายของเรานี่แหละ ก็ตัววิญญาณนั่นแหละ ตัวใจของเรานั่นแหละ
ความเกิดความดับ เขาเกิดๆ ดับๆ ความเกิดนั้นเป็นความหลงอันละเอียด ถ้าเราไม่มีกำลังสติเพียงพอ ยากที่จะรู้ ยากที่จะเห็น ยากที่จะเข้าใจ การฝึกการเจริญสติก็ยังทำไม่ต่อเนื่อง มันก็เลยไม่รู้ทรัพย์อันใหญ่ ก็มีแต่ความหลงเข้าครอบงำอยู่ แต่เราก็ว่าเราไม่หลงนะ อาจจะไม่หลงอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมความเกิดนั่นแหละ คือความหลงอันละเอียดที่สุด
ความเกิดของใจ ใจก็มาสร้างขันธ์ห้ามาปิดตัวเองเอาไว้อีก แล้วก็กิเลสต่างๆ ก็มาปกปิดเอาไว้อีก กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด แต่ส่วนมากปฏิบัติไม่รู้ เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ มีก็แต่ความคิดเก่าๆ เป็นตัวบงการ คลื่นสมองกับอาการของขันธ์ห้ารวมกันไปหมดนอกจากบุคคลที่สังเกตวิเคราะห์ จนใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าได้ เราถึงจะรู้เรื่องชีวิตของเรา
ตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรก ตนมี 2 ตน คือตัวใจนั่นตนนึง ตัวสติปัญญาคือตนตัวที่ 2 ที่เราสร้างขึ้นมา ตัวที่ 2 นี่เราต้องสร้างขึ้นมา เอาไปใช้ให้รู้เรื่อง จนชี้เหตุชี้ผลได้ ใจคลายได้ รอบรู้ในดวงใจหรือว่ารอบรู้ในตัววิญญาณในกายของตัวเองได้ รอบรู้ในโลก รอบรู้ในธรรม ถ้าแยกได้ เราก็จะเข้าใจเรื่องธรรม ถ้าแยกไม่ได้ เราก็เข้าใจระดับของสมมติสร้างตบะ สร้างบารมีของเราให้เต็มเปี่ยม ถึงเวลาเราก็จะเข้าใจ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือจริงๆ อาจจะลงมือบ้าง กระท่อนกระแท่น ไม่มีความเพียรพอ กำลังสติมีไม่เพียงพอ แต่ฐานบุญบารมีนั้น บางคนก็เต็มมาแล้ว บางคนก็มีความพร้อมทางสมมติ ก็ได้แต่ดิ้นรนแสวงหา
การดิ้นรนแสวงหา แสวงหาธรรม อันนั้นก็เป็นฝ่ายกุศล ถ้าเราเข้ามาถึงจริงๆ ท่านให้ดับความเกิด ละความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยาก ทั้งไม่หวัง เจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ตามดู รู้ความเป็นจริง รู้เรื่องชีวิตของเรา ท่านถึงบอกว่า รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา รอบรู้ในโลก อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็จะเข้าใจ ภาษาธรรมภาษาโลก
ถ้าเรามีสติคอยดู รู้ใจของเรา รู้กายของเรา หมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่กิเลสเล็กๆ น้อยๆ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราก็ให้เกิดไม่ได้ แต่ส่วนมากจะไปรู้เท่าทันตั้งแต่กิเลสตัวใหญ่ๆ ความเกิดตัวเล็กๆ รู้ไม่ทัน
ความเกิดนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียด ที่ปิดบังดวงใจเอาไว้ ขันธ์ห้าก็มาปิดบังดวงใจเอาไว้ สมมติต่างๆ ก็มาปิดบังดวงใจเอาไว้ มันก็เลยกลายเป็นดินพอกหางหมู
ตามหลักของความเป็นจริง เราต้องคลายออกให้มันหมด เข้าสู่สภาพเดิม คือความบริสุทธิ์ของใจ แล้วก็ดับความเกิดของใจ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทน อันนี้ถ้าเราไม่ไปเริ่มต้น ทุกคนจะเอาตั้งแต่ผล อยากได้ตั้งแต่ผล อยากได้ตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้จักธรรม ปฏิบัติธรรมไม่รู้เรื่องธรรม
อะไรคือสติปัญญา อะไรคือใจ อะไรคืออาการของใจ เราก็รู้จักละกิเลส เราต้องลงมือจริงๆ ขยันหมั่นเพียรจริงๆ เราถึงได้ ถึงเราไม่รู้เรื่องใจของเรา ก็ขอให้อยู่ในบุญกุศลระดับของสมมติ ตรงนี้รู้กันอยู่ คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่รู้แบบโลกๆ นั่นแหละ ถ้าเราไม่เจริญสติให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง
ถ้าเราเจริญสติของเราให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง เราก็จะรู้ว่า แต่ก่อนที่ผ่านมานั้น สติในทางธรรมไม่มีเลย มีแต่ปัญญาแบบโลกๆ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ
มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สำหรับการศึกษาเรื่องใจ พระพุทธองค์มองเห็นเป็นของลงที่ความว่าง ลงที่ไตรลักษณ์ แต่พวกเรามองเห็นเป็นตัวเป็นตน เป็นก้อน ก็เป็นก้อนอยู่นั่นแหละ แต่ต้องแยกแยะด้วย เห็นด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญาจริงๆ ถึงจะปล่อยวางได้ ถึงปล่อยวางไม่ได้ก็ขอให้อยู่ในบุญกุศลเอาไว้ หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล หมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญเรื่องบาป
เราต้องรู้เรื่องกรรมในกายก้อนนี้ กรรมก็คือความคิด ความเกิด กรรมเก่า กรรมใหม่ กรรมเก่าก็คือขันธ์ทั้งห้านั่นแหละมาปรุงแต่งใจอยู่ตลอดเวลา กรรมใหม่ก็เกิดจากตัวใจที่ปรุงแต่ง เข้าไปหลงเข้าไปยึดอีก ถ้าเราไม่ศึกษาจริงๆ ไม่รู้เรื่องนี้ นอกจากบุคคลที่เดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วจำแนกแจกแจง แยกแยะได้ ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
หลวงพ่อจะเน้น ตั้งแต่ให้เห็นต้นเหตุเสียก่อน การเจริญสติให้มีให้ต่อเนื่อง แล้วก็ไปสังเกตวิเคราะห์ จนใจคลายออกตามดู รู้เห็นความเป็นจริง เราจะละได้หรือละไม่ได้ ขอให้เรารู้ฐานของความจริง ขอให้เรารู้เรื่องความลับภายในใจของเราให้ได้ ให้คลายออกให้ได้เสียก่อน แต่คนส่วนมากกระโดดเอาตั้งแต่ผล มันก็เลยไม่รู้เรื่อง
ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก อยากรู้อยากเห็น อยากได้ธรรม อยากเป็นนู่นเป็นนี่ มันก็ปิดกั้นตัวเองไว้หมดนั่นแหละ ถ้าเราคลายออกให้มันหมด เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์เราก็ได้ ถ้าเราดับความเกิดของใจให้มันได้ เราดับได้ เราไม่ได้อยากได้ความสงบ เราก็ได้ การขัดเกลาการเอาออก ยิ่งคิด ยิ่งแสวงหา ยิ่งห่างไกล
เรามากระตุ้นสติปัญญาเอาไปใช้ ฝึกสติรู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ จนเต็มรอบ จนเต็มรอบ แต่ละวันตื่นขึ้นมา ความขยันหมั่นเพียรของเรามีหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีหรือเปล่า หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัว หรือว่ามีตั้งแต่จิตใจที่ฟุ้งซ่าน เราก็ต้องแก้ไข
ปัญญาโลกเต็มเปี่ยม เรามาคลายปัญญา คือคลายใจออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนาม อันนี้ท่านถึงว่า ‘ปัญญาธรรม’ แล้วก็รู้จักหนุนกำลังสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล จนกลายเป็นมหาสติ จากมหาสติจนกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาจนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขารของตัวเรา ไม่ใช่ว่าอยากได้แต่ธรรม ไปแสวงหาที่โน่น ไปแสวงหาที่นี่ ไม่แสวงหาไม่เจริญสติลงไปที่กายของเราให้ต่อเนื่อง จนลึกลงไป ลงที่อาการของใจ
การเกิดของใจ หรือว่าความคิดนั่นแหละ ความคิดที่เกิดจากใจ เขารวมกันได้ยังไง เขาหลงกันไปได้ยังไง เราต้องรู้เหตุรู้ผล เห็นเหตุเห็นผล เพียงแค่ถ้ารู้ใจ ตามดู รู้เห็นความเป็นจริง จะสนุกมากทีเดียว กิเลสตัวไหนจะมาเล่นงานเรา เราพลั้งเผลอให้กิเลสหรือไม่ พลั้งเผลอ เริ่มใหม่เอาใหม่ แก้ไขใหม่ ล้มลุกคลุกคลาน เอาใหม่ อันนี้เป็นส่วนรูป อันนี้เป็นส่วนนาม ถ้าเรายังแยกแยะไม่ได้ มันก็เหมือนกับงมเข็มในทะเลเลยทีเดียว
ท่านถึงว่า การฝึกหัดปฏิบัติใจ ใจของคนเรานี้ฝึกได้ ไม่ใช่ว่าฝึกไม่ได้ เรารู้จักควบคุม ควบคุมใจ ควบคุมกาย ควบคุมวาจา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจของเราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ หรือว่าเราละกิเลสได้หมดจด สมมติของเราก็ยังมีอยู่ คือกาย คือก้อนสมมติ ใจก็มาอาศัยกายนี้อยู่ เรามาสร้างธาตุดินน้ำลมไฟ เข้ามาห่อหุ้ม หนังมาห่อหุ้ม แล้วก็มายึด มาติด แล้วก็เกิดต่อ แต่ก็กายของเรานั่นแหละ
เราก็บริหารกาย บริหารใจของเราให้ถูกต้อง ถึงวาระเวลาเขาก็ต้องแตกดับ ถ้าไม่ถึงกาลถึงเวลา เขาก็ไม่แตกดับ แต่เราต้องละด้วยปัญญา รู้เห็นด้วยปัญญาเสียก่อน แล้วก็ดูแลเขาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เขาจะแตกดับ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ถึงไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ก็ให้ใจอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ คิดดีทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อม
การฝึกหัดปฏิบัติก็เพื่อที่จะคลายความหลง ใจมันหลงอะไร หลงขันธ์ห้า คำว่าขันธ์ห้า ที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ อันนั้นเขาเป็นกองเป็นขันธ์ได้ยังไง เราต้องรู้ว่ากองไหนเป็นกองไหน กองรูป กองนาม ส่วนนามเขาแยกแยะออกไปอีก กองอดีตกองอนาคต สารพัดอย่าง กองสัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ ถ้าเราไม่ฝึกฝน เราจะไม่เข้าใจเรื่องนี้เลยถึงจะไปอ่านหนังสือเล่มไหนก็เพียงแค่เข้าใจระดับของสมมติ ระดับโลกีย์ แต่ยังไม่เข้าลึกถึงตัวใจ ต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเราจริงๆ รู้ตัวใจของเราจริงๆ
อันนี้สติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ คิดก็รู้ ทำก็รู้ เขาหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ เขาหลงเกิดนั่นแหละ อาจจะเกิดอยู่ในบุญในกุศล สูงขึ้นไปทำความเข้าใจ ก็จะลงสู่หลักของอนัตตา คือความไม่เที่ยง
การเดินปัญญา การแยกรูปแยกนาม กิเลสเราเบาบางได้ยังไง กิเลสหยาบเกิดขึ้นได้ยังไง กิเลสละเอียดเกิดขึ้นได้ยังไงก็จะเข้าสู่ตัววิปัสสนา คือความรู้แจ้ง รู้แจ้งเห็นจริง ว่าใจของเราเกิดกิเลสระดับไหน เราขัดเกลาเอาออก เบาบางได้เท่าไหร่ ก็ขยับเขยื้อนขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทรงความว่าง ละจากกิเลสต่างๆ ไว้เป็นอารมณ์ จนกว่าจะอุเบกขา รู้เห็นด้วยสติด้วยปัญญาจริงๆ
เป็นเรื่องทุกเรื่องเลยนะ เรื่องเล็กๆ น้อยๆจนกระทั่งถึงเรื่องใหญ่ เราจัดการตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่การเกิดของความคิด ตัวใหญ่มันจะเกิดขึ้นมาได้ยังไง เราก็แก้ไขเรา ปรับปรุงเรา เราจะอยู่กับโลก จะอยู่กับสมมติได้ยังไง ไม่ให้กายให้ใจเป็นทุกข์ แต่กายนี่มันก็ทุกข์อยู่แล้วแหละ เดี๋ยวก็เป็นโน่นเดี๋ยวก็เป็นนี่ เดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับ ถ้าไม่ถึงเวลาเราจะเอาอะไรมาฉุดเขาก็ไม่ไป ถ้าถึงเวลาแล้วจะรั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่
เราก็ต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร เพียรทั้งภายนอก เห็นทั้งภายใน ภายนอกก็เกื้อหนุนถึงภายใน ถ้าความเป็นอยู่ของเราลำบาก การฝึกปฏิบัติใจก็ลำบาก ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ทุกเรื่องนั่นแหละ ในชีวิตเราก็ต้องดู เราก็ทำด้วยสติทำด้วยปัญญา บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา จนกว่าจะได้จากกัน แต่เราต้องจากด้วยสติด้วยปัญญา รู้เห็นภายในของเราให้จบ รู้เรื่องภายในของเราให้เรียบร้อย ว่าเราจะดำเนินยังไง
ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่กับถ่าย เราก็ต้องรู้กายรู้ใจของเรา แต่เวลานี้เรารู้อยู่แบบโลกๆ รู้อยู่ด้วยปัญญาของโลกีย์ แสวงหาด้วยปัญญาของโลกีย์ ก็เลยห่างไกล ห่างไกลตัวใจ ยิ่งคิดยิ่งห่าง ยิ่งค้นหาเท่าไหร่ก็ยิ่งห่าง ในปัญญาทางโลก
ถ้าปัญญาทางธรรม ท่านให้เจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล แล้วก็ค่อยละ มันก็จะหดสั้นเข้าๆ แม้แต่การเกิดของใจ เราก็ดับความเกิดของใจ ดับบ่อยๆ มันก็ไม่เกิด แต่เราต้องแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผลให้ได้เสียก่อน มันถึงจะรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าฝึกก็ได้แค่ฝึก เจริญสติก็ได้แค่เจริญสติ
แต่ละวันเราปรับสภาพใจของเรา ใจของเรามีความอ่อนโยน มีความกตัญญูกตเวที มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบหรือไม่ มีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า เราต้องหัดวิเคราะห์ กายของเราเข้าไปร่วมสมมติ ใจของเราเป็นอย่างไร ผลักไสไหม หรือว่าดึงเข้ามาไหม สติความรู้ตัวของเราทำได้ต่อเนื่องแล้วหรือยัง เอาไปใช้การใช้งานได้แล้วหรือยัง สติของเราพลั้งเผลอสักกี่เที่ยว เราก็พยายามทำความเข้าใจ แม้แต่สติจะขาดจะอ่อน เราจะกระตุ้นความรู้สึกขึ้นมาได้ยังไง จนเอาไปใช้การใช้งานได้อัตโนมัติ
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง แค่พูดให้ฟังเพียงแค่ต้นเหตุยังเข้าไม่ถึงกัน จะไปเอาปลายเหตุได้ยังไง ทำต้นให้เห็น คือดูต้นเหตุการเกิดการดับ การแยกการคลายให้เห็น การทำความเข้าใจให้เต็มที่อีก
การฝึกหัดปฏิบัติ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ถึงจะรู้เรื่องนี้ ถ้าเราไม่เข้าใจจริงๆ เราก็พยายามทำความเพียร ไม่ใช่ว่าทิ้งไปเลย
การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้นะ เราจะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นความขยันหมั่นเพียรของเหตุของผล ของสติปัญญา เอาไปใช้กับชีวิต ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรม อันนู้นก็ผิด อันนี้ก็ผิด อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติ ทุกเรื่อง ทั้งดำทั้งขาวทั้งผิดหรือไม่ผิด ก็เป็นธรรมหมดนั่นแหละ แต่เป็นธรรมฝ่ายไหนเท่านั้นเอง ฝ่ายกุศลฝ่ายอกุศล กำลังฝ่ายไหนมันจะแรงกว่ากัน กำลังสติปัญญาของเรามีกำลังเพียงพอหรือไม่
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา รู้กายของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจรู้กายของเรา ส่วนมากก็มีตั้งแต่เป็นเรื่องของคนอื่น ไม่เอาเรื่องของตัวเองให้มันจบ ถ้าเราจัดการกับตัวกับใจ กับกายของเราให้มันจบ สติปัญญาของเราก็จะล้นออกไปสู่ภายนอก ช่วยเหลือเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ยิ่งสนุกทำกว่าเก่า ยิ่งสร้างอานิสงส์มากมาย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ตามความเป็นจริงนั้นให้เหลือตั้งแต่ประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ส่วนตัวนี่การกระทำของเรามี เราก็ได้เองนั่นแหละ เราก็ได้ใช้อานิสงส์ของเราทำนั่นแหละ
ท่านถึงว่าให้ละความเห็นแก่ตัว ให้ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบให้เต็มเปี่ยม ถึงเวลาเราก็จะเข้าใจ รู้จักการดำเนินชีวิตของเรา ให้อยู่ดีมีความสุข ไม่ต้องไปถามใครหรอก เจริญสตินั่นแหละเข้าไปถามตัวเรา
รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็ดับเราก็วาง เอาใหม่ จนเห็นผลได้ จนแยกแยะได้ ว่าอะไรผิดอะไรถูก ยิ่งอยู่ร่วมกันหลายคนหลายท่าน ก็ยิ่งปัญหามันก็เยอะ เราก็มาแก้ปัญหาภายใน ทั้งแก้ปัญหาภายนอก ให้มันอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาละวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมพร้อมกัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ