หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 96 วันที่ 4 ธันวาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 96 วันที่ 4 ธันวาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 96
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 ธันวาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านlจงเจริญสติ ตามความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง หรือว่าได้เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้นแล้วหรือยัง เพียงแค่เจริญเพียงแค่สร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ทำกันได้ยากอยู่ เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้น แล้วก็เอาสติไปใช้ไปวิเคราะห์ใจของเรา
ในเมื่อความรู้ตัวไม่มี มีกระท่อนกระแท่น เราก็เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ฝักใฝ่ในบุญ แสวงหาบุญ ทั้งที่ใจก็เป็นธรรมอยู่ แต่การดับความเกิดไม่มี การสังเกตจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าไม่มี ก็เลยไม่เข้าใจในชีวิตของตัวเรา ก็ได้แต่ทำบุญ และก็เจริญสมถะเล็กๆ น้อยๆการฝึกหัดปฏิบัติใจก็เลยไม่ก้าวหน้าได้ตลอด
ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราสร้างขึ้นมาให้เข้มแข็งแล้วก็หัดสังเกตวิเคราะห์ ทำไมใจถึงเกิดทำไมใจถึงเคลื่อนเข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ความคิดที่เราไม่ตั้งใจ ซึ่งมีกันทุกคน บางคนก็คิดมากบางคนก็คิดน้อย บางคนก็ขันธ์ห้ามาปรุงแต่งจิตเร็วไว บางคนก็ช้า ความคิดบางทีก็เป็นกุศลอกุศล ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม แต่เราขาดการสังเกตคิด เราก็รู้อยู่ ธรรมเราก็รู้ อยู่ก็หลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ ก็ต้องพยายามวิเคราะห์
ทำความเข้าใจทั้งทางรูปธรรม ทั้งทางด้านนามธรรม ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ คำว่าปัจจุบันธรรม ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเจริญสติแล้วไม่รู้จักเอาสติไปใช้ไปควบคุมใจอบรมใจทุกเรื่อง
จนกระทั่งถึงเวลานี้แล้วก็เดี๋ยวนี้ รู้จักพิจาณาปฏิสังขาโย กำหนดการขบการฉัน การรับประทานข้าวปลาอาหาร เราต้องจำแนกแจกแจง ว่ากายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ตากระทบรูปจิตเกิดความอยากหรือไม่ หูกระทบเสียงจิตเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ ผลักไสหรือว่าดึงเข้ามาทุกเรื่องเลยทีเดียว
ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ จนกว่าเราจะสังเกตเห็นใจคลายออกจากความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ใครแยกออกหงายขึ้นมาได้ ใจก็ว่างกายก็เบา กำลังสติความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ก็ตามดู เห็นการเกิดการดับ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ซึ่งเป็นเรื่องบางทีก็เรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกุศลอกุศล เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเกิดความดับอยู่ตลอดเวลา แล้วเห็นลงหลักอนัตตา เวลาจบลงไปแล้วก็จะลงที่อนัตตา ความว่างเปล่า เรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นเกิดอยู่ทั้งวัน แต่เราไม่เห็นตรงนี้ ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง เราก็เลยวางไม่ได้ เพราะกำลังสติของเราไม่เข้มแข็งพอ ตบะบารมีของเราไม่เข้มแข็งพอ เราต้องพยายามฝึกฝนตบะบารมี หรือว่าบารมีสิบ ทานบารมี ขันติบารมี ความเพียรต่างๆ ความเสียสละ ความอดทน ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน หัดวิเคราะห์ใจของเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น ใจของเราเป็นอย่างไร ขณะนี้ใจเกิดกิเลสหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกไปหลงขันธ์ห้า รวมกับขันธ์ห้า เราก็จะได้เข้าใจในเรื่องหลักของอริยสัจความเกิดความดับ รู้ความเป็นจริงของความลับภายใน คือความลับที่ใจของเรา การแสวงหาด้วยสติด้วยปัญญาทางโลกยิ่งห่างไกล การแสวงหาใจของเรา เราต้องเจริญสติเข้าไปดู รู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ รู้จักปัญญาฝ่ายดับ ปัญญาฝ่ายละ ปัญญาฝ่ายเกิด สักวันหนึ่งเราก็คงจะเห็น เราก็คงจะเข้าใจ แสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม เจริญสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ มันก็ยากที่จะเข้าใจ ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกคนก็ปรารถนาหาทางดับทุกข์ ทุกคนก็ปรารถนาหาทางหลุดพ้น เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า เราก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่
ส่วนบุญบารมีสมมติเราก็ช่วยกันทำ สมมติต่างๆ ที่เราอาศัยอยู่ ที่พักที่อาศัยที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว พวกนี้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทางสมมติ เพื่อที่จะฝึกปฏิบัติใจไปได้เร็วได้ไว มีอะไรเราก็ให้ช่วยกัน ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฝึกหัดให้เป็นคนขยันหมั่นเพียร จากน้อยๆ ไปหามากๆ แต่ละวันเรามีความเกียจคร้านหรือไม่ เรามีความขยันหรือเปล่า มีความรับผิดชอบหรือไม่ คือให้ตั้งแต่ความเกียจคร้าน นิวรณ์ เข้าครอบงำ จากน้อยๆ ไปหามาก มากขึ้นๆๆ เราก็ให้กิเลสเล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา
บุคคลที่มีสติมีปัญญาฟังนิดเดียว การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้การดับการละเป็นอย่างนี้ ความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ มีใจที่สงบจากกิเลสด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสงบด้วยสติด้วยปัญญาแยกแยะรู้เห็นตามความเป็นจริง
ขณะนี้ใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกหรือไม่ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ความรับผิดชอบเป็นอย่างไร เราก็หมั่นตรวจสอบใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง บังคับตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา บุคคลเช่นนี้แหละจะเดินถึงฝั่งได้เร็วได้ไว
คำว่าแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร คำว่าอัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร วิญญาณในกายเป็นลักษณะอย่างไร เหตุที่ท่านบอกว่าขันธ์ห้าเป็นของหนัก หนักลักษณะหนักเป็นอย่างไร วิญญาณในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่เที่ยงเป็นอย่างไร มันต้องทำความเข้าใจด้วย รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย ชี้เหตุชี้ผลได้ด้วย ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ก็ต้องพยายามกัน ทุกอิริยาบถ ความรู้ตัว เป็นอย่างไร รู้ตัวอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร อันนี้แหละเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องพยายาม
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 ธันวาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านlจงเจริญสติ ตามความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง หรือว่าได้เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้นแล้วหรือยัง เพียงแค่เจริญเพียงแค่สร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ทำกันได้ยากอยู่ เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้น แล้วก็เอาสติไปใช้ไปวิเคราะห์ใจของเรา
ในเมื่อความรู้ตัวไม่มี มีกระท่อนกระแท่น เราก็เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ฝักใฝ่ในบุญ แสวงหาบุญ ทั้งที่ใจก็เป็นธรรมอยู่ แต่การดับความเกิดไม่มี การสังเกตจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าไม่มี ก็เลยไม่เข้าใจในชีวิตของตัวเรา ก็ได้แต่ทำบุญ และก็เจริญสมถะเล็กๆ น้อยๆการฝึกหัดปฏิบัติใจก็เลยไม่ก้าวหน้าได้ตลอด
ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราสร้างขึ้นมาให้เข้มแข็งแล้วก็หัดสังเกตวิเคราะห์ ทำไมใจถึงเกิดทำไมใจถึงเคลื่อนเข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ความคิดที่เราไม่ตั้งใจ ซึ่งมีกันทุกคน บางคนก็คิดมากบางคนก็คิดน้อย บางคนก็ขันธ์ห้ามาปรุงแต่งจิตเร็วไว บางคนก็ช้า ความคิดบางทีก็เป็นกุศลอกุศล ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม แต่เราขาดการสังเกตคิด เราก็รู้อยู่ ธรรมเราก็รู้ อยู่ก็หลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ ก็ต้องพยายามวิเคราะห์
ทำความเข้าใจทั้งทางรูปธรรม ทั้งทางด้านนามธรรม ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ คำว่าปัจจุบันธรรม ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเจริญสติแล้วไม่รู้จักเอาสติไปใช้ไปควบคุมใจอบรมใจทุกเรื่อง
จนกระทั่งถึงเวลานี้แล้วก็เดี๋ยวนี้ รู้จักพิจาณาปฏิสังขาโย กำหนดการขบการฉัน การรับประทานข้าวปลาอาหาร เราต้องจำแนกแจกแจง ว่ากายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ตากระทบรูปจิตเกิดความอยากหรือไม่ หูกระทบเสียงจิตเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ ผลักไสหรือว่าดึงเข้ามาทุกเรื่องเลยทีเดียว
ไม่ใช่ว่าเจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ จนกว่าเราจะสังเกตเห็นใจคลายออกจากความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ใครแยกออกหงายขึ้นมาได้ ใจก็ว่างกายก็เบา กำลังสติความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ก็ตามดู เห็นการเกิดการดับ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ซึ่งเป็นเรื่องบางทีก็เรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกุศลอกุศล เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเกิดความดับอยู่ตลอดเวลา แล้วเห็นลงหลักอนัตตา เวลาจบลงไปแล้วก็จะลงที่อนัตตา ความว่างเปล่า เรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นเกิดอยู่ทั้งวัน แต่เราไม่เห็นตรงนี้ ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง เราก็เลยวางไม่ได้ เพราะกำลังสติของเราไม่เข้มแข็งพอ ตบะบารมีของเราไม่เข้มแข็งพอ เราต้องพยายามฝึกฝนตบะบารมี หรือว่าบารมีสิบ ทานบารมี ขันติบารมี ความเพียรต่างๆ ความเสียสละ ความอดทน ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน หัดวิเคราะห์ใจของเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น ใจของเราเป็นอย่างไร ขณะนี้ใจเกิดกิเลสหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกไปหลงขันธ์ห้า รวมกับขันธ์ห้า เราก็จะได้เข้าใจในเรื่องหลักของอริยสัจความเกิดความดับ รู้ความเป็นจริงของความลับภายใน คือความลับที่ใจของเรา การแสวงหาด้วยสติด้วยปัญญาทางโลกยิ่งห่างไกล การแสวงหาใจของเรา เราต้องเจริญสติเข้าไปดู รู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ รู้จักปัญญาฝ่ายดับ ปัญญาฝ่ายละ ปัญญาฝ่ายเกิด สักวันหนึ่งเราก็คงจะเห็น เราก็คงจะเข้าใจ แสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม เจริญสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ มันก็ยากที่จะเข้าใจ ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกคนก็ปรารถนาหาทางดับทุกข์ ทุกคนก็ปรารถนาหาทางหลุดพ้น เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า เราก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่
ส่วนบุญบารมีสมมติเราก็ช่วยกันทำ สมมติต่างๆ ที่เราอาศัยอยู่ ที่พักที่อาศัยที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว พวกนี้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทางสมมติ เพื่อที่จะฝึกปฏิบัติใจไปได้เร็วได้ไว มีอะไรเราก็ให้ช่วยกัน ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฝึกหัดให้เป็นคนขยันหมั่นเพียร จากน้อยๆ ไปหามากๆ แต่ละวันเรามีความเกียจคร้านหรือไม่ เรามีความขยันหรือเปล่า มีความรับผิดชอบหรือไม่ คือให้ตั้งแต่ความเกียจคร้าน นิวรณ์ เข้าครอบงำ จากน้อยๆ ไปหามาก มากขึ้นๆๆ เราก็ให้กิเลสเล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา
บุคคลที่มีสติมีปัญญาฟังนิดเดียว การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้การดับการละเป็นอย่างนี้ ความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ มีใจที่สงบจากกิเลสด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสงบด้วยสติด้วยปัญญาแยกแยะรู้เห็นตามความเป็นจริง
ขณะนี้ใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ ใจส่งออกไปภายนอกหรือไม่ กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ความรับผิดชอบเป็นอย่างไร เราก็หมั่นตรวจสอบใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง บังคับตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา บุคคลเช่นนี้แหละจะเดินถึงฝั่งได้เร็วได้ไว
คำว่าแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร คำว่าอัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร วิญญาณในกายเป็นลักษณะอย่างไร เหตุที่ท่านบอกว่าขันธ์ห้าเป็นของหนัก หนักลักษณะหนักเป็นอย่างไร วิญญาณในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่เที่ยงเป็นอย่างไร มันต้องทำความเข้าใจด้วย รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย ชี้เหตุชี้ผลได้ด้วย ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ก็ต้องพยายามกัน ทุกอิริยาบถ ความรู้ตัว เป็นอย่างไร รู้ตัวอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร อันนี้แหละเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องพยายาม
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน