หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 12 วันที่ 7 มีนาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 12 วันที่ 7 มีนาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 12
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 มีนาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สักสองสามเที่ยว การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เหมือนกับนายประตูทวาร นั่งอยู่ที่หน้าประตู รถคันไหนวิ่งเข้าก็รู้ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้ ความพลั้งเผลอก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ส่วนลมหายใจก็หายใจเข้าหายใจออกตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวที่ต่อเนื่องก็เลยรู้ไม่ทันบางทีก็อึดอัดบ้าง บางทีก็ปวดนู่นปวดนี่บ้างสารพัดอย่าง ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไหร่ เราก็พยายามเพิ่มความเพียร อันนี้เพียงแค่เจริญสติให้อยู่กับกาย
แล้วก็ลึกลงไป ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่องเข้มแข็ง เราก็จะรู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม กายของเรานี้เป็นส่วนรูป ที่พระพุทธองค์ท่านว่า ‘เป็นกองเป็นขันธ์’ ที่เราสวดมนต์ทำวัตร อันนี้ก็กองของรูปกองของสังขาร กองวิญญาณ กองนามธรรม เกิดๆ ดับๆ มีอยู่ในกายของเราหมด แต่เราต้องมาสร้างผู้รู้ เอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเรา ไปชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ยอมรับความเป็นจริงให้ได้ เราก็ถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธองค์
แต่การขัดเกลากิเลส เราต้องพยายามละอีก จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก’ แต่เราก็อาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติปัญญาโลกีย์ เราไม่ได้เห็นถูกตามที่เราเจริญสติเข้าไปแยก เข้าไปคลาย เข้าไปตามดูชี้เหตุชี้ผลเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ความคิดของเรานั้นก็กองอดีต เขาเรียกว่า ‘กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ’ เห็นเป็นส่วนๆ แต่เขาก็รวมอยู่ในกายก้อนนี้อยู่ แต่พระพุทธองค์มองเห็นเป็นกอง มองเห็นเป็นกองเป็นขันธ์
แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจกับสมมติ เพราะว่ากายของเราเป็นก้อนสมมติ สมมติของเราก็ยังกินอยู่ขับถ่าย กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ตาหูจมูกลิ้นกายทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไรเราจำแนกแจกแจงรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเราได้อย่างไร มีหมดถ้าเรารู้จักทำหน้าที่ รู้จักเดิน
ไม่ใช่ว่าเอาจะแต่ธรรม แต่เราไม่เข้าใจวิธีการแนวทาง เหมือนกับการตัดไม้เราจะเอาแก่น แต่เราไปตัดเอาที่เปลือกที่กระพี้ เราเข้าไม่ถึงแก่น แต่เขาก็ต้องอาศัยกันอยู่ กายของเราก็เหมือนกัน เราต้องหัดวิเคราะห์ให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ทั้งแก่น ทั้งเปลือก ทั้งกระพี้ แล้วก็ทำความเข้าใจอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ การพูดง่าย การกระทำการสร้างขึ้นมานี้มันลำบากจริงๆ เราต้องอดทนอดกลั้น เราต้องทำให้มีให้เกิด ถึงมีเราก็รู้จักรักษา ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ไปที่ไหนก็จะได้ไม่ตกอับ
การเจริญสติเราก็ต้องพยายามสร้างขึ้นมา ต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ทำหน้าที่ของเราให้ดี รู้จักแก้ไขของเราให้ดี ถ้าออกจากนอกเส้นทางนี้แล้วก็ไม่ใช่ทางทันที ใจไปฝักใฝ่สิ่งอื่น สิ่งที่จะนำมาปกปิดดวงใจของเรานี้ก็ไม่ใช่ทางทันที นอกจากทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ขัดเกลาเอาออกจนถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น เราละกิเลสได้เบาบางเท่าไหร่ ได้มากเท่าไหร่ เราก็รีบแก้ไข นี้แหละคือหนทางที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย คำว่า‘อริยสัจสี่’ เป็นลักษณะอย่างนี้ การละกิเลสอย่างเป็นลักษณะอย่างนี้ การทำใจให้บริสุทธิ์เป็นอย่างนี้ ที่ท่านบอกว่า ปาฏิโมกข์ ทำใจละบาป สร้างบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์ นี่แหละคือหัวใจของปาฏิโมกข์ ปฏิสังขาโยใจของเราอยู่ตลอดเวลา เราก็จะมีความสุขในวันข้างหน้า
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าสัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทันทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 มีนาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สักสองสามเที่ยว การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เหมือนกับนายประตูทวาร นั่งอยู่ที่หน้าประตู รถคันไหนวิ่งเข้าก็รู้ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้ ความพลั้งเผลอก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ส่วนลมหายใจก็หายใจเข้าหายใจออกตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวที่ต่อเนื่องก็เลยรู้ไม่ทันบางทีก็อึดอัดบ้าง บางทีก็ปวดนู่นปวดนี่บ้างสารพัดอย่าง ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไหร่ เราก็พยายามเพิ่มความเพียร อันนี้เพียงแค่เจริญสติให้อยู่กับกาย
แล้วก็ลึกลงไป ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่องเข้มแข็ง เราก็จะรู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนนามธรรม กายของเรานี้เป็นส่วนรูป ที่พระพุทธองค์ท่านว่า ‘เป็นกองเป็นขันธ์’ ที่เราสวดมนต์ทำวัตร อันนี้ก็กองของรูปกองของสังขาร กองวิญญาณ กองนามธรรม เกิดๆ ดับๆ มีอยู่ในกายของเราหมด แต่เราต้องมาสร้างผู้รู้ เอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเรา ไปชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ยอมรับความเป็นจริงให้ได้ เราก็ถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธองค์
แต่การขัดเกลากิเลส เราต้องพยายามละอีก จนใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก’ แต่เราก็อาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติปัญญาโลกีย์ เราไม่ได้เห็นถูกตามที่เราเจริญสติเข้าไปแยก เข้าไปคลาย เข้าไปตามดูชี้เหตุชี้ผลเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ความคิดของเรานั้นก็กองอดีต เขาเรียกว่า ‘กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ’ เห็นเป็นส่วนๆ แต่เขาก็รวมอยู่ในกายก้อนนี้อยู่ แต่พระพุทธองค์มองเห็นเป็นกอง มองเห็นเป็นกองเป็นขันธ์
แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจกับสมมติ เพราะว่ากายของเราเป็นก้อนสมมติ สมมติของเราก็ยังกินอยู่ขับถ่าย กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ตาหูจมูกลิ้นกายทำหน้าที่อย่างไร ใจทำหน้าที่อย่างไรเราจำแนกแจกแจงรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเราได้อย่างไร มีหมดถ้าเรารู้จักทำหน้าที่ รู้จักเดิน
ไม่ใช่ว่าเอาจะแต่ธรรม แต่เราไม่เข้าใจวิธีการแนวทาง เหมือนกับการตัดไม้เราจะเอาแก่น แต่เราไปตัดเอาที่เปลือกที่กระพี้ เราเข้าไม่ถึงแก่น แต่เขาก็ต้องอาศัยกันอยู่ กายของเราก็เหมือนกัน เราต้องหัดวิเคราะห์ให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ทั้งแก่น ทั้งเปลือก ทั้งกระพี้ แล้วก็ทำความเข้าใจอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ การพูดง่าย การกระทำการสร้างขึ้นมานี้มันลำบากจริงๆ เราต้องอดทนอดกลั้น เราต้องทำให้มีให้เกิด ถึงมีเราก็รู้จักรักษา ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ไปที่ไหนก็จะได้ไม่ตกอับ
การเจริญสติเราก็ต้องพยายามสร้างขึ้นมา ต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ทำหน้าที่ของเราให้ดี รู้จักแก้ไขของเราให้ดี ถ้าออกจากนอกเส้นทางนี้แล้วก็ไม่ใช่ทางทันที ใจไปฝักใฝ่สิ่งอื่น สิ่งที่จะนำมาปกปิดดวงใจของเรานี้ก็ไม่ใช่ทางทันที นอกจากทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ขัดเกลาเอาออกจนถึงความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น เราละกิเลสได้เบาบางเท่าไหร่ ได้มากเท่าไหร่ เราก็รีบแก้ไข นี้แหละคือหนทางที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย คำว่า‘อริยสัจสี่’ เป็นลักษณะอย่างนี้ การละกิเลสอย่างเป็นลักษณะอย่างนี้ การทำใจให้บริสุทธิ์เป็นอย่างนี้ ที่ท่านบอกว่า ปาฏิโมกข์ ทำใจละบาป สร้างบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์ นี่แหละคือหัวใจของปาฏิโมกข์ ปฏิสังขาโยใจของเราอยู่ตลอดเวลา เราก็จะมีความสุขในวันข้างหน้า
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าสัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทันทุกอิริยาบถ