หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 79 วันที่ 12 สิงหาคม 2563 (1/2)
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 79 วันที่ 12 สิงหาคม 2563 (1/2)
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 79
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ( 1 / 2)
มีความสุขกันทุกคน พระเราชีเรา พิจารณาด้วยนะก่อนที่จะขบก่อนที่จะฉัน เราต้องพิจารณาความอยากความหิว กายหิวใจเกิดความอยาก เราต้องดู ต้องพิจารณา แล้วก็ต้องหยุด มองดูรู้ที่ใจของเรา ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย ตากระทบรูปหูกระทบเสียงขณะนี้เดี๋ยวนี้ เราจำแนกแจกแจง
กายเกิดความหิวเนี่ยใจจะเกิดความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ มันบอกว่าไม่อิ่ม เอาเยอะๆ ของมัน เอาเยอะแล้วก็ทานไม่หมด เอาไปทิ้ง เสียดาย มองซ้ายมองขวามองข้างๆ มองลงไปให้ลึกๆ เราก็จะไม่ได้ปล่อยเวลาทิ้ง
ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตื่นขึ้นมาก็รีบรู้กาย รู้ใจของเรา เราต้องสร้างผู้รู้ เอาไปใช้การใช้งาน ส่วนใจของคนเราเหล่านั้นเป็นธาตุรู้ เป็นผู้รู้อยู่แล้ว แต่ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด มีความคิดปัญญาโลกีย์เก่าของเรานั่นแหละ ความหลงความเกิดนั่นแหละ หลงเกิด หลงคิด ความเกิดก็เลยเป็นตัวปิดกั้นใจของเราเอาไว้หมด
ส่วนรายละเอียดส่วนอื่นนั้น ทางสมมติทุกคนก็มีกันเต็มเปี่ยม แต่ในหลักธรรมก็ต้องแยกแยะให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันเป็นกองเป็นขันธ์ ซึ่งรวมอยู่ในกายของเรา แต่ส่วนมากก็จะไม่ค่อยจะเข้าถึงตรงนั้น ก็เลยได้แค่ทำบุญ ให้ทาน บารมีระดับสมมติ แต่ความหลงที่แท้จริงนั่นคือการเกิดของใจ เพียงแค่ตัวใจตัวเดียวความเกิด แล้วก็มาสร้างรูปกายขึ้นมา มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นมา คือร่างกายของคนเรานี่แหละ ก็ตัวเราจริงๆ นี่แหละ ในทางสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วพระพุทธองค์บอกว่ามีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร ทำอย่างไรเราถึงจะเข้าถึงตรงนั้น
วิธีการแนวทางก็พระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบ ด้วยการเจริญสติ ด้วยการเจริญภาวนา แยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นส่วนสติที่เราสร้างขึ้นมา อะไรเป็นส่วนของใจ อาการของใจซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ถ้าไม่สนใจจริงๆ ไม่ต่อเนื่องกันจริงๆ นี่ยากที่จะเข้าใจ จะปล่อยปละละเลย แต่ยังอยู่ในคุณงามความดี อยู่ในระดับของสมมติ เป็นเรื่องละเอียด แต่ทุกคนก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ ให้รู้จริงๆ ถึงจะต้องรู้จักจุดปล่อยจุดวาง ถ้าไม่รู้แยกแยะไม่ได้ก็ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง มันก็ยังอยู่ในคุณงามความดี ในการทำบุญให้ทาน สร้างบารมีตรงนี้อยู่ ถ้าวิบากกรรมมันคลายก็คงจะเข้าใจมีให้เป็น ทำให้เป็น ดูตัวเรา แก้ไขตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นทุกเรื่อง
ที่หลวงพ่อต้องพูด ต้องย้ำ ทุกกาลทุกเวลา ก็เพื่อไม่อยากจะให้ปล่อยเวลาทิ้ง ขณะจะรับประทานข้าวปลาอาหารขบฉัน เราต้องรู้ใจเป็นหลัก กายหิวหรือใจเกิดความอยาก ส่วนมากก็มีแต่เรื่องของคนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นแหละเพียงแค่วาจา
เราก็บางทีก็มีตั้งแต่มลทิน มันเล่นงานเรา เราไม่รู้ตัว ความเกิดเล่นงานอีกชั้นหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เล่นงานอีกชั้นหนึ่ง รวมกันไปทั้งก้อนทั้งขันธ์ห้า ทั้งใจทั้งสติปัญญา วาจาก็ไม่ได้ควบคุม ใจก็ไม่ได้ควบคุม เพราะว่ายังหลงอยู่
การเกิดของใจอีก ใจของคนเรานี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แต่เราก็ว่าเราไม่หลงหรอก การพูดการจานั่นก็เป็นแค่เพียงสื่อทางสมมติ ถ้าไม่ได้พูดสื่อทางสมมติเราก็ไม่เข้าใจ เราต้องให้รู้ด้วยเห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย ชี้เหตุชี้ผลให้ได้ด้วย แยกแยะให้ได้ด้วย พระพุทธองค์ท่านถึงชี้ลงที่เหตุ ที่พากันมาสมาทานศีลอย่างนี้ก็เหมือนกัน อันนี้เป็นแค่เพียงศีลสมมติ ต้องมาฝึกให้เข้มขึ้นไปอีกเพื่อความระวัง แล้วก็รักษาให้ได้ ถ้าเราเข้าใจศีล ตัวใจนั่นแหละคือตัวศีล ความปกติของใจ
แต่เวลานี้ความไม่ปกติเขามาเล่นงานทุกอย่าง ทั้งหยาบทั้งละเอียด นอกจากบุคคลที่แยกแยะได้ว่าอันนี้คือใจ อาการของใจ อันนี้คือสติปัญญา เราก็จะเข้าใจสิ่งพวกนี้ทันที เข้าใจสมมติ เข้าใจวิมุตติ เราจะละกิเลสได้หมดจดหรือไม่ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลก็เพื่อที่จะละกิเลสหยาบจะออกจากใจของเรา ความโลภของเรามีไหม ความโกรธของเรามีไหม ส่วนความหลงนั้นเราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน เราถึงจะเข้าใจเรื่องปัญญาสัมมาทิฐิความเห็นถูกที่แท้จริง
เพียงแค่แยกใจ แยกขันธ์ห้านี้ก็เป็นเพียงแค่เริ่มต้น ความเห็นถูกเริ่มต้น วิธีการสะสางกิเลสของเรายังมีอีกหรือไม่ จนใจคลายออกมองเห็นความเป็นจริง รู้เรื่องชีวิตได้จริงๆ ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง มันก็จนกว่าธาตุขันธ์จะแตกจะดับ ส่วนมากก็เห็นถูกต้องระดับสมมติ ไม่ได้ลึกๆ ลงไปให้ใจมันคลายออก ชี้เหตุชี้ผล เห็นความเกิดความดับ เห็นความไม่เที่ยงในกายของเรา รู้เรื่องอัตตาอนัตตา รู้เรื่องสมมติ วิมุตติ รู้เรื่องอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ รู้เรื่องหลักวิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิ ต้องเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาที่ฝึกฝน ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ
แต่เราก็อย่าไปทิ้ง ไม่ถึงวาระเวลามันก็เข้าไม่ถึง เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราจะเร่งให้ออกดอกออกผลให้ทานวันเดียวก็ไม่ได้ เราต้องหมั่นดูแล ทำความเข้าใจ ให้น้ำให้ฝุ่นให้ปุ๋ย ถึงเวลาเขาเจริญเติบโตเขาก็ออกดอกออกผลให้เรา เราไม่อยากจะได้เราก็ได้
ส่วนจิตวิญญาณของเราก็เหมือนกัน ฝึกได้ จิตนี้ฝึกได้ ไม่ใช่ว่าฝึกไม่ได้ ลองอดพูด อดคิด สังเกตดูความคิด อะไรส่วนรูปส่วนนาม แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจนั้นเกิดอยู่แล้ว ขันธ์ห้ากับใจเขาเกิดอยู่แล้ว เกิดเร็วไวมากทีเดียว เราต้องฝึกอบรมเขาทีละเล็กละน้อย การฝึกหัดปฏิบัติก็เพื่อที่จะละกิเลส ลึกลงไปก็เพื่อที่จะคลายความหลง เห็นต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ รู้เรื่องชีวิตของตัวเรา
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจของเรา ส่วนมากก็จะมองได้แต่คนโน้นคนนี้ไม่เคยมองตัวเอง ไม่เคยแก้ไขตัวเอง อาจจะแก้ไขอยู่เป็นบางช่วงบางครั้ง ส่วนมากก็มีแต่เรื่องของคนอื่น ไม่เอาเรื่องของเราให้มันจบ ถ้าเรื่องของเราจบเราก็อยู่บริหารด้วยปัญญา แก้ไขด้วยปัญญา เป็นความต้องการของปัญญา จนกว่าธาตุขันธ์จะแตกจะดับ เพราะว่าเป็นเรื่องของเราทุกคนนั่นแหละ ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนอื่น เรื่องของเรา
อะไรควรแก้ไข อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ส่วนมากก็เอาตั้งแต่เรื่องภายนอกมาทับถมดวงใจของตัวเรา ความอิจฉาริษยา ความพูดจาสอดเสียด สารพัดอย่าง เพียงแค่ศีลห้า ก็ยังระดับสมมติก็ยังรักษาแก้ไขตรงนี้ไม่ได้ มันส่วนลึกๆ ซึ่งเป็นใจซึ่งเป็นนามธรรม มันจะไปจัดการได้ยังไง เราก็ต้องจัดการตั้งแต่การเกิด การแยก การทำความเข้าใจ สาระกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ทีนี้จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญา ทุกคนก็มีกันหมดนั่นแหละ..มีกิเลส
ถ้าเรารู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ไข มันก็จะจัดการกับสิ่งพวกนี้ได้ ส่วนมากก็ตามอำเภอใจ ตามอำเภอกิเลส ขันธ์ห้าเป็นอย่างไรไม่รู้ ได้แต่สวดได้แต่ท่องที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์เป็นธาตุสี่ขันธ์ห้า ธาตุสี่ขันธ์ห้าอะไรคือส่วนรูปส่วนนาม อะไรคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กายมี ทวารทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งเก้า หู ตา จมูก ลิ้น กาย แล้วก็ใจ มีทั้งหมดกี่ส่วน เราไม่ค่อยจะพิจารณาไม่ค่อยทำความเข้าใจ มันก็เลยไม่รู้ความเป็นจริง แต่ในภาพรวมนั้น สร้างอานิสงส์สร้างคุณงามความดีอยู่ตลอด แต่เป็นความดีระดับของสมมติ
เราต้องดูเราแก้ไขเรา ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะจา ก่อนที่จะคิด ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ในความคิดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ในคำพูดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เวลานี้ควรพูดหรือว่าไม่ควรพูด เวลาได้พูดออกไปเกิดประโยชน์ไหม เวลาได้พูดออกไป มันไม่เกิดประโยชน์หรือไม่ เราต้องวิเคราะห์ตัวเราให้ถึงที่สิ้นสุด
ส่วนมากก็ไปวิ่งเอาตั้งแต่ภายนอกมาทับถมๆๆ ทั้งความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอิจฉาริษยา สารพัดอย่าง เพียงแค่ความเกิดของความคิดนั้น มันก็ปิดกั้นตัวของใจเอาไว้แล้ว จะเอาใจไปแสวงหาธรรมนี้ไม่เจอ ยิ่งห่างไกลยิ่งปิดกั้นตัวเองเอาไว้ เราต้องเจริญสติความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เพียงแค่การเจริญการสร้าง ตรงนี้ก็ทำได้ยากอยู่ มันก็เลยไม่เข้าใจในส่วนลึกๆ มันไม่เหลือวิสัยหรอก อย่าไปปิดกั้นตัวเรา อย่าเอาความคิดทิฐิมานะของเรามาเป็นเครื่องตัดสิน
นอกจากดำเนินตามทางของพระพุทธองค์ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การละกิเลสเป็นอย่างนี้นะการอบรมใจของเราปรับสภาพใจของเราเป็นอย่างนี้นะ มันจะค่อยตามมาเรื่อยๆ จนกว่าใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าคลายออกจากความคิด ซึ่งมันมีอยู่
ใจส่วนหนึ่งความคิดส่วนหนึ่งปัญญาส่วนหนึ่ง ที่เราสร้างขึ้นมา ปัญญาของเราค้นคว้าให้หมดทุกเรื่อง จนไม่มีอะไรเหลือ รู้ความจริงเราก็ค่อยละ อันนี้มันก็ทำได้ครึ่งๆ กลางๆ ก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ให้มีอานิสงส์ไม่มีบุญมีกุศลเป็นข้าวพกข้าวห่อติดตามตัวเราไป ถึงเวลาแล้วก็วางหมดนั่นแหละ วางทั้งบุญทั้งบาป วางหมดทุกอย่าง แม้แต่ใจก็ต้องวาง ทั้งกายทั้งใจก็วาง แต่สมมติก็มีอยู่ เราก็ดูแลรักษาสมมติตรงนี้ไปจนกว่าเขาจะแตกจะดับ
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นบุญ ถ้าเรารู้จักเอาบุญ ตั้งแต่คิด ไม่คิดอคติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดเบียดเบียนคนโน่นเบียดเบียนคนนี้ วาจาของเราก็ไม่พูดสอดเสียคนโน้นคนนี้ มองโลกในทางที่ดี คิดดี อยากจะดับทุกข์ได้ หลุดพ้นได้ ก็เจริญสติตามแนวทางของพระพุทธองค์
การละกิเลสเป็นอย่างไร กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร เกิดขึ้นที่กายหรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องศึกษาให้ละเอียด ก็ต้องรู้ใจ เรารู้ใจอยู่ แต่ไม่รู้ต้นเหตุของการเกิด ต้นเหตุของการเกิดความคิดก่อตัวอย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เราควบคุมความคิดได้ไหม อะไรคือสติ อะไรคือปัญญา มันมีหมด ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ ถ้าเราแยกแยะได้เราจะระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทันทีเลย ตั้งหลายร้อยหลายพันปี ท่านค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง หลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐสี่ เป็นอย่างไร..มีหมด
การเกิดการดับ การแยกการคลาย การสร้างบารมี เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เรามีความขยันเป็นเลิศ ขยันในการทั้งสมมติทั้งวิมุตติ แต่ส่วนมากอาจจะขยันตั้งแต่ภายนอกแต่ก็ไม่ขยันดูการเกิด การดับ การแยก การคลาย การรู้ความเป็นจริง ชี้ลงไปที่เหตุ
ส่วนมากคนเราปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันกับเด็ดยอดผักบุ้ง เด็ดยอดตำลึง ทำไมถึงพูดอย่างนี้? เด็ดยอดผักบุ้ง เด็ดยอดตำลึงเนี่ยเราเด็ดยอดเดียวมันแตกออกไปตั้งเป็นร้อยเป็นพัน แตกปกคลุม
ในหลักธรรมแล้ว ท่านให้จัดการด้วยการสาวลงไปโน่น ถึงลากถึงโคนน่ะ ถอนรากถอนโคนยอดมันก็ตายหมด แล้วก็บริหารกายบริหารใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร ให้อยู่ในความเมตตา ให้ทำสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไหร่เราก็จัดการ ชีวิตของคนเราก็มีเท่านี้แหละ ไม่มีอะไรมาก ส่วนมากก็มีตั้งแต่วิ่งตามกิเลส เป็นทาสกิเลสอยู่ตลอดเวลา เราก็อยู่กับกิเลสนั่นแหละ เราใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์ เราใช้กิเลสให้ไปในทางบุญทางกุศล มันก็จะเกิดประโยชน์มากมาย
ถึงเวลาเราก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เรารีบแก้ไขตัวเราเสีย เรามีอุปนิสัยอย่างไร เราก็พยายามแก้ไข เรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามแก้ไข ให้มีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น ทั้งทางสมมติ ทั้งทางวิมุตติ
การได้ยินได้ฟังได้อ่าน การได้สื่อสารกันต่างๆ ก็เพียงในระดับของสมมติ ส่วนระดับจิตใจเราต้องเจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
ตั้งแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาใจมันเกิดแล้วกี่ครั้ง ความคิดมันก่อตัวสักกี่ครั้ง เราต้องรู้เห็นตั้งแต่ต้นเหตุ แต่ส่วนมากก็ มันไปตั้งนานแล้วเราถึงรู้ว่าเราคิดเราทำเราทำตามความคิด มันอาจจะถูกบ้างผิดบ้างแต่ในความเป็นจริงเขายังหลงเกิดอยู่ หลงเกิด หลงยึด ถ้าเรารู้จักจุดปล่อยจุดวาง มันก็วางได้ ที่นี้เราจะละได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ก็ต้องพยายามกันนะ
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ( 1 / 2)
มีความสุขกันทุกคน พระเราชีเรา พิจารณาด้วยนะก่อนที่จะขบก่อนที่จะฉัน เราต้องพิจารณาความอยากความหิว กายหิวใจเกิดความอยาก เราต้องดู ต้องพิจารณา แล้วก็ต้องหยุด มองดูรู้ที่ใจของเรา ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย ตากระทบรูปหูกระทบเสียงขณะนี้เดี๋ยวนี้ เราจำแนกแจกแจง
กายเกิดความหิวเนี่ยใจจะเกิดความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ มันบอกว่าไม่อิ่ม เอาเยอะๆ ของมัน เอาเยอะแล้วก็ทานไม่หมด เอาไปทิ้ง เสียดาย มองซ้ายมองขวามองข้างๆ มองลงไปให้ลึกๆ เราก็จะไม่ได้ปล่อยเวลาทิ้ง
ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้น ตื่นขึ้นมาก็รีบรู้กาย รู้ใจของเรา เราต้องสร้างผู้รู้ เอาไปใช้การใช้งาน ส่วนใจของคนเราเหล่านั้นเป็นธาตุรู้ เป็นผู้รู้อยู่แล้ว แต่ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด มีความคิดปัญญาโลกีย์เก่าของเรานั่นแหละ ความหลงความเกิดนั่นแหละ หลงเกิด หลงคิด ความเกิดก็เลยเป็นตัวปิดกั้นใจของเราเอาไว้หมด
ส่วนรายละเอียดส่วนอื่นนั้น ทางสมมติทุกคนก็มีกันเต็มเปี่ยม แต่ในหลักธรรมก็ต้องแยกแยะให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันเป็นกองเป็นขันธ์ ซึ่งรวมอยู่ในกายของเรา แต่ส่วนมากก็จะไม่ค่อยจะเข้าถึงตรงนั้น ก็เลยได้แค่ทำบุญ ให้ทาน บารมีระดับสมมติ แต่ความหลงที่แท้จริงนั่นคือการเกิดของใจ เพียงแค่ตัวใจตัวเดียวความเกิด แล้วก็มาสร้างรูปกายขึ้นมา มาสร้างขันธ์ห้าขึ้นมา คือร่างกายของคนเรานี่แหละ ก็ตัวเราจริงๆ นี่แหละ ในทางสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วพระพุทธองค์บอกว่ามีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร ทำอย่างไรเราถึงจะเข้าถึงตรงนั้น
วิธีการแนวทางก็พระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบ ด้วยการเจริญสติ ด้วยการเจริญภาวนา แยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นส่วนสติที่เราสร้างขึ้นมา อะไรเป็นส่วนของใจ อาการของใจซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ถ้าไม่สนใจจริงๆ ไม่ต่อเนื่องกันจริงๆ นี่ยากที่จะเข้าใจ จะปล่อยปละละเลย แต่ยังอยู่ในคุณงามความดี อยู่ในระดับของสมมติ เป็นเรื่องละเอียด แต่ทุกคนก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ ให้รู้จริงๆ ถึงจะต้องรู้จักจุดปล่อยจุดวาง ถ้าไม่รู้แยกแยะไม่ได้ก็ไม่รู้จักจุดปล่อยจุดวาง มันก็ยังอยู่ในคุณงามความดี ในการทำบุญให้ทาน สร้างบารมีตรงนี้อยู่ ถ้าวิบากกรรมมันคลายก็คงจะเข้าใจมีให้เป็น ทำให้เป็น ดูตัวเรา แก้ไขตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นทุกเรื่อง
ที่หลวงพ่อต้องพูด ต้องย้ำ ทุกกาลทุกเวลา ก็เพื่อไม่อยากจะให้ปล่อยเวลาทิ้ง ขณะจะรับประทานข้าวปลาอาหารขบฉัน เราต้องรู้ใจเป็นหลัก กายหิวหรือใจเกิดความอยาก ส่วนมากก็มีแต่เรื่องของคนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นแหละเพียงแค่วาจา
เราก็บางทีก็มีตั้งแต่มลทิน มันเล่นงานเรา เราไม่รู้ตัว ความเกิดเล่นงานอีกชั้นหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เล่นงานอีกชั้นหนึ่ง รวมกันไปทั้งก้อนทั้งขันธ์ห้า ทั้งใจทั้งสติปัญญา วาจาก็ไม่ได้ควบคุม ใจก็ไม่ได้ควบคุม เพราะว่ายังหลงอยู่
การเกิดของใจอีก ใจของคนเรานี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แต่เราก็ว่าเราไม่หลงหรอก การพูดการจานั่นก็เป็นแค่เพียงสื่อทางสมมติ ถ้าไม่ได้พูดสื่อทางสมมติเราก็ไม่เข้าใจ เราต้องให้รู้ด้วยเห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย ชี้เหตุชี้ผลให้ได้ด้วย แยกแยะให้ได้ด้วย พระพุทธองค์ท่านถึงชี้ลงที่เหตุ ที่พากันมาสมาทานศีลอย่างนี้ก็เหมือนกัน อันนี้เป็นแค่เพียงศีลสมมติ ต้องมาฝึกให้เข้มขึ้นไปอีกเพื่อความระวัง แล้วก็รักษาให้ได้ ถ้าเราเข้าใจศีล ตัวใจนั่นแหละคือตัวศีล ความปกติของใจ
แต่เวลานี้ความไม่ปกติเขามาเล่นงานทุกอย่าง ทั้งหยาบทั้งละเอียด นอกจากบุคคลที่แยกแยะได้ว่าอันนี้คือใจ อาการของใจ อันนี้คือสติปัญญา เราก็จะเข้าใจสิ่งพวกนี้ทันที เข้าใจสมมติ เข้าใจวิมุตติ เราจะละกิเลสได้หมดจดหรือไม่ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลก็เพื่อที่จะละกิเลสหยาบจะออกจากใจของเรา ความโลภของเรามีไหม ความโกรธของเรามีไหม ส่วนความหลงนั้นเราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน เราถึงจะเข้าใจเรื่องปัญญาสัมมาทิฐิความเห็นถูกที่แท้จริง
เพียงแค่แยกใจ แยกขันธ์ห้านี้ก็เป็นเพียงแค่เริ่มต้น ความเห็นถูกเริ่มต้น วิธีการสะสางกิเลสของเรายังมีอีกหรือไม่ จนใจคลายออกมองเห็นความเป็นจริง รู้เรื่องชีวิตได้จริงๆ ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง มันก็จนกว่าธาตุขันธ์จะแตกจะดับ ส่วนมากก็เห็นถูกต้องระดับสมมติ ไม่ได้ลึกๆ ลงไปให้ใจมันคลายออก ชี้เหตุชี้ผล เห็นความเกิดความดับ เห็นความไม่เที่ยงในกายของเรา รู้เรื่องอัตตาอนัตตา รู้เรื่องสมมติ วิมุตติ รู้เรื่องอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ รู้เรื่องหลักวิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิ ต้องเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาที่ฝึกฝน ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ
แต่เราก็อย่าไปทิ้ง ไม่ถึงวาระเวลามันก็เข้าไม่ถึง เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราจะเร่งให้ออกดอกออกผลให้ทานวันเดียวก็ไม่ได้ เราต้องหมั่นดูแล ทำความเข้าใจ ให้น้ำให้ฝุ่นให้ปุ๋ย ถึงเวลาเขาเจริญเติบโตเขาก็ออกดอกออกผลให้เรา เราไม่อยากจะได้เราก็ได้
ส่วนจิตวิญญาณของเราก็เหมือนกัน ฝึกได้ จิตนี้ฝึกได้ ไม่ใช่ว่าฝึกไม่ได้ ลองอดพูด อดคิด สังเกตดูความคิด อะไรส่วนรูปส่วนนาม แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจนั้นเกิดอยู่แล้ว ขันธ์ห้ากับใจเขาเกิดอยู่แล้ว เกิดเร็วไวมากทีเดียว เราต้องฝึกอบรมเขาทีละเล็กละน้อย การฝึกหัดปฏิบัติก็เพื่อที่จะละกิเลส ลึกลงไปก็เพื่อที่จะคลายความหลง เห็นต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ รู้เรื่องชีวิตของตัวเรา
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจของเรา ส่วนมากก็จะมองได้แต่คนโน้นคนนี้ไม่เคยมองตัวเอง ไม่เคยแก้ไขตัวเอง อาจจะแก้ไขอยู่เป็นบางช่วงบางครั้ง ส่วนมากก็มีแต่เรื่องของคนอื่น ไม่เอาเรื่องของเราให้มันจบ ถ้าเรื่องของเราจบเราก็อยู่บริหารด้วยปัญญา แก้ไขด้วยปัญญา เป็นความต้องการของปัญญา จนกว่าธาตุขันธ์จะแตกจะดับ เพราะว่าเป็นเรื่องของเราทุกคนนั่นแหละ ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนอื่น เรื่องของเรา
อะไรควรแก้ไข อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ส่วนมากก็เอาตั้งแต่เรื่องภายนอกมาทับถมดวงใจของตัวเรา ความอิจฉาริษยา ความพูดจาสอดเสียด สารพัดอย่าง เพียงแค่ศีลห้า ก็ยังระดับสมมติก็ยังรักษาแก้ไขตรงนี้ไม่ได้ มันส่วนลึกๆ ซึ่งเป็นใจซึ่งเป็นนามธรรม มันจะไปจัดการได้ยังไง เราก็ต้องจัดการตั้งแต่การเกิด การแยก การทำความเข้าใจ สาระกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ทีนี้จะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญา ทุกคนก็มีกันหมดนั่นแหละ..มีกิเลส
ถ้าเรารู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ไข มันก็จะจัดการกับสิ่งพวกนี้ได้ ส่วนมากก็ตามอำเภอใจ ตามอำเภอกิเลส ขันธ์ห้าเป็นอย่างไรไม่รู้ ได้แต่สวดได้แต่ท่องที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์เป็นธาตุสี่ขันธ์ห้า ธาตุสี่ขันธ์ห้าอะไรคือส่วนรูปส่วนนาม อะไรคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กายมี ทวารทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งเก้า หู ตา จมูก ลิ้น กาย แล้วก็ใจ มีทั้งหมดกี่ส่วน เราไม่ค่อยจะพิจารณาไม่ค่อยทำความเข้าใจ มันก็เลยไม่รู้ความเป็นจริง แต่ในภาพรวมนั้น สร้างอานิสงส์สร้างคุณงามความดีอยู่ตลอด แต่เป็นความดีระดับของสมมติ
เราต้องดูเราแก้ไขเรา ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะจา ก่อนที่จะคิด ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ในความคิดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ในคำพูดนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เวลานี้ควรพูดหรือว่าไม่ควรพูด เวลาได้พูดออกไปเกิดประโยชน์ไหม เวลาได้พูดออกไป มันไม่เกิดประโยชน์หรือไม่ เราต้องวิเคราะห์ตัวเราให้ถึงที่สิ้นสุด
ส่วนมากก็ไปวิ่งเอาตั้งแต่ภายนอกมาทับถมๆๆ ทั้งความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอิจฉาริษยา สารพัดอย่าง เพียงแค่ความเกิดของความคิดนั้น มันก็ปิดกั้นตัวของใจเอาไว้แล้ว จะเอาใจไปแสวงหาธรรมนี้ไม่เจอ ยิ่งห่างไกลยิ่งปิดกั้นตัวเองเอาไว้ เราต้องเจริญสติความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เพียงแค่การเจริญการสร้าง ตรงนี้ก็ทำได้ยากอยู่ มันก็เลยไม่เข้าใจในส่วนลึกๆ มันไม่เหลือวิสัยหรอก อย่าไปปิดกั้นตัวเรา อย่าเอาความคิดทิฐิมานะของเรามาเป็นเครื่องตัดสิน
นอกจากดำเนินตามทางของพระพุทธองค์ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การละกิเลสเป็นอย่างนี้นะการอบรมใจของเราปรับสภาพใจของเราเป็นอย่างนี้นะ มันจะค่อยตามมาเรื่อยๆ จนกว่าใจคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าคลายออกจากความคิด ซึ่งมันมีอยู่
ใจส่วนหนึ่งความคิดส่วนหนึ่งปัญญาส่วนหนึ่ง ที่เราสร้างขึ้นมา ปัญญาของเราค้นคว้าให้หมดทุกเรื่อง จนไม่มีอะไรเหลือ รู้ความจริงเราก็ค่อยละ อันนี้มันก็ทำได้ครึ่งๆ กลางๆ ก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ให้มีอานิสงส์ไม่มีบุญมีกุศลเป็นข้าวพกข้าวห่อติดตามตัวเราไป ถึงเวลาแล้วก็วางหมดนั่นแหละ วางทั้งบุญทั้งบาป วางหมดทุกอย่าง แม้แต่ใจก็ต้องวาง ทั้งกายทั้งใจก็วาง แต่สมมติก็มีอยู่ เราก็ดูแลรักษาสมมติตรงนี้ไปจนกว่าเขาจะแตกจะดับ
ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นบุญ ถ้าเรารู้จักเอาบุญ ตั้งแต่คิด ไม่คิดอคติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดเบียดเบียนคนโน่นเบียดเบียนคนนี้ วาจาของเราก็ไม่พูดสอดเสียคนโน้นคนนี้ มองโลกในทางที่ดี คิดดี อยากจะดับทุกข์ได้ หลุดพ้นได้ ก็เจริญสติตามแนวทางของพระพุทธองค์
การละกิเลสเป็นอย่างไร กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร เกิดขึ้นที่กายหรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องศึกษาให้ละเอียด ก็ต้องรู้ใจ เรารู้ใจอยู่ แต่ไม่รู้ต้นเหตุของการเกิด ต้นเหตุของการเกิดความคิดก่อตัวอย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เราควบคุมความคิดได้ไหม อะไรคือสติ อะไรคือปัญญา มันมีหมด ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ ถ้าเราแยกแยะได้เราจะระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทันทีเลย ตั้งหลายร้อยหลายพันปี ท่านค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง หลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐสี่ เป็นอย่างไร..มีหมด
การเกิดการดับ การแยกการคลาย การสร้างบารมี เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่เรามีความเสียสละเพียงพอหรือไม่ เรามีความขยันเป็นเลิศ ขยันในการทั้งสมมติทั้งวิมุตติ แต่ส่วนมากอาจจะขยันตั้งแต่ภายนอกแต่ก็ไม่ขยันดูการเกิด การดับ การแยก การคลาย การรู้ความเป็นจริง ชี้ลงไปที่เหตุ
ส่วนมากคนเราปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันกับเด็ดยอดผักบุ้ง เด็ดยอดตำลึง ทำไมถึงพูดอย่างนี้? เด็ดยอดผักบุ้ง เด็ดยอดตำลึงเนี่ยเราเด็ดยอดเดียวมันแตกออกไปตั้งเป็นร้อยเป็นพัน แตกปกคลุม
ในหลักธรรมแล้ว ท่านให้จัดการด้วยการสาวลงไปโน่น ถึงลากถึงโคนน่ะ ถอนรากถอนโคนยอดมันก็ตายหมด แล้วก็บริหารกายบริหารใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร ให้อยู่ในความเมตตา ให้ทำสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไหร่เราก็จัดการ ชีวิตของคนเราก็มีเท่านี้แหละ ไม่มีอะไรมาก ส่วนมากก็มีตั้งแต่วิ่งตามกิเลส เป็นทาสกิเลสอยู่ตลอดเวลา เราก็อยู่กับกิเลสนั่นแหละ เราใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์ เราใช้กิเลสให้ไปในทางบุญทางกุศล มันก็จะเกิดประโยชน์มากมาย
ถึงเวลาเราก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เรารีบแก้ไขตัวเราเสีย เรามีอุปนิสัยอย่างไร เราก็พยายามแก้ไข เรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามแก้ไข ให้มีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น ทั้งทางสมมติ ทั้งทางวิมุตติ
การได้ยินได้ฟังได้อ่าน การได้สื่อสารกันต่างๆ ก็เพียงในระดับของสมมติ ส่วนระดับจิตใจเราต้องเจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
ตั้งแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาใจมันเกิดแล้วกี่ครั้ง ความคิดมันก่อตัวสักกี่ครั้ง เราต้องรู้เห็นตั้งแต่ต้นเหตุ แต่ส่วนมากก็ มันไปตั้งนานแล้วเราถึงรู้ว่าเราคิดเราทำเราทำตามความคิด มันอาจจะถูกบ้างผิดบ้างแต่ในความเป็นจริงเขายังหลงเกิดอยู่ หลงเกิด หลงยึด ถ้าเรารู้จักจุดปล่อยจุดวาง มันก็วางได้ ที่นี้เราจะละได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ก็ต้องพยายามกันนะ
ตั้งใจรับพรกัน