หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 74 วันที่ 7 สิงหาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 74 วันที่ 7 สิงหาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 74
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้เรื่องรับรู้สัมผัสทั้งลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ วางตัวให้สบาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย คือการเจริญสติรู้สัมผัสถึงลมหายใจของเรา ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความรู้สึกก็จะชัดเจน การสูดลมหายใจยาวๆ นี้ รู้สึกว่าใจของเราจะสงบลงทันที ที่นี่เราก็พยายามตามความรู้ตัว หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่องทั้งการหายใจเข้าหายใจออก
เสียงก็สักแต่ว่าเสียง หูก็มีหน้าที่ฟังเสียงรับรู้ สติก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา ลึกลงไปถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง เราก็จะรู้ความปกติของใจ ถ้าใจส่งออกไปภายนอกเราก็พยายามตั้งสติอยู่กับลมหายใจใหม่
ทำบ่อยๆ ศึกษาบ่อย ๆ ทำความเข้าใจไปบ่อยๆ เราก็จะเห็นอะไรในกายของเราอีกเยอะ เห็นความเกิดความดับของใจ เห็นความเกิด ความดับ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับของขันธ์ห้าซึ่งใจกับขันธ์ห้าเขารวมกันอยู่ ถ้าเขาแยกได้เมื่อไหร่ ถ้าเราสังเกตทันเมื่อไหร่ เขาก็จะแยกออกจากกัน เราก็จะรู้เรื่องชีวิตของเรา รู้อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ รู้ลักษณะของอนิจจังทุกขัง อนัตตา เรื่องอะไรบ้างที่เกิด เป็นกองไหนบ้าง ขันธ์ไหนบ้าง ที่ท่านเรียกว่า ‘ขันธ์ห้า’ มีอยู่ในกายของเราหมด
ใจของเรานี้หลงนะ หลงมาเกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็มาหลงต่ออีก หลงมายึดตัวตนคือร่างกายของเรา แต่เราก็ไม่รู้ว่าเรายึดหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปชี้เหตุ ชี้ผล เห็นเหตุ เห็นผล แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นคนเกียจคร้านก็ยิ่งห่างไกลหนักเกียจคร้านเราก็ปรับสภาพกายใจของเราด้วยสติ ด้วยปัญญา ให้เป็นคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีพรหมวิหาร มีความเมตตา มีความซื่อสัตย์สัจจะกับตัวเราเองกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เกิดขึ้นในกายในใจของเราได้อย่างไร
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เพียงแค่พวกเราสร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่องกันก็ยังยากอยู่แล้วก็เลยเอาไปใช้ ไปวิเคราะห์ ไปชี้เหตุชี้ผลไม่ทัน ที่นี้ก็ปล่อยเลยตามเลย ใจก็เกิดอยู่ตลอดเวลา ขันธ์ห้ากับใจก็รวมกันไป รวมทั้งปัญญารวมกันไปทั้งก้อน ถ้าจะผิดก็ผิดทั้งก้อน ถูกก็ถูกทั้งก้อน แต่ความเป็นจริงนั้นมันผิดอยู่แล้ว คือเรายังไม่ได้คลายใจออกจากขันธ์ห้า ซึ่งยังหลงตรงนี้อยู่นี่แหละ คือความหลง
ความหลงอันละเอียด หลงละเอียดลึกลงไปอีก กิเลสก็ครอบงำใจของเราอยู่ นอกจากบุคคลที่มาคลายกิเลสออกจากใจแล้ว ดับความเกิด หรือว่าความคิดของเรานั่นแหละ ดับความคิดของเราให้ได้ ชี้เหตุชี้ผลให้ได้ แยกแยะให้ได้ จนใจไม่เกิดนั่นแหละถึงจะไม่หลง ถ้ายังเกิดก็ยังหลงอยู่ถึงจะละกิเลสหมดก็ช่าง ก็ยังหลงอยู่
คนเราไม่ตายก็ต้องคิด แต่เราเอาส่วนสมองหรือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ไปทำหน้าที่แทน ไม่ให้ใจเกิด ไม่ให้ใจคิดปรุงแต่ง ไม่ให้ขันธ์ห้าเข้ามาปรุงแต่งใจ ตรงนั้นทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละขันธ์ห้าออก แล้วก็มาดับความเกิดให้ได้ เกิดเมื่อไรเราก็ดับ ดับค่อยละ ชี้เหตุชี้ผลหนุนกำลังฝ่ายดับ ฝ่ายปัญญา ฝ่ายเกิด เข้าไปทดแทน
บุคคลที่มีสติ มีปัญญา มีความขยันหมั่นเพียร ถึงจะรอบรู้ตรงนี้ จะเป็นคนที่ขัดเกลากิเลสตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เป็นกุศล หรือว่าอกุศล แม้แต่สติปัญญาของเราถ้าเป็นอกุศลเราก็ต้องละอีก มันละเอียดมากนะ ต้องพยายาม
ยิ่งพระยิ่งชีนี่แหละ เราบวชเข้ามาเพื่อที่จะมองเห็นหนทาง มาเดินทางโดยตรง ตรงนี้ กลับไม่สนใจกัน เสียเที่ยว เสียเวลา เสียโอกาส เสียดาย ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตกันทีเดียวจนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ ถึงเราดำเนินตรงนั้นไม่ได้ ก็ให้อยู่ในบุญ ในกุศล อยู่ในคุณงามความดีก็ยังดี ขยันหมั่นเพียร
อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็รู้จักรับผิดชอบ ความเป็นอยู่ระดับสมมติ เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี อะไรขาดตกบกพร่องทางสมมติ หลวงพ่อก็พยายามทำให้ทุกอย่าง ให้ทุกคน ให้ได้อยู่ดีมีความสุข แล้วก็มาดูแลเพิ่มเสริมเติม ก่อนที่จะคิดเราคิดดีหรือไม่ ถ้าเอากันตั้งแต่ความคิดความเกิด เราดับความเกิดได้หรือไม่ หรือปล่อยให้ใจออกมา มันจะออกมาทางวาจา เราดับทางวาจาได้หรือไม่ ถ้าดับไม่ได้แล้วก็ใช้ปัญญาหลบหลีก
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาผู้มีปัญญานะ ไม่ใช่ความเป็นศาสนาคร่ำครึ เป็นศาสนาที่ผู้มีปัญญาอยู่ด้วยปัญญา ปัญญาไม่ต้องมากก็ได้ มีปัญญารู้ใจของเรา เห็น แยกแยะ ละกิเลสออกจากใจของเรา เรารู้จักประคับประคองตัวเอง เดี๋ยวก็รู้จักประคับประคองสมมติที่เราเป็นอยู่ ให้อยู่ดีมีความสุข ไม่ใช่ปัญญาถึงเรียนจบมากมายถึงขนาดไหน อันนั้นเป็นปัญญาโลกีย์ ถ้าไม่รู้จักละแล้ว ก็มีแต่เอากิเลสทับถมดวงใจตัวเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากบุคคลที่คลายใจออกนะ ให้รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็แก้ไขด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติ ด้วยปัญญา ตามกำลัง ทั้งทางสมมติทั้งทางวิมุตติก็ต้องพยายามกัน
อันนี้สำหรับเป็นบุคคลที่มีความเพียรจริงๆ ถ้าไม่มีความเพียรแล้วก็ ก็ขอให้อยู่ในบุญระดับสมมติ รู้จักขยันหมั่นเพียรรู้จักรับผิดชอบ ละความเห็นแก่ตัว รู้จักระวังใจ ระวังกาย ระวังวาจาของตัวเอง ให้อยู่ในคุณงามความดี แล้วก็พยายาม ไม่ถึงเป้าหมายวันนี้ก็วันพรุ่งนี้เดือนนี้เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ ก็จะไปต่อภพหน้า เพราะทุกคนก็บางคนก็มีปัญญามากบางคนก็มีปัญญาน้อยอันนั้นมันไม่สำคัญเท่าไรหรอก
เรามาเจริญสติเข้าไปชี้เหตุ เห็นเหตุเห็นผล ว่าปัญญามันเกิดมาไง ปัญญาโลกีย์หรือปัญญาโลกุตระ ปัญญาไหนที่จะดับทุกข์ได้ ปัญญาไหนที่จะเพิ่มทุกข์ให้ เราก็ต้องจำแนกแจกแจงว่าสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ส่วนใจนั้นก็ส่วนหนึ่ง สติปัญญาตัวหลังนี้เราต้องสร้างขึ้นมา เอาไปอบรมใจของเรา ไปชี้เหตุ ชี้ผล ใจคลายได้เมื่อไหร่นั่นแหละเขาถึงจะเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก’
เพิ่งเริ่มต้น
เหมือนกับเราขึ้นบันได เราก้าวพ้นบันไดเข้าถึงตัวเรือนนั่นแหละ ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ’ ทีนี้ตัวเรือนของเราก็ยังมีเศษขยะอีกมากมาย เราต้องพยายามปัด พยายามกวาดออกให้มันหมด จนไม่เหลืออะไร จนเหลือตั้งแต่ความว่าง ความโล่ง ความโปร่ง ในความว่าง ความโล่ง ความโปร่งนั่นแหละ ตัววิญญาณก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตัวใจก็อยู่ตรงนั้นแหละ มันก่อตัวเมื่อไรเราก็ดับ มันก็ถึงตัวมันทันที
ส่วนมากก็มีกันตั้งแต่ส่งเสริม คิดก็รู้ ทำก็รู้ ก็ปล่อยให้มันเกิด ความเกิดนั่นแหละคือตัวปิดกั้นเอาไว้อย่างละเอียดที่สุด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง แต่เวลานี้เราหลงอยู่ในภพของมนุษย์ คือร่างกายขันธ์ห้าของเรานี้ เรามายึดด้วย ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายของเราให้มากๆ แล้วก็ไปวิเคราะห์ไปพิจารณา
แต่เวลานี้กำลังสติของเราบางทีก็มีบ้าง บางทีก็ไม่มีบ้าง มันจะเอากำลังที่ไหนล่ะไปชี้เหตุชี้ผลเอากำลังที่ไหนล่ะไปประหารกิเลส ก็มีกันทุกคนนั่นแหละ บางทีก็เป็นฝ่ายกุศลอกุศลบ้าง หลายสิ่งหลายอย่าง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราสำรวจดู ย้อนเข้าไปดูเรา จะแก้ไขยังไง ไปยังไง มายังไง อยู่คนเดียวเราก็แก้ไขเรา อยู่หลายคนเราก็แก้ไขเรา ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย ยิ่งอยู่อยู่หลายคน เรื่องสมมติก็ยิ่งเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เราก็ช่วยกันแก้ไขไปในทางเส้นเดียวกัน
การที่จะเป็นผู้นำตัวเองได้ ก็ต้องขัดเกลากิเลสออกให้มันหมด ก่อนที่จะเป็นผู้นำของบุคคลอื่นได้เราต้องพิจารณาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา เป็นที่พึ่งของเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น จนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ เราอาศัยกันได้อยู่ในระดับของสมมติ แต่วิมุตติหรือว่าหลักธรรมเราต้องแก้ไขตัวเรา เป็นคนที่หมั่นพร่ำสอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา อะไรผิดอะไรถูก ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด โดยไม่รู้ตัว
ใจของเรามีความเข้มแข็งหรือไม่ มีความอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนหรือไม่ ใจของเรามีความเสียสละหรือไม่มี การพูดการจา การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่พูด แต่คุย เอาตั้งแต่คิด สารพัดอย่าง ในหลักธรรมท่านให้กำจัดออกให้หมด เหลือแต่ปัญญาล้วนๆ ที่บริหารกาย บริหารใจ จนกว่าร่างกายของเราจะแตกดับ วันนั้นแหละเราถึงจะได้ทิ้งสมมติทางด้านร่างกาย แต่เราให้วางใจของเราให้ได้ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ก็พยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันทำความเข้าใจให้ได้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้เรื่องรับรู้สัมผัสทั้งลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ วางตัวให้สบาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย คือการเจริญสติรู้สัมผัสถึงลมหายใจของเรา ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความรู้สึกก็จะชัดเจน การสูดลมหายใจยาวๆ นี้ รู้สึกว่าใจของเราจะสงบลงทันที ที่นี่เราก็พยายามตามความรู้ตัว หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่องทั้งการหายใจเข้าหายใจออก
เสียงก็สักแต่ว่าเสียง หูก็มีหน้าที่ฟังเสียงรับรู้ สติก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา ลึกลงไปถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง เราก็จะรู้ความปกติของใจ ถ้าใจส่งออกไปภายนอกเราก็พยายามตั้งสติอยู่กับลมหายใจใหม่
ทำบ่อยๆ ศึกษาบ่อย ๆ ทำความเข้าใจไปบ่อยๆ เราก็จะเห็นอะไรในกายของเราอีกเยอะ เห็นความเกิดความดับของใจ เห็นความเกิด ความดับ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับของขันธ์ห้าซึ่งใจกับขันธ์ห้าเขารวมกันอยู่ ถ้าเขาแยกได้เมื่อไหร่ ถ้าเราสังเกตทันเมื่อไหร่ เขาก็จะแยกออกจากกัน เราก็จะรู้เรื่องชีวิตของเรา รู้อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ รู้ลักษณะของอนิจจังทุกขัง อนัตตา เรื่องอะไรบ้างที่เกิด เป็นกองไหนบ้าง ขันธ์ไหนบ้าง ที่ท่านเรียกว่า ‘ขันธ์ห้า’ มีอยู่ในกายของเราหมด
ใจของเรานี้หลงนะ หลงมาเกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็มาหลงต่ออีก หลงมายึดตัวตนคือร่างกายของเรา แต่เราก็ไม่รู้ว่าเรายึดหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปชี้เหตุ ชี้ผล เห็นเหตุ เห็นผล แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นคนเกียจคร้านก็ยิ่งห่างไกลหนักเกียจคร้านเราก็ปรับสภาพกายใจของเราด้วยสติ ด้วยปัญญา ให้เป็นคนขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีพรหมวิหาร มีความเมตตา มีความซื่อสัตย์สัจจะกับตัวเราเองกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เกิดขึ้นในกายในใจของเราได้อย่างไร
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เพียงแค่พวกเราสร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่องกันก็ยังยากอยู่แล้วก็เลยเอาไปใช้ ไปวิเคราะห์ ไปชี้เหตุชี้ผลไม่ทัน ที่นี้ก็ปล่อยเลยตามเลย ใจก็เกิดอยู่ตลอดเวลา ขันธ์ห้ากับใจก็รวมกันไป รวมทั้งปัญญารวมกันไปทั้งก้อน ถ้าจะผิดก็ผิดทั้งก้อน ถูกก็ถูกทั้งก้อน แต่ความเป็นจริงนั้นมันผิดอยู่แล้ว คือเรายังไม่ได้คลายใจออกจากขันธ์ห้า ซึ่งยังหลงตรงนี้อยู่นี่แหละ คือความหลง
ความหลงอันละเอียด หลงละเอียดลึกลงไปอีก กิเลสก็ครอบงำใจของเราอยู่ นอกจากบุคคลที่มาคลายกิเลสออกจากใจแล้ว ดับความเกิด หรือว่าความคิดของเรานั่นแหละ ดับความคิดของเราให้ได้ ชี้เหตุชี้ผลให้ได้ แยกแยะให้ได้ จนใจไม่เกิดนั่นแหละถึงจะไม่หลง ถ้ายังเกิดก็ยังหลงอยู่ถึงจะละกิเลสหมดก็ช่าง ก็ยังหลงอยู่
คนเราไม่ตายก็ต้องคิด แต่เราเอาส่วนสมองหรือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ไปทำหน้าที่แทน ไม่ให้ใจเกิด ไม่ให้ใจคิดปรุงแต่ง ไม่ให้ขันธ์ห้าเข้ามาปรุงแต่งใจ ตรงนั้นทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละขันธ์ห้าออก แล้วก็มาดับความเกิดให้ได้ เกิดเมื่อไรเราก็ดับ ดับค่อยละ ชี้เหตุชี้ผลหนุนกำลังฝ่ายดับ ฝ่ายปัญญา ฝ่ายเกิด เข้าไปทดแทน
บุคคลที่มีสติ มีปัญญา มีความขยันหมั่นเพียร ถึงจะรอบรู้ตรงนี้ จะเป็นคนที่ขัดเกลากิเลสตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เป็นกุศล หรือว่าอกุศล แม้แต่สติปัญญาของเราถ้าเป็นอกุศลเราก็ต้องละอีก มันละเอียดมากนะ ต้องพยายาม
ยิ่งพระยิ่งชีนี่แหละ เราบวชเข้ามาเพื่อที่จะมองเห็นหนทาง มาเดินทางโดยตรง ตรงนี้ กลับไม่สนใจกัน เสียเที่ยว เสียเวลา เสียโอกาส เสียดาย ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิตกันทีเดียวจนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ ถึงเราดำเนินตรงนั้นไม่ได้ ก็ให้อยู่ในบุญ ในกุศล อยู่ในคุณงามความดีก็ยังดี ขยันหมั่นเพียร
อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็รู้จักรับผิดชอบ ความเป็นอยู่ระดับสมมติ เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี อะไรขาดตกบกพร่องทางสมมติ หลวงพ่อก็พยายามทำให้ทุกอย่าง ให้ทุกคน ให้ได้อยู่ดีมีความสุข แล้วก็มาดูแลเพิ่มเสริมเติม ก่อนที่จะคิดเราคิดดีหรือไม่ ถ้าเอากันตั้งแต่ความคิดความเกิด เราดับความเกิดได้หรือไม่ หรือปล่อยให้ใจออกมา มันจะออกมาทางวาจา เราดับทางวาจาได้หรือไม่ ถ้าดับไม่ได้แล้วก็ใช้ปัญญาหลบหลีก
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาผู้มีปัญญานะ ไม่ใช่ความเป็นศาสนาคร่ำครึ เป็นศาสนาที่ผู้มีปัญญาอยู่ด้วยปัญญา ปัญญาไม่ต้องมากก็ได้ มีปัญญารู้ใจของเรา เห็น แยกแยะ ละกิเลสออกจากใจของเรา เรารู้จักประคับประคองตัวเอง เดี๋ยวก็รู้จักประคับประคองสมมติที่เราเป็นอยู่ ให้อยู่ดีมีความสุข ไม่ใช่ปัญญาถึงเรียนจบมากมายถึงขนาดไหน อันนั้นเป็นปัญญาโลกีย์ ถ้าไม่รู้จักละแล้ว ก็มีแต่เอากิเลสทับถมดวงใจตัวเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากบุคคลที่คลายใจออกนะ ให้รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็แก้ไขด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติ ด้วยปัญญา ตามกำลัง ทั้งทางสมมติทั้งทางวิมุตติก็ต้องพยายามกัน
อันนี้สำหรับเป็นบุคคลที่มีความเพียรจริงๆ ถ้าไม่มีความเพียรแล้วก็ ก็ขอให้อยู่ในบุญระดับสมมติ รู้จักขยันหมั่นเพียรรู้จักรับผิดชอบ ละความเห็นแก่ตัว รู้จักระวังใจ ระวังกาย ระวังวาจาของตัวเอง ให้อยู่ในคุณงามความดี แล้วก็พยายาม ไม่ถึงเป้าหมายวันนี้ก็วันพรุ่งนี้เดือนนี้เดือนหน้า ไม่ถึงจริงๆ ก็จะไปต่อภพหน้า เพราะทุกคนก็บางคนก็มีปัญญามากบางคนก็มีปัญญาน้อยอันนั้นมันไม่สำคัญเท่าไรหรอก
เรามาเจริญสติเข้าไปชี้เหตุ เห็นเหตุเห็นผล ว่าปัญญามันเกิดมาไง ปัญญาโลกีย์หรือปัญญาโลกุตระ ปัญญาไหนที่จะดับทุกข์ได้ ปัญญาไหนที่จะเพิ่มทุกข์ให้ เราก็ต้องจำแนกแจกแจงว่าสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ส่วนใจนั้นก็ส่วนหนึ่ง สติปัญญาตัวหลังนี้เราต้องสร้างขึ้นมา เอาไปอบรมใจของเรา ไปชี้เหตุ ชี้ผล ใจคลายได้เมื่อไหร่นั่นแหละเขาถึงจะเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก’
เพิ่งเริ่มต้น
เหมือนกับเราขึ้นบันได เราก้าวพ้นบันไดเข้าถึงตัวเรือนนั่นแหละ ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ’ ทีนี้ตัวเรือนของเราก็ยังมีเศษขยะอีกมากมาย เราต้องพยายามปัด พยายามกวาดออกให้มันหมด จนไม่เหลืออะไร จนเหลือตั้งแต่ความว่าง ความโล่ง ความโปร่ง ในความว่าง ความโล่ง ความโปร่งนั่นแหละ ตัววิญญาณก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตัวใจก็อยู่ตรงนั้นแหละ มันก่อตัวเมื่อไรเราก็ดับ มันก็ถึงตัวมันทันที
ส่วนมากก็มีกันตั้งแต่ส่งเสริม คิดก็รู้ ทำก็รู้ ก็ปล่อยให้มันเกิด ความเกิดนั่นแหละคือตัวปิดกั้นเอาไว้อย่างละเอียดที่สุด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง แต่เวลานี้เราหลงอยู่ในภพของมนุษย์ คือร่างกายขันธ์ห้าของเรานี้ เรามายึดด้วย ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายของเราให้มากๆ แล้วก็ไปวิเคราะห์ไปพิจารณา
แต่เวลานี้กำลังสติของเราบางทีก็มีบ้าง บางทีก็ไม่มีบ้าง มันจะเอากำลังที่ไหนล่ะไปชี้เหตุชี้ผลเอากำลังที่ไหนล่ะไปประหารกิเลส ก็มีกันทุกคนนั่นแหละ บางทีก็เป็นฝ่ายกุศลอกุศลบ้าง หลายสิ่งหลายอย่าง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราสำรวจดู ย้อนเข้าไปดูเรา จะแก้ไขยังไง ไปยังไง มายังไง อยู่คนเดียวเราก็แก้ไขเรา อยู่หลายคนเราก็แก้ไขเรา ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย ยิ่งอยู่อยู่หลายคน เรื่องสมมติก็ยิ่งเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เราก็ช่วยกันแก้ไขไปในทางเส้นเดียวกัน
การที่จะเป็นผู้นำตัวเองได้ ก็ต้องขัดเกลากิเลสออกให้มันหมด ก่อนที่จะเป็นผู้นำของบุคคลอื่นได้เราต้องพิจารณาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา เป็นที่พึ่งของเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น จนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ เราอาศัยกันได้อยู่ในระดับของสมมติ แต่วิมุตติหรือว่าหลักธรรมเราต้องแก้ไขตัวเรา เป็นคนที่หมั่นพร่ำสอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา อะไรผิดอะไรถูก ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด โดยไม่รู้ตัว
ใจของเรามีความเข้มแข็งหรือไม่ มีความอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนหรือไม่ ใจของเรามีความเสียสละหรือไม่มี การพูดการจา การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่พูด แต่คุย เอาตั้งแต่คิด สารพัดอย่าง ในหลักธรรมท่านให้กำจัดออกให้หมด เหลือแต่ปัญญาล้วนๆ ที่บริหารกาย บริหารใจ จนกว่าร่างกายของเราจะแตกดับ วันนั้นแหละเราถึงจะได้ทิ้งสมมติทางด้านร่างกาย แต่เราให้วางใจของเราให้ได้ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ก็พยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันทำความเข้าใจให้ได้ทุกอิริยาบถ