หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 56 วันที่ 28 มิถุนายน 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 56 วันที่ 28 มิถุนายน 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 56
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกของตัวเรา ให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วยหลวงพ่อก็เพียงเเค่บอก เเค่กล่าว วิธีการแนวทาง ให้พวกท่านได้ไปทำ
การเจริญสติ การระลึกรู้ สัมผัสของลมหายใจ อันนี้เขาเรียกว่า ’รู้กาย’ ซึ่งรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกาย ความรู้สึกรับรู้ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจนะ นั่งตามสบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ วางกายให้เป็นอิสรภาพ เเล้วก็การสูดลมหายใจยาวๆ นี้กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุดไป ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่กระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็อาจจะสนใจบ้างเป็นบางครั้งบางคราวถ้าเราสนใจทั้งหายใจเข้า-หายใจออก หายใจเข้า-หายใจออก มีความพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ให้ฝึก ให้เกิดความเคยชินอันนี้เขาเรียก ‘สติรู้กาย’
ลึกลงไปเราก็จะรู้ใจของเรา ซึ่งมีอยู่เดิม ความคิดที่เกิดจากใจ ใจส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม มีกันทุกคน แต่เราไม่มีสติที่จะรู้ทันเท่านั้น เราเลยไปมั่นหมายเอาความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้า ทั้งเกิดจากปัญญารวมกันไปทั้งก้อน คิดก็รู้ ทำก็รู้ เขาหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่
นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติ หรือว่ามาสร้างความรู้ตัวต่อเนื่องกัน จากหนึ่งครั้ง สองครั้ง เป็นห้าครั้ง สิบครั้ง เป็นนาทีสองนาที เป็นห้านาที สิบนาที เราก็จะรู้ตัวเรา ตั้งแต่ผ่านมาสติตัวนี้ไม่ค่อยจะมี ถึงเราสร้างขึ้นมา เราเอาไปใช้การ ใช้งานไม่ได้ มันก็ได้แค่สร้าง เพียงแค่สร้างขึ้นมา แล้วก็รู้เท่ารู้ทัน รู้ทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า จนใจหงายขึ้นมา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก
ใจคลายออกเพียงแค่เริ่มต้น เพียงแค่เริ่มต้นของการเดินทาง ถูกปัญญาที่แท้จริง ถ้าเราเห็นตรงนั้น ใจคลายออกมาแยกออกมาได้ การตามทำความเข้าใจ เราก็จะเข้าใจ คำว่า ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ความไม่เที่ยงในกายของเรา เห็นความเกิดความดับ เราก็จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ ก็จะมองเห็นทันที กายก็จะเบา ใจก็จะว่าง ใจเกิดนี่ใจไม่นิ่ง ใจเกิดใจส่งออกไปภายนอก ก็เรียกว่าจะเข้าหลักของอริยสัจสี่ สมุทัย.. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ การดับ การละ การสร้างบารมี
ต้องพยายามอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล ไม่ใช่ว่าฝึกสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ การขัดเกลากิเลสไม่รู้จักวิธีการที่จะไปขัดเกลากิเลส มันก็ได้แค่ฝึก ได้แค่ฝึก ได้แค่ศรัทธาทำบุญให้ทาน อยู่ในระดับของสมมติ เราต้องพยายามมองให้ทะลุปรุโปร่งชี้เหตุชี้ ผลทำความเข้าใจให้ได้ เป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องของทุกคน ที่จะดำเนินชีวิตของเรา ให้หลุดพ้นจากสิ่งพวกนี้ แต่พวกเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ สนใจอยู่ตั้งแต่เรื่องการทำบุญ การให้ทาน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังดับทุกข์ยังไม่ได้ สิ่งที่จะดับทุกข์ได้ ก็เสริมเข้าไปอีก
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ สมมติเป็นอย่างนี้ วิมุตติเป็นอย่างนี้ กายทำหน้าที่อย่างนี้ วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างนี้ เขาทำหน้าที่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ล้วนแต่ทำหน้าที่ของเขาอยู่ แต่เราอาจจะรู้เป็นบางช่วง บางครั้งบางคราว เราไม่ได้ตามดูรู้เหตุรู้ผลทุกเรื่อง ชี้เหตุชี้ผลทุกเรื่อง จนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้เราได้ค้นคว้าโน่นแหละถึงได้หยุด ได้มองได้ดูได้รู้ ดูแก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยปัญญา ก็ต้องพยายามกันนะ
สิ่งพวกนี้เป็นทรัพย์ของทุกคนนั่นแหละ ไม่ใช่ว่าทรัพย์ของคนใดคนหนึ่ง เป็นสมบัติของทุกคน แต่พวกเราเอากิเลสมาทับถมสมบัติของตัวเองเอาไว้ จนมืดมิด จนเข้าถึงความบริสุทธิ์สภาพเดิม ไม่ค่อยจะได้เท่าไหร่ มีตั้งแต่ดิ้นรนแสวงหาทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งทะเยอทะยานอยาก อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง สารพัดอย่าง เรามาดับมาละมาคลายออก ทีละเล็กทีละน้อย ใจของเราก็จะเบาบาง เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลืออะไร จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ประกาศด้วยตัวเอง รู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย หมดความสงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์หมดความสงสัยลังเล
ส่วนมากก็เป็นเรื่องของคนอื่น เรื่องคนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มีตั้งแต่เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของตัวเรา ทำหน้าที่ของเรา ดูเรื่องของเราให้มันจบ จบที่เรา เเล้วก็ทุกอย่าง ก็ล้วนแต่เป็นอานิสงส์แห่งบุญ ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้เต็มเปี่ยม เท่าที่โอกาส โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราทำได้ตั้งแต่ตื่นขึ้น ดูลมรู้ลมหายใจนี่ก็เป็นบุญแล้ว เหมือนกับได้เข้าวัด ทำกายให้เป็นวัดทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ แก้ไขเราบ่อยๆ เป็นเรื่องของเรา
กิเลสหยาบเกิดขึ้นอย่างนี้ กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่ หรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุเกิดจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราต้องแก้ไข สมมติภายนอกเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี อย่าไปเกียจคร้าน แต่ละวันความเกียจคร้านเข้าครอบงำไหม เรามีความเสียสละ เรามีความเห็นแก่ตัวหรือไม่ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือเปล่า หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่หรือไม่ เราก็พยายามรีบแก้ไข
อยู่คนเดียว เราก็แก้ไขเรา อยู่หลายคน เราก็แก้ไขเรา แต่ส่วนมากก็จะไปโทษตั้งแต่คนโน้นโทษคนนี้ ไปมองตั้งแต่ภายนอก ภายนอกจะดีถึงขนาดไหน ถ้าใจเราไม่ดีมันก็เหมือนเดิม ถ้าภายนอกไม่ดีแต่ถ้าใจของเราดี ใจของเราก็ดีอยู่เหมือนเดิม ก็ต้องพยายามกันนะ หลวงพ่อก็เพียงแค่บอก แค่กล่าว แค่เล่า ในสิ่งที่หลวงพ่อเคยพบประสบมา ได้เล่าได้ฟังว่าเป็นอย่างนี้ๆๆ ถ้าพวกท่านไม่ไปทำ มันก็ไม่เข้าใจ เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่อง ก็พยายามทำให้ได้เถอะ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันนะ
ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวก็ให้รู้ว่ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจ ให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกของตัวเรา ให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วยหลวงพ่อก็เพียงเเค่บอก เเค่กล่าว วิธีการแนวทาง ให้พวกท่านได้ไปทำ
การเจริญสติ การระลึกรู้ สัมผัสของลมหายใจ อันนี้เขาเรียกว่า ’รู้กาย’ ซึ่งรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกาย ความรู้สึกรับรู้ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจนะ นั่งตามสบาย ไม่ต้องพนมมือก็ได้ วางกายให้เป็นอิสรภาพ เเล้วก็การสูดลมหายใจยาวๆ นี้กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุดไป ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่กระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็อาจจะสนใจบ้างเป็นบางครั้งบางคราวถ้าเราสนใจทั้งหายใจเข้า-หายใจออก หายใจเข้า-หายใจออก มีความพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ให้ฝึก ให้เกิดความเคยชินอันนี้เขาเรียก ‘สติรู้กาย’
ลึกลงไปเราก็จะรู้ใจของเรา ซึ่งมีอยู่เดิม ความคิดที่เกิดจากใจ ใจส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดที่เกิดจากอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม มีกันทุกคน แต่เราไม่มีสติที่จะรู้ทันเท่านั้น เราเลยไปมั่นหมายเอาความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้า ทั้งเกิดจากปัญญารวมกันไปทั้งก้อน คิดก็รู้ ทำก็รู้ เขาหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่
นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติ หรือว่ามาสร้างความรู้ตัวต่อเนื่องกัน จากหนึ่งครั้ง สองครั้ง เป็นห้าครั้ง สิบครั้ง เป็นนาทีสองนาที เป็นห้านาที สิบนาที เราก็จะรู้ตัวเรา ตั้งแต่ผ่านมาสติตัวนี้ไม่ค่อยจะมี ถึงเราสร้างขึ้นมา เราเอาไปใช้การ ใช้งานไม่ได้ มันก็ได้แค่สร้าง เพียงแค่สร้างขึ้นมา แล้วก็รู้เท่ารู้ทัน รู้ทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า จนใจหงายขึ้นมา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก
ใจคลายออกเพียงแค่เริ่มต้น เพียงแค่เริ่มต้นของการเดินทาง ถูกปัญญาที่แท้จริง ถ้าเราเห็นตรงนั้น ใจคลายออกมาแยกออกมาได้ การตามทำความเข้าใจ เราก็จะเข้าใจ คำว่า ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ความไม่เที่ยงในกายของเรา เห็นความเกิดความดับ เราก็จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ ก็จะมองเห็นทันที กายก็จะเบา ใจก็จะว่าง ใจเกิดนี่ใจไม่นิ่ง ใจเกิดใจส่งออกไปภายนอก ก็เรียกว่าจะเข้าหลักของอริยสัจสี่ สมุทัย.. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ การดับ การละ การสร้างบารมี
ต้องพยายามอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล ไม่ใช่ว่าฝึกสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ การขัดเกลากิเลสไม่รู้จักวิธีการที่จะไปขัดเกลากิเลส มันก็ได้แค่ฝึก ได้แค่ฝึก ได้แค่ศรัทธาทำบุญให้ทาน อยู่ในระดับของสมมติ เราต้องพยายามมองให้ทะลุปรุโปร่งชี้เหตุชี้ ผลทำความเข้าใจให้ได้ เป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องของทุกคน ที่จะดำเนินชีวิตของเรา ให้หลุดพ้นจากสิ่งพวกนี้ แต่พวกเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ สนใจอยู่ตั้งแต่เรื่องการทำบุญ การให้ทาน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังดับทุกข์ยังไม่ได้ สิ่งที่จะดับทุกข์ได้ ก็เสริมเข้าไปอีก
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ สมมติเป็นอย่างนี้ วิมุตติเป็นอย่างนี้ กายทำหน้าที่อย่างนี้ วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างนี้ เขาทำหน้าที่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ล้วนแต่ทำหน้าที่ของเขาอยู่ แต่เราอาจจะรู้เป็นบางช่วง บางครั้งบางคราว เราไม่ได้ตามดูรู้เหตุรู้ผลทุกเรื่อง ชี้เหตุชี้ผลทุกเรื่อง จนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้เราได้ค้นคว้าโน่นแหละถึงได้หยุด ได้มองได้ดูได้รู้ ดูแก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยปัญญา ก็ต้องพยายามกันนะ
สิ่งพวกนี้เป็นทรัพย์ของทุกคนนั่นแหละ ไม่ใช่ว่าทรัพย์ของคนใดคนหนึ่ง เป็นสมบัติของทุกคน แต่พวกเราเอากิเลสมาทับถมสมบัติของตัวเองเอาไว้ จนมืดมิด จนเข้าถึงความบริสุทธิ์สภาพเดิม ไม่ค่อยจะได้เท่าไหร่ มีตั้งแต่ดิ้นรนแสวงหาทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งทะเยอทะยานอยาก อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง สารพัดอย่าง เรามาดับมาละมาคลายออก ทีละเล็กทีละน้อย ใจของเราก็จะเบาบาง เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลืออะไร จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ประกาศด้วยตัวเอง รู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย หมดความสงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์หมดความสงสัยลังเล
ส่วนมากก็เป็นเรื่องของคนอื่น เรื่องคนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มีตั้งแต่เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของตัวเรา ทำหน้าที่ของเรา ดูเรื่องของเราให้มันจบ จบที่เรา เเล้วก็ทุกอย่าง ก็ล้วนแต่เป็นอานิสงส์แห่งบุญ ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้เต็มเปี่ยม เท่าที่โอกาส โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราทำได้ตั้งแต่ตื่นขึ้น ดูลมรู้ลมหายใจนี่ก็เป็นบุญแล้ว เหมือนกับได้เข้าวัด ทำกายให้เป็นวัดทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ แก้ไขเราบ่อยๆ เป็นเรื่องของเรา
กิเลสหยาบเกิดขึ้นอย่างนี้ กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมหรือไม่ หรือเกิดขึ้นที่ใจ เหตุเกิดจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราต้องแก้ไข สมมติภายนอกเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี อย่าไปเกียจคร้าน แต่ละวันความเกียจคร้านเข้าครอบงำไหม เรามีความเสียสละ เรามีความเห็นแก่ตัวหรือไม่ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือเปล่า หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่หรือไม่ เราก็พยายามรีบแก้ไข
อยู่คนเดียว เราก็แก้ไขเรา อยู่หลายคน เราก็แก้ไขเรา แต่ส่วนมากก็จะไปโทษตั้งแต่คนโน้นโทษคนนี้ ไปมองตั้งแต่ภายนอก ภายนอกจะดีถึงขนาดไหน ถ้าใจเราไม่ดีมันก็เหมือนเดิม ถ้าภายนอกไม่ดีแต่ถ้าใจของเราดี ใจของเราก็ดีอยู่เหมือนเดิม ก็ต้องพยายามกันนะ หลวงพ่อก็เพียงแค่บอก แค่กล่าว แค่เล่า ในสิ่งที่หลวงพ่อเคยพบประสบมา ได้เล่าได้ฟังว่าเป็นอย่างนี้ๆๆ ถ้าพวกท่านไม่ไปทำ มันก็ไม่เข้าใจ เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่อง ก็พยายามทำให้ได้เถอะ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันนะ
ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวก็ให้รู้ว่ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจ ให้รู้ทุกอิริยาบถ