หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 1 วันที่ 9 มกราคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 1 วันที่ 9 มกราคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 1
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 มกราคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน และก็ให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ พวกเราพวกเธอ พวกท่าน ได้พากันเจริญสติ รู้จักลักษณะของคำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ต้องพยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา
หมั่นวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของเรา แต่ละวันแต่ละวัน อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไข ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย อะไรเป็นส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ อะไรคือปัญญาเก่า ความคิดเก่าที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าเกิดจากวิญญาณ หรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ห้า ซึ่งพระพุทธองค์ท่านบอกว่า เป็นกองเป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร นี่แหละ
พวกเราก็เห็นเป็นก้อน เป็นรูป เป็นร่าง เป็นคน แต่พระพุทธองค์บอกว่าไม่มีอะไร มีตั้งแต่ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน ทั้งสติ ทั้งปัญญา ทั้งใจทั้งขันธ์ห้ารวมกันไปทั้งก้อน ก็เลยหลงอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดเขาก็หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่อันนี้เราอาจจะไม่ทราบ แต่เราก็รู้อยู่ด้วยปัญญาของพระพุทธองค์ ท่านได้ค้นพบแล้วก็มาจำแนกแจกแจงมาเปิดเผยให้สัตว์โลก ก็คือพวกเรานี่แหละได้ประพฤติปฏิบัติตาม ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์
นอกจากบุคคลที่เจริญสติ เข้าไปอบรมใจบ่อยๆ ขัดเกลากิเลสบ่อยๆ จนกว่าจะสังเกตเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ถึงจะรู้ว่าเราหลง ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไหร่ ใจหงายขึ้นมาได้เมื่อไหร่ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิความเห็นถูก’
พวกเราอาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในบุญในกุศล ว่า อันนี้ผิดอันนี้ถูก อันนี้เป็นกุศลอันนี้เป็นอกุศล แต่ส่วนที่สูงขึ้นไปอีก ความเกิดของใจ ความเกิดของใจคือความหลงอันละเอียดเขาเกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ เขาก็หลงมายึดเอาธาตุขันธ์ของมนุษย์ มายึดเอาร่างกายตรงนี้อีกแล้วก็ส่งออกไปภายนอกอีก แล้วก็เกิดต่ออีกเป็นทาสกิเลส
เราพยายามแสวงหาทรัพย์สร้างทรัพย์ที่มีอยู่ในกายในใจของเราให้เจอ เราก็ละกิเลสให้มันหมด ดับความเกิดให้ได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดกันให้เป็นทุกข์ แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่เพิ่มทุกข์ สร้างทุกข์ให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของตัวเรา
คนเราเกิดมาก็เกิดมาด้วยแรงเหวี่ยงของกรรม กรรมอยู่ที่ตัวของเรา คือ ร่างกายขันธ์ห้าของเรานี้ นี่เขาเรียกว่า ‘ตัวกรรม’ ถ้าเราแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ เราก็ละได้ นี่เขาเรียกว่า ‘อยู่เหนือกรรม’ กรรมเก่าก็ตามไม่ทัน ก็เลยเป็นอโหสิกรรม กรรมใหม่ที่เกิดจากตัวใจเข้าไปยึด ก็เลยอยู่เหนือกรรม นี่เขาเรียก ‘กิริยา’ ไม่ยึดไม่ติด
นอกจากบุคคลที่จำแนกแจงแจง แยกแยะได้ทำความเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย เพียงแค่สมมติเราก็พยายามมีความรับผิดชอบ ทำหน้าที่ของเราให้ดี อะไรขาดตกบกพร่อง เราพยาพยามเป็นที่พึ่งตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ใช่ว่าจะเอาไปพึ่งกับคนโน้นพึ่งกับคนนี้ พึ่งกับสถานที่นั้นสถานที่นี้ อันนี้มันอาศัยกันได้อยู่ในระดับของสมมติ
แต่หลักธรรมจริงๆ แล้ว เราต้องมาเจริญสติ เป็นที่พึ่งของใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย รู้จักวิธีการสร้างบารมี รู้จักการสร้างบุญ ถ้าเรารู้จักเอาบุญเนี่ย เราเอาได้อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ มีความเกียจคร้านเข้าครอบงำหรือเปล่า เราก็พยายามกำจัด สติเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจเกิดสักกี่เที่ยว เป็นกุศล หรือว่าอกุศล ขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องพยายามดูให้รู้เหตุรู้ผล ฐานการเกิดการดับ เรารู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราคิดเราทำ คิดก็รู้ทำก็รู้ มันหลง หลงในความรู้ตรงนั้นอยู่
เพียงแค่การเจริญสตินี้ก็ยังลำบาก ยังทำกันไม่เข้มแข็งเท่าไหร่ มันก็ยากที่จะเข้าหาตัวใจได้แม้แต่ตัวใจแท้ๆ เค้าก็ยังหลอกตัวเอง เข้าข้างตัวเอง แม้แต่สติปัญญาเผลอยังหลุดออกมาเข้าข้างตัวเอง กว่าจะหาความเป็นจริงได้ กว่าจะหาความเป็นกลางได้นี่ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องไม่เกิดต้องให้เหลือตั้งแต่ปัญญาล้วนๆ จึงจะมองเห็นชัดเจน
ก็ต้องพยายามกัน พระเราก็อย่าพากันเกียจคร้าน ชีเราก็อย่าพากันก็อย่าเกียจคร้าน พระเกียจคร้านก็ไม่ดี ชีเกียจคร้านก็ไม่ดี ญาติโยมเกียจคร้านก็ไม่ดี จงเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นบุคคลที่หมั่นฝักใฝ่ในบุญในกุศลอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ถ้าพูดให้ละเอียดลึกลงไปก็จนกระทั่งถึงวันตายนั่นแหละ ปฏิบัติดูตัวเรา แก้ไขตัวเราจนไม่มีอะไรให้แก้ไข จนรอวันธาตุขันธ์แตกดับ กลับไปสู่นิพพาน คือการเกิดไม่มี การตายมี การเกิดไม่มี
แต่เวลานี้เกิดทางกายเนื้อก็เกิดแล้ว เกิดทางด้านจิตวิญญาณ ตั้งแต่เช้ามา เกิดสักกี่ครั้ง เกิดสักกี่เที่ยว ตรงนี้แหละคือความเกิด เรามาดับความเกิด ก่อนที่เราจะดับความเกิดมันสะสางกิเลสออกจากตัวใจของเราอีกมากมาย กิเลสหยาบกิเลสละเอียด นิวรณธรรม มลทินต่างๆ สารพัดอย่าง ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งดำทั้งขาว ทั้งบุญทั้งบาป ละออกให้หมด จะให้สร้างประโยชน์สร้างบุญไม่ยึดติดในบุญ กายของเราก็วางอีก ใจก็วางอีก มันสลับซับซ้อนนะ มันสลับซับซ้อน
เราต้องพยายามทำ ได้เท่าไหร่ก็ทำ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม บุญวิมุตติการขัดเกลากิเลส สมมติกับวิมุตติ เขาก็เกี่ยวเนื่องกัน เหมือนกับเราจะขึ้นบนบ้าน บ้านก็ต้องอาศัยบันได บันไดก็อาศัยราวบันได ราวบันไดก็อาศัยลูกบันได ประกอบกันเข้าพระพุทธองค์ท่านถึงชี้เหตุชี้ผลตั้งแต่ต้นเหตุ เข้าหาตั้งแต่ต้นเหตุให้ได้ ถึงจะเก่งกาจ ปัญญารู้มากถึงขนาดไหน มันก็รู้เพียงแค่กลางเหตุปลายเหตุ หาต้นสายปลายเหตุไม่เจอ เราก็ต้องพยายามดูตั้งแต่การก่อ การเกิด การร่วม การรวม การทำความเข้าใจ การรับรู้อยู่ภายในเป็นอย่างไร
ใจเป็นธาตุรู้ สติเป็นผู้รู้ แต่เวลานี้ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด ผสมผสานกันอยู่ เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้ว่าอันนี้คือสติที่เราสร้างขึ้นมา การเอาไปควบคุมใจ ใหม่ๆ ก็ควบคุมเลย ใจของคนเรานี้ฝึกได้ไม่ใช่ว่าไม่ฝึกได้ นี่ใจของคนเรามันเร็ว เร็วไวป๊อปแป๊ปๆๆ ขนาดปากพูดอยู่ใจมันก็ไปโน่นไปนี่ ขนาดท่องบทสวดมนต์อยู่ ถ้าไม่ได้ฝึกจริงๆ มันก็ไปตามอัตโนมัติของมัน ถ้าฝึก ฝึกมันก็จะนิ่งขึ้นช้าลงขึ้น มีเหตุมีผล เห็นเหตุเห็นผล เขาถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้ ก็ต้องพยายามกันนะ
พากัน มีอะไรพอช่วยกันได้ก็ช่วย นี่ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลยแต่ละวันๆ อะไรพอมีความเสียสละได้เราก็เสียสละ สิ่งที่พวกเราได้อยู่ได้อาศัยก็เกิดจากอานิสงส์ของคนรุ่นก่อนรุ่นเก่าได้สร้างได้ทำไว้เราก็มาสานต่อ เราก็มาสานต่อ ไปอยู่ที่ไหนก็จะไม่ได้ลำบาก ไม่ใช่ว่าขอให้ฉันได้อยู่ได้กินได้สะดวกสบายอะไรก็ไม่ทำ อะไรก็ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ นี่แหละ ไปที่ไหนถึงบอกพึ่งตัวเองไม่ได้ เพียงแค่ระดับของสมมติก็ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ถ้าด้านจิตใจมันยิ่งเหมือนกับนกอยู่ในกรง วิ่งว่อนอยู่ตลอดเวลา
เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุง มีความสุขใน สิ่งที่เรามีเราเป็น เราก็กระทำให้เกิดประโยชน์เท่าที่จะเกิดประโยชน์ได้ ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์สูงสุด ก็คือพระนิพพาน พยายามทำให้แจ้ง ทำพระนิพพานให้แจ้ง
ขณะพากันสวดวัตร ทำวัตรสวดมนต์ ก็มีเรื่องเดียวนี่แหละ เรื่องกายของเรา เรื่องจิตเรื่องกายของเรานี่แหละ อันโน้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็ไม่เที่ยง ตัวตนเป็นอย่างงั้น ตัวตนเป็นอย่างงี้ ก็มีตั้งแต่กายกับจิตของเรา ที่พากันสวดมนต์เช้าสวดมนต์เย็น
ถ้าเรารู้จักแก้ไขเราก็ดูตั้งแต่ต้นเหตุกลางเหตุ ดับจนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้ดับ จนวางทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติหมด ธรรมชาติของกายเป็นอย่างนี้ ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้
ถ้าเรารู้จักพิจารณา พิจารณาเราก็จะเห็นทุกอย่าง ใจเกิดความอยากก็รู้จักดับ รู้จักละ ละที่นั้นที่นี้เขาก็เหือดแห้งไปเรื่อยๆ เหือดแห้งไปจนมันไม่เหลือ จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ หนุนกำลังสติปัญญาไปอบรมใจทำหน้าที่แทน ไปเกิดแทน ยิ่งสนุกสร้างบุญสร้างอานิสงส์กันมากมาย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 มกราคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน และก็ให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งถึงเวลานี้เดี๋ยวนี้ พวกเราพวกเธอ พวกท่าน ได้พากันเจริญสติ รู้จักลักษณะของคำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ต้องพยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา
หมั่นวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของเรา แต่ละวันแต่ละวัน อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไข ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย อะไรเป็นส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ อะไรคือปัญญาเก่า ความคิดเก่าที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าเกิดจากวิญญาณ หรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ห้า ซึ่งพระพุทธองค์ท่านบอกว่า เป็นกองเป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร นี่แหละ
พวกเราก็เห็นเป็นก้อน เป็นรูป เป็นร่าง เป็นคน แต่พระพุทธองค์บอกว่าไม่มีอะไร มีตั้งแต่ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน ทั้งสติ ทั้งปัญญา ทั้งใจทั้งขันธ์ห้ารวมกันไปทั้งก้อน ก็เลยหลงอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด ตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดเขาก็หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่อันนี้เราอาจจะไม่ทราบ แต่เราก็รู้อยู่ด้วยปัญญาของพระพุทธองค์ ท่านได้ค้นพบแล้วก็มาจำแนกแจกแจงมาเปิดเผยให้สัตว์โลก ก็คือพวกเรานี่แหละได้ประพฤติปฏิบัติตาม ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์
นอกจากบุคคลที่เจริญสติ เข้าไปอบรมใจบ่อยๆ ขัดเกลากิเลสบ่อยๆ จนกว่าจะสังเกตเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ถึงจะรู้ว่าเราหลง ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไหร่ ใจหงายขึ้นมาได้เมื่อไหร่ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิความเห็นถูก’
พวกเราอาจจะเห็นถูกอยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในบุญในกุศล ว่า อันนี้ผิดอันนี้ถูก อันนี้เป็นกุศลอันนี้เป็นอกุศล แต่ส่วนที่สูงขึ้นไปอีก ความเกิดของใจ ความเกิดของใจคือความหลงอันละเอียดเขาเกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ เขาก็หลงมายึดเอาธาตุขันธ์ของมนุษย์ มายึดเอาร่างกายตรงนี้อีกแล้วก็ส่งออกไปภายนอกอีก แล้วก็เกิดต่ออีกเป็นทาสกิเลส
เราพยายามแสวงหาทรัพย์สร้างทรัพย์ที่มีอยู่ในกายในใจของเราให้เจอ เราก็ละกิเลสให้มันหมด ดับความเกิดให้ได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดกันให้เป็นทุกข์ แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่เพิ่มทุกข์ สร้างทุกข์ให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของตัวเรา
คนเราเกิดมาก็เกิดมาด้วยแรงเหวี่ยงของกรรม กรรมอยู่ที่ตัวของเรา คือ ร่างกายขันธ์ห้าของเรานี้ นี่เขาเรียกว่า ‘ตัวกรรม’ ถ้าเราแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ เราก็ละได้ นี่เขาเรียกว่า ‘อยู่เหนือกรรม’ กรรมเก่าก็ตามไม่ทัน ก็เลยเป็นอโหสิกรรม กรรมใหม่ที่เกิดจากตัวใจเข้าไปยึด ก็เลยอยู่เหนือกรรม นี่เขาเรียก ‘กิริยา’ ไม่ยึดไม่ติด
นอกจากบุคคลที่จำแนกแจงแจง แยกแยะได้ทำความเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละอะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย เพียงแค่สมมติเราก็พยายามมีความรับผิดชอบ ทำหน้าที่ของเราให้ดี อะไรขาดตกบกพร่อง เราพยาพยามเป็นที่พึ่งตัวเราให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ใช่ว่าจะเอาไปพึ่งกับคนโน้นพึ่งกับคนนี้ พึ่งกับสถานที่นั้นสถานที่นี้ อันนี้มันอาศัยกันได้อยู่ในระดับของสมมติ
แต่หลักธรรมจริงๆ แล้ว เราต้องมาเจริญสติ เป็นที่พึ่งของใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย รู้จักวิธีการสร้างบารมี รู้จักการสร้างบุญ ถ้าเรารู้จักเอาบุญเนี่ย เราเอาได้อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ มีความเกียจคร้านเข้าครอบงำหรือเปล่า เราก็พยายามกำจัด สติเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจเกิดสักกี่เที่ยว เป็นกุศล หรือว่าอกุศล ขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องพยายามดูให้รู้เหตุรู้ผล ฐานการเกิดการดับ เรารู้อยู่ตั้งแต่ว่าเราคิดเราทำ คิดก็รู้ทำก็รู้ มันหลง หลงในความรู้ตรงนั้นอยู่
เพียงแค่การเจริญสตินี้ก็ยังลำบาก ยังทำกันไม่เข้มแข็งเท่าไหร่ มันก็ยากที่จะเข้าหาตัวใจได้แม้แต่ตัวใจแท้ๆ เค้าก็ยังหลอกตัวเอง เข้าข้างตัวเอง แม้แต่สติปัญญาเผลอยังหลุดออกมาเข้าข้างตัวเอง กว่าจะหาความเป็นจริงได้ กว่าจะหาความเป็นกลางได้นี่ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องไม่เกิดต้องให้เหลือตั้งแต่ปัญญาล้วนๆ จึงจะมองเห็นชัดเจน
ก็ต้องพยายามกัน พระเราก็อย่าพากันเกียจคร้าน ชีเราก็อย่าพากันก็อย่าเกียจคร้าน พระเกียจคร้านก็ไม่ดี ชีเกียจคร้านก็ไม่ดี ญาติโยมเกียจคร้านก็ไม่ดี จงเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นบุคคลที่หมั่นฝักใฝ่ในบุญในกุศลอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ถ้าพูดให้ละเอียดลึกลงไปก็จนกระทั่งถึงวันตายนั่นแหละ ปฏิบัติดูตัวเรา แก้ไขตัวเราจนไม่มีอะไรให้แก้ไข จนรอวันธาตุขันธ์แตกดับ กลับไปสู่นิพพาน คือการเกิดไม่มี การตายมี การเกิดไม่มี
แต่เวลานี้เกิดทางกายเนื้อก็เกิดแล้ว เกิดทางด้านจิตวิญญาณ ตั้งแต่เช้ามา เกิดสักกี่ครั้ง เกิดสักกี่เที่ยว ตรงนี้แหละคือความเกิด เรามาดับความเกิด ก่อนที่เราจะดับความเกิดมันสะสางกิเลสออกจากตัวใจของเราอีกมากมาย กิเลสหยาบกิเลสละเอียด นิวรณธรรม มลทินต่างๆ สารพัดอย่าง ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งดำทั้งขาว ทั้งบุญทั้งบาป ละออกให้หมด จะให้สร้างประโยชน์สร้างบุญไม่ยึดติดในบุญ กายของเราก็วางอีก ใจก็วางอีก มันสลับซับซ้อนนะ มันสลับซับซ้อน
เราต้องพยายามทำ ได้เท่าไหร่ก็ทำ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ บุญสมมติเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม บุญวิมุตติการขัดเกลากิเลส สมมติกับวิมุตติ เขาก็เกี่ยวเนื่องกัน เหมือนกับเราจะขึ้นบนบ้าน บ้านก็ต้องอาศัยบันได บันไดก็อาศัยราวบันได ราวบันไดก็อาศัยลูกบันได ประกอบกันเข้าพระพุทธองค์ท่านถึงชี้เหตุชี้ผลตั้งแต่ต้นเหตุ เข้าหาตั้งแต่ต้นเหตุให้ได้ ถึงจะเก่งกาจ ปัญญารู้มากถึงขนาดไหน มันก็รู้เพียงแค่กลางเหตุปลายเหตุ หาต้นสายปลายเหตุไม่เจอ เราก็ต้องพยายามดูตั้งแต่การก่อ การเกิด การร่วม การรวม การทำความเข้าใจ การรับรู้อยู่ภายในเป็นอย่างไร
ใจเป็นธาตุรู้ สติเป็นผู้รู้ แต่เวลานี้ทั้งรู้ทั้งหลงทั้งเกิด ผสมผสานกันอยู่ เราต้องจำแนกแจกแจงให้ได้ว่าอันนี้คือสติที่เราสร้างขึ้นมา การเอาไปควบคุมใจ ใหม่ๆ ก็ควบคุมเลย ใจของคนเรานี้ฝึกได้ไม่ใช่ว่าไม่ฝึกได้ นี่ใจของคนเรามันเร็ว เร็วไวป๊อปแป๊ปๆๆ ขนาดปากพูดอยู่ใจมันก็ไปโน่นไปนี่ ขนาดท่องบทสวดมนต์อยู่ ถ้าไม่ได้ฝึกจริงๆ มันก็ไปตามอัตโนมัติของมัน ถ้าฝึก ฝึกมันก็จะนิ่งขึ้นช้าลงขึ้น มีเหตุมีผล เห็นเหตุเห็นผล เขาถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้ ก็ต้องพยายามกันนะ
พากัน มีอะไรพอช่วยกันได้ก็ช่วย นี่ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลยแต่ละวันๆ อะไรพอมีความเสียสละได้เราก็เสียสละ สิ่งที่พวกเราได้อยู่ได้อาศัยก็เกิดจากอานิสงส์ของคนรุ่นก่อนรุ่นเก่าได้สร้างได้ทำไว้เราก็มาสานต่อ เราก็มาสานต่อ ไปอยู่ที่ไหนก็จะไม่ได้ลำบาก ไม่ใช่ว่าขอให้ฉันได้อยู่ได้กินได้สะดวกสบายอะไรก็ไม่ทำ อะไรก็ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ นี่แหละ ไปที่ไหนถึงบอกพึ่งตัวเองไม่ได้ เพียงแค่ระดับของสมมติก็ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ถ้าด้านจิตใจมันยิ่งเหมือนกับนกอยู่ในกรง วิ่งว่อนอยู่ตลอดเวลา
เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุง มีความสุขใน สิ่งที่เรามีเราเป็น เราก็กระทำให้เกิดประโยชน์เท่าที่จะเกิดประโยชน์ได้ ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์สูงสุด ก็คือพระนิพพาน พยายามทำให้แจ้ง ทำพระนิพพานให้แจ้ง
ขณะพากันสวดวัตร ทำวัตรสวดมนต์ ก็มีเรื่องเดียวนี่แหละ เรื่องกายของเรา เรื่องจิตเรื่องกายของเรานี่แหละ อันโน้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็ไม่เที่ยง ตัวตนเป็นอย่างงั้น ตัวตนเป็นอย่างงี้ ก็มีตั้งแต่กายกับจิตของเรา ที่พากันสวดมนต์เช้าสวดมนต์เย็น
ถ้าเรารู้จักแก้ไขเราก็ดูตั้งแต่ต้นเหตุกลางเหตุ ดับจนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้ดับ จนวางทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติหมด ธรรมชาติของกายเป็นอย่างนี้ ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้
ถ้าเรารู้จักพิจารณา พิจารณาเราก็จะเห็นทุกอย่าง ใจเกิดความอยากก็รู้จักดับ รู้จักละ ละที่นั้นที่นี้เขาก็เหือดแห้งไปเรื่อยๆ เหือดแห้งไปจนมันไม่เหลือ จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ หนุนกำลังสติปัญญาไปอบรมใจทำหน้าที่แทน ไปเกิดแทน ยิ่งสนุกสร้างบุญสร้างอานิสงส์กันมากมาย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ