หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 8 วันที่ 1 มีนาคม 2563 (1/2)
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 8 วันที่ 1 มีนาคม 2563 (1/2)
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 8
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 มีนาคม 2563 (1/2)
ดูดีๆ นะพระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้น รีบวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจ วิเคราะห์ทุกอย่าง ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จนกระทั่งถึงเวลาที่จะขบจะฉัน กายเราหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก รู้จักพิจารณา มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา
ใจเกิดความอยาก หรือว่าเกิดความยินดี หรือผลักไส หรือดึงเข้ามาหรือไม่ อย่าพากันปล่อยปละละเลย ไม่ใช่ว่าจะไปฝึกเฉพาะเวลาเดินเวลานั่ง อันนั้นมันเป็นรูปแบบ ทุกสิ่งทุกอย่างเราก็ต้องดูรู้ อยู่ที่ใจของเรา รีบแก้ไขให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น
อะไรคือปัญญา ก่อนที่จะเป็นปัญญาเราต้องฝึกต้องเจริญสติเข้าไปอบรมใจ จนกำลังสติของเรากลายเป็นมหาสติ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนกลายเป็นปัญญา มหาปัญญา จนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงใจ หรือว่าดวงจิต หรือว่าวิญญาณในกายของเรา
ส่วนมากเราก็มองทั้งก้อนเห็นทั้งก้อนไปทั้งก้อน ทั้งกายทั้งใจเป็นของเราหมด ก็เป็นของเรานั่นแหละในทางสมมติ แต่ในทางธรรมแล้ว ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับต้องเสื่อม ความเสื่อมนั่นแหละที่ท่านว่าไม่เที่ยง เสื่อมทางกายเนื้อ
ทีนี้ความเกิดความดับของวิญญาณของใจ ของความคิด นั่นแหละคือความไม่เที่ยง ส่วนนามธรรมเกิดๆ ดับๆ แต่เราเข้าไม่ลึกเข้าไม่เห็นตรงนั้น แล้วก็ไม่รู้จักพิจารณา ก็เลยได้ทำบุญถวายทานศรัทธา… เดินปัญญายังไม่ถึงฐานที่แท้จริง เราก็ต้องพยายามทำบ่อยๆ วิเคราะห์บ่อยๆ แก้ไขตัวเราบ่อยๆ
ทุกเรื่อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราก็อย่าปล่อยมองข้าม คนทั่วไปจะไปเอาตั้งแต่เรื่องใหญ่เรื่องเล็กไม่สนใจ ถ้าเราจัดการเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่มันก็เกิดไม่ได้ ความคิดก่อตัวเราก็จัดการ ตัวใหญ่มันก็เกิดไม่ได้ ส่วนมากก็ไปเอาปลายเหตุ เหมือนกับเก็บผักตำลึง ปฏิบัติเก็บผักตำลึง เก็บผักบุ้งทำไมถึงพูดอย่างนั้น เด็ดยอดตำลึงยอดเดียวแตกออกตั้ง 4-5 ยอดปกคลุมต่อ นั่นแหละยิ่งหนาขึ้นไปอีก ในหลักธรรมท่านให้ลึกลงไปถึงโคนตำลึง ถอดรากตำลึง ยอดมันก็เหี่ยวแห้งตายไป
ถ้าเราไม่รู้จักวิเคราะห์พิจารณา เราก็ไม่เห็น ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ ความขยันเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากจะนอนหลับ ตื่นขึ้นมาเอาใหม่ จนไม่มีอะไรให้แก้ไข จนดูแลสมมติไปให้อยู่ดีมีความสุข อะไรขาดตกบกพร่องเราก็รีบแก้ไขเสีย
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน อยู่ใกล้อยู่ไกล อยู่คนละทิศละที่ มาอยู่รวมกันก็เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละ ถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มาอยู่ร่วมกันแล้วก็พยายามมาแก้ไขปัญหา จากปัญหาก็มาเป็นภาระ จากภาระก็มาเปลี่ยนเป็นหน้าที่ จากหน้าที่ก็มาทำความเข้าใจ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นให้เต็มเปี่ยม ไม่ใช่ว่ามาสร้างปัญหา มาสร้างเหตุ เหตุให้ปั่นป่วน มาแก้ปัญหาภายในภายนอก แก้ปัญหาตัวเรา แก้ปัญหาสมมติในสิ่งที่เราอยู่ (มันก็) จากหนักก็เป็นเบา จากเบาก็จะมีตั้งแต่ความเจริญรุ่งเรืองในระดับของสมมติวิมุตติ
อะไรที่จะเป็นบุญ บุญใกล้บุญไกล บุญมากบุญน้อยเราก็พยายามรีบทำ อย่าไปมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆ พยายามทำ บุญน้อยบุญมากก็เป็นอานิสงส์ใหญ่สะสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เต็ม
การเจริญภาวนา การวิเคราะห์ การเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ไปอบรมใจ ใจเกิดกิเลส ละกิเลส ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดโกรธ ก็ให้อภัยอโหสิกรรมเลือกเฉพาะส่วนที่ดีๆ
ก่อนที่จะพูด… สิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด พูดเวลานี้หรือพูดเวลานั้นถึงจะเกิดประโยชน์ลึกลงไปความคิด อะไรควรคิดหรือไม่ควรคิด ลึกลงไปอีก ดับความคิด ดับความเกิดตั้งแต่ต้นเหตุ ไม่ให้ใจเกิดไม่ให้ใจคิด หนุนกำลังสติปัญญาไปคิด แม้แต่สติปัญญาคิด ถ้าเป็นอกุศลเราก็ไม่ให้เกิด สมองก็ให้ได้พักผ่อน ใจก็ได้พักผ่อน กายมันก็ได้พักผ่อนไปในตัวเพราะการปล่อยการวาง
สมมติมีอยู่ เคารพสมมติ ทำหน้าที่ของสมมติให้ดี บอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ขัดเกลากิเลสตัวเองไม่ได้ มันก็โดนกิเลสเล่นงานอยู่งั้นแหละ เผาไหม้อยู่ตลอดเวลายังไม่รู้จัก ก็ต้องพยายามกันนะ ตั้งใจรับพร
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 มีนาคม 2563 (1/2)
ดูดีๆ นะพระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้น รีบวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจ วิเคราะห์ทุกอย่าง ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จนกระทั่งถึงเวลาที่จะขบจะฉัน กายเราหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก รู้จักพิจารณา มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจของเรา
ใจเกิดความอยาก หรือว่าเกิดความยินดี หรือผลักไส หรือดึงเข้ามาหรือไม่ อย่าพากันปล่อยปละละเลย ไม่ใช่ว่าจะไปฝึกเฉพาะเวลาเดินเวลานั่ง อันนั้นมันเป็นรูปแบบ ทุกสิ่งทุกอย่างเราก็ต้องดูรู้ อยู่ที่ใจของเรา รีบแก้ไขให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น
อะไรคือปัญญา ก่อนที่จะเป็นปัญญาเราต้องฝึกต้องเจริญสติเข้าไปอบรมใจ จนกำลังสติของเรากลายเป็นมหาสติ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล จนกลายเป็นปัญญา มหาปัญญา จนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในดวงใจ หรือว่าดวงจิต หรือว่าวิญญาณในกายของเรา
ส่วนมากเราก็มองทั้งก้อนเห็นทั้งก้อนไปทั้งก้อน ทั้งกายทั้งใจเป็นของเราหมด ก็เป็นของเรานั่นแหละในทางสมมติ แต่ในทางธรรมแล้ว ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับต้องเสื่อม ความเสื่อมนั่นแหละที่ท่านว่าไม่เที่ยง เสื่อมทางกายเนื้อ
ทีนี้ความเกิดความดับของวิญญาณของใจ ของความคิด นั่นแหละคือความไม่เที่ยง ส่วนนามธรรมเกิดๆ ดับๆ แต่เราเข้าไม่ลึกเข้าไม่เห็นตรงนั้น แล้วก็ไม่รู้จักพิจารณา ก็เลยได้ทำบุญถวายทานศรัทธา… เดินปัญญายังไม่ถึงฐานที่แท้จริง เราก็ต้องพยายามทำบ่อยๆ วิเคราะห์บ่อยๆ แก้ไขตัวเราบ่อยๆ
ทุกเรื่อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราก็อย่าปล่อยมองข้าม คนทั่วไปจะไปเอาตั้งแต่เรื่องใหญ่เรื่องเล็กไม่สนใจ ถ้าเราจัดการเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่มันก็เกิดไม่ได้ ความคิดก่อตัวเราก็จัดการ ตัวใหญ่มันก็เกิดไม่ได้ ส่วนมากก็ไปเอาปลายเหตุ เหมือนกับเก็บผักตำลึง ปฏิบัติเก็บผักตำลึง เก็บผักบุ้งทำไมถึงพูดอย่างนั้น เด็ดยอดตำลึงยอดเดียวแตกออกตั้ง 4-5 ยอดปกคลุมต่อ นั่นแหละยิ่งหนาขึ้นไปอีก ในหลักธรรมท่านให้ลึกลงไปถึงโคนตำลึง ถอดรากตำลึง ยอดมันก็เหี่ยวแห้งตายไป
ถ้าเราไม่รู้จักวิเคราะห์พิจารณา เราก็ไม่เห็น ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ ความขยันเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากจะนอนหลับ ตื่นขึ้นมาเอาใหม่ จนไม่มีอะไรให้แก้ไข จนดูแลสมมติไปให้อยู่ดีมีความสุข อะไรขาดตกบกพร่องเราก็รีบแก้ไขเสีย
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน อยู่ใกล้อยู่ไกล อยู่คนละทิศละที่ มาอยู่รวมกันก็เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละ ถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มาอยู่ร่วมกันแล้วก็พยายามมาแก้ไขปัญหา จากปัญหาก็มาเป็นภาระ จากภาระก็มาเปลี่ยนเป็นหน้าที่ จากหน้าที่ก็มาทำความเข้าใจ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นให้เต็มเปี่ยม ไม่ใช่ว่ามาสร้างปัญหา มาสร้างเหตุ เหตุให้ปั่นป่วน มาแก้ปัญหาภายในภายนอก แก้ปัญหาตัวเรา แก้ปัญหาสมมติในสิ่งที่เราอยู่ (มันก็) จากหนักก็เป็นเบา จากเบาก็จะมีตั้งแต่ความเจริญรุ่งเรืองในระดับของสมมติวิมุตติ
อะไรที่จะเป็นบุญ บุญใกล้บุญไกล บุญมากบุญน้อยเราก็พยายามรีบทำ อย่าไปมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆ พยายามทำ บุญน้อยบุญมากก็เป็นอานิสงส์ใหญ่สะสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เต็ม
การเจริญภาวนา การวิเคราะห์ การเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ไปอบรมใจ ใจเกิดกิเลส ละกิเลส ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดโกรธ ก็ให้อภัยอโหสิกรรมเลือกเฉพาะส่วนที่ดีๆ
ก่อนที่จะพูด… สิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด พูดเวลานี้หรือพูดเวลานั้นถึงจะเกิดประโยชน์ลึกลงไปความคิด อะไรควรคิดหรือไม่ควรคิด ลึกลงไปอีก ดับความคิด ดับความเกิดตั้งแต่ต้นเหตุ ไม่ให้ใจเกิดไม่ให้ใจคิด หนุนกำลังสติปัญญาไปคิด แม้แต่สติปัญญาคิด ถ้าเป็นอกุศลเราก็ไม่ให้เกิด สมองก็ให้ได้พักผ่อน ใจก็ได้พักผ่อน กายมันก็ได้พักผ่อนไปในตัวเพราะการปล่อยการวาง
สมมติมีอยู่ เคารพสมมติ ทำหน้าที่ของสมมติให้ดี บอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ขัดเกลากิเลสตัวเองไม่ได้ มันก็โดนกิเลสเล่นงานอยู่งั้นแหละ เผาไหม้อยู่ตลอดเวลายังไม่รู้จัก ก็ต้องพยายามกันนะ ตั้งใจรับพร