หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 28
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 28
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 28
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 เมษายน 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นวันพระเดือนเมษายน เข้าสู่สงกรานต์ รู้สึกว่าโรคภัยไข้เจ็บระบาดกันหนักเลยทีเดียว ที่ได้ยินข่าวทราบข่าว ก็พยายามดูแลรักษาตัวเรา ไม่ประมาทก็ไม่เป็นไร คงจะเป็นโรควิบากกรรม เป็นการชำระสะสาง เป็นกุศลกับอกุศลต่อสู้กัน ฝ่ายไหนจะมีกำลังแรงกว่ากัน ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็ไม่เป็นไร นั่งหันหลังให้กันอยู่ก็ไม่เป็นไร ถ้ามีวิบากกรรมต่อกัน อยู่ที่ไหนก็ต้องได้พบพาน ได้เจอกัน
อันตรายหลายจังหวัด เห็นว่าติดเชื้อ ติดเชื้อโควิด ขอนแก่นก็เริ่มมาแล้วหลายราย สิบกว่ารายแล้ว ตามที่ได้ยินข่าวฟังข่าว พวกเราก็อย่าพากันประมาท ความประมาทนั่นแหละเป็นอันตราย
รู้จักชีวิตของตัวเรา รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ระวัง สังเกต ทำความเข้าใจ ทั้งสมมติทั้งวิมุตติ การดำเนินชีวิตตามแนวทางของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร เราพยายามปฏิบัติให้เข้าถึง ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ท่านสอนเรื่องการดำเนินชีวิต ทั้งโลกทั้งธรรม ทั้งธรรมทั้งโลก ทั้งสมมติวิมุตติ อัตตาอนัตตา หลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ วิธีการแล้วก็แนวทางคืออริยมรรค คำว่า 'อริยมรรค' คือหนทางเดิน
อริยมรรคในองค์ 8 'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูก เห็นถูก เห็นถูกของพระพุทธเจ้า เห็นถูกในลักษณะอย่างไรท่านถึงบอกว่าเห็นถูก พวกเราก็มองด้วยตาเนื้อ ตาปัญญา เราก็เห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ว่าเห็นถูกจริงๆ นั้น คือการแยกรูปแยกนาม
แยกรูปแยกนาม อะไรกองรูป อะไรกองนาม คลายใจออกจากขันธ์ 5 ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'เห็นถูก' เพียงแค่เริ่มต้น เห็นถูกแล้วก็ตามทำความเข้าใจ ให้รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องความเกิดความดับ รู้เรื่องกิเลสต่างๆ รู้เรื่องการเกิดของจิตของวิญญาณ แล้วก็รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจของตัวเราให้ได้ตลอดเวลา ทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
แต่ส่วนมากเราก็มีอยู่ในระดับของศรัทธากับการทำบุญ ส่วนการเจริญสติที่ต่อเนื่องกันนี้ยังยากลำบากอยู่ เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัยในการทำความเข้าใจ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง อย่าเป็นทาสของกิเลส
จงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ถึงวาระเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของความเป็นจริง กฎของไตรลักษณ์ ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ไม่ได้ไป ถ้าถึงเวลาจะเอาอะไรมาฉุดมารั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่
เราจงเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมตลอดเวลา ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย รู้กายรู้ใจของเราให้ได้ เรารู้อยู่ในภาพรวม แต่เราไม่รู้ลึกลงไปว่า ลักษณะของใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร คิดเราก็รู้ ทำเราก็รู้ เพราะว่าความคิด ความเกิด เขาปิดบังตัวใจเอาไว้อยู่
ใจของคนเรานี้หลง หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด เราก็ว่าเราไม่หลงหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปแยกรูปแยกนามให้ได้ ถึงจะรู้ว่าเราหลง เพียงแค่การสร้างสติให้ต่อเนื่องให้ได้ เราก็จะรู้ทันทีว่า สติที่เรามีอยู่ทุกวันนี้เป็นแค่เพียงสติปกติของโลกีย์ ของสมมติ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปดับทุกข์ที่ใจ อบรมที่ใจของเราได้เลย แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายาม ทำความเข้าใจในสิ่งที่มี ในสิ่งที่เป็น
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้ง 6 ทำหน้าที่อย่างไร คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา คำว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลักษณะอย่างไร เรามาทำบุญให้ทาน ในหลักธรรมจริงๆ ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา แต่ก็ได้บุญได้อานิสงส์ ได้ในสิ่งที่พวกเราทำนั่นก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ได้ แต่ก็ยังดับทุกข์ไม่ได้
สิ่งที่จะดับทุกข์ได้ก็ต้องเจริญปัญญา เจริญปัญญาแยกรูปแยกนาม ละกิเลสเข้าไปอีก สิ่งที่พวกเราทำก็เป็นเข้าพกเข้าห่อ ตั้งแต่ทาน ศีล แล้วก็สมาธิ สมาธิที่เกิดจากการข่มเอาไว้ หรือสมาธิที่รู้แจ้งด้วยปัญญา แล้วก็ค่อยละออกจากใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน ทำได้มากได้น้อยก็อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งเด็ดขาดในการทำบุญ ในการให้ทาน เพราะเป็นพื้นฐาน เสบียงในการเดินทาง
เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่หลุดพ้นจริงๆ ก็ไปต่อเอาภพหน้า เพราะว่าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ ความเกิด เกิดทางกายเนื้อ อันนี้ก็เรียกว่าภพมนุษย์ เกิดทั้งด้านจิตวิญญาณนี่เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งตัวใจ ทั้งอาการของใจ หรือว่าภาษาธรรมะที่ท่านเรียกว่า 'ขันธ์ 5' นั่นแหละ
ขันธ์ 5 มีเป็นกองเป็นขันธ์อย่างไร พวกเรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่พระพุทธองค์ท่านมองเห็นเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นของว่าง ซึ่งมาประกอบกันเข้า มีวิญญาณก็คือตัวใจของเรานั่นล่ะเข้ามาครอบครอง แต่เราก็ต้องรู้แจ้งด้วยสติด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาเท่านั้น ถึงจะรู้ความเป็นจริงตรงนี้ได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศเลยทีเดียว
แต่ละวันๆ เราพยายามสำรวจดูใจของเรา มีความปกติ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีความเห็น มีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน หรือว่ามีความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยากต่างๆ ความยินดียินร้ายในสิ่งต่างๆ เราเคยจำแนกแจกแจงหรือไม่
ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้น กระทั่งเวลารับประทานข้าวปลาอาหาร ความอยากความหิว ความอยาก กายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ทวารทั้ง 6 เขาทำหน้าที่อย่างไร หู ตา จมูก ลิ้น กาย เขาทำหน้าที่ของเขา ซึ่งเป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียงที่เข้าไปถึงใจของเรา เรามีสติคอยตรวจสอบใจของเราหรือไม่
ถ้าใจของเราเกิดความยินดีในสิ่งต่างๆ มีความเกิด เกิดสักกี่เที่ยว เหตุภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน ของดีอยู่ในกายของเรา ค้นคว้าเถอะ ไม่เหลือวิสัยหรอก จะไปวิ่งหาธรรมภายนอกหาไม่เจอ เราต้องเข้าหาที่กายของเรา แล้วก็สร้างให้มีให้เกิดขึ้น สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป มีความกล้าหาญ อาจหาญในกองบุญกองกุศล ในคุณงามความดี รู้จักสำรวมกายของตัวเรา รู้จักสำรวมวาจาของเรา ลึกลงไปก็รู้จักสำรวมใจของเรา อยู่ตลอดเวลา ปรับระบบระเบียบ จัดระบบระเบียบของกาย ของวาจา ของใจ คนทั่วไปวาจาก็ไม่ค่อยจะรักษา กายก็ไม่ค่อยจะรักษา ยิ่งใจก็ยิ่งยากเข้าไปอีก เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัย
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็ใกล้จะถึงวันสงกรานต์ วันนี้วันที่ 10 หรือ 11 วันที่ 11 เนาะ ลืมวันลืมเดือนลืมปี แต่ไม่ลืมดูใจของตัวเอง ดูใจตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด รู้กาย รู้ใจ รู้สมมติ รู้วิมุตติ รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องอะไร แล้วก็เข้าถึงทรัพย์อันนั้น แล้วก็ทำความเข้าใจกับความหมายนั้นๆ เราก็จะเข้าถึงทรัพย์ อย่างความสะอาด ความบริสุทธิ์ของใจ
ใจที่สะอาดปราศจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิด ใจที่ไม่คิดเป็นอย่างไร ใจที่เกิดกิเลส เราละกิเลสได้ระดับไหน เราก็ต้องพยายาม หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดสำรวจ สำรวจกาย สำรวจวาจา สำรวจใจของเรา
ความเกิด ความไม่เที่ยง คำว่า 'ความไม่เที่ยง' ในหลักธรรมที่ว่าไม่เที่ยง อะไรไม่เที่ยง ความเกิด ความดับ ความคิด ไม่เที่ยง เป็นอัตตา อะไรคืออัตตา อนัตตา คำว่า 'อัตตา' คือตัวตน 'อนัตตา' คือความว่างเปล่า แต่ตัวตนของเราก็มีอยู่ ท่านถึงบอกให้ทำความเข้าใจกับสมมติ ร่างกายของเราเป็นก้อนสมมติ ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับ ให้เราตักตวงสร้างประโยชน์ หาประโยชน์ในกายก้อนนี้ให้ได้ รีบตักตวงทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ขณะที่ยังมีกายก้อนนี้อยู่
กายของเรา เราก็ทำหน้าที่ของเขาอยู่ เรารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ จนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ ช่วงที่ยังไม่หมดลมหายใจ เราก็ใช้ให้เกิดประโยชน์ ดูแลรักษาเขาให้ดีที่สุด ถึงเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ใจกับกายก็ต้องได้พลัดพรากจากกันคือความตาย กายของเราก็กลับคืนสู่สภาพเดิม คือดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุ 4 แต่ก็มาหล่อหลอมรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีหนังห่อหุ้มเอาไว้ แล้วก็มีวิญญาณคือตัวใจมาครอบครอง ครอบครองยังไม่พอ มายึด มายึดว่าเป็นตัวตนจริงๆ แต่ก็เป็นตัวตนจริงๆ นั่นแหละทางสมมติ
แต่ในทางวิมุตติเราต้องเจริญสติปัญญาเข้าไปพิจารณา เห็นการแยกการคลาย เห็นการรวมกันอยู่ แต่ไม่ให้ใจของเราเข้าไปหลง เข้าไปยึด ถึงรู้จักจุดปล่อยจุดวางได้ วาง ว่างจากการเกิด วาง ว่างจากกิเลส กิเลสของเรายังเยอะ เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ตั้งแต่การทำบุญ การให้ทาน เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไป
ใจเกิดความโลภก็ละความโลภ ใจเกิดความโกรธก็ละความโกรธ ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราก็ค่อยขัด ค่อยเกลา ค่อยละออกไปเรื่อยๆ ใจก็จะเบาบางลงไป ก็อยู่ในกองบุญกองกุศล จนกว่าใจเราจะดับความเกิดได้นั่นแหละ ถึงจะไม่ได้กลับมาเกิด แต่เรายิ่งละกิเลสได้มากเท่าไหร่ ยิ่งดับกิเลส ดับความเกิดได้มากเท่าไหร่ เรายิ่งสนุกทำ ทำบุญทำทาน ให้ทำด้วยสติ ทำด้วยปัญญา ทำเพื่อให้สมมติของเราอยู่ดีมีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ ทุกเรื่องที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสิ่งต่างๆ
อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง บุญสมมติเราก็ทำ ส่วนการขัดกิเลสเราก็ทำ แนวทางคำสอนของพระพุทธองค์นั้นยังอยู่ การเจริญสติ คำว่า 'สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน' เป็นลักษณะอย่างนี้ การดับ การละ การแยก การคลาย อริยมรรคในองค์ 8 หนทางการเดินนั้นท่านบัญญัติเอาไว้
เราพยายามทำความเข้าใจ ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้มีศรัทธา แล้วก็ให้เชื่อด้วยปัญญา ให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกิดแต่เหตุ เหตุความเกิด ความดับของจิต จิตใจ วิญญาณ หรือความเกิดความดับของใจของเราซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ความเกิดของกายเนื้อก็คือร่างกายของเราก็ได้เกิดมาแล้ว ตั้งแต่เด็กเขาก็ค่อยพัฒนาขึ้นมา เป็นเด็ก เด็กโต เด็กใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ มีความเจริญเติบโต แต่ในหลักธรรมท่านว่ามีความเสื่อม เสื่อมอยู่ตลอดเวลา เสื่อมลงไปจนกระทั่งสลายกลับคืนสู่สภาพเดิม คือดิน น้ำ ลม ไฟ
แต่ปัญญาของเรายังไม่ทะลุปรุโปร่งถึงขนาดนั้น ก็ยังมองไม่เห็น เราก็ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ ชี้เหตุชี้ผล แยก คลาย ตามดู ที่ท่านว่าเป็นก้อน เป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นอนัตตา ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นเป็นอัตตา 'อัตตา' หมายถึงคำว่าตัวตน 'อนัตตา' หมายถึงคำว่าความว่างเปล่า ท่านให้มองด้วยปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริง
อริยสัจ ความเกิดความดับของจิตวิญญาณของเรา มีอยู่กันทุกคน เราก็รู้อยู่แต่เรายังแยกไม่ได้ ละไม่ได้ ชี้เหตุชี้ผลไม่ได้ ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ไม่ได้สูญหาย เราสร้างบุญสร้างกุศลเอาไว้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้น ทำบุญให้กับตัวเรา เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีความเสียสละ เราละความเห็นแก่ตัวได้หรือไม่ เรารู้จักอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ เกิด แก่ เจ็บ ตายหรือไม่ เราอนุเคราะห์ให้กับตัวเองหรือเปล่า เอาจากข้างในก็ล้นสู่ภายนอก ให้ข้างในของเราให้เต็ม อย่าไปเที่ยวอคติที่โน่นที่นี่ เพ่งโทษที่โน่นที่นี่
คำว่า 'ศีล' ศีลอยู่ในระดับไหน ระดับกาย กายของเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น คำว่า 'ปกติ' ใจของเราปกติ ไม่ได้คิดอคติ ไม่ได้คิดเพ่งโทษ วาจาของเราก็ไม่ได้พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดสิ่งไร้สาระ อย่างนี้เขาก็เรียกว่า 'ศีล ' เราก็ต้องให้เข้าถึงความหมายนั้นๆ
เราก็ต้องรู้จักรักษาสมาธิ ใจที่สงบเป็นอย่างไร ด้วยการข่มเอาไว้ หรือด้วยการจำแนกแจกแจง รู้เห็นตามความเป็นจริง จนใจของเราปล่อยวาง ว่างด้วยปัญญา เป็นสมาธิด้วยปัญญา สมาธิที่ปราศจากกิเลส
ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่ในกายของเราหมด ขอให้เราฝักใฝ่สนใจ ทำความเข้าใจ สักวันหนึ่งเราก็จะรู้ รู้ความหมายแล้วก็เข้าถึงความหมายนั้นๆ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง ว่ามันยากมันลำบาก มันไม่ยากหรอก มันอาจจะยากตั้งแต่ช่วงใหม่ๆ ช่วงที่ยังไม่เข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว ถ้าจิตของเราตกกระแสธรรมแล้ว เราก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ
ใจที่เป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากกิเลส ใจที่สะอาด ใจที่บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิด ช่วงใหม่ๆ นี้การเกิดของใจก็มีกันทุกคน มีเยอะ เกิดทั้งตัวใจเกิด ทั้งขันธ์ 5 เกิด สติปัญญาเกิด รวมกันไป ถ้าเรารู้จักจำแนกแจกแจงแล้ว เมื่อใจรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว เขาก็ไม่เกิด เอาอะไรมาฉุดเขาก็ไม่เกิด คือไม่คิด ไม่คิด เขาเรียกว่าไม่เกิด
ความเกิด เราก็จะมองเห็นด้วยตัวเอง เข้าใจด้วยตัวเอง มีความเห็นถูก เห็นถูกตั้งแต่ข้อแรก สัมมาทิฏฐิ คือการแยกรูปแยกนาม เห็นถูก พูดจาถูก ดำริถูก ทำการทำงานชอบในสิ่งที่ชอบ มันก็จะถูกไปหมดตั้งแต่แรก ถ้าคนเรายังแยกแยะไม่ได้ก็เป็นการเห็นผิด อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ยังเห็นผิดภายใน คือใจยังไม่ได้แยก ได้คลาย ตรงนี้แหละสำคัญ แต่ก็ให้ถูกสมมติ ก็ให้ถูกเอาไว้ ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ไม่ได้สูญหายไปไหนหรอก ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย
ขณะที่เรายังมีกำลังมีลมหายใจ มีโอกาส เราได้สร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันได้ แต่การละกิเลสนี่ก็ต้องของใครของมัน ไม่ใช่ว่าจะไปเที่ยวให้คนโน้นเขาละให้ คนนี้เขาละให้ เราต้องละเอา กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราต้องสำรวจทุกอย่าง ทุกเรื่อง แล้วก็รู้ลงที่ใจของเราเป็นหลัก
ทำใจของเราให้เป็นกลาง คือความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง นั่นแหละคือความถูกต้องที่แท้จริง ถึงเราจัดการกับใจของเราไม่ได้ ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ก็ไม่สูญหายไปไหนหรอก ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนจงไหว้พระพร้อมๆ กัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 เมษายน 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นวันพระเดือนเมษายน เข้าสู่สงกรานต์ รู้สึกว่าโรคภัยไข้เจ็บระบาดกันหนักเลยทีเดียว ที่ได้ยินข่าวทราบข่าว ก็พยายามดูแลรักษาตัวเรา ไม่ประมาทก็ไม่เป็นไร คงจะเป็นโรควิบากกรรม เป็นการชำระสะสาง เป็นกุศลกับอกุศลต่อสู้กัน ฝ่ายไหนจะมีกำลังแรงกว่ากัน ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็ไม่เป็นไร นั่งหันหลังให้กันอยู่ก็ไม่เป็นไร ถ้ามีวิบากกรรมต่อกัน อยู่ที่ไหนก็ต้องได้พบพาน ได้เจอกัน
อันตรายหลายจังหวัด เห็นว่าติดเชื้อ ติดเชื้อโควิด ขอนแก่นก็เริ่มมาแล้วหลายราย สิบกว่ารายแล้ว ตามที่ได้ยินข่าวฟังข่าว พวกเราก็อย่าพากันประมาท ความประมาทนั่นแหละเป็นอันตราย
รู้จักชีวิตของตัวเรา รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ระวัง สังเกต ทำความเข้าใจ ทั้งสมมติทั้งวิมุตติ การดำเนินชีวิตตามแนวทางของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอะไร เราพยายามปฏิบัติให้เข้าถึง ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ท่านสอนเรื่องการดำเนินชีวิต ทั้งโลกทั้งธรรม ทั้งธรรมทั้งโลก ทั้งสมมติวิมุตติ อัตตาอนัตตา หลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ วิธีการแล้วก็แนวทางคืออริยมรรค คำว่า 'อริยมรรค' คือหนทางเดิน
อริยมรรคในองค์ 8 'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูก เห็นถูก เห็นถูกของพระพุทธเจ้า เห็นถูกในลักษณะอย่างไรท่านถึงบอกว่าเห็นถูก พวกเราก็มองด้วยตาเนื้อ ตาปัญญา เราก็เห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ว่าเห็นถูกจริงๆ นั้น คือการแยกรูปแยกนาม
แยกรูปแยกนาม อะไรกองรูป อะไรกองนาม คลายใจออกจากขันธ์ 5 ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'เห็นถูก' เพียงแค่เริ่มต้น เห็นถูกแล้วก็ตามทำความเข้าใจ ให้รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องความเกิดความดับ รู้เรื่องกิเลสต่างๆ รู้เรื่องการเกิดของจิตของวิญญาณ แล้วก็รู้จักขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจของตัวเราให้ได้ตลอดเวลา ทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
แต่ส่วนมากเราก็มีอยู่ในระดับของศรัทธากับการทำบุญ ส่วนการเจริญสติที่ต่อเนื่องกันนี้ยังยากลำบากอยู่ เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัยในการทำความเข้าใจ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง อย่าเป็นทาสของกิเลส
จงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ถึงวาระเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของความเป็นจริง กฎของไตรลักษณ์ ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ไม่ได้ไป ถ้าถึงเวลาจะเอาอะไรมาฉุดมารั้งเอาไว้ก็ไม่อยู่
เราจงเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมตลอดเวลา ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย รู้กายรู้ใจของเราให้ได้ เรารู้อยู่ในภาพรวม แต่เราไม่รู้ลึกลงไปว่า ลักษณะของใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร คิดเราก็รู้ ทำเราก็รู้ เพราะว่าความคิด ความเกิด เขาปิดบังตัวใจเอาไว้อยู่
ใจของคนเรานี้หลง หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด เราก็ว่าเราไม่หลงหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปแยกรูปแยกนามให้ได้ ถึงจะรู้ว่าเราหลง เพียงแค่การสร้างสติให้ต่อเนื่องให้ได้ เราก็จะรู้ทันทีว่า สติที่เรามีอยู่ทุกวันนี้เป็นแค่เพียงสติปกติของโลกีย์ ของสมมติ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปดับทุกข์ที่ใจ อบรมที่ใจของเราได้เลย แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายาม ทำความเข้าใจในสิ่งที่มี ในสิ่งที่เป็น
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้ง 6 ทำหน้าที่อย่างไร คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา คำว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลักษณะอย่างไร เรามาทำบุญให้ทาน ในหลักธรรมจริงๆ ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา แต่ก็ได้บุญได้อานิสงส์ ได้ในสิ่งที่พวกเราทำนั่นก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ได้ แต่ก็ยังดับทุกข์ไม่ได้
สิ่งที่จะดับทุกข์ได้ก็ต้องเจริญปัญญา เจริญปัญญาแยกรูปแยกนาม ละกิเลสเข้าไปอีก สิ่งที่พวกเราทำก็เป็นเข้าพกเข้าห่อ ตั้งแต่ทาน ศีล แล้วก็สมาธิ สมาธิที่เกิดจากการข่มเอาไว้ หรือสมาธิที่รู้แจ้งด้วยปัญญา แล้วก็ค่อยละออกจากใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน ทำได้มากได้น้อยก็อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งเด็ดขาดในการทำบุญ ในการให้ทาน เพราะเป็นพื้นฐาน เสบียงในการเดินทาง
เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่หลุดพ้นจริงๆ ก็ไปต่อเอาภพหน้า เพราะว่าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ ความเกิด เกิดทางกายเนื้อ อันนี้ก็เรียกว่าภพมนุษย์ เกิดทั้งด้านจิตวิญญาณนี่เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งตัวใจ ทั้งอาการของใจ หรือว่าภาษาธรรมะที่ท่านเรียกว่า 'ขันธ์ 5' นั่นแหละ
ขันธ์ 5 มีเป็นกองเป็นขันธ์อย่างไร พวกเรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่พระพุทธองค์ท่านมองเห็นเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นของว่าง ซึ่งมาประกอบกันเข้า มีวิญญาณก็คือตัวใจของเรานั่นล่ะเข้ามาครอบครอง แต่เราก็ต้องรู้แจ้งด้วยสติด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาเท่านั้น ถึงจะรู้ความเป็นจริงตรงนี้ได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศเลยทีเดียว
แต่ละวันๆ เราพยายามสำรวจดูใจของเรา มีความปกติ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกระด้าง หรือว่ามีความเห็น มีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน หรือว่ามีความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยากต่างๆ ความยินดียินร้ายในสิ่งต่างๆ เราเคยจำแนกแจกแจงหรือไม่
ทุกเรื่องในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้น กระทั่งเวลารับประทานข้าวปลาอาหาร ความอยากความหิว ความอยาก กายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ทวารทั้ง 6 เขาทำหน้าที่อย่างไร หู ตา จมูก ลิ้น กาย เขาทำหน้าที่ของเขา ซึ่งเป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียงที่เข้าไปถึงใจของเรา เรามีสติคอยตรวจสอบใจของเราหรือไม่
ถ้าใจของเราเกิดความยินดีในสิ่งต่างๆ มีความเกิด เกิดสักกี่เที่ยว เหตุภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน ของดีอยู่ในกายของเรา ค้นคว้าเถอะ ไม่เหลือวิสัยหรอก จะไปวิ่งหาธรรมภายนอกหาไม่เจอ เราต้องเข้าหาที่กายของเรา แล้วก็สร้างให้มีให้เกิดขึ้น สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป มีความกล้าหาญ อาจหาญในกองบุญกองกุศล ในคุณงามความดี รู้จักสำรวมกายของตัวเรา รู้จักสำรวมวาจาของเรา ลึกลงไปก็รู้จักสำรวมใจของเรา อยู่ตลอดเวลา ปรับระบบระเบียบ จัดระบบระเบียบของกาย ของวาจา ของใจ คนทั่วไปวาจาก็ไม่ค่อยจะรักษา กายก็ไม่ค่อยจะรักษา ยิ่งใจก็ยิ่งยากเข้าไปอีก เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัย
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็ใกล้จะถึงวันสงกรานต์ วันนี้วันที่ 10 หรือ 11 วันที่ 11 เนาะ ลืมวันลืมเดือนลืมปี แต่ไม่ลืมดูใจของตัวเอง ดูใจตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด รู้กาย รู้ใจ รู้สมมติ รู้วิมุตติ รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องอะไร แล้วก็เข้าถึงทรัพย์อันนั้น แล้วก็ทำความเข้าใจกับความหมายนั้นๆ เราก็จะเข้าถึงทรัพย์ อย่างความสะอาด ความบริสุทธิ์ของใจ
ใจที่สะอาดปราศจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิด ใจที่ไม่คิดเป็นอย่างไร ใจที่เกิดกิเลส เราละกิเลสได้ระดับไหน เราก็ต้องพยายาม หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดสำรวจ สำรวจกาย สำรวจวาจา สำรวจใจของเรา
ความเกิด ความไม่เที่ยง คำว่า 'ความไม่เที่ยง' ในหลักธรรมที่ว่าไม่เที่ยง อะไรไม่เที่ยง ความเกิด ความดับ ความคิด ไม่เที่ยง เป็นอัตตา อะไรคืออัตตา อนัตตา คำว่า 'อัตตา' คือตัวตน 'อนัตตา' คือความว่างเปล่า แต่ตัวตนของเราก็มีอยู่ ท่านถึงบอกให้ทำความเข้าใจกับสมมติ ร่างกายของเราเป็นก้อนสมมติ ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกต้องดับ ให้เราตักตวงสร้างประโยชน์ หาประโยชน์ในกายก้อนนี้ให้ได้ รีบตักตวงทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ขณะที่ยังมีกายก้อนนี้อยู่
กายของเรา เราก็ทำหน้าที่ของเขาอยู่ เรารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ จนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ ช่วงที่ยังไม่หมดลมหายใจ เราก็ใช้ให้เกิดประโยชน์ ดูแลรักษาเขาให้ดีที่สุด ถึงเวลาก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ใจกับกายก็ต้องได้พลัดพรากจากกันคือความตาย กายของเราก็กลับคืนสู่สภาพเดิม คือดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุ 4 แต่ก็มาหล่อหลอมรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีหนังห่อหุ้มเอาไว้ แล้วก็มีวิญญาณคือตัวใจมาครอบครอง ครอบครองยังไม่พอ มายึด มายึดว่าเป็นตัวตนจริงๆ แต่ก็เป็นตัวตนจริงๆ นั่นแหละทางสมมติ
แต่ในทางวิมุตติเราต้องเจริญสติปัญญาเข้าไปพิจารณา เห็นการแยกการคลาย เห็นการรวมกันอยู่ แต่ไม่ให้ใจของเราเข้าไปหลง เข้าไปยึด ถึงรู้จักจุดปล่อยจุดวางได้ วาง ว่างจากการเกิด วาง ว่างจากกิเลส กิเลสของเรายังเยอะ เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ตั้งแต่การทำบุญ การให้ทาน เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไป
ใจเกิดความโลภก็ละความโลภ ใจเกิดความโกรธก็ละความโกรธ ใจเกิดกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราก็ค่อยขัด ค่อยเกลา ค่อยละออกไปเรื่อยๆ ใจก็จะเบาบางลงไป ก็อยู่ในกองบุญกองกุศล จนกว่าใจเราจะดับความเกิดได้นั่นแหละ ถึงจะไม่ได้กลับมาเกิด แต่เรายิ่งละกิเลสได้มากเท่าไหร่ ยิ่งดับกิเลส ดับความเกิดได้มากเท่าไหร่ เรายิ่งสนุกทำ ทำบุญทำทาน ให้ทำด้วยสติ ทำด้วยปัญญา ทำเพื่อให้สมมติของเราอยู่ดีมีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นจนกระทั่งนอนหลับ ทุกเรื่องที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสิ่งต่างๆ
อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง บุญสมมติเราก็ทำ ส่วนการขัดกิเลสเราก็ทำ แนวทางคำสอนของพระพุทธองค์นั้นยังอยู่ การเจริญสติ คำว่า 'สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน' เป็นลักษณะอย่างนี้ การดับ การละ การแยก การคลาย อริยมรรคในองค์ 8 หนทางการเดินนั้นท่านบัญญัติเอาไว้
เราพยายามทำความเข้าใจ ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้มีศรัทธา แล้วก็ให้เชื่อด้วยปัญญา ให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนเกิดแต่เหตุ เหตุความเกิด ความดับของจิต จิตใจ วิญญาณ หรือความเกิดความดับของใจของเราซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม ความเกิดของกายเนื้อก็คือร่างกายของเราก็ได้เกิดมาแล้ว ตั้งแต่เด็กเขาก็ค่อยพัฒนาขึ้นมา เป็นเด็ก เด็กโต เด็กใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ มีความเจริญเติบโต แต่ในหลักธรรมท่านว่ามีความเสื่อม เสื่อมอยู่ตลอดเวลา เสื่อมลงไปจนกระทั่งสลายกลับคืนสู่สภาพเดิม คือดิน น้ำ ลม ไฟ
แต่ปัญญาของเรายังไม่ทะลุปรุโปร่งถึงขนาดนั้น ก็ยังมองไม่เห็น เราก็ต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธองค์ ชี้เหตุชี้ผล แยก คลาย ตามดู ที่ท่านว่าเป็นก้อน เป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นอนัตตา ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นเป็นอัตตา 'อัตตา' หมายถึงคำว่าตัวตน 'อนัตตา' หมายถึงคำว่าความว่างเปล่า ท่านให้มองด้วยปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริง
อริยสัจ ความเกิดความดับของจิตวิญญาณของเรา มีอยู่กันทุกคน เราก็รู้อยู่แต่เรายังแยกไม่ได้ ละไม่ได้ ชี้เหตุชี้ผลไม่ได้ ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ไม่ได้สูญหาย เราสร้างบุญสร้างกุศลเอาไว้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้น ทำบุญให้กับตัวเรา เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีความเสียสละ เราละความเห็นแก่ตัวได้หรือไม่ เรารู้จักอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ เกิด แก่ เจ็บ ตายหรือไม่ เราอนุเคราะห์ให้กับตัวเองหรือเปล่า เอาจากข้างในก็ล้นสู่ภายนอก ให้ข้างในของเราให้เต็ม อย่าไปเที่ยวอคติที่โน่นที่นี่ เพ่งโทษที่โน่นที่นี่
คำว่า 'ศีล' ศีลอยู่ในระดับไหน ระดับกาย กายของเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น คำว่า 'ปกติ' ใจของเราปกติ ไม่ได้คิดอคติ ไม่ได้คิดเพ่งโทษ วาจาของเราก็ไม่ได้พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดสิ่งไร้สาระ อย่างนี้เขาก็เรียกว่า 'ศีล ' เราก็ต้องให้เข้าถึงความหมายนั้นๆ
เราก็ต้องรู้จักรักษาสมาธิ ใจที่สงบเป็นอย่างไร ด้วยการข่มเอาไว้ หรือด้วยการจำแนกแจกแจง รู้เห็นตามความเป็นจริง จนใจของเราปล่อยวาง ว่างด้วยปัญญา เป็นสมาธิด้วยปัญญา สมาธิที่ปราศจากกิเลส
ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่ในกายของเราหมด ขอให้เราฝักใฝ่สนใจ ทำความเข้าใจ สักวันหนึ่งเราก็จะรู้ รู้ความหมายแล้วก็เข้าถึงความหมายนั้นๆ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง ว่ามันยากมันลำบาก มันไม่ยากหรอก มันอาจจะยากตั้งแต่ช่วงใหม่ๆ ช่วงที่ยังไม่เข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว ถ้าจิตของเราตกกระแสธรรมแล้ว เราก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ
ใจที่เป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากกิเลส ใจที่สะอาด ใจที่บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิด ช่วงใหม่ๆ นี้การเกิดของใจก็มีกันทุกคน มีเยอะ เกิดทั้งตัวใจเกิด ทั้งขันธ์ 5 เกิด สติปัญญาเกิด รวมกันไป ถ้าเรารู้จักจำแนกแจกแจงแล้ว เมื่อใจรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว เขาก็ไม่เกิด เอาอะไรมาฉุดเขาก็ไม่เกิด คือไม่คิด ไม่คิด เขาเรียกว่าไม่เกิด
ความเกิด เราก็จะมองเห็นด้วยตัวเอง เข้าใจด้วยตัวเอง มีความเห็นถูก เห็นถูกตั้งแต่ข้อแรก สัมมาทิฏฐิ คือการแยกรูปแยกนาม เห็นถูก พูดจาถูก ดำริถูก ทำการทำงานชอบในสิ่งที่ชอบ มันก็จะถูกไปหมดตั้งแต่แรก ถ้าคนเรายังแยกแยะไม่ได้ก็เป็นการเห็นผิด อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ยังเห็นผิดภายใน คือใจยังไม่ได้แยก ได้คลาย ตรงนี้แหละสำคัญ แต่ก็ให้ถูกสมมติ ก็ให้ถูกเอาไว้ ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ไม่ได้สูญหายไปไหนหรอก ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย
ขณะที่เรายังมีกำลังมีลมหายใจ มีโอกาส เราได้สร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันได้ แต่การละกิเลสนี่ก็ต้องของใครของมัน ไม่ใช่ว่าจะไปเที่ยวให้คนโน้นเขาละให้ คนนี้เขาละให้ เราต้องละเอา กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราต้องสำรวจทุกอย่าง ทุกเรื่อง แล้วก็รู้ลงที่ใจของเราเป็นหลัก
ทำใจของเราให้เป็นกลาง คือความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง นั่นแหละคือความถูกต้องที่แท้จริง ถึงเราจัดการกับใจของเราไม่ได้ ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ก็ไม่สูญหายไปไหนหรอก ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนจงไหว้พระพร้อมๆ กัน