หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 27
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 27
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 27
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 10 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสีย อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง อย่าไปรอเวลโน้นรอเวลานี้
ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ความรู้ตัว รู้กาย รู้การหายใจเข้าออก ให้เกิดความเคยชิน ให้เกิดความชำนาญ ลึกลงไปเราก็จะรู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับของใจ
ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ซึ่งเรียกว่า 'ความคิด' ของเรานั่นแหละ ความคิดของเรามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากอาการของขันธ์ 5 บางทีอยู่เฉยๆ ความคิดผุดขึ้นมา ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมจนเป็นสิ่งเดียวกัน ในเมื่อเขาไปรวมแล้วนั่นแหละ เราถึงรู้ว่าเราคิด ทั้งที่ใจก็ไปหลงไปรวมกับขันธ์ 5 ก็เลยทำให้เกิดอัตตาตัวตน เกิดทิฐิมานะ เกิดกิเลสสารพัดอย่าง เพราะว่าการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ 5 ก็รวมกันอยู่
ในหลักธรรมจริงๆ ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ หลงมาสร้างภพมนุษย์คือร่างกายของเรานี้ขึ้นมา
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายให้ได้ ให้ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ให้ทันการเกิดของใจ เห็นการเกิดของใจ เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย การตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง แต่เวลานี้ผู้รู้หรือว่าสติของเรามีกำลังไม่เพียงพอ เราก็จะไปเอาตั้งแต่ปัญญาของโลกีย์ ปัญญาที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ 5 มาคิด มาพิจารณา ถึงจะคิดถึงจะพิจารณาในธรรม มันก็ยังเป็นกิเลสธรรม ยังปิดกั้นตัวเองเอาไว้อยู่
นอกจากบุคคลที่รู้จักลักษณะของสติ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ เราควรจะแก้ไขใจของเราอย่างไร ใจของเราถึงจะเบาบางจากกิเลส
ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการช่วยเหลืออนุเคราะห์ ด้วยการบริจาค ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามดับความโกรธ ด้วยการให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร เรามีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามละความเห็นแก่ตัวออกจากใจของเรา ใจของเราถึงจะเบาบาง เบาบางจากกิเลส
ไม่เป็นบุคคลที่มีมารยาสาไถย เป็นบุคคลที่พูดจริง ทำจริง มีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์ มีสัจจะกับตัวเรา มีพรหมวิหาร มีความเมตตา หมั่นแก้ไข หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา
รู้จักทำความเข้าใจกับทวารทั้ง 6 รู้จักแยกรูป รส กลิ่น เสียง ออกจากใจของเรา จนลึกลงไปเห็นอาการของใจที่แท้จริง ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ 5 แยกรูปแยกนาม ที่ท่านเรียกว่า'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูก นี่แหละเห็นถูกในหลักธรรม ไม่ใช่ว่าคิดเอาเออเองเอา เราเห็นถูกแยกได้คลายได้ ใจหงายขึ้นมาได้ ถึงจะเรียกว่า 'เห็นถูก'
เห็นถูกเพียงแค่แยกได้ยังไม่พอ เราต้องทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับ เราก็จะรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ที่เรียกว่า เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดๆ ดับๆ นั่นแหละเขาเรียกว่าอันนี้ร่างกายของเรานี้เป็น 'กองรูป' ส่วนความคิดนั้นเป็น 'กองนาม' มีอยู่หลายเรื่อง เรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
ถ้าใจเราคลายออก มองเห็นใจของเรา ถ้าใจเกิดส่งออกไปภายนอก เราก็ใช้สมถะเข้าไปดับ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับ รู้จักแก้ไข ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่านานๆ ทีถึงจะไปอบรมที ไปควบคุมที อย่างนั้นเราก็ไม่ทันกิเลสเขาหรอก กิเลสเขาก็เล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา
ตัวใจเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเอาไว้เหมือนกัน ขันธ์ 5 เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเหมือนกัน กิเลส กิเลสทั้งฝ่ายดีทั้งฝ่ายไม่ดี ทุกเรื่อง ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เราก็ต้องพยายามหมั่นชี้เหตุชี้ผล เป็นบุคคลที่มีเหตุมีผล เดินตามทางของพระพุทธองค์จนหมดความสงสัย หมดความลังเล จนกระทั่งขัดเกลากิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ออกจากจิตจากใจของเราให้มันหมดจดทุกเรื่อง ให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้ ในขณะที่เรายังมีกำลัง ยังมีลมหายใจ
แนวทางนั้นมีมาตั้งนานแล้ว ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ น้อมนำมาเปิดเผย คือเรื่องหลักของอริยสัจ อริยมรรคในองค์ 8 หนทางเดิน ทำความเข้าใจนิวรณธรรม มลทิน เป็นเครื่องการกั้นใจของเราไม่ให้ได้รับความสงบ
ท่านบัญญัติชี้เหตุชี้ผลเอาไว้หมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะทำให้มีให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา แล้วก็ดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวของเรา ขึ้นอยู่ที่กำลังสติปัญญาของเรา กำลังอานิสงส์บุญของเรา
ถ้าเราจะมัวเอาตั้งแต่ความเกียจคร้าน เห็นแก่ตัว มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไม่รู้จักทำความเข้าใจ ไปอยู่ที่ไหนเราก็จะไม่เข้าใจ หนักตัวเอง แล้วก็หนักคนอื่น แล้วก็หนักสถานที่
ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว ตื่นขึ้นมาเราก็รีบ รีบดูกายของเรา รีบดูใจของเรา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ ถ้าเราทำ เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ มันก็เหมือนเดิม ปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ ก็เหมือนเดิม ก็ได้แต่ลูบๆ คลำๆ อยู่ที่เปลือก อยู่ที่กระพี้ ไม่ยอมเข้าถึงแก่นสักที ก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ใหม่ซึ่งเรียกว่าเป็น 'ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน' อยู่ตลอดเวลา เราทำความเข้าใจทุกเรื่อง คำว่า 'ศีล' ศีลระดับไหน ระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ศีลสมมติ ศีลวิมุตติ ศีลสังคม อธิจิต อธิศีล อธิวินัย เราต้องดูที่ใจของเราเป็นหลัก
หาความเป็นกลาง เครื่องตัดสินคือความว่าง ใจเราว่างจากการเกิดแล้วหรือยัง ว่างจากกิเลสแล้วหรือยัง ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นแล้วหรือยัง เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราละได้แล้วหรือยัง
แม้แต่วาจาเราก็ยังไม่รู้จักควบคุม กายของเราก็ยังไม่รู้จักควบคุม เราจะไปควบคุมใจของเราได้ยังไง เพียงแค่ปลายเหตุเราก็ยังรักษาได้ยากอยู่ ก็ต้องพยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ทุกคนมีโอกาสหมดนั่นแหละ ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 10 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสีย อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง อย่าไปรอเวลโน้นรอเวลานี้
ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ความรู้ตัว รู้กาย รู้การหายใจเข้าออก ให้เกิดความเคยชิน ให้เกิดความชำนาญ ลึกลงไปเราก็จะรู้ความปกติของใจ รู้การเกิดการดับ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับของใจ
ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ซึ่งเรียกว่า 'ความคิด' ของเรานั่นแหละ ความคิดของเรามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากอาการของขันธ์ 5 บางทีอยู่เฉยๆ ความคิดผุดขึ้นมา ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมจนเป็นสิ่งเดียวกัน ในเมื่อเขาไปรวมแล้วนั่นแหละ เราถึงรู้ว่าเราคิด ทั้งที่ใจก็ไปหลงไปรวมกับขันธ์ 5 ก็เลยทำให้เกิดอัตตาตัวตน เกิดทิฐิมานะ เกิดกิเลสสารพัดอย่าง เพราะว่าการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ 5 ก็รวมกันอยู่
ในหลักธรรมจริงๆ ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เขาหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ หลงมาสร้างภพมนุษย์คือร่างกายของเรานี้ขึ้นมา
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายให้ได้ ให้ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ให้ทันการเกิดของใจ เห็นการเกิดของใจ เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย การตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง แต่เวลานี้ผู้รู้หรือว่าสติของเรามีกำลังไม่เพียงพอ เราก็จะไปเอาตั้งแต่ปัญญาของโลกีย์ ปัญญาที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ 5 มาคิด มาพิจารณา ถึงจะคิดถึงจะพิจารณาในธรรม มันก็ยังเป็นกิเลสธรรม ยังปิดกั้นตัวเองเอาไว้อยู่
นอกจากบุคคลที่รู้จักลักษณะของสติ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ ใจที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ เราควรจะแก้ไขใจของเราอย่างไร ใจของเราถึงจะเบาบางจากกิเลส
ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการช่วยเหลืออนุเคราะห์ ด้วยการบริจาค ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามดับความโกรธ ด้วยการให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร เรามีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามละความเห็นแก่ตัวออกจากใจของเรา ใจของเราถึงจะเบาบาง เบาบางจากกิเลส
ไม่เป็นบุคคลที่มีมารยาสาไถย เป็นบุคคลที่พูดจริง ทำจริง มีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์ มีสัจจะกับตัวเรา มีพรหมวิหาร มีความเมตตา หมั่นแก้ไข หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา
รู้จักทำความเข้าใจกับทวารทั้ง 6 รู้จักแยกรูป รส กลิ่น เสียง ออกจากใจของเรา จนลึกลงไปเห็นอาการของใจที่แท้จริง ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนาม ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ 5 แยกรูปแยกนาม ที่ท่านเรียกว่า'สัมมาทิฏฐิ' ความเห็นถูก นี่แหละเห็นถูกในหลักธรรม ไม่ใช่ว่าคิดเอาเออเองเอา เราเห็นถูกแยกได้คลายได้ ใจหงายขึ้นมาได้ ถึงจะเรียกว่า 'เห็นถูก'
เห็นถูกเพียงแค่แยกได้ยังไม่พอ เราต้องทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับ เราก็จะรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ที่เรียกว่า เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดๆ ดับๆ นั่นแหละเขาเรียกว่าอันนี้ร่างกายของเรานี้เป็น 'กองรูป' ส่วนความคิดนั้นเป็น 'กองนาม' มีอยู่หลายเรื่อง เรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
ถ้าใจเราคลายออก มองเห็นใจของเรา ถ้าใจเกิดส่งออกไปภายนอก เราก็ใช้สมถะเข้าไปดับ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักดับ รู้จักแก้ไข ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่านานๆ ทีถึงจะไปอบรมที ไปควบคุมที อย่างนั้นเราก็ไม่ทันกิเลสเขาหรอก กิเลสเขาก็เล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา
ตัวใจเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเอาไว้เหมือนกัน ขันธ์ 5 เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเหมือนกัน กิเลส กิเลสทั้งฝ่ายดีทั้งฝ่ายไม่ดี ทุกเรื่อง ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เราก็ต้องพยายามหมั่นชี้เหตุชี้ผล เป็นบุคคลที่มีเหตุมีผล เดินตามทางของพระพุทธองค์จนหมดความสงสัย หมดความลังเล จนกระทั่งขัดเกลากิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ออกจากจิตจากใจของเราให้มันหมดจดทุกเรื่อง ให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้ ในขณะที่เรายังมีกำลัง ยังมีลมหายใจ
แนวทางนั้นมีมาตั้งนานแล้ว ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ น้อมนำมาเปิดเผย คือเรื่องหลักของอริยสัจ อริยมรรคในองค์ 8 หนทางเดิน ทำความเข้าใจนิวรณธรรม มลทิน เป็นเครื่องการกั้นใจของเราไม่ให้ได้รับความสงบ
ท่านบัญญัติชี้เหตุชี้ผลเอาไว้หมด เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะทำให้มีให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา แล้วก็ดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวของเรา ขึ้นอยู่ที่กำลังสติปัญญาของเรา กำลังอานิสงส์บุญของเรา
ถ้าเราจะมัวเอาตั้งแต่ความเกียจคร้าน เห็นแก่ตัว มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไม่รู้จักทำความเข้าใจ ไปอยู่ที่ไหนเราก็จะไม่เข้าใจ หนักตัวเอง แล้วก็หนักคนอื่น แล้วก็หนักสถานที่
ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว ตื่นขึ้นมาเราก็รีบ รีบดูกายของเรา รีบดูใจของเรา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ ถ้าเราทำ เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ มันก็เหมือนเดิม ปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ ก็เหมือนเดิม ก็ได้แต่ลูบๆ คลำๆ อยู่ที่เปลือก อยู่ที่กระพี้ ไม่ยอมเข้าถึงแก่นสักที ก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ใหม่ซึ่งเรียกว่าเป็น 'ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน' อยู่ตลอดเวลา เราทำความเข้าใจทุกเรื่อง คำว่า 'ศีล' ศีลระดับไหน ระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ศีลสมมติ ศีลวิมุตติ ศีลสังคม อธิจิต อธิศีล อธิวินัย เราต้องดูที่ใจของเราเป็นหลัก
หาความเป็นกลาง เครื่องตัดสินคือความว่าง ใจเราว่างจากการเกิดแล้วหรือยัง ว่างจากกิเลสแล้วหรือยัง ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นแล้วหรือยัง เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราละได้แล้วหรือยัง
แม้แต่วาจาเราก็ยังไม่รู้จักควบคุม กายของเราก็ยังไม่รู้จักควบคุม เราจะไปควบคุมใจของเราได้ยังไง เพียงแค่ปลายเหตุเราก็ยังรักษาได้ยากอยู่ ก็ต้องพยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ทุกคนมีโอกาสหมดนั่นแหละ ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ