หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 26
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 26
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 26
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง
พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ให้ต่อเนื่องกันทุกขณะลมหายใจเข้าออกได้ยิ่งดีใหญ่ รู้จักทำความเข้าใจ ลักษณะของสติระลึกรู้ตัว ทุกขณะเขาเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา
สร้างความรู้ตัวลงที่กายของเรา แล้วก็ลึกลงไปเราก็จะรู้การเกิดการดับของใจอีก การเกิดการดับของขันธ์ 5 อีก สติหรือว่าผู้รู้ ส่วนใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่เขาทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด เพราะว่าความเกิดส่งออกไปภายนอก แล้วก็เป็นทาสของกิเลส บางทีก็มีความโลภมาก ความโกรธมาก ความอยาก ความยินดียินร้าย ทั้งอยากทั้งไม่อยาก นั่นแหละ ความเกิดที่เกิดจากจิตวิญญาณของเรา
ถ้าเรามีสติเข้าไปดู รู้เท่า รู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ จนใจคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ถึงจะมองเห็นถูกต้องหรือว่า 'สัมมาทิฏฐิ' เริ่มต้น เริ่มเห็นความถูกต้อง ถ้ายังแยกแยะไม่ได้เราก็อาจจะมองเห็นความถูกต้องระดับของโลกีย์ ของสมมติ ไม่ใช่ความถูกต้องของหลักธรรมที่แท้จริง
ถ้าหลักธรรมที่แท้จริง ใจต้องคลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนามเพียงแค่เริ่มต้น เริ่มต้นที่ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ ข้อแรกในหนทางเดินอริยมรรคในองค์ 8 เห็น แยกแยะได้ ตามทำความเข้าใจได้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา เห็นกองรูปกองนาม การเกิดการดับ การแยกการคลาย กองกุศลหรือว่าอกุศล กองวิญญาณที่เรียกว่าเป็นกองเป็นขันธ์
นอกจากบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ทำความเข้าใจให้ได้จริงๆ ไม่ปล่อยปละละเลย เป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้ยังไง แต่ละวันเราสำรวจใจของเรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ มีความรับผิดชอบเพียงพอหรือเปล่า หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัว มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ มีแต่นิวรณธรรมเข้าครอบงำ มันก็ยากที่จะเข้าใจ
เราอยากจะได้ใจที่สะอาดที่บริสุทธิ์ เราก็ต้องรู้จัก ละกิเลส ขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา เราอยากจะได้ความสงบเราก็ต้องพยายาม อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อะไรคือความถูกต้อง อะไรคือความไม่ถูกต้อง เราก็ต้องพยายาม
ศรัทธาของทุกคนนั้นมีกันเต็มเปี่ยม แต่เป็นศรัทธาต้องเกิดจากการเจริญภาวนาด้วย ไม่ใช่ว่าศรัทธาแต่ขาดปัญญา ปัญญานี้ขาดมาก ขาดมากทีเดียว ปัญญาที่แท้จริงก็ต้องเกิดจากการเจริญภาวนา รู้ เห็น ทำความเข้าใจ มันมีไม่มากหรอก มันมากสำหรับบุคคลที่เกียจคร้าน มากสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจ
ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ เข้มข้นเพียงพอ เราก็มีความเสียสละเพียงพอมันก็ ใจของเราก็จะเบาบางจากกิเลสไปเรื่อยๆ เพราะว่าใจตัวเดิมที่แท้จริงนั้นเขาสะอาดเขาบริสุทธิ์อยู่เดิม เขาไม่มีอะไร แต่เรามาเอากิเลสเข้ามาทับถมทีหลัง เอาความเกิด เอากิเลสหยาบกิเลสละเอียดมาทับถมทีหลัง แล้วก็มายึดติดในกายก้อนนี้อีก
นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปแยกแยะ วิเคราะห์ พิจารณา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ถึงจะมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง ก็ต้องพยายามกัน อย่าไปทิ้ง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วยทำหน้าที่ไปด้วย มีความสุข ขณะที่ทำนั้นมีนิวรณ์หรือไม่ จนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ จะรับประทานข้าวปลาอาหาร จะขบจะฉัน เราก็ต้องรู้จักจำแนกแจกแจงว่าความอยากเป็นอย่างไร ความหิวเป็นอย่างไร กายเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก
ความอยากหรือความเกิดของใจนั่นแหละ เราพยายามดับ พยายามดับพยายามละ เปลี่ยนจากความอยากเป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน กิเลสมันก็เล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ใจของเรามันก็ยังหลอกตัวเอง
ใจปล่อยวางได้ ดับความเกิดได้ สติปัญญาก็ยังหลอกตัวเองอีก เข้าข้างตัวเองอีก หลายสิ่งหลายอย่าง ถ้าไม่หมั่นเพียรจริงๆ ก็ยากที่จะเล่นงานกับกิเลสได้ อันนี้มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว
แต่แนวทางคำสอนนั้นพระพุทธองค์มีมาตั้งนานหลายร้อยหลายพันปี ท่านสอนเรื่องหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา สอนเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' เป็นลักษณะอย่างไร การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร อัตตา อนัตตาเป็นอย่างไร สมมติเป็นอย่างไร แนวทาง หนทางอริยมรรคในองค์ 8 เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย จนหมดความสงสัยหมดความลังเล ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีปัญญามากทีเดียวปัญญารู้ใจของเรานั่นแหละ รู้แค่ใจของเรา ละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมดจด มันก็ถึงจุดหมายปลายทางได้
อยากจะได้ความบริสุทธิ์ อยากจะได้ธรรม ไม่รู้จักละกิเลส มันจะได้อย่างไร อยากจะได้ป่า ไม่ปลูกป่า มันจะได้ยังไง อยู่กับสมมติ ไม่ทำความเข้าใจกับสมมติ มันจะไปรู้เรื่องของวิมุตติได้ยังไง
เราก็ต้องพยายามขยันหมั่นเพียร รู้จักวิธีการแล้วแนวทางแล้ว การเจริญสติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่อยู่ในองค์สมาธิเป็นอย่างนี้ คำว่า ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์ ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง ตัวใจนั่นแหละคือตัวธรรม
เราแสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม มันจะได้ธรรมได้ยังไง เจริญสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ มันจะไปเกิดปัญญาได้ยังไง เราก็ต้องพยายาม ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกิดจากเหตุ มีเหตุมีผลกันทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากหรอกของพวกนี้ คนที่รู้จักพิจารณาตัวตน พิจารณาใจของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
รู้ไม่ทันก็รู้จักควบคุม รู้จักดับเอาไว้ รู้จักสำรวมทั้งกาย วาจา แล้วก็ใจของตัว เราคนทั่วไปก็ยาก วาจาก็ไม่รู้จักควบคุม ใจก็ไม่รู้จักควบคุม ไม่รู้จักจัดระบบจัดระเบียบ มันก็ยากที่จะเข้าถึง เราก็ต้องพยายาม แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยละเลย
ปฏิวัติตัวเรา แก้ไขตัวเรา หมั่นพร่ำสอนตัวเรา ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ทำ ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ สักวันหนึ่งเราก็คงต้องจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
ไม่จำเป็นต้องไปพูดไปคุยกันมากมายอะไร แต่ละวันตื่นขึ้นมาดูใจ แก้ไขใจของเรา ดูภาระหน้าที่การงานของเรา อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ให้มองให้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เอาตั้งแต่ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่กิน เอาตั้งแต่เล่นสนุกสนาน จะไปได้อะไร
บุคคลที่ฝักใฝ่สนใจวิธีการแนวทางแล้ว อยู่คนเดียวก็รู้กายของเรา รู้ใจของเรา อยู่หลายคนก็ดูกายดูใจของเรา อยู่กับส่วนรวมเราก็รู้จักทำหน้าที่ของเรา มากันคนละทิศละที่ละทาง อยู่กันคนละทิศละที่ มาอยู่ที่เดียว มารวมกัน ก็สร้างบุญมาร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ขณะที่มาอยู่ร่วมกัน เราก็รู้จักพิจารณาช่วยเหลือตัวเรา ช่วยเหลือหมู่คณะเพื่อนฝูง จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ ช่วยเหลือตัวเองก็ยังไม่ได้ ใช้ตัวเองก็ไม่เป็น หนักตัวเรา หนักคนอื่น หนักสถานที่ หนักทุกอย่าง ถ้ามีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไปอยู่ที่ไหนความเจริญก็จะไม่มี ไม่รู้จักแก้ไข ไม่รู้จักพัฒนา ไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเรา ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือสังคม ให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไปอยู่ที่ไหนมันจะเจริญได้ ก็ต้องพยายาม
เราอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ก็เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา อยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบ อันไหนที่จะนำความทุกข์มาให้ เราก็พยายามละ แม้ตั้งแต่กาย ตั้งแต่วาจาของเราก็ไม่ไปพูดตำหนิคนโน้นตำหนิคนนี้ อคติต่อคนโน้นคนนี้ ดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ทำหน้าที่ของเราให้มันดี ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบความสุข ไม่จำเป็นต้องไปพูดคุยกันมากมายเลย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง
พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ให้ต่อเนื่องกันทุกขณะลมหายใจเข้าออกได้ยิ่งดีใหญ่ รู้จักทำความเข้าใจ ลักษณะของสติระลึกรู้ตัว ทุกขณะเขาเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอา
สร้างความรู้ตัวลงที่กายของเรา แล้วก็ลึกลงไปเราก็จะรู้การเกิดการดับของใจอีก การเกิดการดับของขันธ์ 5 อีก สติหรือว่าผู้รู้ ส่วนใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่เขาทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด เพราะว่าความเกิดส่งออกไปภายนอก แล้วก็เป็นทาสของกิเลส บางทีก็มีความโลภมาก ความโกรธมาก ความอยาก ความยินดียินร้าย ทั้งอยากทั้งไม่อยาก นั่นแหละ ความเกิดที่เกิดจากจิตวิญญาณของเรา
ถ้าเรามีสติเข้าไปดู รู้เท่า รู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ จนใจคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ถึงจะมองเห็นถูกต้องหรือว่า 'สัมมาทิฏฐิ' เริ่มต้น เริ่มเห็นความถูกต้อง ถ้ายังแยกแยะไม่ได้เราก็อาจจะมองเห็นความถูกต้องระดับของโลกีย์ ของสมมติ ไม่ใช่ความถูกต้องของหลักธรรมที่แท้จริง
ถ้าหลักธรรมที่แท้จริง ใจต้องคลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนามเพียงแค่เริ่มต้น เริ่มต้นที่ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ ข้อแรกในหนทางเดินอริยมรรคในองค์ 8 เห็น แยกแยะได้ ตามทำความเข้าใจได้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา เห็นกองรูปกองนาม การเกิดการดับ การแยกการคลาย กองกุศลหรือว่าอกุศล กองวิญญาณที่เรียกว่าเป็นกองเป็นขันธ์
นอกจากบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ทำความเข้าใจให้ได้จริงๆ ไม่ปล่อยปละละเลย เป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้ยังไง แต่ละวันเราสำรวจใจของเรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ มีความรับผิดชอบเพียงพอหรือเปล่า หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัว มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ มีแต่นิวรณธรรมเข้าครอบงำ มันก็ยากที่จะเข้าใจ
เราอยากจะได้ใจที่สะอาดที่บริสุทธิ์ เราก็ต้องรู้จัก ละกิเลส ขัดเกลากิเลสออกจากใจของเรา เราอยากจะได้ความสงบเราก็ต้องพยายาม อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อะไรคือความถูกต้อง อะไรคือความไม่ถูกต้อง เราก็ต้องพยายาม
ศรัทธาของทุกคนนั้นมีกันเต็มเปี่ยม แต่เป็นศรัทธาต้องเกิดจากการเจริญภาวนาด้วย ไม่ใช่ว่าศรัทธาแต่ขาดปัญญา ปัญญานี้ขาดมาก ขาดมากทีเดียว ปัญญาที่แท้จริงก็ต้องเกิดจากการเจริญภาวนา รู้ เห็น ทำความเข้าใจ มันมีไม่มากหรอก มันมากสำหรับบุคคลที่เกียจคร้าน มากสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจ
ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ เข้มข้นเพียงพอ เราก็มีความเสียสละเพียงพอมันก็ ใจของเราก็จะเบาบางจากกิเลสไปเรื่อยๆ เพราะว่าใจตัวเดิมที่แท้จริงนั้นเขาสะอาดเขาบริสุทธิ์อยู่เดิม เขาไม่มีอะไร แต่เรามาเอากิเลสเข้ามาทับถมทีหลัง เอาความเกิด เอากิเลสหยาบกิเลสละเอียดมาทับถมทีหลัง แล้วก็มายึดติดในกายก้อนนี้อีก
นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปแยกแยะ วิเคราะห์ พิจารณา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ถึงจะมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง ก็ต้องพยายามกัน อย่าไปทิ้ง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วยทำหน้าที่ไปด้วย มีความสุข ขณะที่ทำนั้นมีนิวรณ์หรือไม่ จนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ จะรับประทานข้าวปลาอาหาร จะขบจะฉัน เราก็ต้องรู้จักจำแนกแจกแจงว่าความอยากเป็นอย่างไร ความหิวเป็นอย่างไร กายเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก
ความอยากหรือความเกิดของใจนั่นแหละ เราพยายามดับ พยายามดับพยายามละ เปลี่ยนจากความอยากเป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน กิเลสมันก็เล่นงานเราอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ใจของเรามันก็ยังหลอกตัวเอง
ใจปล่อยวางได้ ดับความเกิดได้ สติปัญญาก็ยังหลอกตัวเองอีก เข้าข้างตัวเองอีก หลายสิ่งหลายอย่าง ถ้าไม่หมั่นเพียรจริงๆ ก็ยากที่จะเล่นงานกับกิเลสได้ อันนี้มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว
แต่แนวทางคำสอนนั้นพระพุทธองค์มีมาตั้งนานหลายร้อยหลายพันปี ท่านสอนเรื่องหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา สอนเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' เป็นลักษณะอย่างไร การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างไร อัตตา อนัตตาเป็นอย่างไร สมมติเป็นอย่างไร แนวทาง หนทางอริยมรรคในองค์ 8 เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย จนหมดความสงสัยหมดความลังเล ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีปัญญามากทีเดียวปัญญารู้ใจของเรานั่นแหละ รู้แค่ใจของเรา ละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมดจด มันก็ถึงจุดหมายปลายทางได้
อยากจะได้ความบริสุทธิ์ อยากจะได้ธรรม ไม่รู้จักละกิเลส มันจะได้อย่างไร อยากจะได้ป่า ไม่ปลูกป่า มันจะได้ยังไง อยู่กับสมมติ ไม่ทำความเข้าใจกับสมมติ มันจะไปรู้เรื่องของวิมุตติได้ยังไง
เราก็ต้องพยายามขยันหมั่นเพียร รู้จักวิธีการแล้วแนวทางแล้ว การเจริญสติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่อยู่ในองค์สมาธิเป็นอย่างนี้ คำว่า ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์ ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง ตัวใจนั่นแหละคือตัวธรรม
เราแสวงหาธรรมไม่รู้จักธรรม มันจะได้ธรรมได้ยังไง เจริญสติไม่รู้จักเอาสติไปใช้ มันจะไปเกิดปัญญาได้ยังไง เราก็ต้องพยายาม ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกิดจากเหตุ มีเหตุมีผลกันทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากหรอกของพวกนี้ คนที่รู้จักพิจารณาตัวตน พิจารณาใจของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
รู้ไม่ทันก็รู้จักควบคุม รู้จักดับเอาไว้ รู้จักสำรวมทั้งกาย วาจา แล้วก็ใจของตัว เราคนทั่วไปก็ยาก วาจาก็ไม่รู้จักควบคุม ใจก็ไม่รู้จักควบคุม ไม่รู้จักจัดระบบจัดระเบียบ มันก็ยากที่จะเข้าถึง เราก็ต้องพยายาม แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยละเลย
ปฏิวัติตัวเรา แก้ไขตัวเรา หมั่นพร่ำสอนตัวเรา ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ทำ ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์ สักวันหนึ่งเราก็คงต้องจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
ไม่จำเป็นต้องไปพูดไปคุยกันมากมายอะไร แต่ละวันตื่นขึ้นมาดูใจ แก้ไขใจของเรา ดูภาระหน้าที่การงานของเรา อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ให้มองให้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เอาตั้งแต่ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่กิน เอาตั้งแต่เล่นสนุกสนาน จะไปได้อะไร
บุคคลที่ฝักใฝ่สนใจวิธีการแนวทางแล้ว อยู่คนเดียวก็รู้กายของเรา รู้ใจของเรา อยู่หลายคนก็ดูกายดูใจของเรา อยู่กับส่วนรวมเราก็รู้จักทำหน้าที่ของเรา มากันคนละทิศละที่ละทาง อยู่กันคนละทิศละที่ มาอยู่ที่เดียว มารวมกัน ก็สร้างบุญมาร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ขณะที่มาอยู่ร่วมกัน เราก็รู้จักพิจารณาช่วยเหลือตัวเรา ช่วยเหลือหมู่คณะเพื่อนฝูง จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ ช่วยเหลือตัวเองก็ยังไม่ได้ ใช้ตัวเองก็ไม่เป็น หนักตัวเรา หนักคนอื่น หนักสถานที่ หนักทุกอย่าง ถ้ามีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไปอยู่ที่ไหนความเจริญก็จะไม่มี ไม่รู้จักแก้ไข ไม่รู้จักพัฒนา ไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเรา ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือสังคม ให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ไปอยู่ที่ไหนมันจะเจริญได้ ก็ต้องพยายาม
เราอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ก็เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา อยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบ อันไหนที่จะนำความทุกข์มาให้ เราก็พยายามละ แม้ตั้งแต่กาย ตั้งแต่วาจาของเราก็ไม่ไปพูดตำหนิคนโน้นตำหนิคนนี้ อคติต่อคนโน้นคนนี้ ดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ทำหน้าที่ของเราให้มันดี ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบความสุข ไม่จำเป็นต้องไปพูดคุยกันมากมายเลย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกัน