หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 32
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 32
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 32
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 เมษายน 2564
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะพระเราชีเรา ก่อนที่จะขบจะฉัน พิจารณาปฏิสังขาโย กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง เราต้องพิจารณาดูกายหิวหรือใจอยาก ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา รีบรู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งถึงเวลานี้แล้วก็เดี๋ยวนี้ ดูความอยาก ความหิว ตากระทบรูป ตากระทบอาหาร ใจจะเกิดความอยาก ยิ่งกายของเราหิว แต่ก่อนเราเคยขบเคยฉัน เคยรับประทาน 2-3 มื้อ แล้วก็มาลดลง กายก็เกิดความหิว ใจก็จะเกิดความอยาก
อันนู้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย กิเลสมันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ กิเลสมันเล่นงาน เอาน้อยๆ กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ เวลารับประทานแล้วก็รับประทานได้นิดเดียว ทานไม่หมดก็เอาไปทิ้ง
เราต้องมองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจเรา ใจของเราเกิดความอยาก เราก็รีบดับความอยาก ถ้าใจเกิดความอยาก ไม่เอาให้มัน ให้มันผ่านเลยไป ผ่านเลยไปแล้วใจยังอาลัยอาวรณ์อยู่หรือไม่ เราก็ต้องดู ทุกเรื่อง ทุกอย่าง เรื่องอาหารนี่สำคัญ เพราะว่ากายของเราเกี่ยวเนื่องด้วยอาหาร
ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ ถ้าเรารู้ใจของเรา เราก็ดูว่าใจเกิดความยินดีไหมยินร้ายไหม ผลักไสหรือไม่ หรือว่าดึงเข้ามาหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง ทุกเวลาทุกนาที ท่านถึงว่าทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาถึงเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ไม่ใช่ว่าเวลานู้นเวลานี้ถึงจะพิจารณา ถึงจะดู อย่างนั้นยังประมาทอยู่
เราจงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จิตใจของเราขณะนี้ปกติ จิตใจของเราขณะนี้สะอาดบริสุทธิ์ คือไม่มีความโลภ ความโกรธ ไม่เป็นทาสของกิเลส ความโลภเป็นยังไงบ้าง ความโกรธเป็นยังไงบ้าง ความโลภความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก เพราะว่าการเกิดของใจมีอยู่ เราก็ต้องดู ต้องพิจารณา ต้องแก้ไข
เราจะเอา จะมี จะเป็น ไม่ให้ใจเกิดความอยาก ให้เป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน ทุกเรื่องในชีวิต เราต้องดู
แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเรามีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แล้วก็มีศรัทธาในการทำบุญ ในการให้ทาน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็รีบแก้ไข
สมมติอะไรของเรายังขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามรีบแก้ไข แก้ไขได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็พยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ท่านถึงบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน เราก็ต้องพยายามเจริญสติ นี่แหละ เขาเรียกว่า 'ตน' เป็นที่พึ่งของตน ก็เป็นที่พึ่งของใจ
มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่เกียจคร้าน ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน มีหิริโอตัปปะ เขาเรียกว่ามีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป เราก็รู้จักทำความเข้าใจ
จิตใจของเรามีความเสียสละหรือไม่ จิตใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่นหรือเปล่า เราก็พยายามแก้ไข หมั่นขัดเกลา หมั่นเอาออก เรารู้จักฝักใฝ่ รู้จักสนใจ รู้จักวิเคราะห์ รู้จักพิจารณา หาเหตุหาผล เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
เหตุผลทางด้านจิตวิญญาณ ทางด้านนามธรรม เหตุผลทางด้านรูปธรรม สมมติเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกธรรมก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราก็ทำความเข้าใจให้มันถูกต้องทั้งโลกทั้งธรรม กายของเรานี่แหละก้อนโลก กายของเรานี่แหละเป็นส่วนของก้อนรูป ส่วนจิตวิญญาณ ความคิด อารมณ์ต่างๆ เป็นส่วนนามธรรม
เราต้องรู้ด้วยการเจริญสติ อะไรคือสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เป็นลักษณะยังไง ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นสติปัญญา อันนั้นก็เป็นสติปัญญาอยู่ แต่เป็นสติปัญญาของโลก ของสมมติ ของโลกีย์ เป็นปัญญาที่ยังหลงอยู่
ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องอริยสัจ คำว่า 'อริยสัจ 4' ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ใจหลงขันธ์ 5 เป็นอย่างไร มีหมด
แนวทางอริยมรรคในองค์ 8 สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูก ท่านก็ค้นพบเอามาเปิดเผย จำแนกแจกแจง ให้สัตว์โลกได้เดินตาม ได้ปฏิบัติตาม
หมั่นสำรวจอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าใจ เข้าใจในชีวิตของเรา มองเห็นหนทางเดิน ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
อย่าไปทิ้งบุญ ไปที่ไหนก็ทำบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำความเข้าใจศีล สมาธิ ปัญญา ศีลระดับกายของเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนโน้นคนนี้ วาจาของเราก็ไม่ได้ไปพูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ จิตใจของเราก็ไม่ได้คิดอคติ มีมลทินต่างๆ มันก็เป็นศีล คือความปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ
ใจที่ปกติเขาเรียกว่า 'สมาธิ' สมาธิด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสมาธิรู้แจ้งด้วยปัญญา ละกิเลสด้วยการปล่อยวาง ก็จะเข้าสู่การดำเนินวิปัสสนา วิปัสสนาญาณคือรู้แจ้ง รู้แจ้งการเกิดการดับของใจของเรา มีโอกาสเราก็พยายาม อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง
มีโอกาสทำได้ทุกลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติ การเจริญสติ ถ้าเราสร้างสติรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนสติของเรารู้เท่ารู้ทัน จนใจคลายออก กำลังสติของเราถึงจะเป็นมหาสติ ค้นคว้าจนไม่มีอะไรที่จะเหลือให้ค้นคว้า จนหมดความสงสัย หมดความลังเล ใจของเราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ก็ต้องพยายามกัน
มีโอกาส พวกเราก็ได้สร้างบุญกันมากมาย สร้างบุญสร้างกุศลกัน มีศรัทธา วันนี้พวกเราก็มีโอกาสได้มาร่วมกัน ได้ไถ่ชีวิตโค ได้มีท่านผู้ใจบุญจากทางใกล้ทางไกล ทั้งต่างจังหวัด ได้มาเป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโค ซึ่งอาจจะตกไปสู่โรงฆ่าสัตว์ เราก็มีโอกาสได้มาร่วมกันไถ่ชีวิตโค ซึ่งเขาตกอยู่ในภพของสัตว์เดรัจฉาน สัตว์ทุกตัวก็มีวิญญาณ เราก็มีวิญญาณ วิญญาณถ้ากายเนื้อแตกดับ ไม่รู้ว่าจะไปเกิดยังไง ถ้าเราไม่ได้สร้างบุญสร้างกุศลเอาไว้ ไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมเขา เขาก็ไปตามวิบากของกรรม
ให้เรารู้เรื่องกรรม กรรมภายใน กรรมภายนอก จนรู้จักปล่อยรู้จักวางได้ อยู่เหนือกรรมได้ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
มีโอกาสก็ได้มาร่วมบุญกัน มาร่วมอนุโมทนาบุญกัน ก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ บุญนี้แหละเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป ตราบใดที่ใจยังเกิด ยังดับความเกิดไม่ได้ เราก็ต้องอาศัยบุญ ถึงเราดับความเกิดได้ เราก็ยิ่งสนุกสร้างบุญให้มากขึ้นเป็นทวีคูณ ได้อนุเคราะห์เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ได้อนุเคราะห์เพื่อนร่วมโลกไม่ให้ได้ลำบาก มีโอกาสก็เชิญพี่น้องเรา
โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราได้ทำบุญตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้น จนกระทั่งนอนหลับ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็อนุโมทนาสาธุในส่วนแห่งบุญ เราก็จะมีส่วนร่วมในอานิสงส์แห่งบุญที่พวกเราได้ทำ
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงไหว้พระพร้อมๆ กัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 เมษายน 2564
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะพระเราชีเรา ก่อนที่จะขบจะฉัน พิจารณาปฏิสังขาโย กะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง เราต้องพิจารณาดูกายหิวหรือใจอยาก ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา รีบรู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งถึงเวลานี้แล้วก็เดี๋ยวนี้ ดูความอยาก ความหิว ตากระทบรูป ตากระทบอาหาร ใจจะเกิดความอยาก ยิ่งกายของเราหิว แต่ก่อนเราเคยขบเคยฉัน เคยรับประทาน 2-3 มื้อ แล้วก็มาลดลง กายก็เกิดความหิว ใจก็จะเกิดความอยาก
อันนู้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย กิเลสมันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ กิเลสมันเล่นงาน เอาน้อยๆ กลัวไม่อิ่ม มันบอกว่าเอาเยอะๆ เวลารับประทานแล้วก็รับประทานได้นิดเดียว ทานไม่หมดก็เอาไปทิ้ง
เราต้องมองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองกลางใจเรา ใจของเราเกิดความอยาก เราก็รีบดับความอยาก ถ้าใจเกิดความอยาก ไม่เอาให้มัน ให้มันผ่านเลยไป ผ่านเลยไปแล้วใจยังอาลัยอาวรณ์อยู่หรือไม่ เราก็ต้องดู ทุกเรื่อง ทุกอย่าง เรื่องอาหารนี่สำคัญ เพราะว่ากายของเราเกี่ยวเนื่องด้วยอาหาร
ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ ถ้าเรารู้ใจของเรา เราก็ดูว่าใจเกิดความยินดีไหมยินร้ายไหม ผลักไสหรือไม่ หรือว่าดึงเข้ามาหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง ทุกเวลาทุกนาที ท่านถึงว่าทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาถึงเรียกว่า 'ปัจจุบันธรรม' ไม่ใช่ว่าเวลานู้นเวลานี้ถึงจะพิจารณา ถึงจะดู อย่างนั้นยังประมาทอยู่
เราจงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จิตใจของเราขณะนี้ปกติ จิตใจของเราขณะนี้สะอาดบริสุทธิ์ คือไม่มีความโลภ ความโกรธ ไม่เป็นทาสของกิเลส ความโลภเป็นยังไงบ้าง ความโกรธเป็นยังไงบ้าง ความโลภความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก เพราะว่าการเกิดของใจมีอยู่ เราก็ต้องดู ต้องพิจารณา ต้องแก้ไข
เราจะเอา จะมี จะเป็น ไม่ให้ใจเกิดความอยาก ให้เป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน ทุกเรื่องในชีวิต เราต้องดู
แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเรามีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม แล้วก็มีศรัทธาในการทำบุญ ในการให้ทาน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่ามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้าง เราก็รีบแก้ไข
สมมติอะไรของเรายังขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามรีบแก้ไข แก้ไขได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็พยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ท่านถึงบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน เราก็ต้องพยายามเจริญสติ นี่แหละ เขาเรียกว่า 'ตน' เป็นที่พึ่งของตน ก็เป็นที่พึ่งของใจ
มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไม่เกียจคร้าน ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน มีหิริโอตัปปะ เขาเรียกว่ามีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป เราก็รู้จักทำความเข้าใจ
จิตใจของเรามีความเสียสละหรือไม่ จิตใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่นหรือเปล่า เราก็พยายามแก้ไข หมั่นขัดเกลา หมั่นเอาออก เรารู้จักฝักใฝ่ รู้จักสนใจ รู้จักวิเคราะห์ รู้จักพิจารณา หาเหตุหาผล เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล
เหตุผลทางด้านจิตวิญญาณ ทางด้านนามธรรม เหตุผลทางด้านรูปธรรม สมมติเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกธรรมก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราก็ทำความเข้าใจให้มันถูกต้องทั้งโลกทั้งธรรม กายของเรานี่แหละก้อนโลก กายของเรานี่แหละเป็นส่วนของก้อนรูป ส่วนจิตวิญญาณ ความคิด อารมณ์ต่างๆ เป็นส่วนนามธรรม
เราต้องรู้ด้วยการเจริญสติ อะไรคือสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เป็นลักษณะยังไง ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นสติปัญญา อันนั้นก็เป็นสติปัญญาอยู่ แต่เป็นสติปัญญาของโลก ของสมมติ ของโลกีย์ เป็นปัญญาที่ยังหลงอยู่
ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องอริยสัจ คำว่า 'อริยสัจ 4' ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ใจหลงขันธ์ 5 เป็นอย่างไร มีหมด
แนวทางอริยมรรคในองค์ 8 สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูก ท่านก็ค้นพบเอามาเปิดเผย จำแนกแจกแจง ให้สัตว์โลกได้เดินตาม ได้ปฏิบัติตาม
หมั่นสำรวจอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าใจ เข้าใจในชีวิตของเรา มองเห็นหนทางเดิน ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
อย่าไปทิ้งบุญ ไปที่ไหนก็ทำบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำความเข้าใจศีล สมาธิ ปัญญา ศีลระดับกายของเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนโน้นคนนี้ วาจาของเราก็ไม่ได้ไปพูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ จิตใจของเราก็ไม่ได้คิดอคติ มีมลทินต่างๆ มันก็เป็นศีล คือความปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ
ใจที่ปกติเขาเรียกว่า 'สมาธิ' สมาธิด้วยการข่มเอาไว้ หรือว่าสมาธิรู้แจ้งด้วยปัญญา ละกิเลสด้วยการปล่อยวาง ก็จะเข้าสู่การดำเนินวิปัสสนา วิปัสสนาญาณคือรู้แจ้ง รู้แจ้งการเกิดการดับของใจของเรา มีโอกาสเราก็พยายาม อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง
มีโอกาสทำได้ทุกลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติ การเจริญสติ ถ้าเราสร้างสติรู้ตัวให้ต่อเนื่อง จนสติของเรารู้เท่ารู้ทัน จนใจคลายออก กำลังสติของเราถึงจะเป็นมหาสติ ค้นคว้าจนไม่มีอะไรที่จะเหลือให้ค้นคว้า จนหมดความสงสัย หมดความลังเล ใจของเราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา ก็ต้องพยายามกัน
มีโอกาส พวกเราก็ได้สร้างบุญกันมากมาย สร้างบุญสร้างกุศลกัน มีศรัทธา วันนี้พวกเราก็มีโอกาสได้มาร่วมกัน ได้ไถ่ชีวิตโค ได้มีท่านผู้ใจบุญจากทางใกล้ทางไกล ทั้งต่างจังหวัด ได้มาเป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโค ซึ่งอาจจะตกไปสู่โรงฆ่าสัตว์ เราก็มีโอกาสได้มาร่วมกันไถ่ชีวิตโค ซึ่งเขาตกอยู่ในภพของสัตว์เดรัจฉาน สัตว์ทุกตัวก็มีวิญญาณ เราก็มีวิญญาณ วิญญาณถ้ากายเนื้อแตกดับ ไม่รู้ว่าจะไปเกิดยังไง ถ้าเราไม่ได้สร้างบุญสร้างกุศลเอาไว้ ไม่ได้เจริญสติเข้าไปอบรมเขา เขาก็ไปตามวิบากของกรรม
ให้เรารู้เรื่องกรรม กรรมภายใน กรรมภายนอก จนรู้จักปล่อยรู้จักวางได้ อยู่เหนือกรรมได้ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
มีโอกาสก็ได้มาร่วมบุญกัน มาร่วมอนุโมทนาบุญกัน ก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ บุญนี้แหละเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป ตราบใดที่ใจยังเกิด ยังดับความเกิดไม่ได้ เราก็ต้องอาศัยบุญ ถึงเราดับความเกิดได้ เราก็ยิ่งสนุกสร้างบุญให้มากขึ้นเป็นทวีคูณ ได้อนุเคราะห์เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ได้อนุเคราะห์เพื่อนร่วมโลกไม่ให้ได้ลำบาก มีโอกาสก็เชิญพี่น้องเรา
โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราได้ทำบุญตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้น จนกระทั่งนอนหลับ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็อนุโมทนาสาธุในส่วนแห่งบุญ เราก็จะมีส่วนร่วมในอานิสงส์แห่งบุญที่พวกเราได้ทำ
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงไหว้พระพร้อมๆ กัน