หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 5
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 5
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 5
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 17 มกราคม 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นเช้าวันอาทิตย์ที่ 17 เดือนมกรา ปีใหม่ ปีใหม่ก็เข้ามาได้ 10 กว่าวัน โรคภัยไข้เจ็บก็ระบาดกันเยอะ เห็นว่ามาระบาดถึงเมืองขอนแก่นแล้ว ก็หลายรายอยู่ 5-6 ราย ว่างั้น ตามที่ได้ยินข่าว ก็ระวังๆ ระวังกัน โรคกรรม วิบากกรรม ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็ นั่งหันหลังให้กันอยู่ก็ไม่เป็นไร เป็นโรคชำระ เขาเป็นกุศลกับอกุศลชำระกัน ทั่วโลก ทุกประเทศ ทุกชาติศาสนา ไม่เว้นราชา ยาจก มีโอกาสเป็นได้หมดทุกคน เขาถึงเรียกว่าโรคชำระ เขามาชำระสะสาง ทั่วโลกหมดไปหลายล้านแล้ว ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็คงไม่เป็นไร เราก็อย่าไปทุกข์ไปกังวล เราก็ดูแลรักษา แก้ไข ทำหน้าที่ของเราให้ดี
มีโอกาส ยังมีลมหายใจ กำลังกายยังดี เขาให้สร้างบุญ สร้างบุญสร้างกุศลให้เต็มเปี่ยม ขณะที่ยังมีกำลัง หมดกำลัง หมดลมหายใจแล้ว ก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป
เราต้องรู้จักตัวบุญตัวบาป ตัวบุญก็คือใจของเรานั่นแหละ ใจของเรามีความสุขก็เป็นบุญ ตื่นขึ้นมาก็เจริญสติเข้าไปดูใจ ดูแลใจ แก้ไขใจของเรา ใจของคนเรานี้มันหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงวนเวียนว่ายตายเกิด จนกระทั่งมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็มาสร้างขันธ์ 5 มาสร้างร่างกายของเรา แล้วก็มายึดมาติด
ในหลักธรรมพระพุทธองค์มองเห็นเป็นของไม่เที่ยง แต่พวกเรามองเห็นเป็นของเที่ยง เป็นตัวเป็นตน พระพุทธเจ้าท่านมองเห็นเป็นอัตตา อนัตตา เห็นแต่ความว่างเปล่า ทำอย่างไรเราถึงจะมองเห็นแบบพระพุทธองค์ ท่านก็ให้เจริญสติ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ ความรู้ รู้ตัวรู้กาย ลึกลงไปก็รู้ใจ
ใจไม่มีตัวไม่มีตน เราจะรู้ได้ยังไงล่ะทีนี้ นี่แหละเรารู้ด้วยลักษณะอาการ รู้ด้วยการเจริญสติ รู้การเกิดการดับ การแยกการคลาย รู้ลักษณะของความว่าง ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่ว่างจากการเกิด ใจทุกดวงเป็นใจที่สะอาดบริสุทธิ์อยู่เดิม
เราพยายามมาทำความเข้าใจตามแนวทางของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ เราต้องรู้ รู้ตรงนี้ให้ได้ อริยสัจ 4 เรื่องการดำเนินชีวิต อริยสัจ 4 รู้อัตตา อนัตตา รู้วิญญาณในกาย ในขันธ์ 5 ของเรา รู้การเกิด การดับ รู้การละ จนกระทั่งรู้เรื่องวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ การแยกรูปแยกนาม การละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้เรื่องนิวรณธรรม มลทิน รู้เรื่องชีวิตของเราให้ได้ ต้องรู้เรื่องชีวิตของเราให้ได้
ใหม่ๆ นี้มันก็ยากลำบาก เพราะว่ากิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เอากิเลสที่เรามองเห็นกันอยู่ทุกวันๆ นี้ เพียงแค่ความอยากกับความหิว เราก็ขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา
ตื่นขึ้นมา กายเนื้อก็ต้องการอาหาร ใจก็เกิดความอยาก เราก็ต้องรู้จักดับ รู้จักควบคุม จะเอาอาหารมาให้ร่างกายก็ต้องรู้จักพิจารณา ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย กายเราหิว หรือว่าใจเกิดความอยาก เราดับความอยากให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยเอาอาหารมาให้กาย บางคนก็ขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา ทั้งหิว ทั้งอยากผสมโรงกันไปเลย
ในหลักธรรม จะมีมากมีน้อย มีมากมีน้อยพระพุทธองค์ท่านก็ไม่ให้เกิดความอยาก จะเอามากเอาน้อย ทานมากทานน้อย ก็ไม่ให้ใจเกิดความอยาก เกิดความยินดียินร้าย กิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน
ในกายของเรานี้มีตั้งเยอะแยะ ที่จะต้องศึกษาค้นคว้า ต้องทำความเข้าใจ การเกิดของใจ การเกิดของใจหรือว่าความคิด นี่ก็ยังเป็นกิเลสนะ ก็ยังเป็นกิเลส ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด กิเลสละเอียดที่สุด ทั้งที่บางครั้งใจของเราก็ไม่มีกิเลสอยู่ขณะนี้ ก็เพราะเป็นใจที่ปกติสงบเย็น แต่ยังไม่ได้คลายจากขันธ์ 5 ความหลงอันละเอียดนั่นก็คือ ใจของเรายังเกิดอยู่ ยังยึดติดในขันธ์ 5 อยู่ แต่เราก็ว่าเราไม่ยึด ถ้าเจริญสติเข้าไปดูเข้าไปรู้ เห็นต้นเหตุ การเกิด การร่วม การแยก การคลายเราถึงจะรู้ความเป็นจริง ก็ค่อยพยายาม พยายามเอา
ทำงานระดับขั้นพื้นฐานของเรานี่แหละให้ดีที่สุด ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ความอดทนอดกลั้น การฝักใฝ่ การสนใจ เราละความเกียจคร้านได้หรือเปล่า ความเกียจคร้านนั่นแหละเป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เกียจคร้านในการเจริญภาวนา เกียจคร้านในการสังเกต เกียจคร้านในการละกิเลส ทั้งสมมติ วิมุตติ สมมติก็เกียจคร้าน ความเป็นอยู่ก็ยากลำบาก ดำเนินชีวิตก็ยากลำบาก เราต้องขยัน ขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ จนมองทะลุปรุโปร่งหมดทุกอย่าง จนหมดความสงสัย ทุกอย่าง จนละกิเลสได้หมดจด ถึงอยู่อย่างสบาย กายของเราก็เป็นธรรมชาติของกาย ใจก็เป็นธรรมชาติของใจ ก็ต้องรู้เรื่องให้ได้เสียก่อน
เราหมั่นพร่ำสอนเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ท่านถึงว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ต้องไปให้คนอื่นเขาสอนหรอก เรานี่แหละสอนเรา รู้ไม่ทัน ก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากมาย ได้ยินได้ฟังการเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การเจริญสติที่ต่อเนื่อง คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' เป็นลักษณะอย่างนี้
เราแยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเราเป็นอย่างนี้ กายทวารเขาทำหน้าที่อย่างนี้ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล จนรู้ลักษณะอาการการเกิด การดับ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่รวมกับขันธ์ 5 เป็นลักษณะอย่างนี้ เขาเรียกว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ การดับการละเป็นลักษณะอย่างนี้ เราก็ต้องแก้ไข
เราละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดได้ระดับไหน ระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ทำความเข้าใจกับภาษาทางภาษาโลก ทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณของเรา เราต้องให้เข้าถึงความหมายนั้นๆ รู้ความจริงแล้วว่า อะไรควรละ อะไรควรเจริญ เราก็ต้องแก้ไข
แต่ละวันใจของเราเกิดสักกี่เที่ยว เกิดสักกี่ครั้ง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ความโลภมันเกิดยังไง ความอยากเกิดยังไง มันมีกันทุกวัน มีกันทุกเวลานั่นแหละ ความเกิด ความคิด ความคิดเก่าๆ ปัญญาเก่าๆ ซึ่งเรียกว่า 'ปัญญาโลกีย์' ที่ยังหลงอยู่
ตราบใดที่ยังแยกไม่ได้ แยกรูปแยกนามไม่ได้ตามดูไม่ได้ หลงกันทั้งนั้นแหละ อาจจะหลงอยู่ในคุณงามความดี หลงอยู่ในการสร้างบุญสร้างกุศล แต่ก็ยังหลงอยู่ แต่ก็เป็นหนทางที่ดี ถ้าเราปล่อยวางไม่ได้ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นเสบียงของตัวเราเอง
การทำบุญให้ทานก็เพื่ออะไร ก็เพื่อละกิเลส ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ มีเพื่ออะไร ก็มีเพื่อละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด การเจริญสติก็เพื่อที่จะคลายความหลงออกจากใจของเรา
เราปรับปรุงใจ พัฒนาใจของเรา ใจของเรามีความแข็งกร้าวหรือไม่ มีความแข็งกระด้างหรือเปล่า ใจของเรามีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนไหม หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราต้องหมั่นพร่ำสอนใจตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งนอนหลับ ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งหาที่ไหนเลย
การแสวงหาธรรม แสวงหานอกกายไม่เจอหรอก ต้องเน้นลงอยู่ที่กายของเรา แต่การสร้างบารมีนั้นเรามีโอกาสสร้างได้ทุกที่ เดินไปเราก็ทำได้แล้ว เดินไปตรงไหนเราเห็นไม่สะอาดเรียบร้อยเราก็ทำ ห้องส้วมห้องน้ำไม่ดีเราก็ทำ ถ้าไม่มีความเสียสละเราก็ทำไม่ได้
ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว ที่กราบไหว้สักการะบูชา ทุกอย่าง เราต้องทำให้เพียบพร้อมหมด จนมองดู ไม่ยึด ไม่ติด ไม่เอาอะไร ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับประโยชน์นั้นด้วย
พระเกียจคร้านก็ไม่ดี ชีเกียจคร้านก็ไม่ดี ฆราวาสเกียจคร้านก็ไม่ดี จงพยายามแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะมองเห็นหนทาง เราไม่เข้าใจวิธีการแนวทางเราถึงได้แสวงหา พอเราเข้าใจแล้วว่าการเจริญสติเป็นอย่างนี้น การดับการละเป็นอย่างนี้นะ การอนุเคราะห์สงเคราะห์เป็นอย่างนี้ มันจะตามมาเลยทันที ทุกอย่าง
ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความเกียจคร้าน ไม่พูดจาเลอะเทอะ ไม่พูดจาส่อเสียด ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ กายกรรม วจีกรรม แล้วก็มโนกรรม
แต่ละวัน ความคิดเรายังไม่รู้เรื่องเลย คิดอยู่อย่างนั้น เป็นทุกข์เพราะความคิด ดับความคิดก็ไม่ได้ ก็ออกทางกาย ทางกายก็ออกทางวาจา ก็ทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่อย่างนั้นแหละ ทะเลาะเบาะแว้งกับตัวเองยังไม่พอ หลอกตัวเองยังไม่พอ ก็ยังไปหลอกทะเลาะเบาะแว้งกับคนโน้นคนนี้ แทนที่จะแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ เราก็ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง มันจะลงหลักของอนัตตา ลงหลักของความว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาฝ่ายรูป ฝ่ายนาม ฝ่ายความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม มีอะไรบ้าง ฝ่ายรูปก็ก้อนรูปของเรา ร่างกายของเรา คำว่า 'อัตตาตัวตน' เป็นยังไง 'อนัตตา' เป็นยังไง มันมีหมดนั่นแหละ ถ้าคนเรารู้จักฝักใฝ่สนใจ
รู้จักวิธีการแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้นะ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้นะ อยู่คนเดียวเราก็ดูเรา อยู่หลายคนเราก็ดูเรา แก้ไขตัวเรา มีโอกาสบุญสมมติเราก็มีโอกาสได้ร่วมกัน ทำร่วมกัน สร้างร่วมกัน เพื่อความเป็นอานิสงส์ เป็นสิริมงคลระดับสมมติ เราก็ช่วยกันทำ
แต่สำหรับการเกิดการดับของจิตใจ การละกิเลส อันนี้เป็นส่วนตัวแต่ละบุคคล เราทำช่วยกันไม่ได้ เราก็อนุเคราะห์กันได้อยู่ในระดับของสมมติ สมมติเราลำบากเราก็ช่วยกัน อะไรขาดตกบกพร่องเราก็ช่วยกัน
วันนี้ก็ได้มีผู้ใจบุญได้มาร่วมไถ่ชีวิตโค ได้รวมได้รวบรวมมาไถ่ชีวิตโคจากผู้ใจบุญทุกที่ แล้วก็ได้ตั้งชื่อโคเอาไว้ว่า 'โชคดี มีสุข' ก็จะได้ให้คุณหมอพาทำพิธีไถ่ชีวิตโคกันเสียก่อน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงไหว้พระพร้อมๆ กัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 17 มกราคม 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นเช้าวันอาทิตย์ที่ 17 เดือนมกรา ปีใหม่ ปีใหม่ก็เข้ามาได้ 10 กว่าวัน โรคภัยไข้เจ็บก็ระบาดกันเยอะ เห็นว่ามาระบาดถึงเมืองขอนแก่นแล้ว ก็หลายรายอยู่ 5-6 ราย ว่างั้น ตามที่ได้ยินข่าว ก็ระวังๆ ระวังกัน โรคกรรม วิบากกรรม ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็ นั่งหันหลังให้กันอยู่ก็ไม่เป็นไร เป็นโรคชำระ เขาเป็นกุศลกับอกุศลชำระกัน ทั่วโลก ทุกประเทศ ทุกชาติศาสนา ไม่เว้นราชา ยาจก มีโอกาสเป็นได้หมดทุกคน เขาถึงเรียกว่าโรคชำระ เขามาชำระสะสาง ทั่วโลกหมดไปหลายล้านแล้ว ถ้าไม่มีวิบากกรรมต่อกันก็คงไม่เป็นไร เราก็อย่าไปทุกข์ไปกังวล เราก็ดูแลรักษา แก้ไข ทำหน้าที่ของเราให้ดี
มีโอกาส ยังมีลมหายใจ กำลังกายยังดี เขาให้สร้างบุญ สร้างบุญสร้างกุศลให้เต็มเปี่ยม ขณะที่ยังมีกำลัง หมดกำลัง หมดลมหายใจแล้ว ก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป
เราต้องรู้จักตัวบุญตัวบาป ตัวบุญก็คือใจของเรานั่นแหละ ใจของเรามีความสุขก็เป็นบุญ ตื่นขึ้นมาก็เจริญสติเข้าไปดูใจ ดูแลใจ แก้ไขใจของเรา ใจของคนเรานี้มันหลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงวนเวียนว่ายตายเกิด จนกระทั่งมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็มาสร้างขันธ์ 5 มาสร้างร่างกายของเรา แล้วก็มายึดมาติด
ในหลักธรรมพระพุทธองค์มองเห็นเป็นของไม่เที่ยง แต่พวกเรามองเห็นเป็นของเที่ยง เป็นตัวเป็นตน พระพุทธเจ้าท่านมองเห็นเป็นอัตตา อนัตตา เห็นแต่ความว่างเปล่า ทำอย่างไรเราถึงจะมองเห็นแบบพระพุทธองค์ ท่านก็ให้เจริญสติ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ ความรู้ รู้ตัวรู้กาย ลึกลงไปก็รู้ใจ
ใจไม่มีตัวไม่มีตน เราจะรู้ได้ยังไงล่ะทีนี้ นี่แหละเรารู้ด้วยลักษณะอาการ รู้ด้วยการเจริญสติ รู้การเกิดการดับ การแยกการคลาย รู้ลักษณะของความว่าง ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่ว่างจากการเกิด ใจทุกดวงเป็นใจที่สะอาดบริสุทธิ์อยู่เดิม
เราพยายามมาทำความเข้าใจตามแนวทางของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ เราต้องรู้ รู้ตรงนี้ให้ได้ อริยสัจ 4 เรื่องการดำเนินชีวิต อริยสัจ 4 รู้อัตตา อนัตตา รู้วิญญาณในกาย ในขันธ์ 5 ของเรา รู้การเกิด การดับ รู้การละ จนกระทั่งรู้เรื่องวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ การแยกรูปแยกนาม การละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้เรื่องนิวรณธรรม มลทิน รู้เรื่องชีวิตของเราให้ได้ ต้องรู้เรื่องชีวิตของเราให้ได้
ใหม่ๆ นี้มันก็ยากลำบาก เพราะว่ากิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เอากิเลสที่เรามองเห็นกันอยู่ทุกวันๆ นี้ เพียงแค่ความอยากกับความหิว เราก็ขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา
ตื่นขึ้นมา กายเนื้อก็ต้องการอาหาร ใจก็เกิดความอยาก เราก็ต้องรู้จักดับ รู้จักควบคุม จะเอาอาหารมาให้ร่างกายก็ต้องรู้จักพิจารณา ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย กายเราหิว หรือว่าใจเกิดความอยาก เราดับความอยากให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยเอาอาหารมาให้กาย บางคนก็ขาดการวิเคราะห์ ขาดการพิจารณา ทั้งหิว ทั้งอยากผสมโรงกันไปเลย
ในหลักธรรม จะมีมากมีน้อย มีมากมีน้อยพระพุทธองค์ท่านก็ไม่ให้เกิดความอยาก จะเอามากเอาน้อย ทานมากทานน้อย ก็ไม่ให้ใจเกิดความอยาก เกิดความยินดียินร้าย กิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน
ในกายของเรานี้มีตั้งเยอะแยะ ที่จะต้องศึกษาค้นคว้า ต้องทำความเข้าใจ การเกิดของใจ การเกิดของใจหรือว่าความคิด นี่ก็ยังเป็นกิเลสนะ ก็ยังเป็นกิเลส ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด กิเลสละเอียดที่สุด ทั้งที่บางครั้งใจของเราก็ไม่มีกิเลสอยู่ขณะนี้ ก็เพราะเป็นใจที่ปกติสงบเย็น แต่ยังไม่ได้คลายจากขันธ์ 5 ความหลงอันละเอียดนั่นก็คือ ใจของเรายังเกิดอยู่ ยังยึดติดในขันธ์ 5 อยู่ แต่เราก็ว่าเราไม่ยึด ถ้าเจริญสติเข้าไปดูเข้าไปรู้ เห็นต้นเหตุ การเกิด การร่วม การแยก การคลายเราถึงจะรู้ความเป็นจริง ก็ค่อยพยายาม พยายามเอา
ทำงานระดับขั้นพื้นฐานของเรานี่แหละให้ดีที่สุด ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ความอดทนอดกลั้น การฝักใฝ่ การสนใจ เราละความเกียจคร้านได้หรือเปล่า ความเกียจคร้านนั่นแหละเป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เกียจคร้านในการเจริญภาวนา เกียจคร้านในการสังเกต เกียจคร้านในการละกิเลส ทั้งสมมติ วิมุตติ สมมติก็เกียจคร้าน ความเป็นอยู่ก็ยากลำบาก ดำเนินชีวิตก็ยากลำบาก เราต้องขยัน ขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ จนมองทะลุปรุโปร่งหมดทุกอย่าง จนหมดความสงสัย ทุกอย่าง จนละกิเลสได้หมดจด ถึงอยู่อย่างสบาย กายของเราก็เป็นธรรมชาติของกาย ใจก็เป็นธรรมชาติของใจ ก็ต้องรู้เรื่องให้ได้เสียก่อน
เราหมั่นพร่ำสอนเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ท่านถึงว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ต้องไปให้คนอื่นเขาสอนหรอก เรานี่แหละสอนเรา รู้ไม่ทัน ก็รู้จักดับ รู้จักควบคุม ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากมาย ได้ยินได้ฟังการเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การเจริญสติที่ต่อเนื่อง คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' เป็นลักษณะอย่างนี้
เราแยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเราเป็นอย่างนี้ กายทวารเขาทำหน้าที่อย่างนี้ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล จนรู้ลักษณะอาการการเกิด การดับ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่รวมกับขันธ์ 5 เป็นลักษณะอย่างนี้ เขาเรียกว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ การดับการละเป็นลักษณะอย่างนี้ เราก็ต้องแก้ไข
เราละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดได้ระดับไหน ระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ทำความเข้าใจกับภาษาทางภาษาโลก ทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณของเรา เราต้องให้เข้าถึงความหมายนั้นๆ รู้ความจริงแล้วว่า อะไรควรละ อะไรควรเจริญ เราก็ต้องแก้ไข
แต่ละวันใจของเราเกิดสักกี่เที่ยว เกิดสักกี่ครั้ง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ความโลภมันเกิดยังไง ความอยากเกิดยังไง มันมีกันทุกวัน มีกันทุกเวลานั่นแหละ ความเกิด ความคิด ความคิดเก่าๆ ปัญญาเก่าๆ ซึ่งเรียกว่า 'ปัญญาโลกีย์' ที่ยังหลงอยู่
ตราบใดที่ยังแยกไม่ได้ แยกรูปแยกนามไม่ได้ตามดูไม่ได้ หลงกันทั้งนั้นแหละ อาจจะหลงอยู่ในคุณงามความดี หลงอยู่ในการสร้างบุญสร้างกุศล แต่ก็ยังหลงอยู่ แต่ก็เป็นหนทางที่ดี ถ้าเราปล่อยวางไม่ได้ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นเสบียงของตัวเราเอง
การทำบุญให้ทานก็เพื่ออะไร ก็เพื่อละกิเลส ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ มีเพื่ออะไร ก็มีเพื่อละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด การเจริญสติก็เพื่อที่จะคลายความหลงออกจากใจของเรา
เราปรับปรุงใจ พัฒนาใจของเรา ใจของเรามีความแข็งกร้าวหรือไม่ มีความแข็งกระด้างหรือเปล่า ใจของเรามีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนไหม หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราต้องหมั่นพร่ำสอนใจตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งนอนหลับ ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งหาที่ไหนเลย
การแสวงหาธรรม แสวงหานอกกายไม่เจอหรอก ต้องเน้นลงอยู่ที่กายของเรา แต่การสร้างบารมีนั้นเรามีโอกาสสร้างได้ทุกที่ เดินไปเราก็ทำได้แล้ว เดินไปตรงไหนเราเห็นไม่สะอาดเรียบร้อยเราก็ทำ ห้องส้วมห้องน้ำไม่ดีเราก็ทำ ถ้าไม่มีความเสียสละเราก็ทำไม่ได้
ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว ที่กราบไหว้สักการะบูชา ทุกอย่าง เราต้องทำให้เพียบพร้อมหมด จนมองดู ไม่ยึด ไม่ติด ไม่เอาอะไร ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับประโยชน์นั้นด้วย
พระเกียจคร้านก็ไม่ดี ชีเกียจคร้านก็ไม่ดี ฆราวาสเกียจคร้านก็ไม่ดี จงพยายามแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งเราก็คงจะมองเห็นหนทาง เราไม่เข้าใจวิธีการแนวทางเราถึงได้แสวงหา พอเราเข้าใจแล้วว่าการเจริญสติเป็นอย่างนี้น การดับการละเป็นอย่างนี้นะ การอนุเคราะห์สงเคราะห์เป็นอย่างนี้ มันจะตามมาเลยทันที ทุกอย่าง
ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความเกียจคร้าน ไม่พูดจาเลอะเทอะ ไม่พูดจาส่อเสียด ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ กายกรรม วจีกรรม แล้วก็มโนกรรม
แต่ละวัน ความคิดเรายังไม่รู้เรื่องเลย คิดอยู่อย่างนั้น เป็นทุกข์เพราะความคิด ดับความคิดก็ไม่ได้ ก็ออกทางกาย ทางกายก็ออกทางวาจา ก็ทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่อย่างนั้นแหละ ทะเลาะเบาะแว้งกับตัวเองยังไม่พอ หลอกตัวเองยังไม่พอ ก็ยังไปหลอกทะเลาะเบาะแว้งกับคนโน้นคนนี้ แทนที่จะแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งฝึกไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ เราก็ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง มันจะลงหลักของอนัตตา ลงหลักของความว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาฝ่ายรูป ฝ่ายนาม ฝ่ายความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม มีอะไรบ้าง ฝ่ายรูปก็ก้อนรูปของเรา ร่างกายของเรา คำว่า 'อัตตาตัวตน' เป็นยังไง 'อนัตตา' เป็นยังไง มันมีหมดนั่นแหละ ถ้าคนเรารู้จักฝักใฝ่สนใจ
รู้จักวิธีการแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้นะ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้นะ อยู่คนเดียวเราก็ดูเรา อยู่หลายคนเราก็ดูเรา แก้ไขตัวเรา มีโอกาสบุญสมมติเราก็มีโอกาสได้ร่วมกัน ทำร่วมกัน สร้างร่วมกัน เพื่อความเป็นอานิสงส์ เป็นสิริมงคลระดับสมมติ เราก็ช่วยกันทำ
แต่สำหรับการเกิดการดับของจิตใจ การละกิเลส อันนี้เป็นส่วนตัวแต่ละบุคคล เราทำช่วยกันไม่ได้ เราก็อนุเคราะห์กันได้อยู่ในระดับของสมมติ สมมติเราลำบากเราก็ช่วยกัน อะไรขาดตกบกพร่องเราก็ช่วยกัน
วันนี้ก็ได้มีผู้ใจบุญได้มาร่วมไถ่ชีวิตโค ได้รวมได้รวบรวมมาไถ่ชีวิตโคจากผู้ใจบุญทุกที่ แล้วก็ได้ตั้งชื่อโคเอาไว้ว่า 'โชคดี มีสุข' ก็จะได้ให้คุณหมอพาทำพิธีไถ่ชีวิตโคกันเสียก่อน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงไหว้พระพร้อมๆ กัน