หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 1
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 1
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 1
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 มกราคม 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นวันขึ้นปีใหม่ ปี พ.ศ. 64 มีความสุขความเจริญวันขึ้นปีใหม่ อากาศเย็น เย็นสบาย ปีนี้อากาศเย็นยาวนานกว่าทุกปี
วันขึ้นปีใหม่ มีอะไรใหม่ๆ ในชีวิต รู้จักแก้ไขปรับปรุงชีวิตของเราให้ดีขึ้น อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละ อะไรที่ดีเราก็พยายามเจริญให้มีให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เรามาสร้างบุญสร้างกุศล สร้างตบะ สร้างบารมี ส่วนการเจริญภาวนาถ้าบุคคลใดมีความเพียรก็เจริญภาวนาได้ทุกอิริยาบถนั่นแหละ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย เจริญสติเข้าไปอบรมใจทุกอิริยาบถ
อันนี้คือใจ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างนี้ ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้ การรู้กายเป็นลักษณะอย่างนี้ กายวิเวก ใจวิเวก
เราต้องรู้จักพิจารณาปฏิสังขาโย ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย จนเป็นอัตโนมัติ เห็นการเกิดการดับ หรือว่าแยกรูปแยกนาม นั่นแหละท่านถึงเรียกว่า 'สัมมาทิฏฐิ' รู้ด้วย เห็นด้วย ตามทำความเข้าใจได้ด้วย ด้วยสติด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ รู้จักปรับปรุงสภาพจิตใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ใจของเรามีความคิดปรุงแต่งอย่างไร ใจของเรามีทิฐิมานะอะไร เราก็รีบแก้ไข รีบแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ก็ไม่มีใครจะสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
ส่วนวิธีการแนวทาง คำสอน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานาน (พระเรายังไม่ได้กลับมาอีก) เราพยายามหมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลา อยู่คนเดียวเราก็สอนใจเรา อยู่หลายคนเราก็สอนใจเรา บุคคลเช่นนี้แหละ จะไปถึงฝั่งได้เร็วได้ไว
ฝั่ง ก็คือพระนิพพาน ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละกิเลส ใจเกิดความโลภ ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธ เราก็รู้จักดับความโกรธ ให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน แต่ละวันนี้เราได้กำไรชีวิตอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น เรามีความเกียจคร้านไหม เราละความเกียจคร้านได้หรือไม่ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะ คิดความคิดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เกิดจากใจโดยตรงหรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ 5 หรือเกิดจากสติปัญญา เราต้องจำแนกแจกแจง แยกแยะให้ได้
ในกายของเรานี่แหละ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราพยายามหัดวิเคราะห์ดู แต่เราเห็นเป็นตัวเป็นตน แต่พระพุทธองค์เห็นเป็นกองเป็นขันธ์ เห็นเป็นรูปเป็นนาม มาประชุมกันเข้า มารวมกันเข้าเป็นตัวเป็นตน แต่ก็ให้รู้ด้วยปัญญา ให้แยกแยะด้วยปัญญา วิเคราะห์ด้วยปัญญา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยการเจริญภาวนารู้แจ้งเห็นจริง
เราจะละกิเลสได้หรือไม่ ไม่ขึ้นอยู่กับคนโน้น ไม่ขึ้นกับคนนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่โน้น สถานที่นี้ ขึ้นอยู่กับกายกับใจของเรา กายของเราเป็นอย่างนี้ ใจของเราเป็นอย่างนี้ อะไรเรายังเหลืออยู่ อะไรยังคั่งค้างอยู่ เราก็ต้องรีบแก้ไข แก้ไขไม่ต้องไปกลัวว่าจะไม่รู้ ไม่ต้องไปกลัวว่าจะไม่เข้าใจ ตราบใดที่เรายังดำเนินตามแนวทางของพระพุทธองค์อยู่ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ ก็ยังอยู่ในกองบุญกองกุศล ยังอยู่ในคุณงานความดี ก็พยายามเอา
หมดลมหายใจแล้วก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ความตายนี้มีกันทุกคนตั้งแต่เกิด เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ไม่เป็นไร ถ้าถึงเวลาแล้ว เอาอะไรมาฉุดเอาไว้ก็ไม่อยู่ ร่างกายของเรานี้เป็นรังแห่งโรค โรคภัยไข้เจ็บสารพัดอย่าง ที่มันจะเกิดขึ้นมาให้เราเห็น
ยืนเดินนั่งนอน ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราพยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ ทุกอิริยาบถ ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่เรายังไม่ถึงทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ก็เพราะว่ากำลังสติของเรามีไม่เพียงพอที่จะไปค้นคว้า ที่จะไปรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ไข เราต้องมาสร้าง มาเจริญ ให้มีให้เกิดขึ้น มาทำให้มีให้เกิดขึ้น สติไม่มีเราก็สร้างขึ้นมาให้มี ใจไม่เป็นสมาธิเราก็พยายามฝึก ฝึกตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ นั่งอดทนต่ออีกสักนิดนึง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง พวกเราปล่อยเวลาทิ้งมาตั้งนาน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ทุกคนก็มีสติปัญญากันเต็มเปี่ยม แต่เป็นสติปัญญาของสมมติ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปดู รู้เท่าทันใจ เห็นการเกิดการดับของใจ รู้ลักษณะของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ภาษาธรรมท่านเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' นั่นแหละ ถ้าแยกได้เมื่อไหร่ ความเห็นถูกถึงจะเปิดทางปรากฏขึ้น
ในหลักธรรม เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ความเกิดความดับของใจ ความเกิดความดับของขันธ์ 5 เขาทำงานอย่างไร เขาเกิดอย่างไร แต่กำลังสติความรู้ตัวของเราไม่มี อาจจะมีอยู่บ้าง บางช่วง บางครั้งบางคราว หรือว่ากระท่อนกระแท่น ไม่ต่อเนื่อง ไม่ทำความเข้าใจให้รู้เรื่องทุกอย่าง ก็เลยไม่เข้าใจในชีวิต มองไม่เห็นหนทางเดิน แล้วเราก็เดินด้วยปัญญาทางโลกีย์
อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้ว ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด หลงคิด หลงปรุง หลงแต่งส่งออกไปภายนอก แล้วก็มาหลง มาสร้างขันธ์ 5 มาสร้างร่างกายของเรา แล้วก็ไปหลงโลกธรรม 8 หลงสมมติ หลงทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ายังคลายไม่ได้นี่ยังหลงอยู่
แม้แต่การทำบุญให้ทานก็ยังหลงอยู่ แต่ก็เป็นการหลงอยู่ในสิ่งที่ดี พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติลงที่กายของเรา จนกว่าใจของเราจะคลายออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม หงายขึ้นมาได้
แล้วก็ทำความเข้าใจ รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องหลักของอริยสัจสี่ ความทุกข์ การเกิดทุกข์ การดับทุกข์ แล้วก็รู้เรื่องการเจริญภาวนาเพื่อที่จะไปละกิเลส เพื่อที่จะคลายความหลง จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา แล้วก็รู้จักว่าอะไรเป็นกุศล อกุศล
ละอกุศล เจริญกุศล ทำบุญไม่ยึดติดในบุญ เราก็จะอยู่กับบุญ ไม่ใช่ว่าไม่ให้ทำ เราต้องทำบุญ ไม่ต้องทิ้งบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ อะไรที่จะเป็นกุศลให้ทำเป็นทวีคูณเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์
แต่ละวันๆ ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การสังเกตการวิเคราะห์ ความเสียสละ ความอดทน เรามีความละอายเกรงกลัวต่อบาปหรือไม่ เรามีความกล้าหาญ เรามีความเสียสละ ละกิเลส ทั้งสมมติ กิเลสภายนอก กิเลสภายใน การให้ทานอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะให้จิตใจของเราบางจากกิเลส แล้วก็ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม ภาษาโลก ทำความเข้าใจกับลักษณะอาการของเขาด้วย
เราก็ต้องแก้ไข อยู่คนเดียวเราก็ต้องแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา เรารู้จักวิธีการแล้ว เรารู้จักแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้นะ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ สติรู้กายรู้ใจเป็นอย่างนี้ คำว่าปัจจุบันธรรมมีลักษณะอย่างนี้ เราแยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเรา หูตาจมูกลิ้นกายเป็นทางผ่านของรูปรสกลิ่นเสียง
การศึกษาธรรมะ อะไรคือธรรม อะไรคือตัวสติปัญญา อะไรคือตัวใจ อะไรคืออาการของใจ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์มีหมดอยู่ในกายของเรา เราพยายามหมั่นน้อมหมั่นสังเกต ไม่ใช่ไปนึกไปคิดเอาด้วยปัญญา ที่ใจเกิดอยู่ตลอดเวลา
เราต้องสร้างความรู้ตัว หรือว่าเจริญสติ ความรู้กายเป็นลักษณะอย่างนี้ ความรู้กายที่ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'สัมปชัญญะ' สัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็รู้ลักษณะของใจซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม
ร่างกายของเรานี้เป็นก้อนรูป ความคิดนั่นเป็นนามธรรมยังจำแนกแจกแจงออกไปอีกว่า อะไรคืออาการของใจอีก เป็นเรื่องอะไรบ้าง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราต้องตามชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร นิวรณธรรม มลทินเป็นอย่างไร วิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ ซึ่งพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง ให้เราฝึกหัดปฏิบัติ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบหลงงมงาย
เพียงแค่ลักษณะของใจ ความคิดเราก็รู้อยู่ คิดเราก็รู้ ทำเราก็รู้ แต่ความเกิด ลักษณะหน้าตาอาการของเขาเป็นยังไง การละกิเลส เราละที่ต้นเหตุเป็นยังไง กลางเหตุเป็นยังไง ปลายเหตุเป็นยังไง เราต้องตามทำความเข้าใจ
บุคคลที่มีสติมีปัญญา มีอานิสงส์ มีความเพียร ฟังนิดเดียวจะไปทำความเพียร ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ทั้งวันทั้งเดือนทั้งปีไม่จำเป็นต้องพูดเลยก็ได้
หมั่นวิเคราะห์ หมั่นแก้ไขเรา รู้ไม่ทัน รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักฝึกเริ่มต้นใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่ แต่ละวันใจเกิดส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด หรือว่าเกิดจากภายใน เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นกลางๆ
เราหมั่นตรวจสอบใจของเราอยู่ตลอดเวลา รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุด รู้จักดับ สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา สร้างความเสียสละ ความอดทน ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าจะไปนั่งหลับตา ไปใส่ชุดขาว ไปนั่งไปเดิน บวชแล้วได้กุศลเลย อันนั้นยังไม่ใช่
เราต้องมาแก้ไขที่ใจของเรา ทำความเข้าใจกับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องดู ต้องรู้ ต้องแก้ไข ต้องทำความเข้าใจ ความสงสัย หมดความลังเลให้เข้าถึงจุดหมายปลายทาง ประกาศด้วยตัวเอง ว่าเราละกิเลสได้ถึงไหนแล้ว กิเลสตัวไหนเรายังเหลืออยู่ ก็ต้องพยายามกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละเสีย อะไรที่มันดีเราก็สร้างขึ้นมา ยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์อยู่ปัจจุบัน เราทำปัจจุบันให้ดี อนาคตก็จะดีเอง
ไม่ต้องไปกังวลว่า คนนู้นคนนี้จะได้เปรียบเรา หรือว่าเราจะเสียเปรียบคนโน้นคนนี้ ไม่ต้องไปอาลัยอาวรณ์กับกิเลสเล็กๆ น้อยๆ เราพยายามทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ปล่อยวางให้หมด
ทีนี้เราจะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา บริหารด้วยปัญญา ดำเนินด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา ศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีปัญญา เป็นศาสนาที่อยู่ด้วยปัญญา ทำด้วยปัญญา แก้ทุกข์ แก้ไขตัวเองด้วยปัญญา จนมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง ประกาศด้วยตนเองว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามกัน
อย่าไปทิ้งบุญ ทำมากทำน้อย ทำน้อยก็เป็นของเรา ทำมากก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย ทุกเรื่องในชีวิต ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องหนึ่งเรื่องเดียวจนกระทั่งหมดลมหายใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 มกราคม 2564
มีความสุขกันทุกคน วันนี้ก็เป็นวันขึ้นปีใหม่ ปี พ.ศ. 64 มีความสุขความเจริญวันขึ้นปีใหม่ อากาศเย็น เย็นสบาย ปีนี้อากาศเย็นยาวนานกว่าทุกปี
วันขึ้นปีใหม่ มีอะไรใหม่ๆ ในชีวิต รู้จักแก้ไขปรับปรุงชีวิตของเราให้ดีขึ้น อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละ อะไรที่ดีเราก็พยายามเจริญให้มีให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เรามาสร้างบุญสร้างกุศล สร้างตบะ สร้างบารมี ส่วนการเจริญภาวนาถ้าบุคคลใดมีความเพียรก็เจริญภาวนาได้ทุกอิริยาบถนั่นแหละ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย เจริญสติเข้าไปอบรมใจทุกอิริยาบถ
อันนี้คือใจ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่เกิดปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างนี้ ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้ การรู้กายเป็นลักษณะอย่างนี้ กายวิเวก ใจวิเวก
เราต้องรู้จักพิจารณาปฏิสังขาโย ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย จนเป็นอัตโนมัติ เห็นการเกิดการดับ หรือว่าแยกรูปแยกนาม นั่นแหละท่านถึงเรียกว่า 'สัมมาทิฏฐิ' รู้ด้วย เห็นด้วย ตามทำความเข้าใจได้ด้วย ด้วยสติด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ รู้จักปรับปรุงสภาพจิตใจของตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ใจของเรามีความคิดปรุงแต่งอย่างไร ใจของเรามีทิฐิมานะอะไร เราก็รีบแก้ไข รีบแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ถ้าเราสอนเราไม่ได้ ก็ไม่มีใครจะสอนเราได้เลย นอกจากตัวของเรา
ส่วนวิธีการแนวทาง คำสอน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมานาน (พระเรายังไม่ได้กลับมาอีก) เราพยายามหมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลา อยู่คนเดียวเราก็สอนใจเรา อยู่หลายคนเราก็สอนใจเรา บุคคลเช่นนี้แหละ จะไปถึงฝั่งได้เร็วได้ไว
ฝั่ง ก็คือพระนิพพาน ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละกิเลส ใจเกิดความโลภ ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธ เราก็รู้จักดับความโกรธ ให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน แต่ละวันนี้เราได้กำไรชีวิตอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้น เรามีความเกียจคร้านไหม เราละความเกียจคร้านได้หรือไม่ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะ คิดความคิดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เกิดจากใจโดยตรงหรือว่าเกิดจากอาการของขันธ์ 5 หรือเกิดจากสติปัญญา เราต้องจำแนกแจกแจง แยกแยะให้ได้
ในกายของเรานี่แหละ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราพยายามหัดวิเคราะห์ดู แต่เราเห็นเป็นตัวเป็นตน แต่พระพุทธองค์เห็นเป็นกองเป็นขันธ์ เห็นเป็นรูปเป็นนาม มาประชุมกันเข้า มารวมกันเข้าเป็นตัวเป็นตน แต่ก็ให้รู้ด้วยปัญญา ให้แยกแยะด้วยปัญญา วิเคราะห์ด้วยปัญญา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยการเจริญภาวนารู้แจ้งเห็นจริง
เราจะละกิเลสได้หรือไม่ ไม่ขึ้นอยู่กับคนโน้น ไม่ขึ้นกับคนนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่โน้น สถานที่นี้ ขึ้นอยู่กับกายกับใจของเรา กายของเราเป็นอย่างนี้ ใจของเราเป็นอย่างนี้ อะไรเรายังเหลืออยู่ อะไรยังคั่งค้างอยู่ เราก็ต้องรีบแก้ไข แก้ไขไม่ต้องไปกลัวว่าจะไม่รู้ ไม่ต้องไปกลัวว่าจะไม่เข้าใจ ตราบใดที่เรายังดำเนินตามแนวทางของพระพุทธองค์อยู่ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ ก็ยังอยู่ในกองบุญกองกุศล ยังอยู่ในคุณงานความดี ก็พยายามเอา
หมดลมหายใจแล้วก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ความตายนี้มีกันทุกคนตั้งแต่เกิด เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ไม่เป็นไร ถ้าถึงเวลาแล้ว เอาอะไรมาฉุดเอาไว้ก็ไม่อยู่ ร่างกายของเรานี้เป็นรังแห่งโรค โรคภัยไข้เจ็บสารพัดอย่าง ที่มันจะเกิดขึ้นมาให้เราเห็น
ยืนเดินนั่งนอน ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราพยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ ทุกอิริยาบถ ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่เรายังไม่ถึงทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ก็เพราะว่ากำลังสติของเรามีไม่เพียงพอที่จะไปค้นคว้า ที่จะไปรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักแก้ไข เราต้องมาสร้าง มาเจริญ ให้มีให้เกิดขึ้น มาทำให้มีให้เกิดขึ้น สติไม่มีเราก็สร้างขึ้นมาให้มี ใจไม่เป็นสมาธิเราก็พยายามฝึก ฝึกตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ นั่งอดทนต่ออีกสักนิดนึง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง พวกเราปล่อยเวลาทิ้งมาตั้งนาน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ทุกคนก็มีสติปัญญากันเต็มเปี่ยม แต่เป็นสติปัญญาของสมมติ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปดู รู้เท่าทันใจ เห็นการเกิดการดับของใจ รู้ลักษณะของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ภาษาธรรมท่านเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' นั่นแหละ ถ้าแยกได้เมื่อไหร่ ความเห็นถูกถึงจะเปิดทางปรากฏขึ้น
ในหลักธรรม เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ความเกิดความดับของใจ ความเกิดความดับของขันธ์ 5 เขาทำงานอย่างไร เขาเกิดอย่างไร แต่กำลังสติความรู้ตัวของเราไม่มี อาจจะมีอยู่บ้าง บางช่วง บางครั้งบางคราว หรือว่ากระท่อนกระแท่น ไม่ต่อเนื่อง ไม่ทำความเข้าใจให้รู้เรื่องทุกอย่าง ก็เลยไม่เข้าใจในชีวิต มองไม่เห็นหนทางเดิน แล้วเราก็เดินด้วยปัญญาทางโลกีย์
อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้ว ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด หลงคิด หลงปรุง หลงแต่งส่งออกไปภายนอก แล้วก็มาหลง มาสร้างขันธ์ 5 มาสร้างร่างกายของเรา แล้วก็ไปหลงโลกธรรม 8 หลงสมมติ หลงทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ายังคลายไม่ได้นี่ยังหลงอยู่
แม้แต่การทำบุญให้ทานก็ยังหลงอยู่ แต่ก็เป็นการหลงอยู่ในสิ่งที่ดี พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติลงที่กายของเรา จนกว่าใจของเราจะคลายออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม หงายขึ้นมาได้
แล้วก็ทำความเข้าใจ รู้เรื่องอัตตา อนัตตา รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องหลักของอริยสัจสี่ ความทุกข์ การเกิดทุกข์ การดับทุกข์ แล้วก็รู้เรื่องการเจริญภาวนาเพื่อที่จะไปละกิเลส เพื่อที่จะคลายความหลง จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา แล้วก็รู้จักว่าอะไรเป็นกุศล อกุศล
ละอกุศล เจริญกุศล ทำบุญไม่ยึดติดในบุญ เราก็จะอยู่กับบุญ ไม่ใช่ว่าไม่ให้ทำ เราต้องทำบุญ ไม่ต้องทิ้งบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ อะไรที่จะเป็นกุศลให้ทำเป็นทวีคูณเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์
แต่ละวันๆ ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การสังเกตการวิเคราะห์ ความเสียสละ ความอดทน เรามีความละอายเกรงกลัวต่อบาปหรือไม่ เรามีความกล้าหาญ เรามีความเสียสละ ละกิเลส ทั้งสมมติ กิเลสภายนอก กิเลสภายใน การให้ทานอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะให้จิตใจของเราบางจากกิเลส แล้วก็ทำความเข้าใจกับภาษาธรรม ภาษาโลก ทำความเข้าใจกับลักษณะอาการของเขาด้วย
เราก็ต้องแก้ไข อยู่คนเดียวเราก็ต้องแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา เรารู้จักวิธีการแล้ว เรารู้จักแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้นะ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ สติรู้กายรู้ใจเป็นอย่างนี้ คำว่าปัจจุบันธรรมมีลักษณะอย่างนี้ เราแยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเรา หูตาจมูกลิ้นกายเป็นทางผ่านของรูปรสกลิ่นเสียง
การศึกษาธรรมะ อะไรคือธรรม อะไรคือตัวสติปัญญา อะไรคือตัวใจ อะไรคืออาการของใจ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์มีหมดอยู่ในกายของเรา เราพยายามหมั่นน้อมหมั่นสังเกต ไม่ใช่ไปนึกไปคิดเอาด้วยปัญญา ที่ใจเกิดอยู่ตลอดเวลา
เราต้องสร้างความรู้ตัว หรือว่าเจริญสติ ความรู้กายเป็นลักษณะอย่างนี้ ความรู้กายที่ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า 'สัมปชัญญะ' สัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็รู้ลักษณะของใจซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม
ร่างกายของเรานี้เป็นก้อนรูป ความคิดนั่นเป็นนามธรรมยังจำแนกแจกแจงออกไปอีกว่า อะไรคืออาการของใจอีก เป็นเรื่องอะไรบ้าง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราต้องตามชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร นิวรณธรรม มลทินเป็นอย่างไร วิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ ซึ่งพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วเอามาจำแนกแจกแจง ให้เราฝึกหัดปฏิบัติ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบหลงงมงาย
เพียงแค่ลักษณะของใจ ความคิดเราก็รู้อยู่ คิดเราก็รู้ ทำเราก็รู้ แต่ความเกิด ลักษณะหน้าตาอาการของเขาเป็นยังไง การละกิเลส เราละที่ต้นเหตุเป็นยังไง กลางเหตุเป็นยังไง ปลายเหตุเป็นยังไง เราต้องตามทำความเข้าใจ
บุคคลที่มีสติมีปัญญา มีอานิสงส์ มีความเพียร ฟังนิดเดียวจะไปทำความเพียร ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ทั้งวันทั้งเดือนทั้งปีไม่จำเป็นต้องพูดเลยก็ได้
หมั่นวิเคราะห์ หมั่นแก้ไขเรา รู้ไม่ทัน รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักฝึกเริ่มต้นใหม่ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่ แต่ละวันใจเกิดส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เหตุจากภายนอกทำให้ใจเกิด หรือว่าเกิดจากภายใน เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นกลางๆ
เราหมั่นตรวจสอบใจของเราอยู่ตลอดเวลา รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุด รู้จักดับ สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา สร้างความเสียสละ ความอดทน ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าจะไปนั่งหลับตา ไปใส่ชุดขาว ไปนั่งไปเดิน บวชแล้วได้กุศลเลย อันนั้นยังไม่ใช่
เราต้องมาแก้ไขที่ใจของเรา ทำความเข้าใจกับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องดู ต้องรู้ ต้องแก้ไข ต้องทำความเข้าใจ ความสงสัย หมดความลังเลให้เข้าถึงจุดหมายปลายทาง ประกาศด้วยตัวเอง ว่าเราละกิเลสได้ถึงไหนแล้ว กิเลสตัวไหนเรายังเหลืออยู่ ก็ต้องพยายามกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละเสีย อะไรที่มันดีเราก็สร้างขึ้นมา ยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์อยู่ปัจจุบัน เราทำปัจจุบันให้ดี อนาคตก็จะดีเอง
ไม่ต้องไปกังวลว่า คนนู้นคนนี้จะได้เปรียบเรา หรือว่าเราจะเสียเปรียบคนโน้นคนนี้ ไม่ต้องไปอาลัยอาวรณ์กับกิเลสเล็กๆ น้อยๆ เราพยายามทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ ปล่อยวางให้หมด
ทีนี้เราจะเอาจะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องของปัญญา บริหารด้วยปัญญา ดำเนินด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา ศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีปัญญา เป็นศาสนาที่อยู่ด้วยปัญญา ทำด้วยปัญญา แก้ทุกข์ แก้ไขตัวเองด้วยปัญญา จนมองเห็นหนทางทะลุปรุโปร่ง ประกาศด้วยตนเองว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามกัน
อย่าไปทิ้งบุญ ทำมากทำน้อย ทำน้อยก็เป็นของเรา ทำมากก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย ทุกเรื่องในชีวิต ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องหนึ่งเรื่องเดียวจนกระทั่งหมดลมหายใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ