หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 2
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 2
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 2
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มกราคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย
เราพยายามฝึกความรู้สึกตัว หรือว่าเจริญสติให้เกิดความเคยชิน จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการรับรู้การหายใจเข้า หายใจออก หายใจหยาบ หายใจละเอียดเป็นอย่างไร อันนี้เป็นการเจริญสติลงที่กายของเรา ทุกอิริยาบถยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ความรู้ตัวพลั้งเผลอ เริ่มขึ้นมาใหม่
ความขยันหมั่นเพียร ตรงนี้แหละพยายามทำ ขยันหมั่นเพียรทั้งสมมติภายนอกเราก็พยายามดำเนิน อะไรขาดตกบกพร่องเราก็พยายามทำ ให้มีให้เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกหัดปฏิบัติ
ถ้าสมมติติดขัด สมมติไม่สมบูรณ์ การฝึกหัดกาย ฝึกหัดใจของเราก็ติดๆ ขัดๆ ถ้าที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ปัจจัยสี่ของเราไม่สมบูรณ์ ความดิ้นรน ความแสวงหา การขวนขวายก็ทำให้ลำบากกับใจของเรา เราก็ต้องพยายามทำให้มีให้เกิดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกหัดปฏิบัติใจของเรา
คนเราเกิดมาเราก็ต้องแก้ไข ปรับปรุง วิเคราะห์ พิจารณา ทั้งกายทั้งใจของเราไม่ให้ลำบาก ส่วนกายของเรานี้เป็นก้อนทุกข์อยู่แล้ว เราก็มาทำความเข้าใจยอมรับความจริงตรงนี้ แล้วก็ไม่ยึดไม่ติด แล้วก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหนตั้งแต่ตื่นขึ้น ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีเพียงพอหรือเปล่า ความขวนขวาย การฝักใฝ่ การสนใจ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ความรับผิดชอบต่อส่วนตัว ต่อส่วนรวม ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนรู้ลักษณะ อะไรคือกองรูป อะไรคือกองนาม อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะไปอบรมใจของเรา
ใจของเรามีความกล้าหาญ ใจของเรามีความอดทน ใจของเรามีความเสียสละ การให้อภัยทาน อโหสิกรรม เราต้องแก้ไขใจของเราอยู่ตลอดเวลา ใจปกติก็ให้รู้ว่าปกติ ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม แล้วก็รู้จักแก้ไขอยู่ตลอดเวลา บุคคลเช่นนี้แหละ จะดำเนินชีวิตของตัวเราเอง จะดำเนินชีวิตของตัวเราให้ถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วได้ไว
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นลักษณะอย่างนี้ หมั่นสำรวจอยู่ตลอดเวลา อะไรคือใจ อะไรคือสติปัญญาที่เราจะเข้าไปทำความเข้าใจ รู้ไม่ทันเราก็รู้จักดับรู้จักหยุด รู้จักควบคุม
ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล พยายามฝักใฝ่ สนใจ แก้ไข รู้จักวิธีการแนวทางแล้วเราก็พากันไปดำเนิน
การเจริญสติที่ต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาไปใช้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราอยู่กับหมู่อยู่กับคณะ เรามีความอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เรามีพรหมวิหาร เรามีความเมตตา รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันหรือไม่ หรือว่าเรามีแต่ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ความเกียจคร้าน เราก็พยายามขจัดขัดเกลาออกไป อยู่ที่ไหนเราก็จะมีตั้งแต่ความสุข สุขระดับสมมติ ระดับวิมุตติ อยู่ที่ไหนเราก็ไม่ได้เป็นบุคคลที่เก้อเขิน เป็นบุคคลที่มีความอาจหาญ กล้าหาญ อยู่ตลอดเวลา
พระเราชีเราก็เหมือนกัน ขยันหมั่นเพียร ส่วนพระเราชีเราก็พากันไปรวมพลังช่วยกัน สร้างองค์หลวงปู่ใหญ่ องค์แทนพระพุทธเจ้าปางสีหไสยาสน์อยู่ที่ปางลีลา ช่วยกันทุกวันๆ เดี๋ยวก็เสร็จ อากาศก็หนาวๆ ทำงานตากแดดก็รู้สึกว่าสบาย มีโอกาสเราก็ไปสร้างช่วยกัน เพื่อความเป็นสิริมงคล
สร้างองค์แทนพระพุทธเจ้า องค์แทนพระพุทธเจ้า ที่ท่านได้ค้นพบสัจธรรมเอามาเปิดเผยจำแนกแจกแจง ส่วนคำสอนของท่านก็ยังมีอยู่ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขัดเกลาตามแนวทางของท่าน เราก็จะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร
ท่านสอนเรื่องชีวิตของเรานั่นแหละ ไม่ได้สอนเรื่องอะไรหรอก ชีวิตของเราเกิดมาอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร ความทุกข์เกิดขึ้นที่กาย เกิดขึ้นที่ใจ อะไรคืออัตตา อะไรคืออนัตตา อะไรคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา อะไรคือความเห็นถูก อะไรคือความเห็นผิด
'สัมมาทิฐิ' ความเห็นถูกในหลักธรรมเป็นลักษณะอย่างไร เห็นถูกคือใจที่คลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้เพียงแค่เริ่มต้น การดำเนินชีวิตของเราอย่างไรถึงจะเข้าไปถึงจุดหมายปลายทางได้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร การเจริญสติ เอาสติไปใช้เป็นลักษณะอย่างไร
การควบคุมใจ การอบรมใจของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องกัน เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องหมด อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน จงแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง ว่าอะไรควรละ อะไรควรดำเนิน อะไรควรแก้ไข
แต่ละวันใจของเรามีพฤติกรรมอย่างไร เราก็แก้ไขพฤติกรรมของใจของเรา ใจของเรามีความหนักแน่นหรือไม่ มีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักดับ รู้จักแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน นอกจากเราจะนอนหลับเท่านั้นแหละ ตื่นขึ้นมาเอาใหม่
ไม่ต้องไปกังวลว่าจะไม่รู้ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะไม่เข้าถึง ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้น เสียเปรียบกิเลสคนนี้ เราชนะตัวเราแล้ว เราก็จะชนะหมดทุกอย่าง ทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง เห็นการแยกการคลาย การตามดู การทำความเข้าใจ ปรับสภาพใจของเรา ให้อยู่ในความอ่อนโยน ให้อยู่ในความหนักแน่น ให้อยู่ในพรหมวิหาร ให้อยู่ในความเมตตา แต่ไม่ให้เกิด 'การเกิด' นั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด
จิตวิญญาณของเรานี้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดก็หลงอยู่แล้ว ทีนี้หลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์คือร่างกายของเรา พระพุทธองค์ท่านถึงให้มาเจริญสติ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ลงที่กายของเรา ก็เพื่อที่จะเข้าไปถึงตัวใจ ตัววิญญาณของเราอีก ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาก่อตัวอย่างไร เขารวมกันกับขันธ์ 5 ได้อย่างไร ถึงได้เกิดอัตตาตัวตน
อันนี้ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรถึงจะเข้าใจ ถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียรที่ต่อเนื่องก็ยากที่จะเข้าใจ ก็ต้องพยายาม อย่าไปทิ้ง ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ สร้างความขยันสร้างความรับผิดชอบ ไม่ว่าการงาน ภาระหน้าที่ทางสมมติต่างๆ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มกราคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย
เราพยายามฝึกความรู้สึกตัว หรือว่าเจริญสติให้เกิดความเคยชิน จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการรับรู้การหายใจเข้า หายใจออก หายใจหยาบ หายใจละเอียดเป็นอย่างไร อันนี้เป็นการเจริญสติลงที่กายของเรา ทุกอิริยาบถยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ความรู้ตัวพลั้งเผลอ เริ่มขึ้นมาใหม่
ความขยันหมั่นเพียร ตรงนี้แหละพยายามทำ ขยันหมั่นเพียรทั้งสมมติภายนอกเราก็พยายามดำเนิน อะไรขาดตกบกพร่องเราก็พยายามทำ ให้มีให้เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกหัดปฏิบัติ
ถ้าสมมติติดขัด สมมติไม่สมบูรณ์ การฝึกหัดกาย ฝึกหัดใจของเราก็ติดๆ ขัดๆ ถ้าที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ปัจจัยสี่ของเราไม่สมบูรณ์ ความดิ้นรน ความแสวงหา การขวนขวายก็ทำให้ลำบากกับใจของเรา เราก็ต้องพยายามทำให้มีให้เกิดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกหัดปฏิบัติใจของเรา
คนเราเกิดมาเราก็ต้องแก้ไข ปรับปรุง วิเคราะห์ พิจารณา ทั้งกายทั้งใจของเราไม่ให้ลำบาก ส่วนกายของเรานี้เป็นก้อนทุกข์อยู่แล้ว เราก็มาทำความเข้าใจยอมรับความจริงตรงนี้ แล้วก็ไม่ยึดไม่ติด แล้วก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหนตั้งแต่ตื่นขึ้น ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีเพียงพอหรือเปล่า ความขวนขวาย การฝักใฝ่ การสนใจ การทำให้มีให้เกิดขึ้น ความรับผิดชอบต่อส่วนตัว ต่อส่วนรวม ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนรู้ลักษณะ อะไรคือกองรูป อะไรคือกองนาม อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะไปอบรมใจของเรา
ใจของเรามีความกล้าหาญ ใจของเรามีความอดทน ใจของเรามีความเสียสละ การให้อภัยทาน อโหสิกรรม เราต้องแก้ไขใจของเราอยู่ตลอดเวลา ใจปกติก็ให้รู้ว่าปกติ ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม แล้วก็รู้จักแก้ไขอยู่ตลอดเวลา บุคคลเช่นนี้แหละ จะดำเนินชีวิตของตัวเราเอง จะดำเนินชีวิตของตัวเราให้ถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วได้ไว
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นลักษณะอย่างนี้ หมั่นสำรวจอยู่ตลอดเวลา อะไรคือใจ อะไรคือสติปัญญาที่เราจะเข้าไปทำความเข้าใจ รู้ไม่ทันเราก็รู้จักดับรู้จักหยุด รู้จักควบคุม
ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล พยายามฝักใฝ่ สนใจ แก้ไข รู้จักวิธีการแนวทางแล้วเราก็พากันไปดำเนิน
การเจริญสติที่ต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาไปใช้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราอยู่กับหมู่อยู่กับคณะ เรามีความอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เรามีพรหมวิหาร เรามีความเมตตา รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันหรือไม่ หรือว่าเรามีแต่ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ความเกียจคร้าน เราก็พยายามขจัดขัดเกลาออกไป อยู่ที่ไหนเราก็จะมีตั้งแต่ความสุข สุขระดับสมมติ ระดับวิมุตติ อยู่ที่ไหนเราก็ไม่ได้เป็นบุคคลที่เก้อเขิน เป็นบุคคลที่มีความอาจหาญ กล้าหาญ อยู่ตลอดเวลา
พระเราชีเราก็เหมือนกัน ขยันหมั่นเพียร ส่วนพระเราชีเราก็พากันไปรวมพลังช่วยกัน สร้างองค์หลวงปู่ใหญ่ องค์แทนพระพุทธเจ้าปางสีหไสยาสน์อยู่ที่ปางลีลา ช่วยกันทุกวันๆ เดี๋ยวก็เสร็จ อากาศก็หนาวๆ ทำงานตากแดดก็รู้สึกว่าสบาย มีโอกาสเราก็ไปสร้างช่วยกัน เพื่อความเป็นสิริมงคล
สร้างองค์แทนพระพุทธเจ้า องค์แทนพระพุทธเจ้า ที่ท่านได้ค้นพบสัจธรรมเอามาเปิดเผยจำแนกแจกแจง ส่วนคำสอนของท่านก็ยังมีอยู่ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขัดเกลาตามแนวทางของท่าน เราก็จะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร
ท่านสอนเรื่องชีวิตของเรานั่นแหละ ไม่ได้สอนเรื่องอะไรหรอก ชีวิตของเราเกิดมาอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร ความทุกข์เกิดขึ้นที่กาย เกิดขึ้นที่ใจ อะไรคืออัตตา อะไรคืออนัตตา อะไรคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา อะไรคือความเห็นถูก อะไรคือความเห็นผิด
'สัมมาทิฐิ' ความเห็นถูกในหลักธรรมเป็นลักษณะอย่างไร เห็นถูกคือใจที่คลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้เพียงแค่เริ่มต้น การดำเนินชีวิตของเราอย่างไรถึงจะเข้าไปถึงจุดหมายปลายทางได้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร การเจริญสติ เอาสติไปใช้เป็นลักษณะอย่างไร
การควบคุมใจ การอบรมใจของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องกัน เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องหมด อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน จงแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเราเอง แก้ไขตัวเราเอง ว่าอะไรควรละ อะไรควรดำเนิน อะไรควรแก้ไข
แต่ละวันใจของเรามีพฤติกรรมอย่างไร เราก็แก้ไขพฤติกรรมของใจของเรา ใจของเรามีความหนักแน่นหรือไม่ มีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน เราก็รู้จักดับ รู้จักแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน นอกจากเราจะนอนหลับเท่านั้นแหละ ตื่นขึ้นมาเอาใหม่
ไม่ต้องไปกังวลว่าจะไม่รู้ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะไม่เข้าถึง ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้น เสียเปรียบกิเลสคนนี้ เราชนะตัวเราแล้ว เราก็จะชนะหมดทุกอย่าง ทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง เห็นการแยกการคลาย การตามดู การทำความเข้าใจ ปรับสภาพใจของเรา ให้อยู่ในความอ่อนโยน ให้อยู่ในความหนักแน่น ให้อยู่ในพรหมวิหาร ให้อยู่ในความเมตตา แต่ไม่ให้เกิด 'การเกิด' นั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด
จิตวิญญาณของเรานี้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดก็หลงอยู่แล้ว ทีนี้หลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์คือร่างกายของเรา พระพุทธองค์ท่านถึงให้มาเจริญสติ หรือว่ามาสร้างผู้รู้ลงที่กายของเรา ก็เพื่อที่จะเข้าไปถึงตัวใจ ตัววิญญาณของเราอีก ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาก่อตัวอย่างไร เขารวมกันกับขันธ์ 5 ได้อย่างไร ถึงได้เกิดอัตตาตัวตน
อันนี้ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรถึงจะเข้าใจ ถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียรที่ต่อเนื่องก็ยากที่จะเข้าใจ ก็ต้องพยายาม อย่าไปทิ้ง ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ สร้างความขยันสร้างความรับผิดชอบ ไม่ว่าการงาน ภาระหน้าที่ทางสมมติต่างๆ สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ