หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 114
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 114
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 114
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 กันยายน 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก เพียงแค่เราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เกิดความเคยชิน แม้แต่สักนิดเดียวก็ยังดีสัก 2-3 นาที 4-5 นาที ถ้าเรามีความเพียรที่ต่อเนื่อง มันจะเป็นพื้นฐานในการเดินปัญญาในวันข้างหน้า อันนี้เป็นเพียงแค่ความกระตุ้นให้รู้จักวิธีการเจริญสติให้ได้ทุกอิริยาบถ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นนะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรานั่นแหละ เขาเรียกว่า ความรู้ตัว เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า รู้ตัวอยู่ปัจจุบัน นี่แหละเขาเรียกว่า สติ สติรู้กาย รู้กายแล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง ทั้งที่เราก็หายใจมาตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวตรงนี้ เราก็เลยไปมุ่งมั่นเอาความคิดที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าตัววิญญาณกับอาการของวิญญาณ หรือว่าอาการของขันธ์ห้า เขาเกิดอยู่ตลอด เขาเกิดมาอยู่ในภพของมนุษย์ เข้ามาสร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้ นั่นแหละความหลงอย่างลุ่มลึก
ความหลงตัวนี้เลยที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็มาเปิดเผย ให้เจริญสติเข้าไปสังเกตดู ตั้งแต่เริ่มก่อตัวหรือว่ามีความคิดผุดขึ้นมา ใจของเราจะเคลื่อนเข้าไปรวมเองจนเป็นสิ่งเดียวกัน เราก็เลยรู้ว่าเราคิด เราทำ เราทำตามความคิด อาจจะถูกบ้างผิดบ้าง ส่วนมากก็มันหลงอยู่ในความคิดตรงนั้น ท่านถึงให้มาเจริญสติตัวใหม่ มาสร้างความรู้ตัวเน้นลงอยู่ที่กายของเรา แล้วแต่อุบายของแต่ละบุคคล บางคนบางท่านก็อยู่กับลมหายใจ บางคนบางท่านก็อยู่การเคลื่อนไหวของกาย อันนี้มีสติรู้กาย
แล้วก็เพื่อที่จะได้มีสติลึกลงไปให้รู้ถึงใจอีก รู้ใจ เรารู้ฐานของใจไม่ได้ เราก็รู้จักควบคุมเอาไว้ ด้วยการสร้างสมถะอยู่กับลมหายใจใหม่ ใจก็จะกลับมาอยู่กับกายใหม่ ฉุดกันไปฉุดกันมา ฉุดกันไปฉุดกันมา กำลังฝ่ายไหนจะมากกว่ากัน กำลังฝ่ายสติฝ่ายปัญญามากกว่าก็ควบคุมใจอยู่ แล้วก็หมั่นพร่ำสอนใจ แล้วก็สังเกตดูใจว่าการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้าเขาร่วมกันได้อย่างไร ถ้าสังเกตทัน ขณะเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เขาจะแยกออกจากกัน เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ถ้าเห็นตรงนี้ปุ๊บ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ทั้งที่กายหนักๆ ทีนี้เราก็จะเห็นความเกิดความดับของความคิด เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นแหละท่านเรียกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ไม่ว่าเรื่องไหนที่เกิดขึ้นก็อยู่ในกายของเรา เห็นตรงนี้แล้วจะมีความสุข จะมีความสนุกในการดู ในการรู้ ในการตามทำความเข้าใจ ทุกเรื่องที่เขาเกิด แต่ส่วนมากเราจะไม่ค่อยรู้เท่าทัน แม้แต่การเจริญสติให้ต่อเนื่องก็ไม่ค่อยจะต่อเนื่องกัน ก็เลยเข้าไม่ถึงตรงนี้ จะไปรู้ธรรมไอ้ขั้นสูงๆ ได้อย่างไร จะไปละกิเลสขั้นต่างๆ ได้อย่างไร ส่วนมากมันก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเอาไว้หมด ตัวจิตวิญญาณก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นเอาไว้ ขันธ์ห้าก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นเอาไว้ นอกจากกำลังสติปัญญาของเราจะเร็วจะไว แล้วก็อยู่ในพรหมวิหาร
ใจเกิดกิเลส ใจเกิดความโลภ เราพยายามดับความโลภ เราพยายามคลาย พยายามให้ พยายามเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธ เราพยายามให้อภัยทาน อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี ทำในสิ่งตรงกันข้ามที่จากอำนาจของกิเลส พยายามตัดบั่นทอนกำลังของมันให้มันสั้นลงๆๆ จนไม่เหลือ กิเลสหยาบกิเลสละเอียด จนจัดการให้มันได้ ถึงมันไม่ได้ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศล หมั่นสร้างอานิสงส์ หมั่นสร้างบารมี สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
บุญภายนอกเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม ทำให้ล้น บุญภายในการละกิเลส ทำใจให้สะอาด การให้อภัย การอโหสิกรรม ดูแต่ละวัน ใจของเราไปอย่างไรมาอย่างไร พฤติกรรมของใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราพยายามละความแข็งกระด้าง ปรับให้อ่อนน้อมอ่อนโยน ใจของเรามีความมีทิฏฐิ มีมานะ มีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามกำจัดออกให้มันหมด ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลส เสียเปรียบคนโน้นเสียเปรียบคนนี้ เราชนะตัวเราแล้วเราชนะหมด พยายามทำ ใหม่ๆ กิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาอ้างเหมือนกัน กำลังฝ่ายไหนจะมีเหตุมีผลมากกว่ากัน กำลังสติปัญญาจะตามค้นคว้า ตามดู ตามรู้ ตามเห็น ชี้เหตุชี้ผลได้ทุกกระเบียดนิ้วหรือไม่ ถ้าชี้เหตุชี้ผลได้เต็มที่ เขาก็ยอมรับความเป็นจริง ส่วนมากก็เดินได้แค่ลุ่มๆ ดอนๆ มันก็ไม่ถึงจุดหมายปลายทางสักทีนะ ต้องพยายาม เท่าไรก็ดี ดีกว่าไม่ทำ
อย่าไปทิ้งบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน ตั้งแต่ความคิด คิดดี ทำดี รักษากาย สร้างบุญให้เกิดขึ้นที่กาย ที่วาจา ที่ใจ ท่านถึงว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แล้วก็ตัวใจ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร หลวงพ่อก็เล่าให้ฟังสิ่งเดียวนี่แหละ เล่ามาเป็น 20-30 ปี ไม่มีสิ่งไหนที่จะเล่า เล่าสิ่งเดียวแล้วก็ชี้เหตุให้เห็น ที่จะเข้าถึงต้นเหตุ ไม่มาก ไม่ต้องไปพูดอะไรมากมาย แต่คนเราเข้าไม่ถึงกัน จะไปเอาตั้งแต่ผลนั่น ไม่เข้าไปดูที่ต้นเหตุ เข้าไปแก้ไขที่ต้นเหตุ ถ้าเราแก้ไขที่ต้นเหตุได้ตั้งแต่แรกแล้ว มันก็จะส่งผลถึงอนาคตเอง ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ไปพูดมาก ไปฟังมากเลย เอาการกระทำของเราเป็นหลักของการปฏิบัติ ทั้งสมมติภายนอกเราก็ทำให้ดี ทั้งจิตใจเราก็ขัดเกลากิเลสออกให้มันดี เราก็จะรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย มีความสุขได้ด้วย ก็ต้องพยายามเอานะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 กันยายน 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก เพียงแค่เราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เกิดความเคยชิน แม้แต่สักนิดเดียวก็ยังดีสัก 2-3 นาที 4-5 นาที ถ้าเรามีความเพียรที่ต่อเนื่อง มันจะเป็นพื้นฐานในการเดินปัญญาในวันข้างหน้า อันนี้เป็นเพียงแค่ความกระตุ้นให้รู้จักวิธีการเจริญสติให้ได้ทุกอิริยาบถ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นนะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรานั่นแหละ เขาเรียกว่า ความรู้ตัว เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า รู้ตัวอยู่ปัจจุบัน นี่แหละเขาเรียกว่า สติ สติรู้กาย รู้กายแล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง ทั้งที่เราก็หายใจมาตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวตรงนี้ เราก็เลยไปมุ่งมั่นเอาความคิดที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าตัววิญญาณกับอาการของวิญญาณ หรือว่าอาการของขันธ์ห้า เขาเกิดอยู่ตลอด เขาเกิดมาอยู่ในภพของมนุษย์ เข้ามาสร้างขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้ นั่นแหละความหลงอย่างลุ่มลึก
ความหลงตัวนี้เลยที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็มาเปิดเผย ให้เจริญสติเข้าไปสังเกตดู ตั้งแต่เริ่มก่อตัวหรือว่ามีความคิดผุดขึ้นมา ใจของเราจะเคลื่อนเข้าไปรวมเองจนเป็นสิ่งเดียวกัน เราก็เลยรู้ว่าเราคิด เราทำ เราทำตามความคิด อาจจะถูกบ้างผิดบ้าง ส่วนมากก็มันหลงอยู่ในความคิดตรงนั้น ท่านถึงให้มาเจริญสติตัวใหม่ มาสร้างความรู้ตัวเน้นลงอยู่ที่กายของเรา แล้วแต่อุบายของแต่ละบุคคล บางคนบางท่านก็อยู่กับลมหายใจ บางคนบางท่านก็อยู่การเคลื่อนไหวของกาย อันนี้มีสติรู้กาย
แล้วก็เพื่อที่จะได้มีสติลึกลงไปให้รู้ถึงใจอีก รู้ใจ เรารู้ฐานของใจไม่ได้ เราก็รู้จักควบคุมเอาไว้ ด้วยการสร้างสมถะอยู่กับลมหายใจใหม่ ใจก็จะกลับมาอยู่กับกายใหม่ ฉุดกันไปฉุดกันมา ฉุดกันไปฉุดกันมา กำลังฝ่ายไหนจะมากกว่ากัน กำลังฝ่ายสติฝ่ายปัญญามากกว่าก็ควบคุมใจอยู่ แล้วก็หมั่นพร่ำสอนใจ แล้วก็สังเกตดูใจว่าการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้าเขาร่วมกันได้อย่างไร ถ้าสังเกตทัน ขณะเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เขาจะแยกออกจากกัน เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ถ้าเห็นตรงนี้ปุ๊บ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ทั้งที่กายหนักๆ ทีนี้เราก็จะเห็นความเกิดความดับของความคิด เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นแหละท่านเรียกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ไม่ว่าเรื่องไหนที่เกิดขึ้นก็อยู่ในกายของเรา เห็นตรงนี้แล้วจะมีความสุข จะมีความสนุกในการดู ในการรู้ ในการตามทำความเข้าใจ ทุกเรื่องที่เขาเกิด แต่ส่วนมากเราจะไม่ค่อยรู้เท่าทัน แม้แต่การเจริญสติให้ต่อเนื่องก็ไม่ค่อยจะต่อเนื่องกัน ก็เลยเข้าไม่ถึงตรงนี้ จะไปรู้ธรรมไอ้ขั้นสูงๆ ได้อย่างไร จะไปละกิเลสขั้นต่างๆ ได้อย่างไร ส่วนมากมันก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเอาไว้หมด ตัวจิตวิญญาณก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นเอาไว้ ขันธ์ห้าก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นเอาไว้ นอกจากกำลังสติปัญญาของเราจะเร็วจะไว แล้วก็อยู่ในพรหมวิหาร
ใจเกิดกิเลส ใจเกิดความโลภ เราพยายามดับความโลภ เราพยายามคลาย พยายามให้ พยายามเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธ เราพยายามให้อภัยทาน อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี ทำในสิ่งตรงกันข้ามที่จากอำนาจของกิเลส พยายามตัดบั่นทอนกำลังของมันให้มันสั้นลงๆๆ จนไม่เหลือ กิเลสหยาบกิเลสละเอียด จนจัดการให้มันได้ ถึงมันไม่ได้ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศล หมั่นสร้างอานิสงส์ หมั่นสร้างบารมี สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
บุญภายนอกเราก็ทำให้เต็มเปี่ยม ทำให้ล้น บุญภายในการละกิเลส ทำใจให้สะอาด การให้อภัย การอโหสิกรรม ดูแต่ละวัน ใจของเราไปอย่างไรมาอย่างไร พฤติกรรมของใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราพยายามละความแข็งกระด้าง ปรับให้อ่อนน้อมอ่อนโยน ใจของเรามีความมีทิฏฐิ มีมานะ มีความเห็นแก่ตัว เราก็พยายามกำจัดออกให้มันหมด ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเสียเปรียบกิเลส เสียเปรียบคนโน้นเสียเปรียบคนนี้ เราชนะตัวเราแล้วเราชนะหมด พยายามทำ ใหม่ๆ กิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลมาอ้างเหมือนกัน กำลังฝ่ายไหนจะมีเหตุมีผลมากกว่ากัน กำลังสติปัญญาจะตามค้นคว้า ตามดู ตามรู้ ตามเห็น ชี้เหตุชี้ผลได้ทุกกระเบียดนิ้วหรือไม่ ถ้าชี้เหตุชี้ผลได้เต็มที่ เขาก็ยอมรับความเป็นจริง ส่วนมากก็เดินได้แค่ลุ่มๆ ดอนๆ มันก็ไม่ถึงจุดหมายปลายทางสักทีนะ ต้องพยายาม เท่าไรก็ดี ดีกว่าไม่ทำ
อย่าไปทิ้งบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน ตั้งแต่ความคิด คิดดี ทำดี รักษากาย สร้างบุญให้เกิดขึ้นที่กาย ที่วาจา ที่ใจ ท่านถึงว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แล้วก็ตัวใจ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร หลวงพ่อก็เล่าให้ฟังสิ่งเดียวนี่แหละ เล่ามาเป็น 20-30 ปี ไม่มีสิ่งไหนที่จะเล่า เล่าสิ่งเดียวแล้วก็ชี้เหตุให้เห็น ที่จะเข้าถึงต้นเหตุ ไม่มาก ไม่ต้องไปพูดอะไรมากมาย แต่คนเราเข้าไม่ถึงกัน จะไปเอาตั้งแต่ผลนั่น ไม่เข้าไปดูที่ต้นเหตุ เข้าไปแก้ไขที่ต้นเหตุ ถ้าเราแก้ไขที่ต้นเหตุได้ตั้งแต่แรกแล้ว มันก็จะส่งผลถึงอนาคตเอง ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ไปพูดมาก ไปฟังมากเลย เอาการกระทำของเราเป็นหลักของการปฏิบัติ ทั้งสมมติภายนอกเราก็ทำให้ดี ทั้งจิตใจเราก็ขัดเกลากิเลสออกให้มันดี เราก็จะรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย มีความสุขได้ด้วย ก็ต้องพยายามเอานะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา