หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 15 วันที่ 8 ตุลาคม 2559
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 15 วันที่ 8 ตุลาคม 2559
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 15
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 ตุลาคม 2559
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
เราพยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ลักษณะของคําว่า ปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจอย่างไรถึงหายใจแบบลักษณะของธรรมชาติ ไม่ต้องไปบังคับ การสูดลมหายใจยาวหรือว่าหายใจสั้นให้มีความรู้คือที่ปลายจมูกของเรา จนหายใจเป็นลักษณะของคําว่าปกติ เป็นธรรมชาติในการหายใจเข้าหายใจออกแต่มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกรับรู้อยู่นั่นแหละท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เรารู้ทั้งเวลาลมหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราพยายามเจริญความรู้ตัวตรงนี้แหละ รู้กายตรงนี้แหละให้ยาวให้ต่อเนื่อง เราก็จะได้รู้ลึกลงไป รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดของใจ รู้ลักษณะอาการเวลาใจเกิด ใจปรุงแต่งส่งไปภายนอก เวลาความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ในส่วนลึกๆ คือความคิดเก่านั่นแหละ
ความคิดที่เกิดจากใจ เกี่ยวกับอาการของใจ เขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร เขามาอย่างไร ทำไมเขาถึงเกิด ทำไมเขาถึงหลง บางทีก็เกิดความทะเยอทะยานอยากจากตัวใจโดยตรง เราพยายามสังเกตวิเคราะห์ แล้วก็พยายามอบรมใจของเราทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาไม่ให้ใจของเราส่งไปภายนอกได้หรือไม่ ไม่ให้ใจของเราเกิดความโลภ เกิดความโกรธ เกิดความอยากได้หรือไม่ เราพยายามขัดพยายามเกลา
แต่ละวันๆ จิตใจของเรามีความแข็งกระด้างหรือว่ามีความอ่อนน้อม มีความขยันหมั่นเพียรหรือว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเองหรือไม่ หรือว่ามีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก มีแต่ความอิจฉาริษยา เราก็พยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ให้อภัยทานอโหสิกรรม พยายามขัด พยายามเกลา พยายามละ ลักษณะของการที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ใจที่คลายจากความคิดเป็นอย่างไร ใจที่วาง ว่างจากกิเลสเป็นอย่างไร วาง ว่างจากความคิดจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราพยายามหัดวิเคราะห์ตัวเราตลอดเวลา อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามหยั่งขึ้นมาให้สมบูรณ์แบบ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขารคือรอบรู้ในวิญญาณในความคิด อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ในโลกธรรมแปด ลาภยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา เราพยายามขัดเกลากิเลสหยาบกิเลสละเอียดออกจากใจของเรา สักวันหนึ่งก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่เราทำความเข้าใจอยู่ รู้จักวิธีการ รู้จักแนวทางแล้ว เราก็พยายามหมั่นสังเกต ตั้งแต่ตื่นขึ้น การสังเกตการวิเคราะห์ รู้ไม่ทันก็รู้จักดับรู้จักดู ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักอบรมใจของเรา ขนาบกิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ขัดเกลาอยู่ตลอดเวลา จนใจไม่เกิดนั่นแหละ จนหนุนกําลังสติปัญญาไปเกิดแทนได้ ก็ต้องพยายามทำกัน
การได้เรียนได้ศึกษา การสร้างบารมี ทุกคนสร้างกันมาดีอยู่ในระดับของสมมติ ระดับของวิมุตติต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจอะไรคือโลกอะไรคือธรรม คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน พวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางตามแนวทางของท่านหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของตัวเราเอง ไม่ใช่ได้ขึ้นอยู่กับคนโน้นขึ้นอยู่กับคนนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาลกับเวลา ขึ้นอยู่กับความเพียรของเราที่จะแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน มีแต่ความขยัน ความรับผิดชอบ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา อยู่ด้วยกันหลายคนก็มีความสุข อยู่น้อยคนก็มีความสุข ถ้าต่างคนต่างมีตั้งแต่ความเกียจคร้าน หาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มี อยู่แค่คนเดียวก็ลําบาก อยู่คนเดียวก็หนัก หนักตัวเราคนเดียว หนักสถานที่ หนักสารพัดอย่าง ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขตัวเรา ถ้ารู้จักแก้ไขตัวเรา อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
บุญสมมติบุญวิมุตติเราก็พยายามทำให้เต็มเปี่ยม อย่าพากันไปปล่อยปละละเลย บุญสมมติมีอะไรเราก็ช่วยกันทำตั้งแต่ภายในส่งออกไปภายนอก ตั้งแต่ตัวเราคือคนรอบข้างของเรา ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะสู่สังคม ความเป็นอยู่ปัจจัยในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งภายนอกภายในตั้งแต่ปากทางถึงก้นครัว มองบนมองล่าง มองกลางใจเราอยู่ตลอดเวลา อยู่ที่ไหนก็มีความสุข
เรามาช่วยกันทำ อย่างสมมติอะไรไม่ดีเราก็ช่วยกันทำ ทั้งพระเรา ทั้งชีเรา ทั้งฆราวาสญาติโยมที่มาอาศัยวัด เราก็พยายามมาศึกษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ ให้ได้มีความสุข จากความไม่มีเราก็ทำให้มี จากมีแล้วเราพยายามทำให้มันดีขึ้นไป ใครมาก็มีความสุข เราอยู่ก็มีความสุข คนอื่นมา รุ่นพวกเราจากไปรุ่นหลังมาก็จะได้สานต่อให้มีความสุขกัน โดยที่ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เวลาภายนอกเราก็ไม่ปล่อยทิ้ง เวลาภายในก็ไม่ปล่อยทิ้ง แล้วก็เห็นว่าวันนี้ประมาณสัก 4 โมงก็จะได้รับนิมนต์ทั้ง 2 จุด ก็แบ่งกันไปในเมือง แล้วก็แถวๆ บ้านของเรา ไปประมาณสัก 2 จุด ก็ให้แบ่งกันไป
พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิด ลองดูสิ ทำใจให้โล่ง ให้โปร่ง สมองให้โล่ง ทำกายให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 ตุลาคม 2559
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
เราพยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ลักษณะของคําว่า ปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจอย่างไรถึงหายใจแบบลักษณะของธรรมชาติ ไม่ต้องไปบังคับ การสูดลมหายใจยาวหรือว่าหายใจสั้นให้มีความรู้คือที่ปลายจมูกของเรา จนหายใจเป็นลักษณะของคําว่าปกติ เป็นธรรมชาติในการหายใจเข้าหายใจออกแต่มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ความรู้สึกรับรู้อยู่นั่นแหละท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เรารู้ทั้งเวลาลมหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราพยายามเจริญความรู้ตัวตรงนี้แหละ รู้กายตรงนี้แหละให้ยาวให้ต่อเนื่อง เราก็จะได้รู้ลึกลงไป รู้ความปกติของใจ รู้การเกิดของใจ รู้ลักษณะอาการเวลาใจเกิด ใจปรุงแต่งส่งไปภายนอก เวลาความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ในส่วนลึกๆ คือความคิดเก่านั่นแหละ
ความคิดที่เกิดจากใจ เกี่ยวกับอาการของใจ เขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร เขามาอย่างไร ทำไมเขาถึงเกิด ทำไมเขาถึงหลง บางทีก็เกิดความทะเยอทะยานอยากจากตัวใจโดยตรง เราพยายามสังเกตวิเคราะห์ แล้วก็พยายามอบรมใจของเราทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาไม่ให้ใจของเราส่งไปภายนอกได้หรือไม่ ไม่ให้ใจของเราเกิดความโลภ เกิดความโกรธ เกิดความอยากได้หรือไม่ เราพยายามขัดพยายามเกลา
แต่ละวันๆ จิตใจของเรามีความแข็งกระด้างหรือว่ามีความอ่อนน้อม มีความขยันหมั่นเพียรหรือว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเองหรือไม่ หรือว่ามีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก มีแต่ความอิจฉาริษยา เราก็พยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ให้อภัยทานอโหสิกรรม พยายามขัด พยายามเกลา พยายามละ ลักษณะของการที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ใจที่คลายจากความคิดเป็นอย่างไร ใจที่วาง ว่างจากกิเลสเป็นอย่างไร วาง ว่างจากความคิดจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราพยายามหัดวิเคราะห์ตัวเราตลอดเวลา อะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามหยั่งขึ้นมาให้สมบูรณ์แบบ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขารคือรอบรู้ในวิญญาณในความคิด อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ในโลกธรรมแปด ลาภยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา เราพยายามขัดเกลากิเลสหยาบกิเลสละเอียดออกจากใจของเรา สักวันหนึ่งก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่เราทำความเข้าใจอยู่ รู้จักวิธีการ รู้จักแนวทางแล้ว เราก็พยายามหมั่นสังเกต ตั้งแต่ตื่นขึ้น การสังเกตการวิเคราะห์ รู้ไม่ทันก็รู้จักดับรู้จักดู ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักอบรมใจของเรา ขนาบกิเลสออกจากจิตจากใจของเรา ขัดเกลาอยู่ตลอดเวลา จนใจไม่เกิดนั่นแหละ จนหนุนกําลังสติปัญญาไปเกิดแทนได้ ก็ต้องพยายามทำกัน
การได้เรียนได้ศึกษา การสร้างบารมี ทุกคนสร้างกันมาดีอยู่ในระดับของสมมติ ระดับของวิมุตติต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจอะไรคือโลกอะไรคือธรรม คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน พวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางตามแนวทางของท่านหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของตัวเราเอง ไม่ใช่ได้ขึ้นอยู่กับคนโน้นขึ้นอยู่กับคนนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาลกับเวลา ขึ้นอยู่กับความเพียรของเราที่จะแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน มีแต่ความขยัน ความรับผิดชอบ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา อยู่ด้วยกันหลายคนก็มีความสุข อยู่น้อยคนก็มีความสุข ถ้าต่างคนต่างมีตั้งแต่ความเกียจคร้าน หาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มี อยู่แค่คนเดียวก็ลําบาก อยู่คนเดียวก็หนัก หนักตัวเราคนเดียว หนักสถานที่ หนักสารพัดอย่าง ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขตัวเรา ถ้ารู้จักแก้ไขตัวเรา อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
บุญสมมติบุญวิมุตติเราก็พยายามทำให้เต็มเปี่ยม อย่าพากันไปปล่อยปละละเลย บุญสมมติมีอะไรเราก็ช่วยกันทำตั้งแต่ภายในส่งออกไปภายนอก ตั้งแต่ตัวเราคือคนรอบข้างของเรา ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะสู่สังคม ความเป็นอยู่ปัจจัยในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งภายนอกภายในตั้งแต่ปากทางถึงก้นครัว มองบนมองล่าง มองกลางใจเราอยู่ตลอดเวลา อยู่ที่ไหนก็มีความสุข
เรามาช่วยกันทำ อย่างสมมติอะไรไม่ดีเราก็ช่วยกันทำ ทั้งพระเรา ทั้งชีเรา ทั้งฆราวาสญาติโยมที่มาอาศัยวัด เราก็พยายามมาศึกษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ ให้ได้มีความสุข จากความไม่มีเราก็ทำให้มี จากมีแล้วเราพยายามทำให้มันดีขึ้นไป ใครมาก็มีความสุข เราอยู่ก็มีความสุข คนอื่นมา รุ่นพวกเราจากไปรุ่นหลังมาก็จะได้สานต่อให้มีความสุขกัน โดยที่ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เวลาภายนอกเราก็ไม่ปล่อยทิ้ง เวลาภายในก็ไม่ปล่อยทิ้ง แล้วก็เห็นว่าวันนี้ประมาณสัก 4 โมงก็จะได้รับนิมนต์ทั้ง 2 จุด ก็แบ่งกันไปในเมือง แล้วก็แถวๆ บ้านของเรา ไปประมาณสัก 2 จุด ก็ให้แบ่งกันไป
พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิด ลองดูสิ ทำใจให้โล่ง ให้โปร่ง สมองให้โล่ง ทำกายให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ