หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 59 วันที่ 4 กรกฎาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 59 วันที่ 4 กรกฎาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 59
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560
มีความสุขกันทุกคน พระเราชีเรา พระบวชใหม่ พยายามพิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรานะ พยายามหัดสังเกตว่าความอยากเป็นอย่างไร ความหิวเป็นอย่างไร ความอยากมันเกิดขึ้นที่ใจ เราก็พยายามหยุดพยายามดับให้ได้ ดับไม่ได้ หยุดไม่ได้ ก็นั่งดูจนมันจบค่อยตักอาหาร สร้างความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุกจะก้าวจะเดินพยายามฝึกสติให้ได้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน
การได้เข้ามาบวชก็น้อมกายเข้ามาศึกษาค้นคว้า แต่วิธีการแนวทางนั้น รู้จักวิธีการเจริญสติสร้างความระลึกรู้ อยู่ที่นี่หลวงพ่ออาจจะให้ใช้สังเกตลมหายใจ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกหรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้เวลาการเดิน เวลาเราเดินฝ่าเท้ากระทบพื้นก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ซ้ายหรือขวาก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่อง
ส่วนปัญญาทางโลกก็พากันเก่งกันอยู่แล้ว อย่าเพิ่งเอามานึกมาคิด ปัญญาทางโลกอย่าเอามาตัดสินเด็ดขาด ให้เราสร้างความรู้ตัวทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ครองผ้านุ่งสบง ครองผ้าต่างๆ ใหม่ๆ ก็อาจจะพลั้งเผลอ ความพลั้งเพลอก็เริ่มใหม่ๆ
เราจงพยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เพื่อที่จะรู้เท่าทันใจ มีเพียงแค่สติก็ยังขาดตกบกพร่อง บางครั้งบางคราวใจของเราก็ปกติ บางครั้งบางคราวใจของเราก็สงบอยู่ เราพยายามหัดสังเกตอาการของใจ อาการของความคิด ตัวสังเกตนั่นแหละตัวสติ ส่วนมากเราก็มีตั้งแต่ใจไปเลย ทั้งใจทั้งความคิด คิดก็รู้ทำก็รู้ เราหลงอยู่ในความคิดนั้น เราพยายาม ส่วนงานสมมติ ต่างๆ ทำงานไปด้วยหัดสังเกตไปด้วย สร้างความรู้ตัวไปด้วย ตากระทบรูปใจปกติ หูกระทบเสียงใจปกติ
ภาษาธรรมที่ท่านเรียกว่า สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง สักแต่ว่าเห็น นั่นแหละที่ท่านบอกว่าให้แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจ หูตา จมูก ลิ้น เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง เราพยายามหัดสร้างความรู้ตัวให้ได้เสียก่อน ตัดความกังวล ดับความกังวล ความลังเล ความสงสัยต่างๆ ออกให้หมด
สร้างความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด รู้ไม่ทันก็รู้จักดับรู้จักหยุด สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ถ้าเราขาดความเพียรมันก็ยากที่จะเข้าใจ ถ้าเราเจริญสติสร้างความรู้สึกตัวไม่ต่อเนื่อง มันก็ยากที่จะหัดสังเกตจิตใจของเราได้ ได้ยินได้ฟังและอ่านกันมาทุกคน บางคนบางท่านก็ฝึกกันมา ไม่ใช่ว่าเป็นนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ เราต้องสร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง
ส่วนการเกิดของใจ การเกิดของความคิดนั้นเขามีอยู่เดิม ใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง แล้วก็เกิดต่อ คิดต่อ แล้วก็ไปยึดสิ่งนู้นสิ่งนี้ต่อ เป็นทาสกิเลสหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน จนกว่าเราจะมาสร้างความรู้ตัวไปอบรมใจ ไปสังเกตใจจนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม หรือวิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง เปิดทางให้ความรู้ตัวก็จะรู้เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า นั่นแหละเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา
อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม ส่วนนามมีอยู่ 4 ส่วน ส่วนรูปคือร่างกายของเรามีอยู่ 1 ส่วน ส่วนรูป หู ตา จมูก ลิ้น กายก็ทำหน้าที่อย่างไร สติเราคอยสังเกตใจของเรา ไม่ต้องให้ได้ไปบังคับเคี่ยวเข็ญ พยายามสร้างความรู้ให้ได้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ปัญญาทางโลกมีมากเท่าไรก็อย่าเพิ่งเอามาคิดเอามาโต้แย้ง เรามาสร้างความรู้ตัว รู้ไม่ทันเราก็ดับซึ่งเรียกว่า สมถะ หยุด แล้วแต่วิธีการอย่างไร ขอให้ใจของเราได้หยุด ความคิดของเราได้หยุด จนกว่ากําลังสติของเราจะเข้มแข็ง จนกว่ากําลังจะของเราจะสังเกตทัน ถ้าสังเกตทันเมื่อไร ถ้าเขาร่วมกันเมื่อไร เขาก็จะแยกก็จะหงายขึ้นมาเอง ก็ต้องพยายาม
ฝืน ฝืนความคิด ฝืนอารมณ์ จนกว่าใจจะคลายถึงจะตกกระแสธรรมได้ ไม่ใช่ว่าต้องให้คนพาเดินพานั่งพาทำ เราน้อมกายของเราเข้ามาแล้ว เราก็พยายามวางภาระหน้าที่ทางโลกทางสมมติที่เราเป็นอยู่ตั้งแต่ฆราวาสเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็มาศึกษาใจของเราให้ละเอียด ว่าทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงรวมกับขันธ์ห้า ทำไมใจถึงเป็นทาสกิเลส เราต้องดู รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ต้นเหตุของการเกิด รู้ไม่ทันก็ดับ ถ้าเรารู้ทันเขาก็จะคลาย เพียงแค่คลายเพียงแค่แยกได้ อันนั้นเพียงแค่เริ่มต้น ยังมีอีกเยอะแยะ
กิเลสเกิดขึ้นที่ใจได้อย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสหยาบเป็นอย่างไร ขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราต้องตามดูรู้ให้เห็นทุกอย่างจนใจเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็อยากหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ก็อยู่อุเบกขา ใจเกิดเมื่อไรเราก็ใช้สมถะดับ ดับ การดับมันเรียกว่า การละ เราก็ต้องพยายามทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส เราก็ให้เอาออก ละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความโลภ ละความโกรธ ด้วยการให้ด้วยการเอาออก จนให้อภัยทานอโหสิกรรม
มองเห็นโลกนี้เป็นธรรมดา โลกนี้มีแต่ความว่างถ้าใจของเราว่าง ถ้าใจเราไม่ว่างก็โลกนี้ก็มีตั้งแต่อัตตา เพราะใจของเรายังเป็นอัตตาอยู่ ใจเกิดนั่นแหละอัตตาเกิด เกิดชั้นแรกที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด หลงมาสร้างกายเนื้อ มาปิดกั้นตัวใจเอาไว้อีก ก็เลยมายึดมาติดว่าเป็นของเรา ก็เป็นของเราจริงๆ นั่นแหละในทางสมมติ แต่ในทางวิมุตตินั้นเราก็ต้องศึกษาค้นคว้า เป็นแค่เพียงเครื่องอยู่ เป็นแค่เพียงที่อาศัย เวลาเขาแตกดับแล้วร่างกายก็อันตรธานหายไปนั่นแหละอนัตตา แต่เราต้องแยกแยะให้ได้ ส่วนนามธรรม วาง ปล่อยวางความคิด แยกรูปแยกนามได้ มันก็วางกายได้ แต่กายสมมติก็ยังอยู่ เราก็ดูแลเขาไปจนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ
ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายามสร้างประโยชน์ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ประโยชน์ในโลกหน้า พยายามทำ คนเราเกิดมาก็มีเท่าไรก็ตายหมด ขณะที่ยังมีลมหายใจ เราก็ยังประโยชน์ สร้างเครื่องเดินทาง สร้างเครื่องอยู่ให้ใจของเรา ตราบใดที่ใจยังปล่อยวางไม่ได้ ดับความเกิดไม่ได้ การหมดลมหายใจก็เหมือนกับการถอดเสื้อผ้า ใครสร้างสะสมคุณงามมาดี ก็ได้เสื้อผ้าที่สวยงาม ได้แต่สิ่งดีๆ ด้วยการให้ทาน ด้วยการรักษาศีลเจริญภาวนา การทำความเข้าใจ การอนุเคราะห์ พรหมวิหาร ความเมตตา ความเสียสละ สัจจะกับตัวเรา สิ่งพวกนี้จะเป็นหนทางเดินที่จะก้าวเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์ เรียกว่า อานิสงส์ตบะบารมี ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย
การดำเนินชีวิตแต่ละวันตื่นขึ้นมา เราได้ทำบุญอะไรบ้าง ทำบุญให้ตัวเรา ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ เป็นคนที่มองโลกในทางที่ดี คิดดี เป็นผู้ให้ เป็นผู้ช่วยเหลือ ละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความเห็นแก่ตัวออกไปจากใจของเรา เราก็จะได้ทรัพย์อันสูงส่งคือความสะอาด ความบริสุทธิ์ กิเลสไม่หมดวันนี้ก็ต้องหมดพรุ่งนี้ ไม่หมดพรุ่งนี้ก็ต้องหมดมะรืนนี้ ไม่หมดเดือนนี้ก็หมดเดือนหน้า เราค่อยขัด ค่อยเกลา ค่อยละไปเรื่อยๆ เรารู้ตัวกิเลสมันเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็จัดการกับมัน จัดการกับมันอยู่กับกิเลสใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์ มันเกิดความโลภเราก็ละความโลภ เอาความโลภไปสร้างประโยชน์ คลายออกเอาไปสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม ให้กับสังคม ให้กับส่วนกลาง ชําระจิตของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
หลวงพ่อก็ได้เพียงแค่เล่าเท่านั้นแหละถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็เข้าไม่ถึง เพราะว่าตนเป็นที่พึ่งของตน แนวทางตําราครูบาอาจารย์ เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ แล้วก็พวกท่านก็จงไปทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเราเอง การสร้างความรู้ตัวเป็นลักษณะอย่างนี้ การขัดเกลากิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามเอา กิเลสของเรา เราจะไปเที่ยวให้คนอื่นเขาละให้ก็ไม่ได้ เราต้องทำความเข้าใจ รู้เท่ารู้ทัน รู้กัน รู้แก้ จนอยู่เหนือกิเลสหมด ทั้งดำทั้งขาว ทั้งบุญทั้งบาป ละบาปสร้างบุญ ไม่ยึดติดในบุญ วันนี้มีพรุ่งนี้มี ภพนี้มีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายมี ขณะที่เรายังอยู่กับสมมติ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณในกายของตัวเรา รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรม ในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ขณะที่เรายังมีกาย กายของเราก็ยังต้องการปัจจัยสี่ ยังต้องการข้าวปลาอาหาร ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ให้อยู่ดีมีความสุขขณะที่ยังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจแล้วก็ ไม่เอาอะไรมาให้ก็ไม่เอา ก็ไปตามแรงเหวี่ยงของกรรม ถ้าเราเข้าใจในเรื่องกรรมเราก็อยู่เหนือกรรม คือใจของเราไม่หลงไม่ยึด แต่เวลานี้ใจของเรามายึดทั้งกายยึดทั้งการเกิด หลงการเกิดความคิดตัวเอง ทิฏฐิตัวเอง ไม่ดำเนินตามแนวทางของพระพุทธองค์ให้ปรากฏรู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกันนะ
พระบวชใหม่ ทั้งพระทั้งชี วิธีการเจริญสติรู้จักลักษณะของการสร้างความรู้ตัว ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ทั้งเวลาทำการทำงาน เราก็ต้องดูแลใจของเรา ไม่ใช่ว่าจะไปโทษคนโน้นโทษคนนี้ ลงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็พยายามรู้จักสมัครสมานสามัคคี เอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ก็คอยอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว อันนี้เป็นประกาศนียบัตรของทุกคน เกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ก่อนที่จะตายเราต้องรู้หนทางเดินให้ได้เสียก่อน ใครจะสร้างสะสมคุณงามได้มากมายเท่าไร ก็พยายามทำเอา โอกาสเปิด กาลเวลาเปิดสถานที่เปิด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราก็ต้องพยายามทำ
ตั้งใจรับพรกัน
------------
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามสร้างความรู้สึกลักษณะอย่างนี้แหละให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง
ความรู้ตัวเราพยายามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตื่นขึ้น จนรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ จนสังเกตรู้เท่าทันการคลายการแยกใจจากขันธ์ห้า ช่วงนั้นเราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจความหมายภาษาธรรมภาษาโลก เข้าใจคําสอนของพระพุทธองค์ ถ้ายังแยกไม่ได้ ก็ยังอยู่ในการสร้างอานิสงส์ สร้างบุญ สร้างบารมีให้กับตัวเราเอง การทำ การเจริญสติ ความสงบเล็กเล็กน้อยๆ ก็อานิสงส์มากมาย เราก็ต้องพยายาม
ทำไมกายของเราถึงเกิด ทำไมกายของเราถึงเป็นก้อนทุกข์ ทำไมใจของเราถึงทุกข์ เราต้องวิเคราะห์หัดพิจารณาหัดทำความเข้าใจ ถ้าเราขาดการทำความเข้าใจมันก็ยากที่จะรู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่การเจริญสติก็ทำได้ยาก ก็เลยรู้ไม่เท่าทันการเกิดของใจ รู้ไม่ทันการเกิดของความคิด
ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนก็สร้างกันมาดี ฝักใฝ่ในการทำบุญในการให้ทาน ผ่านกาลผ่านเวลา มีความเชื่อมั่นละอายเกรงกลัวต่อบาป หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลก็อยู่ในระดับของการสร้างบารมีให้กับตัวเราเอง ถ้าเรามาวิเคราะห์ดูดีๆ ทำไมเราถึงลําบาก ทำไมเราถึงมีไม่เพียบพร้อม ทำไมเราถึงขัดสน เราก็ต้องวิเคราะห์พิจารณา เราเคยทำบุญมาก่อนหรือไม่ เราเคยให้เคยเอาออก เคยช่วยเหลือ อานิสงส์ผลบุญก็จะย้อนกลับมาหาเรา ถ้าเราเข้าใจวิธีการดำเนิน ก็ยากที่จะเข้าถึงได้ง่ายถ้าเราไม่มีความขยัน เราต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักลักษณะความรู้ตัวเป็นอย่างนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ รู้เท่าทันใจเป็นอย่างนี้ กายมีหน้าที่อย่างนี้ ใจมีหน้าที่อย่างนี้ เราก็จะเข้าถึงคําสอนของพระพุทธองค์ ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเราเอง
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ใหม่ ผู้ใหม่คือผู้ตื่น ผู้ตื่นตัว ตื่นอยู่ตลอดเวลา ใจของเรารับรู้อยู่ตลอดเวลา คือใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส ใจเกิดความหลง เราก็พยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ จําแนกแจกแจงออกไป แต่เวลาในการเจริญสติของเรามีน้อย เราก็ต้องพยายามทำนะ
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ทำใจให้ว่าง สมองให้โล่ง ทำกายให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560
มีความสุขกันทุกคน พระเราชีเรา พระบวชใหม่ พยายามพิจารณากะประมาณในการขบฉันของตัวเรานะ พยายามหัดสังเกตว่าความอยากเป็นอย่างไร ความหิวเป็นอย่างไร ความอยากมันเกิดขึ้นที่ใจ เราก็พยายามหยุดพยายามดับให้ได้ ดับไม่ได้ หยุดไม่ได้ ก็นั่งดูจนมันจบค่อยตักอาหาร สร้างความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุกจะก้าวจะเดินพยายามฝึกสติให้ได้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน
การได้เข้ามาบวชก็น้อมกายเข้ามาศึกษาค้นคว้า แต่วิธีการแนวทางนั้น รู้จักวิธีการเจริญสติสร้างความระลึกรู้ อยู่ที่นี่หลวงพ่ออาจจะให้ใช้สังเกตลมหายใจ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกหรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้เวลาการเดิน เวลาเราเดินฝ่าเท้ากระทบพื้นก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ซ้ายหรือขวาก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ พยายามรู้ให้ต่อเนื่อง
ส่วนปัญญาทางโลกก็พากันเก่งกันอยู่แล้ว อย่าเพิ่งเอามานึกมาคิด ปัญญาทางโลกอย่าเอามาตัดสินเด็ดขาด ให้เราสร้างความรู้ตัวทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ครองผ้านุ่งสบง ครองผ้าต่างๆ ใหม่ๆ ก็อาจจะพลั้งเผลอ ความพลั้งเพลอก็เริ่มใหม่ๆ
เราจงพยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เพื่อที่จะรู้เท่าทันใจ มีเพียงแค่สติก็ยังขาดตกบกพร่อง บางครั้งบางคราวใจของเราก็ปกติ บางครั้งบางคราวใจของเราก็สงบอยู่ เราพยายามหัดสังเกตอาการของใจ อาการของความคิด ตัวสังเกตนั่นแหละตัวสติ ส่วนมากเราก็มีตั้งแต่ใจไปเลย ทั้งใจทั้งความคิด คิดก็รู้ทำก็รู้ เราหลงอยู่ในความคิดนั้น เราพยายาม ส่วนงานสมมติ ต่างๆ ทำงานไปด้วยหัดสังเกตไปด้วย สร้างความรู้ตัวไปด้วย ตากระทบรูปใจปกติ หูกระทบเสียงใจปกติ
ภาษาธรรมที่ท่านเรียกว่า สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง สักแต่ว่าเห็น นั่นแหละที่ท่านบอกว่าให้แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจ หูตา จมูก ลิ้น เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง เราพยายามหัดสร้างความรู้ตัวให้ได้เสียก่อน ตัดความกังวล ดับความกังวล ความลังเล ความสงสัยต่างๆ ออกให้หมด
สร้างความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด รู้ไม่ทันก็รู้จักดับรู้จักหยุด สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ถ้าเราขาดความเพียรมันก็ยากที่จะเข้าใจ ถ้าเราเจริญสติสร้างความรู้สึกตัวไม่ต่อเนื่อง มันก็ยากที่จะหัดสังเกตจิตใจของเราได้ ได้ยินได้ฟังและอ่านกันมาทุกคน บางคนบางท่านก็ฝึกกันมา ไม่ใช่ว่าเป็นนึกเอาไปคิดเอาว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ เราต้องสร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง
ส่วนการเกิดของใจ การเกิดของความคิดนั้นเขามีอยู่เดิม ใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง แล้วก็เกิดต่อ คิดต่อ แล้วก็ไปยึดสิ่งนู้นสิ่งนี้ต่อ เป็นทาสกิเลสหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน จนกว่าเราจะมาสร้างความรู้ตัวไปอบรมใจ ไปสังเกตใจจนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม หรือวิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง เปิดทางให้ความรู้ตัวก็จะรู้เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า นั่นแหละเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา
อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม ส่วนนามมีอยู่ 4 ส่วน ส่วนรูปคือร่างกายของเรามีอยู่ 1 ส่วน ส่วนรูป หู ตา จมูก ลิ้น กายก็ทำหน้าที่อย่างไร สติเราคอยสังเกตใจของเรา ไม่ต้องให้ได้ไปบังคับเคี่ยวเข็ญ พยายามสร้างความรู้ให้ได้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ปัญญาทางโลกมีมากเท่าไรก็อย่าเพิ่งเอามาคิดเอามาโต้แย้ง เรามาสร้างความรู้ตัว รู้ไม่ทันเราก็ดับซึ่งเรียกว่า สมถะ หยุด แล้วแต่วิธีการอย่างไร ขอให้ใจของเราได้หยุด ความคิดของเราได้หยุด จนกว่ากําลังสติของเราจะเข้มแข็ง จนกว่ากําลังจะของเราจะสังเกตทัน ถ้าสังเกตทันเมื่อไร ถ้าเขาร่วมกันเมื่อไร เขาก็จะแยกก็จะหงายขึ้นมาเอง ก็ต้องพยายาม
ฝืน ฝืนความคิด ฝืนอารมณ์ จนกว่าใจจะคลายถึงจะตกกระแสธรรมได้ ไม่ใช่ว่าต้องให้คนพาเดินพานั่งพาทำ เราน้อมกายของเราเข้ามาแล้ว เราก็พยายามวางภาระหน้าที่ทางโลกทางสมมติที่เราเป็นอยู่ตั้งแต่ฆราวาสเราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็มาศึกษาใจของเราให้ละเอียด ว่าทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงรวมกับขันธ์ห้า ทำไมใจถึงเป็นทาสกิเลส เราต้องดู รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ต้นเหตุของการเกิด รู้ไม่ทันก็ดับ ถ้าเรารู้ทันเขาก็จะคลาย เพียงแค่คลายเพียงแค่แยกได้ อันนั้นเพียงแค่เริ่มต้น ยังมีอีกเยอะแยะ
กิเลสเกิดขึ้นที่ใจได้อย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสหยาบเป็นอย่างไร ขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราต้องตามดูรู้ให้เห็นทุกอย่างจนใจเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็อยากหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ก็อยู่อุเบกขา ใจเกิดเมื่อไรเราก็ใช้สมถะดับ ดับ การดับมันเรียกว่า การละ เราก็ต้องพยายามทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส เราก็ให้เอาออก ละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความโลภ ละความโกรธ ด้วยการให้ด้วยการเอาออก จนให้อภัยทานอโหสิกรรม
มองเห็นโลกนี้เป็นธรรมดา โลกนี้มีแต่ความว่างถ้าใจของเราว่าง ถ้าใจเราไม่ว่างก็โลกนี้ก็มีตั้งแต่อัตตา เพราะใจของเรายังเป็นอัตตาอยู่ ใจเกิดนั่นแหละอัตตาเกิด เกิดชั้นแรกที่สุด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด หลงมาสร้างกายเนื้อ มาปิดกั้นตัวใจเอาไว้อีก ก็เลยมายึดมาติดว่าเป็นของเรา ก็เป็นของเราจริงๆ นั่นแหละในทางสมมติ แต่ในทางวิมุตตินั้นเราก็ต้องศึกษาค้นคว้า เป็นแค่เพียงเครื่องอยู่ เป็นแค่เพียงที่อาศัย เวลาเขาแตกดับแล้วร่างกายก็อันตรธานหายไปนั่นแหละอนัตตา แต่เราต้องแยกแยะให้ได้ ส่วนนามธรรม วาง ปล่อยวางความคิด แยกรูปแยกนามได้ มันก็วางกายได้ แต่กายสมมติก็ยังอยู่ เราก็ดูแลเขาไปจนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ
ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายามสร้างประโยชน์ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ประโยชน์ในโลกหน้า พยายามทำ คนเราเกิดมาก็มีเท่าไรก็ตายหมด ขณะที่ยังมีลมหายใจ เราก็ยังประโยชน์ สร้างเครื่องเดินทาง สร้างเครื่องอยู่ให้ใจของเรา ตราบใดที่ใจยังปล่อยวางไม่ได้ ดับความเกิดไม่ได้ การหมดลมหายใจก็เหมือนกับการถอดเสื้อผ้า ใครสร้างสะสมคุณงามมาดี ก็ได้เสื้อผ้าที่สวยงาม ได้แต่สิ่งดีๆ ด้วยการให้ทาน ด้วยการรักษาศีลเจริญภาวนา การทำความเข้าใจ การอนุเคราะห์ พรหมวิหาร ความเมตตา ความเสียสละ สัจจะกับตัวเรา สิ่งพวกนี้จะเป็นหนทางเดินที่จะก้าวเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์ เรียกว่า อานิสงส์ตบะบารมี ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย
การดำเนินชีวิตแต่ละวันตื่นขึ้นมา เราได้ทำบุญอะไรบ้าง ทำบุญให้ตัวเรา ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ เป็นคนที่มองโลกในทางที่ดี คิดดี เป็นผู้ให้ เป็นผู้ช่วยเหลือ ละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความเห็นแก่ตัวออกไปจากใจของเรา เราก็จะได้ทรัพย์อันสูงส่งคือความสะอาด ความบริสุทธิ์ กิเลสไม่หมดวันนี้ก็ต้องหมดพรุ่งนี้ ไม่หมดพรุ่งนี้ก็ต้องหมดมะรืนนี้ ไม่หมดเดือนนี้ก็หมดเดือนหน้า เราค่อยขัด ค่อยเกลา ค่อยละไปเรื่อยๆ เรารู้ตัวกิเลสมันเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็จัดการกับมัน จัดการกับมันอยู่กับกิเลสใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์ มันเกิดความโลภเราก็ละความโลภ เอาความโลภไปสร้างประโยชน์ คลายออกเอาไปสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม ให้กับสังคม ให้กับส่วนกลาง ชําระจิตของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
หลวงพ่อก็ได้เพียงแค่เล่าเท่านั้นแหละถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็เข้าไม่ถึง เพราะว่าตนเป็นที่พึ่งของตน แนวทางตําราครูบาอาจารย์ เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ แล้วก็พวกท่านก็จงไปทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเราเอง การสร้างความรู้ตัวเป็นลักษณะอย่างนี้ การขัดเกลากิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามเอา กิเลสของเรา เราจะไปเที่ยวให้คนอื่นเขาละให้ก็ไม่ได้ เราต้องทำความเข้าใจ รู้เท่ารู้ทัน รู้กัน รู้แก้ จนอยู่เหนือกิเลสหมด ทั้งดำทั้งขาว ทั้งบุญทั้งบาป ละบาปสร้างบุญ ไม่ยึดติดในบุญ วันนี้มีพรุ่งนี้มี ภพนี้มีภพหน้ามี พ่อแม่มีพี่น้องมี เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายมี ขณะที่เรายังอยู่กับสมมติ
ท่านถึงบอกว่าให้รอบในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณในกายของตัวเรา รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรม ในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ขณะที่เรายังมีกาย กายของเราก็ยังต้องการปัจจัยสี่ ยังต้องการข้าวปลาอาหาร ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ให้อยู่ดีมีความสุขขณะที่ยังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจแล้วก็ ไม่เอาอะไรมาให้ก็ไม่เอา ก็ไปตามแรงเหวี่ยงของกรรม ถ้าเราเข้าใจในเรื่องกรรมเราก็อยู่เหนือกรรม คือใจของเราไม่หลงไม่ยึด แต่เวลานี้ใจของเรามายึดทั้งกายยึดทั้งการเกิด หลงการเกิดความคิดตัวเอง ทิฏฐิตัวเอง ไม่ดำเนินตามแนวทางของพระพุทธองค์ให้ปรากฏรู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกันนะ
พระบวชใหม่ ทั้งพระทั้งชี วิธีการเจริญสติรู้จักลักษณะของการสร้างความรู้ตัว ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ทั้งเวลาทำการทำงาน เราก็ต้องดูแลใจของเรา ไม่ใช่ว่าจะไปโทษคนโน้นโทษคนนี้ ลงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านก็พยายามรู้จักสมัครสมานสามัคคี เอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ก็คอยอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว อันนี้เป็นประกาศนียบัตรของทุกคน เกิดมาเท่าไรก็ตายหมด ก่อนที่จะตายเราต้องรู้หนทางเดินให้ได้เสียก่อน ใครจะสร้างสะสมคุณงามได้มากมายเท่าไร ก็พยายามทำเอา โอกาสเปิด กาลเวลาเปิดสถานที่เปิด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราก็ต้องพยายามทำ
ตั้งใจรับพรกัน
------------
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามสร้างความรู้สึกลักษณะอย่างนี้แหละให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง
ความรู้ตัวเราพยายามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตื่นขึ้น จนรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ จนสังเกตรู้เท่าทันการคลายการแยกใจจากขันธ์ห้า ช่วงนั้นเราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจความหมายภาษาธรรมภาษาโลก เข้าใจคําสอนของพระพุทธองค์ ถ้ายังแยกไม่ได้ ก็ยังอยู่ในการสร้างอานิสงส์ สร้างบุญ สร้างบารมีให้กับตัวเราเอง การทำ การเจริญสติ ความสงบเล็กเล็กน้อยๆ ก็อานิสงส์มากมาย เราก็ต้องพยายาม
ทำไมกายของเราถึงเกิด ทำไมกายของเราถึงเป็นก้อนทุกข์ ทำไมใจของเราถึงทุกข์ เราต้องวิเคราะห์หัดพิจารณาหัดทำความเข้าใจ ถ้าเราขาดการทำความเข้าใจมันก็ยากที่จะรู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่การเจริญสติก็ทำได้ยาก ก็เลยรู้ไม่เท่าทันการเกิดของใจ รู้ไม่ทันการเกิดของความคิด
ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนก็สร้างกันมาดี ฝักใฝ่ในการทำบุญในการให้ทาน ผ่านกาลผ่านเวลา มีความเชื่อมั่นละอายเกรงกลัวต่อบาป หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลก็อยู่ในระดับของการสร้างบารมีให้กับตัวเราเอง ถ้าเรามาวิเคราะห์ดูดีๆ ทำไมเราถึงลําบาก ทำไมเราถึงมีไม่เพียบพร้อม ทำไมเราถึงขัดสน เราก็ต้องวิเคราะห์พิจารณา เราเคยทำบุญมาก่อนหรือไม่ เราเคยให้เคยเอาออก เคยช่วยเหลือ อานิสงส์ผลบุญก็จะย้อนกลับมาหาเรา ถ้าเราเข้าใจวิธีการดำเนิน ก็ยากที่จะเข้าถึงได้ง่ายถ้าเราไม่มีความขยัน เราต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักลักษณะความรู้ตัวเป็นอย่างนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ รู้เท่าทันใจเป็นอย่างนี้ กายมีหน้าที่อย่างนี้ ใจมีหน้าที่อย่างนี้ เราก็จะเข้าถึงคําสอนของพระพุทธองค์ ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเราเอง
ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ใหม่ ผู้ใหม่คือผู้ตื่น ผู้ตื่นตัว ตื่นอยู่ตลอดเวลา ใจของเรารับรู้อยู่ตลอดเวลา คือใจเกิดกิเลสเราก็ละกิเลส ใจเกิดความหลง เราก็พยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์ จําแนกแจกแจงออกไป แต่เวลาในการเจริญสติของเรามีน้อย เราก็ต้องพยายามทำนะ
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ทำใจให้ว่าง สมองให้โล่ง ทำกายให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ