หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 45 วันที่ 3 พฤษภาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 45 วันที่ 3 พฤษภาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 45
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้เสียก่อน ถึงเราจะละไม่ได้ ดับไม่ได้ก็ขอให้หยุด รู้จักลักษณะของการเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกตัวให้ได้ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็รู้ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ความรู้ตัวตรงนี้แหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องทั้งการหายใจเข้าหายใจออกท่านเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม จนต่อเนื่อง จนเข้มแข็ง จนเอาไปสังเกตวิเคราะห์ใจของเราได้
ส่วนการเกิดการดับของใจ การเกิดการดับของอาการของขันธ์ห้านั้นมีกันทุกคน มีตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดนู่น ใจมันเกิดวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงเวลามาสร้างภพมนุษย์ หรือว่าร่างกายของเรานี่แหละ มีจิตมีวิญญาณเข้ามาอยู่ครอบครองมาจากข้างใน ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายเพื่อที่จะเข้าไปอบรมใจ ใจยังอบรมไม่ได้ก็ใช้สมถะเข้าไปดับ เข้าไปหยุด เข้าไปยับยั้งให้ใจของเราช้าลง จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับหงายของที่คว่ำ รู้จักการสร้างอานิสงส์ สร้างบุญสร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจของเรามีความสงบ มีความปกติ หรือว่าใจของเรามีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน หรือว่าใจของเรายังมีความโลภ ความโกรธเข้าไปครอบงำ เราก็พยายามคอยสะสางออกไปเรื่อยๆ ค่อยแก้ไขค่อยปรับปรุง ค่อยวิเคราะห์ค่อยพิจารณา ค่อยขัดค่อยเกลา ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันขึ้นมา ใจของเราไม่มีความเป็นระเบียบ เราก็พยายามจัดความเป็นระเบียบ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ ถ้าใจหงายหรือว่าแยกรูปแยกนาม เราถึงจะเห็นสมมติกับวิมุตติ
แต่เรามองเห็นในภาพรวม อาจจะถูกต้องอยู่ในภาพรวม สร้างคุณงามความดีอยู่ในภาพรวม อันนี้ก็เป็นการสร้างบารมีให้กับตัวเรา ถ้าถึงเวลาแล้วเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทาง ถ้าไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่ยังมีการเดินอยู่ เดินในทางสายกลาง เดินในทางสายที่ถูกต้อง คือสัมมาทิฏฐิ ให้เห็นจากภายในเสียก่อน แยกภายในให้ได้เสียก่อน สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกก็จะปรากฏ การยืน เดิน นั่ง นอนก็จะเป็นแค่เพียงอิริยาบถ
เราพยายามหัดศึกษา หัดค้นคว้า หัดทำความเข้าใจ อันนี้ลักษณะของสติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร ตามดูได้เมื่อไร กําลังสติก็จะกลายเป็นมหาสติ ตามค้นคว้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงของขันธ์ห้าที่เกิดๆ ดับๆ ความไม่เที่ยงของตัวใจที่ปรุงแต่งเกิดๆ ดับๆ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ เราอยู่ในเพศในภาวะอย่างไร เราต้องพยายามทำความเข้าใจ ต่างคนก็ต่างเคารพ เคารพในหน้าที่ ในความรับผิดชอบ มีความขยันหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา
ถ้าถึงวัน ถึงจุดหมายเราก็คงจะถึงจนได้นั่นแหละ ตราบใดที่เรายังเดิน เหมือนกับเรารับประทานข้าวปลาอาหาร ถึงจุดอิ่มเราก็รู้ว่าเราอิ่ม ขณะที่จะก่อนที่จะรับประทานข้าวปลาอาหารเราก็ต้องดูพิจารณาปฏิสังขาโย คือกายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ความอยากความหิวเป็นอย่างไร เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ถ้าใจอยากเราก็รู้จักดับ รู้จักหยุด กายหิวอันนี้เป็นธรรมชาติของสมมติ เราก็รับประทานข้าวปลาอาหารด้วยปัญญา จะทานมากทานน้อยก็ไม่ให้ใจของเราเกิดกิเลส
ทวารทั้งหกก็เหมือนกัน ตาทำหน้าที่ดูเราก็ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟังเราก็ห้ามไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ให้เราทำความเข้าใจกับภาษาธรรมที่ว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างนี้ เราอย่าไปห้ามตาอย่าไปดูนะ ไม่ได้เด็ดขาด ถ้าเราจะหลบหลีกเราก็หลบหลีกด้วยปัญญา ดูที่ใจของเรา ใจของเราเกิดความยินดีไหม ยินร้ายไหม ผลักไสหรือเปล่า ดึงเข้ามาหรือไม่ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จากกิเลสหยาบไปหากิเลสละเอียด
เหมือนเราพิจารณาดูต้นไม้สักต้น อันนี้กิ่งนะ อันนี้ใบนะ อันนี้ลำต้นนะ อันนี้เปลือก อันนี้กระพี้ ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงแก่น แต่เรามองดูก็เห็นเป็นต้นไม้ กายของเราก็เหมือนกัน ถ้าเรามีสติสร้างความระลึกรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ได้เอาไปใช้ หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับ เรารู้จักดับ รู้จักหยุด กําลังสติก็จะเข้มแข็งขึ้น ความเกิดความดับของใจกับอาการขันธ์ห้าก็จะช้าลง จนกําลังสติของเราเห็นการแยกการคลาย ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักขัดเกลา ใจของเราก็จะเบาบางลงไปเรื่อยๆ เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหมายคือความบริสุทธิ์
การไม่เกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ให้เราพยายามดูขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ขณะที่เรายังมีกําลังอยู่ ไม่ใช่ว่าจะไปเอาวันพรุ่งนี้ เอาเดือนหน้า เอาปีนี้ เอาอยู่ปัจจุบันนี่แหละ ดูรู้อยู่ปัจจุบันนี่แหละ จะคิดจะทำอะไรก็มีปัญญารับรู้อยู่ปัจจุบัน ถ้าคิดเรื่องอดีต คิดเรื่องอนาคต คิดเรื่องภาระหน้าที่การงาน ใจก็รับรู้อยู่ปัจจุบัน เขาเรียกว่า ปัญญาปัจจุบัน ปัญญารับรู้อยู่ปัจจุบัน แต่ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ คลายให้ได้
ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองขันธ์ในขันธ์ห้า วิญญาณนี่ก็กองหนึ่ง ตัวใจนั่นแหละ กองรูปก็กองหนึ่ง กองนาม กองความคิด กองกุศลหรือกองอกุศล ใจของเราเข้าไปร่วมได้อย่างไร ใจเกิดได้อย่างไร เพียงแค่กําลังสติของเรามีน้อยเท่านั้นเอง เราก็ต้องพยายามนะ พยายามแม้แต่การเจริญสติ ความหมายของการฝึกอยู่ที่ไหน อะไรคือธรรม อะไรคืออธรรม ทั้งดีทั้งไม่ดี เราต้องแก้ไข วางหมด ถึงจุดหมายปลายทางก็วางหมด สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ยึด เราก็พยายามดำเนินกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องรู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้วก็พยายามรีบหัดวิเคราะห์ตัวเรา สอนเราให้ได้ใช้เราให้เป็นอยู่ตลอดเวลา สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้เสียก่อน ถึงเราจะละไม่ได้ ดับไม่ได้ก็ขอให้หยุด รู้จักลักษณะของการเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกตัวให้ได้ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็รู้ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ความรู้ตัวตรงนี้แหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องทั้งการหายใจเข้าหายใจออกท่านเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม จนต่อเนื่อง จนเข้มแข็ง จนเอาไปสังเกตวิเคราะห์ใจของเราได้
ส่วนการเกิดการดับของใจ การเกิดการดับของอาการของขันธ์ห้านั้นมีกันทุกคน มีตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดนู่น ใจมันเกิดวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จนกระทั่งถึงเวลามาสร้างภพมนุษย์ หรือว่าร่างกายของเรานี่แหละ มีจิตมีวิญญาณเข้ามาอยู่ครอบครองมาจากข้างใน ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายเพื่อที่จะเข้าไปอบรมใจ ใจยังอบรมไม่ได้ก็ใช้สมถะเข้าไปดับ เข้าไปหยุด เข้าไปยับยั้งให้ใจของเราช้าลง จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เหมือนกับหงายของที่คว่ำ รู้จักการสร้างอานิสงส์ สร้างบุญสร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาใจของเรามีความสงบ มีความปกติ หรือว่าใจของเรามีความกังวล มีความฟุ้งซ่าน หรือว่าใจของเรายังมีความโลภ ความโกรธเข้าไปครอบงำ เราก็พยายามคอยสะสางออกไปเรื่อยๆ ค่อยแก้ไขค่อยปรับปรุง ค่อยวิเคราะห์ค่อยพิจารณา ค่อยขัดค่อยเกลา ใจของเรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันขึ้นมา ใจของเราไม่มีความเป็นระเบียบ เราก็พยายามจัดความเป็นระเบียบ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นอยู่ตลอดเวลา อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ ถ้าใจหงายหรือว่าแยกรูปแยกนาม เราถึงจะเห็นสมมติกับวิมุตติ
แต่เรามองเห็นในภาพรวม อาจจะถูกต้องอยู่ในภาพรวม สร้างคุณงามความดีอยู่ในภาพรวม อันนี้ก็เป็นการสร้างบารมีให้กับตัวเรา ถ้าถึงเวลาแล้วเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทาง ถ้าไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ตราบใดที่ยังมีการเดินอยู่ เดินในทางสายกลาง เดินในทางสายที่ถูกต้อง คือสัมมาทิฏฐิ ให้เห็นจากภายในเสียก่อน แยกภายในให้ได้เสียก่อน สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกก็จะปรากฏ การยืน เดิน นั่ง นอนก็จะเป็นแค่เพียงอิริยาบถ
เราพยายามหัดศึกษา หัดค้นคว้า หัดทำความเข้าใจ อันนี้ลักษณะของสติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้เมื่อไร ตามดูได้เมื่อไร กําลังสติก็จะกลายเป็นมหาสติ ตามค้นคว้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงของขันธ์ห้าที่เกิดๆ ดับๆ ความไม่เที่ยงของตัวใจที่ปรุงแต่งเกิดๆ ดับๆ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ เราอยู่ในเพศในภาวะอย่างไร เราต้องพยายามทำความเข้าใจ ต่างคนก็ต่างเคารพ เคารพในหน้าที่ ในความรับผิดชอบ มีความขยันหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา
ถ้าถึงวัน ถึงจุดหมายเราก็คงจะถึงจนได้นั่นแหละ ตราบใดที่เรายังเดิน เหมือนกับเรารับประทานข้าวปลาอาหาร ถึงจุดอิ่มเราก็รู้ว่าเราอิ่ม ขณะที่จะก่อนที่จะรับประทานข้าวปลาอาหารเราก็ต้องดูพิจารณาปฏิสังขาโย คือกายหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ความอยากความหิวเป็นอย่างไร เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ถ้าใจอยากเราก็รู้จักดับ รู้จักหยุด กายหิวอันนี้เป็นธรรมชาติของสมมติ เราก็รับประทานข้าวปลาอาหารด้วยปัญญา จะทานมากทานน้อยก็ไม่ให้ใจของเราเกิดกิเลส
ทวารทั้งหกก็เหมือนกัน ตาทำหน้าที่ดูเราก็ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟังเราก็ห้ามไม่ได้ เป็นทางผ่านของรูป รส กลิ่น เสียง ให้เราทำความเข้าใจกับภาษาธรรมที่ว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างนี้ เราอย่าไปห้ามตาอย่าไปดูนะ ไม่ได้เด็ดขาด ถ้าเราจะหลบหลีกเราก็หลบหลีกด้วยปัญญา ดูที่ใจของเรา ใจของเราเกิดความยินดีไหม ยินร้ายไหม ผลักไสหรือเปล่า ดึงเข้ามาหรือไม่ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จากกิเลสหยาบไปหากิเลสละเอียด
เหมือนเราพิจารณาดูต้นไม้สักต้น อันนี้กิ่งนะ อันนี้ใบนะ อันนี้ลำต้นนะ อันนี้เปลือก อันนี้กระพี้ ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงแก่น แต่เรามองดูก็เห็นเป็นต้นไม้ กายของเราก็เหมือนกัน ถ้าเรามีสติสร้างความระลึกรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ได้เอาไปใช้ หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักดับ เรารู้จักดับ รู้จักหยุด กําลังสติก็จะเข้มแข็งขึ้น ความเกิดความดับของใจกับอาการขันธ์ห้าก็จะช้าลง จนกําลังสติของเราเห็นการแยกการคลาย ตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักขัดเกลา ใจของเราก็จะเบาบางลงไปเรื่อยๆ เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหมายคือความบริสุทธิ์
การไม่เกิด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด ให้เราพยายามดูขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ขณะที่เรายังมีกําลังอยู่ ไม่ใช่ว่าจะไปเอาวันพรุ่งนี้ เอาเดือนหน้า เอาปีนี้ เอาอยู่ปัจจุบันนี่แหละ ดูรู้อยู่ปัจจุบันนี่แหละ จะคิดจะทำอะไรก็มีปัญญารับรู้อยู่ปัจจุบัน ถ้าคิดเรื่องอดีต คิดเรื่องอนาคต คิดเรื่องภาระหน้าที่การงาน ใจก็รับรู้อยู่ปัจจุบัน เขาเรียกว่า ปัญญาปัจจุบัน ปัญญารับรู้อยู่ปัจจุบัน แต่ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ คลายให้ได้
ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองขันธ์ในขันธ์ห้า วิญญาณนี่ก็กองหนึ่ง ตัวใจนั่นแหละ กองรูปก็กองหนึ่ง กองนาม กองความคิด กองกุศลหรือกองอกุศล ใจของเราเข้าไปร่วมได้อย่างไร ใจเกิดได้อย่างไร เพียงแค่กําลังสติของเรามีน้อยเท่านั้นเอง เราก็ต้องพยายามนะ พยายามแม้แต่การเจริญสติ ความหมายของการฝึกอยู่ที่ไหน อะไรคือธรรม อะไรคืออธรรม ทั้งดีทั้งไม่ดี เราต้องแก้ไข วางหมด ถึงจุดหมายปลายทางก็วางหมด สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ยึด เราก็พยายามดำเนินกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องรู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้วก็พยายามรีบหัดวิเคราะห์ตัวเรา สอนเราให้ได้ใช้เราให้เป็นอยู่ตลอดเวลา สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ